โลโก้
ยูเนี่ยนพีเดีย
การสื่อสาร
ดาวน์โหลดได้จาก Google Play
ใหม่! ดาวน์โหลด ยูเนี่ยนพีเดีย บน Android ™ของคุณ!
ดาวน์โหลด
เร็วกว่าเบราว์เซอร์!
 

พิวรีน

ดัชนี พิวรีน

#Traube purine synthesis --> พิวรีน (purine) เป็นสารประกอบอินทรีย์ประเภทเฮเตอโรไซคลิกและอะโรมาติก ที่มีวงแหวนไพริมิดีน (pyrimidine) เชื่อมกับวงแหวนอิมิดาโซล และให้ชื่อของมันกับกลุ่มโมเลกุลที่เรียกว่า พิวรีน ซึ่งรวมพิวรีนที่มีการแทนที่โครงสร้างและเทาโทเมอร์ ต่าง ๆ ของพิวรีน เป็นสารประกอบเฮเตอโรไซคลิกแบบมีไนโตรเจนที่มีมากที่สุดในธรรมชาติ และละลายน้ำได้ พิวรีนพบอย่างเข้มข้นในเนื้อสัตว์และผลิตภัณฑ์เนื้อ โดยเฉพาะเครื่องในรวมทั้งตับไต โดยทั่วไปแล้ว พืชผักจะมีพิวรีนต่ำ ตัวอย่างของอาหารที่มีพิวรีนสูงรวมทั้ง ต่อมไทมัส ตับอ่อน ปลาแอนโชวี่ ปลาซาร์ดีน ตับ ไตของวัวควาย สมอง สารสกัดจากเนื้อ ปลาเฮร์ริง ปลาแมกเคอเรล หอยเชลล์ เนื้อสัตว์ที่ล่าเพื่ออาหารหรือเพื่อการกีฬา เบียร์ (โดยได้จากยีสต์) และน้ำเกรวี อาหารที่มีพิวรีนกลาง ๆ รวมทั้ง เนื้อวัวควาย เนื้อหมู ปลาและอาหารทะเล ผักแอสพารากัส ต้นกะหล่ำดอก ผักโขมจีน เห็ด ถั่วลันเตา ถั่วเล็นทิล ถั่ว ข้าวโอ๊ต รำข้าวสาลี และจมูกข้าวสาลี พิวรีนและไพริมิดีนเป็นกลุ่มสองกลุ่มของเบสไนโตรเจน (nitrogenous base) และก็เป็นกลุ่มสองกลุ่มของเบสนิวคลีโอไทด์ (nucleotide base/nucleobase) ด้วย deoxyribonucleotide 2 อย่างใน 4 อย่าง คือ deoxyadenosine และ guanosine, ribonucleotide 2 อย่างใน 4 อย่าง คือ adenosine/adenosine monophosphate (AMP) และ guanosine/guanosine monophosphate (GMP) ซึ่งเป็นหน่วยพื้นฐานของดีเอ็นเอและอาร์เอ็นเอตามลำดับ ก็เป็นพิวรีน เพื่อจะสร้างดีเอ็นเอและอาร์เอ็นเอ เซลล์จำเป็นต้องใช้พิวรีนและไพรมิดีนเป็นจำนวนพอ ๆ กัน ทั้งพิวรีนและไพริมิดีนต่างก็เป็นสารยับยั้งและสารก่อฤทธิ์ต่อพวกตนเอง คือ เมื่อพิวรีนก่อตัวขึ้น มันจะยับยั้งเอนไซม์ที่ใช้สร้างพิวรีนเพิ่ม พร้อมกับก่อฤทธิ์ของเอนไซม์ที่ใช้สร้างไพริมิดีน และไพริมิดีนก็ทั้งยับยั้งตนเองและออกฤทธิ์ให้สร้างพิวรีนในลักษณะเช่นเดียวกัน เพราะเหตุนี้ จึงมีสารทั้งสองอยู่ในเซลล์เกือบเท่า ๆ กันตลอดเวล.

59 ความสัมพันธ์: พันธะไฮโดรเจนกรดฟอร์มิกกรดยูริกกรดอะมิโนกรดนิวคลีอิกกาเฟอีนกำเนิดชีวิตจากสิ่งไร้ชีวิตกีฬามะเร็งยีสต์ลำดับดีเอ็นเอวิถีเมแทบอลิซึมวงศ์วัวและควายวงศ์ปลาแมวสมองสังกะสีสารสื่อประสาทสารประกอบอินทรีย์สิ่งมีชีวิตหมูหอยเชลล์หน่วยรับความรู้สึกอะดีโนซีนไตรฟอสเฟตอาร์เอ็นเออิมิดาโซลองศาเซลเซียสผักโขมธรรมชาติธีโอโบรมีนถั่วลันเตาข้าวโอ๊ตดีเอ็นเอคายความร้อนคาร์ล วิลเฮล์ม เชเลอตับตับอ่อนต่อมไทมัสปฏิกิริยาเคมีปลาปลาซาร์ดีนปลาแมกเคอเรลปลาเฮร์ริงนมนิวคลีโอไทด์นิโคตินาไมด์อะดินีนไดนิวคลีโอไทด์แอมโมเนียโมเลกุลโรคเกาต์โปรตอนไฮโดรเจนไอโอไดด์...ไฮโดรเจนไซยาไนด์ไทมีนไตไนโตรเจนเบียร์เกรวีเมแทบอลิซึมเห็ดเนื้อสัตว์ ขยายดัชนี (9 มากกว่า) »

พันธะไฮโดรเจน

น้ำ ซึ่งในรูปแทนด้วยเส้นประสีดำ ส่วนเส้นขาวทึบเป็นพันธะโควาเลนต์ที่ยึดเกาะกันระหว่าง ออกซิเจน (สีแดง) และ ไฮโดรเจน (สีขาว) พันธะไฮโดรเจน (Hydrogen bond) เป็นอันตรกิริยานอนโคเวเลนต์ชนิดหนึ่ง ที่เกิดขึ้นระหว่างอะตอมที่มีสภาพลบหรือมีอิเล็กโทรเนกาทิวิตีสูงกับอะตอมของไฮโดรเจนที่สร้างพันธะโควาเลนต์กับอะตอมที่มีอิเล็กโทรเนกาทิวิตีสูงอีกอะตอมหนึ่ง พันธะไฮโดรเจนจัดเป็นแรงทางไฟฟ้าสถิตระหว่างสภาพขั้วบวกและสภาพขั้วลบ หรือเป็นอันตรกิริยาแบบขั้วคู่-ขั้วคู่ ทั้งนี้ พันธะไฮโดรเจนอาจเกิดขึ้นภายในโมเลกุลหรือระหว่างโมเลกุลก็ได้ พลังงานพันธะไฮโดรเจนอยู่ระหว่าง 5-30 kJ/mol ซึ่งมีความแข็งแรงมากกว่าแรงแวนเดอร์วาล์ว แต่อ่อนกว่าพันธะโคเวเลนต์และพันธะไอออนิก อนึ่ง ในโมเลกุลขนาดใหญ่ เช่น โปรตีน หรือ กรดนิวคลีอิก ก็อาจมีพันธะไฮโดรเจนภายในโมเลกุลได้ นิยามโดย IUPAC "พันธะไฮโดรเจนเป็นอันตรกิริยาแบบดึงดูดระหว่างอะตอมไฮโดรเจนจากโมเลกุลหรือส่วนของโมเลกุล X-H โดยที่ X มีสภาพลบหรืออิเล็กโทรเนกาติวิตีสูงกว่าไฮโดรเจน กับอะตอมหรือกลุ่มของอะตอมในโมเลกุลเดียวกันหรือโมเลกุลอื่นที่มีหลักฐานแสดงการเกิดพันธะ" โดยทั่วไปแล้ว พันธะไฮโดรเจนจะถูกแสดงด้วยสัญลักษณ์ X-H…Y-X เมื่อจุดสามจุด (…) แทนพันธะไฮโดรเจน X-H แทนผู้ให้ (donor) พันธะไฮโดรเจน ตัวรับ (acceptor) อาจจะเป็นอะตอมหรือไอออนลบ Y หรือส่วนของโมเลกุล Y-Z เมื่อ Y สร้างพันธะกับ Z ในบางกรณี X และ Y อาจจะเป็นอะตอมชนิดเดียวกัน และ ระยะ X-H และ Y-H เท่ากัน ทำให้เกิดพันธะไฮโดรเจนแบบสมมาตร (symmetric hydrogen bond) และในบางครั้งจะพบว่า ตัวรับพันธะไฮโดรเจนอาจจะเป็นอิเล็กตรอนคู่โดดเดี่ยวของ Y หรือพันธะไพ (pi bond) ของ Y-Z.

ใหม่!!: พิวรีนและพันธะไฮโดรเจน · ดูเพิ่มเติม »

กรดฟอร์มิก

กรดฟอร์มิก หรือกรดมด (Formic acid) เป็นกรดคาร์บอกซิลิกชนิดหนึ่งที่โครงสร้างไม่ซับซ้อน มีสูตรโมเลกุลว่า CH2O2 และเรียกตามระบบ IUPAC ว่า กรดเมทาโนอิก (Methanoic acid), พบตามธรรมชาติในสัตว์จำพวกมดและผึ้ง ซึ่งมีไว้สำหรับป้องกันตัวจากศัตรู, โดยคำว่า "formic" ได้มาจากคำในภาษาละตินว่า formica ซึ่งแปลว่ามดนั่นเอง.

ใหม่!!: พิวรีนและกรดฟอร์มิก · ดูเพิ่มเติม »

กรดยูริก

กรดยูริก (Uric acid) เป็นสารประกอบเฮเทอโรไซคลิก (heterocyclic) ที่มีคาร์บอน ไนโตรเจน ออกซิเจน และไฮโดรเจน โดยมีสูตรเคมีเป็น C5H4N4O3 มันมีรูปแบบทั้งเป็นไอออนและเกลือที่เรียกว่าเกลือยูเรต (urate) และเกลือกรดยูเรต (acid urate) เช่น ammonium acid urate กรดยูริกเป็นผลของกระบวนการสลายทางเมแทบอลิซึมของนิวคลีโอไทด์คือพิวรีน (purine) และเป็นองค์ประกอบปกติของปัสสาวะ การมีกรดยูริกในเลือดสูงอาจทำให้เกิดโรคเกาต์ และสัมพันธ์กับโรคอื่น ๆ รวมทั้งโรคเบาหวาน และนิ่วในไตที่เกิดจาก ammonium acid urate.

ใหม่!!: พิวรีนและกรดยูริก · ดูเพิ่มเติม »

กรดอะมิโน

กรดอะมิโน (amino acid) คือ ชีวโมเลกุลที่มีทั้งหมู่ฟังก์ชันอะมิโนและคาร์บอกซิลเป็นส่วนประกอบ กรดอะมิโนเป็นองค์ประกอบสำคัญของโปรตีนซึ่งเป็นส่วนประกอบสำคัญที่มีอยู่ในสิ่งมีชีวิตทุกชนิด ในวิชาชีวเคมี คำว่า "กรดอะมิโน" มักหมายความถึงกรดอะมิโนแบบแอลฟา (alpha amino acids) ซึ่งเป็นกรดอะมิโนที่ทั้งหมู่อะมิโนและหมู่คาร์บอกซิลติดอยู่กับคาร์บอนอะตอมเดียวกัน เรียกว่า \alpha-คาร์บอน เรซิดีวของกรดอะมิโน (amino acid residue) คือกรดอะมิโนที่ถูกดึงโมเลกุลของน้ำออกไปหนึ่งโมเลกุล (ไฮโดรเจนไอออนหนึ่งไอออนจากหมู่อะมิโน และไฮดรอกไซด์ไอออนหนึ่งไอออนจากหมู่คาร์บอกซิล) เรซิดีวของกรดมักเกิดขึ้นในขณะสร้างพันธะเพปไท.

ใหม่!!: พิวรีนและกรดอะมิโน · ดูเพิ่มเติม »

กรดนิวคลีอิก

รงสร้างของดีเอ็นเอเป็นเกลียวคู่ กรดนิวคลีอิก (nucleic acid) เป็นพอลิเมอร์ของนิวคลีโอไทด์ ที่ต่อกันด้วยพันธะฟอสโฟไดเอสเทอร์ (phosphodiester bond) โดยที่หมู่ของฟอสเฟตที่เป็นส่วนประกอบของพันธะจะเชื่อมโยงระหว่างหมู่ ไฮดรอกซิลที่ตำแหน่ง 5' ของนิวคลีโอไทด์โมเลกุลหนึ่งกับหมู่ไฮดรอกซิลที่ตำแหน่ง 3' ในโมเลกุลถัดไป จึงทำให้นิวคลีโอไทด์มีโครงสร้างของสันหลัง (backbone) เป็นฟอสเฟตกับน้ำตาลและมีแขนงข้างเป็นเบส อาจจำแนกได้เป็น DNA และ RNA.

ใหม่!!: พิวรีนและกรดนิวคลีอิก · ดูเพิ่มเติม »

กาเฟอีน

กาเฟอีน (caféine) เป็นสารแซนทีนอัลคาลอยด์ ซึ่งสามารถพบได้ในอาหารหลายชนิดได้แก่ เมล็ดกาแฟ, ชา, โคล่า กาเฟอีนถือว่าเป็นยากำจัดศัตรูพืชโดยธรรมชาติ เพราะมันออกฤทธิ์ทำให้อัมพาต และสามารถฆ่าแมลงบางชนิดได้ กาเฟอีนยังมีฤทธิ์กระตุ้นระบบประสาทส่วนกลาง ทำให้ร่างกายเกิดความตื่นตัวและลดความง่วงได้ เครื่องดื่มหลายชนิดมีกาเฟอีนเป็นส่วนผสม เช่นในกาแฟ น้ำชา น้ำอัดลม รวมทั้งเครื่องดื่มชูกำลัง ด้วยเหตุนี้จึงทำให้กาเฟอีนเป็นสารกระตุ้นประสาทที่ได้รับความนิยมมากที่สุดในโลก.

ใหม่!!: พิวรีนและกาเฟอีน · ดูเพิ่มเติม »

กำเนิดชีวิตจากสิ่งไร้ชีวิต

กำเนิดชีวิตจากสิ่งไร้ชีวิต (Abiogenesis) เป็นสมมติฐานเกี่ยวกับกระบวนการทางธรรมชาติเกี่ยวกับการกำเนิดของสิ่งมีชีวิตจากสิ่งไม่มีชีวิตบนโลก เช่น ปลาเกิดจากดินโคลนในแม่น้ำลำคลอง โดยสมมติฐานนี้ตั้งแต่สมัยอริสโตเติล ซึ่งฟรานเซสโก เรดิ และหลุยส์ ปาสเตอร์ ได้พิสูจน์ว่าสิ่งมีชีวิตไม่สามารถเกิดจากสิ่งไม่มีชีวิต สมมติฐานจึงไม่เป็นที่ยอมรั.

ใหม่!!: พิวรีนและกำเนิดชีวิตจากสิ่งไร้ชีวิต · ดูเพิ่มเติม »

กีฬา

กีฬาในวัยเด็ก จากภาพคือกีฬาฟุตบอล กีฬาประเภททีมที่ให้โอกาสในการออกกำลังกายและเพิ่มทักษะในการปฏิสัมพันธ์ กีฬา เป็นกิจกรรมหรือการเล่นเพื่อความสนุกเพลิดเพลินหรือเพื่อความแข็งแรงของร่างกาย หรือเพื่อผ่อนคลายความเคร่งเครียดทางจิต รวมไปถึงกิจกรรมปกติหรือทักษะที่อยู่ภายใต้กติกาซึ่งถูกกำหนดโดยความเห็นที่ตรงกันโดยมีจุดมุ่งหมายเพื่อการพักผ่อน การแข่งขัน ความเพลิดเพลิน ความสำเร็จ การพัฒนาของทักษะ หรือหลายสิ่งรวมกัน กีฬาเป็นกิจกรรมที่ควบคู่กับการแข่งขัน และระบบคะแนน กีฬาหลายประเภทได้มีการจัดการแข่งขันในระดับเขต ประเทศ และระดับโลก ซึ่งกีฬาหลายชนิดได้มีการใส่เข้าและนำออกโดยการปรับปรุงของทางคณะกรรมการโอลิมปิกสากล เช่น รักบี้ ลาครอสส์ หรือ โปโล.

ใหม่!!: พิวรีนและกีฬา · ดูเพิ่มเติม »

มะเร็ง

มะเร็ง หรือทางการแพทย์ว่า เนื้องอกร้าย (malignant tumor) เป็นกลุ่มของโรคที่เกี่ยวข้องกับการเจริญเติบโตของเซลล์ที่ผิดปกติ คือ เซลล์จะแบ่งตัวและเจริญอย่างควบคุมไม่ได้ ก่อเป็นเนื้องอกร้าย และมีศักยภาพในการรุกรานร่างกายส่วนข้างเคียง มะเร็งอาจแพร่กระจายไปยังร่างกายส่วนที่อยู่ห่างไกลได้ผ่านระบบน้ำเหลืองหรือกระแสเลือด แต่ไม่ใช่เนื้องอกทุกชนิดจะเป็นมะเร็ง เพราะเนื้องอกไม่ร้ายจะไม่ลุกลามไปยังอวัยวะข้างเคียงและไม่กระจายไปทั่วร่างกาย อาการและอาการแสดงของโรคมะเร็งที่เป็นไปได้รวมถึง:..

ใหม่!!: พิวรีนและมะเร็ง · ดูเพิ่มเติม »

ยีสต์

ีสต์ หรือ ส่าเหล้า (yeast) คือ รากลุ่มหนึ่งที่ส่วนใหญ่เป็นเซลล์เดี่ยว มีรูปร่างหลายแบบ เช่น รูปร่างกลม รี สามเหลี่ยม รูปร่างแบบมะนาว ฝรั่ง เป็นต้น ส่วนใหญ่มีการสืบพันธุ์แบบไม่อาศัยเพศ โดยวิธีการแตกหน่อ พบทั่วไปในธรรมชาติในดิน ในน้ำ ในส่วนต่างๆ ของพืช ยีสต์บางชนิดพบอยู่กับแมลง และในกระเพาะของสัตว์บางชนิด แต่แหล่งที่พบยีสต์อยู่บ่อยๆ คือแหล่งที่มีน้ำตาลความเข้มข้นสูง เช่น น้ำผลไม้ที่มีรสหวาน ยีสต์ที่มีอยู่ตามธรรมชาติ มักจะปนลงไปในอาหาร เป็นเหตุให้อาหารเน่าเสียได้ ยีสต์เป็นสิ่งมีชีวิตที่มีขนาดเล็กมาก มีเยื่อหุ้มนิวเคลียส (eukaryotic micro-organisms) จัดอยู่ในกลุ่มจำพวกเห็ด รา (Fungi) มีทั้งที่เป็นประโยชน์และโทษต่ออาหาร มีการนำยีสต์มาใช้ประโยชน์นานมาแล้ว โดยเฉพาะการผลิตอาหารที่มีแอลกอฮอล์ จากคุณสมบัติที่มีขนาดเล็กมาก สามารถเพาะเลี้ยงให้เกิดได้ในเวลาอันรวดเร็ว และวิธีการไม่ยุ่งยาก ทำให้ยีสต์เริ่มมีบทบาทที่สำคัญในวงการเพาะเลี้ยงสัตว์น้ำ โดยสามารถนำมาใช้เป็นอาหารสำหรับเลี้ยงอาหารธรรมชาติที่สำคัญอีกทีหนึ่ง เช่น ไรแดง โรติเฟอร์ และอาร์ทีเมี.

ใหม่!!: พิวรีนและยีสต์ · ดูเพิ่มเติม »

ลำดับดีเอ็นเอ

้อมูลพิมพ์จากอิเล็กโทรฟีโรแกรม (Electropherogram) จากเครื่องลำดับดีเอ็นเออัตโนมัติ แสดงส่วนของลำดับดีเอ็นเอ ลำดับดีเอ็นเอ หรือ ลำดับพันธุกรรม (DNA sequence or genetic sequence) เป็นชุดของอักษรที่แทนโครงสร้างปฐมภูมิ (primary structure) ของโมเลกุลหรือสายดีเอ็นเอซึ่งมีความสามารถที่จะขนส่งข้อมูลทางพันธุกรรม อักษรที่ใช้ในลำดับดีเอ็นเอได้แก่ A, C, G, และ T ซึ่งแทนหน่วยย่อยนิวคลีโอไทด์ (nucleotide) ของสายดีเอ็นเอได้แก่เบสอะดีนีน (adenine), ไซโตซีน (cytosine), กัวนีน (guanine) และ ไทมีน (thymine) ตามลำดับซึ่งต่อกันด้วยพันธะโคเวเลนท์กับแกนหลักฟอสเฟต (phospho-backbone) โดยทั่วไปแล้วลำดับจะถูกพิมพ์ชิดกับอักษรตัวต่อไปโดยไม่มีช่องวรรคจากด้าน 5' ไป 3' จากซ้ายไปขวา เช่นในลำดับ AAAGTCTGAC ชุดของนิวคลีโอไทด์ที่มีลำดับเบสมากกว่า 4 ตัวจะเรียกว่า ลำดับดีเอ็นเอ การทำงานทางชีวภาพของลำดับดีเอ็นเอจะขึ้นกับข้อมูลที่อยู่ในลำดับดีเอ็นเอ ลำดับนี้อาจ sense (มีนัย) หรือ anti-sense (ไม่มีนัย) หรืออาจเป็นส่วนที่ถอดรหัสพันธุกรรม (coding) หรือไม่ถอดเป็นรหัสพันธุกรรม (noncoding) ลำดับดีเอ็นเอนั้นอาจบรรจุข้อมูล ดีเอ็นเอขยะ (junk DNA) ลำดับดีเอ็นเออาจถอดมาได้จากวัตถุดิบทางชีวภาพผ่านกระบวนการที่เรียกว่า การลำดับดีเอ็นเอ (DNA sequencing) ในบางครั้ง อาจมีอักษรอื่นๆ นอกเหนือจาก A, T, C, และ G ปรากฏในลำดับดีเอ็นเอ ซึ่งแสดงถึงความกำกวม (ambiguity) ในโมเลกุลดีเอ็นเอตัวอย่างทั้งหมดอาจมีนิวคลีโอไทด์มากกว่า 1 ชนิดที่อยู่ในตำแหน่งนั้น ระบบการเรียกชื่อสารเคมีของ IUPACได้กำหนดกฎมาเป็นดังนี้.

ใหม่!!: พิวรีนและลำดับดีเอ็นเอ · ดูเพิ่มเติม »

วิถีเมแทบอลิซึม

ในทางชีวเคมี วิถีเมแทบอลิซึม (metabolic pathway) เป็นชุดของปฏิกิริยาเคมีที่เกิดขึ้นในเซลล์ ในแต่ละวิถี สารเคมีหลักจะเกิดปฏิกิริยาเคมีและเปลี่ยนไปเป็นสารอื่น โดยมีเอนไซม์เป็นตัวเร่งปฏิกิริยา และมักต้องอาศัยแร่ธาตุ วิตามินและโคแฟกเตอร์อื่น ๆ จึงจะดำเนินไปอย่างเหมาะสม เพราะมีสารเคมีจำนวนมาก ("เมแทบอไลต์") เข้ามาเกี่ยวข้อง วิถีเมแทบอลิซึมจึงอาจค่อนข้างซับซ้อน ยิ่งไปกว่านั้น วิถีซึ่งแตกต่างกันจำนวนมากเกิดร่วมกันในเซลล์ หมู่วิถีนี้เรียกว่า เครือข่ายเมแทบอลิซึม วิถีเมแทบอลิซึมสำคัญต่อการรักษาภาวะธำรงดุล (homeostasis) ในสิ่งมีชีวิต วิถีแคแทบอลิซึมและแอแนบอลิซึมมักทำงานพึ่งพาอาศัยกันเพื่อสร้างโมเลกุลชีวภาพใหม่เป็นผลิตภัณฑ์สุดท้าย วิถีเมแทบอลิซึมเกี่ยวข้องกับการเปลี่ยนแปลงสารตั้งต้นทีละขั้นเพื่อให้ได้ผลิตภัณฑ์ใหม่ ผลิตภัณฑ์ที่ได้มานั้นสามารถนำไปใช้ได้สามทาง คือ.

ใหม่!!: พิวรีนและวิถีเมแทบอลิซึม · ดูเพิ่มเติม »

วงศ์วัวและควาย

วงศ์วัวและควาย เป็นวงศ์ของสัตว์เลี้ยงลูกด้วยนมขนาดใหญ่ในอันดับสัตว์กีบคู่ (Artiodactyla) วงศ์หนึ่ง ใช้ชื่อวิทยาศาสตร์ว่า Bovidae จัดเป็นสัตว์กินพืช ลักษณะเด่นของสัตว์ในวงศ์นี้ จะมีเขาที่ไม่มีการแตกกิ่ง ไม่มีการหลุดหรือเปลี่ยนในตลอดช่วงอายุขัย มีกระเพาะอาหารแบ่งเป็น 4 ห้องหรือ 4 ส่วน และมีการหมักย่อย โดยการหมักของกระเพาะอาหารจะอาศัยแบคทีเรียในท่อทางเดินอาหาร โดยส่วนใหญ่ค่าความเป็นกรดเป็นด่าง (pH) ในกระเพาะอาหารจะอยู่ที่ 6.7+0.5 มีถุงน้ำดี นอกจากนั้นสัตว์ในตระกูลนี้สามารถสำรอก อาหารออกมาจากกระเพาะหมัก เพื่อทำการเคี้ยวใหม่ได้ ที่เรียกว่า "เคี้ยวเอื้อง" ลูกที่เกิดใหม่จะใช้เวลาไม่นานในการเดินและวิ่งได้ อันเนื่องจากการวิวัฒนาการเพื่อให้เอาตัวรอดจากสัตว์กินเนื้อที่เป็นผู้ล่าในห่วงโซ่อาหาร สัตว์ที่อยู่ในวงศ์นี้ เป็นสัตว์ที่มนุษย์คุ้นเคยและผูกพันอย่างดีในฐานะเป็นสัตว์เศรษฐกิจและปศุสัตว์ ได้แก่ วัว, ควาย, แพะ, แกะ เป็นต้น สำหรับสัตว์ป่า มีการกระจายพันธุ์ไปในทุกทวีปทั่วโลก ยกเว้นทวีปออสเตรเลีย ในแอฟริกาและบางส่วนของทวีปเอเชีย จะมีบางชนิดที่มีรูปร่างลักษณะคล้ายกับกวาง (Cervidae) เช่น อิมพาลาหรือแอนทีโลป แต่ความเป็นจริงแล้วเป็นสัตว์ในวงศ์นี้.

ใหม่!!: พิวรีนและวงศ์วัวและควาย · ดูเพิ่มเติม »

วงศ์ปลาแมว

วงศ์ปลาแมว หรือ วงศ์ปลากะตัก หรือ วงศ์ปลาหางไก่ (Anchovy) เป็นวงศ์ปลากระดูกแข็ง ในอันดับ Clupeiformes อันเป็นอันดับเดียวกับวงศ์ปลาหลังเขียว (Clupeidae) ใช้ชื่อวงศ์ว่า Engraulidae.

ใหม่!!: พิวรีนและวงศ์ปลาแมว · ดูเพิ่มเติม »

สมอง

มอง thumb สมอง คืออวัยวะสำคัญในสัตว์หลายชนิดตามลักษณะทางกายวิภาค หรือที่เรียกว่า encephalon จัดว่าเป็นส่วนกลางของระบบประสาท คำว่า สมอง นั้นส่วนใหญ่จะเรียกระบบประสาทบริเวณหัวของสัตว์มีกระดูกสันหลัง คำนี้บางทีก็ใช้เรียกอวัยวะในระบบประสาทบริเวณหัวของสัตว์ไม่มีกระดูกสันหลังอีกด้วย สมองมีหน้าที่ควบคุมและสั่งการการเคลื่อนไหว, พฤติกรรม และภาวะธำรงดุล (homeostasis) เช่น การเต้นของหัวใจ, ความดันโลหิต, สมดุลของเหลวในร่างกาย และอุณหภูมิ เป็นต้น หน้าที่ของสมองยังมีเกี่ยวข้องกับการรู้ (cognition) อารมณ์ ความจำ การเรียนรู้การเคลื่อนไหว (motor learning) และความสามารถอื่น ๆ ที่เกี่ยวกับการเรียนรู้ สมองประกอบด้วยเซลล์สองชนิด คือ เซลล์ประสาท และเซลล์เกลีย เกลียมีหน้าที่ในการดูแลและปกป้องนิวรอน นิวรอนหรือเซลล์ประสาทเป็นเซลล์หลักที่ทำหน้าที่ส่งข้อมูลในรูปแบบของสัญญาณไฟฟ้าที่เรียกว่า ศักยะงาน (action potential) การติดต่อระหว่างนิวรอนนั้นเกิดขึ้นได้โดยการหลั่งของสารเคมีชนิดต่าง ๆ ที่รวมเรียกว่า สารสื่อประสาท (neurotransmitter) ข้ามบริเวณระหว่างนิวรอนสองตัวที่เรียกว่า ไซแนปส์ สัตว์ไม่มีกระดูกสันหลัง เช่น แมลงต่าง ๆ ก็มีนิวรอนอยู่นับล้านในสมอง สัตว์มีกระดูกสันหลังขนาดใหญ่มักจะมีนิวรอนมากกว่าหนึ่งร้อยล้านตัวในสมอง สมองของมนุษย์นั้นมีความพิเศษกว่าสัตว์ตรงที่ว่ามีความซับซ้อนและใหญ่กว่าเมื่อเทียบกับขนาดตัวของมนุษ.

ใหม่!!: พิวรีนและสมอง · ดูเพิ่มเติม »

สังกะสี

ังกะสี (Zinc) คือธาตุที่มีหมายเลขอะตอม 30 และสัญลักษณ์คือ Zn สังกะสีอยู่ในตารางธาตุหมู่ 12 ชื่อในภาษาอังกฤษมาจากภาษาเยอรมันว่า Zink เป็นธาตุประเภทโลหะที่มีความไวต่อปฏิกิริยาเคมีพอสมควรกับออกซิเจนและธาตุที่ไม่ใช่โลหะ สังกะสีเมื่อทำปฏิกิริยากับกรดเจือจางจะปล่อยก๊าซไฮโดรเจนออก ธาตุชนิดนี้เป็นโลหะธาตุที่มีลักษณะที่เป็นสีเงิน มันวาว เป็นที่นิยมนำมาใช้ในภาคอุตสาหกรรมมากมาย เพื่อเป็นโลหะโครงสร้างหรือโลหะผสมกับโลหะอื่นสำหรับประยุกต์ใช้งานในด้านต่างๆ นอกจากนั้น สังกะสียังเป็นแร่ธาตุชนิดหนึ่งที่สามารถพบได้ในร่างกายมนุษย์ และสัตว์ เนื่องจากจัดเป็นแร่ที่ร่างกายต้องการชนิดหนึ่ง.

ใหม่!!: พิวรีนและสังกะสี · ดูเพิ่มเติม »

สารสื่อประสาท

รสื่อประสาท (neurotransmitter) คือ สารเคมีที่มีหน้าที่ในการนำ, ขยาย และควบคุมสัญญาณไฟฟ้าจากเซลล์ประสาทเซลล์หนึ่งไปยังอีกเซลล์หนึ่ง ตามระบอบความเชื่อ ที่ตั้งขึ้นในทศวรรษที่ 1960 โดยที่สารเคมีนั้นจะเป็นสารสื่อประสาทได้จะต้องเป็นจริงตามเงื่อนไขดังนี้.

ใหม่!!: พิวรีนและสารสื่อประสาท · ดูเพิ่มเติม »

สารประกอบอินทรีย์

มีเทนเป็นหนึ่งในสารประกอบอินทรีย์ที่เรียบง่ายที่สุด สารประกอบอินทรีย์ หมายถึง สารประกอบเคมีที่อยู่ในสถานะใดก็ได้ ไม่ว่าจะเป็นของแข็ง ของเหลว หรือแก๊ส ที่ประกอบด้วยโมเลกุลคาร์บอน ยกเว้นสารประกอบบางชนิดที่ไม่จัดว่าเป็นสารประกอบอินทรีย์แม้ว่าจะมีคาร์บอนเป็นองค์ประกอบก็ตาม ตัวอย่างเช่น สารประกอบคาร์ไบน์, คาร์บอเนต, ออกไซด์ของคาร์บอนและไซยาไนด์ เช่นเดียวกับอัญรูปของคาร์บอน อย่างเช่น เพชรและแกรไฟต์ ซึ่งถูกจัดเป็นสารประกอบอนินทรีย์ ความแตกต่างระหว่างสารประกอบคาร์บอนที่เป็นสารประกอบ "อินทรีย์" และ "อนินทรีย์" นั้น ถึงแม้ว่า "จะมีประโยชน์ในการจัดระเบียบวิชาเคมีอย่างกว้างขวาง...

ใหม่!!: พิวรีนและสารประกอบอินทรีย์ · ดูเพิ่มเติม »

สิ่งมีชีวิต

งมีชีวิต จะมีคุณลักษณะ (properties) ที่ไม่พบในสิ่งไม่มีชีวิต อันได้แก่ความสามารถในการใช้สสารและพลังงานเป็นสำคัญ ซึ่งได้รับถ่ายทอดจากบรรพบุรุษของสิ่งมีชีวิตแรกเริ่ม อย่างไรก็ตามสิ่งมีชีวิตเริ่มแรกหรือบรรพบุรุษของสิ่งมีชีวิตซึ่งถือกำเนิดมาบนโลกกว่า 4 พันล้านปี เมื่อผ่านการวิวัฒนาการและการปรับตัวให้เข้ากับสิ่งแวดล้อมในแต่ละช่วงเวลา ก่อให้เกิดความหลากหลายทางชีวภาพของสิ่งมีชีวิตเป็นจำนวนมากดังที่ปรากฏในปัจจุบัน.

ใหม่!!: พิวรีนและสิ่งมีชีวิต · ดูเพิ่มเติม »

หมู

หมู หรือ สุกร เป็นสัตว์เลี้ยงขนาดใหญ่ ซึ่งมีบรรพบุรุษ คือ หมูป่า (Sus scrofa) สามารถจำแนกเป็นสปีชีส์ย่อยของหมูป่าหรือเป็นอีกสปีชีส์หนึ่งแยกต่างหาก หัวและความยาวลำตัวอยู่ระหว่าง 0.9 ถึง 1.8 เมตร ตัวโตเต็มวัยหนักระหว่าง 50 ถึง 350 กิโลกรัม สุกรแม้จะเป็นสัตว์กีบคู่ซึ่งมักกินพืชเป็นอาหาร แต่กินได้ทั้งพืชและสัตว์เป็นอาหารเหมือนกับบรรพบุรุษหมูป่า สุกรมีวิวัฒนาการกระเพาะอาหารใหญ่ขึ้นและลำไส้ยาวขึ้นเพราะพืชย่อยได้ยากกว่าเนื้อ.

ใหม่!!: พิวรีนและหมู · ดูเพิ่มเติม »

หอยเชลล์

หอยเชลล์ หรือ หอยพัด (Scallop) เป็นสัตว์มอลลัสกาฝาคู่อาศัยอยู่ในทะเล จัดอยู่ในวงศ์ Pectinidae หอยเชลล์พบได้ทุกมหาสมุทรของโลก หอยเชลล์จำนวนมากเป็นแหล่งอาหารราคาสูง ทั้งเปลือกสีสว่าง รูปพัดของหอยเชลล์บางตัว พร้อมกับแบบร่องเว้าแผ่ออกจากศูนย์กลาง ทำให้มีค่าสำหรับนักสะสมหอย โดยชื่อสามัญในภาษาอังกฤษคำว่า "scallop" แผลงมาจากภาษาฝรั่งเศสเก่า escalope หมายถึง "เปลือก".

ใหม่!!: พิวรีนและหอยเชลล์ · ดูเพิ่มเติม »

หน่วยรับความรู้สึก

หน่วยรับความรู้สึก, ตัวรับหรือที่รับ (receptor) ในชีวเคมี เป็นโปรตีนที่อยู่บนเยื่อหุ้มเซลล์ หรือในไซโทพลาสซึมหรือนิวเคลียสที่จะเชื่อมต่อกับโมเลกุลเฉพาะซึ่งเรียกว่า ลิแกนด์ (ligand) เช่น สารสื่อประสาท, ฮอร์โมน หรือสารประกอบอื่นๆ และทำให้เกิดการเริ่มต้นตอบสนองของเซลล์ต่อลิแกนด์นั้น.

ใหม่!!: พิวรีนและหน่วยรับความรู้สึก · ดูเพิ่มเติม »

อะดีโนซีนไตรฟอสเฟต

อะดีโนซีนไตรฟอสเฟต (adenosine triphosphate: ATP) เป็นสารให้พลังงานสูงแก่เซลล์ ผลิตจากกระบวนการสังเคราะห์แสง หรือการหายใจระดับเซลล์และถูกใช้โดยกระบวนการต่าง ๆ ของร่างกาย เช่น สลายอาหาร, active transport,move ในสิ่งมีชีวิต ATP ถูกสร้างขึ้นด้วยวิถีทางต่าง ๆ ดังนี้.

ใหม่!!: พิวรีนและอะดีโนซีนไตรฟอสเฟต · ดูเพิ่มเติม »

อาร์เอ็นเอ

กรดไรโบนิวคลีอิก (ribonucleic acid) หรือ อาร์เอ็นเอ เป็นกรดนิวคลีอิก ซึ่งเป็นหนึ่งในสี่สารชีวโมเลกุลหลัก ร่วมกับลิพิด คาร์โบไฮเดรตและโปรตีน ที่สำคัญแก่สิ่งมีชีวิตทุกชนิด อาร์เอ็นเอประกอบด้วยหน่วยย่อยที่เรียกว่า นิวคลีโอไทด์ สายยาว เช่นเดียวกับดีเอ็นเอ นิวคลีโอไทด์แต่ละหน่วยประกอบด้วยนิวคลีโอเบส น้ำตาลไรโบสและหมู่ฟอสเฟต ลำดับนิวคลีโอไทด์ทำให้อาร์เอ็นเอเข้ารหัสข้อมูลพันธุกรรมได้ สิ่งมีชีวิตทุกชนิดใช้อาร์เอ็นเอนำรหัส (mRNA) นำข้อมูลพันธุกรรมที่ชี้นำการสังเคราะห์โปรตีน ยิ่งไปกว่านั้น ไวรัสหลายชนิดใช้อาร์เอ็นเอเป็นสารพันธุกรรมแทนดีเอ็นเอ โมเลกุลอาร์เอ็นเอบางอย่างมีบทบาทสำคัญในเซลล์โดยเร่งปฏิกิริยาทางชีวภาพ ควบคุมการแสดงออกของยีนหรือรับรู้และสื่อสารการตอบสนองต่อสัญญาณของเซลล์ ขบวนการหนึ่ง คือ การสังเคราะห์โปรตีน ซึ่งเป็นหน้าที่สากลซึ่งโมเลกุลอาร์เอ็นเอสื่อสารชี้นำการสร้างโปรตีนบนไรโบโซม ขบวนการนี้ใช้โมเลกุลอาร์เอ็นเอถ่ายโอน (tRNA) เพื่อขนส่งกรดอะมิโนไปยังไรโบโซม ที่ซึ่งอาร์เอ็นเอไรโบโซม (rRNA) เชื่อมกรดอะมิโนเข้าด้วยกันเพื่อสร้างโปรตีน เรียกขั้นตอนการสังเคราะห์โปรตีนจากสายอาร์เอ็นเอนี้ว่า การแปลรหัส โครงสร้างทางเคมีของอาร์เอ็นเอคล้ายคลึงกับของดีเอ็นเอเป็นอย่างมาก แต่มีข้อแตกต่างอยู่สองประการ (1) อาร์เอ็นเอมีน้ำตาลไรโบส ขณะที่ดีเอ็นเอมีน้ำตาลดีออกซีไรโบส (ขาดออกซิเจนหนึ่งอะตอม) ซึ่งแตกต่างเล็กน้อย และ (2) อาร์เอ็นเอมีนิวคลีโอเบสยูราซิล ขณะที่ดีเอ็นเอมีไทมีน โมเลกุลอาร์เอ็นเอส่วนมากเป็นสายเดี่ยว และสามารถเกิดโครงสร้างสามมิติที่ซับซ้อนมากได้ ต่างจากดีเอ็นเอ.

ใหม่!!: พิวรีนและอาร์เอ็นเอ · ดูเพิ่มเติม »

อิมิดาโซล

อิมิดาโซล(อังกฤษ:Imidazole)เป็นสารประกอบอินทรีย์ประเภทเฮเตอโรไซคลิก อะโรมาติก อิมิดาโซลจัดเป็นอัลคะลอยด์(alkaloid) ระบบวงแหวนมีความสำคัญต่อโครงสร้างทางชีวภาพเช่น ฮีสติดีน และ ฮีสตามีน.

ใหม่!!: พิวรีนและอิมิดาโซล · ดูเพิ่มเติม »

องศาเซลเซียส

องศาเซลเซียส (สัญลักษณ์ °C) หรือที่เคยเรียกว่า องศาเซนติเกรด (degree centigrade) เป็นหน่วยวัดอุณหภูมิหน่วยหนึ่งในระบบเอสไอ กำหนดให้จุดเยือกแข็งของน้ำคือ 0 °C และจุดเดือดคือ 100 °C โดยตั้งชื่อเพื่อเป็นเกียรติแก่แอนเดอร์ เซลเซียส ผู้ซึ่งสร้างระบบใกล้เคียงกับปัจจุบัน ในปัจจุบันองศาเซลเซียสใช้กับแพร่หลายทั่วโลกในชีวิตประจำวัน จะยกเว้นก็มีสหรัฐอเมริกาและประเทศจาไมกาเท่านั้นที่นิยมใช้หน่วยองศาฟาเรนไฮต์ แต่ในประเทศดังกล่าว องศาเซลเซียสและเคลวินก็ใช้มากในด้านวิทยาศาสตร.

ใหม่!!: พิวรีนและองศาเซลเซียส · ดูเพิ่มเติม »

ผักโขม

ผักโขม (Amaranth) มีชื่อวิทยาศาสตร์ว่า Amaranthus viridis จัดอยู่ในวงศ์ Amaranthaceae ผักโขมจะขึ้นอยู่ทั่วไปตามแหล่งธรรมชาติเช่น ป่าละเมาะ ริมทาง ชายป่าที่รกร้าง เป็นต้น และยังขึ้นเป็นวัชพืชในบริเวณสวนผัก สวนผลไม้ ไร่นาของชาวบ้าน ผักโขมเป็นพืชที่ขึ้นง่ายชาวบ้านจึงมักเก็บมาบริโภคในช่วงหน้าฝน รักษ์ พฤษชาติ,ผักพื้นบ้าน ครบเครื่องเรื่องผักพื้นบ้าน ทั้งการปลูกและการตลาด,สำนักพิมพ์ นีออน บุ๊ค มีเดีย,พิมพ์ครั้งที่ 4 มีนาคม 2553 ผักโขมมีชื่ออื่นๆ อีกคือ ผักขม (กลาง), ผักโหม, ผักหม (ใต้), ผักโหมเกลี้ยง (แม่ฮ่องสอน), กระเหม่อลอเตอ (กะเหรี่ยง, แม่ฮ่องสอน) ผักโขมมักจะถูกเข้าใจผิดหรือแปลผิดว่าเป็นผักที่ป๊อบอายใช้เพิ่มพลัง ความจริงแล้วคือผักปวยเล้ง (Spinach) ซึ่งในการ์ตูนป๊อบอายจะปรากฏคำว่า Spinach อย่างชัดเจน.

ใหม่!!: พิวรีนและผักโขม · ดูเพิ่มเติม »

ธรรมชาติ

ฟ้าผ่าระหว่างภูเขาไฟกาลองกังปะทุ ถ่ายเมื่อ พ.ศ. 2525 ธรรมชาติ ในความหมายอย่างกว้างสุด เทียบเท่ากับโลกธรรมชาติ โลกกายภาพ หรือโลกวัตถุ "ธรรมชาติ" หมายถึง ปรากฏการณ์ของโลกกายภาพ และยังหมายถึงชีวิตโดยรวม มีขนาดตั้งแต่เล็กกว่าอะตอมไปจนถึงจักรวาล คำว่า nature มาจากคำภาษาละติน natura หรือ "คุณสมบัติสำคัญ, พื้นนิสัยสืบทอด" และในสมัยโบราณ ตามตัวอักษรหมายถึง "กำเนิด" natura เป็นคำแปลภาษาละตินของคำภาษากรีก physis (φύσις) ซึ่งเดิมเกี่ยวข้องกับลักษณะภายในซึ่งพืช สัตว์และลักษณะเฉพาะ (feature) อื่นของโลกพัฒนาแนว (accord) ของตน มโนทัศน์ธรรมชาติโดยรวม จักรวาลทางกายภาพ เป็นหนึ่งในหลายการต่อขยายของความคิดดั้งเดิม เริ่มต้นด้วยการประยุกต์ใช้แก่นบางอย่างของคำว่า φύσις โดยนักปรัชญายุคก่อนโสเครติส และได้รับความแพร่หลายอย่างต่อเนืองนับแต่นั้น การใช้นี้ได้รับการยืนยันระหว่างการมาถึงของระเบียบวิธีทางวิทยาศาสตร์สมัยใหม่ในหลายศตวรรษหลัง ปัจจุบัน "ธรรมชาติ" มักหมายถึง ธรณีวิทยาและสัตว์ป่า ธรรมชาติอาจหมายถึงอาณาจักรของพืชและสัตว์หลายชนิดทั่วไป และในบางกรณีหมายถึง ขบวนการซึ่งเกี่ยวข้องกับวัตถุไร้ชีวิต คือ วิถีซึ่งสิ่งบางประเภทโดยเฉพาะดำรงและเปลี่ยนแปลงแนวของตน เช่น ลมฟ้าอากาศและธรณีวิทยาของโลก และสสารและพลังงานอันประกอบขึ้นเป็นทุกสิ่งเหล่านี้ นอกจากนี้ยังใช้หมายถึง "สิ่งแวดล้อมทางธรรมชาติ" สัตว์ป่า หิน ป่า ชายหาด และโดยทั่วไปสิ่งเหล่านี้ที่ไม่ถูกเปลี่ยนแปลงอย่างสำคัญโดยอันตรกิริยาของมนุษย์โดยทั่วไปไม่ถูกพิจารณาว่าเป็นส่วนหนึ่งของธรรมชาติ ยกเว้นถูกจัดเป็น อย่างเช่น "ธรรมชาติมนุษย์" มโนทัศน์เก่ากว่าของสิ่งธรรมชาติซึ่งยังพบในปัจจุบันอยู่ชี้ข้อแตกต่างระหว่างธรรมชาติกับที่มนุษย์สร้างขึ้น (artificial) โดยสิ่งที่มนุษย์สร้างขึ้นเข้าใจว่าเป็นสิ่งที่ถูกทำให้เกิดขึ้นจากความรู้สึกตัวหรือจิตของมนุษย์ ขึ้นอยู่กับบริบทเฉพาะ คำว่า "ธรรมชาติ" ยังอาจแตกต่างจากไม่เป็นธรรมชาติ เหนือธรรมชาติหรือสังเคราะห.

ใหม่!!: พิวรีนและธรรมชาติ · ดูเพิ่มเติม »

ธีโอโบรมีน

ีโอโบรมีน (theobromine) เดิมเรียก แซนทีโอส (xantheose) เป็นสารแอลคาลอยด์ประเภทแซนทีน มีสูตรเคมีคือ C7H8N4O2 พบในผลโกโก้ (Theobroma cacao), ช็อกโกแลต, ใบชา, ผลโคล่า, มาเต, ผลกวารานา (Paullinia cupana) และกาแฟอาราบิกา (Coffea arabica) ชื่อ "ธีโอโบรมีน" ไม่ได้เกี่ยวข้องกับธาตุโบรมีน แต่มาจากชื่อสกุลของโกโก้คือ Theobroma ธีโอโบรมีนมีลักษณะเป็นผงผลึกสีขาวหรือไม่มีสี แต่ในทางพาณิชย์อาจมีสีเหลือง รสขม ละลายน้ำได้บ้าง ค้นพบครั้งแรกในเมล็ดโกโก้โดยอเล็กซานเดอร์ วอสเครเซนสกีในปี..

ใหม่!!: พิวรีนและธีโอโบรมีน · ดูเพิ่มเติม »

ถั่วลันเตา

''Pisum sativum'' ถั่วลันเตา จัดอยู่ในตระกูลถั่ว มีถิ่นกำเนิด แถบประเทศ เอธิโอเปีย ต่อมา แพร่กระจายปลูก ในแถบ เมดิเตอร์เรเนียน และเอเชีย และเขตอบ อุ่นต่างๆ ของโลก ถั่วลันเตา เป็นพืชฤดูเดียว มีใบแบสลับ ปลายใบเปลี่ยน เป็นมือเกาะ การเจริญ เติบโตแบบพุ่ม หรือขึ้นค้าง บางสายพันธุ์ อาจมีเฉพาะ ใบบางพันธุ์ อาจมีเฉพาะ มือเกาะ ใบมีสีเขียวอ่อน ถึงสีเขียวเข้ม ลำต้นเล็ก เป็นเหลี่ยม รากเป็นระบบ รากแก้ว ดอกเป็นแบบ ดอกสมบูรณ์เพศ ผสมตัวเอง สามารถแบ่ง ประเภทของ ถั่วลันเตาเป็น 2 ประเภท ได้แก่ ประเภท ฝักเหนียว และแข็ง เมล็ดโต นิยมปลูกเพื่อ รับประทานเมล็ด ส่วนอีกชนิดปลูก เพื่อรับประทานฝักสด โดยฝักจะมี ขนาดใหญ่ มีปีก เป็นต้น.

ใหม่!!: พิวรีนและถั่วลันเตา · ดูเพิ่มเติม »

ข้าวโอ๊ต

้าวโอ๊ต เป็นธัญพืชชนิดหนึ่ง ใช้เป็นอาหารของมนุษย์และสัตว.

ใหม่!!: พิวรีนและข้าวโอ๊ต · ดูเพิ่มเติม »

ดีเอ็นเอ

กลียวคู่ดีเอ็นเอ กรดดีออกซีไรโบนิวคลีอิก (deoxyribonucleic acid) หรือย่อเป็น ดีเอ็นเอ เป็นกรดนิวคลีอิกที่มีคำสั่งพันธุกรรมซึ่งถูกใช้ในพัฒนาการและการทำหน้าที่ของสิ่งมีชีวิตทุกชนิดเท่าที่ทราบ (ยกเว้นอาร์เอ็นเอไวรัส) ส่วนของดีเอ็นเอซึ่งบรรจุข้อมูลพันธุกรรมนี้เรียกว่า ยีน ทำนองเดียวกัน ลำดับดีเอ็นเออื่น ๆ มีความมุ่งหมายด้านโครงสร้าง หรือเกี่ยวข้องกับการควบคุมการใช้ข้อมูลพันธุกรรมนี้ ดีเอ็นเอ อาร์เอ็นเอและโปรตีนเป็นหนึ่งในสามมหโมเลกุลหลักที่สำคัญในสิ่งมีชีวิตทุกชนิดที่ทราบ ดีเอ็นเอประกอบด้วยพอลิเมอร์สองสายยาวประกอบจากหน่วยย่อย เรียกว่า นิวคลีโอไทด์ โดยมีแกนกลางเป็นน้ำตาลและหมู่ฟอสเฟตเชื่อมต่อกันด้วยพันธะเอสเทอร์ ทั้งสองสายนี้จัดเรียงในทิศทางตรงกันข้าม จึงเป็น antiparallel น้ำตาลแต่ละตัวมีโมเลกุลหนึ่งในสี่ชนิดเกาะอยู่ คือ นิวคลีโอเบส หรือเรียกสั้น ๆ ว่า เบส ลำดับของนิวคลีโอเบสทั้งสี่ชนิดนี้ตามแกนกลางที่เข้ารหัสข้อมูลพันธุกรรม ข้อมูลนี้อ่านโดยใช้รหัสพันธุกรรม ซึ่งกำหนดลำดับของกรดอะมิโนในโปรตีน รหัสนี้ถูกอ่านโดยการคัดลอกดีเอ็นเอเป็นกรดนิวคลีอิกอาร์เอ็นเอที่เกี่ยวข้องในขบวนการที่เรียกว่า การถอดรหัส ดีเอ็นเอภายในเซลล์มีการจัดระเบียบเป็นโครงสร้างยาว เรียกว่า โครโมโซม ระหว่างการแบ่งเซลล์ โครโมโซมเหล่านี้ถูกคัดลอกในขบวนการการถ่ายแบบดีเอ็นเอ ทำให้แต่ละเซลล์มีชุดโครโมโซมที่สมบูรณ์ของตัวเอง สิ่งมีชีวิตยูคาริโอต (สัตว์ พืช ฟังไจและโพรทิสต์) เก็บดีเอ็นเอส่วนมากไว้ในนิวเคลียส และดีเอ็นเอบางส่วนอยู่ในออร์แกเนลล์ เช่น ไมโทคอนเดรียและคลอโรพลาสต์ ในทางตรงข้าม โปรคาริโอต (แบคทีเรียและอาร์เคีย) เก็บดีเอ็นเอไว้เฉพาะในไซโทพลาสซึม ในโครโมโซม โปรตีนโครมาติน เช่น ฮิสโตนบีบอัดและจัดรูปแบบของดีเอ็นเอ โครงสร้างบีบอัดเหล่านี้นำอันตรกิริยาระหว่างดีเอ็นเอกับโปรตีนอื่น ช่วยควบคุมส่วนของดีเอ็นเอที่จะถูกถอดรหั.

ใหม่!!: พิวรีนและดีเอ็นเอ · ดูเพิ่มเติม »

คายความร้อน

การระเบิด คือปฏิกิริยาคายความร้อนที่รุนแรงที่สุดแบบหนึ่ง ในการศึกษาเทอร์โมไดนามิกส์ กระบวนการคายความร้อน (Exothermic) หมายถึงกระบวนการหรือปฏิกิริยาที่ปลดปล่อยพลังงานออกจากระบบ โดยมากมักปลดปล่อยในรูปของความร้อน แต่ก็อาจอยู่ในรูปของแสง (เช่นประกายไฟ หรือระเบิด) ไฟฟ้า (เช่นแบตเตอรี่) หรือเสียง (เช่นเสียงเผาไหม้ไฮโดรเจน) ผู้คิดคำนี้ขึ้นครั้งแรกคือ Marcellin Berthelot กระบวนการตรงข้ามของการคายความร้อนคือกระบวนการดูดความร้อน ซึ่งดูดซับพลังงานในรูปของความร้อน หลักการนี้ประยุกต์ใช้ได้มากมายตั้งแต่ฟิสิกส์เชิงกายภาพจนถึงปฏิกิริยาเคมี ซึ่งพลังงานจากพันธะเคมีจะถูกแปลงไปเป็นพลังงานความร้อน.

ใหม่!!: พิวรีนและคายความร้อน · ดูเพิ่มเติม »

คาร์ล วิลเฮล์ม เชเลอ

ร์ล วิลเฮล์ม เชเลอ (Carl Wilhelm Scheele; 9 ธันวาคม ค.ศ. 1742 – 21 พฤษภาคม ค.ศ. 1786) เป็นนักเคมีและเภสัชกรชาวเยอรมัน-สวีเดน ผู้ได้รับฉายา "เชเลอผู้อาภัพ" จากนักเขียน ไอแซค อสิมอฟ จากการค้นพบทางเคมีหลายอย่างแต่ไม่ได้รับการยกย่องในช่วงชีวิตของเขา เชเลอเป็นผู้ค้นพบธาตุออกซิเจน, คลอรีน, ทังสเตนและสารประกอบอินทรีย์อื่น ๆ เช่น กรดยูริก, กรดแล็กติก, กรดออกซาลิก คาร์ล วิลเฮล์ม เชเลอ เกิดเมื่อ..

ใหม่!!: พิวรีนและคาร์ล วิลเฮล์ม เชเลอ · ดูเพิ่มเติม »

ตับ

ตับ (liver) เป็นอวัยวะสำคัญที่พบในสัตว์มีกระดูกสันหลังและสัตว์บางชนิด ในร่างกายมนุษย์ อยู่ในช่องท้องซีกขวาด้านบนใต้กระบังลม มีหน้าที่หลายอย่างรวมทั้งการกำจัดพิษในเมแทบอไลท์ (metabolites) (สารที่ได้จากขบวนการเมแทบอลิซึม) การสังเคราะห์โปรตีน และการผลิตสารชีวเคมีต่างๆที่จำเป็นในกระบวนการย่อยอาหาร ถ้าตับล้มเหลว หน้าที่ของตับไม่สามารถทดแทนได้ในระยะยาว โดยที่เทคนิคการฟอกตับ (liver dialysis) อาจช่วยได้ในระยะสั้น ตับยังจัดเป็นต่อมที่มีขนาดใหญ่ที่สุดในร่างกาย ในศัพท์ทางการแพทย์ คำที่มีความหมายเกี่ยวข้องกับตับจะขึ้นต้นด้วยคำว่า hepato- หรือ hepatic ซึ่งมาจากคำในภาษากรีก hepar ซึ่งหมายถึงตับ มีหน้าที่สำคัญในขบวนการเมแทบอลิซึมหลายประการในร่างกาย เช่นการควบคุมปริมาณไกลโคเจนสะสม การสลายเซลล์เม็ดเลือดแดง การสังเคราะห์พลาสมาโปรตีน การผลิตฮอร์โมน และการกำจัดพิษ ตับยังเป็นต่อมช่วยย่อยอาหารโดยผลิตน้ำดีซึ่งเป็นสารประกอบอัลคาไลน์ช่วยย่อยอาหารผลิตโดยขบวนการผสมกับไขมัน (emulsification of lipids) ถุงนํ้าดีจะใช้เป็นที่เก็บน้ำดีนี้ ถุงน้ำดีมีลักษณะเป็นถุงอยู่ใต้ตับ ก่อนอาหารถุงน้ำดีจะป่องมีขนาดเท่าผลลูกแพร์เล็กเต็มไปด้วยน้ำดี หลังอาหาร น้ำดีจะถูกนำไปใช้หมด ถุงน้ำดีจะแฟบ เนื้อเยื่อของตับมีความเป็นพิเศษอย่างมาก ส่วนใหญ่ประกอบด้วย hepatocytes ที่ควบคุมปฏิกิริยาชีวเคมีปริมาณสูง รวมทั้งการสังเคราะห์และการแตกตัวของโมเลกุลที่ซับซ้อนขนาดเล็กที่จำเป็นอย่างมากในการทำงานเพื่อการดำรงชีวิตปกติ หน้าที่การทำงานทั้งหมดอาจแตกต่างกันไป แต่ในตำราประมาณว่ามีจำนวนประมาณ 500 อย่าง.

ใหม่!!: พิวรีนและตับ · ดูเพิ่มเติม »

ตับอ่อน

ตับอ่อน (pancreas) เป็นอวัยวะซึ่งเป็นต่อมในระบบย่อยอาหารและระบบต่อมไร้ท่อในสัตว์มีกระดูกสันหลัง ในมนุษย์ ตับอ่อนอยู่ในช่องท้องหลังกระเพาะอาหาร เป็นต่อมไร้ท่อซึ่งผลิตฮอร์โมนสำคัญหลายชนิด รวมถึงอินซูลิน กลูคากอน โซมาโตสเตติน และแพนคริเอติกพอลิเพพไทด์ซึ่งไหลเวียนอยู่ในเลือด ตับอ่อนยังเป็นอวัยวะย่อยอาหาร โดยหลั่งน้ำย่อยตับอ่อนซึเอนไซม์ย่อยอาหารที่ช่วยการย่อยและดูดซึมสารอาหารในลำไส้เล็ก เอนไซม์เหล่านี้ช่วยสลายคาร์โบไฮเดรต โปรตีนและลิพิดในไคม์ (chyme) และตับอ่อนมักหลั่งเอนไซม์ คือ trypsinogen chymotrypsinogen procarboxypeptidase.

ใหม่!!: พิวรีนและตับอ่อน · ดูเพิ่มเติม »

ต่อมไทมัส

ต่อมไทมัส (thymus gland) เป็นต่อมไร้ท่อชนิดหนึ่ง อยู่ในระบบน้ำเหลือง อยู่บริเวณหลังกระดูกหน้าอก (sternum) โดยจัดเป็นอวัยวะน้ำเหลืองที่พบได้เพียงช่วงวัยหนึ่งเท่านั้น (primary lymphoid organ) ภายหลังจะถูกแทนที่ด้วยเนื้อเยื่อไขมัน (fat tissue) ต่างๆจนไม่สามารถมองเห็นต่อมไทมัสได้อีก ตำแหน่งของต่อมไทมัสบริเวณอก กายวิภาคและตำแหน่งของต่อมไทมัส หมวดหมู่:อวัยวะ หมวดหมู่:ระบบต่อมไร้ท่อ.

ใหม่!!: พิวรีนและต่อมไทมัส · ดูเพิ่มเติม »

ปฏิกิริยาเคมี

ปฏิกิริยาเคมี (Chemical reaction) คือกระบวนการที่เกิดจากการที่สารเคมีเกิดการเปลี่ยนแปลงแล้วส่งผลให้เกิดสารใหม่ขึ้นมาซึ่งมีคุณสมบัติเปลี่ยนไปจากเดิม โดยมีสารเริ่มต้นปฏิกิริยาเรียกว่า "สารตั้งต้น" (reactant) ซึ่งจะมีเพียงตัวเดียวหรือมากกว่า 1 ตัวก็ได้ มาเกิดปฏิกิริยากัน และทำให้เกิดการเปลี่ยนแปลงในคุณสมบัติทางเคมี ซึ่งก่อตัวขึ้นมาเป็นสารใหม่ที่เรียกว่า "ผลิตภัณฑ์" (product) ในที่สุด สารผลิตภัณฑ์บางตัวอาจมีคุณสมบัติทางเคมีที่ต่างจากสารตั้งต้นเพียงเล็กน้อย แต่ในขณะเดียวกันสารผลิตภัณฑ์บางตัวอาจจะแตกต่างจากสารตั้งต้นโดยสิ้นเชิง แต่เดิมแล้ว คำจำกัดความของปฏิกิริยาเคมีจะเจาะจงไปเฉพาะที่การเคลื่อนที่ของประจุอิเล็กตรอน ซึ่งก่อให้เกิดการสร้างและสลายของพันธะเคมีเท่านั้น แม้ว่าแนวคิดทั่วไปของปฏิกิริยาเคมี โดยเฉพาะในเรื่องของสมการเคมี จะรวมไปถึงการเปลี่ยนสภาพของอนุภาคธาตุ (เป็นที่รู้จักกันในนามของไดอะแกรมฟายน์แมน) และยังรวมไปถึงปฏิกิริยานิวเคลียร์อีกด้วย แต่ถ้ายึดตามคำจำกัดความเดิมของปฏิกิริยาเคมี จะมีปฏิกิริยาเพียง 2 ชนิดคือปฏิกิริยารีดอกซ์ และปฏิกิริยากรด-เบส เท่านั้น โดยปฏิกิริยารีดอกซ์นั้นเกี่ยวกับการเคลื่อนที่ของประจุอิเล็กตรอนเดี่ยว และปฏิกิริยากรด-เบส เกี่ยวกับคู่อิเล็กตรอน ในการสังเคราะห์สารเคมี ปฏิกิริยาเคมีต่างๆ จะถูกนำมาผสมผสานกันเพื่อให้เกิดสารผลิตภัณฑ์ที่ต้องการ ในสาขาวิชาชีวเคมี เป็นที่ทราบกันว่า ปฏิกิริยาเคมีหลายๆ ต่อจึงจะก่อให้เกิดแนวทางการเปลี่ยนแปลง (metabolic pathway) ขึ้นมาเนื่องจากการที่จะสังเคราะห์ผลิตภัณฑ์โดยตรงนั้นไม่สามารถทำได้ในตัวเซลล์ในคราวเดียวเนื่องจากพลังงานในเซลล์นั้นไม่พอต่อการที่จะสังเคราะห์ ปฏิกิริยาเคมียังสามารถแบ่งได้เป็นปฏิกิริยาอินทรีย์เคมีและปฏิกิริยาอนินทรีย์เคมี หมวดหมู่:ปฏิกิริยาเคมี หมวดหมู่:เคมี.

ใหม่!!: พิวรีนและปฏิกิริยาเคมี · ดูเพิ่มเติม »

ปลา

ปลา (อังกฤษ: Fish) จัดอยู่ในไฟลัมสัตว์มีกระดูกสันหลัง เป็นสัตว์ที่อาศัยอยู่ในแหล่งน้ำ เป็นสัตว์เลือดเย็น หายใจด้วยเหงือกและมีกระดูกสันหลัง สามารถเคลื่อนไหวไปมาด้วยครีบและกล้ามเนื้อของลำตัว บางชนิดมีเกล็ดปกคลุมทั่วตัว บางชนิดไม่มีเกล็ดแต่ปกคลุมด้วยเมือกลื่น ๆ หรือแผ่นกระดูก มีหัวใจสองห้องและมีขากรรไกร สัตว์ที่อาศัยอยู่ในแหล่งน้ำบางประเภท ถูกเรียกติดปากว่าปลาเช่นเดียวกันเช่น ปลาดาว, โลมา, วาฬและหมึก ซึ่งสัตว์ทั้งหมดนี้ก็มีแหล่งอาศัยอยู่ในน้ำด้วยกันทั้งสิ้น แต่ไม่ได้จัดอยู่ในจำพวกเดียวกันกับปลา ด้วยลักษณะทางกายวิภาคและสรีรวิทยาที่แตกต่างกันเช่น ปลาดาวเป็นสัตว์ที่ไม่มีกระดูกสันหลังเช่นเดียวกับปลา มีโครงสร้างที่เป็นหินปูน โลมาและวาฬถูกจัดเป็นสัตว์เลี้ยงลูกด้วยนมที่สามารถหายใจได้ทางปอดไม่ใช่ทางเหงือก และปลาหมึกจัดเป็นสัตว์ที่ไม่มีกระดูกสันหลัง แต่ถูกจัดรวมอยู่กับสัตว์ประเภทเดียวกันกับหอ.

ใหม่!!: พิวรีนและปลา · ดูเพิ่มเติม »

ปลาซาร์ดีน

ปลาซาร์ดีนยุโรป หรือ ปลาซาร์ดีนแท้ ปลาซาร์ดีน หรือ ปลาพิลชาร์ด (Sardine, Pilchard) เป็นชื่อสามัญของปลาทะเลหลายชนิด หลายสกุล ในวงศ์ปลาหลังเขียว (Clupeidae) โดยปลาที่อาจเรียกได้ว่าซาร์ดีนนั้น ได้แก.

ใหม่!!: พิวรีนและปลาซาร์ดีน · ดูเพิ่มเติม »

ปลาแมกเคอเรล

ปลาอินทรีทะเลสาบเขมร (''Scomberomorus sinensis'') จัดเป็นปลาแมกเคอเรลชนิดหนึ่งในวงศ์ Scombridae ปลาแมกเคอเรล (mackerel) เป็นชื่อเรียกสามัญในภาษาอังกฤษของปลาทะเลหลายชนิดในวงศ์ Scombridae (เป็นส่วนใหญ่), Carangidae, Hexagrammidae และ Gempylidae ซึ่งมีลักษณะคล้ายกันคือ ผิวเป็นเกล็ดละเอียดสีเงินมันวาว ตัวเรียวยาวกลมคล้ายทรงกระบอก หัวแหลมท้ายแหลม มีครีบกระโดงหนึ่งครีบ ครีบท้องหนึ่งครีบ ครีบข้างหนึ่งคู่ หางสองแฉก อาศัยอยู่ทั่วไปตามชายฝั่งทะเล อยู่รวมเป็นฝูงใหญ่ ปลาทูก็อยู่ในวงศ์ Scombridae ดังนั้นจึงจัดเป็นปลาแมกเคอเรลเช่นกัน ส่วนปลาซาร์ดีนอยู่ในวงศ์ Clupeidae ที่มีขนาดเล็กกว่า ไม่จัดว่าเป็นปลาแมกเคอเรล ปลาแมกเคอเรลเป็นปลาที่มนุษย์รับประทานได้ สามารถนำมาทำเป็นปลากระป๋อง โดยเก็บเนื้อปลาในซอสมะเขือเทศ ซึ่งเป็นการถนอมอาหารอย่างหนึ่ง.

ใหม่!!: พิวรีนและปลาแมกเคอเรล · ดูเพิ่มเติม »

ปลาเฮร์ริง

ปลาเฮร์ริง (herring) เป็นชื่อสามัญของปลาหลายชนิด หลายสกุล ในวงศ์ปลาหลังเขียว (Clupidae) คำว่า herring ในภาษาอังกฤษมาจากคำในภาษาเยอรมันสูงโบราณว่า heri แปลว่า "ฝูง" หรือ "เจ้าภาพ, เจ้าบ้าน" อันหมายถึง ลักษณะการรวมตัวกันเป็นฝูงใหญ่ของปลาจำพวกนี้ โดยมีสกุลต้นแบบคือ Clupea ปลาเฮร์ริงเป็นปลาจำพวกเดียวกับปลาซาร์ดีน มีรูปร่างคล้ายกับปลากะพงแต่รูปร่างเรียวยาวกว่า ความยาวโดยทั่วไป 14–18 เซนติเมตร ส่วนใหญ่อาศัยอยู่ในทะเลใกล้ชายฝั่งของมหาสมุทรแปซิฟิกเหนือ มหาสมุทรแอตแลนติกเหนือ รวมถึงชายฝั่งตะวันตกของทวีปอเมริกาใต้ เป็นปลาที่อาศัยอยู่รวมกันเป็นฝูงใหญ่ ดำรงชีพด้วยการกินแพลงก์ตอนเหมือนปลาจำพวกอื่นในวงศ์เดียวกัน ปลาเฮร์ริงเป็นปลาที่ตกเป็นอาหารของปลาอื่นรวมถึงสัตว์ทะเลประเภทอื่นที่มีขนาดใหญ่กว่า เช่น โลมา, วาฬ หรือปลาฉลาม และเป็นปลาที่มีความสำคัญทางเศรษฐกิจโดยเฉพาะของทวีปยุโรปจนเข้าไปอยู่ในวิถีชีวิตของผู้คน เป็นปลาเศรษฐกิจที่นิยมนำมาบริโภคและแปรรูป เช่น red herring ซึ่งเป็นปลาเฮร์ริงแห้งที่ผ่านการรมควันและหมักเกลือจนมีสีแดงอันเป็นที่มาของชื่อ และเป็นอาหารที่มีกลิ่นแรง นอกจากนี้ วลี red herring ยังเป็นสำนวนในภาษาอังกฤษซึ่งหมายถึง สิ่งหรือบุคคลที่ล่อหลอกให้เข้าใจผิด หรือการกระทำที่เบี่ยงเบนไปจากประเด็นหลัก ประเด็นสำคัญ เป็นต้น.

ใหม่!!: พิวรีนและปลาเฮร์ริง · ดูเพิ่มเติม »

นม

นมในแก้ว นม หรือ น้ำนม หมายถึงของเหลวสีขาวที่ประกอบด้วยสารอาหารที่ออกมาจากเต้านมของสัตว์เลี้ยงลูกด้วยนม นมจะประกอบไปด้วยสารอาหารหลักที่จำเป็นสำหรับเด็กหรือสัตว์เกิดใหม่ ซึ่งนมสามารถนำไปสร้างผลิตภัณฑ์อื่นได้แก่ ครีม เนย โยเกิร์ต ไอศกรีม ชีส นอกจากนี้นมยังสามารถหมายถึงเครื่องดื่มอื่นที่นำมาใช้ทดแทนนม เช่น นมถั่วเหลือง นมข้าว นมข้าวโพด นมแอลมอนด์ สัตว์เลี้ยงลูกด้วยนม ที่ให้นม อาทิ วัว มนุษย์ แพะ ควาย แกะ ม้า ลา อูฐ จามรี ยามา เรนเดียร์ ฯลฯ โดยนมจากม้าและลาเป็นนมที่มีไขมันต่ำ ในขณะที่นมจากแมวน้ำจะมีไขมันสูงถึง 50% นอกจากนี้ในประเทศรัสเซียและประเทศสวีเดน มีการกินนมกวางมูส มีบางคนที่ไม่มีน้ำย่อยแลกโทส จะไม่สามารถดื่มนมวัวได้ ก็จะหันมาดื่มนมสัตว์ชนิดอื่นแทน เช่น นมแ.

ใหม่!!: พิวรีนและนม · ดูเพิ่มเติม »

นิวคลีโอไทด์

รงสร้างของนิวคลีโอไทด์ที่พบบ่อย นิวคลีโอไทด์ (nucleotide) เป็นโครงสร้างพื้นฐานของกรดนิวคลีอิก ซึ่งประกอบด้วย นิวคลีโอไซด์ (neucleoside) กับหมู่ฟอสเฟต โดยนิวคลีโอไซด์ประกอบด้วยไนโตรจีนัสเบส (nitrogenous base; เรียกสั้นๆว่าเบส) กับน้ำตาลเพนโทส (มีคาร์บอน 5 โมเลกุล) ทั้งนี้เบสแบ่งตามโครงสร้างได้เป็นสองกลุ่มคือ ไพริมิดีน (โครงสร้างมี 1 วง) ได้แก่ ไซโตซีน (C) ไทมีน (T) และยูราซิล (U) และเบสไพรีน (โครงสร้างมี 2 วง) ได้แก่ อะดีนีน (A) กวานีน (G) ในการรวมตัวเป็นนิวคลีโอไทด์ เบสจะต่อกับคาร์บอนตัวที่ 1 ของน้ำตาลเพนโทส และฟอสเฟตต่อกับน้ำตาลตัวที่ 5 ของเพนโทส น้ำตาลเพนโทสที่พบในนิวคลีโอไทด์มีสองชนิดคือน้ำตาลไรโบสกับน้ำตาลดีออกซีไร.

ใหม่!!: พิวรีนและนิวคลีโอไทด์ · ดูเพิ่มเติม »

นิโคตินาไมด์อะดินีนไดนิวคลีโอไทด์

นิโคตินาไมด์อะดินีนไดนิวคลีโอไทด์ (Nicotinamide adenine dinucleotide; NAD) เป็นโคเอนไซม์ที่พบในเซลล์สิ่งมีชีวิตทุกชนิด จัดเป็นไดนิวคลีโอไทด์เพราะโครงสร้างประกอบด้วยนิวคลีโอไทด์ 2 ตัวที่ใช้ฟอสเฟตร่วมกัน โดยตัวหนึ่งมีเบสเป็นอะดีนีน อีกตัวหนึ่งเป็นนิโคตินาไมด์ พบทั้งสภาวะออกซิไดส์และรีดิวซ์ซึ่งย่อว่า NAD+และ NADH ตามลำดั.

ใหม่!!: พิวรีนและนิโคตินาไมด์อะดินีนไดนิวคลีโอไทด์ · ดูเพิ่มเติม »

แอมโมเนีย

แอมโมเนีย เป็น สารประกอบเคมี ที่ประกอบด้วยธาตุ ไนโตรเจน และ ไฮโดรเจน โดยมี สูตรเคมี ดังนี้ NH3.

ใหม่!!: พิวรีนและแอมโมเนีย · ดูเพิ่มเติม »

โมเลกุล

โครงสร้างสามมิติ (ซ้ายและกลาง) และโครงสร้างสองมิติ (ขวา) ของโมเลกุลเทอร์พีนอย โมเลกุล (molecule) เป็นส่วนที่เล็กที่สุดของสสารซึ่งสามารถดำรงอยู่ได้ตามลำพังและยังคงความเป็นสารดังกล่าวไว้ได้ โมเลกุลประกอบด้วยอะตอมของธาตุมาเกิดพันธะเคมีกันกลายเป็นสารประกอบชนิดต่าง ๆ ใน 1 โมเลกุล อาจจะประกอบด้วยอะตอมของธาตุทางเคมีตัวเดียว เช่น ออกซิเจน (O2) หรืออาจจะมีหลายธาตุก็ได้ เช่น น้ำ (H2O) ซึ่งเป็นการประกอบร่วมกันของ ไฮโดรเจน 2 อะตอมกับ ออกซิเจน 1 อะตอม หากโมเลกุลหลายโมเลกุลมาเกิดพันธะเคมีต่อกัน ก็จะทำให้เกิดสสารขนาดใหญ่ขึ้นมาได้ เช่น (H2O) รวมกันหลายโมเลกุล เป็นน้ำ มโลเกุล มโลเกุล หมวดหมู่:โมเลกุล.

ใหม่!!: พิวรีนและโมเลกุล · ดูเพิ่มเติม »

โรคเกาต์

รคเกาต์ (หรือที่รู้จักกันในนาม โพดากรา เมื่อเกิดกับนิ้วหัวแม่เท้า) เป็นภาวะความเจ็บป่วยที่มักสังเกตได้จากอาการไขข้ออักเสบกำเริบเฉียบพลันซ้ำ ๆ—มีอาการแดง ตึง แสบร้อน บวมที่ข้อต่อ ข้อต่อกระดูกฝ่าเท้า-นิ้วเท้าที่โคนนิ้วหัวแม่เท้ามักได้รับผลกระทบบ่อยที่สุด (ประมาณ 50% ของผู้ป่วย) นอกจากนี้ ยังอาจพบได้ในรูปแบบของก้อนโทไฟ นิ่วในไต หรือ โรคไตจากกรดยูริก โรคนี้เกิดจากการมีระดับกรดยูริกในเลือดสูง กรดยูริกตกผลึกแล้วมาจับที่ข้อต่อ เส้นเอ็น และ เนื้อเยื่อโดยรอบ การวินิจฉัยทางคลินิกทำได้โดยการตรวจผลึกที่มีลักษณะเฉพาะในน้ำไขข้อ รักษาได้โดยยาแก้อักเสบชนิดไม่ใช่สเตอรอยด์ (NSAIDs) สเตอรอยด์ หรือ โคลชิซีน ซึ่งทำให้ผู้ป่วยมีอาการดีขึ้นได้ หลังจากอาการข้ออักเสบกำเริบเฉียบพลันผ่านไปแล้ว ระดับของกรดยูริกในเลือดมักจะลดลงได้โดยการปรับเปลี่ยนวิถีชีวิต และในผู้ที่มีอาการกำเริบบ่อยอาจใช้อัลโลพูรินอลหรือโพรเบเนซิดเพื่อให้การป้องกันในระยะยาว จำนวนผู้ป่วยโรคเกาต์เพิ่มสูงขึ้นในช่วงหลายสิบปีนี้ โดยมีผลกระทบกับ 1-2% ของชาวตะวันตกในช่วงใดช่วงหนึ่งของชีวิต จำนวนที่เพิ่มขึ้นนี้เชื่อว่าเป็นผลมาจากปัจจัยเสี่ยงที่พบมากขึ้นในประชากร ยกตัวอย่างเช่น กลุ่มอาการเมตาบอลิก อายุขัยที่ยืนยาวขึ้น และ พฤติกรรมการกินอาหารที่เปลี่ยนแปลงไป แต่เดิมนั้นโรคเกาต์เคยได้ชื่อว่าเป็น "โรคของราชา" หรือ "โรคของคนรวย".

ใหม่!!: พิวรีนและโรคเกาต์ · ดูเพิ่มเติม »

โปรตอน

| magnetic_moment.

ใหม่!!: พิวรีนและโปรตอน · ดูเพิ่มเติม »

ไฮโดรเจนไอโอไดด์

รเจนไอโอไดด์ (HI) เป็นสารประกอบขนาดสองอะตอม สารละลายของ HI เรียกว่ากรดไอโอไฮโดรอิก (iohydroic acid) หรือ กรดไฮโดรไอโอดิก (hydroiodic acid) มีฤทธิ์เป็นกรดแก่ อย่างไรก็ตามไฮโดรเจนไอโอไดด์นั้นมีสถาะเป็นก๊าซที่สภาวะมาตรฐานแต่กรดไอโอไฮโดรอิกเป็นสารละลาย HI ใช้ในการสังเคราะห์สารอินทรีย์และอนินทรีย์โดยเป็นแหล่งของไอโอดีนและใช้ในการทำปฏิกิริยารีดักชัน.

ใหม่!!: พิวรีนและไฮโดรเจนไอโอไดด์ · ดูเพิ่มเติม »

ไฮโดรเจนไซยาไนด์

รเจนไซยาไนด์ (Hydrogen cyanide, สูตรเคมี HCN) เป็นก๊าซซึ่งก่อให้เกิดอาการไอ มีเสมหะ และหลอดลมอักเสบเรื้อรัง ปวดศีรษะ เวียนศีรษะ และคลื่นไส้อาเจียน เป็นก๊าซพิษที่ใช้ในสงคราม นอกจากนี้สารไนเทรตในบุหรี่ทำให้เกิดไฮโดรเจนไซยาไนด์ สารนี้เป็นตัวสกัดกั้นเอนไซม์ที่เกี่ยวกับการหายใจหลายตัว ทำให้เกิดความผิดปกติของการเผาผลาญพลังงานที่กล้ามเนื้อหัวใจและที่ผนังหลอดเลือ.

ใหม่!!: พิวรีนและไฮโดรเจนไซยาไนด์ · ดูเพิ่มเติม »

ไทมีน

สำหรับวิตามินที่ชื่อสะกดคล้ายกัน ดูที่ ไทอะมีน ไทมีน (Thymine) เป็นเบสชนิดหนึ่ง มักพบได้ในกรดนิวคลีอิก ตัวย่อ T ซึ่งในกรดนิวคลีอิกที่เป็นสายคู่พบว่าไทมีนจะจับคู่กับเบส Adenine (A) หมวดหมู่:สารเคมี.

ใหม่!!: พิวรีนและไทมีน · ดูเพิ่มเติม »

ไต

ตเป็นอวัยวะรูปถั่วซึ่งมีหน้าที่ควบคุมสำคัญหลายอย่างในสัตว์มีกระดูกสันหลัง ไตนำโมเลกุลอินทรีย์ส่วนเกิน (เช่น กลูโคส) ออก และด้วยฤทธิ์นี้เองที่เป็นการทำหน้าที่ที่ทราบกันดีที่สุดของไต คือ การขับของเสียจากเมแทบอลิซึม (เช่น ยูเรีย แม้ 90% ของปริมาณที่กรองถูกดูดกลับที่หน่วยไต) ออกจากร่างกาย ไตเป็นอวัยวะสำคัญในระบบปัสสาวะและยังมีหน้าที่ธำรงดุล เช่น การกำกับอิเล็กโทรไลต์ การรักษาสมดุลกรด–เบส และการกำกับความดันเลือด (ผ่านการรักษาสมดุลเกลือและน้ำ) ไตทำหน้าที่เป็นตัวกรองเลือดตามธรรมชาติ และนำของเสียที่ละลายได้ในน้ำออก ซึ่งจะถูกส่งไปยังกระเพาะปัสสาวะ ในการผลิตปัสสาวะ ไตขับของเสีย เช่น ยูเรียและแอมโมเนียม และยังทำหน้าที่ดูดน้ำ กลูโคสและกรดอะมิโนกลับ ไตยังผลิตฮอร์โมน เช่น แคลซิไตรออล อีริโธรพอยอิติน และเอนไซม์เรนิน ซึ่งเรนินออกฤทธิ์ต่อไตโดยอ้อมในการยับยั้งป้อนกลับ (negative feedback) ไตอยู่หลังช่องท้องในหลังเยื่อบุช่องท้อง (retroperitoneum) ไตรับเลือดจากคู่หลอดเลือดแดงไต และเทเข้าสู่คู่หลอดเลือดดำไต ไตแต่ละข้างขับปัสสาวะสู่ท่อไต อันเป็นโครงสร้างคู่และเทเข้าสู่กระเพาะปัสสาวะ สรีรวิทยาไตเป็นการศึกษาการทำหน้าที่ของไต ขณะที่วักกวิทยา (nephrology) เป็นแพทยศาสตร์เฉพาะทางว่าด้วยโรคไต โรคของไตมีหลากหลาย แต่ผู้ที่มีโรคไตแสดงลักษณะพิเศษทางคลินิกบ่อยครั้ง ปัญหาทางคลินิกเกี่ยวกับไตที่พบบ่อย รวมถึงกลุ่มอาการไตอักเสบ (nephritic) และเนโฟรติก (nephrotic) ถุงน้ำไต ไตบาดเจ็บเฉียบพลัน โรคไตเรื้อรัง การติดเชื้อทางเดินปัสสาวะ โรคนิ่วไต และการอุดกั้นทางเดินปัสสาวะ มีมะเร็งของไตหลายอย่าง มะเร็งของไตในผู้ใหญ่ที่พบมากที่สุด คือ มะเร็งเซลล์ไต มะเร็ง ถุงน้ำและปัญหาของไตอื่นบางอย่างสามารถรักษาได้ด้วยการตัดไต เมื่อการทำหน้าที่ของไต ซึ่งวัดได้โดยอัตราการกรองของโกลเมอรูลัส (glomerular filtration rate) ต่ำอย่างต่อเนื่อง การแยกสารผ่านเยื่อและการปลูกถ่ายไตอาจเป็นทางเลือกการรักษา นิ่วในไตปกติไม่เป็นอันตราย แต่อาจทำให้เกิดการปวด และการเกิดนิ่วซ้ำ ๆ เรื้อรังสามารถทำให้ไตเกิดแผลเป็น การนำนิ่วในไตออกเกี่ยวข้องกับการรักษาด้วยอัลตราซาวน์เพื่อสลายนิ่วเป็นชิ้นที่เล็กลง ซึ่งจะผ่านทางเดินปัสสาวะ กลุ่มอาการทั่วไปหนึ่งของนิ่วในไต คือ การปวดแปลบ (sharp) ถึงปวดจนรบกวนการใช้ชีวิต (disabling pain) ในตอนกลาง/ข้างของหลังส่วนล่างหรือขาหนี.

ใหม่!!: พิวรีนและไต · ดูเพิ่มเติม »

ไนโตรเจน

นโตรเจน (Nitrogen) เป็นธาตุเคมีในตารางธาตุที่มีสัญลักษณ์ N และเลขอะตอม 7 เป็นอโลหะที่มีสถานะเป็นแก๊สที่มีอยู่ทั่วไป โดยปกติไม่มีสี กลิ่น หรือรส แต่ละโมเลกุลมี 2 อะตอม ไนโตรเจนเป็นส่วนประกอบของบรรยากาศ ของโลกถึง 78 เปอร์เซ็นต์ และเป็นส่วนประกอบของเนื้อเยื่อในสิ่งมีชีวิต นอกจากนี้ไนโตรเจนยังเป็นส่วนประกอบในสารประกอบที่สำคัญหลายชนิด เช่น กรดอะมิโน แอมโมเนีย กรดไนตริก และสารจำพวกไซยาไน.

ใหม่!!: พิวรีนและไนโตรเจน · ดูเพิ่มเติม »

เบียร์

ียร์ในแก้ว เบียร์ เป็นเมรัยหลาย ๆ รูปแบบที่ผ่านกระบวนการหมัก ผลิตภัณฑ์พวกธัญพืช ประวัติศาสตร์ของเบียร์นั้นมีมายาวนาน เบียร์เป็นเครื่องดื่มแอลกอฮอลชนิดแรกของโลก เริ่มผลิต 6,000 ปีก่อนคริสตกาล โดยชนชาติ บาบิโลเนียน เบียร์เป็นที่รู้จักในสมัยอียิปต์โบราณและเมโสโปเตเมีย และมีหลักฐานย้อนไปยาวนานถึง 4,000 ปีก่อนคริสตกาล โดยใช้ข้าวบาร์เลย์ เป็นวัตถุดิบ ในราว 1,000 ปีก่อนคริสตกาล ทีการผสมพืชอีกหนึ่งชนิดเข้าไปคือ ฮอปส์ ทำให้มีกลิ่นหอม, รสชาติขม และ สามารถรักษาคุณภาพของเบียร์ให้เก็บได้นานขึ้น แต่เบียร์เหล่านี้แตกต่างจากเบียร์ในปัจจุบัน และเนื่องจากเครื่องปรุงและกรรมวิธีในการผลิตเบียร์แตกต่างกันไปตามสถานที่ ลักษณะของเบียร์ (ชนิดของเบียร์, รสชาติ, และสี) จึงมีความแตกต่างกันได้มาก.

ใหม่!!: พิวรีนและเบียร์ · ดูเพิ่มเติม »

เกรวี

กรวี (gravy; sauce au jus de viande) เป็นซอสที่ทำจากน้ำที่ออกมาจากเนื้อสัตว์หรือพืชผักระหว่างที่โดนความร้อน แล้วนำไปทำให้ข้นด้วยแป้งสาลีหรือแป้งข้าวโพด บางครั้งอาจมีการเติมสีผสมอาหารลงไปในเกรวีเพื่อให้สีดูเข้มขึ้นด้วย เกรวีแบบสำเร็จรูปมีจำหน่ายหลายรูปแบบ ได้แก่ แบบก้อน แบบผง และแบบกระป๋อง นิยมรับประทานกับเนื้อย่าง มีตโลฟ ข้าว และมันฝรั่ง.

ใหม่!!: พิวรีนและเกรวี · ดูเพิ่มเติม »

เมแทบอลิซึม

กระบวนการสร้างและสลาย หรือ เมแทบอลิซึม (metabolism) มาจากภาษากรีก μεταβολή ("metabolē") มีความหมายว่า "เปลี่ยนแปลง" เป็นกลุ่มปฏิกิริยาเคมีที่เกิดขึ้นในเซลล์สิ่งมีชีวิตเพื่อค้ำจุนชีวิต วัตถุประสงค์หลักสามประการของเมแทบอลิซึม ได้แก่ การเปลี่ยนอาหารและเชื้อเพลิงให้เป็นพลังงานในการดำเนินกระบวนการของเซลล์ การเปลี่ยนอาหารและเชื้อเพลิงเป็นหน่วยย่อยของโปรตีน ลิพิด กรดนิวคลิอิกและคาร์โบไฮเดรตบางชนิด และการขจัดของเสียไนโตรเจน ปฏิกิริยาเหล่านี้มีเอนไซม์เป็นตัวเร่งปฏิกิริยา เพื่อให้สิ่งมีชีวิตเติบโตและเจริญพันธุ์ คงไว้ซึ่งโครงสร้างและตอบสนองต่อสิ่งแวดล้อม "เมแทบอลิซึม" ยังสามารถหมายถึง ผลรวมของปฏิกิริยาเคมีทั้งหมดที่เกิดในสิ่งมีชีวิต รวมทั้งการย่อยและการขนส่งสสารเข้าสู่เซลล์และระหว่างเซลล์ กลุ่มปฏิกิริยาเหล่านี้เรียกว่า เมแทบอลิซึมสารอินเทอร์มีเดียต (intermediary หรือ intermediate metabolism) โดยปกติ เมแทบอลิซึมแบ่งได้เป็นสองประเภท คือ แคแทบอลิซึม (catabolism) ที่เป็นการสลายสสารอินทรีย์ ตัวอย่างเช่น การสลายกลูโคสให้เป็นไพรูเวต เพื่อให้ได้พลังงานในการหายใจระดับเซลล์ และแอแนบอลิซึม (anabolism) ที่หมายถึงการสร้างส่วนประกอบของเซลล์ เช่น โปรตีนและกรดนิวคลีอิก ทั้งนี้ การเกิดแคแทบอลิซึมส่วนใหญ่มักมีการปลดปล่อยพลังงานออกมา ส่วนการเกิดแอแนบอลิซึมนั้นจะมีการใช้พลังงานเพื่อเกิดปฏิกิริยา ปฏิกิริยาเคมีของเมแทบอลิซึมถูกจัดอยู่ในวิถีเมแทบอลิซึม (metabolic pathway) ซึ่งสารเคมีชนิดหนึ่งๆ จะถูกเปลี่ยนแปลงหลายขั้นตอนจนกลายเป็นสารชนิดอื่น โดยอาศัยการเข้าทำปฏิกิริยาของใช้เอนไซม์หลายชนิด ทั้งนี้ เอนไซม์ชนิดต่างๆ นั้นมีความสำคัญอย่างยิ่งต่อการเกิดเมแทบอลิซึม เพราะเอนไซม์จะเป็นตัวกระตุ้นการเกิดปฏิกิริยาเคมีเหล่านั้น โดยการเข้าจับกับปฏิกิริยาที่เกิดเองได้ (spontaneous process) อยู่แล้วในร่างกาย และหลังการเกิดปฏิกิริยาจะมีปลดปล่อยพลังงานออกมา พลังงานที่เกิดขึ้นนี้จะถูกนำไปใช้ในปฏิกิริยาเคมีอื่นของสิ่งมีชีวิตที่ไม่อาจเกิดขึ้นได้เองหากปราศจากพลังงาน จึงอาจกล่าวได้ว่า เอนไซม์ทำหน้าที่เป็นตัวเร่งปฏิกิริยา ทำให้ปฏิกิริยาเคมีต่างๆ ของร่างกายดำเนินไปอย่างรวดเร็วและมีประสิทธิภาพ นอกจากนี้ เอนไซม์ยังทำหน้าที่ควบคุมวิถีเมแทบอลิซึมในกระบวนการการตอบสนองต่อการเปลี่ยนแปลงในสิ่งแวดล้อมของเซลล์หรือสัญญาณจากเซลล์อื่น ระบบเมแทบอลิซึมของสิ่งมีชีวิตจะเป็นตัวกำหนดว่า สารใดที่มีคุณค่าทางโภชนาการและเป็นพิษสำหรับสิ่งมีชีวิตนั้น ๆ ตัวอย่างเช่น โปรคาริโอตบางชนิดใช้ไฮโดรเจนซัลไฟด์เป็นสารอาหาร ทว่าแก๊สดังกล่าวกลับเป็นสารที่ก่อให้เกิดพิษแก่สัตว์ ทั้งนี้ ความเร็วของเมแทบอลิซึม หรืออัตราเมแทบอลิกนั้น ส่งผลต่อปริมาณอาหารที่สิ่งมีชีวิตต้องการ รวมไปถึงวิธีที่สิ่งมีชีวิตนั้นจะได้อาหารมาด้วย คุณลักษณะที่โดดเด่นของเมแทบอลิซึม คือ ความคล้ายคลึงกันของวิถีเมแทบอลิซึมและส่วนประกอบพื้นฐาน แม้จะในสปีชีส์ที่ต่างกันมากก็ตาม ตัวอย่างเช่น กลุ่มกรดคาร์บอกซิลิกที่ทราบกันดีว่าเป็นสารตัวกลางในวัฏจักรเครปส์นั้นพบได้ในสิ่งมีชีวิตทุกชนิดที่มีการศึกษาในปัจจุบัน ตั้งแต่สิ่งมีชีวิตเซลล์เดียวอย่างแบคทีเรีย Escherichia coli ไปจนถึงสิ่งมีชีวิตหลายเซลล์ขนาดใหญ่อย่างช้าง ความคล้ายคลึงกันอย่างน่าประหลาดใจของวิถีเมแทบอลิซึมเหล่านี้เป็นไปได้ว่าอาจเป็นผลเนื่องมาจากวิถีเมแทบอลิซึมที่ปรากฏขึ้นในช่วงแรกของประวัติศาสตร์วิวัฒนาการ และสืบมาจนถึงปัจจุบันเพราะประสิทธิผลของกระบวนการนี้.

ใหม่!!: พิวรีนและเมแทบอลิซึม · ดูเพิ่มเติม »

เห็ด

ห็ดต่าง ๆ เห็ด (mushroom) คือชีวินทรีย์ (living organism) จัดอยู่ในอาณาจักรฟันไจ (Kingdom Fungi; พหูพจน์ fungi ฟันไจ, เอกพจน์ fungus ฟันกัส) มีหลากหลายรูปพรรณสัณฐาน จัดจำแนกอยู่ใน 'ไฟลัมเบซิดิโอไมโคทา (phylum Basidiomycota)' กับ 'ไฟลัมอะการิโคไมโคทา (phylum Agaricomycota)' คำว่า 'เห็ด' หรือ 'ดอกเห็ด' คือส่วนโครงสร้างสืบพันธุ์ของฟันกัส ประกอบด้วย ก้าน (stipe) และ หมวก (pileus) ใต้หมวกอาจเป็น ครีบ (พหูพจน์ lamellae, เอกพจน์ lamella) หรือเป็นท่อ (tube) อันเป็นที่เกิด 'สปอร์ (spore)' ซึ่งสปอร์นี้มีขนาดเล็กมากเรียกว่าจุลขนาดต้องใช้กล้องจุลทรรศ์ช่วยให้มองเห็น ปัจจุบันได้มีการจำแนก 'เห็ด' แล้วกว่า 30,000 ชนิด มีทั้งที่เป็น 'เห็ดกินได้' 'เห็ดกินไม่ได้' 'เห็ดพิษ' บางชนิดกินแล้วเกิดประสาทหลอน บางชนิดกินแล้วถึงแก่ชีวิต.

ใหม่!!: พิวรีนและเห็ด · ดูเพิ่มเติม »

เนื้อสัตว์

นื้อสัตว์ต่าง ๆ เนื้อสัตว์ เป็นเนื้อของสัตว์ที่มนุษย์บริโภคเป็นอาหาร มนุษย์เป็นสัตว์กินทั้งพืชและเนื้อ ล่าและฆ่าสัตว์เอาเนื้อมาตั้งแต่สมัยก่อนประวัติศาสตร์ จุดเริ่มต้นของอารยธรรมทำให้มนุษย์นำสัตว์มาเลี้ยง เช่น ไก่ แกะ หมูและปศุสัตว์ และนำมาใช้ในการผลิตเนื้อสัตว์ในระดับอุตสาหกรรมในที่สุด เนื้อสัตว์ประกอบด้วยน้ำและโปรตีนเป็นส่วนใหญ่ และโดยปกติกินร่วมกับอาหารอย่างอื่น เนื้อสัตว์นั้นกินดิบ ๆ ได้ แต่ปกติจะกินสุกและสามารถปรุงรสได้หลายวิธี หากไม่ผ่านการแปรรูป เนื้อสัตว์จะเน่าในเวลาไม่กี่วัน การเน่าเสียของเนื้อสัตว์นั้นเกิดจากการติดเชื้ออันมิอาจหลีกเลี่ยงได้ และจากการย่อยสลายโดยแบคทีเรียและฟังไจ ซึ่งอาจจะมาจากตัวเนื้อสัตว์เอง มาจากมนุษย์จัดการกับเนื้อสัตว์ และจากกระบวนการปรุงอาหาร การบริโภคเนื้อสัตว์นั้นมีหลากหลายทั่วโลก ขึ้นอยู่กับวัฒนธรรม หรือศาสนา หรือสถานะทางเศรษฐกิจ ผู้กินมังสวิรัติเลือกไม่กินเนื้อ ด้วยเหตุผลด้านจริยธรรม สิ่งแวดล้อม ศาสนาหรือสุขภาพ ซึ่งสัมพันธ์กับการผลิตและบริโภคเนื้อสัตว์ โดยส่วนใหญ่ เนื้อสัตว์หมายถึงกล้ามเนื้อโครงร่างและไขมันและเนื้อเยื่ออื่น ๆ ที่เกี่ยวข้อง แต่อาจหมายถึงเนื้อเยื่อที่กินได้ เช่น เครื่องในสัตว์ ในทางกลับกัน เนื้อสัตว์ บางครั้งใช้เรียกอย่างจำกัด คือหมายถึงเพียงเนื้อของสัตว์เลี้ยงลูกด้วยนม (หมู, ปศุสัตว์, แกะ, ฯลฯ) ที่ถูกเลี้ยงดูและเตรียมไว้ให้มนุษย์บริโภค แต่ไม่รวมถึงปลา สัตว์ทะเลต่าง ๆ สัตว์ปีก หรือสัตว์ชนิดอื่น.

ใหม่!!: พิวรีนและเนื้อสัตว์ · ดูเพิ่มเติม »

เปลี่ยนเส้นทางที่นี่:

PurineTraube purine synthesisเพียวรีน

ขาออกขาเข้า
Hey! เราอยู่ใน Facebook ตอนนี้! »