โลโก้
ยูเนี่ยนพีเดีย
การสื่อสาร
ดาวน์โหลดได้จาก Google Play
ใหม่! ดาวน์โหลด ยูเนี่ยนพีเดีย บน Android ™ของคุณ!
ติดตั้ง
เร็วกว่าเบราว์เซอร์!
 

ฟาโรห์โฮเรมเฮบ

ดัชนี ฟาโรห์โฮเรมเฮบ

รูปปั้นฟาโรห์โฮเรมเฮบในอียิปต์ ฟาโรห์โฮเรมเฮบ(อังกฤษ:Horemheb) เป็นฟาโรห์ ต่อจากฟาโรห์ไอย์ โฮเรมเฮบสถาปนาตนเป็นฟาโรห์ทันทีหลังจากการสวรรคตก่อนจะทำลายสุสานและลบพระนามของไอย์ออกจากจารึกทั้งหมดราวกับต้องการทำลายหลักฐานทุกชิ้นที่บอกว่าเคยมีไอย์บนโลกนี้ กระนั้นปัญหาหลักในการครองราชย์ของโฮเรมเฮบคือเขาเป็นสามัญชนที่ปราศเลือดขัตติยะ การที่ได้อภิเษกกับน้องสาวของเนเฟอร์ติติก็ยังไม่พอจะลบปมด้อยดังกล่าว จึงทรงหันมาเอาจริงเอาจังกับการอวดอ้างฐานะฟาโรห์ของตนเป็นพิเศษ โฮเรมเฮบถึงกับพยายามประกาศว่าเขาคือผู้ปกครองต่อจากอเมนโฮเทปที่ 3โดยไม่เคยมีรัชสมัยของ อเคนาเตน สเมงห์คาเร ตุตันคามุนหรือ ไอย์ปรากฏอยู่เลย นอกจากนี้ยังสั่งรื้อเมืองอมาร์นาที่สร้างบูชาเทพอาเตนจนนครหลวงอันงดงามต้องเหลือแต่ซากปรักหักพังจมอยู่ใต้กองทราย ฟาโรห์โฮเรมเฮบครองราชย์นาน 30 ปี ทรงจัดการแผ่พระราชอำนาจออกไปยังชายแดน ปฏิสังขรวิหารหลายแห่ง และแต่งตั้งนายทหารขึ้นเป็นนักบวช เพื่อให้ดูแลเรื่องศาสนาอย่างใกล้ชิด โฮเรมเฮบเป็นฟาโรห์องค์แรกที่เริ่มเปิดฉากการทำสงครามกับชาวฮิตไทต์ในทางเหนือ โดยแต่งตั้งแม่ทัพพาราเมสซูเป็นผู้สืบราชสมบัติ ต่อมาพาราเมสซูได้ขึ้นครองราชย์เป็น รามเซสที่ 1 แห่งราชวงศ์ที่ 19 ฮโฮเรมเฮบ.

7 ความสัมพันธ์: ฟาโรห์สเมงห์คาเรฟาโรห์ทุตอังค์อามุนฟาโรห์แอเมนโฮเทปที่ 3ฟาโรห์แอเคนาเทนฟาโรห์ไอย์อาเทนเนเฟอร์ติติ

ฟาโรห์สเมงห์คาเร

ฟาโรห์สเมงห์คาเร (Smenkhkare หมายถึง พลังอำนาจของวิญญาณแห่งรา) ผู้ได้ครองบัลลังก์ต่อจากฟาโรห์อเคนาเตนเพียงช่วงระยะสั้น ๆ เป็นฟาโรห์ที่ลึกลับที่สุดในบรรดาฟาโรห์แห่งราชวงศ์ที่ 18 นักประวัติศาสตร์บางคนสันนิษฐานว่า พระองค์อาจเป็นพระ อนุชาของฟาโรห์อเคนาเตน บ้างก็อาจจะเป็นพระนางเนเฟอร์ตีติที่ขึ้นครองราชย์เป็นฟาโรห์หญิงโดย เปลี่ยนพระนามใหม่เสียด้วยซ้ำ แต่ไม่ว่าสเมงห์คาเรจะเป็นใคร เขาหรือเธอก็ปกครองอยู่เพียงไม่กี่ปี (ประมาณ 1 ปี, ก่อนคริสต์ศักราช 1356 ปี - ก่อนคริสต์ศักราช 1355 ปี).

ใหม่!!: ฟาโรห์โฮเรมเฮบและฟาโรห์สเมงห์คาเร · ดูเพิ่มเติม »

ฟาโรห์ทุตอังค์อามุน

ทุตอังค์อามุน (Tutankhamun) เป็นฟาโรห์อียิปต์จากราชวงศ์ที่ 18 เสวยราชย์ตั้งแต่ราวปีที่ 1332 ถึง 1323 ก่อนคริสตกาล ซึ่งเป็นช่วงเวลาในประวัติศาสตร์อียิปต์ที่เรียกว่า "อาณาจักรใหม่" พระองค์มีพระนามเดิมว่า "ทุตอังค์อาเท็น" (Tutankhaten) หมายความว่า "องค์อวตารแห่งอาเท็น" ส่วนพระนาม "ทุตอังค์อามุน" หมายความว่า "องค์อวตารแห่งอามุน" พระนามหลังนี้ในอักษรไฮเออโรกลิฟส์ (hieroglyphs) เขียนว่า "อาเมน-ทุต-อังค์" (Amen-tut-ankh) เพราะตามประเพณีแล้วต้องเอานามเทพยดาขึ้นก่อน นอกจากนี้ เป็นไปได้ว่า พระองค์คือ "นีบูร์เรเรยา" (Nibhurrereya) ดังที่เขียนไว้ด้วยอักษรอะมาร์นา และ "ราโททิส" (Rathotis) พระเจ้าแผ่นดินในราชวงศ์ที่ 18 ซึ่งมาเนโท (Manetho) นักประวัติศาสตร์ ระบุว่า เสด็จอยู่ในพระราชสมบัติ 9 ปี ในปี 1922 เฮาเวิร์ด คาร์เตอร์ (Howard Carter) กับจอร์จ เฮอร์เบิร์ต เอิร์ลที่ 5 แห่งคาร์นาวอน (George Herbert, 5th Earl of Carnarvon) ค้นพบสุสานของพระองค์ซึ่งอยู่ในสภาพค่อนข้างสมบูรณ์ การค้นพบดังกล่าวได้รับความสนใจจากสื่อมวลชนทั่วโลก ทั้งยังก่อให้สาธารณชนกลับมาสนใจอียิปต์โบราณ และหน้ากากพระศพก็ได้รับการใช้เป็นสัญลักษณ์ของอียิปต์โบราณมาจนทุกวันนี้ ข้าวของเครื่องใช้จากสุสานของพระองค์ยังได้รับการนำพาไปจัดแสดงทั่วโลก ครั้นเดือนกุมภาพันธ์ 2010 ผลตรวจทางพันธุกรรมยืนยันว่า พระองค์เป็นพระโอรสฟาโรห์แอเคนาเท็น (Akhenaten) กับพระกนิษฐภคินีพระองค์ 1 ของแอเคนาเท็นซึ่งบัดนี้ยังไม่ทราบพระนามและพระศพได้รับการเรียกขานว่า "ท่านหญิงน้อย" (The Younger Lady).

ใหม่!!: ฟาโรห์โฮเรมเฮบและฟาโรห์ทุตอังค์อามุน · ดูเพิ่มเติม »

ฟาโรห์แอเมนโฮเทปที่ 3

แอเมนโฮเทปที่ 3 เป็นพระมหากษัตริย์องค์ที่ 9 ในราชวงศ์ที่ 18 ของอียิปต์โบราณ แอเมนโฮเทปที่ 3 (/ˌæmɛnˈhoʊtɛp)(Amenhotep III) หมายถึง ความพอใจของเทพอามัน เป็นพระราชโอรสในฟาโรห์ ทุตโมสที่ 4 (Thutmose IV)ที่ประสูติแต่ พระราชินีมัทเอมวีอา รัชกาลของพระองค์เป็นช่วงเวลาแห่งความรุ่งเรืองที่อียิปต์ถึงจุดสูงสุดของศิลปะและอำนาจระหว่างประเทศ เมื่อพระองค์สวรรคตในปีที่ 38 หรือ 39 ของการครองราชย์ของพระองค์ ฟาโรห์แอเมนโฮเทปที่4 ต่อมาเปลี่ยนพระนามเป็น แอเคนาเทน ได้ขึ้นครองราชเป็นฟาโรห์พระองค์ต่อม.

ใหม่!!: ฟาโรห์โฮเรมเฮบและฟาโรห์แอเมนโฮเทปที่ 3 · ดูเพิ่มเติม »

ฟาโรห์แอเคนาเทน

รูปสลักฟาโรห์แอเคนาเทน แอเคนาเทน (Akhenaten, Ikhnaton, Akhenaton, Ikhnaton, Khuenaten) หรือ แอเมนโฮเทปที่ 4 (Amenhotep IV) หรือ อาเมโนฟิสที่ 4 (Amenophis IV) เป็นพระมหากษัตริย์ลำดับที่ 10 แห่งราชวงศ์ที่สิบแปดแห่งอียิปต์ (Eighteenth dynasty) ฟาโรห์แอเคนาเทน มีพระมเหสีที่เป็นราชินีที่มีชื่อเสียงโด่งดัง คือ ราชินีเนเฟอร์ติติ (Nefertiti) และพระราชโอรสที่มีชื่อเสียงอีกเช่นกัน คือ ฟาโรห์ทุตอังค์อามุน (Tutankhamun) ฟาโรห์แอเคนาเทน ขึ้นครองราชย์ระหว่าง 1350 ปีก่อนคริสต์ศักราช และครองราชย์อยู่นาน 17 ปี ปัจจุบัน นักประวัติศาสตร์เชื่อว่า พระองค์เป็นฟาโรห์องค์แรกที่ปฏิวัติความเชื่อในอาณาจักรอียิปต์ พระองค์ทรงนับถือพระเจ้าเพียงองค์เดียว คือ อาเตน (Aten) (สุริยเทพ สันนิษฐานว่าเป็นไปได้ว่าอาจเป็นองค์เดียวกับ รา) ถึงขนาดสร้างเมืองใหม่ที่ชื่อ อมาน่า (Amarna) ที่มีศาสนสถานขนาดใหญ่เพื่อบูชาเทพอาเตน พร้อมกับเปลี่ยนพระนามใหม่เป็น แอเคนาเทน ด้วย เพื่อให้เชื่อมโยงกับคำว่า อาเตน (แอเคนาเทน แปลว่า "มีประโยชน์ต่ออาเตน") ซึ่งนักประวัติศาสตร์เชื่อว่า การที่นับถือเทพเจ้าเพียงองค์เดียวของพระองค์นั้น เป็นแรงบันดาลใจให้โมเสสเป็นกบฏต่อฟาโรห์แรเมซีสที่สอง (Ramesses II) ในอีกราว 50 ปี ต่อมา ที่วิหารและราชวังในเมือง อะมานา พระองค์ได้สร้างศิลปกรรมฝาผนังไว้อย่างงดงาม ที่มีบทสรรเสริญเทพอาเตน แต่เมื่อพระองค์สวรรคตลง เมืองอมาน่าแห่งนี้ก็ได้ถูกทิ้งร้างทันที ทายาทรุ่นหลังได้ทำลายวิหารและบทสรรเสริญเหล่านี้เสีย รวมทั้งได้ประนาณพระองค์และทำลายรูปสลักพระพักตร์ของพระองค์ด้วย ซึ่งเชื่อว่า ทั้งนี้เป็นเพราะต้องการทำลายหลักความเชื่อของการนับถือเทพเจ้าองค์เดียว (Monotheism) ภาพฝาผนังที่แสดงถึงฟาโรห์แอเคนาเทน พระนางเนเฟอร์ติติ และพระธิดา 3 องค์ ที่แสดงถึงความนับถือต่อเทพอาเตน (เทพเจ้าทรงฉายแสงอยู่ข้างบน).

ใหม่!!: ฟาโรห์โฮเรมเฮบและฟาโรห์แอเคนาเทน · ดูเพิ่มเติม »

ฟาโรห์ไอย์

ฟาโรห์ไอย์ ปกครองอียิปต์อยู่เพียง 4 ปี แต่อำนาจที่แท้จริงกลับตกอยู่ในมือขุนนางฝ่ายทหารอีกคนคือ โฮเรมเฮบ ที่มีอำนาจชี้ขาดอยู่เบื้องหลังราชบัลลังก์ โฮเรมเฮบได้รับใช้ฟาโรห์ตั้งแต่ฟาโรห์อเมนโฮเตปที่สาม ฟาโรห์แอเคนาเทน และ ตุตันคามุนเมื่อไอย์สวรรคต โฮเรมเฮบจึงขึ้นครองราชย์และลบพระนามของไอย์ทั้งหมดทั่วราชอาณาจักร เมื่อฟาโรห์ตุตันคามุนสวรรคตโดยไม่มีผู้สืบสกุล จะมีเพียงราชินี "อังเซนามุน" ซึ่งปราศจากอำนาจ เราทราบจากบันทึกโบราณว่านางผู้สิ้นหวังตัดสินใจเขียนจดหมายไปถึงกษัตริย์ฮิตไทต์ซึ่งเป็น มหาอำนาจในตุรกีและซีเรีย เพื่อให้ส่งพระโอรสมาเป็นคู่ครองของนาง ในตอนแรกกษัตริย์ ฮิตไทต์แปลกใจกับคำขอนี้มากและมองเห็นโอกาสทางลัดที่จะได้อาณาจักรอียิปต์มาอยู่ใต้อำนาจ จึงจัดการส่งเจ้าชายชื่อซานนันซาไปตาคำขอ แต่โชคร้ายเจ้าชายผู้นี้ถูกสังหารโดยฝ่ายอียิปต์แถบชายแดน อังเซนามุนที่ปราศจากทางเลือกจึงจำต้องอภิเษกกับไอย์ ข้าราชสำนักผู้ชรา อาจมีศักดิ์เป็นปู่ของนาง และกลายเป็นราชินีของไอย์ซึ่งขึ้นครองบัลลังก์เป็นฟาโรห์องค์ใหม่ ในวัฒนธรรมร่วมสมัย ฟาโรห์ไอย์ และฟาโรห์ตุตันคาเมน ได้ถูกอ้างอิงถึงในนวนิยายเรื่อง กฤตยา โดย ทมยันตี ซึ่งบทประพันธ์เรื่องดังกล่าวได้ถูกดัดแปลงเป็นละครโทรทัศน์ออกอากาศทางช่อง 3 เมื่อปี..

ใหม่!!: ฟาโรห์โฮเรมเฮบและฟาโรห์ไอย์ · ดูเพิ่มเติม »

อาเทน

ฟาโรห์อเคนาเตนและครอบครัวกำลังบูชาเทพอาเทน อาเทน (Aten) เป็นสุริยเทพพระองค์หนึ่ง ได้รับการนับถือมากในสมัยฟาโรห์อเมนโฮเตปที่ 4 ที่ต้องการเปลี่ยนให้ชาวอียิปต์นับถือเทพอาเทนเพียงพระองค์เดียว ทรงเปลี่ยนพระนามของพระองค์เป็นอเคนาเตนและสร้างเมืองอเคทาเทนเป็นเมืองหลวงใหม่ถวายแด่เทพเจ้าพระองค์นี้.

ใหม่!!: ฟาโรห์โฮเรมเฮบและอาเทน · ดูเพิ่มเติม »

เนเฟอร์ติติ

รูปแกะสลักในท่ายืนของเนเฟอร์ติติจากเมืองอามาร์นา ปัจจุบันอยู่ที่พิพิธภัณฑ์อียิปต์ แห่งกรุงเบอร์ลิน รูปแกะสลักของเนเฟอร์ติติกับ อาเคนาเตน และธิดาสามองค์ จากเมืองอามาร์นา ปัจจุบันอยู่ที่พิพิธภัณฑ์อียิปต์ แห่งกรุงเบอร์ลิน เนเฟอร์ติติ (1370 - 1330 ปีก่อนคริสตกาล) เป็นราชินีของฟาโรห์อาเมนโฮเทป ที่ 4 แห่งอียิปต์ (ภายหลังได้เปลี่ยนพระนามมาเป็นอาเคนาเทน) และพระมารดาสะใภ้ของฟาโรห์ตุตันคามุน กล่าวกันว่าเนเฟอร์ติติอาจเคยขึ้นครองบัลลังก์อียิปต์เป็นช่วงเวลาสั้นๆหลังจากพระสวามีสิ้นพระชนม์ และก่อนที่ฟาโรห์ตุตันคามุนจะเถลิงศิริราชสมบัติ แต่ก็ยังเป็นที่ถกเถียงกันในหมู่นักวิชาการ ชื่อของพระนางอาจแปลได้โดยสังเขปว่า โฉมงามผู้มาสู่ และยังพ้องกับคำเรียกเครื่องประดับชนิดหนึ่งที่เป็นลูกปัดทองคำรูปยาวรี ดังที่เราเห็นรูปปั้นของเธอสวมใส่อยู่เสมอ ลูกปัดชนิดนี้เรียกว่า ลูกปัด"เนเฟอร์" เนเฟอร์ติติโด่งดังจากรูปปั้นท่อนบน ที่ตอนนี้จัดแสดงอยู่ที่พิพิธภัณฑ์อียิปต์แห่งชาติเยอรมนีในนครเบอร์ลิน รูปปั้นดังกล่าวเป็นรูปที่ถูกทำเลียนแบบซ้ำมากที่สุดในบรรดาศิลปวัตถุของไอยคุปต์ สร้างขึ้นโดยประติมากร Djhutmose และถูกค้นพบในห้องทำงานศิลปะของเขา รูปปั้นท่อนบนนี้มีชื่อเสียงโด่งดังเนื่องจากเป็นตัวอย่างของความเข้าใจอย่างถ่องแท้ของชาวอียิปต์โบราณเกี่ยวสัดส่วนขององค์ประกอบบนใบหน้า พระนางถูกเรียกขานมากมายหลายชื่อ ที่วิหารคาร์นัก มีศิลาจารึกที่ขานพระนางว่าเป็น 'ผู้สืบทอด' 'ที่สุดของผู้เป็นที่โปรดปราน' 'ผู้มีสเน่ห์' 'ผู้แผ่ความสุข' 'ชายาผู้อ่อนหวาน' 'ผู้เป็นที่รัก' 'ผู้ปลอบประโลมหัวใจขององค์ราชาในวัง' 'ผู้มีถ้อยคำอ่อนโยน' 'ชายาแห่งอียิปต์ตอนบนและอียิปต์ตอนล่าง' 'ชายาของกษัตริย์ผู้ยิ่งใหญ่' 'ผู้ที่กษัตริย์ทรงรัก' 'สตรีแห่งดินแดนทั้งสอง' 'เนเฟอร์ติติ'.

ใหม่!!: ฟาโรห์โฮเรมเฮบและเนเฟอร์ติติ · ดูเพิ่มเติม »

เปลี่ยนเส้นทางที่นี่:

โฮเรมเฮบ

ขาออกขาเข้า
Hey! เราอยู่ใน Facebook ตอนนี้! »