โลโก้
ยูเนี่ยนพีเดีย
การสื่อสาร
ดาวน์โหลดได้จาก Google Play
ใหม่! ดาวน์โหลด ยูเนี่ยนพีเดีย บน Android ™ของคุณ!
ติดตั้ง
เร็วกว่าเบราว์เซอร์!
 

พัน จินเหลียน

ดัชนี พัน จินเหลียน

ัน จินเหลียน ("ดอกบัวทอง") ตามสำเนียงกลาง หรือ พัวกิมเหลียน ตามสำเนียงฮกเกี้ยน เอกสารไทยบางทีเรียก นางบัวคำ หรือ นางบัวทอง เป็นตัวละครหลักในนวนิยายจีนเรื่อง บุปผาในกุณฑีทอง (金瓶梅) ประพันธ์ขึ้นในคริสต์ศตวรรษที่ 17 ช่วงราชวงศ์หมิง และเป็นตัวละครรองในนวนิยายจีนเรื่อง ซ้องกั๋ง (宋江) ประพันธ์ขึ้นในคริสต์ศตวรรษที่ 14 ช่วงราชวงศ์ยฺเหวียน เป็นหนึ่งในตัวร้ายที่มีชื่อเสียงที่สุดในวัฒนธรรมจีน จนกลายเป็นตัวอย่างของแม่ยั่วเมือง (femme fatale) ทั้งกลายเป็นเทพีประจำโสเภณีและโรงโสเภณี.

5 ความสัมพันธ์: บุปผาในกุณฑีทองราชวงศ์หมิงราชวงศ์หยวนอู่ ซงซ้องกั๋ง

บุปผาในกุณฑีทอง

ปผาในกุณฑีทอง (จินผิงเหมย์; The Plum in the Golden Vase) เป็นวรรณกรรมจีนที่ประพันธ์ขึ้นในสมัยราชวงศ์หมิง อ้างตามฉบับพิมพ์สมัยราชวงศ์หมิงในรัชสมัยของจักรพรรดิเสินจง ศักราชว่านลี่ ปีติงซื่อ (ปีที่ 45 ของรัชกาล) ผู้แต่งนิยายเรื่องนี้ใช้นามปากกาว่า "บัณฑิตแห่งสุสานกล้วยไม้ผู้ยิ้มเยาะ" (Lán Líng Xiào Xiào Shēng; The Scoffing Scholar of Lanling) เดิมนับเป็นหนึ่งในสี่สุดยอดวรรณกรรมจีนร่วมกับนวนิยายอีกสามเรื่อง คือ สามก๊ก ซ้องกั๋ง และไซอิ๋ว เรียกรวมกันว่า "สี่วรรณกรรมอันยิ่งใหญ่" (四大奇書,四大奇书) แต่ต่อมาเรื่อง จินผิงเหมย์ ถูกต่อต้าน เพราะพรรณนาบทสังวาสจำนวนมากจนถูกเรียกว่าเป็นหนังสือโลกีย์ศานติ-นวรัตน์ ภักดีคำ, 2551: 163 จึงมีการจัดให้ ความฝันในหอแดง นิยายอีกเรื่องหนึ่ง ขึ้นมาเป็นหนึ่งในสี่สุดยอดวรรณกรรมจีนแทน อย่างไรก็ตาม แม้ บุปผาในกุณฑีทอง เกี่ยวข้องกับเรื่องโลกียะ และบางยุคก็ถือเป็นหนังสือต้องห้าม แต่ก็แต่งด้วยสำนวนภาษาที่งดงามละเมียดละไมศานติ-นวรัตน์ ภักดีคำ, 2551: 162 นิยายเรื่องนี้ได้ทำลายขนบในการเขียนนิยายอิงพงศาวดารและนิยายเกี่ยวกับผีสางเทวดาลง โดยใช้ลีลาการเขียนด้วยสำนวนง่าย ๆ กะทัดรัด และมีชีวิตชีวา บรรยายชีวิตตัวละครและตัวประกอบโดยใช้ชีวิตประจำวันของซีเหมิน ชิ่ง (Xīmén Qìng) และคนในครอบครัวเป็นศูนย์กลาง กล่าวถึงชีวิตของซีเหมิน ชิ่ง ที่รุ่งเรืองและตกอับ ทำอย่างไรให้ร่ำรวยขึ้นมา และทำอย่างไรให้ตัวตกอับ ถือเป็นการบรรยายถึงสภาพสังคมในช่วงราชวงศ์หมิง ซึ่งแสดงถึงทัศนคติและมุมมองของประชาชนทั่วไปในคริสต์ศตวรรษที่ 16 อีกด้ว.

ใหม่!!: พัน จินเหลียนและบุปผาในกุณฑีทอง · ดูเพิ่มเติม »

ราชวงศ์หมิง

ราชวงศ์หมิง หรือ ราชวงศ์เบ๋ง (ฮกเกี้ยน) หรือ ราชวงศ์เม้ง (แต้จิ๋ว) หรือเป็นที่รู้จักกันในชื่อ จักรวรรดิต้าหมิง เป็นราชวงศ์ที่ปกครองจักรวรรดิจีน ระหว่าง พ.ศ. 1911 (ค.ศ. 1368) ถึง พ.ศ. 2187 (ค.ศ. 1644) ดำรงอยู่เป็นเวลารวม 276 ปี โดยปกครองต่อจากราชวงศ์หยวนของชาวมองโกล และพ่ายแพ้ให้กับราชวงศ์ชิงของชาวแมนจูในภายหลัง ราชวงศ์หมิงเป็นราชวงศ์ที่รุ่งเรืองในด้านวัฒนธรรมเป็นอย่างมาก ในยุคนี้มีการสำรวจทางทะเลอย่างกว้างขวาง ราชวงศ์หมิงในตอนต้น (1368 - 1464) ถือเป็นอาณาจักรที่ก้าวหน้าที่สุดในโลก ณ ช่วงเวลานั้น ราชวงศ์หมิงถือเป็นหนึ่งในยุคที่ถูกจัดโดยนักวิชาการชาวตะวันตกว่ามีการปกครองที่เป็นระบบและสังคมที่มีเสถียรภาพในประวัติศาสตร์มนุษย์ชาติก่อนที่จะล่มสลาย ราชวงศ์หมิงถือเป็นราชวงศ์ที่ปกครองประเทศจีนราชวงศ์สุดท้ายที่ปกครองโดยชาวฮั่น ปฐมจักรพรรดิต้าหมิง จูหยวนจาง หรือ จักรพรรดิหงหวู่ หลังจากที่ได้ทรงประกาศปลดแอกชาวฮั่นจากภายใต้การปกครองของราชวงศ์หยวนของชาวมองโกล ได้สถาปนาราชวงศ์หมิงขึ้น พระองค์ได้ทรงพยายามปฏิรูปการปกครองอาณาจักรเสียใหม่ ทรงพยายามสร้างระบบสังคมชุมชนชนบทแบบพึ่งพาตนเอง ปฏิรูประบบราชการ, กฎหมาย จักรพรรดิหงหวู่ได้สร้างระบบที่เป็นระเบียบที่ยืดหยุ่นเปลี่ยนแปลงได้ที่จะสามารถรองรับและสนับสนุนการทหารของราชวงศ์หมิงอย่างยั่งยืน ทำให้ด้านการทหารในช่วงนั้นราชวงศ์หมิงประสบความสำเร็จมีกองทัพภาคพื้นดินเกินกว่า 1 ล้านคนและกองทัพเรือมีอู่ต่อเรือที่หนานจิงเป็นอู่ต่อเรือที่ใหญ่ที่สุดในโลกในขณะนั้น พระองค์ยังได้ทรงตระหนักถึงการลดทอนอำนาจของเหล่าขันทีในราชสำนักCrawford, Robert.

ใหม่!!: พัน จินเหลียนและราชวงศ์หมิง · ดูเพิ่มเติม »

ราชวงศ์หยวน

ตแดนของจักรวรรดิจีนสมัยราชวงศ์หยวน เครื่องปั้นดินเผา สมัยราชวงศ์หยวน ราชวงศ์หยวน (หยวนเฉา) (พ.ศ. 1814 - 1911) คือหนึ่งในราชวงศ์ของจักรวรรดิจีน ก่อตั้งขึ้นเมื่อกุบไลข่านผู้นำเผ่าชาวมองโกล ได้โค่นอำนาจราชวงศ์ซ่งลง แล้วเปิดศักราชชาวมองโกลครองประเทศจีน ชาวมองโกลได้เข้ายึดครองภาคเหนือของจีนเป็นเวลากว่าทศวรรษ ได้มีความพยายามเปลี่ยนเป็นจีน ตั้งแต่สมัย มองเกอ ข่าน พระเชษฐาของกุบไลข่าน แต่ไม่สำเร็จ จนกระทั่งในสมัยของกุบไลข่าน ในปี..

ใหม่!!: พัน จินเหลียนและราชวงศ์หยวน · ดูเพิ่มเติม »

อู่ ซง

อู่ซง (武松; Wu Song) หรือชื่อในสำเนียงแต้จิ๋วว่า บู๊สง เป็นตัวละครในเรื่องซ้องกั๋ง เป็นนายโจรคนหนึ่งที่มีบทบาทสำคัญมาก วันหนึ่งอู่ซงจะผ่านเนินจิ่งหยางกัง ก่อนเดินทางก็พบว่ามีประกาศเสือร้ายมาอาละวาดกินคนในเนินจิ่งหยาง อู่ซงเข้าร้านเหล้าดื่มจนเมามาย และจะขึ้นเนินโดยไม่ฟังคำตักเตือนของเจ้าของร้าน ด้วยฤทธิ์เหล้าก็ไปเมาหลับอยู่กลางป่า แต่แล้วก็ถูกปลุกขึ้นด้วยเสียงเสือ อู่ซงตกใจมากแต่เขาไม่หนี พยายามต่อสู้กับเสือ จนสามารถจับเสือกดคอ แล้วทุบกะโหลกจนตาย นับแต่นั้นชื่อเสียงของอู่ซงก็โด่งดังด้วยฉายา "อู่ซงตีเสือ" (打虎武松) อู่ซงมีพี่ชายเป็นคนเตี้ยค่อมขี้ริ้วชื่อว่า อู่ต้า มีภรรยาชื่อว่าพานจินเหลียน เมื่ออู่ซงมาพักอยู่กับพี่ชาย นางพานจินเหลียนก็พอใจในตัวอู่ซงจึงพยายามยั่วยวน แต่อู่ซงไม่ยอมตอบสนองความต้องการของนาง นางจึงหันไปแอบคบชู้กับซีเหมินชิ่ง ซึ่งมาติดพันเกี้ยวพาราสีนางเป็นประจำ ต่อมาจึงวางแผนฆ่าอู่ต้าผู้เป็นสามีเสีย เมื่ออู่ซงรู้ความจริงจึงเชิญคนมากินเลี้ยงแล้วจับนางพานจินเหลียนตัดคอกลางวงเหล้า จากนั้นหิ้วศีรษะนางพานจินเหลียนบุกเข้าห้องคุณชายซีเหมินชิ่ง แล้วลากเอาตัวซีเหมินชิ่งออกมาตัดหัวกลางตลาด ท่ามกลางสายตาคนนับพัน จากนั้นจึงหิ้วศีรษะของทั้งสองคนไปมอบตัวต่อทางการ อู่ซงมีพยานรู้เห็นมากมายว่าเขาฆ่าคนทั้งสองเพื่อเป็นล้างแค้นให้พี่ชาย ซึ่งถือเป็นเหตุผ่อนปรนในสมัยนั้น และได้รับโทษแค่จำคุก อู่ซงได้ช่วยเหลือพัศดีคนหนึ่ง ทีเดิมมีร้านเหล้าแต่ถูกนักเลงชื่อ เจียงเหมินเสินโกงไป อู่ซงเข้าไปอาละวาดที่ร้านเหล้าเดิมของพัศดี สร้างความโกรธแค้นให้เจี่ยงเหมินเสิน จึงวางแผนฆ่าอู่ซง ด้วยความช่วยเหลือของขุนนางใหญ่คนหนึ่ง ขุนนางใหญ่แสร้งเรียกตัวอู่ซงให้เข้ามารับใช้ในจวน แล้วให้สาวใช้นางหนึ่งใส่ร้ายว่าอู่ซงขโมยของ ให้คนรุมทุบตีอู่ซง แล้วจับตัวนำส่งทางการ แล้วส่งคนตามไปฆ่าทิ้ง ปรากฏว่าระหว่างทางอู่ซงหักเครื่องพันธนาการทิ้งแล้วสังหารคนทั้งหมดนั้นด้วยมือเปล่า แล้วกลับมาสังหารเจี่ยงเหมินเสิน และขุนนางตายทั้งครอบครัว จากนั้นใช้เลือดของคนเหล่านั้นเขียนไว้บนฉากว่า "ผู้ฆ่าคืออู่ซงตีเสือ" (杀人者打虎武松也) เป็นการประกาศตัวอย่างทรนง แล้วหลบหนีคดีอาญาไปเป็นโจรบนเขาเหลียงซานตั้งแต่นั้น อู่ซงสวมชุดแบบนักบวชปลอมตัวในระหว่างหลบหนี จากนั้นจึงถือเพศนักบวช และสวมชุดแบบนี้ตลอดม.

ใหม่!!: พัน จินเหลียนและอู่ ซง · ดูเพิ่มเติม »

ซ้องกั๋ง

ซ้องกั๋ง ตามสำเนียงฮกเกี้ยน หรือ ซ่งเจียง ตามสำเนียงกลาง (All Men Are Brothers, Men of the Marshes, Outlaws of the Marsh, The Marshes of Mount Liang หรือ Water Margin) หรือชื่ออย่างเป็นทางการในภาษาจีนสำเนียงกลางว่า ฉุยหู่จ้วน (Shuǐhǔ Zhuàn) เป็นนวนิยายจีนซึ่งเชื่อกันว่าเป็นผลงานของ ชือ ไน่อัน (Shī Nài'ān) และนับถือกันว่าเป็นหนึ่งในสี่สุดยอดวรรณกรรมจีน แม้เขียนด้วยภาษาธรรมดา มากกว่าจะเป็นภาษาทางวรรณกรรมก็ตาม Yenna Wu, "Full-Length Vernacular Fiction," in Victor Mair, (ed.), The Columbia History of Chinese Literature (NY: Columbia University Press, 2001), pp.

ใหม่!!: พัน จินเหลียนและซ้องกั๋ง · ดูเพิ่มเติม »

เปลี่ยนเส้นทางที่นี่:

Pan Jinlianพัวกิมเหลียนพันจินเหลียนพาน จินเหลียนพานจินเหลียน

ขาออกขาเข้า
Hey! เราอยู่ใน Facebook ตอนนี้! »