โลโก้
ยูเนี่ยนพีเดีย
การสื่อสาร
ดาวน์โหลดได้จาก Google Play
ใหม่! ดาวน์โหลด ยูเนี่ยนพีเดีย บน Android ™ของคุณ!
ฟรี
เร็วกว่าเบราว์เซอร์!
 

ภาษาลิมบู

ดัชนี ภาษาลิมบู

ษาลิมบูเป็นตระกูลภาษาย่อยทิเบต-พม่า ใช้พูดในเนปาล สิกขิม และตำบลดาร์จีลิงในรัฐเบงกอลตะวันตก อินเดีย โดยชาวลิมบู ซึ่งส่วนใหญ่จะพูดภาษาเนปาลเป็นภาษาที่สอง ชื่อภาษา “ลิมบู” เป็นคำจากภาษาอื่นและไม่รู้ที่มา ชาวลิมบูเรียกตนเองว่า “ยักทุมบา” และเรียกภาษาของตนว่า “ยักทุงปัน” มีสำเนียงสำคัญสี่สำเนียงคือ ปันแทร์ เพดาเป ชัตแทร์ และทัมบาร์ โคเล สำเนียงปันแทร์เป็นสำเนียงมาตรฐาน ในขณะที่สำเนียงเพดาเปเป็นสำเนียงที่เข้าใจได้ทั่วไป สิ่งตีพิมพ์ในภาษาลิมบูมักพิมพ์ควบคู่ไปกับภาษาเนปาล ภาษานี้เขียนด้วยอักษรเทวนาครีได้ด้ว.

17 ความสัมพันธ์: กลุ่มภาษาหิมาลัยภาษาอังกฤษภาษาเลปชาภาษาเนวารีภาษาเนปาลรัฐสิกขิมรัฐเบงกอลตะวันตกศาสนาพุทธอักษรลิมบูอักษรทิเบตอักษรเลปชาอักษรเทวนาครีตระกูลภาษาย่อยทิเบต-พม่าประเทศอังกฤษประเทศอินเดียประเทศเนปาลเทือกเขาหิมาลัย

กลุ่มภาษาหิมาลัย

กลุ่มภาษาหิมาลัย (Himalayish) เป็นกลุ่มย่อยของตระกูลภาษาย่อยทิเบต-พม่า ภาษาหลักของภาษาในกลุ่มนี้รวมทั้งภาษาทิเบตและภาษาเนวารี มีผู้พูดกลุ่มภาษานี้กระจายทั่วไปในแถบเทือกเขาหิมาลัยทั้งในเนปาล อินเดีย ภูฏาน ทิเบตและส่วนอื่น ๆ ของจีน หมวดหมู่:ตระกูลภาษาจีน-ทิเบต.

ใหม่!!: ภาษาลิมบูและกลุ่มภาษาหิมาลัย · ดูเพิ่มเติม »

ภาษาอังกฤษ

ษาอังกฤษ หรือ ภาษาอังกฤษใหม่ เป็นภาษาในกลุ่มภาษาเจอร์แมนิกตะวันตกที่ใช้ครั้งแรกในอังกฤษสมัยต้นยุคกลาง และปัจจุบันเป็นภาษาที่ใช้กันแพร่หลายที่สุดในโลก ประชากรส่วนใหญ่ในหลายประเทศ รวมทั้ง สหราชอาณาจักร สหรัฐอเมริกา แคนาดา ออสเตรเลีย ไอร์แลนด์ นิวซีแลนด์ และประเทศในแคริบเบียน พูดภาษาอังกฤษเป็นภาษาที่หนึ่ง ภาษาอังกฤษเป็นภาษาแม่ที่มีผู้พูดมากที่สุดเป็นอันดับสามของโลก รองจากภาษาจีนกลางและภาษาสเปน มักมีผู้เรียนภาษาอังกฤษเป็นภาษาที่สองอย่างกว้างขวาง และภาษาอังกฤษเป็นภาษาราชการของสหภาพยุโรป หลายประเทศเครือจักรภพแห่งชาติ และสหประชาชาติ ตลอดจนองค์การระดับโลกหลายองค์การ ภาษาอังกฤษเจริญขึ้นในราชอาณาจักรแองโกล-แซ็กซอนอังกฤษ และบริเวณสกอตแลนด์ตะวันออกเฉียงใต้ในปัจจุบัน หลังอิทธิพลอย่างกว้างขวางของบริเตนใหญ่และสหราชอาณาจักรตั้งแต่คริสต์ศตวรรษที่ 17 จนถึงกลางคริสต์ศตวรรษที่ 20 ผ่านจักรวรรดิอังกฤษ และรวมสหรัฐอเมริกาด้วยตั้งแต่กลางคริสต์ศตวรรษที่ 20 ภาษาอังกฤษได้แพร่หลายทั่วโลก กลายเป็นภาษาชั้นนำของวจนิพนธ์ระหว่างประเทศและเป็นภาษากลางในหลายภูมิภาค ในประวัติศาสตร์ ภาษาอังกฤษกำเนิดจากการรวมภาษาถิ่นหลายภาษาที่สัมพันธ์อย่างใกล้ชิด ซึ่งปัจจุบันเรียกรวมว่า ภาษาอังกฤษเก่า ซึ่งผู้ตั้งนิคมนำมายังฝั่งตะวันออกของบริเตนใหญ่เมื่อคริสต์ศตวรรษที่ 5 คำในภาษาอังกฤษจำนวนมากสร้างขึ้นบนพื้นฐานรากศัพท์ภาษาละติน เพราะภาษาละตินบางรูปแบบเป็นภาษากลางของคริสตจักรและชีวิตปัญญาชนยุโรปDaniel Weissbort (2006).

ใหม่!!: ภาษาลิมบูและภาษาอังกฤษ · ดูเพิ่มเติม »

ภาษาเลปชา

ษาเลปชา(อักษรเลปชา: ไฟล์:ᰛᰩᰵ་ᰛᰧᰶᰵ.SVG; Róng ríng)เป็นภาษาที่พูดโดยชาวเลปชา ในรัฐสิกขิม อินเดีย รวมทั้งบางส่วนของเนปาลและภูฏาน เขียนด้วยอักษรเลปชา ต้นกำเนิดของอักษรนี้ยังคลุมเครือ เริ่มแรกเขียนในแนวตั้งแบบเดียวกับอักษรจีน จัดเป็นภาษาท้องถิ่นในบริเวณที่ใช้พูด มีผู้พูดราว 50,000 คน.

ใหม่!!: ภาษาลิมบูและภาษาเลปชา · ดูเพิ่มเติม »

ภาษาเนวารี

ษาเนวารี หรือเนปาล ภาษา (नेपाल भाषा, Nepal Bhasa, Newah Bhaye) เป็นภาษาหลักภาษาหนึ่งของเนปาล อยู่ในตระกูลทิเบต-พม่า เป็นภาษาในตระกูลนี้เพียงภาษาเดียวที่เขียนด้วยอักษรเทวนาครี พูดโดยชาวเนวาร์ ซึ่งอยู่ในหุบเขากาฏมาณฑุ มีความคล้ายคลึงกับภาษากลุ่มอินโด-อิหร่านด้ว.

ใหม่!!: ภาษาลิมบูและภาษาเนวารี · ดูเพิ่มเติม »

ภาษาเนปาล

ษาเนปาล เป็นภาษากลุ่มอินโด-อารยันที่พูดในประเทศเนปาล ประเทศอินเดีย ประเทศภูฏาน และบางส่วนของประเทศพม่า เป็นภาษาราชการของประเทศเนปาล ประชากรประมาณครึ่งหนึ่งของเนปาลพูดภาษาเนปาลเป็นภาษาแม่ และชาวเนปาลอื่น ๆ หลายคนพูดเป็นภาษาที่สอง ชื่อของภาษาเนปาลในภาษาเนปาลคือ คาสกุรา (Khaskura) ชื่ออื่น ๆของภาษานี้มีมากมาย คนที่พูดภาษาอังกฤษเรียกว่า เนปาลี (Nepali) หรือ เนปาลีส (Nepalese) นอกจากนี้ คาสกุรา มีชื่ออื่น เช่น กอร์คาลี (Gorkhali) หรือ กูร์คาลี (Gurkhali) แปลว่าภาษาของชาวกุรข่า และพาร์ตาบิยา (Parbatiya) แปลว่าภาษาของภูเขาภาษาเนปาลมีวรรณกรรมขนาดเล็กในช่วงครึ่งหลังของคริสต์ศตวรรษที่ 19 ซึ่งรวมถึง "อัธยาตมะ รามายณะ" (Adhyatma Ramayana) ประพันธ์โดย สุนทรานันทะ พร (Sundarananda Bara) (1833) ซึ่งเป็นการรวมนิทานพื้นเมืองที่ไม่ปรากฏผู้แต่ง และรามายณะ โดย ภานุภักตะ (Bhanubhakta) นอกจากนี้ยังมีผลงานแปลจากภาษาสันสกฤต รวมถึงไบเบิลด้ว.

ใหม่!!: ภาษาลิมบูและภาษาเนปาล · ดูเพิ่มเติม »

รัฐสิกขิม

รัฐสิกขิม (เทวนาครี: सिक्किम; ภาษาทิเบต: འབྲས་ལྗོངས་; Sikkim) คือรัฐหนึ่งทางทิศตะวันออกเฉียงเหนือของประเทศอินเดีย มีพื้นที่ทางตะวันตกติดต่อกับประเทศเนปาล ทางทิศเหนือติดต่อกับเขตปกครองตนเองทิเบต และประเทศจีน ทางทิศตะวันออกติดต่อกับประเทศภูฏาน และทิศใต้ติดต่อกับรัฐเบงกอลตะวันตก รัฐหนึ่งของอินเดีย แต่เดิมสิกขิมเป็นรัฐเอกราช มีขนาดใหญ่กว่าเดลีเล็กน้อย ปกครองโดยราชวงศ์นัมเกล ด้วยความเป็นรัฐเอกราชเล็ก ๆ อาจถูกบั่นทอนจากจีนซึ่งยึดทิเบตได้ เมื่ออินเดียได้รับเอกราช สิกขิมจึงยอมอยู่ใต้เอกราชเดียวกับอินเดียเมื่อ 30 กว่าปีก่อน อดีตประชากรส่วนใหญ่ของที่นี้เป็นชาวเลปชาซึ่งมีเชื้อสายเป็นชาวทิเบต แต่ปัจจุบันประชากรส่วนใหญ่เป็นชาวเนปาลี ประมาณร้อยละ 75 ของประชากร.

ใหม่!!: ภาษาลิมบูและรัฐสิกขิม · ดูเพิ่มเติม »

รัฐเบงกอลตะวันตก

เบงกอลตะวันตก (পশ্চিমবঙ্গ, Poshchimbôŋgo) คือหนึ่งในรัฐของประเทศอินเดีย ตั้งอยู่ตรงกลางเยื้อไปทางตะวันออกของประเทศ มีเขตติดต่อรัฐสิกขิม รัฐอัสสัมและประเทศภูฏานทางทิศเหนือ ติดต่อกับประเทศเนปาลทางทิศตะวันออกเฉียงเหนือ ติดต่อกับรัฐโอริศาทางทิศตะวันตกเฉียงใต้ ติดต่อกับประเทศบังกลาเทศทางทิศตะวันตก และอ่าวเบงกอล มหาสมุทรอินเดียทางใต้ บ หมวดหมู่:รัฐเบงกอลตะวันตก หมวดหมู่:รัฐและดินแดนที่ก่อตั้งในปี พ.ศ. 2499 หมวดหมู่:อดีตอาณานิคมของเนเธอร์แลนด์ หมวดหมู่:อดีตอาณานิคมของสหราชอาณาจักร.

ใหม่!!: ภาษาลิมบูและรัฐเบงกอลตะวันตก · ดูเพิ่มเติม »

ศาสนาพุทธ

ระพุทธศาสนา หรือ ศาสนาพุทธ (buddhasāsana พุทฺธสาสนา, buddhaśāsana พุทธศาสนา) เป็นศาสนาที่มีพระพุทธเจ้าเป็นศาสดา มีพระธรรมที่พระองค์ตรัสรู้ชอบด้วยพระองค์เอง และตรัสสอนไว้เป็นหลักคำสอนสำคัญ มีพระสงฆ์ (ภิกษุ ภิกษุณี) สาวกผู้ตัดสินใจออกบวชเพื่อศึกษาปฏิบัติตนตามคำสั่งสอน ธรรม-วินัย ของพระบรมศาสดา เพื่อบรรลุสู่จุดหมายคือพระนิพพาน และสร้างสังฆะ เป็นชุมชนเพื่อสืบทอดคำสอนของพระบรมศาสดา รวมเรียกว่า พระรัตนตรัย นอกจากนี้ในพระพุทธศาสนา ยังประกอบคำสอนสำหรับการดำรงชีวิตที่ดีงาม สำหรับผู้ที่ยังไม่ออกบวช (คฤหัสถ์ - อุบาสก และอุบาสิกา) ซึ่งหากรวมประเภทบุคคลที่ที่นับถือและศึกษาปฏิบัติตนตามคำสั่งสอนของพระบรมศาสดา แล้วจะจำแนกได้เป็น 4 ประเภท คือ ภิกษุ ภิกษุณี อุบาสก อุบาสิกา หรือที่เรียกว่า พุทธบริษัท 4 ศาสนาพุทธเป็นศาสนาอเทวนิยม ปฏิเสธการมีอยู่ของพระเป็นเจ้าหรือพระผู้สร้าง และเชื่อในศักยภาพของมนุษย์ ว่าทุกคนสามารถพัฒนาจิตใจ ไปสู่ความเป็นมนุษย์ที่สมบูรณ์ได้ ด้วยความเพียรของตน กล่าวคือ ศาสนาพุทธ สอนให้มนุษย์บันดาลชีวิตของตนเอง ด้วยผลแห่งการกระทำของตน ตาม กฎแห่งกรรม มิได้มาจากการอ้อนวอนขอจากพระเป็นเจ้าและสิ่งศักดิ์สิทธิ์นอกกายพระไตรปิฎก เล่มที่ ๒๕ พระสุตตันตปิฎก เล่มที่ ๑๗ ขุททกนิกาย ขุททกปาฐะ-ธรรมบท-อุทาน-อิติวุตตกะ-สุตตนิบาต คาถาธรรมบท อัตตวรรคที่ ๑. พระไตรปิฎกฉบับสยามรั.

ใหม่!!: ภาษาลิมบูและศาสนาพุทธ · ดูเพิ่มเติม »

อักษรลิมบู

อักษรลิมบู หรือ กิรัต หรือ ศรีชนคะ อาจเป็นต้นแบบของอักษรเลปชาโดยผ่านทางอักษรทิเบตอีกต่อหนึ่ง กษัตริย์ศรีชนคะประดิษฐ์อักษรกิรัต-ศรีชนคะ เมื่อราว..

ใหม่!!: ภาษาลิมบูและอักษรลิมบู · ดูเพิ่มเติม »

อักษรทิเบต

ระอักษรทิเบต ในช่วง..

ใหม่!!: ภาษาลิมบูและอักษรทิเบต · ดูเพิ่มเติม »

อักษรเลปชา

319px อักษรเลปชา (Lepcha or Róng script) ประดิษฐ์โดยทิดูง เมน ซาลอง ในราว..

ใหม่!!: ภาษาลิมบูและอักษรเลปชา · ดูเพิ่มเติม »

อักษรเทวนาครี

อักษรเทวนาครี (देवनागरी อ่านว่า เท-วะ-นา-คะ-รี; Devanagari) พัฒนามาจากอักษรพราหมีในราวคริสต์ศตวรรษที่ 11 ใช้เขียนภาษาฮินดี ภาษาสันสกฤต ภาษามราฐี ภาษาบาลี ภาษาสินธี ภาษาเนปาล และภาษาอื่นๆในประเทศอินเดีย อักษรเทวนาครีมีลักษณะการเขียนจากซ้ายไปขวา มีเส้นเล็กๆ อยู่เหนือตัวอักษร หากเขียนต่อกัน จะเป็นเส้นยาวคล้ายเส้นบรรทัด มีการแยกพยัญชนะ สระ และเครื่องหมายต่าง.

ใหม่!!: ภาษาลิมบูและอักษรเทวนาครี · ดูเพิ่มเติม »

ตระกูลภาษาย่อยทิเบต-พม่า

ตระกูลภาษาย่อยทิเบต-พม่า เป็นตระกูลย่อยของตระกูลภาษาจีน-ทิเบต ใช้พูดในเอเชียกลาง และเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ รวมทั้ง พม่า ทิเบต ภาคเหนือของไทย ภาคกลางของจีน ภาคเหนือของเนปาล ภูฏาน อินเดียและปากีสถาน ภาษากลุ่มนี้มี 350 ภาษา ภาษาพม่ามีผู้พูดมากที่สุด (ประมาณ 32 ล้านคน) มีผู้พูดภาษาทิเบตทุกสำเนียงอีกราว 8 ล้านคน นักภาษาศาสตร์บางคนเช่น George van Driem เสนอให้จัดตระกูลทิเบต-พม่าขึ้นเป็นตระกูลใหญ่ และให้กลุ่มภาษาจีนมาเป็นกลุ่มย่อยแทนแต่ยังไม่ได้รับการยอมรับอย่างกว้างขวาง.

ใหม่!!: ภาษาลิมบูและตระกูลภาษาย่อยทิเบต-พม่า · ดูเพิ่มเติม »

ประเทศอังกฤษ

อังกฤษ (England อิง(ก)ลันด์) หรือในอดีตเรียกว่า แคว้นอังกฤษ เป็นประเทศอันเป็นส่วนหนึ่งของสหราชอาณาจักร มีพรมแดนทางบกติดต่อกับสกอตแลนด์ทางเหนือ และเวลส์ทางตะวันตก ทะเลไอร์แลนด์ทางตะวันตกเฉียงเหนือ ทะเลเคลติกทางตะวันตกเฉียงใต้ ทะเลเหนือทางตะวันออก และช่องแคบอังกฤษซึ่งคั่นระหว่างอังกฤษกับยุโรปแผ่นดินใหญ่ พื้นที่ประเทศอังกฤษส่วนใหญ่ตั้งอยู่ทางตอนกลางและตอนใต้ของเกาะบริเตนใหญ่ในมหาสมุทรแอตแลนติกเหนือ ประเทศอังกฤษยังรวมถึงเกาะที่เล็กกว่าอีกกว่า 100 เกาะ เช่น หมู่เกาะซิลลีและเกาะไวต์ ภูมิประเทศของอังกฤษส่วนมากประกอบด้วยเขาเตี้ยๆ และที่ราบ โดยเฉพาะทางตอนกลางและตอนใต้ของอังกฤษ อย่างไรก็ตาม ทางเหนือและทางตะวันตกเฉียงใต้เป็นที่สูง วินเชสเตอร์เป็นเมืองหลวงเก่าของอังกฤษกระทั่งเปลี่ยนมาเป็นลอนดอนใน..

ใหม่!!: ภาษาลิมบูและประเทศอังกฤษ · ดูเพิ่มเติม »

ประเทศอินเดีย

อินเดีย (India; भारत, ออกเสียง) หรือชื่อทางการว่า สาธารณรัฐอินเดีย (Republic of India; भारत गणराज्य) ตั้งอยู่ในทวีปเอเชียใต้ เป็นพื้นที่ส่วนใหญ่ของอนุทวีปอินเดีย มีประชากรมากเป็นอันดับที่สองของโลก และเป็นประเทศประชาธิปไตยที่มีประชากรมากที่สุดในโลก โดยมีประชากรมากกว่าหนึ่งพันล้านคน มีภาษาพูดร้อยแปดสิบแปดภาษาโดยประมาณ ด้านเศรษฐกิจ อินเดียมีอำนาจการซื้อมากเป็นอันดับที่สี่ของโลก ทั้งนี้ อาณาเขตทางทิศเหนือติดกับจีน เนปาล และภูฏาน ทางตะวันตกเฉียงเหนือติดกับปากีสถาน ทางตะวันออกติดพม่า ทางตะวันตกเฉียงใต้จรดมหาสมุทรอินเดีย ทางตะวันออกเฉียงใต้ติดศรีลังกา ล้อมรอบบังกลาเทศทางทิศเหนือ ทิศตะวันออก และทิศตะวันตก นอกนั้นยังมีเขตแดนทางทะเลต่อเนื่องกับน่านน้ำไทย พม่า และอินโดนีเซีย และด้วยพื้นที่ 3,287,590 ตารางกิโลเมตร อินเดียจึงเป็นประเทศที่ใหญ่ที่สุดอันดับ 7 ของโลก.

ใหม่!!: ภาษาลิมบูและประเทศอินเดีย · ดูเพิ่มเติม »

ประเทศเนปาล

ประเทศเนปาล หรือชื่ออย่างเป็นทางการว่า สหพันธ์สาธารณรัฐประชาธิปไตยเนปาล (Federal Democratic Republic of Nepal; सङ्घीय लोकतान्त्रिक गणतन्त्र नेपाल "สงฺฆีย โลกตานฺตฺริก คณตนฺตฺร เนปาล") เป็นประเทศที่ไม่มีทางออกสู่ทะเลในเอเชียใต้ มีพื้นที่ 147,181 ตารางกิโลเมตร และประชากรประมาณ 27 ล้านคน ประเทศเนปาลเป็นประเทศที่มีพื้นที่ใหญ่เป็นอันดับที่ 93 ของโลก และมีประชากรมากที่สุดเป็นอันดับที่ 41 ของโลก ตั้งอยู่ในเทือกเขาหิมาลัย มีพรมแดนทิศเหนือติดสาธารณรัฐประชาชนจีน ทิศใต้ ตะวันออกและตะวันตกติดสาธารณรัฐอินเดีย ประเทศเนปาลแยกจากประเทศบังกลาเทศด้วยฉนวนศิลิกูริ (Siliguri Corridor) แคบ ๆ ในประเทศอินเดีย และแยกจากประเทศภูฏานด้วยรัฐสิกขิมของอินเดีย กรุงกาฐมาณฑุเป็นเมืองหลวงและเมืองใหญ่สุดของประเทศ ภาคเหนือของประเทศเนปาลซึ่งเป็นแถบภูเขามีแปดจากสิบภูเขาสูงสุดในโลก ซึ่งรวมยอดเขาเอเวอร์เรสต์ จุดสูงสุดบนโลก ยอดเขากว่า 240 แห่งซึ่งสูงเกิน 6,096 เมตร (20,000 ฟุต) เหนือระดับน้ำทะเลอยู่ในประเทศเนปาล ส่วนภาคใต้มีพื้นที่อุดมสมบูรณ์และชื้น ชาวเนปาลประมาณ 81.3% นับถือศาสนาฮินดู เป็นสัดส่วนสูงสุดในโลก ศาสนาพุทธมีความเชื่อมโยงทางประวัติศาสตร์กับประเทศเนปาล และมีประชากรนับถือ 9% ตามด้วยศาสนาอิสลาม 4.4% Kiratism 3.1% ศาสนาคริสต์ 1.4% และวิญญาณนิยม 0.4% ประชากรสัดส่วนใหญ่ โดยเฉพาะอย่างยิ่งในภูมิภาคภูเขา อาจระบุตัวว่าเป็นทั้งฮินดูและพุทธ ซึ่งอาจเป็นสาเหตุของธรรมชาติกลมเกลียวของทั้งสองความเชื่อในประเทศเนปาลก็เป็นได้ ประเทศเนปาลปกครองด้วยระบอบราชาธิปไตยตลอดประวัติศาสตร์ส่วนใหญ่ ราชวงศ์ศาหะปกครองตั้งแต่ปี 2311 เมื่อพระเจ้าปฤถวีนารายัณ ศาหะทรงรวมราชอาณาจักรเล็ก ๆ จำนวนมาก จนปี 2551 สงครามกลางเมืองนานหนึ่งทศวรรษซึ่งเกี่ยวข้องกับพรรคคอมมิวนิสต์แห่งเนปาล (ลัทธิเหมา) ตามด้วยการประท้วงใหญ่โดยพรรคการเมืองหลักทุกพรรค นำสู่ความตกลง 12 ข้อ วันที่ 22 พฤศจิกายน 2548 การเลือกตั้งสภาร่างรัฐธรรมนูญเนปาลที่ 1 เมื่อวันที่ 28 พฤษภาคม 2551 ซึ่งตามมาสนับสนุนการเลิกราชาธิปไตยและการสถาปนาสหพันธ์สาธารณรัฐประชาธิปไตยแบบมีผู้แทนหลายพรรคการเมืองอย่างท่วมท้น แม้ความท้าทายทางการเมืองยังดำเนินไป แต่กรอบนี้ยังอยู่ โดยสภาร่างรัฐธรรมนูญเนปาลที่ 2 ซึ่งได้รับเลือกตั้งในปี 2556 ในความพยายามเพื่อร่างรัฐธรรมนูญใหม่ ประเทศเนปาลเป็นประเทศกำลังพัฒนาโดยมีเศรษฐกิจรายได้ต่ำ อยู่ในอันดับที่ 145 จาก 187 ประเทศในดัชนีการพัฒนามนุษย์ในปี 2557 ประเทศเนปาลยังเผชิญกับความหิวและความยากจนระดับสูง แม้ความท้าทายเหล่านี้ ประเทศเนปาลยังคงมีพัฒนาการอย่างต่อเนื่อง โดยรัฐบาลผูกมัดยกระดับประเทศจากสถานภาพประเทศด้อยพัฒนาภายในปี 2565.

ใหม่!!: ภาษาลิมบูและประเทศเนปาล · ดูเพิ่มเติม »

เทือกเขาหิมาลัย

วเทียมของเทือกเขาหิมาลัย เทือกเขาหิมาลัย (Himalaya Range) เป็นเทือกเขาในทวีปเอเชีย ที่แยกอนุทวีปอินเดียทางทิศใต้ ออกจากที่ราบสูงทิเบตทางทิศเหนือ เป็นที่ที่มียอดเขาที่สูงที่สุดในโลก เช่น ยอดเขาเอเวอเรสต์ และยอดเขากันเจนชุงคา (Kanchenjunga) และยังประกอบด้วยยอดเขาที่มีความสูงมากกว่า 7,200 เมตร (23,600 ฟุต) มากกว่าหนึ่งร้อยยอด ในทางศัพทมูลวิทยา คำว่า หิมาลัย มาจากภาษาสันสกฤต หมายถึง "ที่อยู่ของหิมะ" (หิม + อาลย) เป็นจุดกำเนิดของระบบแม่น้ำที่สำคัญของโลกหลายสาย เช่น แอ่งแม่น้ำสินธุ และแอ่งแม่น้ำคงคา-พรหมบุตร แม่น้ำสาละวิน และแม่น้ำโขง เทือกเขาหิมาลัยทอดยาวพาดผ่านพื้นที่ของ 5 ประเทศ — ปากีสถาน อินเดีย จีน ภูฏาน เนปาล — พื้นที่ลุ่มน้ำของแม่น้ำหิมาลัยเป็นที่อยู่ของผู้คนราว 750 ล้านคน ซึ่งรวมถึงชาวบังคลาเทศ เทือกเขาหิมาลัยหมายรวมถึงเทือกเขาการาโกรัม ฮินดูกูช และเทือกเขาอื่น ๆ ที่เล็กกว่า เมื่อรวมกันแล้วเทือกเขาหิมาลัยเป็นระบบที่สูงที่สุดในโลก และเป็นบ้านของยอดเขาที่สูงที่สุด ซึ่งรวมถึงยอดเขาเอเวอเรสต์และเคทู.

ใหม่!!: ภาษาลิมบูและเทือกเขาหิมาลัย · ดูเพิ่มเติม »

ขาออกขาเข้า
Hey! เราอยู่ใน Facebook ตอนนี้! »