โลโก้
ยูเนี่ยนพีเดีย
การสื่อสาร
ดาวน์โหลดได้จาก Google Play
ใหม่! ดาวน์โหลด ยูเนี่ยนพีเดีย บน Android ™ของคุณ!
ดาวน์โหลด
เร็วกว่าเบราว์เซอร์!
 

ภัยพิบัติกระสวยอวกาศโคลัมเบีย

ดัชนี ภัยพิบัติกระสวยอวกาศโคลัมเบีย

right โศกนาฏกรรมกระสวยอวกาศโคลัมเบีย เกิดขึ้นเมื่อวันเสาร์ที่ 1 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2546 เมื่อกระสวยอวกาศโคลัมเบียของ องค์การนาซา แตกออกเป็นชิ้นเล็กชิ้นน้อยตกลงมาสู่โลกเหนือเขตรัฐเทกซัสพร้อมกับการสูญเสียลูกเรือทั้งหมดเจ็ดคน หลังจากเสร็จสิ้นภารกิจในเที่ยวบินที่ 28 STS-107 และกำลังเดินทางกลับสู่พื้นโลก การสูญเสียของกระสวยอวกาศโคลัมเบียเกิดจากความเสียหายที่เกิดขึ้นระหว่างการส่ง ชิ้นส่วนแผ่นโฟมกันความร้อนชิ้นหนึ่งเกิดปริแตกออก และหลุดออกจากบริเวณถังเชื้อเพลิงด้านนอก พุ่งมากระทบปลายปีกด้านซ้ายของกระสวยอวกาศ ทำให้ระบบป้องกันความร้อนของกระสวย (Shuttle's thermal protection system (TPS)) ได้รับความเสียหาย วิศวกรจำนวนหนึ่งสังเกตเห็นความผิดปกติตั้งแต่กระสวยอวกาศยังอยู่ในวงโคจร แต่ผู้จัดการภาคพื้นดินของนาซาให้จำกัดขอบเขตการสอบสวนไว้ก่อนเพราะเห็นว่ายังไม่สามารถทำอะไรได้ คณะกรรมการสอบสอนอุบัติเหตุกระสวยอวกาศโคลัมเบีย ระบุถึงปัญหาที่เกิดขึ้นทั้งในทางเทคนิคและด้านการจัดการภายในองค์กร ทำให้โครงการด้านกระสวยอวกาศต้องหยุดชะงักไปกว่าสองปีหลังจากอุบัติเหตุครั้งนี้ นับเป็นเหตุโศกนาฏกรรมครั้งใหญ่หลังจากเหตุการณ์โศกนาฏกรรมกระสวยอวกาศแชลเลนเจอร.

13 ความสัมพันธ์: บรรยากาศพ.ศ. 2546กระสวยอวกาศโคลัมเบียภัยพิบัติกระสวยอวกาศแชลเลนเจอร์รัฐฟลอริดารัฐเท็กซัสศูนย์อวกาศเคนเนดีสหรัฐขีปนาวุธประเทศอิสราเอลนักบินอวกาศนาซา1 กุมภาพันธ์

บรรยากาศ

มุมมองของชั้นบรรยากาศที่ตื่นตัวของดาวพฤหัสบดี รวมทั้งจุดแดงใหญ่ (Great Red Spot) บรรยากาศ หมายถึงชั้นแก๊สชนิดต่าง ๆ ที่ปกคลุมอยู่ทั่วดาวเคราะห์หรือวัตถุท้องฟ้านั้น ๆ ซึ่งจะแตกต่างกันไปในแต่ละดาว บางดาวไม่มีชั้นบรรยากาศ สำหรับบรรยากาศของโลกนั้นเป็นอากาศที่ห้อหุ้มโลก ประกอบไปด้วยไนโตรเจน, ออกซิเจน และแก๊สอื่น ๆ มีขอบเขตนับจากระดับน้ำทะเลขึ้นไปประมาณ 1000 กิโลเมตรโดยเฉลี่ย ดาวเคราะห์ชั้นในมีส่วนประกอบเป็นแก๊สคาร์บอนไดออกไซด์เป็นหลัก ส่วนดาวเคราะห์ชั้นนอกมีไฮโดรเจน, ฮีเลียม และแก๊สอื่นๆ เป็นหลัก.

ใหม่!!: ภัยพิบัติกระสวยอวกาศโคลัมเบียและบรรยากาศ · ดูเพิ่มเติม »

พ.ศ. 2546

ทธศักราช 2546 ตรงกับปีคริสต์ศักราช 2003 เป็นปีปกติสุรทินที่วันแรกเป็นวันพุธตามปฏิทินเกรกอเรียน และกำหนดให้เป็น.

ใหม่!!: ภัยพิบัติกระสวยอวกาศโคลัมเบียและพ.ศ. 2546 · ดูเพิ่มเติม »

กระสวยอวกาศโคลัมเบีย

กระสวยอวกาศโคลัมเบีย (Orbiter Vehicle Designation: OV-102) เป็นกระสวยอวกาศลำแรกที่ใช้งานจริงของนาซา ซึ่งภารกิจแรกในเที่ยวบิน STS-1 เมื่อวันที่ 12 เมษายน ถึง 14 เมษายน ในปี พ.ศ. 2524 (ค.ศ.1981) จนมาถึงวันที่ 1 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2546 กระสวยอวกาศโคลัมเบียได้เกิดอุบัติเหตุระเบิดขึ้นเหนือรัฐเทกซัสขณะกลับสู่โลก หลังภารกิจครั้งที่ 28 เสร็จสิ้น ทำให้ลูกเรือในยานทั้ง 7 คนเสียชีวิต.

ใหม่!!: ภัยพิบัติกระสวยอวกาศโคลัมเบียและกระสวยอวกาศโคลัมเบีย · ดูเพิ่มเติม »

ภัยพิบัติกระสวยอวกาศแชลเลนเจอร์

''ชาเลนเจอร์''ระเบิด คร่าชีวิตลูกเรือทั้งหมด 7 คน ไมเคิล เจ. สมิท, ดิก สโคบี, โรนัลด์ แมคแนร์; (แถวหลัง) เอลลิสัน โอนิซึกะ, คริสตา แมคออลิฟ, เกรกอรี จาร์วิส, จูดิธ เรสนิค ภัยพิบัติกระสวยอวกาศแชลเลนเจอร์เกิดเมื่อวันที่ 28 มกราคม..

ใหม่!!: ภัยพิบัติกระสวยอวกาศโคลัมเบียและภัยพิบัติกระสวยอวกาศแชลเลนเจอร์ · ดูเพิ่มเติม »

รัฐฟลอริดา

รัฐฟลอริดา (Florida, เป็นรัฐที่อยู่ทางตะวันออกเฉียงใต้ สหรัฐอเมริกา ทิศตะวันตกติดต่อกับอ่าวเม็กซิโก ทิศเหนือติดต่อกับรัฐอะลาบามา และรัฐจอร์เจีย ทิศตะวันออกติดต่อกับมหาสมุทรแอตแลนติก ทิศใต้ติดต่อกับช่องแคบฟลอริดา รัฐฟลอริดาเป็นรัฐที่มีพื้นที่ใหญ่เป็นอันดับที่ 22 มีประชากรมากเป็นอันดับ 3 และหนาแน่นมากเป็นอันดับ 8 ในสหรัฐอเมริกา แจ็กสันวิลล์เป็นเมืองที่มีประชากรมากที่สุดในรัฐฟลอริดา และมีพื้นที่มากที่สุดในสหรัฐอเมริกาแผ่นดินใหญ่ มีเขตเมืองไมแอมี (Miami metropolitan area) เป็นเขตเมืองที่ใหญ่เป็นอันดับ 8 ในสหรัฐอเมริกา และมีแทลลาแฮสซีเป็นเมืองหลวงของรัฐ รัฐฟลอริดาเป็นที่รู้จักกันในนาม ซันไชน์สเตต (Sunshine State) คำว่า "ฟลอริดา" เป็นภาษาสเปนซึ่งหมายถึง "ที่ซึ่งอุดมไปด้วยดอกไม้" ชื่อของแหลมฟลอริดาตั้งชื่อโดยควน ปอนเซ เด เลออง (Juan Ponce de León) ซึ่งมาเทียบที่ชายฝั่งเมื่อ 2 เมษายน พ.ศ. 2056 (ค.ศ. 1513) ในช่วงเทศกาล "ปัสกวาโฟลรีดา" (Pascua Florida) หรือช่วงเทศกาลอีสเตอร์ของชาวสเปน วันปัสกวาโฟลรีดาจัดขึ้นในวันที่ 2 เมษายนของทุกปี และยังเป็นวันหยุดราชการด้วย ฟลอริดาเป็นหนึ่งในเจ็ดรัฐที่ไม่เก็บภาษีเงินได้บุคคลธรรม.

ใหม่!!: ภัยพิบัติกระสวยอวกาศโคลัมเบียและรัฐฟลอริดา · ดูเพิ่มเติม »

รัฐเท็กซัส

ท็กซัส (Texas) เป็นรัฐที่อยู่ทางใต้และตะวันตกเฉียงใต้ของสหรัฐอเมริกา มีพื้นที่ทั้งหมด 695,622 ตารางกิโลเมตร และมีประชากร 22.8 ล้านคน เท็กซัสเป็นรัฐที่ใหญ่เป็นอันดับสองทั้งพื้นที่และประชากร รวมเข้ากับสหรัฐอเมริกาเป็นลำดับที่ 28 ในปี พ.ศ. 2388 อักษรย่อของที่ทำการไปรษณีย์สหรัฐคือ TX.

ใหม่!!: ภัยพิบัติกระสวยอวกาศโคลัมเบียและรัฐเท็กซัส · ดูเพิ่มเติม »

ศูนย์อวกาศเคนเนดี

ูนย์อวกาศ จอห์น เอฟ.

ใหม่!!: ภัยพิบัติกระสวยอวกาศโคลัมเบียและศูนย์อวกาศเคนเนดี · ดูเพิ่มเติม »

สหรัฐ

หรัฐอเมริกา (United States of America) โดยทั่วไปเรียก สหรัฐ (United States) หรือ อเมริกา (America) เป็นสหพันธ์สาธารณรัฐ ประกอบด้วยรัฐ 50 รัฐ และหนึ่งเขตปกครองกลาง ห้าดินแดนปกครองตนเองสำคัญ และเกาะเล็กต่าง ๆ โดย 48 รัฐและเขตปกครองกลางตั้งอยู่ ณ ทวีปอเมริกาเหนือระหว่างประเทศแคนาดาและเม็กซิโก รัฐอะแลสกาอยู่มุมตะวันตกเฉียงเหนือของทวีปอเมริกาเหนือ มีเขตแดนติดต่อกับประเทศแคนาดาทางทิศตะวันออกและข้ามช่องแคบเบริงจากประเทศรัสเซียทางทิศตะวันตก และรัฐฮาวายเป็นกลุ่มเกาะในมหาสมุทรแปซิฟิกกลาง ดินแดนของสหรัฐกระจายอยู่ตามมหาสมุทรแปซิฟิกและทะเลแคริบเบียน ครอบคลุมเขตเวลาเก้าเขต ภูมิศาสตร์ ภูมิอากาศและสัตว์ป่าของประเทศหลากหลายอย่างยิ่ง สหรัฐมีพื้นที่ขนาด 9.8 ล้านตารางกิโลเมตร มีประชากรราว 326 ล้านคน ทำให้มีพื้นที่ขนาดใหญ่เป็นอันดับที่ 4 ของโลก และมีประชากรมากเป็นอันดับที่ 3 ของโลก เป็นประเทศซึ่งมีความหลากหลายทางเชื้อชาติและวัฒนธรรม และเป็นที่พำนักของประชากรเข้าเมืองใหญ่สุดในโลกAdams, J.Q., and Pearlie Strother-Adams (2001).

ใหม่!!: ภัยพิบัติกระสวยอวกาศโคลัมเบียและสหรัฐ · ดูเพิ่มเติม »

ขีปนาวุธ

ีปนาวุธ ''เอ็กโซเซต์'' ของฝรั่งเศส ในการทหารสมัยใหม่ ขีปนาวุธ (Missile มิสไซล์) หรือ ขีปนาวุธนำวิถี หมายถึงอาวุธขับเคลื่อนนำวิถี (ตรงข้ามกับระบบอาวุธขับเคลื่อนแบบไม่นำวิถี ซึ่งเรียกว่า จรวด) ขีปนาวุธมีส่วนประกอบหลักอยู่สี่ส่วน คือ ระบบกำหนดเป้าและนำวิถี, ระบบควบคุมทิศทาง, จรวดขับดัน และ หัวรบ ขีปนาวุธสามารถจำแนกออกได้เป็นหลายประเภทตามวัตถุประสงค์การใช้งาน ไม่ว่าจะเป็น ขีปนาวุธพื้นสู่พื้น, ขีปนาวุธอากาศสู่พื้น, ขีปนาวุธพื้นสู่อากาศ หรือ ขีปนาวุธอากาศสู่อากาศ โดยขีปนาวุธที่มีอยู่ในปัจจุบันทั้งหมดถูกออกแบบมาให้ใช้พลังงานขับดันจากการทำปฏิกิริยาเคมีภายในเครื่องยนต์จรวด, เครื่องยนต์ไอพ่น หรือเครื่องยนต์ประเภทอื่นๆ ''ระเบิดบิน วี-1'' เป็นขีปนาวุธแบบแรกของโลก ขีปนาวุธถูกใช้งานครั้งแรกโดยเยอรมันในช่วงสงครามโลกครั้งที่สอง ขีปนาวุธแบบแรกของโลกมีชื่อว่า ระเบิดบิน วี-1 (V-1 flying bomb) เป็นลูกระเบิดที่ติดปีกและเครื่องไอพ่นเข้าไป ซึ่งต่อมาได้พัฒนาเป็น จรวด วี-2 ที่รวมเครื่องยนต์ไอพ่นไว้ในตัว และติดตั้งครีบที่ปลายจรวดแทนปีกที่ตัดออก เป็นลักษณะสากลของขีปนาวุธที่ใช้จวบจนปัจจุบัน ในภาษาไทย คำว่า ขีปนาวุธ เป็นคำสมาสระหว่างคำว่า ขีปน (แปลว่า "ซัด, เหวี่ยง") กับคำว่า อาวุธ ส่วนในภาษาอังกฤษ คำว่า missile มาจากคำละตินที่ว่า mittere มีความหมายว่า "ส่งไป".

ใหม่!!: ภัยพิบัติกระสวยอวกาศโคลัมเบียและขีปนาวุธ · ดูเพิ่มเติม »

ประเทศอิสราเอล

ประเทศอิสราเอล (Israel; יִשְׂרָאֵל; إِسْرَائِيل) มีชื่ออย่างเป็นทางการว่า รัฐอิสราเอล (State of Israel; מְדִינַת יִשְׂרָאֵל; دَوْلَة إِسْرَائِيل) เป็นประเทศในตะวันออกกลางบนชายฝั่งตะวันออกเฉียงใต้ของทะเลเมดิเตอร์เรเนียนและชายฝั่งเหนือของทะเลแดง มีเขตแดนทางบกติดต่อกับประเทศเลบานอนทางทิศเหนือ ประเทศซีเรียทางทิศตะวันออกเฉียงเหนือ ประเทศจอร์แดนทางทิศตะวันออก ดินแดนเวสต์แบงก์และฉนวนกาซาของปาเลสไตน์ทางทิศตะวันออกและตะวันตกตามลำดับ และประเทศอียิปต์ทางทิศตะวันตกเฉียงใต้ ประเทศอิสราเอลมีภูมิลักษณ์หลากหลายแม้มีพื้นที่ค่อนข้างเล็ก เทลอาวีฟเป็นศูนย์กลางเศรษฐกิจและเทคโนโลยีของประเทศ ส่วนที่ตั้งรัฐบาลและเมืองหลวงตามประกาศคือ เยรูซาเลม แม้อำนาจอธิปไตยของรัฐเหนือเยรูซาเลมยังไม่มีการรับรองในระดับนานาประเทศThe Jerusalem Law states that "Jerusalem, complete and united, is the capital of Israel" and the city serves as the seat of the government, home to the President's residence, government offices, supreme court, and parliament.

ใหม่!!: ภัยพิบัติกระสวยอวกาศโคลัมเบียและประเทศอิสราเอล · ดูเพิ่มเติม »

นักบินอวกาศ

รูซ แมคแคนด์เลส 2 นักบินอวกาศชาวอเมริกัน ขณะทำงานอยู่นอกกระสวยอวกาศชาเลนเจอร์ เมื่อ พ.ศ. 2527 (ภาพจากองค์การนาซา) นักบินอวกาศ คือ บุคคลที่เดินทางไปกับยานอวกาศ ไม่ว่าจะไปในฐานะใด และไม่ว่าจะไปด้วยยานอวกาศแบบไหน ทั้งที่โคจรรอบโลก (ในระยะสูงจากพื้นราว 80-100 กิโลเมตรขึ้นไป) หรือที่เดินทางออกไปยังตำแหน่งอื่นใดนอกวงโคจรของโลก คำว่า นักบินอวกาศ ในภาษาไทย นั้น ตรงกับคำศัพท์ในภาษาอังกฤษ ว่าแอสโตรนอท (astronaut) ซึ่งมีความหมายอย่างที่กล่าวมา เป็นที่น่าสังเกตว่า คำว่า นักบินอวกาศ ไม่ได้มีความหมายเฉพาะผู้ที่เป็นนักบิน (pilot) เท่านั้น แต่มีความหมายอย่างที่อาจเข้าใจได้ง่ายๆ ว่า ลูกเรืออวกาศ นั่นเอง อย่างไรก็ตาม ในภาษาไทยยังมีคำศัพท์อีกคำ ที่มีความหมายเช่นนี้ นั่นคือ มนุษย์อวกาศ คำว่า แอสโตรนอท ในภาษาอังกฤษนั้น มีที่มาจากคำศัพท์ในภาษากรีก สองคำ คือ astro หมายถึงดวงดาว และ nautes ซึ่งหมายถึง กะลาสี ปัจจุบันมีนักบินอวกาศหลายชาติ จึงมีการสร้างคำสำหรับเรียกนักบินอวกาศของแต่ละชาติต่างๆ กัน เช่น นักบินในโครงการอวกาศของรัสเซีย เรียกว่า คอสโมนอท (cosmonaut) อันเป็นการสร้างคำจากคำศัพท์จากภาษากรีกเช่นกัน โดยใช้คำว่า kosmo ที่หมายถึง อวกาศ และคำว่า nautes ที่หมายถึง กะลาสี ส่วนในยุโรป มีการสร้างศัพท์ขึ้นใหม่ ว่า สเปชันนอท (spationaut) เป็นคำประสม ระหว่าง space ในภาษาละติน (อวกาศ) และ nautes ในภาษากรีก (กะลาสี) โดยมีความหมายว่านักบินอวกาศ หรือมนุษย์อวกาศ นั่นเอง นอกจากนี้ยังมีคำว่า ไทโคนอท (Taikonaut) เป็นคำศัพท์ที่คิดขึ้นใหม่ เมื่อ เดือนพฤษภาคม ปี..

ใหม่!!: ภัยพิบัติกระสวยอวกาศโคลัมเบียและนักบินอวกาศ · ดูเพิ่มเติม »

นาซา

องค์การบริหารการบินและอวกาศแห่งชาติ (National Aeronautics and Space Administration) หรือ นาซา (NASA) ก่อตั้งขึ้นเมื่อวันที่ 29 กรกฎาคม พ.ศ. 2501 (ค.ศ. 1958) ตามรัฐบัญญัติการบินและอวกาศแห่งชาติ เป็นหน่วยงานส่วนราชการ รับผิดชอบในโครงการอวกาศและงานวิจัยห้วงอากาศอวกาศ (aerospace) ระยะยาวของสหรัฐอเมริกา คอยจัดการหรือควบคุมระบบงานวิจัยทั้งกับฝ่ายพลเรือนและฝ่ายทหาร ในเดือนกุมภาพันธ์ พ.ศ. 2549 องค์การนาซาได้ประกาศภารกิจหลักคือการบุกเบิกอนาคตแห่งการสำรวจอวกาศ การค้นพบทางวิทยาศาสตร์ และงานวิจัยทางการบินและอวกาศ คำขวัญขององค์การนาซาคือ "เพื่อประโยชน์ของคนทุกคน" (For the benefit of all).

ใหม่!!: ภัยพิบัติกระสวยอวกาศโคลัมเบียและนาซา · ดูเพิ่มเติม »

1 กุมภาพันธ์

วันที่ 1 กุมภาพันธ์ เป็นวันที่ 32 ของปี ตามปฏิทินสุริยคติแบบเกรกอเรียน เมื่อถึงวันนี้จะยังเหลือวันอีก 333 วันในปีนั้น (334 วันในปีอธิกสุรทิน).

ใหม่!!: ภัยพิบัติกระสวยอวกาศโคลัมเบียและ1 กุมภาพันธ์ · ดูเพิ่มเติม »

เปลี่ยนเส้นทางที่นี่:

กระสวยอวกาศโคลัมเบียระเบิดโศกนาฏกรรมกระสวยอวกาศโคลัมเบียโศกนาฎกรรมกระสวยอวกาศโคลัมเบีย

ขาออกขาเข้า
Hey! เราอยู่ใน Facebook ตอนนี้! »