โลโก้
ยูเนี่ยนพีเดีย
การสื่อสาร
ดาวน์โหลดได้จาก Google Play
ใหม่! ดาวน์โหลด ยูเนี่ยนพีเดีย บน Android ™ของคุณ!
ติดตั้ง
เร็วกว่าเบราว์เซอร์!
 

ฟุจิวะระ โนะ คะเนะอิเอะ

ดัชนี ฟุจิวะระ โนะ คะเนะอิเอะ

ฟุจิวะระ โนะ คะเนะอิเอะ (Fujiwara no Kaneie; 1472–26 กรกฎาคม 1533) ขุนนางผู้ใหญ่แห่ง ยุคเฮอัง และเป็นบิดาของ ฟุจิวะระ โนะ มิชิตะกะ และ ฟุจิวะระ โนะ มิชินะง.

9 ความสัมพันธ์: ฟุจิวะระ โนะ มิชิตะกะฟุจิวะระ โนะ มิชินะงะยุคเฮอังจักรพรรดิอิชิโจจักรพรรดิคะซังจักรพรรดิเอ็งยูตระกูลฟูจิวาระไดโจไดจิงเซ็สโซและคัมปะกุ

ฟุจิวะระ โนะ มิชิตะกะ

ฟุจิวะระ โนะ มิชิตะกะ (พ.ศ. 1496 – 12 พฤษภาคม พ.ศ. 1538) ขุนนางผู้ใหญ่ใน ยุคเฮอัง ซึ่งดำรงตำแหน่ง เซ็สโซและคัมปะกุ ในรัชสมัย จักรพรรดิอิชิโจ นอกจากนี้เขายังเป็นพระสัสสุระ (พ่อตา) ของจักรพรรดิอิชิโจอีกด้วยเนื่องจากมิชิตะกะได้ถวายตัว ฟุจิวะระ โนะ เทชิ ผู้เป็นธิดาคนโตให้เข้ามาเป็นจักรพรรดินีทำให้ความสัมพันธ์ของราชวงศ์และ ตระกูลฟุจิวะระ แน่นแฟ้นขึ้น แต่การกระทำครั้งนี้สร้างความไม่พอใจให้กับ ฟุจิวะระ โนะ มิชินะงะ ผู้เป็นน้องชายที่ต้องการส่งบุตรสาวให้มาเป็นจักรพรรดินีและชายาขององค์จักรพรรดิเช่นกัน หมวดหมู่:ขุนนางญี่ปุ่น หมวดหมู่:บุคคลในยุคเฮอัง หมวดหมู่:ตระกูลฟุจิวะระ.

ใหม่!!: ฟุจิวะระ โนะ คะเนะอิเอะและฟุจิวะระ โนะ มิชิตะกะ · ดูเพิ่มเติม »

ฟุจิวะระ โนะ มิชินะงะ

ฟุจิวะระ โนะ มิชินะงะ (ค.ศ. 966 - ค.ศ. 1028) หรือ มิชินะงะแห่งฟุชิวะระ ดำรงตำแหน่งเป็นผู้สำเร็จราชการแทนสมเด็จพระจักรพรรดิ (เซ็สโซ และ คัมปะกุ) ในยุคเฮอัง ถือว่าเป็นผู้สำเร็จราชการที่มีอำนาจมากที่สุดคนหนึ่งในประวัติศาสตร์ของญี่ปุ่น เป็นบิดาของจักรพรรดินีถึงสามพระองค์และเป็นพระอัยกา (ตา) ของจักรพรรดิสามพระองค์เช่นกัน.

ใหม่!!: ฟุจิวะระ โนะ คะเนะอิเอะและฟุจิวะระ โนะ มิชินะงะ · ดูเพิ่มเติม »

ยุคเฮอัง

อัง อยู่ในช่วง ค.ศ. 794 - ค.ศ. 1185 ในปลายศตวรรษที่ 8 มีการย้ายเมืองหลวงไปที่ เฮอังเกียว (平安京 Heian-kyou) หรือเมืองเคียวโตะในปัจจุบัน นับเป็นยุคทองของประเทศญี่ปุ่น ที่ทั้งศิลปะและวัฒนธรรมรุ่งเรืองถึงขีดสุด มีการพัฒนาปรับปรุงวัฒนธรรมต่างๆ ที่หยิบยืมมาจากประเทศจีนในสมัยราชวงศ์ถัง และลัทธิขงจื้อ จนกลายเป็นวัฒนธรรมแบบเฉพาะตัวของญี่ปุ่น เฮอัง (平安,Heian) แปลว่า ความสงบสันต.

ใหม่!!: ฟุจิวะระ โนะ คะเนะอิเอะและยุคเฮอัง · ดูเพิ่มเติม »

จักรพรรดิอิชิโจ

ักรพรรดิอิชิโจ (Emperor Ichijō) เป็นจักรพรรดิองค์ที่ 66 แห่งราชวงศ์ญี่ปุ่น ตามที่ได้จัดเรียงไว้ในรายพระนามจักรพรรดิญี่ปุ่น จักรพรรดิอิชิโจหรือเจ้าชายคะเนะฮิโตะเป็นพระราชโอรสใน จักรพรรดิเอ็งยู จักรพรรดิองค์ที่ 64 ขึ้นเป็นรัชทายาทและผู้สืบราชบัลลังก์ในรัชสมัย จักรพรรดิคะซัง จักรพรรดิองค์ที่ 65 พระราชโอรสใน จักรพรรดิเรเซ จักรพรรดิองค์ที่ 63 ผู้เป็นพระภาดา (ลูกพี่ลูกน้อง) เมื่อ ค.ศ. 984 หลังจากนั้นอีก 2 ปีคือในวันที่ 23 เดือน 6 ปี คันนา ที่ 1 ตรงกับวันที่ 31 กรกฎาคม ค.ศ. 986 จักรพรรดิคะซังได้สละราชบัลลังก์ให้กับเจ้าชายคะเนะฮิโตะพระชนมายุเพียง 6 พรรษาขึ้นสืบราชบัลลังก์ต่อมาเป็น จักรพรรดิอิชิโจ วันรุ่งขึ้นคือวันที่ 24 เดือน 6 ปี คันนา ที่ 1 ตรงกับวันที่ 1 สิงหาคม ได้มีการประกอบพระราชพิธีราชาภิเษกจักรพรรดิอิชิโจที่ พระราชวังหลวงเฮอัง ในรัชสมัยของจักรพรรดิอิชิโจได้มีการแบ่งแยกตำแหน่งจักรพรรดินีออกเป็น 2 ตำแหน่งอย่างชัดเจนคือ โคโง (Kōgō) หรือจักรพรรดินีองค์ที่ 1 และ ชูงู (Chūgū) หรือจักรพรรดินีองค์ที่ 2 สืบเนื่องจากจักรพรรดิอิชิโจมีจักรพรรดินีอยู่ก่อนแล้วคือ ฟุจิวะระ โนะ เทะชิ บุตรสาวของ ฟุจิวะระ โนะ มิชิตะกะ แต่ ฟุจิวะระ โนะ มิชินะงะ ผู้เป็นน้องชายของมิชิตะกะต้องการให้บุตรสาวของตนเองเป็นจักรพรรดินีเช่นกันจึงได้ถวายตัวบุตรสาวคนโตคือ ฟุจิวะระ โนะ โชชิ เข้ามาเป็นจักรพรรดินีและจักรพรรดินีโชชิได้มีพระประสูติกาลพระโอรสให้กับจักรพรรดิอิชิโจถึง 2 พระองค์คือ เจ้าชายอะสึฮิระ ซึ่งต่อมาคือ จักรพรรดิโกะ-อิชิโจ จักรพรรดิองค์ที่ 68 ที่ประสูติเมื่อ ค.ศ. 1008 และ เจ้าชายอะสึนะงะ ซึ่งต่อมาคือ จักรพรรดิโกะ-ซุซะกุ จักรพรรดิองค์ที่ 69 ที่ประสูติเมื่อ ค.ศ. 1009 จักรพรรดิอิชิโจสละราชบัลลังก์เมื่อวันที่ 13 เดือน 6 ปี คันโค ที่ 8 ตรงกับวันที่ 16 กรกฎาคม ค.ศ. 1011 หรือ 1 วันหลังจากเฉลิมพระชนมายุครบ 31 พรรษาให้กับ เจ้าชายอิยะซะดะ ผู้เป็นพระภาดาและเป็นที่รัชทายาทขึ้นสืบราชบัลลังก์ต่อมาเป็น จักรพรรดิซังโจ หลังจากครองสิริราชสมบัติได้ 24 ปีแต่หลังจากนั้นอีก 9 วันอดีตจักรพรรดิอิชิโจก็เสด็จสวรรคตเมื่อวันที่ 22 เดือน 6 ปี คันโค ที่ 8 ตรงกับวันที่ 25 กรกฎาคม ขณะพระชนมายุเพียง 31 พรรษ.

ใหม่!!: ฟุจิวะระ โนะ คะเนะอิเอะและจักรพรรดิอิชิโจ · ดูเพิ่มเติม »

จักรพรรดิคะซัง

ระสาทิสลักษณ์ของจักรพรรดิคะซังในชุดนักบวช จักรพรรดิคะซัง (Emperor Kazan) จักรพรรดิองค์ที่ 65 แห่งราชวงศ์ญี่ปุ่นตามที่ได้จัดเรียงไว้ใน รายพระนามจักรพรรดิญี่ปุ่น เจ้าชายโมะโระซะดะเสด็จขึ้นสืบราชบัลลังก์ดอกเบญจมาศเป็น จักรพรรดิคะซัง เมื่อวันที่ 27 เดือน 8 ปี เอะอิคัง ที่ 2 ตรงกับวันที่ 6 ตุลาคม ค.ศ. 984 ขณะพระชนมายุเพียง 15 พรรษาภายหลังจากการสละราชบัลลังก์ของ จักรพรรดิเอ็งยู ผู้เป็นพระปิตุลา (อา) โดยได้มีการจัดพระราชพิธีราชาภิเษกขึ้นที่ พระราชวังหลวงเฮอัง เมื่อวันที่ 10 เดือน 10 ปี เอะอิคัง ที่ 2 ตรงกับวันที่ 5 พฤศจิกายน ปีเดียวกัน หลังจากครองสิริราชสมบัติได้เพียง 1 ปีเศษจักรพรรดิคะซังก็ได้สละราชบัลลังก์ที่ วัดกันเนียว เมื่อวันที่ 23 เดือน 6 ปี คันนา ที่ 1 ตรงกับวันที่ 31 กรกฎาคม ค.ศ. 986 ให้กับ เจ้าชายอิยะซะดะ ผู้เป็นพระภาดา (ลูกพี่ลูกน้อง) พระราชโอรสใน จักรพรรดิเอ็งยู ขึ้นเป็น จักรพรรดิอิชิโจ และออกผนวชเป็นพระภิกษุมีฉายาทางธรรมว่า เนียวกะกุ ทำให้อดีตจักรพรรดิคะซังได้เป็น ไดโจโฮโอ (มหาธรรมราชา) อดีตจักรพรรดิคะซังหรือท่านเนียวกะกุสวรรคตเมื่อวันที่ 8 เดือน 2 ปี คันโค ที่ 5 ตรงกับวันที่ 17 มีนาคม ค.ศ. 1008 ขณะพระชนมายุเพียง 39 พรรษ.

ใหม่!!: ฟุจิวะระ โนะ คะเนะอิเอะและจักรพรรดิคะซัง · ดูเพิ่มเติม »

จักรพรรดิเอ็งยู

ักรพรรดิเอ็งยู (Emperor En'yū) จักรพรรดิองค์ที่ 64 แห่ง ราชวงศ์ญี่ปุ่น ตามที่ได้จัดเรียงไว้ใน รายพระนามจักรพรรดิญี่ปุ่น จักรพรรดิเอ็งยูทรงครอง ราชบัลลังก์ดอกเบญจมาศ ระหว่างปี ค.ศ. 969 - ค.ศ. 984 พระนามของพระองค์ต่อมาได้ถูกนำไปใช้เป็นพระนามของ จักรพรรดิโกะ-เอ็งยู จักรพรรดิผู้อ้างสิทธิพระองค์ที่ 5 จาก ราชสำนักเหนือ ใน ยุคราชสำนักเหนือ-ใต้ ในช่วง คริสต์ศตวรรษที่ 14.

ใหม่!!: ฟุจิวะระ โนะ คะเนะอิเอะและจักรพรรดิเอ็งยู · ดูเพิ่มเติม »

ตระกูลฟูจิวาระ

ฟูจิวาระ คามาตาริ ต้นตระกูลฟูจิวาระ ฟูจิวาระ เป็นกลุ่มขุนนางที่เคยมีอำนาจและอิทธิพลอย่างยิ่งใหญ่ต่อราชสำนักญี่ปุ่น ในยุคเฮอัง โดย ฟูจิวาระ โนะ โมโตสึเนะ ได้รับการแต่งตั้งเป็นคัมปากุ ซึ่งเป็นตำแหน่งขุนนางที่ทรงอิทธิพลที่สุด และคนของฟุจิวาระก็เข้ายึดครองอำนาจในราชสำนัก ทำให้กลายเป็นตระกูลทหารที่มีอำนาจสูงสุด ยาวนานกว่า 500 ปี โดยฟูจิวาระ ได้ผูกขาดตำแหน่งคัมปากุ เซ็สโช และไดโจไดจิงตลอด 500 ปี และยังให้บุตรสาวของตระกูลอภิเษกสมรสกับจักรพรรดิ เพื่อให้เชื้อสายของตนเองเป็นจักรพรรดิอีกด้วย อย่างไรก็ตามจักรพรรดิเชื้อสายฟูจิวาระได้หมดไปในภายหลัง พร้อม ๆ กับการล่มสลายของตระกูลฟูจิวาระที่ครองอำนาจกว่า 500 ปี ตระกูลฟูจิวาระล่มสลายลงไปปี..

ใหม่!!: ฟุจิวะระ โนะ คะเนะอิเอะและตระกูลฟูจิวาระ · ดูเพิ่มเติม »

ไดโจไดจิง

ง (太政大臣) หรือ อัครมหาเสนาบดี เป็นตำแหน่งสูงสุดของขุนนางฝ่ายบริหารของญี่ปุ่น เริ่มปรากฏครั้งแรกในปี พ.ศ. 1246 โดยมีเจ้าชายโอะซะกะเบะเป็นผู้ประเดิมตำแหน่ง หลังจากนั้นในยุคเฮอัง คนในตระกูลฟุจิวะระได้เป็นผู้ผูกขาดตำแหน่งไดโจไดจิงเรื่อยมา โครงสร้างการบริหาร จะแบ่งออกไปสามส่วน คือ ส่วนแรก ไดโจไดจิง หรืออัครมหาเสนาบดี เป็นผู้กุมอำนาจส่วนกลาง และประกอบด้วย ซะไดจิง (左大臣) มหาเสนาบดีฝ่ายซ้าย และอุไดจิง (右大臣) มหาเสนาบดีฝ่ายขวา โดยอัครมหาเสนาบดี จะเป็นประธานของสภาอำมาตย์และหัวหน้าของบรรดาข้าราชการ โดยเฉพาะมหาเสนาบดีฝ่ายซ้ายและฝ่ายขวา ตลอดจนสี่ขุนนางใหญ่และสามขุนนางเล็ก แต่ในสมัยเอะโดะ ซึ่งเป็นยุคที่รัฐบาลโชกุนโทะกุงะวะเรืองอำนาจ ตำแหน่งไดโจไดจิงเป็นตำแหน่งที่ไม่มีอำนาจแต่ก็มีการสืบตำแหน่งเรื่อยมา พอถึงรัชสมัยสมเด็จพระจักรพรรดิเมจิ ใน..

ใหม่!!: ฟุจิวะระ โนะ คะเนะอิเอะและไดโจไดจิง · ดูเพิ่มเติม »

เซ็สโซและคัมปะกุ

งราชวงศ์สำหรับผู้สำเร็จราชการ ในประวัติศาสตร์ญี่ปุ่น เซ็สโซ เป็นยศของผู้สำเร็จราชการแทนพระองค์ สำหรับจักรพรรดิที่ยังทรงพระเยาว์เกินกว่าจะปกครองก่อนที่พระองค์จะเจริญพรรษาพอที่จะปกครองประเทศ เซ็สโซจะว่าราชการแทน และ คัมปะกุ เป็นตำแหน่งผู้สำเร็จราชการสำหรับจักรพรรดิที่ทรงเจริญพระชนพรรษาแล้ว โดยอ้างว่าพระจักรพรรดิทรงไม่รู้เรื่องงานบริหารประเทศ จึงต้องให้คัมปะกุ คอยช่วยบริหารจัดการ ตลอดสมัยเฮอัง อำนาจการบริหารประเทศอยู่ในสองตำแหน่งนี้ คือ เซ็สโซ และคัมปะกุตลอด 500 ปี ผูกขาดโดยคนของตระกูลฟุจิวะระ และสายย่อยของตระกูลนี้ตลอด โดยเราจะเรียกตระกูลเหล่านี้ว่า เซ็สกัง หรือตระกูลผู้สำเร็จราชการนั่นเอง ภายหลังจากสมัยเฮอังอำนาจอยู่ในมือของรัฐบาลทหาร โดยโชกุนปกครองประเทศแทน โดยผู้สำเร็จราชการของโชกุนจะเรียกว่า ชิกเก็ง.

ใหม่!!: ฟุจิวะระ โนะ คะเนะอิเอะและเซ็สโซและคัมปะกุ · ดูเพิ่มเติม »

ขาออกขาเข้า
Hey! เราอยู่ใน Facebook ตอนนี้! »