โลโก้
ยูเนี่ยนพีเดีย
การสื่อสาร
ดาวน์โหลดได้จาก Google Play
ใหม่! ดาวน์โหลด ยูเนี่ยนพีเดีย บน Android ™ของคุณ!
ติดตั้ง
เร็วกว่าเบราว์เซอร์!
 

นอร์ทอีสต์อิงแลนด์

ดัชนี นอร์ทอีสต์อิงแลนด์

ตะวันออกเฉียงเหนือของอังกฤษ (ภาษาอังกฤษ: North East England) เป็นหนึ่งในเก้าของภาคการปกครองของอังกฤษที่รวมทั้งนอร์ทธัมเบอร์แลนด์, มลฑลเดอแรม, ไทน์และเวียร์, บางส่วนของนอร์ธยอร์คเชอร์ และทีสแวลลีย์ (Tees Valley) ภาคตะวันออกเฉียงเหนือมีเนื้อที่ 8,592 ตารางกิโลเมตร ในปี..

12 ความสัมพันธ์: กำแพงฮาดริอานุสภาษาอังกฤษภาคของอังกฤษมรดกโลกอาสนวิหารเดอรัมความหนาแน่นประชากรประวัติศาสตร์อังกฤษนอร์ทัมเบอร์แลนด์นักบุญบีดนิวคาสเซิลอะพอนไทน์เทศมณฑลของอังกฤษเซลล์ต้นกำเนิด

กำแพงฮาดริอานุส

กำแพงฮาดริอานุส (Hadrian’s Wall; Vallum Aelium (the Aelian wall)) “กำแพงฮาดริอานุส” เป็นกำแพงหินบางส่วนและกำแพงหญ้าบางส่วนที่สร้างโดยจักรวรรดิโรมันขวางตลอดแนวตอนเหนือของเกาะอังกฤษใต้แนวพรมแดนอังกฤษและสกอตแลนด์ในปัจจุบัน การก่อสร้างกำแพงเริ่มขึ้นในรัชสมัยของจักรพรรดิฮาดริอานุสในปี ค.ศ. 122 “กำแพงฮาดริอานุส” เป็นหนึ่งในสามแนวป้องกันการรุกรานอาณานิคมบริเตนของโรมัน แนวแรกเป็นแนวตั้งแต่แม่น้ำไคลด์ไปจนถึงแม่น้ำฟอร์ธที่สร้างในสมัยจักรพรรดิอากริโคลา และแนวสุดท้ายคือกำแพงอันโตนิน (Antonine Wall) แนวกำแพงทั้งสามสร้างขึ้นเพื่อ ในบรรดากำแพงสามกำแพงฮาดริอานุสเป็นกำแพงที่เป็นที่รู้จักกันมากที่สุดเพราะยังคงทิ้งร่องรอยไว้ให้เห็นกันในปัจจุบัน กำแพงฮาดริอานุสเป็น “กำแพงโรมัน” (limes) ของเขตแดนทางเหนือของบริเตนและเป็นกำแพงที่สร้างเสริมอย่างแข็งแรงที่สุดในจักรวรรดิ นอกจากจะใช้ในการป้องกันศัตรูแล้วประตูกำแพงก็ยังใช้เป็นด่านศุลกากรในการเรียกเก็บภาษีสินค้าด้วย กำแพงบางส่วนยังคงเหลือให้เห็นกันในปัจจุบันโดยเฉพาะส่วนกลาง และตัวกำแพงสามารถเดินตามได้ตลอดแนวซึ่งทำให้เป็นสิ่งที่ดึงดูดนักท่องเที่ยวที่นิยมกันมากที่สุดแห่งหนึ่งของทางตอนเหนือของอังกฤษ กำแพงนี้บางครั้งก็เรียกกันง่ายๆ ว่า “กำแพงโรมัน” กำแพงฮาดริอานุสได้รับฐานะเป็นมรดกโลกโดยยูเนสโกในปี ค.ศ. 1987 องค์การอนุรักษ์มรดกอังกฤษ (English Heritage) ซึ่งเป็นองค์การราชการในการบริหารสิ่งแวดล้อมทางประวัติศาสตร์ของอังกฤษบรรยายกำแพงฮาดริอานุสว่าเป็น “อนุสาวรีย์ที่สำคัญที่สุดที่สร้างโดยโรมันในบริเตน”.

ใหม่!!: นอร์ทอีสต์อิงแลนด์และกำแพงฮาดริอานุส · ดูเพิ่มเติม »

ภาษาอังกฤษ

ษาอังกฤษ หรือ ภาษาอังกฤษใหม่ เป็นภาษาในกลุ่มภาษาเจอร์แมนิกตะวันตกที่ใช้ครั้งแรกในอังกฤษสมัยต้นยุคกลาง และปัจจุบันเป็นภาษาที่ใช้กันแพร่หลายที่สุดในโลก ประชากรส่วนใหญ่ในหลายประเทศ รวมทั้ง สหราชอาณาจักร สหรัฐอเมริกา แคนาดา ออสเตรเลีย ไอร์แลนด์ นิวซีแลนด์ และประเทศในแคริบเบียน พูดภาษาอังกฤษเป็นภาษาที่หนึ่ง ภาษาอังกฤษเป็นภาษาแม่ที่มีผู้พูดมากที่สุดเป็นอันดับสามของโลก รองจากภาษาจีนกลางและภาษาสเปน มักมีผู้เรียนภาษาอังกฤษเป็นภาษาที่สองอย่างกว้างขวาง และภาษาอังกฤษเป็นภาษาราชการของสหภาพยุโรป หลายประเทศเครือจักรภพแห่งชาติ และสหประชาชาติ ตลอดจนองค์การระดับโลกหลายองค์การ ภาษาอังกฤษเจริญขึ้นในราชอาณาจักรแองโกล-แซ็กซอนอังกฤษ และบริเวณสกอตแลนด์ตะวันออกเฉียงใต้ในปัจจุบัน หลังอิทธิพลอย่างกว้างขวางของบริเตนใหญ่และสหราชอาณาจักรตั้งแต่คริสต์ศตวรรษที่ 17 จนถึงกลางคริสต์ศตวรรษที่ 20 ผ่านจักรวรรดิอังกฤษ และรวมสหรัฐอเมริกาด้วยตั้งแต่กลางคริสต์ศตวรรษที่ 20 ภาษาอังกฤษได้แพร่หลายทั่วโลก กลายเป็นภาษาชั้นนำของวจนิพนธ์ระหว่างประเทศและเป็นภาษากลางในหลายภูมิภาค ในประวัติศาสตร์ ภาษาอังกฤษกำเนิดจากการรวมภาษาถิ่นหลายภาษาที่สัมพันธ์อย่างใกล้ชิด ซึ่งปัจจุบันเรียกรวมว่า ภาษาอังกฤษเก่า ซึ่งผู้ตั้งนิคมนำมายังฝั่งตะวันออกของบริเตนใหญ่เมื่อคริสต์ศตวรรษที่ 5 คำในภาษาอังกฤษจำนวนมากสร้างขึ้นบนพื้นฐานรากศัพท์ภาษาละติน เพราะภาษาละตินบางรูปแบบเป็นภาษากลางของคริสตจักรและชีวิตปัญญาชนยุโรปDaniel Weissbort (2006).

ใหม่!!: นอร์ทอีสต์อิงแลนด์และภาษาอังกฤษ · ดูเพิ่มเติม »

ภาคของอังกฤษ

(regions) เป็นเขตการปกครองท้องถิ่นระดับบนสุดของรัฐบาลท้องถิ่นในอังกฤษ (Local government in England) ยกเว้นลอนดอนที่มีระบบการปกครองเป็นของตนเอง ภาคการปกครองของอังกฤษก่อตั้งขึ้นในปี ค.ศ. 1994 และในปัจจุบันแบ่งเป็น 9.

ใหม่!!: นอร์ทอีสต์อิงแลนด์และภาคของอังกฤษ · ดูเพิ่มเติม »

มรดกโลก

ตราสัญลักษณ์ แหล่งมรดกโลก หรือ มรดกโลก (World Heritage Site; Patrimoine Mondial) คือสถานที่ อันได้แก่ ป่าไม้ อนุสาวรีย์ สิ่งก่อสร้างต่างๆ รวมไปถึงเมือง ซึ่งคัดเลือกโดยองค์การยูเนสโกตั้งแต่ปี พ.ศ. 2515 เพื่อเป็นการบ่งบอกถึงคุณค่าของสิ่งที่มนุษยชาติ หรือธรรมชาติได้สร้างขึ้นมา และควรจะปกป้องสิ่งเหล่านั้นได้อย่างไร เพื่อให้ได้ตกทอดไปถึงอนาคต ในปัจจุบัน (กรกฎาคม 2560) มีมรดกโลกทั้งหมด 1073 แห่ง ใน 167 ประเทศทั่วโลก ซึ่งแบ่งเป็นมรดกโลกทางวัฒนธรรม 832 แห่ง มรดกโลกทางธรรมชาติ 206 แห่ง และอีก 35 แห่งเป็นแบบผสมทั้งสองประเภท, UNESCO World Heritage Sites official sites.

ใหม่!!: นอร์ทอีสต์อิงแลนด์และมรดกโลก · ดูเพิ่มเติม »

อาสนวิหารเดอรัม

อาสนวิหารเดอรัม คริสตจักรอาสนวิหารของพระคริสต์ พระนางมารีย์พรหมจารี และเซนต์คัธเบิร์ตแห่งเดอรัม (The Cathedral Church of Christ, Blessed Mary the Virgin and St Cuthbert of Durham) เรียกโดยย่อว่าอาสนวิหารเดอรัม เป็นอาสนวิหารแองกลิคัน ตั้งอยู่ที่เมืองเดอรัมใน สหราชอาณาจักร ก่อตั้งเมื่อ ค.ศ. 1093 มีชื่อเต็มว่า The Cathedral Church of Christ, Blessed Mary the Virgin and St Cuthbert of Durham ลักษณะโครงสร้างส่วนใหญ่เป็นแบบโรมาเนสก์ มีหอคอยสูง 66 เมตร มีบันไดขึ้นทั้งหมด 325 ขั้น อาสนวิหารเป็นที่เก็บเรลิกของคัธเบิร์ตแห่งลินเดสฟาร์น (Cuthbert of Lindisfarne) นักบุญจากศตวรรษที่ 7 นอกจากนั้นยังเป็นที่เก็บศีรษะของนักบุญออสวอลด์แห่งนอร์ธัมเบรีย (St Oswald of Northumbria) และร่างของนักบุญบีด มุขนายกแห่งเดอรัมเป็นตำแหน่งที่มีอำนาจมากมาจนถึงกลางคริสต์ศตวรรษที่ 19 ตำแหน่งของมุขนายกแห่งเดอรัมถือว่ามีความสำคัญเป็นที่สี่ของคริสตจักรแห่งอังกฤษ แม้ในปัจจุบันก็ยังมีป้ายของมณฑลเดอรัมว่าเป็นดินแดนของ Prince Bishops อาสนวิหารได้รับเลือกโดยองค์การยูเนสโกให้ขึ้นทะเบียนเป็นมรดกโลก พร้อมกับปราสาทเดอรัมซึ่งอยู่ตรงกันข้ามกันเหนือแม่น้ำเวียร์ (River Wear).

ใหม่!!: นอร์ทอีสต์อิงแลนด์และอาสนวิหารเดอรัม · ดูเพิ่มเติม »

ความหนาแน่นประชากร

วามหนาแน่นประชากร เป็นการวัดปริมาณประชากรในหน่วยพื้นที่หนึ่ง ๆ โดยขึ้นอยู่กับกลุ่มตัวอย่างที่เลือกนำมาสำรวจ เช่น ความหนาแน่นของประชากรในประเทศ หรือความหนาแน่นประชากรในเขตที่อยู่อาศัย และในบางครั้งจะเป็นการยากในการวัดที่ได้ค่าความหนาแน่นที่แน่นอน หน่วยที่ใช้ในการวัดความหนาแน่น ได้แก่ จำนวนประชากรต่อตารางกิโลเมตร หรือ จำนวนบ้านต่อพื้นที่ตารางกิโลเมตร หรือในบางกรณีพิเศษ จะใช้เป็นจำนวนประชากรต่อหน่วยความยาว เช่น จำนวนประชากรต่อบริเวณความยาวชายหาด ความหนาแน่นของประชากรของประเทศไทยทั่วทั้งประเทศ (ต่อตร.กม) ปี พ.ศ. 2545 เท่ากับ 123 คนต่อ ตร.กม.

ใหม่!!: นอร์ทอีสต์อิงแลนด์และความหนาแน่นประชากร · ดูเพิ่มเติม »

ประวัติศาสตร์อังกฤษ

อังกฤษ เป็นประเทศที่ใหญ่ที่สุด และมีประชากรมากที่สุดเมื่อเปรียบเทียบกับประเทศอื่นๆ ในสหราชอาณาจักร ประวัติศาสตร์อังกฤษเริ่มขึ้นเมื่อมีการตั้งถิ่นฐานของมนุษย์เมื่อหลายพันปีมาแล้ว ภูมิภาคที่ปัจจุบันคืออังกฤษภายในสหราชอาณาจักรเป็นที่ตั้งถิ่นฐานของมนุษย์นีอันเดอร์ธอลราว 230,000 ปีมาแล้ว ขณะที่มนุษย์โฮโมเซเพียนซึ่งเป็นมนุษย์สมัยใหม่เริ่มเข้ามาตั้งถิ่นฐานราว 29,000 ปีมาแล้ว แต่การอยู่ต่อเนื่องกันโดยตลอดเริ่มขึ้นราว 11,000 ปีมาแล้วในปลายยุคน้ำแข็ง ในบริเวณภูมิภาคนี้ยังมีร่องรอยของมนุษย์สมัยต่างๆ ที่เข้ามาตั้งถิ่นฐานที่เริ่มตั้งแต่ยุคหินกลาง, ยุคหินใหม่ และ ยุคสำริด เช่น สโตนเฮนจ์ และเนินดินที่เอฟบรี ในยุคเหล็กอังกฤษก็เช่นเดียวกับบริเตนทั้งหมดทางใต้ของเฟิร์ธออฟฟอร์ธเป็นที่ตั้งถิ่นฐานของชนเคลต์ที่เป็นกลุ่มชนที่เรียกว่า บริเตน (Briton) หรือเผ่าเบลแจ ในปี..

ใหม่!!: นอร์ทอีสต์อิงแลนด์และประวัติศาสตร์อังกฤษ · ดูเพิ่มเติม »

นอร์ทัมเบอร์แลนด์

นอร์ทธัมเบอร์แลนด์ (ภาษาอังกฤษ: Northumberland) เป็นมณฑลในอังกฤษในสหราชอาณาจักรที่ตั้งอยู่ทางตะวันออกเฉียงเหนือของสหราชอาณาจักรอังกฤษ ทางด้านตะวันตกติดกับมณฑลคัมเบรีย, ด้านใต้กับเคานติเดอแรม, ด้านตะวันออกเฉียงใต้มณฑลไทน์และเวียร์ และทางเหนือติดกับสกอตแลนด์ ด้านตะวันออกเป็นฝั่งทะเลเหนือที่ยาวเกือบ 80 ไมล์ นอร์ทธัมเบอร์แลนด์มีประชาชนรวมทั้งสิ้นประมาณ 310,600 คนในเนื้อที่ 5013 ตารางกิโลเมตร ตั้งแต่ไทน์และเวียร์แยกไปเป็นมณฑลอิสระในปี..

ใหม่!!: นอร์ทอีสต์อิงแลนด์และนอร์ทัมเบอร์แลนด์ · ดูเพิ่มเติม »

นักบุญบีด

นักบุญบีดผู้น่าเคารพ (Saint Bede; Venerable Bede; หรือเบดา (Beda; ค.ศ. 672/ค.ศ. 673–26 พฤษภาคม ค.ศ. 735) เป็น เป็นบาทหลวงและนักพรตโรมันคาทอลิกประจำอารามมังค์แวร์มัท-แจร์โรว์ ในราชอาณาจักรนอร์ธัมเบรีย นักบุญบีดมีชื่อเสียงจากการเป็นนักบันทึกเหตุการณ์และนักวิชาการ งานชิ้นสำคัญของท่านคือ “ประวัติศาสตร์คริสตจักรของชนอังกฤษ” ที่ทำให้ได้รับชื่อว่าเป็น “บิดาแห่งประวัติศาสตร์อังกฤษ” นอกจากนั้นก็ยังเป็นหนึ่งในนักปราชญ์แห่งคริสตจักร นักบุญบีดเป็นนักบุญจากบริเตนใหญ่ผู้เดียวที่ได้รับตำแหน่งนี้ (นักบุญแอนเซล์มแห่งแคนเทอร์เบอรี ได้รับตำแหน่งนี้แต่มาจากอิตาลี).

ใหม่!!: นอร์ทอีสต์อิงแลนด์และนักบุญบีด · ดูเพิ่มเติม »

นิวคาสเซิลอะพอนไทน์

นไทน์ข้ามแม่น้ำไทน์ในนิวคาสเซิล นิวคาสเซิลอะพอนไทน์ (Newcastle upon Tyne) มักจะนิยมเรียกย่อว่า นิวคาสเซิล (Newcastle) เป็นนครและเมืองในโบโรฮ์ของไทน์แอนด์แวร์ ซึ่งตั้งอยู่ทางตะวันออกเฉียงเหนือของอังกฤษ เมืองนิวคาสเซิลตั้งอยู่บนริมฝั่งแม่น้ำไทน์ซึ่งเป็นที่มาของชื่อ ถึงแม้ว่าในช่วงก่อตั้งนั้นได้ชื่อว่า ปอนส์แอรีอุส (Pons Aelius) ตามชื่อโรมัน และได้เปลี่ยนชื่อเป็นนิวคาสเซิลในปีค.ศ. 1080 หลังจากที่ได้มีการสร้างปราสาท โดยพระเจ้าโรเบิร์ตที่ 2 ตัวเมืองได้เป็นศูนย์กลางของการค้าขนแกะและต่อมาเป็นเหมืองถ่านหินอันดับต้นของประเทศ ในคริสต์ศตวรรษที่ 16 นิวคาสเซิลได้รู้จักในชื่อของเมืองต่อเรือ โดยเป็นศูนย์กลางการต่อเรือที่สำคัญของโลกแห่งหนึ่ง โดยในปัจจุบันอุตสาหกรรมได้จางหายไป โดยตัวเมืองกลายเป็นแหล่งวัฒนธรรมที่สำคัญแห่งหนึ่งของประเทศ สัญลักษณ์ที่สำคัญของเมืองได้แก่ นิวคาสเซิลบราวน์เอล เบียร์ชื่อดังของเมือง สโมสรฟุตบอลนิวคาสเซิลยูไนเต็ด สโมสรฟุตบอลในพรีเมียร์ลีก และสะพานไทน์ นอกจากนี้ได้มีการจัดการแข่งขันฮาล์ฟมาราธอนในชื่อ เกรตนอร์ธรันตั้งแต่ปี ค.ศ. 1981 นิวคาสเซิลมีจำนวนประชากรเป็นอันดับที่ 20 ของประเทศ สถาบันศึกษาที่สำคัญของเมืองได้แก่ มหาวิทยาลัยนิวคาสเซิล และ มหาวิทยาลัยนอร์ททัมเบรียนิวคาสเซิล.

ใหม่!!: นอร์ทอีสต์อิงแลนด์และนิวคาสเซิลอะพอนไทน์ · ดูเพิ่มเติม »

เทศมณฑลของอังกฤษ

มณฑลการปกครองของอังกฤษ เป็นการแบ่งการเขตการปกครองหนึ่งในระดับการปกครองท้องถิ่นของอังกฤษเพื่อใช้ในทางการบริหาร, ทางการเมือง และในการแบ่งเขตการปกครองทางภูมิศาสตร์ มณฑลในปัจจุบันมีรากฐานมาจากการแบ่งเขตการปกครองของระบบการปกครองในประวัติศาสตร์เช่นในสมัยแองโกล-แซ็กซอน คำว่ามณฑลที่ในภาษาอังกฤษใช้คำว่า “County” ซึ่งมาจากบริเวณเขตการปกครองของขุนนางระดับเคานท์ แต่ในอังกฤษตำแหน่ง “เคานท์” เท่ากับตำแหน่ง เอิร์ล ของแซ็กซอนโบราณ แต่ภรรยาของเอิร์ลยังคงมีตำแหน่งเป็น “เคานเทส” ชื่อ, เขตแดน และลักษณะการบริหารของเขตการปกครองของมณฑลเปลี่ยนแปลงไปมากจากที่เป็นมาในอดีตกาล และการปฏิรูปเขตการปกครองต่างๆ ที่เกิดเริ่มตั้งแต่คริสต์ศตวรรษที่ 19 เป็นต้นมาทำให้ความหมายคำว่า “มณฑล” ที่ใช้กันในอังกฤษค่อนข้างจะสับสนและกำกวม ฉะนั้นคำว่า “มณฑลของอังกฤษ” โดยทั่วไปจึงมิได้หมายถึงหน่วยเขตการปกครองที่แจ่มแจ้งเช่นในความหมายอย่างเป็นทางการของคำว่า “มณฑล” ตามที่เข้าใจกัน เช่นในการใช้คำว่า “มณฑล” สำหรับกรณีอื่นๆ นอกไปจากการบริหารการปกครองส่วนท้องถิ่นเช่น มณฑลภูมิศาสตร์ (Ceremonial counties), มณฑลลงทะเบียน (Registration county), มณฑลในประวัติศาสตร์ (Historic counties) หรือมณฑลไปรษณีย์ (Postal counties) เป็นต้น.

ใหม่!!: นอร์ทอีสต์อิงแลนด์และเทศมณฑลของอังกฤษ · ดูเพิ่มเติม »

เซลล์ต้นกำเนิด

ซลล์ต้นกำเนิด หรือ เซลล์ต้นตอ (stem cell) เป็นเซลล์ไม่จำเพาะซึ่งสามารถเจริญ (differentiate) ไปเป็นเซลล์ที่ทำหน้าที่เฉพาะและสามารถแบ่งตัวแบบไมโทซิสเพื่อสร้างเซลล์ต้นกำเนิดเพิ่มได้ เซลล์ต้นกำเนิดพบในสิ่งมีชีวิตหลายเซลล์ ในสัตว์เลี้ยงลูกด้วยนม แบ่งเซลล์ต้นกำเนิดออกกว้าง ๆ ได้เป็นสองชนิด คือ เซลล์ต้นกำเนิดจากตัวอ่อน (embryonic stem cell) ซึ่งแยกจากมวลเซลล์ชั้นในของตัวอ่อนระยะบลาสโตซิสท์ (blastocyst) และเซลล์ต้นกำเนิดเต็มวัย (adult stem cell) ซึ่งพบในเนื้อเยื่อหลายชนิด ในสิ่งมีชีวิตเต็มวัย เซลล์ต้นกำเนิดและโปรเจนิเตอร์เซลล์ (progenitor cell) ทำหน้าที่เป็นระบบซ่อมแซมของร่างกาย โดยทดแทนเนื้อเยื่อเต็มวัย ในตัวอ่อนที่กำลังเจริญ เซลล์ต้นกำเนิดสามารถเจริญไปเป็นเซลล์ที่ทำหน้าที่เฉพาะได้ทุกชนิด ทั้งเอ็กโทเดิร์ม เอ็นโดเดิร์มและเมโซเดิร์ม ทว่า ยังคงการหมุนเวียนปกติของอวัยวะที่สร้างใหม่ได้ (normal turnover of regenerative organ) เช่น เลือด ผิวหนังและเนื้อเยื่อลำไส้ได้อีกด้วย แหล่งที่เข้าถึงได้ของเซลล์ต้นกำเนิดเต็มวัยตัวเอง (autologous) ในมนุษย์มีสามแหล่ง คือ.

ใหม่!!: นอร์ทอีสต์อิงแลนด์และเซลล์ต้นกำเนิด · ดูเพิ่มเติม »

เปลี่ยนเส้นทางที่นี่:

North East Englandภาคตะวันออกเฉียงเหนือของอังกฤษ

ขาออกขาเข้า
Hey! เราอยู่ใน Facebook ตอนนี้! »