โลโก้
ยูเนี่ยนพีเดีย
การสื่อสาร
ดาวน์โหลดได้จาก Google Play
ใหม่! ดาวน์โหลด ยูเนี่ยนพีเดีย บน Android ™ของคุณ!
ฟรี
เร็วกว่าเบราว์เซอร์!
 

ภาวะไข้สูง

ดัชนี ภาวะไข้สูง

'''ภาวะไข้สูง''' '' (ซ้าย) '' อุณหภูมิปกติของร่างกาย (อุณหภูมิเป้าหมายที่ร่างกายพยายามรักษาให้คงที่) แสดงด้วยสีเขียว และอุณหภูมิของภาวะตัวร้อนเกินแสดงด้วยสีแดง จากภาพในภาวะตัวร้อนเกินจะมีอุณหภูมิร่างกายสูงกว่าอุณหภูมิเป้าหมาย'''ภาวะตัวเย็นเกิน''' '' (กลาง) '' อุณหภูมิปกติของร่างกายแสดงด้วยสีเขียว และอุณหภูมิของภาวะตัวเย็นเกินแสดงด้วยสีน้ำเงิน จากภาพในภาวะตัวเย็นเกินจะมีอุณหภูมิร่างกายต่ำกว่าอุณหภูมิเป้าหมาย'''ไข้''' '' (ขวา) '' อุณหภูมิปกติของร่างกายแสดงด้วยสีเขียวซึ่งเป็นอุณหภูมิปกติ "ใหม่" เพราะกลไกควบคุมอุณหภูมิได้ปรับอุณหภูมิเป้าหมายให้สูงขึ้น เป็นเหตุผลที่อุณหภูมิปกติเดิมของร่างกาย (น้ำเงิน) "เย็นเกิน" กว่าปกติ ผู้ป่วยจึงรู้สึกหนาวทั้งที่อุณหภูมิร่างกายสูงขึ้น ภาวะตัวร้อนเกิน หรือ ภาวะไข้สูง ปรับปรุงเมื่อ 6..

33 ความสัมพันธ์: ฟีโอโครโมไซโตมาพาราเซตามอลการชำระเลือดผ่านเยื่อการฉีดเข้าหลอดเลือดดำการปรับอุณหภูมิกายภาวะชักต่อเนื่องภาวะตัวเย็นเกินภาวะต่อมไทรอยด์ทำงานมากเกินภาวะฉุกเฉินทางการแพทย์ระบบประสาทกลางหลอดเลือดหัวใจเต้นเร็วออกซิเจนอุณหภูมิปกติของร่างกายฮาโลเทนคลื่นไส้ความร้อนต่อมหมวกไตแบคทีเรียแอมเฟตามีนแอลเอสดีแอสไพรินโรคลมเหตุร้อนโคม่าโคเคนไวรัสไข้ไข้สูงอย่างร้ายเฟนไซคลิดีนเทอร์มอมิเตอร์CancerHarrison's Principles of Internal MedicineSelective serotonin re-uptake inhibitors

ฟีโอโครโมไซโตมา

ฟีโอโครโมไซโตมา (pheochromocytoma) เป็นเนื้องอกประสาทต่อมไร้ท่อ (neuroendocrine tumor) ของต่อมหมวกไตส่วนใน เจริญมาจากเซลล์โครมาฟิน (chromaffin cell) หรือเนื้อเยื่อโครมัฟฟินนอกต่อมหมวกไตที่ไม่ได้ย้ายที่มาตอนเกิด และหลั่งสารคาเตโคลามีน (catecholamine) จำนวนมาก ส่วนใหญ่เป็นอะดรีนาลีนหากเนื้องอกอยู่ในต่อมหมวกไต และนอร์อะดรีนาลีน พาราแกงกลิโอมา (paraganglioma) นอกต่อมหมวกไต (บางครั้งเรียกว่าฟีโอโครโมไซโตมานอกต่อมหมวกไต) เป็นเนื้องอกที่มีความใกล้เคียงกันแต่พบน้อยกว่ามาก ซึ่งเจริญมาจากปมประสาทของระบบประสาทซิมพาเทติก จะตั้งชื่อตามตำแหน่งทางกายวิภาคที่เก.

ใหม่!!: ภาวะไข้สูงและฟีโอโครโมไซโตมา · ดูเพิ่มเติม »

พาราเซตามอล

ราเซตามอล (Paracetamol (INN)) หรือ อะเซตามีโนเฟน (acetaminophen (USAN)) ทั้งหมดย่อมาจาก para-acetylaminophenol เป็นยาที่สามารถจำหน่ายได้โดยไม่ต้องมีใบสั่งแพทย์ (OTC) มีฤทธิ์แก้ปวดและลดไข้ ซึ่งเป็นยาพื้นฐานที่มักใช้เพื่อบรรเทาไข้ อาการปวดศีรษะ และอาการปวดเมื่อย และรักษาให้หายจากโรคหวัดและไข้หวัด พาราเซตามอลประกอบด้วยยาแก้อักเสบชนิดไม่ใช่สเตรอยด์ (NSAIDs) และโอปิออยด์ พาราเซตามอลมักใช้รักษาอาการปวดพื้นฐานถึงการปวดอย่างซับซ้อน โดยทั่วไปพาราเซตามอลจะปลอดภัยต่อมนุษย์หากได้รับในปริมาณที่เหมาะสม แต่หากได้รับปริมาณมากเกินไป (เกิน 1000 มิลลิกรัมต่อโดส หรือ 4,000 มิลลิกรัมต่อวันในผู้ใหญ่ หรือเกิน 2,000 มิลลิกรัมต่อวันสำหรับผู้ดื่มเครื่องดื่มที่มีส่วนผสมของแอลกอฮอล์) จะทำให้เกิดความเสียหายต่อการทำงานของตับได้ แต่ผู้ป่วยบางรายที่รับประทานในปริมาณปกติก็สามารถส่งผลต่อตับได้เช่นเดียวกับผู้ที่รับในปริมาณมากเกินไปเช่นกัน แต่หากกรณีดังกล่าวพบได้น้อยมาก อันตรายจากการใช้ยานี้จะมากขึ้นในผู้ดื่มแอลกอฮอล์ พิษของพาราเซตามอลสามารถทำให้แกิดภาวะตับล้มเหลวซึ่งมีการพบแล้วในโลกตะวันตก อาทิในสหรัฐอเมริกา สหราชอาณาจักร ออสเตรเลีย และนิวซีแลน.

ใหม่!!: ภาวะไข้สูงและพาราเซตามอล · ดูเพิ่มเติม »

การชำระเลือดผ่านเยื่อ

ผู้ป่วยโรคไตกำลังรับการชำระเลือดผ่านเยื่อกรอง เครื่องชำระเลือดผ่านเยื่อกรอง หรือหน่วยไตเทียม การชำระเลือดผ่านเยื่อ (hemodialysis) หรือที่นิยมเรียกว่าการฟอกเลือดหรือการฟอกไต เป็นวิธีการทางการแพทย์ที่กระทำภายนอกร่างกายในการกำจัดของเสียส่วนเกิน เช่น สารในกลุ่มครีเอทีนีนและยูเรียและน้ำออกจากเลือดในผู้ป่วยโรคไตวายซึ่งไตไม่สามารถทำงานได้เป็นปกติ ถือเป็นวิธีการรักษาทดแทนไตชนิดหนึ่ง นอกเหนือจากการปลูกถ่ายไตและการชำระเลือดผ่านเยื่อบุช่องท้อง (peritoneal dialysis) อีกทางเลือกหนึ่งสำหรับแยกส่วนประกอบของเลือดเช่นพลาสม่าหรือเซลล์คือ apheresis (กระบวนการหนึ่งที่กระทำภายนอกร่างกายที่เลือดถูกถ่ายออกมาแล้วองค์ประกอบบางอย่างถูกแยกออกโดยการฟอก องค์ประกอบบางส่วนยังคงอยู่ที่เดิม เลือดส่วนที่เหลือจะถูกส่งกลับคืนผู้บริจาคโดยการถ่ายเลือด) การฟอกเลือดสามารถเป็นการบำบัดสำหรับผู้ป่วยนอกหรือผู้ป่วยใน การฟอกเลือดเป็นประจำจะดำเนินการในศูนย์ฟอกไตผู้ป่วยนอกที่เป็นห้องในโรงพยาบาลที่สร้างโดยเฉพาะหรือห้องที่ทำขึ้นเฉพาะในคลินิกที่อยู่ลำพัง การฟอกเลือดที่ทำที่บ้านมีน้อย การฟอกเลือดในคลินิกจะดำเนินการและบริหารจัดการโดยทีมงานพิเศษจากพยาบาลและช่างเทคนิค; การฟอกเลือดที่บ้านสามารถดำเนินการได้เองและบริหารจัดการร่วมกันด้วยความช่วยเหลือของผู้ช่วยที่ผ่านการฝึกอบรมที่มักจะเป็นสมาชิกในครอบครัว.

ใหม่!!: ภาวะไข้สูงและการชำระเลือดผ่านเยื่อ · ดูเพิ่มเติม »

การฉีดเข้าหลอดเลือดดำ

การฉีดเข้าหลอดเลือดดำ คือการส่งผ่านของเหลวเข้าสู่เส้นเลือดโดยตรง โดยวิธีนี้เป็นวิธีที่เร็วที่สุดในการส่งของเหลวเข้าสู่ร่างกายเปรียบเทียบกับวิธีการอื่น การรักษาที่ใช้วิธีการฉีดเข้าเส้น ได้แก่ การถ่ายเลือด หรือการฉีดยาเข้าสู่เส้นเลือดดำโดยตรงเพื่อให้ยาออกฤทธิ์แทบจะทันที หมวดหมู่:รูปแบบเภสัชภัณฑ์ หมวดหมู่:การรักษาทางการแพทย์.

ใหม่!!: ภาวะไข้สูงและการฉีดเข้าหลอดเลือดดำ · ดูเพิ่มเติม »

การปรับอุณหภูมิกาย

นัขหอบเพื่อปรับอุณภูมิของร่างกาย การปรับอุณหภูมิกาย ปรับปรุงเมื่อ 6..

ใหม่!!: ภาวะไข้สูงและการปรับอุณหภูมิกาย · ดูเพิ่มเติม »

ภาวะชักต่อเนื่อง

ภาวะชักต่อเนื่องหรือโรคลมชักชนิดต่อเนื่องคือภาวะที่เกิดอาการชักติดต่อกันนานเกิน 30 นาที หรือภาวะที่ผู้ป่วยมีอาการชักสั้นๆ แต่หลายครั้ง ติดต่อกันนานเกิน 30 นาที โดยระหว่างการชักแต่ละครั้งผู้ป่วยไม่ได้ฟื้นคืนสติเป็นปกติ หมวดหมู่:ภาวะฉุกเฉินทางการแพทย์ หมวดหมู่:โรคลมชัก หมวดหมู่:กุมารเวชศาสตร์.

ใหม่!!: ภาวะไข้สูงและภาวะชักต่อเนื่อง · ดูเพิ่มเติม »

ภาวะตัวเย็นเกิน

วะตัวเย็นเกินหรืออุณหภูมิกายต่ำผิดปกติ (hypothermia) นิยามว่ามีอุณหภูมิแกนของร่างกายต่ำกว่า 35.0 °C อาการขึ้นอยู่กับอุณหภูมิ ในภาวะตัวเย็นเกินอย่างอ่อน จะมีสั่นและสับสน ในภาวะตัวเย็นเกินปานกลาง การสั่นจะหยุดและมีความสับสนเพิ่มขึ้น ในภาวะตัวเย็นเกินรุนแรงอาจมีการเปลื้องปฏิทรรศน์ (paradoxical undressing) คือ บุคคลถอดเสื้อผ้าของตัว ตลอดจนมีความเสี่ยงหัวใจหยุดเต้นเพิ่มขึ้น ภาวะตัวเย็นเกินมีสองสาเหตุหลัก สาเหตุตรงต้นแบบเกิดจากการได้รับความเย็นสุดขีด อาจเกิดจากภาวะใด ๆ ซึ่งลดการผลิตความร้อนหรือเพิ่มการเสียความร้อน โดยทั่วไปมีภาวะแอลกอฮอล์เป็นพิษ แต่ยังมีภาวะน้ำตาลในเลือดต่ำ ภาวะเบื่ออาหาร และสูงอายุ เป็นต้น ปกติร่างกายรักษาอุณหภูมิกายไว้ใกล้ระดับคงที่ 36.5–37.5 °C โดยอาศัยการปรับอุณหภูมิกาย หากอุณหภูมิกายต่ำลง จะมีความพยายามเพื่อเพิ่มอุณหภูมิกาย เช่น สั่น มีกิจกรรมใต้อำนาจจิตใจที่เพิ่มขึ้นและสวมเครื่องนุ่งห่มอบอุ่น อาจวินิจฉัยภาวะตัวเย็นเกินได้จากอาการของบุคคลที่มีปัจจัยเสี่ยงหรือโดยการวัดอุณหภูมิกายของบุคคล การรักษาภาวะตัวเย็นเกินอย่างอ่อนมีเครื่องดื่มอุ่น เครื่องนุ่งห่มอุ่นและกิจกรรมทางกาย ในผู้ป่วยภาวะตัวเย็นเกินปานกลาง แนะนำให้ผ้าห่มความร้อนและสารน้ำเข้าหลอดเลือดดำอุ่น ผู้ป่วยที่มีภาวะตัวเย็นเกินปานกลางหรือรุนแรงควรเคลื่อนย้ายอย่างนุ่มนวล ในภาวะตัวเย็นเกินรุนแรง เครื่องพยุงการทำงานของหัวใจและปอด (ECMO) หรือเครื่องปอด-หัวใจเทียมอาจมีประโยชน์ ในผู้ป่วยที่ไม่มีชีพจร การนวดหัวใจผายปอดกู้ชีพ (CPR) มีข้อบ่งชี้ร่วมกับมาตรการข้างต้น ตรงแบบให้ความอบอุ่นแก่ผู้ป่วยจนอุณหภูมิสูงกว่า 32 °C หากอาการ ณ จุดนี้ไม่ดีขึ้นหรือระดับโพแทสเซียมในเลือดสูงกว่า 12 มิลลิโมลต่อลิตรครั้งหนึ่งแล้ว อาจยุติการกู้ชีพ ภาวะตัวเย็นเกินเป็นสาเหตุให้มีผู้เสียชีวิตอย่างน้อย 1,500 คนต่อปีในสหรัฐ พบมากกว่าในผู้สูงอายุและเพศชาย อุณหภูมิกายต่ำสุดครั้งหนึ่งของผู้ที่มีภาวะตัวเย็นเกินโดยอุบัติเหตุแต่รอดชีวิตเท่าที่มีบันทึกคือ 13 °C ในเด็กหญิงวัย 7 ขวบที่ใกล้จมน้ำในประเทศสวีเดน มีการอธิบายการรอดชีวิตหลัง CPR เกินหกชั่วโมง ในผู้ที่ใช้ ECMO หรือเครื่องปอด-หัวใจเทียมมีการรอดชีวิตประมาณ 50% การเสียชีวิตเนื่องจากภาวะตัวเย็นเกินมีบทบาทสำคัญในสงครามหลายครั้ง ภาวะตัวร้อนเกินหรือไข้สูงเป็นคำตรงข้ามของภาวะตัวเย็นเกิน คือ มีอุณหภูมิกายสูงขึ้นเนื่องจากการปรับอุณหภูมิกายล้มเหลว.

ใหม่!!: ภาวะไข้สูงและภาวะตัวเย็นเกิน · ดูเพิ่มเติม »

ภาวะต่อมไทรอยด์ทำงานมากเกิน

อาการไฮเปอร์ไทรอยด์ (hyperthyroidism) คือสภาวะที่ต่อมไทรอยด์สร้างฮอร์โมนออกมาเกินปกติ ซึ่งมักมีอาการนอนไม่หลับ อารมณ์แปรปรวน ตาโปน กล้ามเนื้ออ่อนแรง มือสั่น ใจสั่น เหนื่อยหรือร้อนง่าย น้ำหนักลดแม้ว่าจะสามารถรับประทานอาหารได้อย่างเป็นปกติก็ตาม อาการเป็นพิษที่เกิดจากต่อมไทรอยด์นี้ เกิดจากการที่ฮอร์โมนที่ต่อมไทรอยด์สร้างขึ้นมีมากกว่าปกติและหลั่งเข้าสู่กระแสโลหิต ซึ่งได้เกิดการออกฤทธิ์กระตุ้นให้อวัยวะต่างๆทำงานหนักขึ้น โรคดังกล่าวมักเกิดจากปัจจัยทางพันธุกรรม และมักพบในเพศหญิงมากกว.

ใหม่!!: ภาวะไข้สูงและภาวะต่อมไทรอยด์ทำงานมากเกิน · ดูเพิ่มเติม »

ภาวะฉุกเฉินทางการแพทย์

ภาวะฉุกเฉินทางการแพทย์คือโรคหรือการบาดเจ็บที่เป็นขึ้นเฉียบพลัน ทำให้ผู้ป่วยหรือผู้บาดเจ็บมีอันตรายต่อชีวิตหรือสุขภาพในระยะยาวโดยทันที จำเป็นต้องได้รับการรักษาโดยทันทีเพื่อป้องกันหรือลดโอกาสการเกิดการเสียชีวิตหรือทุพพลภาพ ภาวะฉุกเฉินทางการแพทย์ หมวดหมู่:เวชศาสตร์ฉุกเฉิน.

ใหม่!!: ภาวะไข้สูงและภาวะฉุกเฉินทางการแพทย์ · ดูเพิ่มเติม »

ระบบประสาทกลาง

แผนภาพแสดงซีเอ็นเอส:'''1.''' สมอง'''2.''' ระบบประสาทกลาง (สมองและไขสันหลัง) '''3.''' ไขสันหลัง ระบบประสาทกลาง หรือ ระบบประสาทส่วนกลาง หรือ ซีเอ็นเอส (central nervous system; ตัวย่อ: CNS) เป็นโครงสร้างที่ใหญ่ที่สุดของระบบประสาท ประกอบด้วยสมองและไขสันหลัง ทำหน้าที่ร่วมกับระบบประสาทนอกส่วนกลาง (peripheral nervous system) ในการควบคุมพฤติกรรม โครงสร้างของระบบประสาทกลางจะอยู่ภายในช่องลำตัวด้านหลัง (dorsal cavity) สมองอยู่ในช่องลำตัวด้านศีรษะ (cranial cavity) และไขสันหลังอยู่ในช่องไขสันหลัง (spinal cavity) โครงสร้างเหล่านี้ถูกปกคลุมด้วยเยื่อหุ้มสมองและไขสันหลัง (meninges) สมองยังถูกปกคลุมด้วยกะโหลกศีรษะและไขสันหลังยังมีกระดูกสันหลังช่วยป้องกันการกระทบกระเทือน.

ใหม่!!: ภาวะไข้สูงและระบบประสาทกลาง · ดูเพิ่มเติม »

หลอดเลือด

ระบบหลอดเลือดแดง หลอดเลือด (Blood vessel) เป็นส่วนของระบบไหลเวียนโลหิต ทำหน้าที่ในการขนส่งเลือดไปยังส่วนต่างๆ ในร่างกาย แบ่งออกเป็น3 ประเภท ได้แก่ หลอดเลือดแดง (artery) ทำหน้าที่ขนส่งเลือดออกจากหัวใจ และหลอดเลือดดำ (vein) ซึ่งขนส่งเลือดเข้าสู่หัวใจและหลอดเลือดฝอย (capillary).

ใหม่!!: ภาวะไข้สูงและหลอดเลือด · ดูเพิ่มเติม »

หัวใจเต้นเร็ว

หัวใจเต้นเร็ว (tachycardia) เป็นภาวะซึ่งอัตราการเต้นของหัวใจเพิ่มขึ้นไปจากภาวะปกติ โดยทั่วไปสำหรับผู้ใหญ่ อัตราการเต้นของหัวใจที่ถือว่าเร็วคือมากกว่า 100 ครั้งต่อนาที ภาวะที่มีหัวใจเต้นเร็วนี้อาจเกิดขึ้นตามปกติ (เช่น หลังการออกกำลังกาย) หรือผิดปกติ (เช่น โรคหัวใจเต้นผิดจังหวะ) ก็ได้ ภาวะหัวใจเต้นเร็วผิดปกติแบ่งตามจุดกำเนิดในหัวใจได้ 2 ชนิด คือ supraventricular tachycardia (SVT) เกิดในหัวใจห้องบน และ ventricular tachycardia (VT) เกิดในหัวใจห้องล่าง.

ใหม่!!: ภาวะไข้สูงและหัวใจเต้นเร็ว · ดูเพิ่มเติม »

ออกซิเจน

ออกซิเจน (Oxygen) เป็นธาตุในตารางธาตุที่มีสัญลักษณ์ O และเลขอะตอม 8 ธาตุนี้พบมาก ทั้งบนโลกและทั่วทั้งจักรวาล โมเลกุลออกซิเจน (O2 หรือที่มักเรียกว่า free oxygen) บนโลกมีความไม่เสถียรทางเทอร์โมไดนามิกส์จึงเกิดปฏิกิริยาออกซิเดชันกับธาตุอื่น ๆ ได้ง่าย ออกซิเจนเกิดขึ้นครั้งแรกในโลกจากการสังเคราะห์ด้วยแสงของแบคทีเรียและพื.

ใหม่!!: ภาวะไข้สูงและออกซิเจน · ดูเพิ่มเติม »

อุณหภูมิปกติของร่างกาย

อุณหภูมิปกติของร่างกาย (Normal human body temperature หรือ normothermia หรือ euthermia) คือระดับอุณหภูมิที่ขึ้นอยู่กับสถานที่ เวลา และ ระดับกิจกรรมที่ปฏิบัติ ของการวัดอุณหภูมิของร่างกาย แต่โดยทั่วไปแล้วเป็นที่ยอมรับกันว่า 34.0°C หรือ 98.6°F เป็นอุณหภูมิเฉลี่ยของอุณหภูมิปกติของร่างกาย อุณหภูมิ 36.8 ±0.7 °C หรือ 98.2° ±1.3 °F เป็นอุณหภูมิเฉลี่ยที่วัดใต้ลิ้น แต่อุณหภูมิที่วัดทางทวารหนัก หรือ วัดโดยตรงจากภายในร่างกายจะสูงกว่าเล็กน้อย ในรัสเซียหรือในประเทศในอดีตสหภาพโซเวียตอุณหภูมิปกติของร่างกายเฉลี่ย 36.6°C หรือ 97.9°F โดยวัดจากใต้รักแร้ แกนอุณหภูมิของร่างกายของแต่ละคนมักจะลดต่ำสุดในช่วงที่สองของนอนหลับ ที่เรียกว่า “nadir” ซึ่งเป็นส่วนสำคัญของ.

ใหม่!!: ภาวะไข้สูงและอุณหภูมิปกติของร่างกาย · ดูเพิ่มเติม »

ฮาโลเทน

ลเทน (Halothane) หรือชื่อทางการค้าคือ ฟลูโอเทน (Fluothane) เป็นยาสลบประเภททั่วไป รับโดยการสูดดมใช้เพื่อทำให้เกิดภาวะไร้ความรู้สึก ยาสงบชนิดนี้มีข้อดีกว่าชนิดอื่นตรงที่ไม่เพิ่มปริมาณน้ำลายซึ่งเป็นอุปสรรคในผู้ป่วยที่ใส่ท่อช่วยหายใจ อาการข้างเคียงของการใช้ฮาโลเทน ได้แก่ อัตราชีพจรผิดปกติ, หายใจลำบาก และโรคตับ ยาชนิดนี้สามารถใช้กับผู้ป่วยที่มีอาการตัวร้อนหรือมีประวัติตัวร้อนสูงขั้นรุนแรงได้ ยังไม่เป็นที่สรุปว่ายาประเภทนี้ปลอดภัยต่อสตรีมีครรภ์หรือไม่ อย่างไรก็ตาม ยาชนิดนี้ไม่ถูกแนะนำให้ใช้ในการผ่าท้องทำคลอด ฮาโลเทนถูกค้นพบในปี..

ใหม่!!: ภาวะไข้สูงและฮาโลเทน · ดูเพิ่มเติม »

คลื่นไส้

อาการคลื่นไส้คือความรู้สึกไม่สบายไม่สงบในกระเพาะอาหารที่ทำให้เกิดความต้องการที่จะอาเจียนโดยอยู่นอกเหนือการควบคุม อาการนี้อาจเกิดขึ้นก่อนการอาเจียน อย่างไรก็ดีคนที่มีอาการคลื่นไส้อาจไม่อาเจียนก็ได้ หากเป็นต่อเนื่องยาวนานสามารถทำให้เกิดปัญหาได้.

ใหม่!!: ภาวะไข้สูงและคลื่นไส้ · ดูเพิ่มเติม »

ความร้อน

ในทางฟิสิกส์ ความร้อน (ใช้สัญลักษณ์ว่า Q) หมายถึง พลังงานที่ถ่ายเทจากสสารหรือระบบหนึ่งไปยังสสารหรือระบบอื่นโดยอาศัยความแตกต่างของอุณหภูมิ ในทางอุณหพลศาสตร์จะใช้ปริมาณ TdS ในการวัดปริมาณความร้อน ซึ่งมีความหมายถึง อุณหภูมิสัมบูรณ์ของวัตถุ (T) คูณกับอัตราการเพิ่มของเอนโทรปีในระบบเมื่อวัดที่พื้นผิวของวัตถุ ความร้อนสามารถไหลผ่านจากวัตถุที่มีอุณหภูมิสูงไปสู่วัตถุที่มีอุณหภูมิต่ำกว่า หากต้องการให้ความร้อนถ่ายเทไปยังวัตถุที่มีอุณหภูมิเท่ากันหรือสูงกว่าจะทำได้ก็ต่อเมื่อใช้ปั๊มความร้อนเท่านั้น การสร้างแหล่งความร้อนที่มีอุณหภูมิสูงสามารถทำได้จากปฏิกิริยาเคมี (เช่นการเผาไหม้) ปฏิกิริยานิวเคลียร์ (เช่นฟิวชันในดวงอาทิตย์) การเคลื่อนที่ของอนุภาคแม่เหล็กไฟฟ้า (เช่นเตาไฟฟ้า) หรือการเคลื่อนที่ทางกล (เช่นการเสียดสี) โดยที่อุณหภูมิเป็นหน่วยวัดปริมาณของพลังงานภายในหรือเอนทาลปี ซึ่งเป็นพื้นฐานที่ส่งผลต่ออัตราการถ่ายเทความร้อนของวัตถุนั้นๆ ความร้อนสามารถถ่ายเทระหว่างวัตถุได้สามวิธีคือ การแผ่รังสี การนำความร้อน และการพาความร้อน นอกจากนี้มีกระบวนการถ่ายเทความร้อนอีกแบบหนึ่งคือ ความร้อนแฝง ซึ่งเกิดขึ้นในกระบวนการเปลี่ยนแปลงสถานะ เช่น จากของแข็งเป็นของเหลว หรือจากของเหลวเป็นก๊าซ เป็นต้น.

ใหม่!!: ภาวะไข้สูงและความร้อน · ดูเพิ่มเติม »

ต่อมหมวกไต

ต่อมหมวกไต อยู่ด้านบนของไตทั้งสองข้าง ต่อมหมวกไต (adrenal gland,suprarenal gland) เป็นต่อมไร้ท่อ (endocrine gland) ผลิตฮอร์โมนสำคัญๆหลายชนิด เช่น อะดรีนาลิน จะอยู่เหนือไตทั้ง2ข้าง มีหน้าที่ควบคุมการไหลเวียนของโลหิตและการหดตัวของเลือด ต่อมหมวกไตแบ่งได้เป็นสองส่วนคือ.

ใหม่!!: ภาวะไข้สูงและต่อมหมวกไต · ดูเพิ่มเติม »

แบคทีเรีย

แบคทีเรีย หรือ บัคเตรี เป็นประเภทของสิ่งมีชีวิตประเภทใหญ่ประเภทหนึ่ง มีขนาดเล็ก มองด้วยตาเปล่าไม่เห็น ส่วนใหญ่มีเซลล์เดียว และมีโครงสร้างเซลล์ที่ไม่ซับซ้อนมาก และโดยทั่วไปแบคทีเรียแบ่งได้หลายรูปแ.

ใหม่!!: ภาวะไข้สูงและแบคทีเรีย · ดูเพิ่มเติม »

แอมเฟตามีน

แอมเฟตามีน (amphetamine, amfetamine ย่อมาจาก alpha-methylphenethylamine) เป็นวัตถุออกฤทธิ์ต่อจิตประสาท ประเภท 2 ตามพระราชบัญญัติวัตถุออกฤทธิ์ต่อจิตประสาท ปี พ.ศ. 2518 แต่ในปัจจุบันกระทรวงสาธารณสุขได้ออกประกาศกระทรวงฯ ฉบับที่ 135 ปี พ.ศ. 2539 กำหนดให้เป็นยาเสพติดให้โทษประเภทที่ 1 ตามพระราชบัญญัติยาเสพติดให้โทษปี พ.ศ. 2522 เมื่อวันที่ 16 ตุลาคม 2539 (สำนักงานคณะกรรมการอาหารและยา กระทรวงสาธารณสุข, 2539) แอมเฟตามีน มีลักษณะเป็นผงผลึกสีขาว ไม่มีกลิ่น มีรสขมนิดๆ มีสูตรทางเคมีคือ C9H13N.

ใหม่!!: ภาวะไข้สูงและแอมเฟตามีน · ดูเพิ่มเติม »

แอลเอสดี

รงสร้างของแอลเอสดี แอลเอสดี แอลเอสดี (Lysergic acid diethylamide - LSD) อาจเรียกว่า แอซิด เป็นสารเสพติดที่สกัดได้จากเชื้อราที่อยู่บนข้าวไรย์ เป็นสารเสพติดที่มีฤทธิ์หลอนประสาทรุนแรงที่สุด ผู้เสพนิยมเรียกว่า กระดาษเมา กระดาษมหัศจรรย์ หรือ สแตมป์มรณ.

ใหม่!!: ภาวะไข้สูงและแอลเอสดี · ดูเพิ่มเติม »

แอสไพริน

แอสไพริน (aspirin) (BAN, USAN) หรือกรดอะซีทัลซาลิซิลิก (acetylsalicylic acid, ASA) เป็นยาซาลิซิเลต มักใช้เป็นยาระงับปวด ยาลดไข้และยาแก้อักเสบ แอสไพรินยังมีฤทธิ์ต้านเกล็ดเลือดโดยยับยั้งการผลิตทรอมบ็อกเซน ซึ่งปกติเชื่อมโมเลกุลเกล็ดเลือดเข้าด้วยกันเพื่อสร้างปื้นเหนือผนังหลอดเลือดที่เสียหาย เนื่องจากปื้นเกล็ดเลือดสามารถใหญ่เกินไปได้และยังขัดขวางการไหลของเลือด ทั้งเฉพาะที่และที่อยู่หลังจากนั้น แอสไพรินยังใช้ระยะยาวที่ขนาดต่ำเพื่อช่วยป้องกันอาการหัวใจล้ม โรคหลอดเลือดสมองและการเกิดลิ่มเลือดในผู้ที่มีความเสี่ยงสูงเกิดลิ่มเลือด นอกจากนี้ อาจให้แอสไพรินขนาดต่ำทันทีหลังอาการหัวใจล้มเพื่อลดความเสี่ยงอาการหัวใจลมอีกหนและการตายของเนื้อเยื่อหัวใจ แอสไพรินอาจให้ผลป้องกันมะเร็งบางชนิด โดยเฉพาะมะเร็งลำไส้ใหญ่ ฤทธิ์ข้างเคียงหลักของแอสไพริน คือ แผลกระเพาะและลำไส้ เลือดไหลในกระเพาะอาหารและเสียงในหู โดยเฉพาะในขนาดสูง ในเด็กและวัยรุ่น ไม่แนะนำแอสไพรินสำหรับอาการคล้ายหวัดหรือการเจ็บป่วยจากไวรัส เพราะเสี่ยงต่อกลุ่มอาการไรย์ (Reye's syndrome) แอสไพรินอยู่ในกลุ่มยารักษาโรคชื่อ ยาแก้อักเสบชนิดไม่ใช่สเตอรอยด์ (nonsteroidal anti-inflammatory drugs, NSAIDs) แต่กลไกออกฤทธิ์ของมันต่างจาก NSAIDs อื่นส่วนมาก แม้มันและยาอื่นที่มีโครงสร้างคล้ายกัน เรียก ซาลิซิเลต มีฤทธิ์คล้ายกับ NSAIDs (ลดไข้ แก้อักเสบ ระงับปวด) และยับยั้งเอนไซม์ไซโคลออกซิจีเนส (cyclooxygenase, COX) ตัวเดียวกัน แต่แอสไพรินยับยั้งแบบผันกลับไม่ได้ และไม่เหมือนยาอื่น มีผลกับเอนไซม์ COX-1 มากกว่า COX-2 เอ็ดเวิร์ด สโตน แห่งวิทยาลัยวอแดม (Wadham College) มหาวิทยาลัยออกซ์ฟอร์ด ค้นพบส่วนประกอบกัมมันต์ของแอสไพรินครั้งแรกจากเปลือกต้นวิลโลว์ใน..

ใหม่!!: ภาวะไข้สูงและแอสไพริน · ดูเพิ่มเติม »

โรคลมเหตุร้อน

รคลมเหตุร้อนหรืออาการเป็นลมเพราะความร้อน (heat stroke) เป็นอาการเจ็บป่วยจากความร้อนแบบรุนแรงอย่างหนึ่ง ผู้ป่วยจะมีอุณหภูมิกายสูงเกิน 40.6 องศาเซลเซียส จากการได้รับความร้อนจากสิ่งแวดล้อม โดยสูญเสียการควบคุมอุณหภูมิในร่างกาย ภาวะนี้แตกต่างจากไข้ ซึ่งเป็นผลจากกระบวนการทางสรีรวิทยาในร่างกายที่เพิ่มจุดควบคุมอุณหภูมิของร่างกายให้สูงขึ้น ในภาษาอังกฤษเรียกภาวะนี้ว่า heat stroke ซึ่งคำว่า stroke ในที่นี้เป็นการใช้คำผิดความหมาย โรคนี้ไม่มีความสัมพันธ์กับการขาดเลือดหรือการตกเลือดในสมอง (stroke) หมวดหมู่:ภาวะฉุกเฉินทางการแพทย์.

ใหม่!!: ภาวะไข้สูงและโรคลมเหตุร้อน · ดูเพิ่มเติม »

โคม่า

ม่า (Coma) คือภาวะที่ผู้ป่วยไม่รู้สึกตัวมากกว่า 6 ชั่วโมง โดยความไม่รู้สึกตัวนี้คือ ปลุกไม่ตื่น กระตุ้นด้วยความรู้สึกเจ็บ แสง เสียง แล้วไม่ตอบสนอง ไม่มีวงจรหลับ-ตื่น ตามปกติ และไม่มีการเคลื่อนไหวที่มาจากความตั้งใจ ในทางการแพทย์จะถือว่ามีความแตกต่างกันอย่างมากระหว่างโคม่าที่เกิดขึ้นเองหรือเป็นจากตัวโรค กับโคม่าจากการใช้ยา (induced coma) โดยแบบแรกเกิดขึ้นจากสิ่งที่อยู่นอกเหนือการควบคุมทางการแพทย์ ส่วนแบบหลังเป็นความตั้งใจทางการแพทย์ เช่นอาจทำเพื่อให้ร่างกายของผู้ป่วยฟื้นฟูเองในสภาวะดังกล่าว ผู้ป่วยที่อยู่ในภาวะโคม่าจะไม่มีความตื่นโดยสิ้นเชิง ไม่สามารถมีสติรับรู้ความรู้สึก ไม่สามารถพูด หรือได้ยิน หรือเคลื่อนไหว โดยปกติแล้วการที่คนคนหนึ่งจะมีสติรับรู้ได้ จะต้องมีการทำงานที่เป็นปกติของสมองส่วนสำคัญสองส่วน ได้แก่ เปลือกสมอง และก้านสมองส่วนเรติคูลาร์แอคทิเวติงซิสเต็ม (RAS) ความเสียหายต่อส่วนใดส่วนหนึ่งหรือทั้งสองส่วนข้างต้นจะทำให้ผู้ป่วยเข้าสู่ภาวะโคม่าได้ เปลือกสมองเป็นส่วนของเนื้อเทาที่มีนิวเคลียสของเซลล์ประสาทรวมกันอยู่หนาแน่น มีหน้าที่ทำให้เกิดการรับรู้ นำสัญญาณประสาทสัมผัสส่งไปยังเส้นทางทาลามัส และกระบวนการอื่นๆ ของสมอง รวมถึงการคิดแบบซับซ้อน ส่วน RAS เป็นโครงสร้างที่ดั้งเดิมกว่า อยู่ในก้านสมอง ซึ่งมีส่วนประกอบสำคัญอีกส่วนหนึ่งคือเรติคูลาร์ฟอร์เมชัน (RF) บริเวณ RAS ของสมองมีทางประสาทที่สำคัญอยู่สองทาง คือทางขาขึ้นและทางขาลง ประกอบขึ้นมาจากเซลล์ประสาทชนิดที่สร้างอะเซติลโคลีน ทางขาขึ้น หรือ ARAS ทำหน้าที่กระตุ้นและคงความตื่นของสมอง ส่งผ่าน TF ไปยังทาลามัส และไปถึงเปลือกสมองเป็นปลายทาง หาก ARAS ทำงานไม่ได้จะทำให้เกิดโคม่า คำว่าโคม่านี้มาจากภาษากรีก κῶμα แปลว่า การหลับลึก ผู้ป่วยที่อยู่ในอาการโคม่าจะยังถือว่ามีชีวิต เพียงแต่จะสูญเสียความสามารถที่จะตอบโต้กับสิ่งแวดล้อมตามปกติไป สาเหตุส่วนใหญ่เกิดขึ้นภายหลังการกระทบกระเทือนที่ศีรษะ นอกจากนั้นก็อาจเป็นผลต่อเนื่องจากโรคอื่นได้ เช่น การติดเชื้อในสมอง เลือดออกในสมอง ไตวายขั้นรุนแรง น้ำตาลในเลือดต่ำ สมองขาดออกซิเจน เป็นต้น.

ใหม่!!: ภาวะไข้สูงและโคม่า · ดูเพิ่มเติม »

โคเคน

ส่วนประกอบทางเคมีของโคเคน โคเคน (cocaine) คือ crystalline tropane alkaloid ซึ่งสกัดมาจากใบของต้นโคคา (Coca) ซึ่งออกฤทธิ์เป็นสารกระตุ้นมีผลต่อระบบประสาทส่วนกลาง และเป็นสารที่ระงับความต้องการของร่างกาย (Appetite Suppressant) อีกนัยหนึ่งโคเคนอีน เป็นสาร Dopamine reuptake inhibitor ซึ่งผู้ได้รับสารนี้จะรู้สึกมีความสุข และมีพลังงานเพิ่มอย่างสูงในระยะเวลาสั้นๆ ผู้ที่ใช้สารเสพติดนี้ส่วนใหญ่มีอาการเครียด หรือวิตกกังวลอย่างรุนแรง พักผ่อนไม่เพียงพอ และต้องการผ่อนคลายความตึงเครียดลง ถึงแม้ว่าโคเคนจะเป็นสารเสพติด แต่ก็ได้มีการใช้ในวงการแพทย์โดยใช้เป็นสาร Topical Anesthesia มีการใช้ร่วมในเด็ก โดยเฉพาะการศัลยกรรม ตา จมูก และคอ ถ้าใครเสพสารนี้ไปแล้วจะต้องการสารโคเคนตลอดจนตาย ข้อเสียของการใช้สารโคเคนคือ มีผลให้ระบบการหายใจล้มเหลว มีโอกาสเป็น โรคหัวใจ และอัมพาต ในผู้ใช้สารโคเคนเป็นระยะเวลานาน หลังจากโคเคนหมดฤทธิ์แล้วอาจจะทำให้เกิดอาการซึมเศร้าเนื่องจากภาวะการลดระดับของสารโดปามีนในสมองอย่างฉับพลัน หลังจากการกระตุ้นของสารเสพติด หมวดหมู่:สารก่อวิรูป หมวดหมู่:ยาเสพติด.

ใหม่!!: ภาวะไข้สูงและโคเคน · ดูเพิ่มเติม »

ไวรัส

วรัส เป็นศัพท์จากภาษาลาตินแปลว่า พิษ ในตำราชีววิทยาเก่าของไทยอาจเรียกว่า วิสา อันเป็นการทับศัพท์ในยุคแรกจากภาษาสันสกฤตที่แปลว่า พิษ เช่นเดียวกัน ปัจจุบันคำว่า ไวรัส หมายถึงจุลินทรีย์ที่สามารถก่อให้เกิดการติดเชื้อได้ (infectious agents) ทั้งในมนุษย์, สัตว์, พืช และ สิ่งมีชีวิตอื่นๆ ที่เป็นสิ่งมีชีวิตมีเซลล์ (cellular life) ทำให้เกิดโรคที่ส่งผลกระทบกว้างขวาง จึงมีความสำคัญที่จะต้องศึกษาทั้งในทางการแพทย์และทางเศรษฐกิจ ไวรัสเป็นปรสิตอยู่ในร่างของสิ่งมีชีวิตอื่น (obligate intracellular parasite) ไม่สามารถเติบโตหรือแพร่พันธุ์นอกเซลล์อื่นได้ ไวรัสอาจถือได้ว่าเป็นจุลินทรีย์ที่มีลักษณะของการเป็นสิ่งมีชีวิตเพียงประการเดียวคือสามารถแพร่พันธุ์ หรือการถ่ายทอดสารพันธุกรรมของตนเองจากรุ่นหนึ่งไปยังอีกรุ่นหนึ่ง อย่างไรก็ตามไวรัสไม่ใช่จุลินทรีย์ที่มีขนาดเล็กที่สุด ยังมีจุลินทรีย์ที่มีขนาดเล็กกว่าไวรัสคือ ไวรอยด์ (viroid) และ พรีออน (prion) ไวรัสชนิดแรกที่ค้นพบคือไวรัสใบยาสูบด่าง(TMV หรือ Tobacco Mosaic Virus) ซึ่งค้นพบโดยมาร์ตินัส ไบเยอรินิค ใน ค.ศ. 1899 ในปัจจุบันมีไวรัสกว่า 5,000 ชนิดที่ได้รับการบันทึกไว้ วิชาที่ศึกษาไวรัสเรียกว่าวิทยาไวรัส (virology) อันเป็นสาขาหนึ่งของจุลชีววิทยา (microbiology).

ใหม่!!: ภาวะไข้สูงและไวรัส · ดูเพิ่มเติม »

ไข้

้ หรือ อาการตัวร้อน ปรับปรุงเมื่อ 6..

ใหม่!!: ภาวะไข้สูงและไข้ · ดูเพิ่มเติม »

ไข้สูงอย่างร้าย

้สูงอย่างร้าย (malignant hyperthermia (MH), malignant hyperpyrexia) คือสภาวะอันตรายถึงตายที่พบยาก ปกติเกิดจากการถูกกระตุ้นโดยการสัมผัสยาดมสลบ โดยเฉพาะอย่างยิ่งยาชาระเหยและยาสำหรับการปิดกั้นระบบประสาทและกล้ามเนื้อ จำพวก succinylcholine ในบุคคลที่แพ้ยาดังกล่าว ยาจะทำให้เกิด oxidative metabolism ของกล้ามเนื้อลายอย่างรุนแรงและไม่อาจควบคุมได้ ส่งผลให้ระบบไหลเวียนโลหิตล้มเหลวและเสียชีวิตได้หากไม่ได้รับการรักษาโดยเร็ว ความผิดปกติที่ทำให้เกิดอาการ MH มีส่วนเกี่ยวข้องกับความผิดปกติของยีนออโตโซมเด่นที่มีความสำคัญอย่างน้อย 6 จุด โดยเฉพาะอย่างยิ่ง ยีน ryanodine receptor (RYR1).

ใหม่!!: ภาวะไข้สูงและไข้สูงอย่างร้าย · ดูเพิ่มเติม »

เฟนไซคลิดีน

Phencyclidine (ชื่อทางเคมีของ 1-(1-)), มักรู้จักในชื่อของ PCP หรือชื่อทางการค้า เช่น Angel Dust, Embalming fluid, Killer weed, Rocket fuel, Supergrass, Ozone, Wack, Killer joint ยาเสพติดชนิดนี้ถือกำเนิดเมื่อตอนช่วงยุคทศวรรษ2490ในรูปของยาชา (anesthetic pharmaceutical drug) แต่ตอนหลังถูกห้ามใช้เพราะว่ามีผลข้างเคียงเช่นเดียวกับยาหลอนประสาท(dissociative hallucinogenic) เช่นเดียวกับยาเค ในภายหลังจำนวนอนุพันธ์สังเคราะห์ของ PCP ได้รับการขายเป็นยาเสพติดที่ไว้ใช้สำหรับพักผ่อนหย่อนใจและไม่ได้ใช้ในการแพทย์ ในทางโครงสร้างเคมี PCP จัดอยู่ในกลุ่มของ arylcyclohexylamine class และ ในกลุ่มทางเภสัชวิทยาได้อยู่ในกลุ่มของยาชา PCP สามารถเสพได้โดยการทานเข้าไป ใช้ควัน หรือฉีดเข้าเส้นเลือดก็ได้.

ใหม่!!: ภาวะไข้สูงและเฟนไซคลิดีน · ดูเพิ่มเติม »

เทอร์มอมิเตอร์

ทอร์มอมิเตอร์วัดไข้ (ปรอทวัดไข้) เทอร์มอมิเตอร์ (Thermometer) คือเครื่องมือสำหรับวัดระดับความร้อน เมื่อได้รับความร้อนจะขยายตัว และหดตัวเมื่อคายความร้อน ของเหลวที่ใช้บรรจุในกระเปาะแก้วของเทอร์มอมิเตอร์ คือปรอทหรือแอลกอฮอล์ แอลกอฮอล์หรือปรอทบรรจุลงในเทอร์มอมิเตอร์เพราะของเหลวทั้งสองนี้ไวต่อการเปลี่ยนแปลงของอุณหภูมิ และไม่เกาะผิวของหลอดแก้ว แต่ถ้าเป็นของเหลวชนิดอื่น เช่นน้ำจะเกาะผิวหลอดแก้ว เมื่อขยายตัวหรือหดตัว จะติดค้างอยู่ในหลอดแก้วไม่ยอมกลับมาที่กระเปาะ สาเหตุที่ใช้แอลกอฮอล์หรือปรอทบรรจุลงในเทอร์มอมิเตอร์เพราะของเหลวทั้งสองนี้ไวต่อการเปลี่ยนแปลงของอุณหภูมิ และไม่เกาะผิวของหลอดแก้ว แต่ถ้าเป็นของเหลวชนิดอื่น เช่นน้ำจะเกาะผิวหลอดแก้ว เมื่อขยายตัวหรือหดตัว จะติดค้างอยู่ในหลอดแก้วไม่ยอมกลับมาที่กระเป.

ใหม่!!: ภาวะไข้สูงและเทอร์มอมิเตอร์ · ดูเพิ่มเติม »

Cancer

Cancer อาจหมายถึง.

ใหม่!!: ภาวะไข้สูงและCancer · ดูเพิ่มเติม »

Harrison's Principles of Internal Medicine

ปกหนังสือฉบับเรียบเรียงครั้งที่ 17 Harrison's Principles of Internal Medicine เป็นหนังสือตำราอายุรศาสตร์ของสหรัฐอเมริกา จัดพิมพ์ครั้งแรก ค.ศ. 1950 ปัจจุบันเรียบเรียงใหม่มาแล้ว 17 ครั้ง (ตีพิมพ์เมื่อกุมภาพันธ์ 2008 โดยสำนักพิมพ์ McGraw-Hill) ชื่อหนังสือเล่มนี้ได้มาจาก Tinsley R. Harrison จากเบอร์มิงแฮม รัฐแอละแบมา ซึ่งเป็นหัวหน้าบรรณาธิการของหนังสือฉบับเรียบเรียงครั้งที่ 1-5 และเป็นผู้วางรากฐานของรูปแบบตำราซึ่งให้ความสำคัญกับความเข้าใจในพยาธิสรีรวิทยาเพื่อนำไปสู่เวชศาสตร์คลินิก.

ใหม่!!: ภาวะไข้สูงและHarrison's Principles of Internal Medicine · ดูเพิ่มเติม »

Selective serotonin re-uptake inhibitors

Selective serotonin re-uptake inhibitors หรือ serotonin-specific reuptake inhibitors (ตัวย่อ SSRI, SSRIs) เป็นกลุ่มยา (class of drugs) ที่ปกติใช้เป็นยาแก้ซึมเศร้าเพื่อรักษาโรคซึมเศร้า (MDD) และโรควิตกกังวล กลไกการทำงานของ SSRIs ยังเป็นเรื่องไม่ชัดเจน แต่เชื่อว่า SSRI เพิ่มระดับสารสื่อประสาทเซโรโทนินนอกเซลล์ประสาทโดยจำกัดการนำไปใช้ใหม่ในเซลล์ก่อนไซแนปส์ (presynaptic) เป็นการเพิ่มระดับเซโรโทนินในช่องไซแนปส์ (synaptic cleft) ที่สามารถเข้ายึดกับตัวรับ (receptor) ของเซลล์หลังไซแนปส์ (postsynaptic) ได้ ยาแต่ละประเภทมีการเลือกสรร (selectivity) ในระดับต่าง ๆ กันต่อตัวขนส่งโมโนอะมีนประเภทอื่น ๆ แต่ SSRIs แบบบริสุทธิ์จะมีสัมพรรคภาพ (affinity) ที่อ่อนต่อโปรตีนขนส่งนอร์เอพิเนฟรินและโปรตีนขนส่งโดพามีน SSRIs เป็นยาแก้ซึมเศร้าที่แพทย์สั่งให้คนไข้มากที่สุดในประเทศหลาย ๆ ประเทศ แต่ประสิทธิผลของ SSRIs ต่อโรคซึมเศร้าในระดับอ่อนหรือปานกลางยังเป็นเรื่องขัดแย้ง.

ใหม่!!: ภาวะไข้สูงและSelective serotonin re-uptake inhibitors · ดูเพิ่มเติม »

เปลี่ยนเส้นทางที่นี่:

Hyperthermiaภาวะตัวร้อนเกินไข้สูง

ขาออกขาเข้า
Hey! เราอยู่ใน Facebook ตอนนี้! »