โลโก้
ยูเนี่ยนพีเดีย
การสื่อสาร
ดาวน์โหลดได้จาก Google Play
ใหม่! ดาวน์โหลด ยูเนี่ยนพีเดีย บน Android ™ของคุณ!
ฟรี
เร็วกว่าเบราว์เซอร์!
 

พุทธศาสนศึกษา

ดัชนี พุทธศาสนศึกษา

ทธศาสนศึกษา หรือ พุทธศาสตรศึกษา (Buddhist Studies) คือการศึกษาศาสนาพุทธในเชิงวิชาการ ถือเป็นสาขาหนึ่งของศาสนศึกษา พุทธศาสนศึกษาเป็นการศึกษาวิเคราะห์พระพุทธศาสนาเฉพาะด้านใดด้านหนึ่ง เช่น หลักธรรม วิมุตติ กฎแห่งกรรม และความสัมพันธ์ระหว่างนิก.

7 ความสัมพันธ์: พระธรรม (ศาสนาพุทธ)กรรมวิชาวิมุตติศาสนศึกษาศาสนาพุทธคณะสังคมศาสตร์และมนุษยศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล

พระธรรม (ศาสนาพุทธ)

ระธรรมราชบัณฑิตยสถาน, พจนานุกรมศัพท์ศาสนาสากล อังกฤษ-ไทย ฉบับราชบัณฑิตยสถาน, พิมพ์ครั้งที่ 3, ราชบัณฑิตยสถาน, 2552, หน้า 454 หมายถึงธรรมะซึ่งพระพุทธเจ้าทรงค้นพบและนำออกเผยแผ่ หรือคำสอนของพระพุทธเจ้า เกี่ยวกับความจริงตามธรรมชาติของทุกข์และวิธีการดับทุกข์ ธรรมะของพระพุทธเจ้านั้นแต่เริ่มสืบทอดกันด้วยวิธีท่องจำแบบปากต่อปาก เรียกว่า "มุขปาฐะ" สมัยต่อมาจึงได้มีการบันทึกไว้เป็นลายลักษณ์อักษร คัมภีร์ที่บันทึกพระธรรมของพระพุทธเจ้านั้น เรียกว่า พระไตรปิฎก และยังมีคัมภีร์อื่นๆ ที่แต่งภายหลังเพื่อขยายความอีก ได้แก่ อรรถกถา ฎีกา อนุฎีกา ตามลำดับ ธรรมที่พระพุทธเจ้าทรงค้นพบนั้น เป็นสิ่งที่มีอยู่แต่เดิมแล้ว ไม่ได้เกิดขึ้นพร้อมพระพุทธองค์ แต่ทรงเป็นผู้ค้นพบแล้วนำมาประกาศ อาจพอกล่าวได้ว่าการเรียนรู้พระธรรม ก็คือการเรียนรู้ธรรมดาโลก และเรียนรู้สิ่งที่เป็นปกติที่มีบ่อเกิดที่มาว่ามาอย่างไร เป็นไปได้อย่างไร.

ใหม่!!: พุทธศาสนศึกษาและพระธรรม (ศาสนาพุทธ) · ดูเพิ่มเติม »

กรรม

ในพระพุทธศาสนา กรรม (กรฺม, กมฺม) แปลว่า "การกระทำที่ประกอบด้วยเจตนา" ได้แก่ กระทำทางกาย เรียก กายกรรม ทางวาจา เรียก วจีกรรม และทางใจ เรียก มโนกรรม.

ใหม่!!: พุทธศาสนศึกษาและกรรม · ดูเพิ่มเติม »

วิชา

วิชา มาจากภาษาบาลี วิชฺช หมายถึง ความรู้ที่ได้จากการเล่าเรียนหรือฝึกฝน บางครั้งอาจหมายถึง ความรู้ความสามารถของบุคคลหนึ่งที่สามารถถ่ายทอดไปให้ผู้อื่นได้ โดยไม่จำเป็นต้องสอนในห้องเรียน ผู้เรียนจะต้องศึกษาเรียนรู้เพื่อให้เกิดความรู้ความเข้าใจในวิชานั้นๆ ฝึกฝนให้เกิดความชำนาญ แล้วสามารถนำไปใช้ในชีวิตประจำวันได้ เราจะพบเห็นวิชาได้บ่อยในโรงเรียนหรือสถานศึกษา โดยใช้วิชาเป็นสิ่งที่แบ่งแยกระหว่างเรื่องที่สอน เช่น วิชาภาษาไทย วิชาสังคมศึกษา วิชาคณิตศาสตร์ เป็นต้น อนึ่ง คำว่า วิทยา, พิทยา มาจากภาษาสันสกฤต วิทฺย, พิทฺย ซึ่งมีรากศัพท์มาจาก วิชฺช เช่นกัน แต่ปัจจุบันได้ใช้ในความหมายว่า ความรู้ความสามารถที่ถูกต้องตรงตามแบบแผน ดังที่เคยมีบุคคลหนึ่งได้ทดลองและพิสูจน์มาแล้ว เหมือนแนวคิดของวิชาวิทยาศาสตร์ เป็นต้น ในทางพระพุทธศาสนา วิชชา หมายถึง การรู้แจ้งเห็นจริงตามความเป็นจริง รู้ว่าสิ่งใดเป็นทุกข์ เหตุและหนทางแห่งความดับทุกข์ ตรงข้ามกับคำว่า อวิชชา ซึ่งหมายถึงความไม่รู้แจ้ง วิชชา มี 3 ประการ คือ.

ใหม่!!: พุทธศาสนศึกษาและวิชา · ดูเพิ่มเติม »

วิมุตติ

วิมุตติ คือ ความหลุดพ้น เป็นวัตถุประสงค์มุ่งหมายของการปฏิบัติธรรมในพระพุทธศาสนา ดังพุทธภาษิตว.

ใหม่!!: พุทธศาสนศึกษาและวิมุตติ · ดูเพิ่มเติม »

ศาสนศึกษา

ัญลักษณ์ของศาสนาต่าง ๆ ศาสนศึกษา (religious studies; religious education) คือสาขาวิชาที่ศึกษาความเชื่อ พฤติกรรม และสถาบันทางศาสนา โดยการบรรยาย ตีความ และอธิบาย ศาสนาอย่างเป็นระบบ อิงกับข้อเท็จจริงทางประวัติศาสตร์และมุมมองจากวัฒนธรรมที่หลากหลาย ศาสนศึกษาต่างจากเทววิทยาซึ่งเน้นศึกษาเพื่อให้เกิดความเชื่อและเข้าใจอำนาจเหนือมนุษย์ เช่น เทวดา พระเป็นเจ้า แต่ศาสนศึกษาจะศึกษาจากมุมมองของคนนอก จึงมีการใช้หลายสาขาวิชามาเป็นเครื่องมือในการศึกษาด้วย เช่น มานุษยวิทยา สังคมวิทยา จิตวิทยา ปรัชญา และประวัติศาสตร์ศาสนา ศาสนศึกษาเกิดขึ้นราวคริสต์ศตวรรษที่ 19 ซึ่งเป็นช่วงที่การศึกษาคัมภีร์ไบเบิลด้วยหลักวิชาประวัติศาสตร์กำลังเป็นที่นิยม และคัมภีร์ของศาสนาพุทธและศาสนาฮินดูก็เพิ่งถูกแปลเป็นภาษายุโรปเป็นครั้งแรก นักศาสนศึกษาที่มีบทบาทสำคัญในยุคแรก ๆ คือ ศาสตราจารย์มักซ์ มึลเลอร์ ในช่วงแรกนั้นยังใช้ชื่อว่าศาสนาเปรียบเทียบหรือศาสนศาสตร.

ใหม่!!: พุทธศาสนศึกษาและศาสนศึกษา · ดูเพิ่มเติม »

ศาสนาพุทธ

ระพุทธศาสนา หรือ ศาสนาพุทธ (buddhasāsana พุทฺธสาสนา, buddhaśāsana พุทธศาสนา) เป็นศาสนาที่มีพระพุทธเจ้าเป็นศาสดา มีพระธรรมที่พระองค์ตรัสรู้ชอบด้วยพระองค์เอง และตรัสสอนไว้เป็นหลักคำสอนสำคัญ มีพระสงฆ์ (ภิกษุ ภิกษุณี) สาวกผู้ตัดสินใจออกบวชเพื่อศึกษาปฏิบัติตนตามคำสั่งสอน ธรรม-วินัย ของพระบรมศาสดา เพื่อบรรลุสู่จุดหมายคือพระนิพพาน และสร้างสังฆะ เป็นชุมชนเพื่อสืบทอดคำสอนของพระบรมศาสดา รวมเรียกว่า พระรัตนตรัย นอกจากนี้ในพระพุทธศาสนา ยังประกอบคำสอนสำหรับการดำรงชีวิตที่ดีงาม สำหรับผู้ที่ยังไม่ออกบวช (คฤหัสถ์ - อุบาสก และอุบาสิกา) ซึ่งหากรวมประเภทบุคคลที่ที่นับถือและศึกษาปฏิบัติตนตามคำสั่งสอนของพระบรมศาสดา แล้วจะจำแนกได้เป็น 4 ประเภท คือ ภิกษุ ภิกษุณี อุบาสก อุบาสิกา หรือที่เรียกว่า พุทธบริษัท 4 ศาสนาพุทธเป็นศาสนาอเทวนิยม ปฏิเสธการมีอยู่ของพระเป็นเจ้าหรือพระผู้สร้าง และเชื่อในศักยภาพของมนุษย์ ว่าทุกคนสามารถพัฒนาจิตใจ ไปสู่ความเป็นมนุษย์ที่สมบูรณ์ได้ ด้วยความเพียรของตน กล่าวคือ ศาสนาพุทธ สอนให้มนุษย์บันดาลชีวิตของตนเอง ด้วยผลแห่งการกระทำของตน ตาม กฎแห่งกรรม มิได้มาจากการอ้อนวอนขอจากพระเป็นเจ้าและสิ่งศักดิ์สิทธิ์นอกกายพระไตรปิฎก เล่มที่ ๒๕ พระสุตตันตปิฎก เล่มที่ ๑๗ ขุททกนิกาย ขุททกปาฐะ-ธรรมบท-อุทาน-อิติวุตตกะ-สุตตนิบาต คาถาธรรมบท อัตตวรรคที่ ๑. พระไตรปิฎกฉบับสยามรั.

ใหม่!!: พุทธศาสนศึกษาและศาสนาพุทธ · ดูเพิ่มเติม »

คณะสังคมศาสตร์และมนุษยศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล

ณะสังคมศาสตร์และมนุษยศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล เป็นคณะที่เน้นงานวิจัยทั้งด้านสังคมศาสตร์ มนุษยศาสตร์ และศึกษาศาสตร์ มีสำนักงานคณบดีที่ มหาวิทยาลัยมหิดล ศาลายา คณะนี้เป็นคณะที่มีความโดดเด่นในด้านการเรียนการสอนและการวิจัยสังคมศาสตร์เชิงบูรณาการชั้นนำของประเทศไท.

ใหม่!!: พุทธศาสนศึกษาและคณะสังคมศาสตร์และมนุษยศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล · ดูเพิ่มเติม »

ขาออกขาเข้า
Hey! เราอยู่ใน Facebook ตอนนี้! »