โลโก้
ยูเนี่ยนพีเดีย
การสื่อสาร
ดาวน์โหลดได้จาก Google Play
ใหม่! ดาวน์โหลด ยูเนี่ยนพีเดีย บน Android ™ของคุณ!
ดาวน์โหลด
เร็วกว่าเบราว์เซอร์!
 

ภาษาละติน

ดัชนี ภาษาละติน

ษาละติน (Latin) เป็นภาษาโบราณในภาษากลุ่มอินโด-ยูโรเปียน มีต้นกำเนิดในที่ราบลาติอุม (Latium) ซึ่งเป็นพื้นที่รอบๆกรุงโรม และได้ชื่อว่าเป็นภาษาทางการในการสื่อสารของจักรวรรดิโรมัน ต่อมาภาษาละตินได้ถูกกำหนดให้เป็นภาษาสื่อสารและในพิธีสวดของศาสนจักรโรมันคาทอลิก และยังเป็นภาษาที่ใช้โดยนักวิทยาศาสตร์ นักปรัชญา และนักเทววิทยาของยุโรป ตั้งแต่ตลอดยุคกลางจนมาถึงยุคสมัยใหม่ ภาษาละตินจึงเป็นภาษาต้นฉบับของงานเขียนที่ทรงคุณค่าทั้งทางประวัติศาสตร์ และทางวรรณกรรมเป็นจำนวนมาก ภาษาอังกฤษได้รับคำในภาษาละตินเข้ามาในภาษาตนเป็นจำนวนมาก เนื่องจากอิทธิพลของเจ้าปกครองชาวแองโกล-นอร์มัน ซึ่งใช้ภาษาฝรั่งเศส นอกจากนี้คำศัพท์ที่ใช้ในสาขาวิทยาศาสตร์และการแพทย์ ล้วนเป็นคำศัพท์ภาษาละตินหรือสร้างจากภาษาละติน ภาษาละตินเป็นภาษามีวิภัติปัจจัย (การผันคำ) มีการก 7 การก (case), มีเพศ 3 เพศ, และมีพจน์ 2 พจน์ ภาษาอื่น ๆ อีกหลายภาษาที่ใช้ในปัจจุบัน พัฒนาสืบต่อมาจากภาษาละตินพื้นบ้าน ซึ่งจะเรียกกลุ่มภาษาเหล่านี้ว่า ภาษากลุ่มโรมานซ์ ภาษาที่อยู่ในกลุ่มภาษาโรมานซ์ที่สำคัญได้แก่ ภาษาฝรั่งเศส ภาษาโรมาเนีย ภาษาอิตาลี ภาษาโปรตุเกส และภาษาสเปน ภาษาส่วนใหญ่ในภาษากลุ่มอินโด-ยูโรเปียนก็มีความสัมพันธ์บางอย่างกับภาษาละติน แม้ภาษาละตินในปัจจุบัน จะมีผู้ใช้น้อยมากจนถูกนับว่าเกือบเป็นภาษาสูญแล้ว แต่การศึกษาภาษาละตินในโรงเรียนและในมหาวิทยาลัยก็ยังคงมีอยู่อย่างแพร่หลาย นอกจากนี้อักษรละติน (ที่พัฒนามาจากอักษรกรีก) ยังคงมีใช้ในหลายภาษา และเป็นอักษรที่ใช้มากที่สุดในโลก.

41 ความสัมพันธ์: Aบารุค สปิโนซาฟรานซิส เบคอนกลุ่มภาษาอิตาลิกกลุ่มภาษาโรมานซ์กิแกโรภาษาฝรั่งเศสภาษาสูญแล้วภาษาสเปนภาษาอิตาลีภาษาโรมาเนียภาษาโปรตุเกสริมฝีปากวรรณกรรมกรีกโบราณออวิดอักษรกรีกอักษรละตินอังกฤษสมัยแองโกล-นอร์มันจักรพรรดิมาร์กุส เอาเรลิอุสจักรวรรดิโรมันทวีปยุโรปทอมัส อไควนัสคริสต์ศตวรรษที่ 9คาบสมุทรอิตาลีตระกูลภาษาอินโด-ยูโรเปียนนครรัฐวาติกันโรมเวอร์จิลเสียงพยัญชนะนาสิกCEGILNOSTUXY

A

A (ตัวใหญ่: A, ตัวเล็ก: a) คืออักษรและสระตัวแรกในอักษรละติน มีชื่อในภาษาอังกฤษว่า เอ ในขณะที่หลายภาษาเช่น ภาษาเยอรมัน ภาษาฝรั่งเศส ภาษาอิตาลี เรียกตามชื่อเดิมของอักษรนี้คือ อา รูปพหูพจน์เขียนเป็น A's, As, as, หรือ a's อักษร A มีพัฒนาการมาตั้งแต่ยุคอียิปต์โบราณโดยมีหลักฐานในอักษรภาพไฮโรกลิฟฟิก และมีการหยิบยืมไปใช้โดยวัฒนธรรมอื่นจนกระทั่งปัจจุบัน โดยยังคงไว้ซึ่งจุดเด่นนั่นคือ A เป็นตัวอักษรแรกของชุดตัวอักษรในภาษาเสมอ ใช้แทนเสียงสระ อา เอ หรือ แอ ที่ประกอบกับเสียงพยัญชนะ หรือใช้แทนเสียงสระอย่างเดียวก็ได้ นอกจากนั้นอักษร A ก็มีการเติมเครื่องหมายและถูกดัดแปลงไปหลายรูปแบบเพื่อการนำไปใช้เป็นอักขรวิธีในภาษาหนึ่ง.

ใหม่!!: ภาษาละตินและA · ดูเพิ่มเติม »

บารุค สปิโนซา

รุค สปิโนซา เบเนดิคตัส เดอ สปิโนซา หรือ บารุค สปิโนซา หรือชื่อในภาษาลาตินของเขาคือ เบเนดิก (24 พ.ย. ค.ศ. 1632 (พ.ศ. 2175) - 21 ก.พ. ค.ศ. 1677 (พ.ศ. 2220) จากผู้อาวุโสชาวยิว และเป็นที่รู้จักในชื่อ เบนโต เดอ สปิโนซา หรือ เบนโต เอสปิโนซา ในชุมชนที่เขาได้เติบโตขึ้น เรอเน เดส์การตส์ กอทท์ฟรีด ไลบ์นิซ และสปิโนซา) เป็นนักเหตุผลนิยมที่ยิ่งใหญ่ที่สุดของปรัชญาคริสต์ศตวรรษที่ 17 เขาได้รับการพิจารณาว่าเป็นผู้ริเริ่มการวิพากษ์เกี่ยวกับไบเบิล ผลงานชิ้นสำคัญของเขาคือหนังสือ จริยศาสตร.

ใหม่!!: ภาษาละตินและบารุค สปิโนซา · ดูเพิ่มเติม »

ฟรานซิส เบคอน

ฟรานซิส เบคอน ฟรานซิส เบคอน ไวส์เคานท์แห่งเซนต์อัลบันที่ 1 (Francis Bacon, 1st Viscount St.) (22 มกราคม ค.ศ. 1561 – 9 เมษายน ค.ศ. 1626) เป็นนักปราชญ์ รัฐบุรุษ นักวิทยาศาสตร์ นักกฎหมาย และนักเขียนชาวอังกฤษ เป็นอธิบดีศาลสูงสุดของอังกฤษ เบคอนเป็นที่รู้จักในฐานะผู้คิดค้นประสบการณ์นิยม (empiricism).

ใหม่!!: ภาษาละตินและฟรานซิส เบคอน · ดูเพิ่มเติม »

กลุ่มภาษาอิตาลิก

ซินี ใต้ (S. Picene) กลุ่มภาษาอิตาลิก เป็นสมาชิกของสาขาเซนตุม (Centum) ของกลุ่มภาษาอินโด-ยุโรเปียน ซึ่งรวมถึงกลุ่มภาษาโรมานซ์ (มีภาษาฝรั่งเศส ภาษาอิตาลี และภาษาสเปน กับภาษาอื่น ๆ) และภาษาที่สูญพันธุ์บางภาษา อิตาลิกมี 2 สาขา คือ.

ใหม่!!: ภาษาละตินและกลุ่มภาษาอิตาลิก · ดูเพิ่มเติม »

กลุ่มภาษาโรมานซ์

ภาษาโรมาเนีย กลุ่มภาษาโรมานซ์ เป็นสาขาหนึ่งของตระกูลภาษาอินโด-ยูโรเปียน และเป็นกลุ่มภาษาที่กลายพันธุ์มาจากภาษาละติน ประกอบด้วย ภาษาฝรั่งเศส ภาษาอิตาลี ภาษาสเปน ภาษาโปรตุเกส ภาษาโรมาเนีย และ ภาษากาตาลา เป็นต้น มีผู้พูดภาษาในกลุ่มนี้ทั่วโลกมากกว่า 700 ล้านคน รโมานซ์ หมวดหมู่:กลุ่มภาษาโรมานซ์.

ใหม่!!: ภาษาละตินและกลุ่มภาษาโรมานซ์ · ดูเพิ่มเติม »

กิแกโร

มาร์กุส ตุลลิอุส กิแกโร (Marcvs Tvllivs Cicero; 3 มกราคม 106 ปีก่อนคริสต์ศักราช - 7 ธันวาคม 43 ปีก่อนคริสต์ศักราช) คือนักปรัชญา รัฐบุรุษ นักกฎหมาย นักทฤษฎีการเมือง และนักนิยมรัฐธรรมนูญชาวโรมันโบราณ เขาเกิดในตระกูลขุนนางอันมั่งคั่งในตำแหน่งขุนคลัง เป็นที่รู้จักแพร่หลายในฐานะนักพูดและกวีที่มีชื่อเสียงที่สุดของโรมัน เขาเป็นผู้ริเริ่มโรงเรียนผู้นำด้านปรัชญากรีกในโรมัน และสร้างศัพท์ทางปรัชญาในภาษาละตินขึ้นใหม่หลายคำ (เช่น humanitas, qualitas, quantitas, และ essentia) ทำให้เขาโดดเด่นในฐานะนักภาษาศาสตร์ นักแปล และนักปรัชญาด้วย กิแกโรเป็นทั้งนักพูดที่มีพลัง และเป็นนักกฎหมายผู้ประสบความสำเร็จ ปัจจุบันเขาเป็นที่ยกย่องจากงานเขียนเชิงมนุษยนิยม ปรัชญา และการเมือง ทั้งสุนทรพจน์และจดหมายของกิแกโรหลายฉบับยังคงหลงเหลือตกทอดมาถึงปัจจุบัน เป็นแหล่งข้อมูลชั้นต้นที่สำคัญที่สุดในช่วงยุคท้าย ๆ ของสาธารณรัฐโรมัน.

ใหม่!!: ภาษาละตินและกิแกโร · ดูเพิ่มเติม »

ภาษาฝรั่งเศส

ษาฝรั่งเศส (Français ฟฺร็อง์แซ) เป็นหนึ่งในภาษากลุ่มโรมานซ์ที่สำคัญที่สุด เป็นรองเพียงภาษาสเปนและโปรตุเกส ภาษาฝรั่งเศสเป็นภาษาที่มีคนนิยมเป็นอันดับที่ 11 ของโลก โดยเมื่อปี พ.ศ. 2558 มีคนพูดภาษาฝรั่งเศสเป็นภาษาแม่ประมาณ 84 ล้านคน และเมื่อรวมคนที่พูดเป็นภาษาที่สองแล้วจะมีประมาณ 300 ล้านคน ภาษาฝรั่งเศสเป็นภาษาทางการ และภาษาที่ใช้ปกครองในชุมชนต่าง ๆ โดยเฉพาะประเทศที่เคยเป็นอาณานิคมของฝรั่งเศส รวมถึงองค์กรต่าง ๆ ด้วย (เช่น สหภาพยุโรป ไอโอซี องค์การสหประชาชาติ และสหภาพสากลไปรษณีย์) ในสมัยก่อนภาษาฝรั่งเศสถือเป็นภาษาสากลที่แพร่หลายที่สุด โดยมีสถานะเฉกเช่นภาษาอังกฤษในปัจจุบัน หนังสือเดินทางของไทยก็เคยใช้ภาษาฝรั่งเศสควบคู่กับภาษาไท.

ใหม่!!: ภาษาละตินและภาษาฝรั่งเศส · ดูเพิ่มเติม »

ภาษาสูญแล้ว

กคำนิยามจำนวนหนึ่ง ภาษาสูญแล้ว (extinct language) คือภาษาที่ปัจจุบันไม่มีผู้พูดแล้ว ในขณะที่ ภาษาตายแล้ว (dead language) คือภาษาที่ไม่มีผู้พูดในฐานะภาษาหลักแล้ว โดยปกติแล้วกระบวนการที่จะนำไปสู่การเป็นภาษาสูญนั้นจะเกิดขึ้นเมื่อภาษาหนึ่ง ๆ ได้ผ่านการตายของภาษาในระหว่างที่ถูกแทนที่ด้วยภาษาอื่น ตัวอย่างเช่น ภาษาคอปติกที่ถูกแทนที่ด้วยภาษาอาหรับ และภาษาชนพื้นเมืองอเมริกันจำนวนมากที่ถูกแทนที่ด้วยภาษาอังกฤษ ฝรั่งเศส สเปน หรือโปรตุเกส ในหลายกรณี ภาษาสูญแล้วยังถูกใช้เพื่อประโยชน์ทางวิทยาศาสตร์ กฎหมาย หรือศาสนาเช่น ภาษาสลาโวนิกคริสตจักรโบราณ อเวสตะ คอปติก ทิเบตโบราณ กีเอซ ลาติน บาลี สันสกฤต นั้นเป็นภาษาในภาษากลุ่มสูญแล้วจำนวนมากที่ถูกใช้ในฐานะภาษาทางศาสน.

ใหม่!!: ภาษาละตินและภาษาสูญแล้ว · ดูเพิ่มเติม »

ภาษาสเปน

ษาสเปน (Spanish; สเปน: español) หรือ ภาษาคาสตีล (Castilian; สเปน: castellano) เป็นภาษาในกลุ่มภาษาไอบีเรียนโรมานซ์ หนึ่งในภาษาทางการ 6 ภาษาขององค์การสหประชาชาติ และภาษาที่มีผู้พูดเป็นภาษาแม่มากที่สุดในโลกรองจากภาษาจีนกลาง รวมทั้งยังเป็นภาษาราชการขององค์การระหว่างประเทศทางเศรษฐกิจและการเมืองที่สำคัญอีกหลายองค์การอีกด้วย เช่น สหภาพยุโรป สหภาพแอฟริกา องค์การรัฐอเมริกา องค์การรัฐไอบีเรียอเมริกา ข้อตกลงการค้าเสรีอเมริกาเหนือ และสหภาพชาติอเมริกาใต้ เป็นต้น มีผู้พูดภาษาสเปนเป็นภาษาที่หนึ่งและภาษาที่สองเป็นจำนวนระหว่าง 450-500 ล้านคนEl País.

ใหม่!!: ภาษาละตินและภาษาสเปน · ดูเพิ่มเติม »

ภาษาอิตาลี

ษาอิตาลี (Italiano หรือ lingua italiana; Italian) เป็นภาษาในกลุ่มภาษาโรมานซ์,โดยส่วนใหญ่ภาษาอิตาลีเป็นภาษาที่ใกล้เคียงกับภาษาละตินมากที่สุดในภาษากลุ่มโรมานซ์ด้วยกัน, ภาษาอิตาลีเป็นภาษาทางการในอิตาลี, สวิตเซอร์แลนด์, ซานมารีโน, นครรัฐวาติกัน และอิสเตรียตะวันตก (ในสโลวีเนียและโครเอเชีย), เคยมีสถานะเป็นภาษาทางการของแอลเบเนีย, มอลตา และ โมนาโก ซึ่งมีการพูดภาษานี้กันอย่างกว้างขวางรวมทั้งอดีตแอฟริกาตะวันออกของอิตาลีและแอฟริกาเหนือของอิตาลี (ปัจจุบันคือประเทศลิเบีย), มีการพูดภาษาอิตาลีในกลุ่มผู้อพยพชาวอิตาเลียนขนาดใหญ่ในอเมริกาและออสเตรเลีย, มีสถานะเป็นภาษาทางการของชนกลุ่มน้อยในบอสเนียและเฮอร์เซโกวีนา, สโลวีเนีย, โครเอเชีย และ โรมาเนีย left.

ใหม่!!: ภาษาละตินและภาษาอิตาลี · ดูเพิ่มเติม »

ภาษาโรมาเนีย

ภาษาโรมาเนีย (limba română IPA: ลิมบา โรมินะ) เป็นภาษาทางการของประเทศโรมาเนีย จัดเป็นภาษากลุ่มโรมานซ์ทางตะวันออกที่มีคนพูดเป็นภาษาแม่ประมาณ 26 ล้านคน ส่วนใหญ่อยู่ในประเทศโรมาเนียและวอยวอดีนา (Vojvodina) ในเชิงภาษาศาสตร์แล้ว ภาษาโรมาเนียและภาษามอลโดวา (ภาษาทางการของประเทศมอลโดวา) เป็นประเภทต่าง ๆ ของภาษาเดียวกัน อย่างไรก็ดี อาจจัดเป็นภาษาที่ต่างกันโดยเหตุผลทางการเมือง รโมานเอีย.

ใหม่!!: ภาษาละตินและภาษาโรมาเนีย · ดูเพิ่มเติม »

ภาษาโปรตุเกส

ษาโปรตุเกส (português ปุรตุเกฌ) เป็นภาษากลุ่มโรมานซ์ที่พูดในประเทศต่าง ๆ เช่น ประเทศโปรตุเกส ประเทศบราซิล ประเทศแองโกลา ประเทศโมซัมบิก และประเทศติมอร์-เลสเต ภาษาโปรตุเกสมีคนพูดเป็นภาษาแม่มากกว่า 200 ล้านคน ทำให้เป็นหนึ่งในไม่กี่ภาษาที่พูดทั่วโลก และเป็นภาษาที่มีคนพูดเป็นภาษาแม่มากเป็นอันดับ 5 หรือ 6 ของโลกปัจจุบัน ภาษาโปรตุเกสถูกขนานนามว่า A língua de Camões อาลิงกวาดึกามอยช์ ("ภาษาของกามอยช์" ตามชื่อลูอิช ดึ กามอยช์ ผู้ประพันธ์ The Lusiad: ลูเซียด) และ A última flor do Lácio อาอุลตีมาโฟลร์ดูลาซีอู ("ดอกไม้ดอกสุดท้ายของละติอุม") คนที่พูดภาษาโปรตุเกสเรียกว่า ลูซิตานิก: Lusitanic หรือ ลูโซโฟน: Lusophones.

ใหม่!!: ภาษาละตินและภาษาโปรตุเกส · ดูเพิ่มเติม »

ริมฝีปาก

ริมฝีปาก เป็นอวัยวะส่วนหนึ่งของร่างกายมนุษย์ และสัตว์หลายชนิด ริมฝีปากจะนุ่ม เคลื่อนไหวได้ และทำหน้าที่เปิดออกเพื่อรับอาหารและใช้เปล่งเสียงและคำพูด ริมฝีปากมนุษย์เป็นอวัยวะที่รับรู้ได้ด้วยการสัมผัส และทำให้เกิดอารมณ์ทางเพศได้เมื่อใช้จูบและในความสัมพันธ์ใกล้ชิดต่าง ๆ หมวดหมู่:ริมฝีปาก หมวดหมู่:ระบบทางเดินอาหาร.

ใหม่!!: ภาษาละตินและริมฝีปาก · ดูเพิ่มเติม »

วรรณกรรมกรีกโบราณ

หน้ากระดาษจากหนังสือเรื่อง ''งานและวัน'' ของเฮสิโอด ฉบับพิมพ์ปี ค.ศ. 1539 วรรณกรรมกรีกโบราณ คือ วรรณคดีที่เขียนด้วยภาษากรีกโบราณ ตั้งแต่สมัยที่เริ่มมีการจารึกเป็นภาษากรีกต่อมาจนถึงสมัยจักรวรรดิไบเซนไทน์ งานวรรณคดีภาษากรีกที่เก่าแก่ที่สุดที่ยังหลงเหลือตกทอดมา คือ มหากาพย์สองเรื่องที่กวีโฮเมอร์รจนาขึ้นในยุคอาร์เคอิก หรือประมาณศตวรรษที่ 7 ก่อนคริสตกาล ได้แก่ อีเลียด และโอดิสซี ซึ่งเล่าเหตุการที่เกิดขึ้นในยุคขุนศึกของอารยธรรมไมซีนี มหากาพย์สองเรื่องนี้ กับงานเขียนร้อยกรองในยุคเดียวกัน ได้แก่ เพลงสวดโฮเมอริค (Homeric Hymns) และบทกวีอีกสองเรื่องของเฮสิโอด คือ ธีออโกนี (Theogony) และ งานและวัน (works and days) ถือได้ว่าเป็นทั้งจุดเริ่มต้นและรากฐานของธรรมเนียมทางวรรณกรรมของชาวกรีก สืบต่อไปถึงยุคคลาสสิค, สมัยอารยธรรมเฮเลนิสติก และยังเป็นรากฐานให้กับวรรณคดีของชาวโรมันอีกด้วย งานวรรณกรรมกรีกโบราณ เริ่มต้นขึ้นจากบทกวีขับร้องประกอบการเล่นดนตรีอย่างเช่น มหากาพย์ของโฮเมอร์ และบทกวีไลริค (lyric poetry) ซึ่งมีกวีนามอุโฆษ เช่น แซพโพ อัลซีอัส และพินดาร์ เป็นแบบอย่างที่มีอิทธิพลในช่วงยุคบุกเบิกของศิลปะทางกวีนิพนธ์ ต่อมามีการพัฒนาศิลปะการละครขึ้น งานนาฏกรรมบทละครที่ตกทอดมาได้แก่ของ เอสคิลัส (ราว 525-456 ก.คริสต์) ซอโฟคลีส (497-406 ก.คริสต์) ยูริพิดีส (480-406 ก.คริสต์) และอริสโตฟานีส (446-436 ก.คริสต์) ในบรรดานาฏศิลปินทั้งสี่ เอสคิลัสเป็นนักประพันธ์ละครคนแรกสุดที่มีงานตกทอดมาถึงเราอย่างสมบูรณ์ ซอโฟคลีสเป็นนักแต่งบทละครที่มีชื่อเสียงจากงานโศกนาฏกรรมไตรภาคเกี่ยวกับอีดิปัส โดยเฉพาะเรื่องพระเจ้าอีดิปัส (Oedipus Rex) และแอนติโกเน่ฯ ยูริพิดีสมีชื่อเสียงจากการสร้างงานประพันธ์ที่พยายามท้าทายขอบเขตของโศกนาฏกรรม ส่วนนักประพันธ์สุขนาฏกรรม (หรือ หัสนาฏกรรม) อริสโตฟานีสมีปรีชาสามารถในสาขางานสุขนาฏกรรมแบบดั้งเดิม (old comedy) ในขณะที่เมแนนเดอร์เป็นผู้บุกเบิกสุขนาฏกรรมใหม่ ภาพวาดจากซีนในบทสนทนา ซิมโพเซียม (ปรัชญาว่าด้วยความรัก) ของเพลโต (Anselm Feuerbach, 1873) สำหรับงานร้อยแก้วมีเฮโรโดตัส และธิวซิดิดีส เป็นผู้บุกเบิกงานเขียนทางประวัติศาสตร์เกี่ยวกับกรีซในช่วงศตวรรษที่ 5 (และความเป็นมาก่อนหน้านั้น) ซึ่งเป็นช่วงที่ทั้งสองท่านมีชีวิตอยู่ เพลโตถ่ายทอดความคิดเชิงปรัชญาผ่านบทสนทนา ซึ่งมีโสเครตีสผู้เป็นอาจารย์ของท่านเป็นจุดศูนย์กลาง ในขณะที่อริสโตเติ้ลลูกศิษย์ของเพลโตบุกเบิกสาขาปรัชญาใหม่ๆ รวมทั้งพื้นฐานทางวิทยาศาสตร์หลายแขนง รวมทั้งการจำแนกหมวดหมู่สัตว์ และทฤษฎีทางกลศาสตร์ซึ่งเป็นชุดความรู้ที่สังคมตะวันตกยึดถือกันต่อมาอีกเกือบสองพันปีจนกระทั่งถูกเปลี่ยนแปลงในสมัยของไอแซก นิวตัน.

ใหม่!!: ภาษาละตินและวรรณกรรมกรีกโบราณ · ดูเพิ่มเติม »

ออวิด

ออวิด ปูบลิอุส ออวิดิอุส นาโซ (Pvblivs Ovidivs Naso) หรือที่รู้จักในชื่อภาษาอังกฤษว่า ออวิด (Ovid) เกิดเมื่อวันที่ 20 มีนาคม ในปีที่ 43 ก่อนคริสต์ศักราช เสียชีวิตในปี..

ใหม่!!: ภาษาละตินและออวิด · ดูเพิ่มเติม »

อักษรกรีก

อักษรกรีก เป็นอักษรที่ใช้สำหรับเขียนภาษากรีก โดยมีพัฒนาการมาตั้งแต่ยุคคลาสสิก ประมาณ 357 ปีก่อนพุทธศักราช (ศตวรรษที่ 9 ก่อนคริสต์ศักราช) และยังคงใช้สืบต่อเรื่อยมา นับเป็นอักษรที่เก่าแก่ที่สุดแบบหนึ่งที่ยังคงใช้อยู่ในปัจจุบัน ในสมัยกรีกโบราณนั้น อักษรกรีกยังใช้เขียนแทนจำนวนอีกด้วย ซึ่งในกรณีนี้จะเรียกว่าเลขกรีก ในทำนองเดียวกับเลขโรมัน ทุกวันนี้เราใช้อักษรกรีกเป็นสัญลักษณ์คณิตศาสตร์ เป็นชื่อดาวฤกษ์ เป็นชื่อกลุ่มภราดรและกลุ่มภคินี และใช้เพื่อวัตถุประสงค์อื่น ๆ อีกมาก.

ใหม่!!: ภาษาละตินและอักษรกรีก · ดูเพิ่มเติม »

อักษรละติน

อักษรละติน หรือ อักษรโรมัน เป็นระบบตัวเขียนแบบตัวอักษร สันนิษฐานว่าอักษรละตินมีที่มาจากอักษรคิวมี (Cumae alphabet) ซึ่งดัดแปลงมาจากอักษรกรีกอีกทอดหนึ่ง ที่ใช้กันแพร่หลายที่สุดในโลก โดยเฉพาะประเทศในยุโรปและอเมริกา และประเทศในเอเชียที่นำอักษรละตินมาใช้ในภายหลังเช่น ประเทศอินโดนีเซีย ประเทศเวียดนาม ประเทศมาเลเซีย ประเทศเติร์กเมนิสถาน ประเทศทาจิกิสถาน ประเทศอาเซอร์ไบจาน ประเทศตุรกี และประเทศฟิลิปปินส์ รวมถึงการเขียนภาษาด้วยอักษรโรมัน (romanization) ในภาษาต่างๆ เช่น พินอิน (ภาษาจีน) หรือ โรมะจิ (ภาษาญี่ปุ่น).

ใหม่!!: ภาษาละตินและอักษรละติน · ดูเพิ่มเติม »

อังกฤษสมัยแองโกล-นอร์มัน

แองโกล-นอร์มัน (Anglo-Norman) คือผู้สืบเชื้อสายจากชาวนอร์มันผู้ปกครองอังกฤษหลังจากที่ได้รับชัยชนะในการรุกรานอังกฤษโดยดยุควิลเลียมแห่งนอร์ม็องดีในปี ค.ศ. 1066 แม้ว่าจะมีนอร์มันมาตั้งถิ่นฐานอยู่บ้างก่อนหน้านั้นแล้ว หลังจากยุทธการเฮสติงส์ผู้รุกรานชาวนอร์มันและลูกหลานก็เข้ามาตั้งถิ่นฐานในฐานะกลุ่มชนที่แตกต่างจากกลุ่มชนที่ตั้งถิ่นฐานอยู่แล้วในอังกฤษ ผู้ที่ตั้งถิ่นฐานเหล่านี้ต่อมาก็กลืนไปกับผู้ที่ตั้งถิ่นฐานอยู่อยู่แต่เดิมและมาใช้ภาษาพูดที่เรียกว่าภาษาแองโกล-นอร์มัน.

ใหม่!!: ภาษาละตินและอังกฤษสมัยแองโกล-นอร์มัน · ดูเพิ่มเติม »

จักรพรรดิมาร์กุส เอาเรลิอุส

ักรพรรดิมาร์กุส เอาเรลิอุส (Marcus Aurelius หรือ Marcus Aurelius Antoninus Augustus) (ราว 26 เมษายน ค.ศ. 121Augustan History, "Marcus Aurelius" – 17 มีนาคม ค.ศ. 180) มาร์กุส เอาเรลิอุสเป็นจักรพรรดิแห่งจักรวรรดิโรมันระหว่างวันที่ 8 มีนาคม ค.ศ. 161 ถึง ค.ศ. 169 โดยปกครองร่วมกับ ลูกิอุส เวรุส (Lucius Verus) พระอนุชาบุญธรรม จนเวรุสสิ้นพระชนม์ในปี 169; จากนั้นเอาเรลิอุสทรงปกครองต่อมาโดยลำพังพระองค์เองระหว่างปี ค.ศ. 169 ถึง ค.ศ. 177 และ ทรงปกครองร่วมกับ ก็อมมอดุส (Commodus) ผู้เป็นราชโอรสของพระองค์ ระหว่าง ค.ศ. 177 จนกระทั่งสิ้นพระชนม์เมื่อวันที่ 17 มีนาคม ค.ศ. 180 มาร์กุส เอาเรลิอุสเป็นจักรพรรดิองค์สุดท้ายของ “จักรพรรดิโรมันผู้ทรงคุณธรรมห้าพระองค์” (Five Good Emperors) และถือกันว่าเป็นนักปรัชญาลัทธิสโตอิก (Stoicism) คนสำคัญคนหนึ่ง เหตุการณ์สำคัญในสมัยการปกครองของมาร์กุส เอาเรลิอุสก็ได้แก่สงครามในเอเชียกับจักรวรรดิพาร์เธียน (Parthian Empire), และกับชนเผ่าเจอร์มานิคตามบริเวณพรมแดนโรมัน-เจอร์มานิคัส (LimesGermanicus) เข้าไปในกอลและข้ามแม่น้ำดานูบ และการปฏิวัติทางตะวันออกที่นำโดยอาวิเดียส คาสเซียส (Avidius Cassius) ที่ไม่ประสบความสำเร็จ นอกจากความสามารถในการสงครามแล้วมาร์กุส เอาเรลิอุสก็ยังมีงานเขียน “Meditations” ที่เขียนเป็นภาษากรีกระหว่างที่ทำการรณรงค์ระหว่างปี..

ใหม่!!: ภาษาละตินและจักรพรรดิมาร์กุส เอาเรลิอุส · ดูเพิ่มเติม »

จักรวรรดิโรมัน

ักรวรรดิโรมันในช่วงเวลาต่างๆกัน จักรวรรดิโรมัน (Imperivm Romanvm; Ῥωμαϊκὴ Αὐτοκρατορία หรือ Ἡ Ῥωμαίων βασιλεία; Roman Empire) เป็นช่วงระยะเวลาหนึ่งของอารยธรรมโรมันโบราณซึ่งปกครองโดยรูปแบบอัตตาธิปไตย จักรวรรดิโรมันได้สืบต่อการปกครองมาจากสาธารณรัฐโรมัน (510 ปีก่อนคริสตกาล - ศตวรรษที่ 1 ก่อนคริสตาล) ซึ่งได้อ่อนแอลงหลังจากความขัดแย้งระหว่างไกอุส มาริอุสและซุลลา และสงครามกลางเมืองระหว่างจูเลียส ซีซาร์และปอมปีย์ มีวันหลายวันที่ได้ถูกเสนอให้เป็นเส้นแบ่งของการเปลี่ยนแปลงระหว่างสาธารณรัฐและจักรวรรดิ ได้แก.

ใหม่!!: ภาษาละตินและจักรวรรดิโรมัน · ดูเพิ่มเติม »

ทวีปยุโรป

ทวีปยุโรป (อ่านว่า "ยุ-โหฺรบ") มีฐานะเป็นทวีปทั้งในแง่ประวัติศาสตร์และวัฒนธรรม ในทางภูมิศาสตร์ ยุโรปเป็นอนุทวีปที่อยู่ทางด้านตะวันตกของมหาทวีปยูเรเชีย ยุโรปมีพรมแดนทางเหนือติดกับมหาสมุทรอาร์กติก ทางตะวันตกติดกับมหาสมุทรแอตแลนติก ทางใต้ติดกับทะเลเมดิเตอร์เรเนียนและทะเลดำ ด้านตะวันออกติดกับเทือกเขายูรัลและทะเลแคสเปียน "Europe" (pp. 68-9); "Asia" (pp. 90-1): "A commonly accepted division between Asia and Europe...

ใหม่!!: ภาษาละตินและทวีปยุโรป · ดูเพิ่มเติม »

ทอมัส อไควนัส

นักบุญทอมัส อไควนัส (Thomas Aquinas (ค.ศ. 1225-1274) เป็นบาทหลวงโรมันคาทอลิกสังกัดคณะดอมินิกัน เกิดในตระกูลขุนนางชาวอิตาลี สนใจศึกษาสิ่งต่าง ๆ อย่างละเอียดลึกซึ้ง อไควนัสได้พัฒนาแนวความคิดของเขาโดยได้รับอิทธิพลจากอาริสโตเติล ในขณะที่นักคิดคนอื่นมีความเห็นตรงกันข้าม อควีนาสได้ดำเนินการศึกษา สรุปผลที่เป็นแบบตรรกศาสตร์ที่สมบูรณ์ โดยไม่มีข้อสงสัยหรือข้อขัดแย้ง ตามแนวความคิดของอไควนัส ระเบียบวิธีดังกล่าวเกิดขึ้นเมื่ออควีนาสเริ่มหันมาสนใจศึกษาค้นคว้าแนวความคิดของอาริสโตเติล และได้มีอิทธิพลตลอดชีวิตการทำงานของอไควนัส จุดมุ่งหมายอีกประการหนึ่งของอไควนัสคือ การผสมผสานเทววิทยาศาสนาคริสต์ให้เข้ากับตรรกศาสตร์ของอาริสโตเติล ในที่สุดแนวความคิดของอาริสโตเติลก็กลับมามีชื่อเสียงขึ้นอีกครั้งหนึ่ง นักคิดชาวตะวันตกก็เริ่มหันมาศึกษางานของอริสโตเติลกันมากขึ้น มีผู้กล่าวว่าอาริสโตเติลเป็นผู้ที่ได้รับการยกย่องว่าเป็นนักปราชญ์ที่มีความรอบรู้ พระเจ้าพึงพอใจยอมอนุญาตให้เป็นผู้สรุปความรู้ทุกสาขาวิชา เท่ากับยอมรับว่าอาริสโตเติลเป็นเหมือนคัมภีร์อันศักดิ์สิทธิ์ เป็นนักบวชของศาสนา เป็นตัวบทกฎหมาย และเป็นนักวินัยทางศาสนา เปรียบเสมือนเป็นผู้ที่มีอำนาจหน้าที่กำหนดความสัมพันธ์ของมนุษย์ กำหนดความรู้ทุกสาขาวิชา งานเขียนของอไควนัส ในระยะนี้พยายามอธิบายสังคมที่ได้รับอิทธิพลจากศาสนา และพระผู้เป็นเจ้า อไควนัสพยายามกำหนดความสำคัญและหน้าที่ใหม่ของศาสนาที่มีต่อสังคม โดยให้ศาสนายังคงมีอำนาจทางธรรมตามคำสอนของศาสนา อไควนัสก็เหมือนกับนักปราชญ์คนอื่น คือมีความเชื่อว่ามนุษย์เป็นสัตว์สังคมมีจุดมุ่งหมายเพื่อดำรงชีวิตอยู่ในสังคม มนุษย์เป็นสัตว์สังคมที่มีความสามารถกำหนดควบคุมการกระทำของตนเองได้ด้วยสติปัญญา มนุษย์จะตกอยู่ในอันตราย ถ้าไม่ยอมรับระบบสังคม อไควนัสจึงเน้นเอกภาพในสังคมมนุษย์ที่มีพลังอำนาจ โดยเฉพาะอย่างยิ่งเอกภาพทางการเมืองเป็นสิ่งสำคัญ จุดมุ่งหมายก็เพื่อให้สังคมมีเอกภาพอย่างสันติไม่มีความขัดแย้งเกิดขึ้น วิธีการดังกล่าวเปรียบเสมือนมนุษย์ได้รับการอบรมทางจิต จิตที่อบรมแล้ว จะสั่งการให้ร่างกายกระทำสิ่งต่าง ๆ ตามหน้าที่ในสังคม ดังนั้น การปกครองโดยรัฐบาลที่มีผู้นำเพียงคนเดียวจึงเป็นวิธีการที่ดีที่สุด กษัตริย์อันเป็นราชาแห่งปราชญ์คนเดียวจะปกครองประชาชนอย่างยุติธรรม โครงสร้างทางสังคมก็เหมือนกับธรรมชาติที่พระเจ้าปกครอง คนในสังคมจะทำหน้าที่ได้ดีที่สุด ถ้าสัมคมมีเอกภาพโดยมีผู้นำเพียงคนเดียว.

ใหม่!!: ภาษาละตินและทอมัส อไควนัส · ดูเพิ่มเติม »

คริสต์ศตวรรษที่ 9

ริสต์ศตวรรษที่ 9 อยู่ระหว่างปี ค.ศ. 801 ถึง ค.ศ. 900.

ใหม่!!: ภาษาละตินและคริสต์ศตวรรษที่ 9 · ดูเพิ่มเติม »

คาบสมุทรอิตาลี

ทางอากาศของคาบสมุทรอิตาลี คาบสมุทรอิตาลี หรือ คาบสมุทรแอเพนไนน์ (Penisola italiana, Penisola appenninica) เป็นคาบสมุทรที่ตั้งอยู่ในภูมิภาคยุโรปใต้ พื้นที่ทางตอนเหนือติดกับเทือกเขาแอลป์และประเทศสวิตเซอร์แลนด์ ทางทิศตะวันออกติดกับทะเลเอเดรียติก ทางทิศใต้ติดกับทะเลไอโอเนียน และทางทิศตะวันตกติดกับทะเลติร์เรเนียนและทะเลลิกูเรียน คาบสมุทรนี้มีรูปร่างคล้ายรองเท้าบูท โดยบริเวณตอนกลางของคาบสมุทรมีเทือกเขาแอเพนไนน์เป็นแกนกลาง บริเวณตอนเหนือมีที่ราบลุ่มแม่น้ำโปซึ่งตั้งอยู่ระหว่างเทือกเขาแอลป์กับเทือกเขาแอเพนไนน์นั้น เป็นที่ราบลุ่มอันอุดมสมบูรณ์มีรูปร่างเป็นรูปสามเหลี่ยม และเป็นที่ตั้งเมืองสำคัญของประเทศอิตาลี เช่น มิลาน ตูริน เวนิส โบโลญญา ปาร์มา เวโรนา คาบสมุทรอิตาลีมีความยาวประมาณ 1,000 กิโลเมตร ความกว้างโดยเฉลี่ยประมาณ 290 กิโลเมตร และตั้งอยู่ในภูมิภาคยุโรปใต้ มีพื้นที่ประมาณ 260,000 ตารางกิโลเมตร (ไม่นับรวมพื้นที่เกาะซิซิลีและเกาะซาร์ดิเนีย) เป็นคาบสมุทรที่มีพื้นที่ใหญ่เป็นอันดับที่ 4 ของทวีปยุโรป รองจาก คาบสมุทรสแกนดิเนเวีย คาบสมุทรไอบีเรีย และคาบสมุทรบอลข่าน ตามลำดับ เมืองใหญ่ที่ตั้งอยู่บริเวณคาบสมุทรอิตาลีเรียงตามลำดับ 4 อันดับแรกได้แก่ โรม มิลาน เนเปิลส์ และตูริน ภูมิอากาศบริเวณคาบสมุทรอิตาลีเป็นแบบเมดิเตอร์เรเนียน พืชที่ปลูกส่วนใหญ่ที่นิยมปลูกคือ มะกอกเพื่อทำน้ำมันมะกอก และองุ่นเพื่อใช้ทำไวน์ เมืองท่าที่สำคัญบนคาบสมุทรอิตาลีได้แก่ เจนัว เวนิส และเนเปิล.

ใหม่!!: ภาษาละตินและคาบสมุทรอิตาลี · ดูเพิ่มเติม »

ตระกูลภาษาอินโด-ยูโรเปียน

ตระกูลภาษาอินโด-ยูโรเปียน หรือ ตระกูลภาษาอินเดีย-ยุโรป ประกอบด้วยภาษาและภาษาย่อยรวม 443 ภาษา (ตามการประมาณของ SIL) ที่พูดโดยคนประมาณ 3 พันล้านคน ซึ่งรวมถึงตระกูลภาษาหลัก ๆ ของยุโรป และเอเชียตะวันตก ซึ่งจัดอยู่ในตระกูลใหญ่ ภาษาปัจจุบันที่อยู่ในตระกูลใหญ่นี้ มีเช่น ภาษาเบงกาลี ภาษาอังกฤษ ภาษาฝรั่งเศส ภาษาเยอรมัน ภาษาฮินดี ภาษาโปรตุเกส ภาษารัสเซีย และ ภาษาสเปน (แต่ละภาษามีคนพูดมากกว่า 100 ล้านคน).

ใหม่!!: ภาษาละตินและตระกูลภาษาอินโด-ยูโรเปียน · ดูเพิ่มเติม »

นครรัฐวาติกัน

นครรัฐวาติกัน (State of the Vatican City; Stato della Città del Vaticano) เป็นนครรัฐที่ไม่มีทางออกสู่ทะเลซึ่งน้อยที่สุดในโลกทั้งในแง่พื้นที่และประชากร ตั้งอยู่ในกรุงโรม ประเทศอิตาลี เป็นที่ประทับของพระสันตะปาปา ซึ่งเป็นประมุขสูงสุดแห่งคริสตจักรโรมันคาทอลิก ศูนย์กลางคือมหาวิหารนักบุญเปโตร ซึ่งออกแบบโดยมีเกลันเจโล การปกครองเป็นแบบอำนาจเบ็ดเสร็จ อำนาจตกอยู่ที่พระสันตะปาปาเพียงผู้เดียว จะหมดวาระก็ต่อเมื่อสิ้นพระชนม์ ปัจจุบัน สมเด็จพระสันตะปาปาฟรานซิส เมื่อวันที่ 15 มีนาคม พ.ศ. 2556.

ใหม่!!: ภาษาละตินและนครรัฐวาติกัน · ดูเพิ่มเติม »

โรม

ลอสเซียม สัญลักษณ์ที่สำคัญของโรม โรม (Rome; Roma) เป็นเมืองหลวงและเมืองที่ใหญ่ที่สุดของแคว้นลัตซีโยและประเทศอิตาลี ตั้งอยู่ทางตอนกลางของประเทศ ในเขตตัวเมืองมีประชากรอาศัยอยู่ประมาณ 2.5 ล้านคน ถ้ารวมเมืองโดยรอบจะมีประมาณ 4.3 ล้านคน โดยมีจำนวนประชากรใกล้เคียงกับมิลานและเนเปิลส์ นอกจากนี้ โรมยังเป็นที่ตั้งของนครรัฐวาติกัน ซึ่งเป็นดินแดนที่ประทับของพระสันตะปาปาแห่งศาสนาคริสต์นิกายโรมันคาทอลิกอีกด้วย หลังสิ้นสุดยุคกลาง โรมได้อยู่ภายใต้การปกครองของพระสันตะปาปา เช่น สมเด็จพระสันตะปาปาอเล็กซานเดอร์ที่ 6 และสมเด็จพระสันตะปาปาลีโอที่ 10 ผู้ซึ่งสร้างสรรค์ให้โรมกลายเป็นหนึ่งในศูนย์กลางของสมัยฟื้นฟูศิลปวิทยาในอิตาลีเช่นเดียวกับฟลอเรนซ์ ซึ่งในยุคสมัยดังกล่าว ได้มีการก่อสร้างมหาวิหารเซนต์ปีเตอร์แบบที่เห็นในปัจจุบัน และมีเกลันเจโลได้วาดภาพปูนเปียกประดับภายในโบสถ์น้อยซิสทีน ศิลปินและสถาปนิกที่มีชื่อเสียงอย่างบรามันเต แบร์นินี และราฟาเอล ซึ่งพำนักอยู่ในโรมเป็นครั้งคราว ได้มีส่วนช่วยสรางสรรค์สถาปัตยกรรมแบบสมัยฟื้นฟูศิลปวิทยาและแบบบารอกในโรมด้วยเช่นกัน ใน พ.ศ. 2550 โรมเป็นเมืองที่มีผู้มาเยือนมากเป็นอันดับที่ 11 ของโลก มากเป็นอันดับสามในสหภาพยุโรป และเป็นแหล่งท่องเที่ยวที่เป็นที่นิยมมากที่สุดในอิตาลี ศูนย์กลางทางประวัติศาสตร์ใจกลางเมืองได้รับการขึ้นทะเบียนจากองค์การยูเนสโกให้เป็นมรดกโลก นอกจากนี้ อนุสรณ์สถานและพิพิธภัณฑ์อย่างพิพิธภัณฑ์วาติกันและโคลอสเซียมยังจัดอยู่ในแหล่งท่องเที่ยวที่มีนักท่องเที่ยวเยี่ยมชมมากที่สุด 50 อันดับแรกของโลก (พิพิธภัณฑ์วาติกันมีนักท่องเที่ยว 4.2 ล้านคนต่อปี และโคลอสเซียมมี 4 ล้านคนต่อปี).

ใหม่!!: ภาษาละตินและโรม · ดูเพิ่มเติม »

เวอร์จิล

เวอร์จิล ปูบลิอุส แวร์กิลิอุส มาโร (Pvblivs Vergilivs Maro) หรือ เวอร์จิล (Virgil, Vergil; 15 ตุลาคม 70 ปีก่อนคริสต์ศักราช - 21 กันยายน 19 ปีก่อนคริสต์ศักราช) เป็นกวีชาวโรมโบราณ บทกวีที่เขาแต่งจะเป็นเรื่องเกี่ยวกับพระเจ้าและนิยายปรัมปรา งานเขียนที่มีชื่อเสียงของเขาได้แก่ เอ็กคล็อกส์ (Eclogues), จอร์จิกส์ (Georgics) และมหากาพย์ อีนีอิด (Aeneid) หมวดหมู่:นักเขียนชาวโรมัน.

ใหม่!!: ภาษาละตินและเวอร์จิล · ดูเพิ่มเติม »

เสียงพยัญชนะนาสิก

ียงพยัญชนะนาสิก เป็นเสียงพยัญชนะที่เกิดจากการหย่อนเพดานอ่อนในปาก แล้วปล่อยอากาศอย่างอิสระออกทางจมูก อวัยวะในช่องปากรูปแบบต่าง ๆ ทำหน้าที่สั่นพ้องเสียงให้ก้อง แต่อากาศจะไม่ออกมาทางช่องปากเพราะถูกกักด้วยริมฝีปากหรือลิ้น นอกจากนี้ยังมีเสียงพยัญชนะอื่นที่ออกเสียงขึ้นจมูก (nasalized) ซึ่งพบได้ยาก.

ใหม่!!: ภาษาละตินและเสียงพยัญชนะนาสิก · ดูเพิ่มเติม »

C

C (ตัวใหญ่:C ตัวเล็ก:c) เป็นอักษรละติน ลำดับที่ 3.

ใหม่!!: ภาษาละตินและC · ดูเพิ่มเติม »

E

E (ตัวใหญ่:E ตัวเล็ก:e) เป็นอักษรละตินตัวที่ 5.

ใหม่!!: ภาษาละตินและE · ดูเพิ่มเติม »

G

G เป็นอักษรลำดับที่ 7 ในอักษรละติน.

ใหม่!!: ภาษาละตินและG · ดูเพิ่มเติม »

I

I เป็นอักษรละติน ในลำดับที่ 9.

ใหม่!!: ภาษาละตินและI · ดูเพิ่มเติม »

L

L (ตัวใหญ่:L ตัวเล็ก:l) เป็นอักษรละติน ลำดับที่ 12.

ใหม่!!: ภาษาละตินและL · ดูเพิ่มเติม »

N

N (ตัวใหญ่:N ตัวเล็ก:n) เป็นอักษรละตินในลำดับที่ 14.

ใหม่!!: ภาษาละตินและN · ดูเพิ่มเติม »

O

O (ตัวใหญ่:O ตัวเล็ก:o) เป็นอักษรละติน ในลำดับที่ 15 โดยชื่อเรียกคือ "โอ".

ใหม่!!: ภาษาละตินและO · ดูเพิ่มเติม »

S

S (ตัวใหญ่: S ตัวเล็ก: s) เป็นอักษรละตินลำดับที่ 19.

ใหม่!!: ภาษาละตินและS · ดูเพิ่มเติม »

T

T (ตัวใหญ่:T ตัวเล็ก:t) เป็นอักษรละติน ลำดับที่ 20.

ใหม่!!: ภาษาละตินและT · ดูเพิ่มเติม »

U

U (ตัวใหญ่:U ตัวเล็ก:u) เป็นอักษรละตินลำดับที่ 21 ซึ่งในภาษาอังกฤษอ่านว่า "ยู" ในขณะที่เยอรมัน อิตาลี สเปน และฝรั่งเศส เรียกว่า "อู" ในขณะเดียวกันในประเทศไทยนิยมเรียกว่า "ยู" เช่นเดียวกับใน ภาษาญี่ปุ่น เรียกว่า "ยู" (ユー).

ใหม่!!: ภาษาละตินและU · ดูเพิ่มเติม »

X

X เป็นอักษรละตินลำดับที่ 24 ซึ่งในภาษากรีกตัวอักษร X อ่านว่า "ไค" ตัวอักษร X เป็นตัวอักษรที่ไม่มีในภาษาอิตาลียกเว้นคำยืมจากภาษาอื่น และไม่มีคำศัพท์ภาษาอังกฤษดั้งเดิมขึ้นต้นด้วยตัวอักษร X ในภาษาอังกฤษบางครั้งจะอ่านเหมือนคำว่า ไค ใช้แทนคำว่า คริสต์ ซึ่งเห็นได้ใน X'mas (คริสต์มาส) และมีการใช้ซึ่งอ่านว่า "ครอส" แทนเครื่องหมายไขว้ เช่นในคำว่า Xing.

ใหม่!!: ภาษาละตินและX · ดูเพิ่มเติม »

Y

Y (ตัวใหญ่:Y ตัวเล็ก:y) เป็นอักษรละติน ลำดับที่ 25.

ใหม่!!: ภาษาละตินและY · ดูเพิ่มเติม »

เปลี่ยนเส้นทางที่นี่:

LatinLatin languageภาษาลาตินภาษาโรมัน

ขาออกขาเข้า
Hey! เราอยู่ใน Facebook ตอนนี้! »