โลโก้
ยูเนี่ยนพีเดีย
การสื่อสาร
ดาวน์โหลดได้จาก Google Play
ใหม่! ดาวน์โหลด ยูเนี่ยนพีเดีย บน Android ™ของคุณ!
ฟรี
เร็วกว่าเบราว์เซอร์!
 

ภาวะไม่ทนต่อแล็กโทส

ดัชนี ภาวะไม่ทนต่อแล็กโทส

วะไม่ทนต่อแล็กโทส (lactose intolerance) หรือนิยมเรียกแบบไม่เป็นทางการว่าการแพ้นม เป็นภาวะที่ร่างกายไม่สามารถสลายแล็กโทส เนื่องจากการขาดเอนไซม์แล็กเทสที่จำเป็นในระบบย่อยอาหาร มีการประมาณว่าผู้ใหญ่ทั่วโลกราว 75% มีการผลิตแล็กเทสลดลงในวัยผู้ใหญ่ ความถี่ของการลดการผลิตแล็กเทสมีแตกต่างกันตั้งแต่ 5% ในยุโรปเหนือ ไปจนถึง 71% ในซิซิลี และมากกว่า 90% ในบางประเทศทวีปแอฟริกาและเอเชีย น้ำตาลโมเลกุลคู่ไม่สามารถถูกดูดซึมผ่านผนังของลำไส้เล็กเข้าไปยังกระแสเลือดได้ ดังนั้น ในการขาดแล็กเทส แล็กโทสซึ่งมีอยู่ในผลิตภัณฑ์นมที่ย่อยแล้วจะไม่ถูกทำให้แตกตัวและผ่านไปจนถึงลำไส้ใหญ่โดยไม่มีการย่อยสลาย โอเปอร์รอนของแบคทีเรียในลำไส้จะเข้ามาสลายแล็กโทสอย่างรวดเร็ว และส่งผลให้เกิดการหมักภายในร่างกายสิ่งมีชีวิต และผลิตแก๊สออกมาในปริมาณมาก (ได้แก่ ไฮโดรเจน คาร์บอนไดออกไซด์ และมีเทนผสมกัน) ซึ่งอาจก่อให้เกิดอาการบริเวณท้องได้หลายอย่าง รวมทั้ง ท้องเป็นตะคริว คลื่นไส้ เรอบ่อย กรดไหลย้อน และผายลม นอกเหนือจากนั้น แล็กโทส เช่นเดียวกับน้ำตาลที่ไม่ถูกดูดซึมอื่น ๆ (อย่างเช่น ซอร์บิทอล แมนนิทอล และไซลิทอล) การมีของแล็กโทสและผลิตภัณฑ์จากการหมักจะเพิ่มแรงดันออสโมติกในลำไส้ใหญ่ เนื่องจากภาวะไม่ทนต่อแล็กโทสเกิดจากการที่ร่างกายย่อยแล็กโทสไม่ได้ จึงถือว่าไม่ได้เกิดจากกระบวนการภูมิแพ้ ไม่ถือเป็นโรคภูมิแพ้อาหาร และเป็นคนละโรคกับการแพ้โปรตีนนมวัว (cow's milk protein allergy).

21 ความสัมพันธ์: กลูเตนการหมัก (ชีวเคมี)ภูมิแพ้อาหารมีเทนยุโรปเหนือลำไส้ใหญ่ลำไส้เล็กสัตว์เลี้ยงลูกด้วยน้ำนมผายลมคาร์บอนไดออกไซด์ซอร์บิทอลประเทศญี่ปุ่นนมแล็กโทสแคว้นปกครองตนเองซิซิลีโรคกรดไหลย้อนไฮโดรเจนไดแซ็กคาไรด์ไซลิทอลเมแทบอลิซึมเอนไซม์

กลูเตน

กลูเตน (gluten มาจากภาษาละติน glūten แปลว่า กาว) เป็นโปรตีนชนิดหนึ่งพบมากในแป้งสาลีและข้าวบาร์เลย์ กลูเตนเป็นโปรตีนที่สร้างความเหนียวให้กับก้อนแป้ง เกิดมาจากการรวมตัวของกลูเตนิน และ ไกลอะดิน โดยพันธะไดซัลไฟด์ มีลักษณะเหนียว ยืดหยุ่น และไม่ละลายน้ำ.

ใหม่!!: ภาวะไม่ทนต่อแล็กโทสและกลูเตน · ดูเพิ่มเติม »

การหมัก (ชีวเคมี)

งที่เกิดขึ้นระหว่างการหมัก สำหรับความหมายอื่นดูที่ การหมักดอง การหมัก (Fermentation; มาจากภาษาละติน Fervere หมายถึง "เดือด") เป็นกระบวนทางชีวเคมีภายในเซลล์ เพื่อสร้างพลังงานจากการย่อยสลายสารอินทรีย์ หรือการเปลี่ยนแปลงทางเคมีของสารประกอบอินทรีย์ด้วยเอนไซม์ โดยมีสารอินทรีย์เป็นทั้งตัวให้และตัวรับอิเล็กตรอน ซึ่งต่างจากการหายใจแบบใช้ออกซิเจนที่ใช้ออกซิเจนที่เป็นสารอนินทรีย์เป็นตัวรับอิเล็กตรอนตัวสุดท้าย ในครั้งแรกคำว่าการหมักใช้อธิบายลักษณะที่เกิดจากการทำงานของยีสต์ในน้ำผลไม้ เพราะยีสต์ย่อยสลายน้ำตาลในสภาวะที่ไร้ออกซิเจน จึงเกิดฟองแก๊สคาร์บอนไดออกไซด์ผุดขึ้นมาเหมือนน้ำเดือด เริ่มใช้ครั้งแรกเมื่อราวปลายคริสต์ศตวรรษที่ 14 ในหนังสือ alchemy แต่เริ่มใช้ในความหมายปัจจุบันเมื่อราวคริสต์ศตวรรษที่ 16.

ใหม่!!: ภาวะไม่ทนต่อแล็กโทสและการหมัก (ชีวเคมี) · ดูเพิ่มเติม »

ภูมิแพ้อาหาร

ูมิแพ้อาหารเป็นการตอบสนองทางภูมิคุ้มกันผิดปกติต่ออาหาร อาการและอาการแสดงมีได้ตั้งแต่เล็กน้อยถึงรุนแรง อาจมีคัน ลิ้นบวม อาเจียน อาการท้องร่วง ลมพิษ หายใจลำบากหรือความดันเลือดต่ำ ตรงแบบเกิดไม่กี่นาทีถึงหลายชั่วโมงหลังสัมผัส เมื่ออาการรุนแรง เรียก แอนาฟิแล็กซิส ความไม่ทนอาหารและอาหารเป็นพิษเป็นอีกภาวะต่างหาก อาาหรทั่วไปที่ทำให้เกิดภูมิแพ้อาหารมีนมวัว ถั่วลิสง ไข่ หอย ผลเปลือกแข็งเมล็ดเดียว (nut) ข้าวสาลี ข้าวเจ้าและผลไม้ พบภูมิแพ้ชนิดใดบ่อยที่สุดขึ้นอยู่กับประเทศ ปัจจัยเสี่ยงมีประวัติภูมิแพ้ในครอบครัว การขาดวิตามินดี โรคอ้วนและระดับความสะอาดสูง ภูมิแพ้เกิดเมื่ออิมมูโนโกลบูลินอี (IgE) ซึ่งเป็นส่วนหนึ่งของระบบภูมิคุ้มกันของร่างกาย เกาะกับโมเลกุลอาหาร ปกติโปรตีนในอาหารที่เป็นปัญหา เหตุนี้กระตุ้นการหลั่งสารเคมีอักเสบ เช่น ฮิสตามีน การวินิจฉัยปกติอาศัยประวัติการแพทย์ การเลี่ยงอาหารที่สงสัย (elimination diet) การทดสอบแทงผิวหนัง (skin prick test) การทดสอบเลือดหาแอนติบอดี IgE ที่จำเพาะกับอาหาร หรือการกระตุ้นให้ปรากฏโดยอาหารทางปาก (oral food challenge) การสัมผัสสารที่อาจก่อภูมิแพ้ในช่วงต้นของชีวิตอาจช่วยป้องกัน การรักษามีการเลี่ยงอาหารที่ทำให้เกิดอาหารและมีแผนหากเกิดการสัมผัสเป็นหลัก แผนดังกล่าวอาจรวมการให้อะดรีนาลิน (อีพิเนฟริน และการสวมเครื่องเพชรพลอยเตือนทางการแพทย์) ประโยชน์ของการรักษาด้วยการก่อภูมิคุ้มกันสารก่อภูมิแพ้ (allergen immunotherapy) สำหรับภูมิแพ้อาหารยังไม่ชัดเจน และในปี 2558 ยังไม่แนะนำ ภูมิแพ้อาหารบางชนิดหายไปเมื่ออายุมากขึ้น ซึ่งรวมภูมิแพ้นม ไข่และถั่วเหลือง ส่วนภูมิแพ้บางชนิด เช่น ภูมิแพ้ผลเปลือกแข็งเมล็ดเดียวและหอยตรงแบบไม่หาย ในประเทศพัฒนาแล้ว ประชากร 4% ถึง 8% มีภูมิแพ้อาหารอย่างน้อยหนึ่งชนิด พบในเด็กบ่อยกว่าผู้ใหญ่และดูมีความถี่เพิ่มขึ้น เด็กชายปรากฏว่าพบบ่อยว่าเด็กหญิง ภูมิแพ้บางชนิดมักพบในอายุน้อย ส่วนภูมิแพ้บางชนิดตรงแบบเกิดในอายุมาก ในประเทศพัฒนาแล้ว ประชากรสัดส่วนใหญ่เชื่อว่าตนมีภูมิแพ้อาหารทั้งที่ความจริงไม่มี.

ใหม่!!: ภาวะไม่ทนต่อแล็กโทสและภูมิแพ้อาหาร · ดูเพิ่มเติม »

มีเทน

มีเทน (Methane) เป็นสารประกอบไฮโดรคาร์บอนพวกแอลเคน สูตรเคมี คือ CH4 เป็นแก๊สไม่มีสี ติดไฟได้ เป็นองค์ประกอบส่วนใหญ่ของแก๊สธรรมชาติ แก๊สมีเทนอาจได้มาจากการหมักมูลสัตว์และนำมาใช้เป็นเชื้อเพลิงราคาถูก ก๊าซมีเทนอาจพบได้ในชั้นถ่านหิน (Coal Bed Methane) โดยจากกระบวนการเกิดถ่านหินทำให้ก๊าซสะสมตัวและกักเก็บอยู่ในช่องว่างในเนื้อถ่านหิน.

ใหม่!!: ภาวะไม่ทนต่อแล็กโทสและมีเทน · ดูเพิ่มเติม »

ยุโรปเหนือ

ยุโรปเหนือ ภูมิภาคยุโรปเหนือ ประกอบไปด้วย ดินแดนคาบสมุทรสแกนดิเนเวีย คาบสมุทรจัตแลนด์ และเกาะไอซ์แลนด์ อยู่ประมาณละติจูดที่ 55 องศาเหนือ - 71 องศาเหนือ ประกอบไปด้วยประเทศในกลุ่มนอร์ดิก ซึ่งได้แก่ประเทศนอร์เวย์ ประเทศสวีเดน ประเทศฟินแลนด์ ประเทศเดนมาร์ก ประเทศไอซ์แลนด์ ประชากรส่วนใหญ่เป็นชาวนอร์ดิก ในปีพ.ศ. 2541 มีประชากรทั้งหมด 35,086,982 คน มีพื้นที่ทั้งหมด 1,502,7863 ตารางกิโลเมตร สำหรับภาษาที่ใช้จะเป็นภาษาติวโตนิก ได้แก่ภาษาของพวกสแกนดิเนเวีย (ยุโรปเหนืออาจหมายถึงหมู่เกาะอังกฤษ และบางประเทศที่อยู่ใกล้เคียงก็ได้)เ่รรร หมวดหมู่:ภูมิภาคในทวีปยุโรป.

ใหม่!!: ภาวะไม่ทนต่อแล็กโทสและยุโรปเหนือ · ดูเพิ่มเติม »

ลำไส้ใหญ่

ลำไส้ใหญ่ (Colon) เป็นอวัยวะที่อยู่ในระบบทางเดินอาหาร ลำไส้ใหญ่ของคนมีความยาวประมาณ 1.5 เมตร เส้นผ่านศูนย์กลางประมาณ 6 เซนติเมตร แบ่งออกเป็น 3 ส่วน คือ.

ใหม่!!: ภาวะไม่ทนต่อแล็กโทสและลำไส้ใหญ่ · ดูเพิ่มเติม »

ลำไส้เล็ก

ลำไส้เล็ก เป็นอวัยวะซึ่งมีหน้าที่ย่อยอาหารประเภทคาร์โบไฮเดรต โปรตีน และไขมัน โดยวิลไล(มีหน้าที่เพิ่มพื้นที่ในการย่อยอาหารในลำไส้เล็ก) เอนไซม์ย่อยในลำไส้เล็กนั้นมาจากลำไส้เล็กหลั่งเองส่วนหนึ่งและตับอ่อนหลั่งส่วนหนึ่ง.

ใหม่!!: ภาวะไม่ทนต่อแล็กโทสและลำไส้เล็ก · ดูเพิ่มเติม »

สัตว์เลี้ยงลูกด้วยน้ำนม

ัตว์เลี้ยงลูกด้วยน้ำนม (Mammalia) จัดอยู่ในไฟลัมสัตว์มีแกนสันหลัง โดยคำว่า Mammalia มาจากคำว่า Mamma ที่มีความหมายว่า "หน้าอก" เป็นกลุ่มของสัตว์เลี้ยงลูกด้วยน้ำนม ที่มีการวิวัฒนาการและพัฒนาร่างกายที่ดีหลากหลายประการ รวมทั้งมีระบบประสาทที่เจริญก้าวหน้า สามารถดำรงชีวิตได้ในทุกสภาพสิ่งแวดล้อมสัตววิทยา (สัตว์เลี้ยงลูกด้วยน้ำนม), บพิธ-นันทพร จารุพันธุ์, สำนักพิมพ์มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์, 2547, หน้า 411 มีขนาดของร่างกายและรูปพรรณสัณฐานที่แตกต่างกันออกไป รวมถึงการทำงานของระบบต่าง ๆ ภายในร่างกาย ที่มีการปรับเปลี่ยนไปตามลักษณะของสายพันธุ์ มีลักษณะเด่นคือมีต่อมน้ำนมที่มีเฉพาะในเพศเมียเท่านั้น เพื่อผลิตน้ำนมเพื่อใช้เลี้ยงลูกวัยแรกเกิด เป็นสัตว์เลือดอุ่น มีขนเป็นเส้น ๆ (hair) หรือขนอ่อน (fur) ปกคลุมทั่วทั้งร่างกาย เพื่อเป็นการรักษาอุณหภูมิในร่างกาย ยกเว้นสัตว์น้ำที่ไม่มีขน สัตว์เลี้ยงลูกด้วยน้ำนม ไม่จัดอยู่ในประเภทสัตว์กลุ่มใหญ่ คือมีจำนวนประชากรประมาณ 4,500 ชนิด ซึ่งถือว่าเป็นปริมาณน้อยมากเมื่อเทียบกับนก ที่มีประมาณ 9,200 ชนิด และปลาอีกประมาณ 20,000 ชนิด รวมทั้งแมลงอีกประมาณ 800,000 ชนิด ส่วนใหญ่เป็นสัตว์บก เช่น สุนัข ช้าง ลิง เสือ สิงโต จิงโจ้ เม่น หนู ฯลฯ สำหรับสัตว์น้ำที่จัดเป็นเลี้ยงลูกด้วยน้ำนม ได้แก่ โลมา วาฬ มานาทีและพะยูน แต่สำหรับสัตว์ปีกประเภทเดียวที่เลี้ยงลูกด้วยน้ำนมคือค้างคาว ซึ่งกระรอกบินและบ่างนั้น ไม่จัดอยู่ในประเภทของสัตว์ปีก เนื่องจากใช้ปีกในการร่อนไปได้เพียงแค่ระยะหนึ่งเท่านั้น สัตว์เลี้ยงลูกด้วยน้ำนมส่วนใหญ่ออกลูกเป็นตัว ยกเว้นตุ่นปากเป็ดและอีคิดนาเท่านั้นที่ออกลูกเป็น.

ใหม่!!: ภาวะไม่ทนต่อแล็กโทสและสัตว์เลี้ยงลูกด้วยน้ำนม · ดูเพิ่มเติม »

ผายลม

ผายลม หรือ ตด ในภาษาพูด โดยทั่วไปเป็นอาการที่เกิดขึ้นตามธรรมชาติของมนุษย์ ในวันหนึ่งๆ มนุษย์อาจผายลมได้ 10-20 ครั้ง ซึ่งคิดเป็นปริมาณแก๊สที่ปล่อยออกมา คือ 0.5-1 ลิตรต่อวัน ผายลมเกิดจากการรวมตัวของแก๊สหลายชนิด แก๊สที่ไม่มีกลิ่น 99% มีส่วนประกอบหลักๆ ได้แก่ ไนโตรเจน คาร์บอนไดออกไซด์ ไฮโดรเจน ออกซิเจน และมีเทน ส่วนแก๊สที่มีกลิ่นมี 1% เท่านั้นซึ่งเกิดจากการหมักหมมของอาหารในลำไส้ใหญ่ และทำให้เกิดแก๊สจำพวกกำมะถัน ได้แก่ ไฮโดรเจนซัลไฟด์ ซึ่งเป็นสารที่มีกลิ่นเฉพาะตัว ปกติมนุษย์ขับแก๊สส่วนเกินออกจากร่างกายได้ 2 ทาง คือ การขับออกทางปาก (เรอ) และการขับออกทางทวารหนัก (ผายลม หรือตด) หากแก๊สนั้นไม่ขับออกมาจะทำให้มีการสะสมไว้ในทางเดินอาหาร จะทำให้รู้สึกอึดอัด แน่นท้อง ปวดมวนในท้อง และเกิดอาการท้องอืดตามม.

ใหม่!!: ภาวะไม่ทนต่อแล็กโทสและผายลม · ดูเพิ่มเติม »

คาร์บอนไดออกไซด์

ร์บอนไดออกไซด์ (carbon dioxide) หรือ CO2 เป็นก๊าซไม่มีสี ซึ่งหากหายใจเอาก๊าซนี้เข้าไปในปริมาณมากๆ จะรู้สึกเปรี้ยวที่ปาก เกิดการระคายเคืองที่จมูกและคอ และหาจยใจไม่ออกเนื่องจากอาจเกิดการละลายของแก๊สนี้ในเมือกในอวัยวะ ก่อให้เกิดกรดคาร์บอนิกอย่างอ่อน คาร์บอนไดออกไซด์มีความหนาแน่น 1.98 kg/m3 ซึ่งเป็นประมาณ 1.5 เท่าของอากาศ โมเลกุลประกอบด้วยพันธะคู่ 2 พันธะ (O.

ใหม่!!: ภาวะไม่ทนต่อแล็กโทสและคาร์บอนไดออกไซด์ · ดูเพิ่มเติม »

ซอร์บิทอล

ซอร์บิทอล (sorbitol) เป็นน้ำตาลแอลกอฮอล์หรือสารให้ความหวาน ซึ่งให้แคลอรีน้อยกว่าซูโครสหรือน้ำตาลทั่วไปถึง 1 ใน 3 หากบริโภคมากเกินไปจะเกิดอาการท้องร่วงรุนแรงและน้ำหนักลด พบในสาหร่ายทะเล สกัดได้จากแอปเปิ้ล สาลี่ องุ่น แต่ปัจจุบันสกัดได้จากอ้อย และมันสำปะหลัง ใช้กับเครื่องดื่มจะลดความขมของน้ำตาล ลักษณะทั่วไป เป็นเกล็ดเมล็ด ไม่มีกลิ่น ความหวานกลมกล่อม ความหวานเป็น 60% ของน้ำตาลทราย สามารถแบ่งได้เป็น 2 ลักษณะ คือ ซอร์บิทอล เหลว หรือ น้ำ มีสีขาวใสๆ ไม่ขุ่น จะเหนียวหนืดพอสมควร บรรจุมาในถัง 200 ลิตร และ ซอร์บิทอล ผง เป็นผงผลึกขาว เป็นเกล็ดเล็กมาก.

ใหม่!!: ภาวะไม่ทนต่อแล็กโทสและซอร์บิทอล · ดูเพิ่มเติม »

ประเทศญี่ปุ่น

ประเทศญี่ปุ่น (ชื่ออย่างเป็นทางการ) เป็นรัฐเอกราชหมู่เกาะในเอเชียตะวันออก ตั้งอยู่ในมหาสมุทรแปซิฟิกนอกฝั่งตะวันออกของแผ่นดินใหญ่เอเชีย ทางตะวันตกติดกับคาบสมุทรเกาหลีและประเทศจีน โดยมีทะเลญี่ปุ่นกั้น ส่วนทางทิศเหนือติดกับประเทศรัสเซีย มีทะเลโอค็อตสค์เป็นเส้นแบ่งแดน ตัวอักษรคันจิของชื่อญี่ปุ่นแปลว่า "ถิ่นกำเนิดของดวงอาทิตย์" จึงทำให้มักได้ชื่อว่า "ดินแดนแห่งอาทิตย์อุทัย" ประเทศญี่ปุ่นเป็นกลุ่มเกาะกรวยภูเขาไฟสลับชั้นซึ่งมีเกาะประมาณ 6,852 เกาะ เกาะใหญ่สุดคือ เกาะฮนชู ฮกไกโด คีวชู และชิโกกุ ซึ่งคิดเป็นพื้นที่แผ่นดินประมาณร้อยละ 97 ของประเทศญี่ปุ่น และมักเรียกว่าเป็นหมู่เกาะเหย้า (home islands) ประเทศแบ่งเป็น 47 จังหวัดใน 8 ภูมิภาค โดยมีฮกไกโดเป็นจังหวัดเหนือสุด และโอกินาวะเป็นจังหวัดใต้สุด ประเทศญี่ปุ่นมีประชากร 127 ล้านคน เป็นประเทศที่มีประชากรมากที่สุดเป็นอันดับ 10 ของโลก ชาวญี่ปุ่นเป็นร้อยละ 98.5 ของประชากรทั้งหมดของประเทศญี่ปุ่น ประมาณ 9.1 ล้านคนอาศัยอยู่ในกรุงโตเกียว เมืองหลวงของประเทศ การวิจัยทางโบราณคดีระบุว่ามีมนุษย์อาศัยในญี่ปุ่นปัจจุบันครั้งแรกตั้งแต่ยุคหินเก่า การกล่าวถึงญี่ปุ่นเป็นลายลักษณ์อักษรครั้งแรกปรากฏในบันทึกของราชสำนักจีนตั้งแต่คริสต์ศตวรรษที่ 1 ญี่ปุ่นได้รับอิทธิพลจากจีนในหลายด้าน เช่นภาษา การปกครองและวัฒนธรรม แต่ขณะเดียวกันก็มีการปรับเปลี่ยนให้เป็นเอกลักษณ์ของตนเอง จึงทำให้ญี่ปุ่นมีวัฒนธรรมที่โดดเด่นมาจนปัจจุบัน อีกหลายศตวรรษต่อมา ญี่ปุ่นก็รับเอาเทคโนโลยีตะวันตกและนำมาพัฒนาประเทศจนกลายเป็นประเทศที่ก้าวหน้าและมีอิทธิพลมากที่สุดในเอเชียตะวันออก หลังจากแพ้สงครามโลกครั้งที่สอง ญี่ปุ่นก็มีการเปลี่ยนแปลงทางการปกครองโดยการใช้รัฐธรรมนูญใหม่ใน..

ใหม่!!: ภาวะไม่ทนต่อแล็กโทสและประเทศญี่ปุ่น · ดูเพิ่มเติม »

นม

นมในแก้ว นม หรือ น้ำนม หมายถึงของเหลวสีขาวที่ประกอบด้วยสารอาหารที่ออกมาจากเต้านมของสัตว์เลี้ยงลูกด้วยนม นมจะประกอบไปด้วยสารอาหารหลักที่จำเป็นสำหรับเด็กหรือสัตว์เกิดใหม่ ซึ่งนมสามารถนำไปสร้างผลิตภัณฑ์อื่นได้แก่ ครีม เนย โยเกิร์ต ไอศกรีม ชีส นอกจากนี้นมยังสามารถหมายถึงเครื่องดื่มอื่นที่นำมาใช้ทดแทนนม เช่น นมถั่วเหลือง นมข้าว นมข้าวโพด นมแอลมอนด์ สัตว์เลี้ยงลูกด้วยนม ที่ให้นม อาทิ วัว มนุษย์ แพะ ควาย แกะ ม้า ลา อูฐ จามรี ยามา เรนเดียร์ ฯลฯ โดยนมจากม้าและลาเป็นนมที่มีไขมันต่ำ ในขณะที่นมจากแมวน้ำจะมีไขมันสูงถึง 50% นอกจากนี้ในประเทศรัสเซียและประเทศสวีเดน มีการกินนมกวางมูส มีบางคนที่ไม่มีน้ำย่อยแลกโทส จะไม่สามารถดื่มนมวัวได้ ก็จะหันมาดื่มนมสัตว์ชนิดอื่นแทน เช่น นมแ.

ใหม่!!: ภาวะไม่ทนต่อแล็กโทสและนม · ดูเพิ่มเติม »

แล็กโทส

แล็กโทส (lactose) เป็นน้ำตาลโมเลกุลคู่ที่ส่วนใหญ่พบในนม ประกอบจากกาแล็กโทสและกลูโคส แล็กโทสเป็นส่วนประกอบราว 2-8% ของนมโดยน้ำหนัก ถึงแม้ว่าปริมาณจะแตกต่างกันไปตามชนิดและลักษณะเฉพาะ แล็กโทสแตกตัวมาจากหางนมรสหวานหรือเปรี้ยว สำหรับชื่อ "แล็ก" เป็นคำในภาษาละตินแปลว่า "นม" และ "-โอส" ที่เป็นพยางค์ท้ายสำหรับชื่อน้ำตาล เขียนสูตรได้เป็น C12H22O11.

ใหม่!!: ภาวะไม่ทนต่อแล็กโทสและแล็กโทส · ดูเพิ่มเติม »

แคว้นปกครองตนเองซิซิลี

ซิซิลี (Sicily) หรือ ซีชีเลีย (Sicilia; Sicìlia) เป็นหนึ่งในยี่สิบแคว้นและหนึ่งในห้าแคว้นปกครองตนเองของประเทศอิตาลี มีลักษณะเป็นเกาะที่ตั้งอยู่ในทะเลเมดิเตอร์เรเนียนทางภาคใต้ของประเทศโดยมีช่องแคบเมสซีนาคั่นระหว่างตัวเกาะกับแผ่นดินใหญ่ เกาะมีพื้นที่ 25,708 ตารางกิโลเมตร นับเป็นเกาะที่ใหญ่ที่สุดของอิตาลีและในทะเลเมดิเตอร์เรเนียน จุดสูงสุดของเกาะคือภูเขาไฟเอตนา (3,320 เมตร) บนเกาะมีประชากรอาศัยอยู่กว่า 5 ล้านคน เมืองสำคัญได้แก่ ปาแลร์โม (เมืองหลัก) เมสซีนา กาตาเนีย ซีรากูซา ตราปานี เอนนา คัลตานิสเซตตา และอากรีเจนโต ซิซิลีมีประวัติต่อเนื่องยาวนานกว่า 4,000 ปี ด้วยเหตุที่เป็นจุดยุทธศาสตร์สำคัญแห่งหนึ่งของยุโรป ซิซิลีจึงตกเป็นเป้าหมายของการยึดครองจากชนชาติที่มีอำนาจเข้มแข็งในช่วงเวลาต่าง ๆ เริ่มตั้งแต่ชาวกรีก โรมัน คาร์เทจ อาหรับ นอร์มัน เยอรมัน ฝรั่งเศส และสเปน แต่ละชาติผลัดเปลี่ยนหมุนเวียนกันเข้ามาปกครองดินแดนนี้ ขณะเดียวกันก็ได้นำเอาศิลปวัฒนธรรมของตนเข้ามาด้วย เกาะนี้จึงมีสถาปัตยกรรมและวัฒนธรรมที่หลากหลายผสมผสานกัน หากแต่ลงตัว นอกจากนี้ยังอุดมไปด้วยความงามทางธรรมชาติของทั้งชายหาด ทะเล และภูเขาไฟ และด้วยความที่อยู่ห่างไกลออกมา จึงสามารถสัมผัสได้ถึงความเป็นอิตาลีดั้งเดิมอย่างที่หาไม่พบอีกแล้วตามเมืองใหญ่ในอิตาลีภาคพื้นทวีป.

ใหม่!!: ภาวะไม่ทนต่อแล็กโทสและแคว้นปกครองตนเองซิซิลี · ดูเพิ่มเติม »

โรคกรดไหลย้อน

รคการไหลย้อนจากกระเพาะอาหารมาหลอดอาหาร หรือที่นิยมเรียกว่า โรคกรดไหลย้อน (Gastro-Esophageal Reflux Disease; GERD) คือภาวะที่มีกรดหรือน้ำย่อยในกระเพาะอาหาร ไหลย้อนขึ้นมาบริเวณหลอดอาหาร ซึ่งหลอดอาหารเป็นอวัยวะที่ไม่ทนต่อกรด จึงทำให้เกิดการอักเสบของหลอดอาหาร ซึ่งโดยปกติ หลอดอาหารจะมีการบีบตัวไล่อาหารลงด้านล่างและหูรูด ทำหน้าที่ป้องกันการไหลย้อนของน้ำย่อย กรด หรืออาหาร ไม่ให้ไหลย้อนขึ้นมาบริเวณหลอดอาหาร แต่ในปัจจุบัน หูรูดส่วนนี้ทำงานได้น้อยลงในบางคน ซึ่งจะตรวจพบได้ประมาณ 1 ใน 5 คน พบในคนทั่วไป ทุกกล่ม ทุกช่วงอายุ แต่จะพบได้มากในคนอ้วน หรือสูบบุหรี่ และการไหลย้อนของกรด ถ้ามีมาก อาจไหลออกนอกหลอดอาหาร อาจทำให้มีผลต่อกล่องเสียง ลำคอ หรือปอดได้ ซึ่งหากละเลยไม่ไปพบแพทย์ เพื่อทำการรักษา อาจทำให้เรื้อรังกลายเป็นมะเร็งหลอดอาหารได้ แผนภาพแสดงโรคกรดไหลย้อน ภาวะของโรคกรดไหลย้อน แบ่งออกเป็น 3 ระดั.

ใหม่!!: ภาวะไม่ทนต่อแล็กโทสและโรคกรดไหลย้อน · ดูเพิ่มเติม »

ไฮโดรเจน

รเจน (Hydrogen; hydrogenium ไฮโดรเจเนียม) เป็นธาตุเคมีที่มีเลขอะตอม 1 สัญลักษณ์ธาตุคือ H มีน้ำหนักอะตอมเฉลี่ย 1.00794 u (1.007825 u สำหรับไฮโดรเจน-1) ไฮโดรเจนเป็นธาตุที่เบาที่สุดและพบมากที่สุดในเอกภพ ซึ่งคิดเป็นมวลธาตุเคมีประมาณร้อยละ 75 ของเอกภพ ดาวฤกษ์ในลำดับหลักส่วนใหญ่ประกอบด้วยไฮโดรเจนในสถานะพลาสมา ธาตุไฮโดรเจนที่เกิดขึ้นเองตามธรรมชาติหาได้ค่อนข้างยากบนโลก ไอโซโทปที่พบมากที่สุดของไฮโดรเจน คือ โปรเทียม (ชื่อพบใช้น้อย สัญลักษณ์ 1H) ซึ่งมีโปรตอนหนึ่งตัวแต่ไม่มีนิวตรอน ในสารประกอบไอออนิก โปรเทียมสามารถรับประจุลบ (แอนไอออนซึ่งมีชื่อว่า ไฮไดรด์ และเขียนสัญลักษณ์ได้เป็น H-) หรือกลายเป็นสปีซีประจุบวก H+ ก็ได้ แคตไอออนหลังนี้เสมือนว่ามีเพียงโปรตอนหนึ่งตัวเท่านั้น แต่ในความเป็นจริง แคตไอออนไฮโดรเจนในสารประกอบไอออนิกเกิดขึ้นเป็นสปีซีที่ซับซ้อนกว่าเสมอ ไฮโดรเจนเกิดเป็นสารประกอบกับธาตุส่วนใหญ่และพบในน้ำและสารประกอบอินทรีย์ส่วนมาก ไฮโดรเจนเป็นส่วนสำคัญในการศึกษาเคมีกรด-เบส โดยมีหลายปฏิกิริยาแลกเปลี่ยนโปรตอนระหว่างโมเลกุลละลายได้ เพราะเป็นอะตอมที่เรียบง่ายที่สุดเท่าที่ทราบ อะตอมไฮโดรเจนจึงได้ใช้ในทางทฤษฎี ตัวอย่างเช่น เนื่องจากเป็นอะตอมที่เป็นกลางทางไฟฟ้าเพียงชนิดเดียวที่มีผลเฉลยเชิงวิเคราะห์ของสมการชเรอดิงเงอร์ การศึกษาการพลังงานและพันธะของอะตอมไฮโดรเจนได้มีบทบาทสำคัญในการพัฒนากลศาสตร์ควอนตัม มีการสังเคราะห์แก๊สไฮโดรเจนขึ้นเป็นครั้งแรกในต้นคริสต์ศตวรรษที่ 16 โดยการผสมโลหะกับกรดแก่ ระหว่าง..

ใหม่!!: ภาวะไม่ทนต่อแล็กโทสและไฮโดรเจน · ดูเพิ่มเติม »

ไดแซ็กคาไรด์

แซ็กคาไรด์ หรือ น้ำตาลโมเลกุลคู่ (disaccharide) เป็นน้ำตาลที่เป็นสารประกอบประเภทคาร์โบไฮเดรต ประกอบด้วยสองโมเลกุลของโมโนแซ็กคาไร.

ใหม่!!: ภาวะไม่ทนต่อแล็กโทสและไดแซ็กคาไรด์ · ดูเพิ่มเติม »

ไซลิทอล

ผลึกไซลิทอล ไซลิทอล (Xylitol) เป็นน้ำตาลแอลกอฮอล์ที่มีคาร์บอน 5 อะตอมใช้ให้ความหวานเพื่อใช้ทดแทนน้ำตาล โดยมีอยู่ตามธรรมชาติ สามารถพบได้ทั่วไปในผักผลไม้หลายชนิด ในทางการแพทย์ มีการใช้ไซลิทอลเป็นอาหารทางสายของผู้ป่วย และยังมีการใช้เพื่อป้องกันฟันผุ เพราะไซลิทอลทำให้ความเป็นกรดในน้ำลายลดลง การเกิด remineralized บนตัวฟันจะเกิดได้มากขึ้น บริษัทผลิตหมากฝรั่งบางแห่งนำเอาสารไซลิทอลมาเป็นส่วนผสม ยังพบได้ในยาสีฟัน น้ำยาบ้วนปาก และ ลูกอมบางยี่ห้อ.

ใหม่!!: ภาวะไม่ทนต่อแล็กโทสและไซลิทอล · ดูเพิ่มเติม »

เมแทบอลิซึม

กระบวนการสร้างและสลาย หรือ เมแทบอลิซึม (metabolism) มาจากภาษากรีก μεταβολή ("metabolē") มีความหมายว่า "เปลี่ยนแปลง" เป็นกลุ่มปฏิกิริยาเคมีที่เกิดขึ้นในเซลล์สิ่งมีชีวิตเพื่อค้ำจุนชีวิต วัตถุประสงค์หลักสามประการของเมแทบอลิซึม ได้แก่ การเปลี่ยนอาหารและเชื้อเพลิงให้เป็นพลังงานในการดำเนินกระบวนการของเซลล์ การเปลี่ยนอาหารและเชื้อเพลิงเป็นหน่วยย่อยของโปรตีน ลิพิด กรดนิวคลิอิกและคาร์โบไฮเดรตบางชนิด และการขจัดของเสียไนโตรเจน ปฏิกิริยาเหล่านี้มีเอนไซม์เป็นตัวเร่งปฏิกิริยา เพื่อให้สิ่งมีชีวิตเติบโตและเจริญพันธุ์ คงไว้ซึ่งโครงสร้างและตอบสนองต่อสิ่งแวดล้อม "เมแทบอลิซึม" ยังสามารถหมายถึง ผลรวมของปฏิกิริยาเคมีทั้งหมดที่เกิดในสิ่งมีชีวิต รวมทั้งการย่อยและการขนส่งสสารเข้าสู่เซลล์และระหว่างเซลล์ กลุ่มปฏิกิริยาเหล่านี้เรียกว่า เมแทบอลิซึมสารอินเทอร์มีเดียต (intermediary หรือ intermediate metabolism) โดยปกติ เมแทบอลิซึมแบ่งได้เป็นสองประเภท คือ แคแทบอลิซึม (catabolism) ที่เป็นการสลายสสารอินทรีย์ ตัวอย่างเช่น การสลายกลูโคสให้เป็นไพรูเวต เพื่อให้ได้พลังงานในการหายใจระดับเซลล์ และแอแนบอลิซึม (anabolism) ที่หมายถึงการสร้างส่วนประกอบของเซลล์ เช่น โปรตีนและกรดนิวคลีอิก ทั้งนี้ การเกิดแคแทบอลิซึมส่วนใหญ่มักมีการปลดปล่อยพลังงานออกมา ส่วนการเกิดแอแนบอลิซึมนั้นจะมีการใช้พลังงานเพื่อเกิดปฏิกิริยา ปฏิกิริยาเคมีของเมแทบอลิซึมถูกจัดอยู่ในวิถีเมแทบอลิซึม (metabolic pathway) ซึ่งสารเคมีชนิดหนึ่งๆ จะถูกเปลี่ยนแปลงหลายขั้นตอนจนกลายเป็นสารชนิดอื่น โดยอาศัยการเข้าทำปฏิกิริยาของใช้เอนไซม์หลายชนิด ทั้งนี้ เอนไซม์ชนิดต่างๆ นั้นมีความสำคัญอย่างยิ่งต่อการเกิดเมแทบอลิซึม เพราะเอนไซม์จะเป็นตัวกระตุ้นการเกิดปฏิกิริยาเคมีเหล่านั้น โดยการเข้าจับกับปฏิกิริยาที่เกิดเองได้ (spontaneous process) อยู่แล้วในร่างกาย และหลังการเกิดปฏิกิริยาจะมีปลดปล่อยพลังงานออกมา พลังงานที่เกิดขึ้นนี้จะถูกนำไปใช้ในปฏิกิริยาเคมีอื่นของสิ่งมีชีวิตที่ไม่อาจเกิดขึ้นได้เองหากปราศจากพลังงาน จึงอาจกล่าวได้ว่า เอนไซม์ทำหน้าที่เป็นตัวเร่งปฏิกิริยา ทำให้ปฏิกิริยาเคมีต่างๆ ของร่างกายดำเนินไปอย่างรวดเร็วและมีประสิทธิภาพ นอกจากนี้ เอนไซม์ยังทำหน้าที่ควบคุมวิถีเมแทบอลิซึมในกระบวนการการตอบสนองต่อการเปลี่ยนแปลงในสิ่งแวดล้อมของเซลล์หรือสัญญาณจากเซลล์อื่น ระบบเมแทบอลิซึมของสิ่งมีชีวิตจะเป็นตัวกำหนดว่า สารใดที่มีคุณค่าทางโภชนาการและเป็นพิษสำหรับสิ่งมีชีวิตนั้น ๆ ตัวอย่างเช่น โปรคาริโอตบางชนิดใช้ไฮโดรเจนซัลไฟด์เป็นสารอาหาร ทว่าแก๊สดังกล่าวกลับเป็นสารที่ก่อให้เกิดพิษแก่สัตว์ ทั้งนี้ ความเร็วของเมแทบอลิซึม หรืออัตราเมแทบอลิกนั้น ส่งผลต่อปริมาณอาหารที่สิ่งมีชีวิตต้องการ รวมไปถึงวิธีที่สิ่งมีชีวิตนั้นจะได้อาหารมาด้วย คุณลักษณะที่โดดเด่นของเมแทบอลิซึม คือ ความคล้ายคลึงกันของวิถีเมแทบอลิซึมและส่วนประกอบพื้นฐาน แม้จะในสปีชีส์ที่ต่างกันมากก็ตาม ตัวอย่างเช่น กลุ่มกรดคาร์บอกซิลิกที่ทราบกันดีว่าเป็นสารตัวกลางในวัฏจักรเครปส์นั้นพบได้ในสิ่งมีชีวิตทุกชนิดที่มีการศึกษาในปัจจุบัน ตั้งแต่สิ่งมีชีวิตเซลล์เดียวอย่างแบคทีเรีย Escherichia coli ไปจนถึงสิ่งมีชีวิตหลายเซลล์ขนาดใหญ่อย่างช้าง ความคล้ายคลึงกันอย่างน่าประหลาดใจของวิถีเมแทบอลิซึมเหล่านี้เป็นไปได้ว่าอาจเป็นผลเนื่องมาจากวิถีเมแทบอลิซึมที่ปรากฏขึ้นในช่วงแรกของประวัติศาสตร์วิวัฒนาการ และสืบมาจนถึงปัจจุบันเพราะประสิทธิผลของกระบวนการนี้.

ใหม่!!: ภาวะไม่ทนต่อแล็กโทสและเมแทบอลิซึม · ดูเพิ่มเติม »

เอนไซม์

TIM. Factor D enzyme crystal prevents the immune system from inappropriately running out of control. เอนไซม์ (อังกฤษ: enzyme) เป็นโปรตีน 99 เปอร์เซนต์ เป็น ส่วนใหญ่ ที่ทำหน้าที่เร่งปฏิกิริยาเคมี เป็นคำในภาษากรีก ένζυμο หรือ énsymo ซึ่งมาจาก én ("ที่" หรือ "ใน") และ simo (":en:leaven" หรือ ":en:yeast") เอนไซม์มีความสำคัญและจำเป็นสำหรับสิ่งมีชีวิต เพราะว่าปฏิกิริยาเคมีส่วนใหญ่ในเซลล์จะเกิดช้ามาก หรือถ้าไม่มีเอนไซม์อาจทำให้ผลิตภัณฑ์จากปฏิกิริยากลายเป็นสารเคมีชนิดอื่น ซึ่งถ้าขาดเอนไซม์ระบบการทำงานของเซลล์จะผิดปกติ (malfunction) เช่น.

ใหม่!!: ภาวะไม่ทนต่อแล็กโทสและเอนไซม์ · ดูเพิ่มเติม »

เปลี่ยนเส้นทางที่นี่:

การแพ้แลคโทสการแพ้แล็กโทสภาวะไม่ทนต่อแล็กโตสอาการไม่ทนต่อน้ำตาลแลคโตส

ขาออกขาเข้า
Hey! เราอยู่ใน Facebook ตอนนี้! »