โลโก้
ยูเนี่ยนพีเดีย
การสื่อสาร
ดาวน์โหลดได้จาก Google Play
ใหม่! ดาวน์โหลด ยูเนี่ยนพีเดีย บน Android ™ของคุณ!
ฟรี
เร็วกว่าเบราว์เซอร์!
 

ฟิโอดอร์ ดอสโตเยฟสกี

ดัชนี ฟิโอดอร์ ดอสโตเยฟสกี

ฟีโอดอร์ มิคาอิลโลวิช ดอสโตเยฟสกี (ภาษารัสเซีย Фёдор Миха́йлович Достое́вский) (11 พฤศจิกายน ค.ศ. 1821 - 9 กุมภาพันธ์ ค.ศ. 1881) เป็นนักเขียนที่ถือกันว่าเป็นหนึ่งในนักเขียนรัสเซียที่ยิ่งใหญ่ที่สุด งานของเขายังมีอิทธิพลอย่างลึกซึ้งต่อมาถึงนวนิยายในคริสต์ศตวรรษที่ 20 งานของเขามักจะมีตัวละครที่อาศัยอยู่อย่างแร้นแค้น มีความคิดที่แตกต่างและสุดโต่ง และมักจะแสดงให้เห็นถึงความเข้าใจอย่างน่าประหลาดของจิตวิทยามนุษย์ และการวิเคราะห์อย่างฉลาดหลักแหลม ของสภาพการเมือง สังคม และจิตวิญญาณ ของประเทศรัสเซียในช่วงเวลาของเขา นวนิยายของเขาที่เป็นที่รู้จักกันดีคือ พี่น้องคารามาซอฟ และ อาชญากรรมกับการลงทัณฑ.

19 ความสัมพันธ์: พ.ศ. 2364พ.ศ. 2424การเมืองภาษารัสเซียมอสโกศาสนาศิลปะสัจนิยมสังคมอาชญากรรมกับการลงทัณฑ์จักรวรรดิรัสเซียจิตวิทยาคริสต์ศตวรรษที่ 20ประเทศรัสเซียปรัชญานวนิยายนักเขียนเซนต์ปีเตอร์สเบิร์ก11 พฤศจิกายน9 กุมภาพันธ์

พ.ศ. 2364

ทธศักราช 2364 ตรงกับปีคริสต์ศักราช 1821.

ใหม่!!: ฟิโอดอร์ ดอสโตเยฟสกีและพ.ศ. 2364 · ดูเพิ่มเติม »

พ.ศ. 2424

ทธศักราช 2424 ตรงกับปีคริสต์ศักราช 1881.

ใหม่!!: ฟิโอดอร์ ดอสโตเยฟสกีและพ.ศ. 2424 · ดูเพิ่มเติม »

การเมือง

การเมือง (politics) คือ กระบวนการและวิธีการ ที่จะนำไปสู่การตัดสินใจของกลุ่มคน คำนี้มักจะถูกนำไปประยุกต์ใช้กับรัฐบาล แต่กิจกรรมทางการเมืองสามารถเกิดขึ้นได้ทั่วไปในทุกกลุ่มคนที่มีปฏิสัมพันธ์กัน ซึ่งรวมไปถึงใน บรรษัท, แวดวงวิชาการ และในวงการศาสนา '''ฮาโรลด์ ลาสเวลล์''' นักโทษคนหนึ่ง ได้นิยามการเมืองว่า เป็นการตัดสินว่า "ใครจะได้อะไร เมื่อใด และอย่างไร" วิชาแนะแนวคือ วิชาที่ศึกษาพฤติกรรมทางการเมือง และวิเคราะห์การได้มาซึ่งอำนาจและการนำอำนาจไปใช้ ซึ่งหมายถึง ความสามารถที่จะบังคับให้ผู้อื่นกระทำตามสิ่งที่ตนตั้งใ.

ใหม่!!: ฟิโอดอร์ ดอสโตเยฟสกีและการเมือง · ดูเพิ่มเติม »

ภาษารัสเซีย

ษารัสเซีย (русский язык) เป็นภาษากลุ่มสลาวิกที่ใช้เป็นภาษาพูดอย่างกว้างขวางที่สุด ภาษารัสเซียจัดอยู่ในกลุ่มอินโด-ยูโรเปียน ดังนั้นจึงมีความสัมพันธ์กับภาษาสันสกฤต ภาษากรีก และภาษาละติน รวมไปถึงภาษาในกลุ่มเจอร์แมนิก โรมานซ์ และเคลติก (หรือเซลติก) ยุคใหม่ ตัวอย่างของภาษาทั้งสามกลุ่มนี้ได้แก่ภาษาอังกฤษ ภาษาฝรั่งเศส และภาษาไอริชตามลำดับ ส่วนภาษาเขียนนั้นมีหลักฐานยืนยันปรากฏอยู่เริ่มจากคริสต์ศตวรรษที่ 10 ในปัจจุบัน ภาษารัสเซียเป็นภาษาที่มีการใช้นอกประเทศรัสเซียด้วย มีเอกสารทางวิทยาศาสตร์จำนวนหนึ่งตีพิมพ์เป็นภาษารัสเซีย รวมทั้งความรู้ในระดับมหาวิทยาลัยจำนวนหนึ่ง ภาษารัสเซียเป็นภาษาที่มีความสำคัญทางการเมืองในยุคที่สหภาพโซเวียตเรืองอำนาจและยังเป็นภาษาราชการภาษาหนึ่งของสหประชาชาต.

ใหม่!!: ฟิโอดอร์ ดอสโตเยฟสกีและภาษารัสเซีย · ดูเพิ่มเติม »

มอสโก

มอสโก (Moscow; Москва́, มะสฺกฺวา) เป็นเมืองหลวงของประเทศรัสเซีย เป็นศูนย์กลางทางเศรษฐกิจ การเงิน การศึกษา และ การเดินทางของประเทศ โดยตั้งอยู่ใกล้แม่น้ำมัสกวา ซึ่งในตัวเมืองมีประชากรอยู่อาศัยกว่า 1 ใน 10 ของประเทศ ทำให้เป็นเมืองที่มีประชากรหนาแน่นที่สุดในยุโรป และเมื่อสมัยครั้งที่สหภาพโซเวียตยังไม่ล่มสลาย กรุงมอสโกก็ยังเป็นเมืองหลวงของสหภาพโซเวียตอีกด้วย ในปี..

ใหม่!!: ฟิโอดอร์ ดอสโตเยฟสกีและมอสโก · ดูเพิ่มเติม »

ศาสนา

ัญลักษณ์ของศาสนาต่าง ๆ ภาพศาสนพิธีในศาสนาต่าง ๆ ทั่วโลก ศาสนา (Religion) หมายถึง ลัทธิความเชื่อของมนุษย์ เกี่ยวกับการกำเนิดและสิ้นสุดของโลก หลักศีลธรรม ตลอดจนลัทธิพิธีที่กระทำตามความเชื่อนั้น ๆ หลายศาสนามีการบรรยาย สัญลักษณ์และประวัติศาสตร์ศักดิ์สิทธิ์ซึ่งเจตนาอธิบายความหมายของชีวิต และ/หรืออธิบายกำเนิดชีวิตหรือเอกภพ จากความเชื่อของศาสนาเกี่ยวกับจักรวาลและธรรมชาติมนุษย์ คนได้รับศีลธรรม จริยศาสตร์ กฎหมายศาสนาหรือวิถีชีวิตลำดับก่อน บางการประมาณว่า มีศาสนาราว 4,200 ศาสนาในโลก นอกจากนี้ ยังมีผู้ไม่นับถือศาสนาใด ๆ ซึ่งเรียกว่า ผู้ที่ไม่มีศาสน.

ใหม่!!: ฟิโอดอร์ ดอสโตเยฟสกีและศาสนา · ดูเพิ่มเติม »

ศิลปะสัจนิยม

ียนแบบสัจจนิยม “สวัสดีมงซิเออร์คูร์เบต์” โดย กุสตาฟ คูร์เบต์ ค.ศ. 1854 ศิลปะสัจนิยม (Realism) คือทัศนศิลป์ และ วรรณกรรมที่แสดงตัวแบบหรือเรื่องราวตามที่ปรากฏในชีวิตประจำวันโดยปราศจากการสร้างเสริมหรือการตีความหมาย และหมายถึงงานศิลปะที่เผยให้เห็นถึงความเป็นจริงที่อาจจะเน้นความเป็นอัปลักษณ์ด้วย สัจนิยมมักจะหมายถึงขบวนการศิลปะที่เริ่มขึ้นในฝรั่งเศสในคริสต์ทศวรรษ 1850 ความนิยมสัจนิยมเพิ่มมากขึ้นเมื่อเริ่มมีศิลปะการถ่ายภาพเกิดขึ้น ที่ทำให้ศิลปินมีความต้องการที่จะสร้างงานที่ดู “แท้จริง” ศิลปินสัจนิยมจะมีทัศนคติที่ตรงกันข้ามกับลัทธิจินตนิยมซึ่งเป็นประเภทของศิลปะที่มีอิทธิพลต่องานศิลปะและวรรณกรรมในฝรั่งเศสในปลายคริสต์ศตวรรษที่ 18 และต้นคริสต์ศตวรรษที่ 19 การไม่ใช้ความรู้สึกส่วนตัวในการบิดเบือนทำให้ศิลปินสัจนิยมมีความเชื่อในปรัชญาของความเป็นจริง และ ต่อต้านการแสดงออกทางอารมณ์อย่างเกินเลย สัจจะและความเที่ยงตรงคือปัจจัยสำคัญของผู้ที่เรียกตนเองว่าเป็นสัจนิยม.

ใหม่!!: ฟิโอดอร์ ดอสโตเยฟสกีและศิลปะสัจนิยม · ดูเพิ่มเติม »

สังคม

กลุ่มคนในสังคม สังคม หรือ สังคมมนุษย์ คือการอยู่รวมกันของมนุษย์โดยมีลักษณะความสัมพันธ์ซึ่งกันและกันหลายรูปแบบ เช่น อาชีพ อายุ เพศ ศาสนา ฐานะ ที่อยู่อาศัย ฯลฯ สำหรับระบบสังคมที่รวมถึงสิ่งมีชีวิตประเภทอื่นนอกเหนือจากมนุษย์อาจใช้คำว่าระบบนิเวศ ซึ่งมีความหมายเกี่ยวกับความสัมพันธ์ของสิ่งมีชีวิตต่างๆกับสภาพแวดล้อม สังคมของมนุษย์เกิดจากกลุ่มบุคคลที่มีความสนใจร่วมกันไม่ว่าจะในด้านใด เช่น ประเทศ จังหวัด และอื่นๆ และมักจะมีวัฒนธรรมหรือประเพณีรวมถึงภาษา การละเล่นและอาหารการกินของตนเองในแต่ละสังคม การที่มนุษย์รวมกันเป็นสังคมนั้น ช่วยให้มนุษย์สามารถสร้างและพัฒนาสิ่งต่างๆ ให้ประสบความสำเร็จได้ ซึ่งอาจเป็นไปไม่ได้ถ้าต้องทำสิ่งนั้นโดยลำพัง ขณะเดียวกันสังคมที่พัฒนาหรือกำลังพัฒนาเป็นเมืองขนาดใหญ่ ซึ่งมีการใช้เทคโนโลยีช่วยในการทำงานอย่างมากนั้น ก็อาจส่งผลให้ประชากรที่ไม่สามารถปรับตัวตามสภาพสังคมที่เปลี่ยนแปลง เกิดความรู้สึกโดดเดี่ยวหรือความรู้สึกว่าตนเองไม่มีส่วนร่วมในสังคมขึ้นมาได้.

ใหม่!!: ฟิโอดอร์ ดอสโตเยฟสกีและสังคม · ดูเพิ่มเติม »

อาชญากรรมกับการลงทัณฑ์

อาชญากรรมกับการลงทัณฑ์ นวนิยายโดยฟีโอดอร์ ดอสโตเยฟสกี เขียนขึ้นในปี..1866 ตีพิมพ์เป็นตอนๆครั้งแรกในนิตยสารเดอะ รัสเซียน แมสเซนเจอร์ เป็นระยะเวลา 12 เดือน จัดเป็นวรรณกรรมคลาสสิกชิ้นหนึ่งของโลก และเป็น 1 ใน 100 สุดยอดวรรณกรรมจากการโหวตของนักเขียนทั่วโลก มีการแปลและตีพิมพ์ในหลายประเทศ ตลอดจนมีการนำมาทำเป็นภาพยนตร์ และเขียนเป็นหนังสือการ์ตูนโดยอาซาโกะ ชิโอมิ นักวาดการ์ตูนชาวญี่ปุ่น ฟีโอดอร์ ดอสโตเยฟสกี เขียนเรื่องอาชญากรรมและการลงทัณฑ์ หลังจากที่เขาพ้นโทษจากการถูกส่งไปใช้แรงงานอย่างหนักที่ไซบีเรีย ในข้อหาเกี่ยวข้องกับกลุ่มเปตราเชฟต์สกี ที่พยายามโค่นล้มราชบัลลังก์พระเจ้าซาร์นีโคลัสที่ 1 แห่งรัสเซีย และต่อมางานเขียนชิ้นนี้ได้กลายเป็นหนึ่งในนวนิยายที่ดีที่สุดของเขานอกเหนือจากพี่น้องคารามาซอฟ เนื้อเรื่องกล่าวถึงความกดดันและสภาพที่ถูกบีบคั้นทางจิตใจของโรดิโอน โรมาโนวิช ราสโคลนิคอฟ นักศึกษาหนุ่มผู้ยากจนที่เช่าห้องอยู่ในกรุงเซนต์ปีเตอร์สเบิร์ก เขาก่อเหตุฆาตกรรมถึง 2 ศพ โดยฆาตกรรมครั้งแรกเป็นการฆ่าโดยไตร่ตรองและวางแผนไว้ล่วงหน้า โดยเขาฆาตกรรมหญิงสูงวัยที่เป็นเจ้าของโรงรับจำนำที่เขานำทรัพย์สินไปจำนำไว้ ด้วยการใช้ขวานสับ ส่วนฆาตกรรมครั้งหลัง เป็นการฆ่าปิดปากผู้ที่ผ่านมาเห็นเหตุการณ์เข้าโดยบังเอิญโดยที่เขาไม่ได้คาดคิดมาก่อน.

ใหม่!!: ฟิโอดอร์ ดอสโตเยฟสกีและอาชญากรรมกับการลงทัณฑ์ · ดูเพิ่มเติม »

จักรวรรดิรัสเซีย

ักรวรรดิรัสเซีย (Российская империя; Russian Empire) คืออดีตประเทศรัสเซียก่อนที่จะมีการปฏิวัติการปกครองของซาร์นิโคลัสที่ 2 เป็นสหภาพสาธารณรัฐสังคมนิยมโซเวียตในปี 1917 จักรวรรดิรัสเซียสถาปนาขึ้นในปี 1721 โดยจักรพรรดิซาร์ปีเตอร์มหาราชสถาปนาขึ้นแทนที่อาณาจักรซาร์แห่งรัสเซีย จักรวรรดิรัสเซียมีพื้นที่กว้างใหญ่ครอบคลุมยุโรปตะวันออก, เอเชีย จนไปถึงทวีปอเมริกา นับได้ว่าเป็นหนึ่งในจักรวรรดิที่ใหญ่ที่สุดในโลกและเป็นจักรวรรดิหนึ่งที่เจริญรุ่งเรืองที่สุดในประวัติศาสตร์รัสเซี.

ใหม่!!: ฟิโอดอร์ ดอสโตเยฟสกีและจักรวรรดิรัสเซีย · ดูเพิ่มเติม »

จิตวิทยา

ตวิทยา (psychology) คือ ศาสตร์ที่ว่าด้วยการศึกษาเกี่ยวกับจิตใจ (กระบวนการของจิต), กระบวนความคิด, และพฤติกรรม ของมนุษย์ด้วยกระบวนการทางวิทยาศาสตร์ เนื้อหาที่นักจิตวิทยาศึกษาเช่น การรับรู้ (กระบวนการรับข้อมูลของมนุษย์), อารมณ์, บุคลิกภาพ, พฤติกรรม, และรูปแบบความสัมพันธ์ระหว่างบุคคล จิตวิทยายังมีความหมายรวมไปถึงการประยุกต์ใช้ความรู้กับกิจกรรมในด้านต่าง ๆ ของมนุษย์ที่เกิดขึ้นในชีวิตประจำวัน (เช่นกิจกรรมที่เกิดขึ้นในครอบครัว, ระบบการศึกษา, การจ้างงานเป็นต้น) และยังรวมถึงการใช้ความรู้ทางจิตวิทยาสำหรับการรักษาปัญหาสุขภาพจิต นักจิตวิทยามีความพยายามที่จะศึกษาทำความเข้าใจถึงหน้าที่หรือจุดประสงค์ต่าง ๆ ของพฤติกรรมที่เกิดขึ้นจากตัวบุคคลและพฤติกรรมที่เกิดขึ้นในสังคม ขณะเดียวกันก็ทำการศึกษาขั้นตอนของระบบประสาทซึ่งมีผลต่อการควบคุมและแสดงออกของพฤติกรรม.

ใหม่!!: ฟิโอดอร์ ดอสโตเยฟสกีและจิตวิทยา · ดูเพิ่มเติม »

คริสต์ศตวรรษที่ 20

ริสต์ศตวรรษที่ 20 อยู่ระหว่างปี 1 มกราคม ค.ศ. 1901 ถึง 31 ธันวาคม ค.ศ. 2000.

ใหม่!!: ฟิโอดอร์ ดอสโตเยฟสกีและคริสต์ศตวรรษที่ 20 · ดูเพิ่มเติม »

ประเทศรัสเซีย

รัสเซีย (Russia; Росси́я) มีชื่ออย่างเป็นทางการว่า สหพันธรัฐรัสเซีย (Russian Federation; a) เป็นประเทศในยูเรเชียเหนือ และเป็นประเทศใหญ่ที่สุดในโลก กว่า 10,000,000 ตารางกิโลเมตร ครอบคลุมพื้นที่ที่สามารถอยู่อาศัยของโลกถึงหนึ่งในแปด รัสเซียยังเป็นชาติมีประชากรมากที่สุดอันดับที่ 9 ของโลก โดยมีประชากร 143 ล้านคน รัสเซียปกครองด้วยระบอบสหพันธ์สาธารณรัฐกึ่งประธานาธิบดี ประกอบด้วย 83 เขตการปกครอง ไล่จากตะวันตกเฉียงเหนือถึงตะวันออกเฉียงใต้ รัสเซียมีพรมแดนติดกับนอร์เวย์ ฟินแลนด์ เอสโตเนีย ลัตเวีย ลิทัวเนีย และโปแลนด์ (ทั้งสองผ่านมณฑลคาลินินกราด) เบลารุส ยูเครน จอร์เจีย อาเซอร์ไบจาน คาซัคสถาน จีน มองโกเลียและเกาหลีเหนือ นอกจากนี้ยังมีพรมแดนทางทะเลติดกับญี่ปุ่นโดยทะเลโอฮอตสค์ และสหรัฐอเมริกาโดยช่องแคบแบริง อาณาเขตของรัสเซียกินเอเชียเหนือทั้งหมดและ 40% ของยุโรป แผ่ข้ามเก้าเขตเวลาและมีสิ่งแวดล้อมและธรณีสัณฐานหลากหลาย รัสเซียมีปริมาณทรัพยากรแร่ธาตุและพลังงานสำรองใหญ่ที่สุดของโลก และเป็นผู้ผลิตก๊าซธรรมชาติอันดับหนึ่งของโลก เช่นเดียวกับผู้ผลิตน้ำมันอันดับหนึ่งทั่วโลก รัสเซียมีป่าไม้สำรองใหญ่ที่สุดในโลกและทะเลสาบในรัสเซียบรรจุน้ำจืดประมาณหนึ่งในสี่ของโลก ประวัติศาสตร์ของชาติเริ่มขึ้นด้วยชาวสลาฟตะวันออก ผู้ถือกำเนิดขึ้นเป็นกลุ่มที่โดดเด่นได้ในยุโรประหว่างคริสต์ศตวรรษที่ 3 ถึงที่ 8 รัฐรุสในสมัยกลาง ซึ่งก่อตั้งและปกครองโดยอภิชนนักรบวารันเจียนและผู้สืบเชื้อสาย เกิดขึ้นในคริสต์ศตวรรษที่ 9 ใน..

ใหม่!!: ฟิโอดอร์ ดอสโตเยฟสกีและประเทศรัสเซีย · ดูเพิ่มเติม »

ปรัชญา

มัยคลาสสิกไว้ในภาพเดียวกัน คำว่า ปรัชญา มีที่มามาจากภาษาสันสกฤต หมายถึงความรู้อันประเสริฐ โดยมีรากศัพท์มาจากคำว่า ปฺร ที่แปลว่าประเสริฐ กับ คำว่า ชฺญา ที่แปลว่ารู้ ซึ่งเป็นศัพท์บัญญัติโดยพระเจ้าวรวงศ์เธอ พระองค์เจ้าวรรณไวทยากร กรมหมื่นนราธิปพงศ์ประพันธ์ แทนคำว่า philosophy ในภาษาอังกฤษ ซึ่งมีรากศัพท์มาจากคำΦιλοσοφία ซึ่งไพธากอรัสเป็นผู้บัญญัติไว้ เมื่อราวศตวรรษที่ 6 ก่อน..

ใหม่!!: ฟิโอดอร์ ดอสโตเยฟสกีและปรัชญา · ดูเพิ่มเติม »

นวนิยาย

นวนิยาย เป็นรูปแบบหนึ่งของวรรณกรรมลายลักษณ์ แต่งในรูปของร้อยแก้ว มีลักษณะแตกต่างจากเรื่องแต่งงงแบบเดิม ที่เรียกว่า นิยาย หรือนิทาน ที่เรียกว่า "นวนิยาย" ก็เพราะถือเป็นนิยายแบบใหม่ (novel) ตามแบบตะวันตก นั่นเอง อย่างไรก็ตาม ในภาษาพูดโดยทั่วไปนิยมเรียกว่า "นิยาย" ซึ่งกะทัดรัดกว่า โดยคำว่า "นิยาย" เป็นคำมาจากภาษาเขมรที่ออกเสียงว่า "นิเยย" (និយាយ) หมายถึง "พูด" นวนิยายนั้น เป็นเรื่องราวที่มีลักษณะสมจริงมากกว่านิทานหรือนิยายแบบเดิม บางครั้งอาศัยฉากหรือเหตุการณ์จริง หรืออิงความเป็นจริง มีบทสนทนา และบรรยายเหตุการณ์อย่างปุถุชนทั่วไป.

ใหม่!!: ฟิโอดอร์ ดอสโตเยฟสกีและนวนิยาย · ดูเพิ่มเติม »

นักเขียน

นักเขียน คือผู้ที่สร้างงานเขียน อย่างไรก็ตามคำนี้มักใช้เฉพาะกับผู้ที่เขียนงานสร้างสรรค์หรือเป็นอาชีพ หรือผู้ที่ได้สร้างงานเขียนในลักษณะอื่น ๆ นักเขียนที่มีความชำนาญจะแสดงความสามารถในการใช้ภาษาเพื่อที่จะนำเสนอแนวคิดและภาพพจน์ ไม่ว่าจะเป็นการเขียนบันเทิงคดีหรือสารคดี นักเขียนอาจสร้างผลงานในรูปแบบต่าง ๆ เช่น บทกวี ร้อยกรอง ร้อยแก้ว เรื่องสั้น นวนิยาย บทละคร สารคดี นักเขียนที่ทำงานเฉพาะมักได้รับการเรียกแตกต่างกัน เช่น กวี นักเขียนเรื่องสั้น นักเขียนนวนิยาย นักเขียนบทละคร นักหนังสือพิมพ์ นักเขียนสารคดี นักเขียนอื่น ๆ เป็นต้น.

ใหม่!!: ฟิโอดอร์ ดอสโตเยฟสกีและนักเขียน · ดูเพิ่มเติม »

เซนต์ปีเตอร์สเบิร์ก

ซนต์ปีเตอร์สเบิร์ก (Saint Petersburg; Санкт-Петербу́рг, เป็นเมืองท่าทางทิศตะวันตกเฉียงเหนือของสหพันธรัฐรัสเซีย ตั้งอยู่ปากแม่น้ำเนวา ริมอ่าวฟินแลนด์ในทะเลบอลติก เซนต์ปีเตอร์สเบิร์กสร้างโดยพระเจ้าซาร์ปีเตอร์มหาราช เมื่อ พ.ศ. 2246 โดยตัวเมืองเริ่มสร้างด้วยการถมทรายและหินเป็นจำนวนมากเพราะว่าพื้นที่เดิมของเมืองนั้นเป็นดินเลนของทะเล พระองค์ทรงเลือกที่จะสร้างเมืองที่บริเวณนี้เพราะว่าตัวเมืองมีทางออกทะเลบอลติกและสามารถติดต่อไปทางยุโรปและประเทศอื่นๆได้ง่าย เพื่อการปฏิรูปรัสเซียให้ทัดเทียมกับประเทศอื่น ๆ ในยุโรปได้โดยง่าย ต่อมาเมืองเซนต์ปีเตอร์เบิร์กจึงได้รับสมญานามว่าหน้าต่างแห่งยุโรป และได้เป็นเมืองหลวงของจักรวรรดิรัสเซียเป็นเวลา 206 ปี (หลังจากนั้นได้ย้ายเมืองหลวงไปที่มอสโก เมื่อ พ.ศ. 2461) ชื่อเดิมของเซนต์ปีเตอร์สเบิร์กคือ เปโตรกราด (Petrograd, Петрогра́д, ใช้ในช่วง พ.ศ. 2457-2467) และ เลนินกราด (Leningrad, Ленингра́д, ใช้ในช่วง พ.ศ. 2467-2534) ปัจจุบันเซนต์ปีเตอร์สเบิร์กมีประชากรมากกว่า 4.7 ล้านคน เป็นเมืองใหญ่อันดับสองของรัสเซีย และเป็นมรดกโลกขององค์กรยูเนสโก.

ใหม่!!: ฟิโอดอร์ ดอสโตเยฟสกีและเซนต์ปีเตอร์สเบิร์ก · ดูเพิ่มเติม »

11 พฤศจิกายน

วันที่ 11 พฤศจิกายน เป็นวันที่ 315 ของปี (วันที่ 316 ในปีอธิกสุรทิน) ตามปฏิทินสุริยคติแบบเกรกอเรียน เมื่อถึงวันนี้จะยังเหลือวันอีก 50 วันในปีนั้น.

ใหม่!!: ฟิโอดอร์ ดอสโตเยฟสกีและ11 พฤศจิกายน · ดูเพิ่มเติม »

9 กุมภาพันธ์

วันที่ 9 กุมภาพันธ์ เป็นวันที่ 40 ของปี ตามปฏิทินสุริยคติแบบเกรกอเรียน เมื่อถึงวันนี้จะยังเหลือวันอีก 325 วันในปีนั้น (326 วันในปีอธิกสุรทิน).

ใหม่!!: ฟิโอดอร์ ดอสโตเยฟสกีและ9 กุมภาพันธ์ · ดูเพิ่มเติม »

เปลี่ยนเส้นทางที่นี่:

Fyodor DostoevskyFyodor Dostoyevskyฟีโอดอร์ ดอสโตเยฟสกีดอสโตเยฟสกี

ขาออกขาเข้า
Hey! เราอยู่ใน Facebook ตอนนี้! »