โลโก้
ยูเนี่ยนพีเดีย
การสื่อสาร
ดาวน์โหลดได้จาก Google Play
ใหม่! ดาวน์โหลด ยูเนี่ยนพีเดีย บน Android ™ของคุณ!
ดาวน์โหลด
เร็วกว่าเบราว์เซอร์!
 

ภาษากันนาดา

ดัชนี ภาษากันนาดา

ษากันนาดา (ಕನ್ನಡ) เป็นภาษากลุ่มดราวิเดียนที่สำคัญภาษาหนึ่ง ใช้พูดทางภาคใต้ของอินเดีย เป็นภาษาราชการของรัฐกรณาฏกะ เขียนด้วยอักษรกันนาดา เช่นเดียวกับภาษาท้องถิ่นอื่น ๆ ในรัฐกรณาฏกะ ได้แก่ ภาษาตูลู ภาษาโกทวะ และภาษากอนกานีที่เขียนด้วยอักษรกันนาดาเช่นกัน ภาษากันนาดาได้รับอิทธิพลด้านคำศัพท์จากภาษาสันสกฤตเช่นเดียวกับภาษากลุ่มดราวิเดียนอื่น ๆ วรรณคดีรุ่นแรก ๆ ที่เขียนด้วยภาษานี้คือ กาวิราชมาร์กา ของกษัตริย์นริปาตุง.

25 ความสัมพันธ์: กลุ่มภาษาทมิฬ-กันนาดาภาษากงกณีภาษามาลายาลัมภาษาสันสกฤตภาษาสันเกถิภาษาทมิฬภาษาคุชราตภาษาตูลูภาษาโกทวะภาษาเตลูกูรัฐกรณาฏกะรัฐกัวรัฐมหาราษฏระรัฐมัธยประเทศรัฐอานธรประเทศรัฐอุตตรประเทศรัฐทมิฬนาฑูศาสนาฮินดูศาสนาเชนอักษรกันนาดาอักษรเทวนาครีจักรวรรดิวิชัยนครประเทศสิงคโปร์ประเทศอังกฤษประเทศอินเดีย

กลุ่มภาษาทมิฬ-กันนาดา

กลุ่มภาษาทมิฬ-กันนาดา เป็นสมมติฐานของการจัดกลุ่มภายในกลุ่มภาษาดราวิเดียนใต้ซึ่งรวมภาษาทมิฬและภาษากันนาดา (การจัดกลุ่มย่อยของตระกูลภาษาดราวิเดียนแตกต่างกันเล็กน้อยตามความเห็นของนักภาษาศาสตร์แต่ละคน)กลุ่มภาษาทมิฬ-กันนาดาเป็นสาขาของกลุ่มภาษาทมิฬ-ตูลู จากนั้นแบ่งย่อยเป็นกลุ่มภาษาทมิฬ-โกทคุ และกลุ่มภาษากันนาดา-พทคะ ซึ่งประกอบด้วยภาษาทมิฬ ภาษามาลายาลัม ภาษาอีรูลา ภาษาโตทะ ภาษาโกทคุ ภาษาพทคะ และภาษากันนาดา การแยกตัวของกลุ่มภาษาทมิฬ-กันนาดาเกิดขึ้นหลังการแยกภาษาตูลูออกไปและก่อนการแยกตัวของภาษาโกทคุออกจากภาษาดาริเดียนใต้ดั้งเดิมเมื่อราว 1,457 - 957 ปีก่อนพุทธศักราช ปัจจุบันภาษาทมิฬและภาษากันนาดาเป็นภาษาราชการในอินเดีย มีผู้พูดอยู่ในอินเดียใต้.

ใหม่!!: ภาษากันนาดาและกลุ่มภาษาทมิฬ-กันนาดา · ดูเพิ่มเติม »

ภาษากงกณี

ษากงกณี(อักษรเทวนาครี: कोंकणी; อักษรกันนาดา:ಕೊಂಕಣಿ; อักษรมาลายาลัม:കൊംകണീ; อักษรโรมัน: Konknni) เป็นภาษากลุ่มอินโด-อารยัน โดยมีคำศัพท์จากภาษาดราวิเดียนปนอยู่ด้วย ได้รับอิทธิพลจากภาษาอื่นหลายภาษา ทั้งภาษาโปรตุเกส ภาษากันนาดา ภาษามราฐี ภาษาเปอร์เซีย และภาษาอาหรับ มีผู้พูดประมาณ 7.6 ล้านคน http://www.ethnologue.com/show_language.asp?code.

ใหม่!!: ภาษากันนาดาและภาษากงกณี · ดูเพิ่มเติม »

ภาษามาลายาลัม

ษามาลายาลัมเป็นภาษาราชการของรัฐเกราลาทางภาคใต้ของอินเดีย มีผู้พูดประมาณ 36 ล้านคน และมีผู้พูดในเกาะลักษทวีปด้วย จัดอยู่ในภาษาตระกูลดราวิเดียน ใกล้เคียงกับภาษาทมิฬ เขียนด้วยอักษรมาลายาลัม ภาษามาลายาลัมจัดอยู่ในกลุ่มดราวิเดียนใต้ คาดว่ามีกำเนิดร่วมกับภาษาทมิฬเมื่อราว..

ใหม่!!: ภาษากันนาดาและภาษามาลายาลัม · ดูเพิ่มเติม »

ภาษาสันสกฤต

ษาสันสกฤต เป็นภาษาที่รับอิทธิพลมาจากอินเดียและส่งผลมาถึงอาณาจักรในแถบเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ (संस्कृता वाक्, สํสฺกฺฤตา วากฺ; Sanskrit) เป็นภาษาที่เก่าแก่ที่สุดภาษาหนึ่งในภาษากลุ่มอินโด-ยูโรเปียน (หรืออินเดีย-ยุโรป) สาขาย่อยอินโด-อิเรเนียน (อินเดีย-อิหร่าน) และอยู่ในกลุ่มย่อยอินโด-อารยัน (อินเดีย-อารยะ) โดยมีระดับวิวัฒนาการในระดับใกล้เคียงกับภาษาละตินและภาษากรีก เป็นต้น โดยทั่วไปถือว่าเป็นภาษาที่ตายแล้ว ทว่ายังมีผู้ใช้ภาษาสันสกฤตอยู่บ้างในแวดวงที่จำกัดในประเทศอินเดีย เช่น หมู่บ้านมัททูร์ ในรัฐกรณาฏกะ โดยมีการคิดคำศัพท์ใหม่ๆ ขึ้นมาด้วย ในศาสนาฮินดูเชื่อว่า ภาษาสันสกฤตเป็นภาษาสื่อที่เทพเจ้าใช้สื่อสารกับมวลมนุษย์ เพื่อถ่ายทอดความรู้แจ้งและปัญญาญาณแก่เหล่าฤๅษีทั้งหลายแต่ครั้งดึกดำบรร.

ใหม่!!: ภาษากันนาดาและภาษาสันสกฤต · ดูเพิ่มเติม »

ภาษาสันเกถิ

ษาสันเกถิ เคยจัดเป็นภาษาถิ่นของภาษาทมิฬแต่ปัจจุบันแยกออกมาเป็นภาษาต่างหากเพราะผู้พูดภาษานี้ไม่อาจเข้าใจกันได้กับภาษาทมิฬ คาดว่าภาษานี้แยกตัวออกจากภาษาทมิฬในยุคเดียวกับภาษามาลายาลัม ได้รับอิทธิพลและยืมคำจากภาษากันนาดาและภาษาสันสกฤต มีลักษณะใกล้เคียงกับภาษามาลายาลัม แต่ก็ยังมีเอกลักษณ์เป็นของตนเอง ผู้พุดปัจจุบันอยุ่ระหว่างรอยต่อของรัฐเกราลากับทมิฬนาดู ภาษานี้ไม่มีระบบการเขียนเป็นของตนเองและมีเพลงพื้นบ้านมาก.

ใหม่!!: ภาษากันนาดาและภาษาสันเกถิ · ดูเพิ่มเติม »

ภาษาทมิฬ

ษาทมิฬ (தமிழ்) เป็นหนึ่งใน ตระกูลภาษาดราวิเดียน เป็นหนึ่งในภาษาคลาสสิกของโลก วรรณกรรมภาษาทมิฬได้มีมาเป็นเวลา 2,500 ปีแล้ว และเป็นภาษาคลาสสิกภาษาแรกที่มีพัฒนาการเขียนแบบเฉพาะสำหรับบทกวี เสียง "l" ในคำว่า "Tamil" ออกเสียง "คล้าย" กับ "ร" กล่าวคือ ออกเสียงโดยให้ปลายลิ้นส่วนล่างติดกับเพดานปาก และมักจะเขียนเป็น "zh" ในอักษรโรมัน (ตรงกับเสียง j ในภาษาฝรั่งเศส ส่วนภาษาไทยไม่มีเสียงที่เทียบได้ตรง) เชื่อว่าอักษร 'ழ' ซึ่งพบใน 'தமிழ்' (ทมิฬ) มีการออกเสียงที่เป็นเอกลักษณ์ที่ไม่พบในภาษาอื่น ๆ ดูข้อมูลเพิ่มเติมที่ อักษรทมิฬ.

ใหม่!!: ภาษากันนาดาและภาษาทมิฬ · ดูเพิ่มเติม »

ภาษาคุชราต

ษาคุชราต (ગુજરાતી คุชราตี) คือภาษากลุ่มอินโด-อารยัน ซึ่งเป็นส่วนหนึ่งของตระกูลอินโด-ยุโรเปียน เป็นหนึ่งใน 22 ภาษาทางการ และ 14 ภาษาภูมิภาคของอินเดีย และเป็นหนึ่งในภาษาชนกลุ่มน้อยของปากีสถาน มีผู้พูดภาษาคุชราตประมาณ 46 ล้านคนทั่วโลก มากเป็นอันดับที่ 23 ของโลก โดยที่ 45.5 ล้านคนอาศัยอยู่ในอินเดีย 150,000 คนในยูกันดา 100,000 คนในปากีสถาน 250,000 คนในแทนซาเนีย และ 50,000 คนในเคนยา ภาษาคุชราต คือภาษาหลักของรัฐคุชราตในอินเดีย รวมถึงพื้นที่สหภาพที่ติดกันคือ ดามานและดีอู และ ดาดราและนครหเวลี และยังเป็นภาษาของชุมชนชาวคุชราตในเมืองมุมไบ (บอมเบย์เดิม) นอกจากนี้ยังปรากฏประชาการจำนวนหนึ่งที่พูดภาษาคุชราตได้ในอเมริกาเหนือ และสหราชอาณาจักร คุชราตเป็นภาษาแม่ของมหาตมะ คานธี "บิดาของอินเดีย" มูฮัมหมัด อาลี จินนาห์ "บิดาของปากีสถาน" และซาร์ดาร์ วัลลัภภัย ปาเทล "บุรุษเหล็กแห่งอินเดีย".

ใหม่!!: ภาษากันนาดาและภาษาคุชราต · ดูเพิ่มเติม »

ภาษาตูลู

ษาตูลู เป็นภาษาตระกูลดราวิเดียน มีผู้พูดน้อยกว่า 2 ล้านคน ส่วนใหญ่อยู่ในทักษิณะ กันนาดา และอุทุปี ซึ่งอยู่ทางตะวันตกของรัฐการณตกะ มีบางส่วนอยู่ใน กสารคท รัฐเกราลา อักษรเดิมที่ใช้เขียนภาษานี้ คล้ายอักษรมาลายาลัม แต่มีใช้น้อย ส่วนใหญ่เขียนด้วยอักษรกันนาดา ยังเป็นข้อโต้แย้งอยู่ว่า อักษรตูลู เป็นต้นกำเนิดของอักษรมาลายาลัมหรือไม่ แต่หลักฐานจากจารึกของทั้งสองภาษา แสดงให้เห็นว่า ภาษาตูลูเก่ากว่า การเขียนภาษาตูลูด้วยอักษรกันนาดา ริเริ่มโดยมิชชันนารีชาวเยอรมันเมื่อราว..

ใหม่!!: ภาษากันนาดาและภาษาตูลู · ดูเพิ่มเติม »

ภาษาโกทวะ

ภาษาโกทวะ หรือภาษาโกทวะ ตักกะ เป็นภาษาที่ใช้พูดในตำบลโกทกุ รัฐการณตกะทางใต้ บางครั้งเรียกภาษาโจร์คี หรือโจร์คในภาษาอังกฤษ มีผู้พูดราว 122,000 คน เขียนด้วยอักษรทมิฬ อักษรกันนาดา และอักษรมาลายาลัม กโทวะ.

ใหม่!!: ภาษากันนาดาและภาษาโกทวะ · ดูเพิ่มเติม »

ภาษาเตลูกู

ษาเตลูกู (Telugu తెలుగు) อยู่ในตระกูลภาษาดราวิเดียน แต่มีอิทธิพลพอสมควรจากภาษากลุ่มอินโด-อารยันภายใต้ตระกูล อินโด-ยุโรเปียนและเป็นภาษาราชการของรัฐอานธรประเทศ (Andhra Pradesh) ของอินเดีย ภาษาเตลูกูเป็นตระกูลภาษาดราวิเดียนที่มีผู้พูดมากที่สุด เป็นภาษาที่พูดเป็นอันดับ 2 รองจากภาษาฮินดี และเป็นหนึ่งใน 22 ภาษาราชการของอินเดีย เขียนด้วยอักษรเตลูกู ชาวอังกฤษในคริสต์ศตวรรษที่ 19 เรียกภาษาเตลูกูว่า ภาษาอิตาลีของโลกตะวันออก (Italian of the East) เนื่องจากทุกคำในภาษาเตลูกูลงท้ายด้วยเสียงสระ แต่เชื่อว่านักสำรวจชาวอิตาลี นิกโกเลาะ ดา กอนตี (Niccolò Da Conti) ได้คิดวลีนี้ในคริสต์ศตวรรษที่ 15.

ใหม่!!: ภาษากันนาดาและภาษาเตลูกู · ดูเพิ่มเติม »

รัฐกรณาฏกะ

รัฐกรณาฏกะ คือรัฐที่ตั้งอยู่ตอนใต้ของประเทศอินเดีย ติดต่อกับมหาสมุทรอินเดียทางตะวันตก ชื่อรัฐมาจากภาษากันนาดาแปลว่าแผ่นดินที่ถูกยกขึ้นสูงหรือเขตดินดำ สถาปนารัฐเมื่อ 1 พฤศจิกายน..

ใหม่!!: ภาษากันนาดาและรัฐกรณาฏกะ · ดูเพิ่มเติม »

รัฐกัว

รัฐกัว หรือ รัฐโคอา คือหนึ่งในรัฐของประเทศอินเดีย เป็นรัฐที่เล็กที่สุดของประเทศตั้งอยู่ทางชายฝั่งตะวันตกของประเทศอินเดียติดกับทะเลอาหรับเป็นรัฐที่มีชื่อเสียงด้านการท่องเที่ยว เคยเป็นอาณานิคมของโปรตุเกสนาน 450 ปี จึงมีวัฒนธรรมโปรตุเกสผสมผสานอยู่ด้วย มีท่าเรือสำคัญซึ่งมีบทบาทในการขนส่งแร่เหล็ก.

ใหม่!!: ภาษากันนาดาและรัฐกัว · ดูเพิ่มเติม »

รัฐมหาราษฏระ

รัฐมหาราษฏระ คือหนึ่งในรัฐของประเทศอินเดีย ตั้งอยู่ทางตะวันตกของประเทศ ติดต่อกับกับทะเลอาหรับทางทิศตะวันตก มีเมืองหลวงชื่อ มุมไบ ผลิตผลสำคัญ ได้แก่ ข้าวเจ้า ข้าวสาลี ฝ้าย และแร่แมงกานีส มีอุตสาหกรรมสิ่งทอ และวิศวกรรมไฟฟ้า ม หมวดหมู่:รัฐมหาราษฏระ หมวดหมู่:รัฐและดินแดนที่ก่อตั้งในปี พ.ศ. 2503.

ใหม่!!: ภาษากันนาดาและรัฐมหาราษฏระ · ดูเพิ่มเติม »

รัฐมัธยประเทศ

รัฐมัธยประเทศ คือหนึ่งในรัฐของประเทศอินเดีย ไม่มีเขตติดต่อกับทะเลเนื่องจากตั้งอยู่ตรงกลางประเทศ รัฐมัธยประเทศได้เป็นรัฐที่ใหญ่ที่สุดของอินเดียจนถึงวันที่ 1 พฤศจิกายน..

ใหม่!!: ภาษากันนาดาและรัฐมัธยประเทศ · ดูเพิ่มเติม »

รัฐอานธรประเทศ

รัฐอานธรประเทศ คือหนึ่งในรัฐของประเทศอินเดีย ตั้งอยู่ทิศตะวันออกเฉียงใต้ของประเทศ เป็นรัฐที่เป็นศูนย์กลางอุตสาหกรรมในอินเดียใต้ อุตสาหกรรมที่สำคัญได้แก่ เทคโนโลยีสารสนเทศ ยานยนต์ พืชสวน เคมีภัณฑ์ เป็นแหล่งแร่ธาตุที่สำคัญเป็นอันดับสองในอินเดีย เมืองไฮเดอราบาดเป็นที่ตั้งของสนามบินระดับชาติและนานาชาต.

ใหม่!!: ภาษากันนาดาและรัฐอานธรประเทศ · ดูเพิ่มเติม »

รัฐอุตตรประเทศ

รัฐอุตตรประเทศ คือหนึ่งในรัฐของประเทศอินเดีย ตั้งอยู่บริเวณส่วนบนของประเทศโดยมีเขตแดนติดต่อกับประเทศเนปาลทางทิศเหนือ เป็นที่ตั้งของเมืองสำคัญในศาสนาฮินดู เช่น เมืองพาราณสี อโยธยา (เมืองเกิดของพระราม) มธุรา (เมืองเกิดของพระกฤษณะ) และอัลลาลาบัดหรือเมืองโกสัมพีในสมัยพุทธกาล อุตตรประเทศ หมวดหมู่:รัฐอุตตรประเทศ หมวดหมู่:รัฐและดินแดนที่ก่อตั้งในปี พ.ศ. 2493 หมวดหมู่:รัฐและดินแดนที่ก่อตั้งในปี พ.ศ. 2377.

ใหม่!!: ภาษากันนาดาและรัฐอุตตรประเทศ · ดูเพิ่มเติม »

รัฐทมิฬนาฑู

รัฐทมิฬนาฑู คือหนึ่งในรัฐของที่ตั้งอยู่ใต้สุดของประเทศอินเดีย มีเขตแดนทางทะเลติดต่อกับประเทศศรีลังกา และอ่าวเบงกอล เป็นดินแดนของชาวทมิฬ เป็นรัฐใหญ่อันอับ 11 ของประเทศ เมืองหลักคือเชนไนหรือมัทราส ตั้งขึ้นราวพุทธศตวรรษที่ 22 เป็นเมืองหลักและฐานทัพเรือของอังกฤษ ปัจจุบันเป็นเมืองที่ใหญ่เป็นอันดับสี่ของอินเดีย และเป็นแหล่งผลิตภาพยนตร์ภาษาทมิฬ (Kollewood) ทม หมวดหมู่:รัฐทมิฬนาฑู หมวดหมู่:รัฐและดินแดนที่ก่อตั้งในปี พ.ศ. 2493.

ใหม่!!: ภาษากันนาดาและรัฐทมิฬนาฑู · ดูเพิ่มเติม »

ศาสนาฮินดู

ัญลักษณ์ “โอม” สัญลักษณ์ของศาสนาฮินดู หมายถึงพระตรีมูรติ เทพเจ้าผู้เป็นใหญ่ทั้ง 3 ศาสนาฮินดู (Hinduism) หรือ สนาตนธรรม เป็นศาสนาแบบพหุเทวนิยมที่พัฒนาการต่อมาจากศาสนาพราหมณ์ จึงมักเรียกรวมกันว่าศาสนาพราหมณ์-ฮินดู ไม่ปรากฏแน่ชัดว่าใครเป็นศาสดา มีพระเวทเป็นคัมภีร์หลัก มีศาสนิกชนมากเป็นอันดับที่ 3 ของโลก มีจำนวนประมาณ 900 ล้านคน ศาสนานี้นับถือเทพเจ้าหลายองค์ เรียกว่า "พหุเทวนิยม" เทพเจ้าแต่ละองค์ในแต่ละยุคสมัย มีบทบาท และตำนานต่างกันไป ในแต่ละท้องถิ่นยังมีความเชื่อเกี่ยวกับเทพเจ้าองค์หนึ่งๆ แตกต่างกันไปด้วย โดยทั่วไปถือว่าชาวฮินดูเชื่อว่ามีเทพเจ้าสูงสุด ที่ได้อวตารแยกร่างออกมาเป็น 3 องค์ เรียกว่า "ตรีมูรติ" คือ.

ใหม่!!: ภาษากันนาดาและศาสนาฮินดู · ดูเพิ่มเติม »

ศาสนาเชน

ระมหาวีระ ศาสนาเชน, ไชนะ หรือ ชินะ (แปลว่า ผู้ชนะ) (Jainism) เป็นศาสนาแบบอินเดีย อนุมานกาลราวยุคเดียวกับสมัยพุทธกาล เป็นหนึ่งในลัทธิสำคัญทั้งหก ที่เกิดร่วมสมัยกับพระโคตมพุทธเจ้า ศาสนาเชนเป็นศาสนาประเภทอเทวนิยมเช่นเดียวกับศาสนาพุทธ คือไม่นับถือพระเป็นเจ้า ถือหลักการไม่เบียดเบียน หรืออหิงสาอย่างเอกอุ ถือว่าการบำเพ็ญตนให้ลำบากคืออัตตกิลมถานุโยค เป็นทางนำไปสู่การบรรลุธรรมที่ ผู้ที่ฝึกฝนดีแล้ว ย่อมไม่หวั่นไหวทุกสิ่งทุกอย่างที่เกิดทางกาย วาจา ใจ มีศาสดาคือพระมหาวีระ หรือ นิครนถนาฏบุตร หรือ องค์ตีรถังกร(ผู้สร้างทางข้ามพ้นไป)โดยศาสนิกเชนถือว่าเป็นศาสดาองค์ที่ 24 ของศาสนาเชน จึงถือว่าศาสนาเชนเก่าแก่กว่าศาสนาพุทธ ศาสนาเชนเกิดขึ้นในอนุทวีปอินเดียเมื่อประมาณศตวรรษที่ 6 ก่อน..

ใหม่!!: ภาษากันนาดาและศาสนาเชน · ดูเพิ่มเติม »

อักษรกันนาดา

ป้ายบอกทางเขียนด้วยอักษรกันนาดา อักษรกันนาดา หรือ อักษรกานนาดา ใช้เขียนภาษากันนาดาและภาษาอื่นๆเช่น ภาษาตูลู ในรัฐทางใต้ของอินเดีย ใกล้เคียงกับอักษรเตลุกุมาก พัฒนามาจากอักษรกทัมพะและอักษรจลุกยะที่พัฒนามาจากอักษรพราหมีของอินเดียโบราณในช่วงคริสต์ศตวรรษที่ 5 -7 อีกต่อหนึ่ง อักษรกาทัมพาและอักษรจาลุกยา พัฒนามาเป็นอักษรกันนาดาโบราณ และเป็นอักษรกันนาดากับอักษรเตลุกุในที่สุด อิทธิพลจากมิชชันนารีชาวตะวันตกทำให้อักษรทั้ง 2 ชนิดมีการปรับมาตรฐานใหม่ในช่วงคริสต์ศตวรรษที่ 19 -20 และใช้มาจนปัจจุบัน.

ใหม่!!: ภาษากันนาดาและอักษรกันนาดา · ดูเพิ่มเติม »

อักษรเทวนาครี

อักษรเทวนาครี (देवनागरी อ่านว่า เท-วะ-นา-คะ-รี; Devanagari) พัฒนามาจากอักษรพราหมีในราวคริสต์ศตวรรษที่ 11 ใช้เขียนภาษาฮินดี ภาษาสันสกฤต ภาษามราฐี ภาษาบาลี ภาษาสินธี ภาษาเนปาล และภาษาอื่นๆในประเทศอินเดีย อักษรเทวนาครีมีลักษณะการเขียนจากซ้ายไปขวา มีเส้นเล็กๆ อยู่เหนือตัวอักษร หากเขียนต่อกัน จะเป็นเส้นยาวคล้ายเส้นบรรทัด มีการแยกพยัญชนะ สระ และเครื่องหมายต่าง.

ใหม่!!: ภาษากันนาดาและอักษรเทวนาครี · ดูเพิ่มเติม »

จักรวรรดิวิชัยนคร

ักรวรรดิวิชัยนคร (ವಿಜಯನಗರ ಸಾಮ್ರಾಜ್ಯ, విజయనగర సామ్రాజ్యము, Vijayanagara Empire) เป็นจักรวรรดิที่ตั้งอยู่บนที่ราบสูงเด็คคาน (มทุไร นาย) ทางตอนใต้ของประเทศอินเดียปัจจุบัน จักรวรรดิวิชัยนครก่อตั้งขึ้นในปี ค.ศ. 1336 โดยพระเจ้าหริหระราชาที่ 1และพระอนุชาพระเจ้าบุคคราชาที่ 1 (Bukka Raya I) และรุ่งเรืองต่อมาจนกระทั่งปี ค.ศ. 1646 แม้ว่าอำนาจจะลดถอยลงบ้างเมื่อพ่ายแพ้ต่ออาณาจักรสุลต่านแห่งเด็คคาน (Deccan sultanates) จักรวรรดิตั้งตามชื่อเมืองหลวงวิชัยนคร ซึ่งยังคงมีร่องรอยเหลือให้เห็นในรัฐกรณาฏกะในประเทศอินเดียปัจจุบัน บันทึกของนักเดินทางชาวยุโรปเป็นแหล่งสำคัญของข้อมูลที่เกี่ยวกับจักรวรรดิ ควบกับหลักฐานที่พบทางโบราณคดีทำให้ทราบถึงอำนาจและความมั่งคั่งของจักรวรรดิวิชัยนคร.

ใหม่!!: ภาษากันนาดาและจักรวรรดิวิชัยนคร · ดูเพิ่มเติม »

ประเทศสิงคโปร์

ประเทศสิงคโปร์ มีชื่ออย่างเป็นทางการว่า สาธารณรัฐสิงคโปร์ เป็นนครรัฐสมัยใหม่และประเทศเกาะที่มีขนาดเล็กที่สุดในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ ตั้งอยู่นอกปลายทิศใต้ของคาบสมุทรมลายูและอยู่เหนือเส้นศูนย์สูตร 137 กิโลเมตร ดินแดนของประเทศประกอบด้วยเกาะหลักรูปสี่เหลี่ยมขนมเปียกปูน ซึ่งมักเรียกว่าเกาะสิงคโปร์ในภาษาอังกฤษ และเกาะอูจง (Pulau Ujong) ในภาษามลายู และเกาะที่เล็กกว่ามากอีกกว่า 60 เกาะ ประเทศสิงคโปร์แยกจากคาบสมุทรมลายูโดยช่องแคบยะฮอร์ทางทิศเหนือ และจากหมู่เกาะเรียวของประเทศอินโดนีเซียโดยช่องแคบสิงคโปร์ทางทิศใต้ ประเทศมีลักษณะแบบเมืองอย่างสูง และคงเหลือพืชพรรณดั้งเดิมเล็กน้อย ดินแดนของประเทศขยายอย่างต่อเนื่องโดยการแปรสภาพที่ดิน หมู่เกาะมีการตั้งถิ่นฐานในคริสต์ศตวรรษที่ 2 และต่อมาเป็นของจักรวรรดิท้องถิ่นต่าง ๆ สิงคโปร์สมัยใหม่ก่อตั้งใน..

ใหม่!!: ภาษากันนาดาและประเทศสิงคโปร์ · ดูเพิ่มเติม »

ประเทศอังกฤษ

อังกฤษ (England อิง(ก)ลันด์) หรือในอดีตเรียกว่า แคว้นอังกฤษ เป็นประเทศอันเป็นส่วนหนึ่งของสหราชอาณาจักร มีพรมแดนทางบกติดต่อกับสกอตแลนด์ทางเหนือ และเวลส์ทางตะวันตก ทะเลไอร์แลนด์ทางตะวันตกเฉียงเหนือ ทะเลเคลติกทางตะวันตกเฉียงใต้ ทะเลเหนือทางตะวันออก และช่องแคบอังกฤษซึ่งคั่นระหว่างอังกฤษกับยุโรปแผ่นดินใหญ่ พื้นที่ประเทศอังกฤษส่วนใหญ่ตั้งอยู่ทางตอนกลางและตอนใต้ของเกาะบริเตนใหญ่ในมหาสมุทรแอตแลนติกเหนือ ประเทศอังกฤษยังรวมถึงเกาะที่เล็กกว่าอีกกว่า 100 เกาะ เช่น หมู่เกาะซิลลีและเกาะไวต์ ภูมิประเทศของอังกฤษส่วนมากประกอบด้วยเขาเตี้ยๆ และที่ราบ โดยเฉพาะทางตอนกลางและตอนใต้ของอังกฤษ อย่างไรก็ตาม ทางเหนือและทางตะวันตกเฉียงใต้เป็นที่สูง วินเชสเตอร์เป็นเมืองหลวงเก่าของอังกฤษกระทั่งเปลี่ยนมาเป็นลอนดอนใน..

ใหม่!!: ภาษากันนาดาและประเทศอังกฤษ · ดูเพิ่มเติม »

ประเทศอินเดีย

อินเดีย (India; भारत, ออกเสียง) หรือชื่อทางการว่า สาธารณรัฐอินเดีย (Republic of India; भारत गणराज्य) ตั้งอยู่ในทวีปเอเชียใต้ เป็นพื้นที่ส่วนใหญ่ของอนุทวีปอินเดีย มีประชากรมากเป็นอันดับที่สองของโลก และเป็นประเทศประชาธิปไตยที่มีประชากรมากที่สุดในโลก โดยมีประชากรมากกว่าหนึ่งพันล้านคน มีภาษาพูดร้อยแปดสิบแปดภาษาโดยประมาณ ด้านเศรษฐกิจ อินเดียมีอำนาจการซื้อมากเป็นอันดับที่สี่ของโลก ทั้งนี้ อาณาเขตทางทิศเหนือติดกับจีน เนปาล และภูฏาน ทางตะวันตกเฉียงเหนือติดกับปากีสถาน ทางตะวันออกติดพม่า ทางตะวันตกเฉียงใต้จรดมหาสมุทรอินเดีย ทางตะวันออกเฉียงใต้ติดศรีลังกา ล้อมรอบบังกลาเทศทางทิศเหนือ ทิศตะวันออก และทิศตะวันตก นอกนั้นยังมีเขตแดนทางทะเลต่อเนื่องกับน่านน้ำไทย พม่า และอินโดนีเซีย และด้วยพื้นที่ 3,287,590 ตารางกิโลเมตร อินเดียจึงเป็นประเทศที่ใหญ่ที่สุดอันดับ 7 ของโลก.

ใหม่!!: ภาษากันนาดาและประเทศอินเดีย · ดูเพิ่มเติม »

เปลี่ยนเส้นทางที่นี่:

ภาษากันนฑะภาษากานนาดา

ขาออกขาเข้า
Hey! เราอยู่ใน Facebook ตอนนี้! »