โลโก้
ยูเนี่ยนพีเดีย
การสื่อสาร
ดาวน์โหลดได้จาก Google Play
ใหม่! ดาวน์โหลด ยูเนี่ยนพีเดีย บน Android ™ของคุณ!
ดาวน์โหลด
เร็วกว่าเบราว์เซอร์!
 

ฟัฎลุลลอหฺ

ดัชนี ฟัฎลุลลอหฺ

ฟัฎลุลลอหฺ อายะตุลลอหฺ มุฮัมมัด ฮุเซน ฟัฎลุลลอหฺ (محمد حسين فضل الله‎; 16 พฤษภาคม พ.ศ. 2478 — 4 กรกฎาคม พ.ศ. 2553) ในเมืองนะญัฟ ประเทศอิรัก ตระกูลของท่านสืบเชื้อสายมาจากนบีมุฮัมมัด บิดาของท่านได้อพยพไปอาศัยอยู่ในเมืองนี้ เพื่อศึกษาหาความรู้ศาสนา ในสถาบันการศึกษาต่างๆ จนได้กลายเป็นผู้รู้ท่านหนึ่ง อันเป็นที่ยอมรับกันในสมัยนั้น อายะตุลลอหฺ ฟัฎลุลลอหฺ จึงได้รับการเลี้ยงดูจากบิดาอย่างดีและเติบโตในครอบครัวที่มีเกียรติ มีนิสัยใจคอเป็นที่รักมักใคร่ของคนข้างเคียง ตั้งแต่ยังเยาว์วัย มุฮัมมัด ฮุเซน ฟัฎลุลลอหฺ ได้ศึกษาหาความรู้ ความอัจฉริยะของท่านได้ปรากฏขึ้นตั้งแต่ท่านได้เริ่มอ่านตำราไวยากรณ์ อัลอัจญ์รูมียะห์ และตำราไวยากรณ์กอฏรุ อันนะดา ตั้งแต่ยังอายุเก้าขวบ ถึงแม้ท่านจะมุ่งหน้าศึกษาทางวิชาการศาสนาในสำนักการศึกษาแบบเฮาซะห์ แต่หนังสือที่ท่านชอบอ่านก็คือหนังสือวารสารทั่วไป โดยเฉพาะที่พิมพ์ในอิยิปต์ และชอบติดตามข่าวและเหตุการณ์โลก แต่สิ่งที่ท่านทำเป็นประจำตั้งแต่อายุสิบขวบก็คือการแต่งบทกวี อาจารย์ท่านแรกของท่านก็คือบิดาที่รักของท่านเอง คือท่านซัยยิด อับดุลร่ออูฟ ฟัฎลุลลอหฺ ท่านได้ศึกษาวิทยาการศาสนาตั้งแต่ต้น จนถึงอุดมศึกษาที่เรียกว่า สุฏูฮฺ ต่อมาก็ศึกษาวิชาไวยากรณ์ภาษาอาหรับ ภาษาศาสตร์ ตรรกศาสตร์ รากฐานนิติศาสตร์ และนิติศาสตร์อิสลาม ต่อมาได้ไปศึกษากับอาจารย์ชาวอิหร่านชื่อ เชค มุจญ์ตะบา อัลนักรอนี หลังจากนั้นจึงศึกษาศาสนาระดับอุดมศึกษาชั้นสูง ซึ่งเป็นการศึกษาระดับสูงสุดที่เรียกว่า บะฮัษ อัลคอริจญ์ ซึ่งมีเหล่าอายะตุลลอหฺ และบรรดามุจตะฮิจ เป็นอาจารย์ หนึ่งในอาจารย์ของท่านก็คือ อายะตุลลอหฺ อัลคูอีย์ ผู้ลือนาม อายะตุลลอหฺ มุฮฺซิน อัลฮะกีม อายะตุลลอหฺ มุฮัมมัด อัชชะหัรวัรดีย์ อายะตุลลอหฺฮุเซน อัลฮิลลีย์ นอกจากนี้ ท่านยังได้ศึกษาวิชาปรัชญา จากตำรา อัลอัซฟาร อัลอัรบะอะหฺ ของท่านมุลลา ศอดรอ อัชชีรอซีย์ โดยมีท่านศอดรอ อัลบาดิกูบีย์ เป็นอาจารย์ ในช่วงที่ท่านยังศึกษาอยู่นั้น ท่านได้มีส่วนร่วมในการจัดการตีพิมพ์วารสาร อัลอัฎวาอ์ ที่ตีพิมพ์ในนะญัฟ หลังจากที่ท่านจบการศึกษาในปี พ.ศ. 2495 ท่านได้กลับไปเยี่ยมประเทศเลบานอน หนังสือพิมพ์เลบานอนได้เริ่มรู้จักท่าน เมื่อท่านได้กล่าวบทกวีไว้อาลัยที่แหวกแนวในพิธีอัรบะอีน รำลึกสี่สิบวันหลังการเสียชีวิตของอายะตุลลอหฺ มุฮัมมัด มุฮฺซิน อัลอะมีน ต่อมาในปี พ.ศ. 2509 ท่านได้รับเชิญให้เดินทางกลับไปอาศัยอยู่ในเลบานอน เพื่อเป็นอาจารย์สอนประชาชนในเบรูตตะวันออก ตั้งแต่นั้นมา ท่านก็ได้กลายเป็นหนึ่งในผู้นำทางจิตใจของชาวเลบานอน และประชาชนประเทศใกล้เคียง ท่านได้อุทิศชีวิตเพื่อฟื้นฟูสังคม โดยเน้นเรื่องการศึกษาเป็นหลัก ตั้งแต่นั้นมา ท่านก็ได้เปิดโรงเรียนและสถาบันการศึกษา 22 ที่ ในท้องถิ่นต่างๆ และยังมีสถานีวิทยุเพื่อการเผยแผ่ศาสนาอีกด้วย นอกจากนี้ ท่านยังได้ใช้เวลาที่เหลือประพันธ์หนังสือรวมแล้วประมาณ 50 เล่ม หนึ่งในจำนวนนั้นเป็นหนังสืออรรถาธิบายอัลกุรอานซึ่งมีความหนาถึง 24 เล่ม ท่านเป็นหนึ่งในผู้นำไม่กี่คนที่เน้นการศึกษาแบบทันสมัย สนับสนุนความสามัคคีระหว่างมุสลิมทุกมัซฮับ จึงไม่น่าแปลกใจ หากเราได้เห็นผู้ที่เข้ามาศึกษากับท่านนั้น ไม่ได้นับถือมัซฮับของท่าน ท่านเป็นผู้ก่อตั้งขบวนการอิสลามในอิรัก พร้อมกับอายะตุลลอหฺ บากิร อัศศอดัร ในช่วงต้นของคริสต์ทศวรรษ 1970 ท่านได้ร่วมในการปฏิวัติอิหร่าน ท่านได้เป็นหนึ่งในผู้นำการขบวนการอิสลามในเลบานอน เพื่อต่อต้านการรุกรานของอิสราเอล ผลที่ตามมาก็คือ ขบวนการซีไอเอได้พยายามลอบสังหาร (ยอมรับโดยวิลเลี่ยม เคซีย์ ประธาน ซีไอเอ) โดยการบรรจุระเบิดในรถ แล้วนำมาจอดใกล้บ้านท่าน ทำให้มีผู้คนเสียชีวิต 80 คน และบาดเจ็บสาหัสอีกประมาณ 200 คน แต่ท่านรอดพ้นจากระเบิดนี้อย่างหวุดหวิด เพราะท่านกลับมาถึงบ้านช้าเพียงไม่กี่นาที นอกจากนี้ท่านยังถูกหน่วยจารกรรมของประเทศอาหรับลอบทำร้ายอีก 3 ครั้ง แต่ท่านก็รอดพ้นไปทุกครั้ง ครั้งที่สามนั้นเป็นขีปนาวุธที่ตกลงมาในห้องนอนของท่านก่อนละหมาดซุบฮิ ส่วนหน่วยจารกรรมอิสราเอลก็ได้เข้าทำร้ายท่านในมัสยิดบิรุลอับดิ แต่ท่านก็รอดไปได้อย่างเหลือเชื่อ และอีกหลายครั้งที่อิสราเอลส่งขีปนาวุธลงมาบนบ้านของท่าน จนกระทั่งบุตรของท่านคนหนึ่งในบ้านถูกขีปนาวุธนี้ อายะตุลลอหฺ มุฮัมมัด ฮุเซน ฟัฎลุลลอหฺ ผู้อาจหาญเสี่ยงภัย เดินทางไปมาระหว่างซีเรียและเลบานอน ทุก ๆ สัปดาห์ ท่านได้เดินทางไปประเทศต่าง ๆ เช่น สหรัฐอเมริกา อังกฤษ ฝรั่งเศส อินเดีย อิหร่าน อัลจีเรีย และอื่น ๆ เพื่อพบปะและเผยแผ่ศาสนาอิสลาม ท่านมีประสบการณ์กว้างขวาง ทุกคำพูดและทุกวาจาของท่านมีค่า ใครที่ได้เข้าไปพบเห็นท่านจะรู้สึกรักและชอบท่านทันที นั้นก็เพราะความสุภาพอ่อนโยนของท่าน ผู้คนที่เข้ามาเรียนกับท่าน มาพบปะท่าน มาถามปัญหาศาสนา ต่าง ๆ นานา วันละ 14 - 15 ชั่วโมง ทำให้ท่านไม่ค่อยมีเวลาสำหรับส่วนตัวเลย ผู้คนต่างสงสัยว่าท่านยังมีเวลาที่ไหนไปอ่านหนังสือพิมพ์จนทันกับเหตุการณ์โลก ดวงตาที่อ่อนเพลียทำให้เรารู้ได้ว่า บุคคลคนนี้นอนน้อย แต่ท่านก็เป็นอย่างนี้มานานแล้ว อายะตุลลอหฺ มุฮัมมัด ฮุเซน ฟัฎลุลลอหฺ เป็นมัรญิอฺที่มีชื่อท่านหนึ่ง รองจาก ท่านอายะตุลลอหฺ ซีซตานีย์ อายะตุลลอหฺ อัชชีรอซีย์ และ อายะตุลลอหฺ คอเมเนอี.

7 ความสัมพันธ์: พ.ศ. 2495พ.ศ. 2509ภาษาอาหรับมุฮัมมัดอัรบะอีนคริสต์ทศวรรษ 1970ประเทศเลบานอน

พ.ศ. 2495

ทธศักราช 2495 ตรงกับปีคริสต์ศักราช 1952.

ใหม่!!: ฟัฎลุลลอหฺและพ.ศ. 2495 · ดูเพิ่มเติม »

พ.ศ. 2509

ทธศักราช 2509 ตรงกับปีคริสต์ศักราช 1966 เป็นปีปกติสุรทินที่วันแรกเป็นวันเสาร์ตามปฏิทินเกรกอเรียน และเป็น.

ใหม่!!: ฟัฎลุลลอหฺและพ.ศ. 2509 · ดูเพิ่มเติม »

ภาษาอาหรับ

ษาอาหรับ (العربية; Arabic Language) เป็นภาษากลุ่มเซมิติก ที่มีผู้พูดมากที่สุด ซึ่งมีความสัมพันธ์ที่ใกล้ชิดพอควรกับภาษาฮีบรูและภาษาอราเมอิก โดยพัฒนามาจากภาษาเดียวกันคือภาษาเซมิติกดั้งเดิม ภาษาอาหรับสมัยใหม่ถือว่าเป็นภาษาขนาดใหญ่ แบ่งเป็นสำเนียงย่อยได้ถึง 27 สำเนียง ในระบบ ISO 639-3 ความแตกต่างของการใช้ภาษาพบได้ทั่วโลกอาหรับ โดยมีภาษาอาหรับมาตรฐานซึ่งใช้ในหมู่ผู้นับถือศาสนาอิสลาม ภาษาอาหรับสมัยใหม่มาจากภาษาอาหรับคลาสสิกซึ่งเป็นภาษาเดียวที่เหลืออยู่ในภาษากลุ่มอาหรับเหนือโบราณ เริ่มพบในพุทธศตวรรษที่ 11 และกลายเป็นภาษาทางศาสนาของศาสนาอิสลามตั้งแต่พุทธศตวรรษที่ 12 เป็นภาษาของคัมภีร์อัลกุรอาน และภาษาของการนมาซและบทวิงวอนของชาวมุสลิมทั่วโลก ชาวมุสลิมจะเริ่มศึกษาภาษาอาหรับตั้งแต่ยังเด็ก เพื่ออ่านอัลกุรอานและทำการนมาซ ภาษาอาหรับเป็นแหล่งกำเนิดของคำยืมจำนวนมากในภาษาที่ใช้โดยมุสลิมและภาษาส่วนใหญ่ในยุโรป ภาษาอาหรับเองก็มีการยืมคำจากภาษาเปอร์เซียและภาษาสันสกฤตด้วย ในช่วงยุคกลาง ภาษาอาหรับเป็นภาษาหลักในการขับเคลื่อนวัฒนธรรมโดยเฉพาะทางวิทยาศาสตร์ คณิตศาสตร์ และปรัชญา จึงทำให้ภาษาในยุโรปจำนวนมากยืมคำไปจากภาษาอาหรับ โดยเฉพาะภาษาสเปนและภาษาโปรตุเกส ทั้งนี้เพราะอารยธรรมอาหรับเคยแผ่ขยายไปถึงคาบสมุทรไอบีเรี.

ใหม่!!: ฟัฎลุลลอหฺและภาษาอาหรับ · ดูเพิ่มเติม »

มุฮัมมัด

นบีมุฮัมมัด หรือ มุหัมมัด หรือ พระมะหะหมัด (محمد แปลว่า ผู้ได้รับการสรรเสริญ) เป็นนบีคนสุดท้ายของศาสนาอิสลาม ที่อัลลอฮ์ทรงแต่งตั้ง ท่านมีชื่อเรียกอื่น ๆ อีกหลายชื่อ เช่น มุสตอฟา, ฏอฮา, ยาซีน และ อะฮฺมั.

ใหม่!!: ฟัฎลุลลอหฺและมุฮัมมัด · ดูเพิ่มเติม »

อัรบะอีน

รรดามุสลิมหลายล้านคนชุมนุมกันรอบ ๆ มัสยิดฮุซัยน์ในเมืองกัรบะลาอ์ อัลอัรบะอีน (الأربعين) หรือ ชะฮ์ลัม (چهلم, چہلم) แปลตรงตัวว่าสี่สิบ เป็นศาสนพิธีของชาวมุสลิมนิกายชีอะห์ ซึ่งจัดขึ้นหลังจากวันอาชูรออ์เป็นเวลา 40 วัน หรือวันที่ 20 เศาะฟัร เพื่อรำลึกถึงการวายชนม์ของฮุซัยน์บุตรอะลี ซึ่งแข็งข้อไม่ยอมขึ้นต่อราชวงศ์อุมัยยะฮ์จนต้องถูกตัดศีรษะในยุทธการกัรบะลาอ์ เมื่อวันที่ 10 ตุลาคม พ.ศ. 1223 (10 มุฮัรรอม ฮ.ศ. 61) พิธีนี้จัดขึ้นที่เมืองกัรบะลาอ์ ประเทศอิรัก และมีผู้ร่วมพิธีมากกว่าพิธีฮัจญ์ที่เมืองมักกะห์ ประเทศซาอุดีอาระเบีย พิธีอัรบะอีนจัดขึ้นครั้งแรกเมื่อปี..

ใหม่!!: ฟัฎลุลลอหฺและอัรบะอีน · ดูเพิ่มเติม »

คริสต์ทศวรรษ 1970

..

ใหม่!!: ฟัฎลุลลอหฺและคริสต์ทศวรรษ 1970 · ดูเพิ่มเติม »

ประเทศเลบานอน

ลบานอน (Lebanon; لُبْنَان) หรือชื่ออย่างเป็นทางการคือ สาธารณรัฐเลบานอน (Republic of Lebanon, Lebanese Republic; جمهورية لبنان) เป็นประเทศในภูมิภาคเอเชียตะวันตกเฉียงใต้ ติดกับทะเลเมดิเตอร์เรเนียน และถือเป็นหนึ่งใน 15 ดินแดนที่ประกอบเป็น "แหล่งกำเนิดแห่งมนุษยชาติ" (Cradle of Humanity) เลบานอนมีพรมแดนติดกับประเทศซีเรียและประเทศอิสราเอล พรมแดนที่ติดกับประเทศอิสราเอลได้รับการรับรองจากองค์การสหประชาชาติแล้ว แต่พื้นที่บางส่วน เรียกว่า "ชีบาฟาร์ม" (Shebaa farms) ตั้งอยู่ในที่ราบสูงโกลันยังคงครอบครองโดยอิสราเอล ซึ่งอ้างว่าเป็นพื้นที่ของซีเรีย กองทัพต่อต้านอ้างว่า "ชีบาฟาร์ม" เป็นพื้นที่ของเลบานอน และในบางโอกาสก็โจมตีที่มั่นของอิสราเอลภายในพื้นที่ดังกล่าว นอกจากนี้ ซีเรียบำรุงรักษากองทัพที่มีทหารประมาณ 14,000 นายในเลบานอน ชาวเลบานอนที่สนับสนุนเลบานอนอ้างว่าเป็นการอยู่อย่างถูกต้องเนืองจากรัฐบาลเลบานอนได้ขอไว้ ตอนเริ่มสงครามกลางเมืองเมื่อ พ.ศ. 2518 (ค.ศ. 1975) ผู้ที่ไม่เห็นด้วยอ้างว่า การอยู่ของซีเรียเป็นประหนึ่งการยึดครองโดยอำนาจต่างชาต.

ใหม่!!: ฟัฎลุลลอหฺและประเทศเลบานอน · ดูเพิ่มเติม »

เปลี่ยนเส้นทางที่นี่:

มุฮัมมัด ฮุเซน ฟัฎลุลลอหฺฟัฎลุลลอห์

ขาออกขาเข้า
Hey! เราอยู่ใน Facebook ตอนนี้! »