โลโก้
ยูเนี่ยนพีเดีย
การสื่อสาร
ดาวน์โหลดได้จาก Google Play
ใหม่! ดาวน์โหลด ยูเนี่ยนพีเดีย บน Android ™ของคุณ!
ฟรี
เร็วกว่าเบราว์เซอร์!
 

ภาษาศาสตร์เปรียบเทียบ

ดัชนี ภาษาศาสตร์เปรียบเทียบ

ภาษาศาสตร์เปรียบเทียบ (comparative linguistics) หรือ นิรุกติศาสตร์เปรียบเทียบ (comparative philology) เป็นสาขาหนึ่งของภาษาศาสตร์เชิงประวัติ มุ่งที่จะศึกษาความเกี่ยวเนื่องของภาษาโบราณ เช่น ภาษากลุ่มอินโด-ยูโรเปียน อันมีภาษาต่าง ๆ ได้แก่ กรีก ละติน สันสกฤต อเวสตะ บาลี ฮิตไทต์ เปอร์เซียโบราณ ฯลฯ เนื้อหาสาระจะศึกษาประวัติศาสตร์และวิวัฒนาการของภาษาตระกูลอินโดยุโรปที่ไปแตกกิ่งแขนงในรูปภาษาต่าง ๆ ดังกล่าว แต่ภาษาเหล่านี้ยังมีระบบเสียง (phonology) ระบบหน่วยคำ (morphology) และระบบวากยสัมพันธ์ (syntax) ที่ละม้ายกันมาก ความละม้ายกันนี้ มีผู้ตั้งทฤษฎีต่าง ๆ ขึ้นมามากมาย ซึ่งแต่ละทฤษฎีล้วนแต่ชี้ให้เห็นถึงความสัมพันธ์ที่มีต่อกันอย่างแนบแน่น ทำให้ความเชื่อที่ว่าภาษาต่าง ๆ เหล่านี้มาจากต้นตอเดียวกันแน่นแฟ้นยิ่งขึ้น ในประเทศไทย ผู้บุกเบิกงานนิรุกติศาสตร์เปรียบเทียบ และผลิตงานวิชาการทางนี้ออกมาบ้าง ได้แก่ เสฐียรโกเศศ (พระยาอนุมานราชธน) และกรมหมื่นนราธิปพงศ์ประพันธ์ ปัจจุบันมีการศึกษาด้านนี้อย่างต่อเนื่อง โดยเฉพาะภาษาในตระกูลไท มอญ-เขมร ส่วย กูย เป็นต้น หมวดหมู่:ภาษาศาสตร์.

8 ความสัมพันธ์: พระยาอนุมานราชธน (ยง เสฐียรโกเศศ)พระเจ้าวรวงศ์เธอ พระองค์เจ้าวรรณไวทยากร กรมหมื่นนราธิปพงศ์ประพันธ์ภาษาศาสตร์เชิงประวัติภาษาโบราณวากยสัมพันธ์วิทยาหน่วยคำสัทวิทยาตระกูลภาษาอินโด-ยูโรเปียน

พระยาอนุมานราชธน (ยง เสฐียรโกเศศ)

ตราจารย์ พระยาอนุมานราชธน (14 ธันวาคม พ.ศ. 2431 - 12 กรกฎาคม พ.ศ. 2512) นักปราชญ์และนักการศึกษาคนสำคัญของไทย ผู้มีผลงานดีเด่นทางด้านวัฒนธรรมและเป็นหนึ่งในบุคคลสำคัญของโลกชาวไทย ประจำปี พ.ศ. 2531 ขององค์การศึกษาวิทยาศาสตร์และวัฒนธรรมแห่งสหประชาชาติ (ยูเนสโก) เกิดเมื่อวันศุกร์ที่ 14 ธันวาคม..

ใหม่!!: ภาษาศาสตร์เปรียบเทียบและพระยาอนุมานราชธน (ยง เสฐียรโกเศศ) · ดูเพิ่มเติม »

พระเจ้าวรวงศ์เธอ พระองค์เจ้าวรรณไวทยากร กรมหมื่นนราธิปพงศ์ประพันธ์

ตราจารย์ พลตรี พระเจ้าวรวงศ์เธอ กรมหมื่นนราธิปพงศ์ประพันธ์ (25 สิงหาคม พ.ศ. 2434 - 5 กันยายน พ.ศ. 2519) อดีตรองนายกรัฐมนตรี อดีตประธานสมัชชาองค์การสหประชาชาติ และอดีตนายกราชบัณฑิตยสถาน รวมถึงเป็นผู้ร่วมสถาปนาสถาบันบัณฑิตพัฒนบริหารศาสตร์ และทรงเสนอให้คณะรัฐมนตรีจัดตั้งโรงเรียนการเมืองชั้นสูง(เป็นจุดเริ่มต้นแนวคิดการก่อตั้งมหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์และการเมือง) พระปรีชาสามารถในด้านการทูตและการต่างประเทศเป็นที่ยอมรับในระดับโลก และทรงมีชื่อเสียงการบัญญัติศัพท์ในภาษาไทย ทั้งยังทรงเป็นผู้วางกฎเกณฑ์ในการบัญญัติศัพท์ภาษาต่างประเทศด้วยคำบาลีและสันสกฤต สิ้นพระชนม์เมื่อวันที่ 5 กันยายน..

ใหม่!!: ภาษาศาสตร์เปรียบเทียบและพระเจ้าวรวงศ์เธอ พระองค์เจ้าวรรณไวทยากร กรมหมื่นนราธิปพงศ์ประพันธ์ · ดูเพิ่มเติม »

ภาษาศาสตร์เชิงประวัติ

ษาศาสตร์เชิงประวัติ (historical linguistics หรือ diachronic linguistics) เป็นการศึกษาการเปลี่ยนแปลงของภาษา โดยมี 4 ประเด็นหลักด้วยกัน ดังนี้.

ใหม่!!: ภาษาศาสตร์เปรียบเทียบและภาษาศาสตร์เชิงประวัติ · ดูเพิ่มเติม »

ภาษาโบราณ

ษาโบราณ อาจหมายถึง.

ใหม่!!: ภาษาศาสตร์เปรียบเทียบและภาษาโบราณ · ดูเพิ่มเติม »

วากยสัมพันธ์

ในทางภาษาศาสตร์ วากยสัมพันธ์ (อังกฤษ: syntax) หมายถึง การศึกษาว่าด้วยกฎของความสัมพันธ์ของแบบแผนองค์ประกอบของประโยคในภาษา อันเป็นส่วนหนึ่งของหลักไวยกรณ์ของภาษา ในภาษาไทย "วากยสัมพันธ์" เป็นส่วนหนึ่งของหลักไวยกรณ์ไทยที่กำหนดขึ้นเป็นหนึ่งในแบบแผนหรือไวยกรณ์ของภาษาไทย ซึ่งประกอบด้วย 4 แบบแผนหลัก ได้แก่ อักขรวิธี ซึ่งศึกษาว่าด้วยอักษร, วจีวิภาค ศึกษาว่าด้วยคำ, วากยสัมพันธ์ ศึกษาว่าด้วยความสัมพันธ์ของคำในประโยค, และ ฉันทลักษณ์ คือ กฎเกณฑ์ของการเขียนภาษาในรูปแบบต่างๆ วากยสัมพันธ์ ยังเป็นชื่อตำราไวยากรณ์ไทยว่าด้วยประโยค และความเกี่ยวข้องของส่วนต่างๆ ในประโยค การศึกษากฎหรือความสัมพันธ์ของภาษาอย่างเป็นแบบแผน ที่ควบคุมการเรียงคำเป็นวลี และวลีเป็นปร.

ใหม่!!: ภาษาศาสตร์เปรียบเทียบและวากยสัมพันธ์ · ดูเพิ่มเติม »

วิทยาหน่วยคำ

วิทยาหน่วยคำ (morphology) เป็นสาขาหนึ่งของภาษาศาสตร์ที่ศึกษาเกี่ยวกับโครงสร้างภายในของคำ โดยที่โดยทั่วไปแล้วคำถูกยอมรับว่าเป็นหน่วยที่เล็กที่สุดในวากยสัมพันธ์ และเป็นที่ชัดเจนว่าในภาษาส่วนมาก มีกฎที่ใช้อธิบายความสัมพันธ์ของคำแต่ละคำกับคำอื่น ๆ.

ใหม่!!: ภาษาศาสตร์เปรียบเทียบและวิทยาหน่วยคำ · ดูเพิ่มเติม »

สัทวิทยา

ัทวิทยา, สรวิทยา หรือ วิชาระบบเสียง (phonology) เป็นการศึกษาที่เกี่ยวกับเรื่องเสียงในภาษา โดยแยกย่อยออกเป็น 2 แขนง คือ สัทศาสตร์ (phonetics) และสรศาสตร์ (phonemics).

ใหม่!!: ภาษาศาสตร์เปรียบเทียบและสัทวิทยา · ดูเพิ่มเติม »

ตระกูลภาษาอินโด-ยูโรเปียน

ตระกูลภาษาอินโด-ยูโรเปียน หรือ ตระกูลภาษาอินเดีย-ยุโรป ประกอบด้วยภาษาและภาษาย่อยรวม 443 ภาษา (ตามการประมาณของ SIL) ที่พูดโดยคนประมาณ 3 พันล้านคน ซึ่งรวมถึงตระกูลภาษาหลัก ๆ ของยุโรป และเอเชียตะวันตก ซึ่งจัดอยู่ในตระกูลใหญ่ ภาษาปัจจุบันที่อยู่ในตระกูลใหญ่นี้ มีเช่น ภาษาเบงกาลี ภาษาอังกฤษ ภาษาฝรั่งเศส ภาษาเยอรมัน ภาษาฮินดี ภาษาโปรตุเกส ภาษารัสเซีย และ ภาษาสเปน (แต่ละภาษามีคนพูดมากกว่า 100 ล้านคน).

ใหม่!!: ภาษาศาสตร์เปรียบเทียบและตระกูลภาษาอินโด-ยูโรเปียน · ดูเพิ่มเติม »

เปลี่ยนเส้นทางที่นี่:

นิรุกติศาสตร์เปรียบเทียบ

ขาออกขาเข้า
Hey! เราอยู่ใน Facebook ตอนนี้! »