โลโก้
ยูเนี่ยนพีเดีย
การสื่อสาร
ดาวน์โหลดได้จาก Google Play
ใหม่! ดาวน์โหลด ยูเนี่ยนพีเดีย บน Android ™ของคุณ!
ฟรี
เร็วกว่าเบราว์เซอร์!
 

พืชบก

ดัชนี พืชบก

ืชบก (Embryophyte) หมายถึงกลุ่มพืชที่เติบโตบนพื้นแผ่นดิน (ซึ่งมีความหมายต่างจากพืชน้ำ) ประกอบไปด้วยต้นไม้, ไม้ดอก, เฟิร์น, มอสส์ และพืชบกสีเขียวอื่นๆ ทั้งหมดเป็นยูแคริโอตหลายเซลล์ที่สลับซับซ้อนที่มีอวัยวะสำหรับสืบพันธุ์เป็นแบบพิเศษ พืชบกได้รับพลังงานจากการสังเคราะห์ด้วยแสงและสังเคราะห์อาหารจากคาร์บอนไดออกไซด์ พืชบกอาจต่างจากสาหร่ายหลายเซลล์ที่ใช้คลอโรฟิลล์โดยสาหร่ายมีอวัยวะสืบพันธุ์นั้นเป็นหมัน พืชบกส่วนมากปรับตัวอาศัยอยู่บนบกแต่ก็มีบางส่วนอาศัยอยู่ในน้ำ เช่น สาหร่ายหางกระรอก เป็นต้น.

36 ความสัมพันธ์: พลาสติดพืชพืชดอกพืชน้ำพืชไม่มีท่อลำเลียงการสังเคราะห์ด้วยแสงมหายุคพาลีโอโซอิกมอสส์ยุคจูแรสซิกยุคครีเทเชียสยุคไซลูเรียนยูแคริโอตรากสาหร่ายสาหร่ายสีเขียวสาหร่ายหางกระรอกสปอร์อาณาจักร (ชีววิทยา)ฮอร์นเวิร์ตผนังเซลล์คลอโรฟิลล์คลอโรพลาสต์คาร์บอนไดออกไซด์ปรงแฟลเจลลัมแวคิวโอลแปะก๊วยใบไม้ไฟลัมไฟลัมไลโคไฟตาไม้ต้นไข่เฟิร์นเซลลูโลสเซลล์สืบพันธุ์เซนทริโอล

พลาสติด

ซลล์พืช พลาสติด (plastid) เป็นออร์แกเนลล์ที่สำคัญของเซลล์พืช มีสามลักษณะตามประเภทรงควัตถุ ได้แก่, วันที่สืบค้น 25 พฤษภาคม 2559 จาก www.thaigoodview.com.

ใหม่!!: พืชบกและพลาสติด · ดูเพิ่มเติม »

พืช

ืช เป็นสิ่งมีชีวิตกลุ่มใหญ่ประเภทหนึ่ง (มีประมาณ 350,000 สปีชีส์ ถูกระบุแล้ว 287,655 สปีชีส์ เป็นพืชดอก 258,650 ชนิด และพืชไม่มีท่อลำเลียง 18,000 ชนิด) อยู่ในอาณาจักรพืช (Kingdom Plantea) ประกอบด้วย ไม้ยืนต้น ไม้ดอก พืชล้มลุก และเฟิร์น พบได้ทั้งบนบกและในน้ำ เป็นสิ่งมีชีวิตที่เนื้อเยื่อส่วนใหญ่ประกอบด้วยหลายเซลล์ นิวเคลียสมีผนังเซลล์ ห่อหุ้ม เคลื่อนที่ไม่ได้ ได้แค่เอียงตัว จะสามารถเห็นได้ชัดเจน.เมื่อมีแดดส่อง พืชจะเอียงตัวไปที่แดด ไม่มีอวัยวะเกี่ยวกับความรู้สึก มีคลอโรฟิลล์ซึ่งเป็นสารสีเขียว ช่วยในการสังเคราะห์และเจริญเติบโต.

ใหม่!!: พืชบกและพืช · ดูเพิ่มเติม »

พืชดอก

ืชดอก ชื่อวิทยาศาสตร์ว่า Magnoliophyta เรียกอีกอย่างหนึ่งว่า Angiospermae หรือ Angiosperms เป็นกลุ่มของพืชกลุ่มใหญ่กลุ่มหนึ่ง มีดอกไม้ และเมล็ดเป็นส่วนประกอบ ซึ่งเมล็ดจะกลายเป็นผลไม้ พืชดอกแบ่งได้ออกเป็นกลุ่มใหญ่ 8 กลุ่มดังนี้ เรียงตามจำนวนสปีชี.

ใหม่!!: พืชบกและพืชดอก · ดูเพิ่มเติม »

พืชน้ำ

ัวทั่วไป ใบอยู่ผิวน้ำ ดอกอยู่เหนือน้ำ พืชน้ำ หรือ พรรณไม้น้ำ (aquatic plant, aquatic weed, water plant) เป็นพืชที่อาศัยหรือเจริญเติบโตในน้ำ หรือมีช่วงหนึ่งที่เจริญเติบโตอยู่ในน้ำ อาจอยู่ใต้น้ำทั้งหมดหรือมีบางส่วนขึ้นสู่บริเวณผิวน้ำ ลอยอยู่ตามผิวน้ำ เจริญเติบโตบริเวณที่มีน้ำตามแนวชายฝั่ง พืชที่เจริญเติบโตในที่มีน้ำขัง พื้นที่ชื้นแฉะ ทั้ง น้ำจืด น้ำกร่อย น้ำเค็ม โดยสามารถแยกเป็นสี่ประเภทหลัก พืชใต้น้ำ (submerged plant) เป็นพืชที่เจริญเติบโตใต้น้ำทั้งหมด หรือหมายถึงพืชที่ทั้งราก ลำต้น ใบ อยู่ใต้น้ำทั้งหมด ทั้งนี้รากอาจยึดกับพื้นดินใต้น้ำหรือไม่ก็ได้ โครงสร้างลำต้นและใบจะมีช่องว่างมากสำหรับใช้เป็นที่สะสมก๊าซ และช่วยให้ลอยตัวอยู่ในน้ำได้ ส่วนใบมักจะกรอบและบาง ไม่มีปากใบและคิวติน พืชจำพวกนี้พบมากในกลุ่มสาหร่ายต่าง ๆ พืชโผล่เหนือน้ำ (emerged plant) เป็นพืชที่เจริญเติบโตในน้ำเพียงบางส่วน เช่น รากและลำต้น ส่วนรากอาจยึดพื้นดินใต้น้ำหรือไม่ก็ได้ มีใบหรือดอกโผล่พ้นน้ำหรืออาจอยู่ที่ผิวน้ำ บางชนิดอาจมีทั้งใบใต้น้ำและใบเหนือน้ำในลำต้นเดียวกัน ลำต้นมีลักษณะแข็งแรงกว่าพืชใต้น้ำมีคิวตินมีปากใบและคิวติน พบมากในพืชกลุ่มบัวต่าง ๆ ผักตับเต่า แว่นแก้ว สาหร่ายญี่ปุ่น พืชลอยน้ำ (floating plant) เป็นพืชที่เจริญเติบโตได้โดยลอยอยู่บริเวณผิวน้ำ รากจะอยู่ใต้น้ำ ส่วนของลำต้น ใบ และดอก อยู่เหนือน้ำหรือผิวน้ำ สามารถลอยไปมาได้ หากพืชเหล่านี้อยู่บริเวณน้ำตื้นรากของพืชชนิดนี้อาจยึดอยู่กับพื้นดินใต้น้ำได้ พืชจำพวกนี้ได้แก่ ผักตบไทย ผักตบชวา จอกหูหนู กระจับ ผำ ผักบุ้ง พืชชายน้ำ (merginal plant) เป็นพืชที่เจริญเติบโตบริเวณริมน้ำหรือริมตลิ่ง ทั้งบริเวณหนองน้ำ ริมคลอง บริเวณที่มีน้ำขัง โดยรากจะฝังในดิน ส่วนลำต้น ใบ และดอก จะอยู่เหนือน้ำ.

ใหม่!!: พืชบกและพืชน้ำ · ดูเพิ่มเติม »

พืชไม่มีท่อลำเลียง

ไบรโอไฟต์ คือพืชบกทั้งหมดที่ไม่มีท่อลำเลียง: มันมีเนื้อเยื่อที่ล้อมรอบเป็นท่อคล้ายกับระบบท่อลำเลียง แต่ไม่มีเนื่อเยื่อส่วนท่อลำเลียงที่จะส่งผ่านของเหลว ไม่มีดอกและการสร้างเมล็ด ขยายพันธุ์ด้วยสปอร์ คำว่า bryophyte มาจากภาษากรีก βρύον - bruon, "ต้นมอสส์, สีเขียวหอยนางรม".

ใหม่!!: พืชบกและพืชไม่มีท่อลำเลียง · ดูเพิ่มเติม »

การสังเคราะห์ด้วยแสง

ใบไม้เป็นแหล่งที่มีการสังเคราะห์ด้วยแสง การสังเคราะห์ด้วยแสง (photosynthesis) เป็นกระบวนการทางชีวเคมีที่สำคัญอย่างหนึ่ง ซึ่งทำให้พืช สาหร่าย และแบคทีเรียบางชนิดสามารถเปลี่ยนพลังงานจากแสงอาทิตย์ให้กลายเป็นพลังงานทางเคมีได้ สิ่งมีชีวิตแทบทั้งหมดล้วนอาศัยพลังงานที่ได้จากกระบวนการสังเคราะห์ด้วยแสงเพื่อการเจริญเติบโตทั้งทางตรงและทางอ้อม นอกจากนี้ยังมีการผลิตออกซิเจน ซึ่งมีเป็นองค์ประกอบในสัดส่วนที่มากของบรรยากาศโลกด้วย สิ่งมีชีวิตที่สร้างพลังงานจากกระบวนการสังเคราะห์แสงได้ เรียกว่า "phototrophs" โดยโมเลกุลที่มีความสามารถในการดูดกลืนแสงที่มีอยู่ในพืชและสิ่งมีชีวิตนี้คือ รงควัตถุ (pigment).

ใหม่!!: พืชบกและการสังเคราะห์ด้วยแสง · ดูเพิ่มเติม »

มหายุคพาลีโอโซอิก

มหายุคพาลีโอโซอิก (Paleozoic Era; จากภาษากรีก palaio (παλαιο), "เก่าแก่" และ zoe (ζωη), "ชีวิต", หมายถึง "ชีวิตโบราณ")) เป็นมหายุคแรกสุดจาก 3 มหายุคในบรมยุคฟาเนอโรโซอิก ซึ่งเป็นยุคทางธรณีกาลของโลก ช่วงเวลาของมหายุคพาลีโอโซอิกอยู่ในช่วง 542-251 ล้านปีมาแล้ว และแบ่งย่อยออกเป็นหกยุคเรียงตามลำดับเก่า-ใหม่ ได้แก่ ยุคแคมเบรียน ยุคออร์โดวิเชียน ยุคไซลูเรียน ยุคดีโวเนียน ยุคคาร์บอนิเฟอรัส และ ยุคเพอร์เมียน.

ใหม่!!: พืชบกและมหายุคพาลีโอโซอิก · ดูเพิ่มเติม »

มอสส์

มอสส์เป็นพืชขนาดเล็ก, พุ่มสูงประมาณ 1–10 เซนติเมตร (0.4-4 นิ้ว) แต่อาจมีบางชนิดที่มีขนาดใหญ่กว่ามาก ปกติจะเจริญเติบโตในหมู่ต้นไม้หรือบริเวณที่เปียกชื้นใต้ร่มเงาไม้ใหญ่ ไม่มีดอกและเมล็ด โดยทั่วไปใบที่ปกคลุมลำต้นจะบางเล็กคล้ายลวด มอสส์แพร่พันธุ์ด้วยสปอร์ ซึ่งสร้างขึ้นที่จะงอยปลายก้านเล็กๆ คล้ายแคปซูล มอสส์มีประมาณ 12,000 สปีชีส์และถูกจัดอยู่ในส่วนไบรโอไฟตา ใน ไบรโอไฟตา นั้นปกติไม่ได้มีแค่มอสส์เท่านั้น แต่ยังรวมถึงลิเวอร์เวิร์ตและฮอร์นเวิร์ตด้วย แล้วยังมีไบรโอไฟต์อีก 2 กลุ่มที่มักถูกจัดอยู่ในส่วนเดียวกัน.

ใหม่!!: พืชบกและมอสส์ · ดูเพิ่มเติม »

ยุคจูแรสซิก

ทรแอสซิก←ยุคจูแรสซิก→ยุคครีเทเชียส ยุคจูแรสซิก (Jurassic) เป็นยุคหนึ่งทางธรณีกาลของโลก อยู่ระหว่าง 199.6 ± 0.6 ถึง 145.4 ± 4.0 ล้านปีก่อน ยุคนี้อยู่หลังยุคไทรแอสซิกและอยู่ก่อนยุคครีเทเชียส ยุคนี้ถูกกำหนดช่วงเวลาจากชั้นหิน แต่ช่วงเวลาที่เกิดขึ้นจริงยังไม่สามารถระบุแน่นอน ตัวเลขปีที่ระบุข้างต้นมีโอกาสผิดพลาดได้ 5 ถึง 10 ล้านปี ชื่อจูแรสซิก ตั้งโดย อเล็กซานเดอร์ บรอกเนียร์ต (Alexandre Brogniart) จากปริมาณหินปูนที่สะสมเป็นจำนวนมากในชั้นหินที่ตรวจที่ภูเขาชูรา ตรงรายต่อระหว่างประเทศเยอรมนี ฝรั่งเศส และ สวิตเซอร์แลนด์ ยุคนี้ทำให้เกิดหนังเรื่องจูแรสซิกปาร.

ใหม่!!: พืชบกและยุคจูแรสซิก · ดูเพิ่มเติม »

ยุคครีเทเชียส

ูแรสซิก←ยุคครีเทเชียส→ยุคพาลีโอจีน ยุคครีเทเชียส (Cretaceous) เป็นยุคหนึ่งทางธรณีกาลของโลก อยู่ในมหายุคมีโซโซอิก ยุคครีเทเชียสอยู่ถัดจากยุคจูแรสซิก คือประมาณ 145.5 ± 4.0 ล้านปีก่อน และอยู่ก่อนหน้ายุคพาลีโอจีน หรือประมาณ 65.5 ล้านปีก่อนถึง 23.03 ล้านปีก่อน ถือเป็นยุคที่ยาวนานที่สุดและกินเวลาเกือบครึ่งหนึ่งของมหายุคมีโซโซอิก จุดสิ้นสุดของยุคครีเทเชียสเป็นรอยต่อระหว่างมหายุคมีโซโซอิกกับมหายุคซีโนโซอิก ชื่อ ครีเทเชียส มาจากภาษาลาติน creta แปลว่าชอล์ก ยุคนี้กำหนดโดยนักธรณีวิทยาชาวเบลเยียม ฌ็อง โดมาลิวส์ ดัลลัว (Jean d'Omalius d'Halloy) เมื่อ ค.ศ. 1822 โดยอาศัยชั้นหินในแอ่งปารีส และตั้งชื่อดังกล่าวจากปริมาณชาล์ก ซึ่งเป็นแคลเซียมคาร์บอเนตจากเปลือกของสัตว์ไม่มีกระดูกสันหลังในทะเล โดยเฉพาะค็อคโคลิท ที่พบในยุคครีเทเชียสตอนบน ในทวีปยุโรปและบนเกาะอังกฤษ ยุคครีเทเชียสเป็นยุคที่รุ่งเรืองที่สุดของไดโนเสาร์ และเมื่อปลายยุคครีเทเชียสเมื่อ 65 ล้านปีก่อน เกิดการสูญพันธุ์ครั้งใหญ่ทำให้สิ่งมีชีวิตถึง 94% สูญพันธุ์ ซึ่งรวมถึงไดโนเสาร์ด้ว.

ใหม่!!: พืชบกและยุคครีเทเชียส · ดูเพิ่มเติม »

ยุคไซลูเรียน

ออร์โดวิเชียน←ยุคไซลูเรียน→ยุคดีโวเนียน ยุคไซลูเรียน (Silurian) เป็นยุคที่สามของมหายุคพาลีโอโซอิกในธรณีกาล ยุคนี้เริ่มขึ้นหลังจากจุดสิ้นสุดของยุคออร์โดวิเชียน ประมาณ 443.8 ± 1.5 ล้านปีก่อน และสิ้นสุดในช่วงก่อนเริ่มยุคดีโวเนียน ประมาณ 419.2 ± 0.2 ล้านปีก่อน นักธรณีวิทยาได้ใช้การสูญพันธุ์ครั้งใหญ่ในยุคออร์โดวิเชียน-ไซลูเรียน เป็นตัวแบ่งยุคไซลูเรียนกับออร์โดวิเชียน ซึ่งจากการสูญพันธุ์นั้น ทำให้สิ่งมีชีวิตใต้ทะเลกว่า 60 % หายไป ในยุคนี้พืชน้ำและสาหร่าย ได้ปรับตัวเพื่อไม่ให้เกิดการสูญพันธุ์ โดยวิวัฒนาการมาเป็นพืชบก แต่พืชบกนี้พบได้แค่ตามชายทะเลเท่านั้น ในปลายยุคไซลูเรียนมีสัตว์บกเป็นครั้งแรก ซึ่งเป็นสัตว์ขาปล้องขนาดเล็ก แต่มันก็ยังมีจำนวนไม่มากและยังไม่ได้ขึ้นมาอาศัยบนบกทั้งหมด จนกระทั่งถึงยุคดีโวเนียน.

ใหม่!!: พืชบกและยุคไซลูเรียน · ดูเพิ่มเติม »

ยูแคริโอต

ูแคริโอต (eukaryote) คือ สิ่งมีชีวิตที่เซลล์มีนิวเคลียสและโครงสร้างอื่น (ออร์แกเนลล์) อยู่ภายในเยื่อหุ้มเซลล์ ยูแคริโอตเป็นหน่วยอนุกรมวิธาน ยูคาร์ยาหรือยูแคริโอตา อย่างเป็นทางการ เยื่อหุ้มนิวเคลียสเป็นโครงสร้างที่นิยามเซลล์ยูแคริโอตแยกจากเซลล์โปรแคริโอต โดยภายในเยื่อหุ้มนิวเคลียสมีสารพันธุกรรม การมีนิวเคลียสเป็นที่มาของชื่อยูแคริโอต ซึ่งมาจากภาษากรีก ευ (eu, "ดี") และ κάρυον (karyon, "ผลมีเมล็ดเดียว" หรือ "เมล็ด") เซลล์ยูแคริโอตส่วนใหญ่ยังมีออร์แกเนลล์ที่มีเยื่อหุ้มอื่นด้วย เช่น ไมโทคอนเดรียหรือกอลจิแอพพาราตัส นอกเหนือจากนี้ พืชและสาหร่ายยังมีคลอโรพลาสต์ สิ่งมีชีวิตเซลล์เดียวหลายชนิดเป็นยูแคริโอต เช่น โปรโตซัว แต่สิ่งมีชีวิตหลายเซลล์ทุกชนิดเป็นยูแคริโอต ซึ่งได้แก่ สัตว์ พืชและเห็ดรา การแบ่งเซลล์ในยูแคริโอตแตกต่างจากสิ่งมีชีวิตที่ไม่มีนิวเคลียส (โปรแคริโอต) มีกระบวนการแบ่งตัวสองประเภท คือ ไมโทซิสและไมโอซิส ไมโทซิสเป็นการที่เซลล์หนึ่งแบ่งตัวได้เซลล์ที่มีพันธุกรรมเหมือนกันสองเซลล์ ในไมโอซิสซึ่งจำเป็นในการสืบพันธุ์แบบอาศัยเพศ เซลล์ดิพลอยด์หนึ่ง (ซึ่งมีโครโมโซมสองชุด ชุดหนึ่งมาจากพ่อ อีกชุดหนึ่งมาจากแม่) มีการจับคู่โครโมโซมจากพ่อแม่แต่ละคู่ใหม่ แล้วผ่านการแบ่งเซลล์อีกสองขั้นตอน จนได้เซลล์แฮพลอยด์สี่เซลล์ (เซลล์สืบพันธุ์) เซลล์สืบพันธุ์แต่ละเซลล์มีโครโมโซมชุดเดียว ซึ่งเป็นการผสมโครโมโซมจากพ่อแม่คู่เดียวกัน โดเมนยูแคริโอตาดูเหมือนมาจากชาติพันธุ์เดียว (monophyletic) จึงเป็นหนึ่งในสามโดเมนของสิ่งมีชีวิต อีกสองโดเมน ได้แก่ แบคทีเรียและอาร์เคีย เป็นโปรแคริโอตและไม่มีคุณสมบัติที่กล่าวมาข้างต้น ยูแคริโอตเป็นสิ่งมีชีวิตส่วนน้อยมาก อย่างไรก็ดี เนื่องจากยูแคริโอตมีขนาดใหญ่กว่ามาก มวลชีวภาพรวมทั่วโลกจึงประมาณว่าเท่ากับมวลชีวภาพของโปรแคริโอตWhitman, Coleman, and Wiebe,, Proc.

ใหม่!!: พืชบกและยูแคริโอต · ดูเพิ่มเติม »

ราก

ราก ราก (อังกฤษ: root) เป็นอวัยวะส่วนหนึ่งของพืชที่งอกต่อลงมาจากลำต้น ทำหน้าที่ดูดลำเลียงน้ำและอาหาร ยึดค้ำจุนต้นพืชไม่ให้โค่นล้ม สร้างฮอร์โมนและหน้าที่อื่นๆตามลักษณะของราก หมวดหมู่:สรีรวิทยาของพืช หมวดหมู่:กายวิภาคศาสตร์ของพืช หมวดหมู่:พฤกษศาสตร์.

ใหม่!!: พืชบกและราก · ดูเพิ่มเติม »

สาหร่าย

หร่ายทะเลที่เกาะอยู่ตามหินชายฝั่ง สาหร่าย เป็นชื่อเรียกสิ่งมีชีวิตหลายชนิดในอาณาจักรโครมาลวีโอลาตา เอกซ์คาวาตา ไรซาเรีย มีลักษณะคล้ายพืช แต่ไม่มีส่วนที่เป็นราก ลำต้น และใบที่แท้จริง มีขนาดตั้งแต่เล็กมากมีเซลล์เดียว ไปจนถึงขนาดใหญ่ที่ประกอบด้วยเซลล์จำนวนมาก อาจเป็นเส้นสายหรือมีลักษณะคล้ายพืชชั้นสูงก็มี การแบ่งพวกสาหร่ายแบ่งตามรูปร่างลักษณะภายนอกหรือดูตามสี จึงมีสาหร่ายสีเขียว เขียวแกมน้ำเงิน น้ำตาล และสีแดง สาหร่ายสืบพันธุ์โดยไม่อาศัยเพศก็มี อาศัยเพศก็มี อย่าสับสนกับสาหร่ายบางชนิด เช่น สาหร่ายหางม้า สาหร่ายหางกระรอก สาหร่ายข้าวเหนียว สาหร่ายเหล่านี้ คือพืชดอกไม่ใช่โพรทิสต์ แหล่งที่อยู่ของสาหร่ายมีต่าง ๆ กัน ส่วนใหญ่อยู่ในน้ำ ทั้งน้ำจืด น้ำกร่อย น้ำเค็ม คุณค่าทางอาหารของสาหร่ายพบว่าไม่สูงมากนัก คาร์โบไฮเดรตที่มีอยู่เป็นพวกที่ย่อยยากในตัวคน โปรตีนก็มีน้อยแต่สิ่งที่ได้จากสาหร่าย คือ แร่ธาตุและวิตามินหลายชนิด นอกจากเป็นอาหารคน เช่น สาหร่ายอบกรอบ และปัจจุบันนำมาประกอบเป็นผลิตภัณฑ์ต่าง ๆ แล้วยังใช้เป็นอาหารสัตว์ เป็นปุ๋ยและเป็นยา สาหร่ายสีเขียวแกมน้ำเงิน สามารถจับไนโตรเจนในอากาศได้อย่างอิสระ (Nonsymbiotic Nitrogen Fixer) Anabaena, Oscillatoria, nostoc.

ใหม่!!: พืชบกและสาหร่าย · ดูเพิ่มเติม »

สาหร่ายสีเขียว

สาหร่ายสีเขียวเป็นสาหร่ายกลุ่มใหญ่ในส่วน Charophyta ที่พืชบก (Embryophyte) กำเนิดขึ้น สาหร่ายสีเขียวรวมสัตว์แส้ (flagellate) เซลล์เดียวและกลุ่ม (colony) ส่วนมากมีสองแฟกเจลลัมต่อเซลล์ ตลอดจนแบบกลุ่ม ทรงกลมหรือคล้ายเส้นด้าย และสาหร่ายทะเลที่เห็นได้ด้วยตาเปล่า ในอันดับ Charales ญาติใกล้ชิดที่สุดของพืชบก เกิดการเปลี่ยนสภาพของเซลล์เนื้อเยื่อสมบูรณ์ มีสาหร่ายสีเขียวราว 8,000 สปีชีส์ หลายสปีชีส์มีช่วงชีวิตส่วนใหญ่เป็นเซลล์เดียว แต่บ้างก็ก่อเป็นกลุ่ม (coenobia) สายเซลล์ยาว หรือสาหร่ายทะเลที่มองเห็นได้ด้วยตาเปล่าเปลี่ยนสภาพสูง.

ใหม่!!: พืชบกและสาหร่ายสีเขียว · ดูเพิ่มเติม »

สาหร่ายหางกระรอก

หร่ายหางกระรอก เป็นพืชชนิดเดียวในสกุล Hydrilla ลักษณะเป็นพืชใต้น้ำ ต้นเป็นสายเรียวยาว รากยึดติดพื้นดินหรืออาจลอยน้ำ ใบเป็นใบเดี่ยวรูปแถบแกมหอกหรือรูปไข่ ขอบใบจักฟันเลื่อย ออกรอบข้อ 3-8 ใบ กว้าง 1.5 มิลลิเมตร ยาว 8-40 มิลลิเมตร ดอกมีขนาดเล็กแยกเพศ ดอกเพศผู้ออกตามซอกใบ มีใบประดับหุ้ม กลีบเลี้ยงและกลีบดอกมีอย่างละ 3 กลีบ เกสรเพศผู้มี 3 อัน ดอกเพศเมียมีใบประดับหุ้มที่โคนก้าน มีกลีบเลี้ยงและกลีบดอกอย่างละ 3 กลีบเช่นเดียวกับดอกเพศผู้ มียอดเกสรเพศเมีย 3 อัน ผลคล้ายรูปทรงกระบอก มีขนาดเล็ก สาหร่ายหางกระรอกกระจายพันธุ์ในเขตอบอุ่นและเขตร้อนของซีกโลกตะวันออก ในสหรัฐจัดเป็นพืชรุกรานที่ทำความเสียหายต่อระบบเศรษฐกิจและสิ่งแวดล้อม สาหร่ายหางกระรอกนิยมปลูกเป็นไม้ประดับในตู้ปลา ในทางโภชนาการอุดมไปด้วยวิตามินบี12, เหล็กและแคลเซียม.

ใหม่!!: พืชบกและสาหร่ายหางกระรอก · ดูเพิ่มเติม »

สปอร์

ปอร์ของเฟิร์น สปอร์ของเห็ดรา ในทางชีววิทยา สปอร์เป็นโครงสร้างการสืบพันธุ์ของสิ่งมีชีวิตในสภาวะที่ไม่เหมาะสม เช่น เกิดความแห้งแล้ง พบในสิ่งมีชีวิตหลายชนิด เช่น พืช สาหร่าย เห็ดรา และโพรโทซัว การเกิดสปอร์เป็นได้ทั้งการสืบพันธุ์แบบไม่อาศัยเพศ และการสืบพันธุ์แบบอาศัยเพศ พบในเห็ดรา มอส เฟิร์น และ พืชตระกูลที่อยู่ในวงศ์ Fabaceae หรือ Leguminosae เป็นพืชกลุ่มใหญ่เป็นอันดับ 3 รองจากพืชวงศ์ทานตะวัน และพืชวงศ์กล้วยไม้ มีสมาชิกประมาณ 550 สกุล 18,000 สปีชีส์ พบกระจายไปทั่วโลก และสปอร์ ยังพบได้ในพืชกลุ่มที่มี สปอโรไฟต์ โดยศาสตรจารย์ Toukanong.Tkn ได้ค้นพบ สิ่งสำคัญทางชีวะวิทยา คือ พืชที่มี สปอร์ ที่ชื่อว่า เต่าคะนอง โดยพืชนี้ได้รับการลงความเห็นจากสหประชาชาติว่า อาจเป็นพืชต้นกำเนิดของพืชทั่วโลก ชื่อวิทยาศาสตร์: Fabaceae สายพันธุ์ที่เหนือกว่า: อันดับถั่ว ชั้น: วง.

ใหม่!!: พืชบกและสปอร์ · ดูเพิ่มเติม »

อาณาจักร (ชีววิทยา)

ในชีววิทยา, อาณาจักร เป็นระดับหรือหมู่ที่ใหญ่เกือบที่สุดของสิ่งมีชีวิต ใช้ในการการจัดหมวดหมู่สิ่งมีชีวิตในโลก นักอนุกรมวิธานมีความเห็นในการจัดหมวดหมู่แตกต่างกันไป เช่น แบ่งออกเป็น 5 อาณาจักร 6 อาณาจักร หรือ 8 อาณาจักร (แคมป์เบลล์, 1996) ซึ่งระบบที่เป็นที่นิยมใช้ในอดีตและปัจจุบันระบบหนึ่งคือระบบ 5 อาณาจักร ส่วนอีกระบบที่เริ่มแพร่หลายและคาดว่าจะได้รับความนิยมต่อไป คือระบบ 6 อาณาจักร 3 โดเมน.

ใหม่!!: พืชบกและอาณาจักร (ชีววิทยา) · ดูเพิ่มเติม »

ฮอร์นเวิร์ต

อร์นเวิร์ต เป็นพืชที่อยู่ในกลุ่ม ไบรโอไฟต์ หรือ พืชไม่มีท่อลำเลียง ซึ่งถูกบรรจุอยู่ในดิวิชัน Anthocerotophyta ชื่อสามัญในภาษาอังกฤษอ้างถึงรูปร่างของต้นสปอโรไฟต์ที่คล้ายเขา ต้นแกมีโทไฟต์อยู่ข้างล่าง รูปร่างแบน พบได้ทั่วโลก เจริญได้เฉพาะในที่ชุ่มชื้น บางชนิดมีขนาดใหญ่มาก ฮอร์นเวิร์ตในสกุล Dendroceros พบได้ตามเปลือกไม้ในเขตร้อนและกึ่งเขตร้อน.

ใหม่!!: พืชบกและฮอร์นเวิร์ต · ดูเพิ่มเติม »

ผนังเซลล์

แผนภูมิเซลล์พืช แสดงผนังเซลล์ด้วยสีเขียว ผนังเซลล์ (Cell wall) คือ ชั้นที่ล้อมเซลล์ซึ่งอยู่ถัดจากชั้นของเยื่อหุ้มเซลล์ มักพบอยู่ในพืช แบคทีเรีย อาร์เคีย เห็ดรา สาหร่าย แต่ไม่พบในสัตว์และโพรทิสต์ ผนังเซลล์ทำหน้าที่เป็นตัวค้ำจุนโครงสร้าง ปกป้องเซลล์ คัดกรองสาร และยังมีหน้าที่ป้องกันการขยายตัวมากเกินไปหากน้ำไหลผ่านเข้าสู่ภายในเซลล.

ใหม่!!: พืชบกและผนังเซลล์ · ดูเพิ่มเติม »

คลอโรฟิลล์

ลอโรฟิลล์พบได้ตามคลอโรพลาสต์ คลอโรฟิลล์ (Chlorophyll) เป็นสารประกอบที่พบได้ในส่วนที่มีสีเขียวของพืช โดยพบมากที่ใบของพืชนอกจากนี้ยังพบได้ที่แบคทีเรียที่สามารถสังเคราะห์ด้วยแสงได้ และยังพบได้ในสาหร่ายเกือบทุกชนิด นอกจากนี้คลอโรฟิลล์ทำหน้าที่เป็นโมเลกุลรับพลังงานจากแสง และนำพลังงานดังกล่าวไปใช้ในการสร้างพลังงานเคมีโดยกระบวนการสังเคราะห์ด้วยแสง เพื่อสร้างสารอินทรีย์ เช่น น้ำตาล และนำไปใช้เพื่อการดำรงชีวิต คลอโรฟิลล์ อยู่ในโครงสร้างที่เรียกว่า เยื่อหุ้มไทลาคอยล์ (Thylakoid membrane) ซึ่งเป็นเยื่อหุ้มที่อยู่ภายใน คลอโรพลาสต์ (Chloroplast) ภาคภูมิ พระประเสร.

ใหม่!!: พืชบกและคลอโรฟิลล์ · ดูเพิ่มเติม »

คลอโรพลาสต์

องค์ประกอบภายในของคลอโรพลาสต์ คลอโรพลาสต์ (Chloroplast) เป็นออร์แกแนลล์ภายในไซโทพลาสซึม ชนิดเยื่อยูนิตสองชั้น (Double unit membrane) ภายในเป็นของเหลวที่เรียกว่า (Stroma) ภายในสโตรมานี้มีชั้นที่พับไปมา เรียกว่ากรานูล บริเวณผิวของกรานูลนี้เรียกว่า ไทลาคอยด์ ซึ่งเป็นที่อยู่ของสารสีสำหรับการสังเคราะสโตรมาห์ด้วยแสง ระหว่างกรานูลมีเยื่อที่เชื่อมโยงแต่ละกรานูลไว้ เรียกว่าสโตรมาลาเมลลา (Stroma lamella) คลอโรพลาสต์ (chloroplast) เป็นออร์แกแนลที่พบในพืช เป็นพลาสติด ที่มีสีเขียว พบเฉพาะในเซลล์พืช และสาหร่าย เกือบทุกชนิด พลาสติดมีเยื่อหุ้มสองชั้น ภายในโครงสร้างพลาสติด จะมีเม็ดสี หรือรงควัตถุบรรจุอยู่ ถ้ามีเม็ดสีคลอโรฟิลล์ (chlorophyll) เรียกว่า คลอโรพลาสต์ ถ้ามีเม็ดสีชนิดอื่นๆ เช่น แคโรทีนอยด์ เรียกว่า โครโมพลาส พลาสติดไม่มีเม็ดสี เรียกว่า ลิวโคพลาสต์ (leucoplast) ทำหน้าที่ เป็นแหล่งเก็บสะสมโปรตีน หรือเก็บสะสมแป้ง ที่เรียกว่า เม็ดสี (starch grains) เรียกว่า amyloplast ซึ่งส่วนใหญ่เป็นสารคลอโรฟิลล์ ภายในคลอโรพลาสต์ ประกอบด้วยส่วนที่เป็นของเหลว เรียกว่า สโตรมา (stroma) มีเอนไซม์ที่เกี่ยวข้อง กับการสังเคราะห์ด้วยแสง แบบที่ไม่ต้องใช้แสง (dark reaction) มี DNA RNA และไรโบโซม และเอนไซม์อีกหลายชนิด ปะปนกันอยู่ ในของเหลวเป็นเยื่อลักษณะคล้ายเหรียญ ที่เรียงซ้อนกันอยู่ เรียกว่า กรานา (grana) ระหว่างกรานา จะมีเยื่อเมมเบรน เชื่อมให้กรานาติดต่อถึงกัน เรียกว่า อินเตอร์กรานา (intergrana) หน่วยย่อย ซึ่งเปรียบเสมือน เหรียญแต่ละอัน เรียกเหรียญแต่ละอันว่า กรานาลาเมลลา (grana lamella) หรือ กรานาไทลาคอยด์ (grana thylakoid) ไทลาคอยด์ในตั้งเดียวกัน ส่วนที่เชื่อมติดกัน เรียกว่า สโตรมา ไทลาคอยด์ (stroma thylakoid) ไม่มีทางติดต่อกันได้ แต่อาจติดกับไทลาคอยด์ในตั้งอื่น หรือกรานาอื่นได้ ทั้งกรานา และอินเตอร์กรานา เป็นที่อยู่ของคลอโรฟิลล์ รงควัตถุอื่นๆ และพวกเอนไซม์ ที่เกี่ยวข้อง กับการสังเคราะห์ด้วยแสง แบบที่ต้องใช้แสง (light reaction) บรรจุอยู่ หน้าที่สำคัญ ของคลอโรพลาส คือ การสังเคราะห์ด้วยแสง (photosynthesis) โดยแสงสีแดง และแสงสีน้ำเงิน เหมาะสม ต่อการสังเคราะห์ ด้วยแสงมากที.

ใหม่!!: พืชบกและคลอโรพลาสต์ · ดูเพิ่มเติม »

คาร์บอนไดออกไซด์

ร์บอนไดออกไซด์ (carbon dioxide) หรือ CO2 เป็นก๊าซไม่มีสี ซึ่งหากหายใจเอาก๊าซนี้เข้าไปในปริมาณมากๆ จะรู้สึกเปรี้ยวที่ปาก เกิดการระคายเคืองที่จมูกและคอ และหาจยใจไม่ออกเนื่องจากอาจเกิดการละลายของแก๊สนี้ในเมือกในอวัยวะ ก่อให้เกิดกรดคาร์บอนิกอย่างอ่อน คาร์บอนไดออกไซด์มีความหนาแน่น 1.98 kg/m3 ซึ่งเป็นประมาณ 1.5 เท่าของอากาศ โมเลกุลประกอบด้วยพันธะคู่ 2 พันธะ (O.

ใหม่!!: พืชบกและคาร์บอนไดออกไซด์ · ดูเพิ่มเติม »

ปรง

ปรง (Cycad) เป็นพืชที่มีขนาดเล็กคล้ายกับใบของปาล์ม แต่การเรียงตัวของใบนั้นคล้ายกับเฟิร์นข้าหลวง คือมีการเรียงตัวอยู่รอบ ๆ ศูนย์กลางของลำตัว ปรงเป็นพืชที่เลี้ยงง่าย เจริญเติบโตช้ามาก คือ 1 ปีจะเกิดใบเพียงแค่ใบ เดียวเท่านั้น ปรงสามารถทนต่อการขาดน้ำได้เป็นอย่างดีและถ้าขาดน้ำนาน ๆ ใบของปรงจะแห้งเหี่ยวตายไป แต่พอได้รับน้ำอีกครั้งใบก็จะเกิดขึ้นมาใหม่อีกครั้งหนึ่ง.

ใหม่!!: พืชบกและปรง · ดูเพิ่มเติม »

แฟลเจลลัม

แฟลกเจลลาของแบคทีเรียแกรมลบ แฟลเจลลัม (flagellum, พหูพจน์: flagella) เป็นเส้นใยขนาดยาว ที่ยืดยาวออกมาจากเซลล์ มีลักษณะการเคลื่อนที่คล้ายแส้ ช่วยให้เซลล์เคลื่อนที่ไปข้างหน้า ประกอบด้วยการจัดตัวของไมโครทูบูลเป็น 9+2 เช่นเดียวกับซิเลีย แต่มีจำนวนเส้นต่อเซลล์น้อยกว่า บริเวณโคนของแฟลเจลลัมจะยึดกับโครงสร้างภายในเซลล์ที่รียกว่า เบซัลบอดี (basal body) หรือ ไคนีโทโซม (kinetosome)ซึ่งมีการจัดเรียงตัวของไมโครทูบูลเป็น 9+0 ถ้าตัดเบซัลบอดีออก แฟลกเจลลานั้นจะเสียความสามารถในการทำให้เซลล์เคลื่อนที่ แฟลเจลลัมของเซลล์จำพวกยูคาริโอตนั้น จะโบกพัดไปมาคล้ายตัว S และถูกล้อมรอบไปด้วยเยื่อหุ้มเซลล์ หมวดหมู่:เซลล์ หมวดหมู่:ออร์แกเนลล์.

ใหม่!!: พืชบกและแฟลเจลลัม · ดูเพิ่มเติม »

แวคิวโอล

รูปเซลล์สัตว์ทั่วไปแสดงถึงองค์ประกอบภายในเซลล์. ออร์แกเนลล์: (1) นิวคลีโอลัส (2) นิวเคลียส (3) ไรโบโซม (จุดเล็กๆ) (4) เวสิเคิล (5) เอนโดพลาสมิกเรติคูลัมแบบหยาบ (6) กอลจิแอปพาราตัส (7) ไซโตสเกลเลตอน (8) เอนโดพลาสมิกเรติคูลัมแบบเรียบ (9) ไมโทคอนเดรีย (10) แวคิวโอล (11) ไซโทพลาซึม (12) ไลโซโซม (13) เซนทริโอลภายในเซนโทรโซม แวคิวโอล (Vacuole) เป็นช่องๆ ล้อมรอบด้วยเมมเบรนชนิดเยื่อยูนิตชั้นเดียว อยู่ภายในเซลล์ยูแคริโอต (eukaryotic cell) บางชนิด พบในเซลล์พืชส่วนใหญ่และสัตว์หลายชนิด โดยแวคิวโอลในสัตว์มักเล็กกว่าในพืช แวคิวโอลสามารถทำหน้าที่เป็นที่เก็บ หลั่ง และถ่ายของเหลวภายในเซลล์ แวคิวโอลและสารภายในถือว่าแตกต่างจากไซโตพลาสซึม สามารถแบ่งออกได้ 3 ประเภท คือ.

ใหม่!!: พืชบกและแวคิวโอล · ดูเพิ่มเติม »

แปะก๊วย

''Ginkgo biloba'' แปะก๊วย (;) เป็นพืชสมุนไพรที่มีต้นกำเนิดจากทางตะวันออกของประเทศจีน (แถบภูเขาด้านตะวันตกของนครเซี่ยงไฮ้) ที่มีการแยกต้นเป็นเพศผู้ และเพศเมีย ใบมีลักษณะคล้ายใบพัด แยกออกเป็น 2 กลีบพบว่ามีการนำเข้าไปปลูกในประเทศญี่ปุ่น พร้อมกับการเผยแผ่ศาสนาพุทธนิกายเซน เมื่อประมาณ ช่วงราว..

ใหม่!!: พืชบกและแปะก๊วย · ดูเพิ่มเติม »

ใบไม้

ใบไม้ โครงเส้นใบของใบไม้ ใบไม้ (leaf) เป็นส่วนที่สร้างอาหารโดยกระบวนการสังเคราะห์ด้วยแสง ใบไม้มีขนาดและรูปร่างแตกต่างกันหลายแบบแบ่งเป็น 2 แบบใหญ่ๆ ตามลักษณะที่แตกต่างกัน รูปพหูพจน์ของ leaf คือ leaves ส่วน foliage เป็นกลุ่มคำนามที่ใช้อธิบายว่าใบเป็นส่วนประกอบหนึ่งของพื.

ใหม่!!: พืชบกและใบไม้ · ดูเพิ่มเติม »

ไฟลัม

ฟลัม (phylum) เป็นขั้นอนุกรมวิธานขั้นหนึ่งในการจำแนกสัตว์ในทางวิทยาศาสตร์ (ในทางพืชนิยมใช้คำว่า ส่วน แทนไฟลัม ไฟลัมถือเป็นการจัดกลุ่มในขั้นสูงที่สุดแยกตามสายวิวัฒนาการ แต่บางครั้งก็มีการรวมไฟลัมเป็นไฟลัมใหญ่ (superphylum) อีกทีหนึ่ง เช่น สัตว์ที่มีการลอกคราบในการเจริญเติบโต (Echdysozoa) ประกอบด้วยสัตว์มีเปลือกแข็งและหนอนตัวกลม และ สัตว์ที่มีช่องปากเกิดภายหลังช่องทวาร (Deuterostomia) ประกอบด้วยปลาดาวและสัตว์มีแกนสันหลัง ไฟลัมของสัตว์ที่รู้จักกันมากที่สุด ได้แก่ มอลลัสกา, ฟองน้ำ, ไนดาเรีย, หนอนตัวแบน, นีมาโทดา, หนอนปล้อง, สัตว์ขาปล้อง, เอคคิโนเดอร์มาทา และสัตว์มีแกนสันหลัง (ซึ่งมนุษย์อยู่ในไฟลัมนี้) ถึงแม้ว่าจะมีไฟลัมทั้งหมดประมาณ 35 ไฟล่า (หน่วยของไฟลัม) ไฟลัมที่กล่าวทั้ง 9 ตัวนี้ครอบคลุมสปีชีส์ส่วนใหญ่ และทุกไฟลัมยกเว้นหนอนกำมะหยี่ ต่างก็มีสมาชิกอาศัยในมหาสมุทร.

ใหม่!!: พืชบกและไฟลัม · ดูเพิ่มเติม »

ไฟลัมไลโคไฟตา

วิชันไลโคไฟตา (Lycophyta, Lycopodiophyta, Lycopods) เป็นไฟลัมของพืชมีท่อลำเลียง เป็นพืชโบราณ เริ่มเกิดขึ้นเมื่อ 410 ล้านปีที่แล้ว ลักษณะทั่วไป ลำต้นแตกแขนงเป็น 2 แฉก และแตกย่อยออกไปอีกในลักษณะเดิม บางสปีชีส์จะแตกเป็น 2 แขนงไม่เท่ากัน แขนงที่สั้นกว่าจะสร้างสปอร์ ใบเป็นแบบไมโครฟิลล์ ขนาดเล็กเรียงตัวแบบเกลียว สืบพันธุ์แบบไม่อาศัยเพศโดยการแตกหน่อเล็กๆเรียก Bulbil มีรากอันแรกที่เกิดจากเอ็มบริโอและมีรากพิเศษเกิดจากเพอริไซเคิลของลำต้น ตัวอย่างพืชกลุ่มนี้ได้แก่ สามร้อยยอด ช้องนางคลี่ สร้อยหางสิงห.

ใหม่!!: พืชบกและไฟลัมไลโคไฟตา · ดูเพิ่มเติม »

ไม้ต้น

ต้นซากุระ ไม้ต้น คือ พืชนานปีซึ่งมีลำต้นยาว กิ่งและใบในสปีชีส์ส่วนใหญ่ บางครั้ง นิยามคำว่าไม้ต้นอาจแคบลง โดยรวมเฉพาะพืชไม้ (woody plant) เท่านั้น คือ พืชที่ใช้เป็นไม้หรืความสูงกว่าที่กำหนด ในความหมายกว้างที่สุด ไม้ต้นรวมปาล์ม เฟิร์นต้น กล้วยและไผ่ ไม้ต้นมักมีอายุยืน บางต้นอยู่ได้หลายพันปี ต้นที่สูงที่สุดบนโลกมีความสูง 115.6 เมตร และมีความสูงได้มากที่สุดตามทฤษฎี 130 เมตร ไม้ต้นอุบัติขึ้นบนโลกเป็นเวลาราว 370 ล้านปีแล้ว ไม้ต้นมิใช่กลุ่มทางอนุกรมวิธาน แต่เป็นกลุ่มพืชไม่เกี่ยวข้องกันที่วิวัฒนาลำต้นและกิ่งไม้เพื่อให้สูงเหนือพืชอื่นและใช้ประโยชน์จากแสงอาทิตย์ให้ได้มากที.

ใหม่!!: พืชบกและไม้ต้น · ดูเพิ่มเติม »

ไข่

อาจหมายถึง.

ใหม่!!: พืชบกและไข่ · ดูเพิ่มเติม »

เฟิร์น

ฟิร์น หรือ เฟิน (fern) เป็นหนึ่งในกลุ่มของพืชที่มีราว ๆ 20,000 สปีชีส์ ที่ถูกจำแนกในไฟลัม Pteridophyta หรือ Filicophyta พืชกลุ่มนี้ยังเป็น Polypodiophyta หรือ Polypodiopsida ด้วย เมื่อถือตามส่วนย่อยของพืชมีท่อลำเลียง คำว่า เทอริโดไฟต์ (pteridophyte) ใช้เพื่อกล่าวถึงพืชมีท่อลำเลียงที่ไม่มีเมล็ดทั้งหมด ทำให้มันหมายถึง "เฟิร์นและพืชใกล้เคียงเฟิร์น" ซึ่งสามารถสร้างความสับสนเมื่อสมาชิกของเฟิร์นในส่วน Pteridophyta บางครั้งอ้างเป็นเทอริโดไฟต์ได้ด้วยเหมือนกัน การศึกษาในเรื่องของเฟิร์นและเทอริโดไฟต์อื่น ๆ เรียกว่า วิทยาเฟิร์น (Pteridology).

ใหม่!!: พืชบกและเฟิร์น · ดูเพิ่มเติม »

เซลลูโลส

มเลกุลเซลลูโลส (conformation Iα), เส้นประแสดง พันธะไฮโดรเจน ภายในและระหว่างโมเลกุล เซลลูโลส (C6H10O5) n เป็นสารประกอบอินทรีย์ที่เกิดจากกลูโคสประมาณ 50,000 โมเลกุลมาเชื่อมต่อกันเป็นสายยาว แต่ละสายของสายของเซลลูโลสเรียงขนานกันไป มีแรงยึดเหนี่ยวระหว่างสาย ทำให้มีลักษณะเป็นเส้นใย สะสมไว้ในพืช ไม่พบในเซลล์สัตว์ เซลลูโลสไม่ละลายน้ำและร่างกายของมนุษย์ไม่สามารถย่อยสลายได้ แต่ในกระเพาะของวัว ควาย ม้า และสัตว์ที่เท้ามีกีบ มีแบคทีเรียที่สามารถย่อยสลายเซลลูโลสให้เป็นกลูโคสได้ ถึงแม้ว่าร่างกายของมนุษย์จะย่อยเซลลูโลสไม่ได้ แต่เซลลูโลสจะช่วยในการกระตุ้นลำไส้ใหญ่ให้เคลื่อนไหว เส้นใยบางชนิดสามารถดูดซับน้ำได้ดี จึงทำให้อุจจาระอ่อนนุ่ม ขับถ่ายง่าย ท้องไม่ผูก ลดโอกาสการการเกิดโรคริดสีดวงทวาร เซลลูโลสเมื่อถูกย่อยจะแตกตัวออก ให้น้ำตาลกลูโคสจำนวนมาก.

ใหม่!!: พืชบกและเซลลูโลส · ดูเพิ่มเติม »

เซลล์สืบพันธุ์

เซลล์สืบพันธุ์ (gamete) เป็นผลสุดท้ายจากการเกิดเซลล์สืบพันธุ์ (gametogenesis) ในสิ่งมีชีวิตที่ขยายพันธุ์แบบอาศัยเพศ แกมีตจะรวมเข้ากับแกมีตอื่นในการปฏิสนธิ (fertilization) กลายเป็นไซโกต (zygote) จากนั้นไซโกตจึงเจริญเป็นเอ็มบริโอ (embryo) หรือตัวอ่อนของสิ่งมีชีวิตนั้น แกมีตในเพศผู้เรียกว่า สเปิร์ม (sperm) ส่วนแกมีตในเพศเมียเรียกว่า โอวุม (ovum) ซึ่งมีขนาดใหญ่ว่าแกมีตของเพศผู้มาก หมวดหมู่:พันธุศาสตร์คลาสสิก หมวดหมู่:เซลล์สืบพันธุ์ หมวดหมู่:วิวัฒนาการ หมวดหมู่:ระบบสืบพันธุ์.

ใหม่!!: พืชบกและเซลล์สืบพันธุ์ · ดูเพิ่มเติม »

เซนทริโอล

Schematic of centriole showing microtubule triplets Three-dimensional view of a centriole Centrioles from common shore crab hepatopancreas เซนทริโอล (centriole) เป็นออร์แกเนลล์ส่วนที่อยู่ใกล้นิวเคลียส พบในเซลล์สัตว์ และโพรทิสต์บางชนิด มีขนาดเล็ก ใส มีรัศมีแผ่ออกมาโดยรอบมีรูปร่างคล้ายท่อทรงกระบอก ในแต่ละเซลล์จะมีเซนทริโอล 2 อัน เรียงในลักษณะตั้งฉากกัน หน้าที่ของเซนทริโอล คือ ช่วยในการเคลื่อนที่ของโครโมโซมในขณะที่มีการแบ่ง เซลล์ ช่วยในการเคลื่อนที่ของเซลล์บางชนิด หมวดหมู่:ออร์แกเนลล์.

ใหม่!!: พืชบกและเซนทริโอล · ดูเพิ่มเติม »

ขาออกขาเข้า
Hey! เราอยู่ใน Facebook ตอนนี้! »