โลโก้
ยูเนี่ยนพีเดีย
การสื่อสาร
ดาวน์โหลดได้จาก Google Play
ใหม่! ดาวน์โหลด ยูเนี่ยนพีเดีย บน Android ™ของคุณ!
ดาวน์โหลด
เร็วกว่าเบราว์เซอร์!
 

ภาษาโคนที

ดัชนี ภาษาโคนที

ภาษาโคนที หรือ ภาษาโฆนที (Gōndi) อยู่ในตระกูลภาษาดราวิเดียน เป็นภาษาที่พูดโดยชาวกอนด์ เป็นภาษาที่สำคัญภาษาหนึ่งของกลุ่มภาษาดราวิเดียนกลาง มีผู้พูดทั้งหมด 2,000,000 คน มักพูดในบริเวณรัฐมัธยประเทศ รัฐคุชราต รัฐอานธรประเทศ รัฐมหาราษฏระและรัฐฉัตตีสครห์ รวมทั้งรัฐใกล้เคียง ปัจจุบันมีชาวโฆนทีประมาณครึ่งหนึ่งที่พุดภาษานี้ ภาษานี้ไม่มีวรรณคดีในรูปการเขียน แต่มีเพลงพื้นบ้านมากมายเช่นเพลงเกี่ยวกับการแต่งงาน ภาษานี้มีระบบเพศสองระบบ คำนามอาจจะเป็นเพศชายหรือไม่เป็นเพศชาย ภาษานี้แยกออกจากภาษาดราวิเดียนดั้งเดิมโดยพัฒนาเสียงโฆษะทั้งเสียงไม่มีลม (g, j, ḍ, d, b) และเสียงมีลม (kh, gh, jh, dh, ph)สำเนียงของภาษาโฆนทียังมีการศึกษาและบันทึกไว้ไม่เพียงพอ ส่วนใหญ่จะแยกเป็นกลุ่มสำเนียงตะวันตกเฉียงเหนือกับตะวันออกเฉียงใต้ ในอดีตภาษานี้เคยมีอักษรเป็นของตนเองเรียกอักษรโฆนที ซึ่งใช้น้อยลงในปัจจุบัน โดยทั่วไปใช้อักษรเทวนาครีหรืออักษรเตลูกู โคนที.

8 ความสัมพันธ์: รัฐมหาราษฏระรัฐมัธยประเทศรัฐอานธรประเทศรัฐคุชราตรัฐฉัตตีสครห์อักษรเทวนาครีอักษรเตลูกูตระกูลภาษาดราวิเดียน

รัฐมหาราษฏระ

รัฐมหาราษฏระ คือหนึ่งในรัฐของประเทศอินเดีย ตั้งอยู่ทางตะวันตกของประเทศ ติดต่อกับกับทะเลอาหรับทางทิศตะวันตก มีเมืองหลวงชื่อ มุมไบ ผลิตผลสำคัญ ได้แก่ ข้าวเจ้า ข้าวสาลี ฝ้าย และแร่แมงกานีส มีอุตสาหกรรมสิ่งทอ และวิศวกรรมไฟฟ้า ม หมวดหมู่:รัฐมหาราษฏระ หมวดหมู่:รัฐและดินแดนที่ก่อตั้งในปี พ.ศ. 2503.

ใหม่!!: ภาษาโคนทีและรัฐมหาราษฏระ · ดูเพิ่มเติม »

รัฐมัธยประเทศ

รัฐมัธยประเทศ คือหนึ่งในรัฐของประเทศอินเดีย ไม่มีเขตติดต่อกับทะเลเนื่องจากตั้งอยู่ตรงกลางประเทศ รัฐมัธยประเทศได้เป็นรัฐที่ใหญ่ที่สุดของอินเดียจนถึงวันที่ 1 พฤศจิกายน..

ใหม่!!: ภาษาโคนทีและรัฐมัธยประเทศ · ดูเพิ่มเติม »

รัฐอานธรประเทศ

รัฐอานธรประเทศ คือหนึ่งในรัฐของประเทศอินเดีย ตั้งอยู่ทิศตะวันออกเฉียงใต้ของประเทศ เป็นรัฐที่เป็นศูนย์กลางอุตสาหกรรมในอินเดียใต้ อุตสาหกรรมที่สำคัญได้แก่ เทคโนโลยีสารสนเทศ ยานยนต์ พืชสวน เคมีภัณฑ์ เป็นแหล่งแร่ธาตุที่สำคัญเป็นอันดับสองในอินเดีย เมืองไฮเดอราบาดเป็นที่ตั้งของสนามบินระดับชาติและนานาชาต.

ใหม่!!: ภาษาโคนทีและรัฐอานธรประเทศ · ดูเพิ่มเติม »

รัฐคุชราต

รัฐคุชราต คือหนึ่งในรัฐของประเทศอินเดีย ตั้งอยู่ทางตะวันตกของประเทศติดกับประเทศปากีสถานและทะเลอาหรับ รัฐคุชราต เป็นแหล่งอุตสาหกรรมแหล่งแรกๆในอินเดีย จนได้ชื่อว่าแมนเชสเตอร์ตะวันออก เป็นบ้านเกิดของมหาตมะ คานธี เป็นรัฐที่ห้ามขายเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ ประชากรมากกว่า 80% ไม่รับประทานเนื้อสัตว์ เมืองสุรัตเป็นศูนย์กลางการเจียระไนเพชรระดับโลก คุช หมวดหมู่:รัฐคุชราต หมวดหมู่:รัฐและดินแดนที่ก่อตั้งในปี พ.ศ. 2503.

ใหม่!!: ภาษาโคนทีและรัฐคุชราต · ดูเพิ่มเติม »

รัฐฉัตตีสครห์

รัฐฉัตตีสครห์ คือรัฐที่ตั้งอยู่ตรงกลางของประเทศอินเดีย แยกตัวออกมาจากรัฐมัธยประเทศเมื่อปี พ.ศ. 2543 เป็นรัฐที่ไม่มีเขตแดนติดกับทะเล ชื่อรัฐในภาษาฮินดีแปลว่าปราสาท 36 หลัง ในสมัยพุทธกาลเป็นส่วนหนึ่งของแคว้นโกศล เป็นรัฐที่มีทรัพยากรแร่ธาตุต่าง ๆ มาก โดยเฉพาะเหล็ก ฉัตตีสครห์ หมวดหมู่:รัฐและดินแดนที่ก่อตั้งในปี พ.ศ. 2543.

ใหม่!!: ภาษาโคนทีและรัฐฉัตตีสครห์ · ดูเพิ่มเติม »

อักษรเทวนาครี

อักษรเทวนาครี (देवनागरी อ่านว่า เท-วะ-นา-คะ-รี; Devanagari) พัฒนามาจากอักษรพราหมีในราวคริสต์ศตวรรษที่ 11 ใช้เขียนภาษาฮินดี ภาษาสันสกฤต ภาษามราฐี ภาษาบาลี ภาษาสินธี ภาษาเนปาล และภาษาอื่นๆในประเทศอินเดีย อักษรเทวนาครีมีลักษณะการเขียนจากซ้ายไปขวา มีเส้นเล็กๆ อยู่เหนือตัวอักษร หากเขียนต่อกัน จะเป็นเส้นยาวคล้ายเส้นบรรทัด มีการแยกพยัญชนะ สระ และเครื่องหมายต่าง.

ใหม่!!: ภาษาโคนทีและอักษรเทวนาครี · ดูเพิ่มเติม »

อักษรเตลูกู

การแพร่กระจายของอักษรจากอินเดียรวมทั้ง'''อักษรเตลูกู''' อักษรเตลูกู ใช้เขียนภาษาเตลูกู ในรัฐทางใต้ของอินเดีย พัฒนามาจากอักษรพราหมีของอินเดียโบราณ ใกล้เคียงกับอักษรกันนาดามาก จารึกเก่าสุดพบในคริสต์ศตวรรษที่ 6 และกวีนิพนธ์ภาษาเตลูกู เริ่มปรากฏใน คริสต์ศตวรรษที่ 11 รูปแบบโบราณของอักษรเตลูกู ต่างจากที่ใช้ในทุกวันนี้และใช้มาจนถึงคริสต์ศตวรรษที่ 20 ก่อนจะมีการปรับปรุงใหม่และใช้มาจนปัจจุบัน.

ใหม่!!: ภาษาโคนทีและอักษรเตลูกู · ดูเพิ่มเติม »

ตระกูลภาษาดราวิเดียน

การแพร่กระจายของตระกูลภาษาดราวิเดียน ตระกูลภาษาดราวิเดียนเป็นตระกูลของภาษาที่มีสมาชิก 73 ภาษา ส่วนใหญ่ใช้พูดทางภาคใต้ของอินเดียและทางตะวันออกเฉียงเหนือของศรีลังกา และบางบริเวณในปากีสถาน เนปาล บังกลาเทศ และภาคกลางและภาคตะวันออกของอินเดีย รวมทั้งบางส่วนของอัฟกานิสถานด้วย นอกจากนั้นยังมีผู้ที่อพยพไปยังมาเลเซียและสิงคโปร.

ใหม่!!: ภาษาโคนทีและตระกูลภาษาดราวิเดียน · ดูเพิ่มเติม »

ขาออกขาเข้า
Hey! เราอยู่ใน Facebook ตอนนี้! »