โลโก้
ยูเนี่ยนพีเดีย
การสื่อสาร
ดาวน์โหลดได้จาก Google Play
ใหม่! ดาวน์โหลด ยูเนี่ยนพีเดีย บน Android ™ของคุณ!
ฟรี
เร็วกว่าเบราว์เซอร์!
 

พี่น้องตระกูลกริมม์

ดัชนี พี่น้องตระกูลกริมม์

วิลเฮล์ม กริมม์ (ซ้าย) และยาค็อบ กริมม์ (ขวา) ภาพวาดโดย เอลิซาเบธ เจริโช-โบแมน ค.ศ. 1855 พี่น้องตระกูลกริมม์ (The Brothers Grimm; Die Gebrüder Grimm) ยาค็อบ กริมม์ (ค.ศ. 1785–1863) และวิลเฮล์ม กริมม์ (ค.ศ. 1786–1859) เป็นนักวิชาการชาวเยอรมันซึ่งเป็นที่รู้จักโด่งดังจากผลงานการรวบรวมนิทานพื้นบ้านและเทพนิยาย รวมถึงผลงานเกี่ยวกับวิวัฒนาการทางภาษาที่มีการเปลี่ยนแปลงตามกาลเวลา นับว่าเป็นนักเล่านิทานที่มีชื่อเสียงมากที่สุดคู่หนึ่งในยุโรป ซึ่งทำให้เทพนิยายมากมายแพร่หลายไปทั่วโลก เช่น รัมเพลสทิลสกิน, สโนไวท์, ราพันเซล, ซินเดอเรลล่า และ แฮนเซลและเกรเธล.

18 ความสัมพันธ์: ชาร์ล แปโรพ.ศ. 2397พ.ศ. 2402พ.ศ. 2406ภาษาเยอรมันราพันเซลสโนว์ไวต์หนูน้อยหมวกแดงทวีปยุโรปซินเดอเรลล่าปรัสเซียนิทานพื้นบ้านแฟรงก์เฟิร์ตเบอร์ลินเยอรมันเทพนิยาย16 ธันวาคม20 กันยายน

ชาร์ล แปโร

ร์ล แปโร (Charles Perrault; 12 มกราคม ค.ศ. 1628-16 พฤษภาคม ค.ศ. 1703) เป็นนักเขียนชาวฝรั่งเศสผู้วางรากฐานวรรณกรรมในยุคใหม่และวรรณกรรมประเภทเทพนิยาย มีชื่อเสียงมากจากผลงานเรื่อง Le Petit Chaperon rouge (หนูน้อยหมวกแดง) La Belle au bois dormant (เจ้าหญิงนิทรา) Le Maître chat ou le Chat botté (แมวน้อยในรองเท้าบูต) Cendrillon ou la petite pantoufle de verre (ซินเดอเรลล่า) และเทพนิยายอื่นๆ อีกมากมาย ผลงานของแปร์โรลด์ยังมีการตีพิมพ์เพิ่มอยู่จนถึงทุกวันนี้ และได้รับการดัดแปลงไปเป็นอุปรากรโอเปร่า บัลเล่ต์ ละครเวที ละครเพลง ภาพยนตร์ และภาพยนตร์การ์ตูนมากม.

ใหม่!!: พี่น้องตระกูลกริมม์และชาร์ล แปโร · ดูเพิ่มเติม »

พ.ศ. 2397

ทธศักราช 2397 ตรงกับปีคริสต์ศักราช 1854.

ใหม่!!: พี่น้องตระกูลกริมม์และพ.ศ. 2397 · ดูเพิ่มเติม »

พ.ศ. 2402

ทธศักราช 2402 ตรงกับปีคริสต์ศักราช 1859.

ใหม่!!: พี่น้องตระกูลกริมม์และพ.ศ. 2402 · ดูเพิ่มเติม »

พ.ศ. 2406

ทธศักราช 2406 ตรงกับปีคริสต์ศักราช 1863.

ใหม่!!: พี่น้องตระกูลกริมม์และพ.ศ. 2406 · ดูเพิ่มเติม »

ภาษาเยอรมัน

ษาเยอรมัน (German; Deutsch) เป็นภาษากลุ่มเจอร์แมนิกด้านตะวันตก และเป็นภาษาที่มีคนพูดเป็นภาษาแม่มากที่สุดในสหภาพยุโรป ส่วนใหญ่พูดในประเทศเยอรมนี ออสเตรีย ลิกเตนสไตน์ ส่วนมากของสวิตเซอร์แลนด์ ลักเซมเบิร์ก แคว้นปกครองตนเองเตรนตีโน-อัลโตอาดีเจในอิตาลี แคว้นทางตะวันออกของเบลเยียม บางส่วนของโรมาเนีย แคว้นอาลซัสและบางส่วนของแคว้นลอแรนในฝรั่งเศส นอกจากนี้ อาณานิคมเดิมของประเทศเหล่านี้ เช่น นามิเบีย มีประชากรที่พูดภาษาเยอรมันได้พอประมาณ และยังมีชนกลุ่มน้อยที่พูดภาษาเยอรมันในหลายประเทศทางยุโรปตะวันออก เช่น รัสเซีย ฮังการี และสโลวีเนีย รวมถึงอเมริกาเหนือ (โดยเฉพาะสหรัฐอเมริกา) รวมถึงบางประเทศในละตินอเมริกา เช่น อาร์เจนตินา และในบราซิล โดยเฉพาะในรัฐ รีโอกรันดีโดซูล ซันตากาตารีนา ปารานา และเอสปีรีตูซันตู ชาวอามิช รวมถึงชาวเมนโนไนต์บางคนก็เป็นภาษาเยอรมันอย่างหนึ่ง ประมาณ 120 ล้านคน คือ 1/4 ของชาวยุโรปทั้งหมด พูดภาษาเยอรมัน ภาษาเยอรมันเป็นภาษาต่างประเทศที่สอนทั่วโลกมาเป็นอันดับ 3 และเป็นภาษาต่างประเทศที่สอนมากที่สุดเป็นอันดับ 2 ในยุโรป (เป็นรองภาษาอังกฤษ) สหรัฐอเมริกา และเอเชียตะวันออก (ประเทศญี่ปุ่น) เป็นหนึ่งในภาษาราชการของสหภาพยุโรป ผู้รู้ภาษาเยอรมันในกลุ่มประเทศสหภาพยุโรป.

ใหม่!!: พี่น้องตระกูลกริมม์และภาษาเยอรมัน · ดูเพิ่มเติม »

ราพันเซล

ประกอบสำหรับเทพนิยายพี่น้องตระกูลกริมม์ ราพันเซล (Rapunzel) เป็นเทพนิยายเยอรมันในงานสะสมที่พี่น้องตระกูลกริมม์รวบรวม ตีพิมพ์ครั้งแรกใน..

ใหม่!!: พี่น้องตระกูลกริมม์และราพันเซล · ดูเพิ่มเติม »

สโนว์ไวต์

วาดสโนว์ไวต์ในโลงศพแก้ว ของ ธีโอดอร์ ฮอสมัน สโนว์ไวต์ (Schneewittchen; Schneeweißchen, Snow White) เป็นชื่อของเทพนิยายอันโด่งดังในยุโรป และเป็นที่รู้จักกันทั่วโลก รวมไปถึงประเทศไทยด้วยเช่นกัน เทพนิยายเรื่องนี้ตั้งชื่อขึ้นตามตัวเอกของเรื่อง โดยดังเดิมเป็นนิทานพื้นบ้านของยุโรป ได้รับการเล่าขานกันมาต่าง ๆ กัน แต่เทพนิยายเรื่องสโนว์ไวต์ที่เรารู้จักกันดีที่สุด มาจากบทประพันธ์ในภาษาเยอรมันของ พี่น้องตระกูลกริมม์ โดยพี่น้องตระกูลกริมม์ได้เพิ่มตัวละครส่วนประกอบที่ทำให้เรื่องราวน่าสนใจยิ่งขึ้น อาทิ กระจกวิเศษ และ คนแคระทั้งเจ็ด เป็นต้น ต่อมาเมื่อปี ค.ศ. 1937 ทางดิสนีย์ได้ดัดแปลงเทพนิยายเรื่องนี้ในรูปแบบภาพยนตร์การ์ตูน โดยใช้ชื่อว่า สโนว์ไวต์กับคนแคระทั้งเจ็ด เหตุที่ทางดิสนีย์เลือกใช้ชื่อนี้ เพื่อไม่ให้เกิดความสับสนกับเทพนิยายของพี่น้องตระกูลกริมม์ เรื่องสโนว์ไวต์กับดอกกุหลาบแดง โดยในการเขียนบทภาพยนตร์เรื่อง สโนว์ไวต์กับคนแคระทั้งเจ็ด เป็นครั้งแรกที่มีการตั้งชื่อให้แก่คนแคระทั้งเจ็ด เทพนิยายเรื่องสโนว์ไวต์ในภาษาอื่น ๆ มีบทบาทที่แตกต่างกัน เช่น ในบางชาติได้แต่งบทให้คนแคระทั้งเจ็ดเป็นโจร หรือให้ราชินีพูดคุยกับดวงอาทิตย์ หรือดวงจันทร์ แทนกระจกวิเศษ เป็นต้น ในบทประพันธ์ฉบับอัลบาเนีย รวบรวมโดย โยฮันน์ จอร์จ ฟอน ฮาห์น และตีพิมพ์เป็นภาษากรีก และภาษาอัลบาเนีย เมื่อปี..

ใหม่!!: พี่น้องตระกูลกริมม์และสโนว์ไวต์ · ดูเพิ่มเติม »

หนูน้อยหมวกแดง

วาด "หนูน้อยหมวกแดง" ของ จอร์จ เฟรเดอริก วัตต์ ที่พิพิธภัณฑ์ศิลปะเบอร์มิงแฮม หนูน้อยหมวกแดง เป็นนิทานพื้นบ้านสำหรับเด็ก ที่แพร่หลายไปหลายประเทศ เป็นเรื่องที่เล่าสืบต่อกันมาเป็นเวลานาน ซึ่งเนื้อเรื่องก็ได้มีการเปลี่ยนแปลงไปตามกาลเวลา ชื่อเรื่องในภาษาต่างประเทศก็มี Little Red Riding Hood, Little Red Cap, La finta nonna, Le Petit Chaperon Rouge และ Rotkäppchen.

ใหม่!!: พี่น้องตระกูลกริมม์และหนูน้อยหมวกแดง · ดูเพิ่มเติม »

ทวีปยุโรป

ทวีปยุโรป (อ่านว่า "ยุ-โหฺรบ") มีฐานะเป็นทวีปทั้งในแง่ประวัติศาสตร์และวัฒนธรรม ในทางภูมิศาสตร์ ยุโรปเป็นอนุทวีปที่อยู่ทางด้านตะวันตกของมหาทวีปยูเรเชีย ยุโรปมีพรมแดนทางเหนือติดกับมหาสมุทรอาร์กติก ทางตะวันตกติดกับมหาสมุทรแอตแลนติก ทางใต้ติดกับทะเลเมดิเตอร์เรเนียนและทะเลดำ ด้านตะวันออกติดกับเทือกเขายูรัลและทะเลแคสเปียน "Europe" (pp. 68-9); "Asia" (pp. 90-1): "A commonly accepted division between Asia and Europe...

ใหม่!!: พี่น้องตระกูลกริมม์และทวีปยุโรป · ดูเพิ่มเติม »

ซินเดอเรลล่า

ียนของกุสตาฟ โดเร เรื่อง ''Cendrillon'' ซินเดอเรลล่า (Cinderella; Cendrillon) เป็นเทพนิยายปรัมปราที่ได้รับความนิยมเป็นอย่างสูงทั่วทั้งโลก มีการดัดแปลงเป็นรูปแบบต่าง ๆ มากมายกว่าพันครั้ง เนื้อเรื่องเกี่ยวกับเด็กสาวกำพร้าผู้หนึ่งที่อยู่ในอุปถัมภ์ของแม่เลี้ยงกับพี่สาวบุญธรรมสองคน แต่ถูกทารุณและใช้งานเยี่ยงทาส ต่อภายหลังจึงได้พบรักกับเจ้าเมืองหรือเจ้าชายผู้สูงศักดิ์ ตำนานซินเดอเรลล่ามีปรากฏในเทพนิยายหรือนิทานพื้นบ้านประเทศต่าง ๆ ทั่วทั้งโลกโดยมีชื่อของตัวเอกแตกต่างกันออกไป ทว่าฉบับที่มีชื่อเสียงที่สุดเป็นของนักเขียนชาวฝรั่งเศสชื่อ ชาร์ล แปโร ในปี ค.ศ. 1697 ซึ่งอิงมาจากวรรณกรรมของ จิอัมบัตติสตา เบซิล เรื่อง La Gatta Cenerentola ในปี ค.ศ. 1634 ในเรื่องนี้ตัวเอกมีชื่อว่า เอลลา (Ella) แต่แม่เลี้ยงกับพี่สาวใจร้ายของเธอพากันเรียกเธอว่า ซินเดอเรลล่า (Cinderella) อันหมายถึง "เอลลาผู้มอมแมม" ซึ่งกลายเป็นชื่อเรียกเทพนิยายในโครงเรื่องนี้โดยทั่วไป ซินเดอเรลล่า ได้รับการโหวตจากเด็ก ๆ กว่า 1,200 คนจากการสำรวจโดย cinema chain UCI เป็นเทพนิยายยอดนิยมอันดับหนึ่งในดวงใจ เมื่อปี..

ใหม่!!: พี่น้องตระกูลกริมม์และซินเดอเรลล่า · ดูเพิ่มเติม »

ปรัสเซีย

ปรัสเซีย (Prussia) หรือ พร็อยเซิน (Preußen) หรือ โบรุสเซีย (ละติน: Borussia) เป็นรัฐที่รุ่งเรืองที่สุดในบรรดารัฐทั้งหลายของชนชาติเยอรมัน มีจุดกำเนิดจากดัชชีปรัสเซียและรัฐมาร์เกรฟบรันเดินบวร์ค อันเป็นรัฐหนึ่งของจักรวรรดิโรมันอันศักดิ์สิทธิ์ซึ่งตั้งอยู่ตอนกลางของภูมิภาคที่ชื่อว่าพร็อยเซิน รัฐแห่งนี้ถูกปกครองโดยราชวงศ์โฮเอินโซลเลิร์นเป็นเวลาหลายศตวรรษ การมีกองทัพที่เข็มแข็งทำให้ปรัสเซียประสบความสำเร็จในการแผ่ขยายดินแดน ปรัสเซียมีเมืองหลวงเดิมอยู่ที่เคอนิจส์แบร์กก่อนที่จะย้ายเมืองหลวงไปยังเบอร์ลินในปี 1701 ในการประชุมใหญ่แห่งเวียนนา (ปี 1814–15) ซึ่งจัดระเบียบทวีปยุโรปเสียใหม่ภายหลังถูกทำให้ปั่นป่วนจากสงครามนโปเลียน ปรัสเซียได้รับดินแดนส่วนใหญ่ทางตะวันตกเฉียงเหนือของเยอรมนีซึ่งรวมถึงรัฐร่ำรวยถ่านหินอย่างรัฐรูร์ (Ruhr) อิทธิพลทางเศรษฐกิจและทางการเมืองของปรัสเซียได้เติบโตอย่างรวดเร็ว ปรัสเซีบกลายเป็นหัวใจของสมาพันธรัฐเยอรมันเหนือในปี 1867 และของจักรวรรดิเยอรมันในปี 1871 ปรัสเซียในยุคจักรวรรดิเยอรมนี้มีอาณาเขตไพศาลมากกว่ารัฐเยอรมันที่เหลือรวมกันเสียอีก ชนชั้นนำของปรัสเซียมักจะระบุว่าตัวเองนั้นเป็น "ชาวเยอรมัน" มากกว่าบอกว่าตัวเองนั้นเป็น "ชาวปรัสเซีย".

ใหม่!!: พี่น้องตระกูลกริมม์และปรัสเซีย · ดูเพิ่มเติม »

นิทานพื้นบ้าน

นิทานพื้นบ้าน (folktale) เป็นนิทานประเภทหนึ่ง เป็นเรื่องราวที่เล่าสืบต่อกันมาซึ่งอาจไม่มีบันทึกเป็นหลักฐาน เนื่องจากสมัยโบราณไม่มีความบันเทิงในรูปแบบอื่นในสังคมหลายวัฒนธรรมใช้การเล่าเรื่องสู่กันฟังซึ่งมักเป็นเรื่องราวจากจินตนาการแสดงความเชื่อของชาวบ้าน นิทานพื้นบ้านมักได้รับการบันทึกหรือตีพิมพ์ภายหลังและมักหาต้นกำเนิดไม่ได้ และมีการแต่งแต้มเรื่องราวเพิ่มเติมตามจินตนาการของผู้เล่า นิทานพื้นบ้านที่โด่งดัง อย่างเช่น ซินเดอเรลลา เจ้าชายกบ แจ๊คผู้ฆ่ายักษ์ เจ้าหญิงนิทร.

ใหม่!!: พี่น้องตระกูลกริมม์และนิทานพื้นบ้าน · ดูเพิ่มเติม »

แฟรงก์เฟิร์ต

แฟรงก์เฟิร์ต (Frankfurt) หรือ ฟรังค์ฟวร์ทอัมไมน์ (Frankfurt am Main) เป็นเมืองที่ใหญ่ที่สุดของรัฐเฮสส์และใหญ่เป็นอันดับ 5 ของประเทศเยอรมนี ตั้งอยู่ริมฝั่งแม่น้ำไมน์ (Main river) และเป็นที่ตั้งของตลาดหลักทรัพย์แฟรงก์เฟิร์ตและธนาคารกลางยุโรป แฟรงก์เฟิร์ตเป็นเมืองที่ร่ำรวยที่สุดในกลุ่มสหภาพยุโรป โดยในเขตเมืองและปริมณฑลมีประชากรประมาณ 5 ล้านคน ชื่อเมืองแฟรงก์เฟิร์ตในประเทศเยอรมนี นิยมเรียกชื่อเต็มคือ "ฟรังค์ฟวร์ทอัมไมน์" หมายถึงเมืองแฟรงก์เฟิร์ตที่อยู่บนแม่น้ำไมน์ เพื่อแยกความแตกต่างจากเมืองฟรังค์ฟวร์ทอันเดอร์โอเดอร์ (Frankfurt an der Oder) ริมฝั่งแม่น้ำโอเดอร์ในรัฐบรันเดนบูร์กทางด้านตะวันออกของประเท.

ใหม่!!: พี่น้องตระกูลกริมม์และแฟรงก์เฟิร์ต · ดูเพิ่มเติม »

เบอร์ลิน

อร์ลิน (แบร์ลีน) เป็นเมืองหลวงและรัฐหนึ่งในสิบหกรัฐสหพันธ์ของประเทศเยอรมนี มีประชากร 3.4 ล้านคนในเขตเมือง มากที่สุดในเยอรมนี และมากเป็นอันดับสองในสหภาพยุโรป เป็นศูนย์กลางของเขตนครหลวงเบอร์ลิน-บรานเดนบูร์ก ทางตะวันออกเฉียงเหนือของเยอรมนี มีประชากรในเขตนครหลวงรวม 1คนจาก 1ชาติ มากเป็นอันดับเก้าในสหภาพยุโรป, Eurostat.

ใหม่!!: พี่น้องตระกูลกริมม์และเบอร์ลิน · ดูเพิ่มเติม »

เยอรมัน

อรมัน หรือ เยอรมนี อาจหมายถึง.

ใหม่!!: พี่น้องตระกูลกริมม์และเยอรมัน · ดูเพิ่มเติม »

เทพนิยาย

วาดของกุสตาฟ ดอเร เกี่ยวกับเทพนิยายเรื่อง หนูน้อยหมวกแดง เทพนิยาย (Fairy tale) หมายถึงงานประพันธ์ที่มีตัวละครจากความเชื่อพื้นบ้าน (เช่น ภูต ยักษ์ คนแคระ แม่มด สัตว์พูดได้) กับเรื่องของเวทมนตร์ และเหตุการณ์ที่ดำเนินไปเกินคาดคิด ในยุคสมัยใหม่มักใช้คำนี้ในความหมายถึงเรื่องราวที่มีมนต์เสน่ห์กับความสุขอย่างพิเศษ เช่นในคำว่า "จบแบบเทพนิยาย" (หมายถึง "จบอย่างมีความสุข") แม้ว่าในความจริงแล้ว เทพนิยายไม่ได้จบอย่างมีความสุขเสมอไปทุกเรื่อง นอกจากนี้ คำว่า "เทพนิยาย" ยังอาจใช้ในความหมายว่า เรื่องเหลือเชื่อที่เกินจะเป็นความจริงได้ ในวัฒนธรรมที่เชื่อกันว่าปีศาจกับเหล่าแม่มดมีตัวตนจริง ผู้เล่าเรื่องจะเอ่ยถึงเรื่องราวเหมือนกับว่าเป็นประวัติศาสตร์จริงๆ ที่เคยเกิดขึ้นนานมาแล้ว บางครั้ง เทพนิยาย ก็หมายรวมถึง ตำนาน ด้วย อย่างไรก็ดี ส่วนที่ไม่เหมือน ตำนาน หรือ มหากาพย์ ก็คือ เทพนิยายจะไม่อ้างอิงถึงสิ่งที่มีจริงในโลกนี้ ไม่ว่าจะเป็นศาสนา สถานที่ บุคคล หรือเหตุการณ์ใดๆ เหตุการณ์ในเทพนิยายเกิดขึ้นเมื่อ "กาลครั้งหนึ่งนานมาแล้ว" ที่ไม่สามารถระบุเวลาอย่างแน่ชัดได้ เป็นการยากที่จะสืบหาประวัติความเป็นมาของเทพนิยาย เพราะสิ่งที่หลงเหลือมาถึงปัจจุบันมีแต่เพียงงานเขียนที่เป็นเอกสารเท่านั้น แต่นักเล่านิทานได้สืบทอดเรื่องราวกันมานานหลายศตวรรษแล้ว ซึ่งเทพนิยายอาจเกิดขึ้นมานานพอๆ กัน แม้ในช่วงนั้นยังไม่สามารถแยกประเภทได้ชัดเจน คำว่า "เทพนิยาย" บัญญัติขึ้นใช้สำหรับวรรณกรรมประเภทนี้เป็นครั้งแรกโดยมาดามดัลนอย (Madame d'Aulnoy) ปัจจุบันยังคงมีการประพันธ์เทพนิยายและเรื่องราวที่สืบเนื่องจากเทพนิยายอยู่เสมอ เทพนิยายในยุคก่อนประพันธ์ขึ้นสำหรับผู้อ่านที่เป็นผู้ใหญ่พอๆ กับเด็ก มีลักษณะใกล้เคียงกับงานประพันธ์แบบ précieuses ในวรรณกรรมฝรั่งเศส พี่น้องตระกูลกริมม์เรียกผลงานของพวกเขาว่าเป็น นิทานสำหรับเด็กและครอบครัว เมื่อเวลาผ่านไป เทพนิยายก็มีความเกี่ยวพันกับเด็กมากขึ้นเรื่อยๆ ในการศึกษาวรรณกรรมประเภทนิทานพื้นบ้าน มีการแบ่งประเภทเทพนิยายหลายวิธี ระบบที่น่าสนใจได้แก่ระบบการจัดประเภทของอาร์นี-ทอมป์สัน (Aarne-Thompson) และการวิเคราะห์ของ วลาดิเมียร์ พร็อพพ์ การศึกษาเทพนิยายในแบบอื่นนิยมการแปลความหมายของจุดสำคัญในนิยาย แต่ไม่มีโรงเรียนแห่งไหนตีความเทพนิยายแบบนั้น.

ใหม่!!: พี่น้องตระกูลกริมม์และเทพนิยาย · ดูเพิ่มเติม »

16 ธันวาคม

วันที่ 16 ธันวาคม เป็นวันที่ 350 ของปี (วันที่ 351 ในปีอธิกสุรทิน) ตามปฏิทินสุริยคติแบบเกรกอเรียน เมื่อถึงวันนี้จะยังเหลือวันอีก 15 วันในปีนั้น.

ใหม่!!: พี่น้องตระกูลกริมม์และ16 ธันวาคม · ดูเพิ่มเติม »

20 กันยายน

วันที่ 20 กันยายน เป็นวันที่ 263 ของปี (วันที่ 264 ในปีอธิกสุรทิน) ตามปฏิทินสุริยคติแบบเกรกอเรียน เมื่อถึงวันนี้จะยังเหลือวันอีก 102 วันในปีนั้น.

ใหม่!!: พี่น้องตระกูลกริมม์และ20 กันยายน · ดูเพิ่มเติม »

เปลี่ยนเส้นทางที่นี่:

สองพี่น้องตระกูลกริมม์เจค็อบ กริมม์

ขาออกขาเข้า
Hey! เราอยู่ใน Facebook ตอนนี้! »