โลโก้
ยูเนี่ยนพีเดีย
การสื่อสาร
ดาวน์โหลดได้จาก Google Play
ใหม่! ดาวน์โหลด ยูเนี่ยนพีเดีย บน Android ™ของคุณ!
ดาวน์โหลด
เร็วกว่าเบราว์เซอร์!
 

พายุหมุนนอกเขตร้อน

ดัชนี พายุหมุนนอกเขตร้อน

พายุหมุนนอกเขตร้อนลูกหนึ่งเหนือมหาสมุทรแปซิฟิกตอนเหนือในเดือนมกราคม 2560 โดยมีลักษณะคล้ายตาและแนวปะทะอากาศเย็นยาวไปถึงเขตร้อน พายุหมุนนอกเขตร้อน (extratropical cyclone) บางทีเรียก พายุหมุนละติจูดปานกลาง (mid-latitude cyclone) หรือ พายุหมุนคลื่น (wave cyclone) เป็นบริเวณความกดอากาศต่ำซึ่งขับเคลื่อนลมฟ้าอากาศในพื้นที่ส่วนใหญ่ของโลกร่วมกับแอนไทไซโคลนในเขตละติจูดสูง พายุหมุนนอกเขตร้อนสามารถทำให้เกิดท้องฟ้ามีเมฆมากและมีฝนตกปรอย ๆ ไปจนถึงพายุเกลหนัก พายุฝนฟ้าคะนอง พายุหิมะและทอร์เนโด พายุหมุนเหล่านี้นิยามเป็นระบบลมฟ้าอากาศความกดอากาศต่ำขนาดใหญ่ที่เกิดในละติจูดปานกลางของโลก พายุหมุนนอกเขตร้อนทำให้เกิดการเปลี่ยนแปลงอุณหภูมิและจุดน้ำค้างอย่างรวดเร็วตามแนวปะทะอากาศ ซึ่งอยู่ประมาณใจกลางของพายุหมุน นับว่าตรงข้ามกับพายุหมุนเขตร้อน.

5 ความสัมพันธ์: พายุหมุนเขตร้อนลมฟ้าอากาศละติจูดทอร์นาโดแอนไทไซโคลน

พายุหมุนเขตร้อน

รนแบนด์โดยรอบ, และลักษณะของพายุหมุนเขตร้อน ที่สามารถมองเห็นได้อย่างชัดเจนจากอวกาศ พายุหมุนเขตร้อน คือ ระบบพายุที่พัฒนามาจากศูนย์กลางของหย่อมความกดอากาศต่ำ, ลมแรง และการจัดเกลียวของพายุฝนฟ้าคะนอง ทั้งนี้ขึ้นกับสถานที่และความรุนแรง ซึ่งเกิดขึ้นบริเวณเขตร้อนของโลก ซึ่งมีชื่อเรียกต่างๆ กัน เช่น พายุเฮอร์ริเคน, พายุโซนร้อน, พายุไซโคลน, พายุดีเปรสชันเขตร้อน และพายุไซโคลนอย่างง่าย โดยทั่วไปรูปแบบพายุหมุนเขตร้อนจะมีขนาดใหญ่ขึ้นกับความสัมพันธ์กับน้ำอุ่น โดยพายุจะได้รับพลังงานผ่านการระเหยของน้ำบริเวณพื้นผิวมหาสมุทร ซึ่งในที่สุดน้ำเหล่านั้นจะควบแน่นอีกครั้งและเข้าไปอยู่ในกลุ่มเมฆและฝน เมื่ออากาศชื้นและความเย็นอิ่มตัว ซึ่งแหล่งพลังงานนี้จะแตกต่างกับพายุหมุนละติจูดกลาง ตัวอย่างเช่น นอร์อิสเทิร์น และพายุลมยุโรป ซึ่งได้รับพลังพลักดันหลักจากความแตกต่างของอุณหภูมิในแนวนอน โดยลมหมุนวนรอบอย่างรุนแรงของพายุหมุนเขตร้อนนั้นเป็นผลมาจากการอนุรักษ์โมเมนตัมเชิงมุม ซึ่งเกิดจากสภาวะการหมุนรอบตัวเองของโลก ขณะที่อากาศไหลเข้ามาสู่แกนกลางของการหมุน ผลที่ตามมา คือ พายุมักไม่ค่อยเกิดขึ้นภายใน 5° จากศูนย์สูตร พายุหมุนเขตร้อนโดยทั่วไปเส้นผ่านศูนย์กลางอยู่ที่ 100 - 4,000 กิโลเมตร คำว่า พายุหมุน (หรือไซโคลน) หมายถึง พายุหมุนตามธรรมชาติ ซึ่งลมจะพัดหมุนทวนเข็มนาฬิกาในซีกโลกเหนือ และจะพัดหมุนตามเข็มนาฬิกาในซีกโลกใต้ ซึ่งทิศทางตรงข้ามการของการไหลเวียนลม เป็นผลมาจากคอริโอลิส ส่วนคำว่า เขตร้อน หมายถึง แหล่งกำเนิดของพายุทางภูมิศาสตร์ ซึ่งเป็นรูปแบบพิเศษของทะเลในเขตร้อน นอกจากลมแรงและฝนตก พายุหมุนเขตร้อนมีความสามารถในการสร้างคลื่นสูง และก่อให้เกิดความเสียหายจากน้ำขึ้นจากพายุ และทอร์นาโด ซึ่งมักจะลดลงอย่างรวดเร็วในช่วงที่พายุอยู่บนแผ่นดิน เนื่องจากถูกตัดขาดจากแหล่งพลังงานหลักของมัน จากเหตุผลนี้ ทำให้บริเวณชายฝั่งทะเล มักมีความเสี่ยงที่จะเกิดความเสียหายจากพายุหมุนเขตร้อนมากกว่า เมื่อเทียบกับในแผ่นดิน อย่างไรก็ตามในแผ่นดินเองก็เกิดความเสียหายได้จากน้ำท่วมบนแผ่นดิน จากฝนตกหนัก และน้ำขึ้นจากพายุสามารถก่อให้เกิดน้ำท่วมบนแผ่นดินได้กว้างถึง 40 กิโลเมตร จากชายฝั่งทะเล แม้ว่าพายุหมุนเขตร้อนจะส่งผลกระทบต่อประชากรมนุษย์มหาศาล แต่พายุยังสามารถช่วยบรรเทาภาวะภัยแล้งได้ พวกมันยังพาพลังงานความร้อนออกไปจากเขตร้อน ข้ามผ่านไปยังละติจูดในเขตอบอุ่น ซึ่งอาจมีบทบาทสำคัญในการปรับเปลี่ยนสภาวะภูมิอากาศในระดับภูมิภาคและระดับโลก.

ใหม่!!: พายุหมุนนอกเขตร้อนและพายุหมุนเขตร้อน · ดูเพิ่มเติม »

ลมฟ้าอากาศ

ลมฟ้าอากาศ (weather) เป็นสถานะของบรรยากาศ ถึงระดับที่ว่าบรรยากาศร้อนหรือเย็น เปียกหรือแห้ง สงบหรือมีพายุ เปิดหรือมีเมฆ ปรากฏการณ์ลมฟ้าอากาศส่วนมากเกิดขึ้นในชั้นโทรโพสเฟียร์Glossary of Meteorology.

ใหม่!!: พายุหมุนนอกเขตร้อนและลมฟ้าอากาศ · ดูเพิ่มเติม »

ละติจูด

ละติจูด (latitude) หรือเดิมเรียกว่า เส้นรุ้ง แทนด้วยอักษรกรีก φ เป็นพิกัดที่ใช้บอกตำแหน่งบนพื้นโลกและแบ่งเขตสภาวะอากาศโดยวัดจากเส้นศูนย์สูตร พิกัดที่ใช้คู่กัน คือ ลองจิจูด พื้นที่ที่มีพิกัดละติจูดต่างกัน จะมีภูมิอากาศ (climate) และสภาพอากาศ (weather) ต่างกัน ละติจูดมีค่าตั้งแต่ 0 องศาที่เส้นศูนย์สูตร ไปจนถึง 90 องศาที่บริเวณขั้วโลก (นับเป็น 90 องศาเหนือหรือใต้) เนื่องจากเป็นการวัดมุมจากจุดสมมติที่เส้นศูนย์สูตรไปยังจุดขั้วโลกที่ 90 อง.

ใหม่!!: พายุหมุนนอกเขตร้อนและละติจูด · ดูเพิ่มเติม »

ทอร์นาโด

ทอร์นาโดที่เกิดขึ้นในสหรัฐอเมริกา ทอร์นาโด หรือ ทอร์เนโด (tornado) หรือ ลมงวง (ช้าง) เป็นพายุที่เกิดจากการหมุนของอากาศ สามารถเกิดขึ้นได้ในหลายลักษณะ โดยลักษณะที่พบได้บ่อยที่สุดคือลักษณะรูปทรงกรวย โดยส่วนปลายโคนชี้ลงที่พื้น ทอร์นาโดสามารถก่อพลังทำลายได้สูง โดยความเร็วลมสามารถสูงมากถึง 500 กม/ชม (300 ไมล์/ชม) ซึ่งก่อให้เกิดการพังทลายของสิ่งก่อสร้างได้ ถึงแม้ว่าทอร์นาโดส่วนใหญ่เกิดในสหรัฐอเมริกา ทอร์นาโดยังสามารถเกิดขึ้นได้ในทุกทวีปและในหลายประเทศ อาทิเช่น ประเทศญี่ปุ่นมีการเกิดประมาณปีละ 20 ครั้ง.

ใหม่!!: พายุหมุนนอกเขตร้อนและทอร์นาโด · ดูเพิ่มเติม »

แอนไทไซโคลน

แอนไทไซโคลนที่ออสเตรเลียเมื่อวันที่ 8 กันยายน 2555 ขณะหมุนเวียนซ้ายเป็นวงรีไปเหนือท้องฟ้าโปร่ง แอนไทไซโคลน หรือ แอนติไซโคลน (anticyclone) เป็นปรากฏการณ์ของสภาพภูมิอากาศซึ่งสำนักงานอากาศแห่งชาติ (National Weather Service) ของสหรัฐอเมริกา นิยามว่า เป็น "ลมที่สัญจรเป็นวงกว้างรอบ ๆ บริเวณกลางความกดอากาศที่มีระดับสูง โดยหมุนเวียนขวาไปทางซีกโลกเหนือ แล้วหมุนเวียนซ้ายไปทางซีกโลกใต้" แอนไทโซโคลนมีผลให้ท้องฟ้าโปร่งขึ้น ทั้งอากาศเย็นสบายและแห้งขึ้น ถ้าเกิดในยามวิกาล ณ ท้องที่ที่มีความกดอากาศสูง ก็อาจก่อให้เกิดหมอกได้ด้ว.

ใหม่!!: พายุหมุนนอกเขตร้อนและแอนไทไซโคลน · ดูเพิ่มเติม »

ขาออกขาเข้า
Hey! เราอยู่ใน Facebook ตอนนี้! »