โลโก้
ยูเนี่ยนพีเดีย
การสื่อสาร
ดาวน์โหลดได้จาก Google Play
ใหม่! ดาวน์โหลด ยูเนี่ยนพีเดีย บน Android ™ของคุณ!
ติดตั้ง
เร็วกว่าเบราว์เซอร์!
 

พันแซร์เฟาสท์

ดัชนี พันแซร์เฟาสท์

ทหารกำลังเล็งพันแซร์เฟาสท์ พันแซร์เฟาสท์ (Panzerfaust) เป็นเครื่องยิงจรวดต่อสู้รถถังของนาซีเยอรมนีในสงครามโลกครั้งที่สอง ขึ้นชื่อว่าเป็นเครื่องยิงจรวดต่อสู้รถถังแบบแรกของโลก ประกอบด้วยท่อส่งกระสุนขนาดเล็กที่ใช้ยิงหัวรบระเบิดแรงสูงต่อสู้รถถังซึ่งสามารถปฏิบัติงานได้โดยทหารเพียงนายเดียว ความรุนแรงของหัวรบระเบิดนั้นทำให้รถถังถูกทำลายลงหรือไม่ก็ทำให้เกิดก่อประกายไฟลุกลามไปทั่วรถถัง อาจทำให้ลุกลามไปถึงห้องคนขับรถถังทำให้คนขับถูกไฟคลอกตายได้ ข้อเสียของพันแซร์เฟาสท์คือเมื่อยิงไปแล้วท่อส่งกระสุนจะใช้การไม่ได้เลยทำให้จำเป็นจะต้องทิ้งไปและต้องใช้อันใหม่แทน, อาจไม่แม่นยำพอสำหรับการยิงทำลายเป้าหมายและไม่เหมาะสำหรับการยิงใส่บุคคลด้วย พันแซร์เฟาสท์ได้ถูกผลิตและนำมาใช้ครั้งแรกในสงครามโลกครั้งที่สอง ในช่วงปี 1943 กองทัพนาซีเยอรมันได้บุกสหภาพโซเวียตในปฏิบัติการบาร์บารอสซา ทหารได้ใช้มันในการต่อสู้ T-34 รถถังของฝ่ายสหภาพโซเวียต หลังจากพันแซร์เฟาสท์ก็ได้ผลิตออกมาเป็นจำนวนมากและถูกใช้งานตลอดทุกสมรภูมิรบทั้งแนวรบด้านตะวันตกและด้านตะวันออก แต่ก่อนสงครามโลกครั้งที่สองจะยุติลง นาซีเยอรมันได้พ่ายแพ้แก่กองทัพแดงของสหภาพโซเวียตในยุทธการเบอร์ลิน ทหารรัสเซียได้ยึดพันแซร์เฟาสท์มาหลายกระบอกรวมทั้งโรงงานผลิตด้วย ต่อมาทางวิศวกรรัสเซียได้นำมันมาในการออกแบบเครื่องยิงจรวดรุ่นใหม่จนกลายมาเป็นเครื่องยิงจรวดอาร์พีจีที่ได้ถูกนำใช้กันแพร่หลายไปทั่วโลกจนถึงปัจจุบัน ส่วนพันแซร์เฟาสท์นั้นได้ถูกปลดประจำการในกองทัพไปแล้วหลังสงครามโลกครั้งที่สองยุติลง แต่ยังคงเหลือไว้ที่พิพิธภัณฑ์แห่งหนึ่งในประเทศเยอรมนี เวลาต่อมาบริษัทแห่งหนึ่งได้ปรับปรุงและพัฒนามันใหม่จนกลายมาเป็นพันแซร์เฟาสท์ 3 และหลังจากนั้นมันก็ได้เข้าประจำการในกองทัพสหพันธ์สาธารณรัฐเยอรมนีและประเทศที่เคยเป็นพันธมิตรฝ่ายอักษะคือ ออสเตรีย, ญี่ปุ่น, เนเธอร์แลนด์, สวิสเซอร์แลนด์, เกาหลีใต้และอิตาลี.

7 ความสัมพันธ์: พันแซร์เชร็คสงครามโลกครั้งที่สองอาร์พีจี (อาวุธ)ปฏิบัติการบาร์บารอสซานาซีเยอรมนีแนวรบด้านตะวันออก (สงครามโลกครั้งที่สอง)แนวรบด้านตะวันตก (สงครามโลกครั้งที่สอง)

พันแซร์เชร็ค

ราเกเทนพันแซร์บืชเซอ 54 ที่ได้รับการปรับปรุง พร้อมโล่กันระเบิด พันแซร์เชร็ค (Panzerschreck) เป็นชื่อนิยมของ ราเกเทนพันแซร์บืชเซอ (Raketenpanzerbüchs, ย่อเป็น RPzB) เป็นเครื่องยิงจรวดต่อสู้รถถังใช้ใหม่ได้ ขนาดลำกล้อง 88 มิลลิเมตร ซึ่งถูกพัฒนาโดยนาซีเยอรมนีในสงครามโลกครั้งที่สอง พันแซร์เชร็คถูกออกแบบมาเพื่อใช้เป็นอาวุธต่อสู้รถถังน้ำหนักเบาสำหรับทหารราบ อาวุธดังกล่าวเป็นแบบประทับบ่ายิง และยิงระเบิดทรงตัวด้วยหาง (fin-stabilized) พร้อมหัวรบบรรจุดินโพรง (shape charge) พันแซร์เชร็คถูกผลิตขึ้นมาจำนวนน้อยกว่าพันแซร์เฟาสท์มาก ซึ่งเป็นปืนไร้แรงสะท้อนถอยหลังใช้แล้วทิ้งที่ยิงหัวรบต่อสู้รถถัง.

ใหม่!!: พันแซร์เฟาสท์และพันแซร์เชร็ค · ดูเพิ่มเติม »

สงครามโลกครั้งที่สอง

งครามโลกครั้งที่สอง (World War II หรือ Second World Warคำว่าสงครามโลกครั้งที่สองในภาษาอังกฤษนั้น ในเอกสารประวัติศาสตร์อย่างเป็นทางการของสหราชอาณาจักรและชาติตะวันตกใช้คำว่า "Second World War" ส่วนในสหรัฐใช้คำว่า "World War II" (ย่อเป็น "WWII" หรือ "WW2") ซึ่งเอกสารประวัติศาสตร์อย่างเป็นทางการในประเทศส่วนใหญ่มักจะใช้ภาษาอังกฤษว่า "Second World War" (เช่น Zweiter Weltkrieg ในภาษาเยอรมัน; Segunda Guerra mundial ในภาษาสเปน; Seconde Guerre mondiale ในภาษาฝรั่งเศส) แต่ทั้งสองคำนี้โดยทั่วไปแล้วสามารถใช้แทนกันได้; แม้ในประวัติศาสตร์การทหารอย่างเป็นทางการ คำว่า "Second World War" ถูกสร้างขึ้นโดย แฟรงก์ บี. เคลล็อก รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการต่างประเทศสหรัฐอเมริกา; ส่วนคำว่า "World War II" พบใช้เป็นครั้งแรกในนิตยสาร ไทมส์ เมื่อวันที่ 12 มิถุนายน ค.ศ. 1939 ซึ่งเป็นผู้ประดิษฐ์คำว่า "World War I" ขึ้นในอีกสามเดือนต่อมา; มักย่อเป็น WWII หรือ WW2) เป็นสงครามทั่วโลกกินเวลาตั้งแต่ปี 1939 ถึง 1945 ประเทศส่วนใหญ่ในโลกมีส่วนเกี่ยวข้อง รวมทั้งรัฐมหาอำนาจทั้งหมด แบ่งเป็นพันธมิตรทางทหารคู่สงครามสองฝ่าย คือ ฝ่ายสัมพันธมิตรและฝ่ายอักษะ เป็นสงครามที่กว้างขวางที่สุดในประวัติศาสตร์ มีทหารกว่า 100 ล้านนายจากกว่า 30 ประเทศเข้าร่วมโดยตรง สงครามนี้มีลักษณะเป็น "สงครามเบ็ดเสร็จ" คือ ประเทศผู้ร่วมสงครามหลักทุ่มขีดความสามารถทางเศรษฐกิจ อุตสาหกรรมและวิทยาศาสตร์ทั้งหมดเพื่อความพยายามของสงคราม โดยลบเส้นแบ่งระหว่างทรัพยากรของพลเรือนและทหาร ประเมินกันว่าสงครามมีมูลค่าราว 1 ล้านล้านดอลลาร์สหรัฐ ประเมินกันว่ามีผู้เสียชีวิตระหว่าง 50 ถึง 85 ล้านคน ด้วยประการทั้งปวง สงครามโลกครั้งที่สองจึงนับว่าเป็นสงครามขนาดใหญ่ที่สุด ใช้เงินทุนมากที่สุด และมีผู้เสียชีวิตสูงสุดในประวัติศาสตร์มนุษยชาติ จักรวรรดิญี่ปุ่นซึ่งมีเป้าหมายครอบงำทวีปเอเชียและแปซิฟิกและทำสงครามกับจีนมาตั้งแต่ปี 1937 แล้ว แต่โดยทั่วไปถือว่าสงครามโลกครั้งที่สองเริ่มตั้งแต่การบุกครองโปแลนด์ของเยอรมนีในวันที่ 1 กันยายน 1939 นำไปสู่การประกาศสงครามต่อเยอรมนีของประเทศฝรั่งเศสและสหราชอาณาจักร ตั้งแต่ปลายปี 1939 ถึงต้นปี 1941 ในการทัพและสนธิสัญญาต่าง ๆ ประเทศเยอรมนีพิชิตหรือควบคุมยุโรปภาคพื้นทวีปได้ส่วนใหญ่ และตั้งพันธมิตรอักษะกับอิตาลีและญี่ปุ่น ภายใต้สนธิสัญญาโมโลตอฟ–ริบเบนทรอพเมื่อเดือนสิงหาคม 1939 เยอรมนีและสหภาพโซเวียตแบ่งแลผนวกดินแดนประเทศเพื่อนบ้านยุโรปของตน ได้แก่ โปแลนด์ ฟินแลนด์ โรมาเนียและรัฐบอลติก สงครามดำเนินต่อส่วนใหญ่ระหว่างชาติฝ่ายอักษะยุโรปและแนวร่วมสหราชอาณาจักรและเครือจักรภพบริติช โดยมีการทัพอย่างการทัพแอฟริกาเหนือและแอฟริกาตะวันออก ยุทธการที่บริเตนซึ่งเป็นการสู้รบทางอากาศ การทัพทิ้งระเบิดเดอะบลิตซ์ การทัพบอลข่าน ตลอดจนยุทธการที่แอตแลนติกที่ยืดเยื้อ ในเดือนมิถุนายน 1941 ชาติอักษะยุโรปบุกครองสหภาพโซเวียต เปิดฉากเขตสงครามภาคพื้นดินที่ใหญ่ที่สุดในประวัติศาสตร์ ซึ่งทำให้กำลังทหารสำคัญของฝ่ายอักษะตกอยู่ในสงครามบั่นทอนกำลัง ในเดือนธันวาคม 1941 ญี่ปุ่นโจมตีสหรัฐและอาณานิคมยุโรปในมหาสมุทรแปซิฟิก และพิชิตมหาสมุทรแปซิฟิกตะวันตกส่วนมากได้อย่างรวดเร็ว การรุกของฝ่ายอักษะยุติลงในปี 1942 หลังญี่ปุ่นปราชัยในยุทธนาวีที่มิดเวย์ใกล้กับฮาวายที่สำคัญ และเยอรมนีปราชัยในแอฟริกาเหนือและจากนั้นที่สตาลินกราดในสหภาพโซเวียต ในปี 1943 จากความปราชัยของเยอรมนีติด ๆ กันที่เคิสก์ในยุโรปตะวันออก การบุกครองอิตาลีของฝ่ายสัมพันธมิตรซึ่งนำให้อิตาลียอมจำนน จนถึงชัยของฝ่ายสัมพันธมิตรในมหาสมุทรแปซิฟิก ฝ่ายอักษะเสียการริเริ่มและต้องล่าถอยทางยุทธศาสตร์ในทุกแนวรบ ในปี 1944 ฝ่ายสัมพันธมิตรบุกครองฝรั่งเศสในการยึดครองของเยอรมนี ขณะเดียวกันกับที่สหภาพโซเวียตยึดดินแดนที่เสียไปทั้งหมดคืนและบุกครองเยอรมนีและพันธมิตร ระหว่างปี 1944 และ 1945 ญี่ปุ่นปราชัยสำคัญในทวีปเอเชียในภาคกลางและภาคใต้ของจีนและพม่า ขณะที่ฝ่ายสัมพันธมิตรก่อความเสียหายต่อกองทัพเรือญี่ปุ่นและยึดหมู่เกาะแปซิฟิกตะวันตกที่สำคัญ สงครามในยุโรปยุติลงหลังกองทัพแดงยึดกรุงเบอร์ลินได้ และการยอมจำนนอย่างไม่มีเงื่อนไขของเยอรมนีเมื่อวันที่ 8 สิงหาคม 1945 แม้จะถูกโดดเดี่ยวและตกอยู่ในสภาพเสียเปรียบอย่างยิ่ง ญี่ปุ่นยังปฏิเสธที่จะยอมจำนน กระทั่งมีการทิ้งระเบิดนิวเคลียร์สองลูกถล่มญี่ปุ่น และการบุกครองแมนจูเรีย จึงได้นำไปสู่การยอมจำนนอย่างเป็นทางการของญี่ปุ่นเมื่อวันที่ 2 กันยายน 1945 สงครามยุติลงด้วยชัยชนะของฝ่ายสัมพันธมิตร ผลของสงครามได้เปลี่ยนแปลงการวางแนวทางการเมืองและโครงสร้างสังคมของโลก สหประชาชาติถูกสถาปนาขึ้น เพื่อส่งเสริมความร่วมมือระหว่างประเทศและเพื่อป้องกันความขัดแย้งในอนาคต สหรัฐอเมริกากับสหภาพโซเวียตก้าวเป็นอภิมหาอำนาจของโลกอันเป็นคู่ปรปักษ์กัน นำไปสู่ความขัดแย้งบนเวทีแห่งสงครามเย็น ซึ่งได้ดำเนินต่อมาอีก 46 ปีหลังสงคราม ขณะเดียวกัน การยอมรับหลักการการกำหนดการปกครองด้วยตนเอง เร่งให้เกิดการเคลื่อนไหวเพื่อเรียกร้องเอกราชในทวีปเอเชียและทวีปแอฟริกา พร้อม ๆ กับที่หลายประเทศได้มุ่งหน้าฟื้นฟูเศรษฐกิจซึ่งอุตสาหกรรมได้รับความเสียหายระหว่างสงคราม และบูรณาการทางการเมืองได้เกิดขึ้นทั่วโลกในความพยายามที่จะรักษาเสถียรภาพความสัมพันธ์หลังสงคราม.

ใหม่!!: พันแซร์เฟาสท์และสงครามโลกครั้งที่สอง · ดูเพิ่มเติม »

อาร์พีจี (อาวุธ)

รวจและเครื่องยิง อาร์พีจี (RPG; ย่อมาจาก "rocket-propelled grenade" ระเบิดซึ่งขับเคลื่อนด้วยจรวด) เป็นระบบอาวุธต่อต้านรถถังซึ่งประกอบด้วยอุปกรณ์ยิงประทับบ่า (shoulder-fired) ศัพท์ทางการทหารเรียกว่า เครื่องยิงจรวด ลักษณะเป็นปล้องสำหรับยิงจรวดซึ่งที่หัวติดวัตถุระเบิดไว้ อาร์พีจีบางประเภทใช้ได้ครั้งเดียว บางประเภทสามารถบรรจุซ้ำได้ โดยส่วนใหญ่บรรจุจรวดเข้าทางปากปล้อง อาร์พีจีทรงประสิทธิภาพมากเมื่อใช้ต่อต้านยานพาหนะติดอาวุธ จรวดอาร์พีจีนั้นกองทัพสหภาพโซเวียตพัฒนาขึ้นภายหลังสงครามโลกครั้งที่สอง โดยปรับปรุงมาจากอาวุธพันแซร์เฟาสท์ (Panzerfaust) ของนาซีเยอรมนี อาร์พีจีรุ่นแรกที่ใช้ในกองทัพโซเวียต คือ อาร์พีจี-2 ซึ่งเริ่มใช้ในปี 1949 ต่อมาได้ปรับปรุงเป็นอาร์พีจี-7 เมื่อปี 1961 และแบ่งปันให้มิตรประเทศใช้ ก่อนจะแพร่หลายเป็นอันมากในยุคสงครามเย็น.

ใหม่!!: พันแซร์เฟาสท์และอาร์พีจี (อาวุธ) · ดูเพิ่มเติม »

ปฏิบัติการบาร์บารอสซา

ปฏิบัติการบาร์บารอสซา (Unternehmen Barbarossa, Operation Barbarossa, รัสเซีย: Оперенация Барбарросса) เป็นชื่อรหัสสำหรับแผนการบุกสหภาพโซเวียตของนาซีเยอรมนี ระหว่างสงครามโลกครั้งที่สอง ปฏิบัติการดังกล่าวเริ่มต้นขึ้นในวันที่ 22 มิถุนายน ค.ศ. 1941 ชื่อปฏิบัติการบาร์บารอสซาถูกตั้งชื่อตามพระนามของจักรพรรดิฟรีดริช บาร์บารอสซา แห่งจักรวรรดิโรมันอันศักดิ์สิทธิ์ ผู้นำสงครามครูเสดครั้งที่สาม ในช่วงคริสต์ศตวรรรษที่ 12 วัตถุประสงค์ของปฏิบัติการนี้ คือ การพิชิตสหภาพโซเวียตทางภาคพื้นยุโรปทั้งหมด ซึ่งถือเอาแนวที่ลากเส้นระหว่าง อัคอังเกลส์ก (Arkangelsk) ที่อยู่ทางตอนเหนือของรัสเซีย ลงไปจนถึงเมืองอัสตราคาน (Astrakhan) ที่อยู่ริมสามเหลี่ยมปากแม่น้ำวอลกา โดยแนวนี้ถูกเรียกว่าแนว AA ปฏิบัติการบาร์บารอสซาไม่ประสบความสำเร็จอย่างที่ฮิตเลอร์คาดหวังไว้ ในทางยุทธวิธีแล้ว กองทัพเยอรมันก่อให้เกิดความเสียหายใหญ่หลวงต่อสหภาพโซเวียต โดยการยึดครองพื้นที่เศรษฐกิจสำคัญของประเทศเอาไว้ อย่างไรก็ตาม ไม่นานหลังจากปฏิบัติการบาร์บารอสซา กองทัพเยอรมันไม่อาจเป็นฝ่ายบุกในแนวรบด้านตะวันออกอีกต่อไป และหลังจากนั้น ก็ประสบความพ่ายแพ้มาตลอดMilitary-Topographic Directorate, maps No.

ใหม่!!: พันแซร์เฟาสท์และปฏิบัติการบาร์บารอสซา · ดูเพิ่มเติม »

นาซีเยอรมนี

นาซีเยอรมนี (Nazi Germany) หรือ ไรช์ที่สาม (Drittes Reich) หรือชื่ออย่างเป็นทางการคือ ไรช์เยอรมัน (Deutsches Reich) เป็นชื่อเรียกยุคหนึ่งในประวัติศาสตร์เยอรมนีระหว่างปี 1933 ถึง 1945 เมื่อประเทศเยอรมนีอยู่ภายใต้การควบคุมระบอบเผด็จการของอดอล์ฟ ฮิตเลอร์และพรรคนาซี ในการปกครองของฮิตเลอร์ ประเทศเยอรมนีกลายเป็นรัฐฟาสซิสต์ซึ่งควบคุมแทบทุกแง่มุมของชีวิต นาซีเยอรมนีล่มสลายหลังฝ่ายสัมพันธมิตรพิชิตเยอรมนีในเดือนพฤษภาคม 1945 ซึ่งยุติสงครามโลกครั้งที่สองในทวีปยุโรป ประธานาธิบดีแห่งสาธารณรัฐไวมาร์ เพาล์ ฟอน ฮินเดนบูร์กแต่งตั้งฮิตเลอร์เป็นนายกรัฐมนตรีเมื่อวันที่ 30 มกราคม 1933 จากนั้น พรรคนาซีเริ่มกำจัดคู่แข่งทางการเมืองและรวบอำนาจ ฮินเดนบูร์กถึงแก่อสัญกรรมเมื่อวันที่ 2 สิงหาคม 1934 และฮิตเลอร์เป็นผู้เผด็จการแห่งเยอรมนีโดยการรวมอำนาจและตำแหน่งของนายกรัฐมนตรีกับประธานาธิบดี มีการจัดการลงประชามติทั่วประเทศเมื่อวันที่ 19 สิงหาคม 1934 ทำให้ฮิตเลอร์เป็นฟือเรอร์ (ผู้นำ) เยอรมนีเพียงผู้เดียว อำนาจเบ็ดเสร็จทั้งหมดรวมอยู่ในมือของฮิตเลอร์ และคำของเขาอยู่เหนือกฎหมายทั้งปวง รัฐบาลมิได้เป็นหน่วยที่ร่วมมือประสานกัน หากแต่เป็นหมู่กลุ่มแยกต่าง ๆ ที่แก่งแย่งอำนาจและความนิยมจากฮิตเลอร์ ท่ามกลางภาวะเศรษฐกิจตกต่ำครั้งใหญ่ นาซีฟื้นฟูเสถียรภาพทางเศรษฐกิจและยุติการว่างงานขนานใหญ่โดยใช้รายจ่ายทางทหารอย่างหนักและเศรษฐกิจแบบผสม มีการดำเนินการโยธาสาธารณะอย่างกว้างขวาง รวมการก่อสร้างเอาโทบาน การคืนเสถียรภาพทางเศรษฐกิจส่งเสริมความนิยมของรัฐบาลให้เพิ่มพูนขึ้น คตินิยมเชื้อชาติ โดยเฉพาะอย่างยิ่ง การต่อต้านยิว เป็นลักษณะหัวใจของนาซีเยอรมนี โดยถือว่า กลุ่มชนเจอร์มานิค หรือเชื้อชาตินอร์ดิก (Nordic race) เป็นเชื้อชาติอารยันซึ่งบริสุทธิ์ที่สุด ฉะนั้นจึงเป็นเชื้อชาติปกครอง (master race) ชาวยิวและชนกลุ่มอื่นที่ถือว่าไม่พึงปรารถนาถูกเบียดเบียนหรือฆ่า และการค้านการปกครองของฮิตเลอร์ถูกปราบปรามอย่างโหดเหี้ยม สมาชิกฝ่ายค้านเสรีนิยม สังคมนิยมและคอมมิวนิสต์ถูกฆ่า จำคุกหรือเนรเทศ โบสถ์คริสต์ก็ถูกกดขี่เช่นกัน โดยผู้นำหลายคนถูกจำคุก การศึกษามุ่งเน้นชีววิทยาเชื้อชาติ นโยบายประชากร และสมรรถภาพทางกายสำหรับราชการทหาร โอกาสในอาชีพและการศึกษาของสตรีถูกตัดทอน มีการจัดนันทนาการและการท่องเที่ยวผ่านโครงการความแข็งแรงผ่านความรื่นเริง (Strength Through Joy) มีการใช้โอลิมปิกฤดูร้อน 1936 เป็นตัวนำเสนอไรช์ที่สามในเวทีระหว่างประเทศ รัฐมนตรีโฆษณาการ โยเซฟ เกิบเบิลส์ ใช้ภาพยนตร์ การชุมนุมมวลชน และวาทศิลป์จับจิตของฮิตเลอร์เพื่อควบคุมมติมหาชนอย่างได้ผล รัฐบาลควบคุมการแสดงออกทางศิลปะ โดยสนับสนุนศิลปะบางรูปแบบ แต่ขัดขวางหรือห้ามศิลปะรูปแบบอื่น เริ่มตั้งแต่ปลายคริสต์ทศวรรษ 1930 นาซีเยอรมนีเรียกร้องดินแดนอย่างก้าวร้าวมากขึ้นเรื่อย ๆ และขู่ทำสงครามหากไม่สนองข้อเรียกร้อง เยอรมนียึดออสเตรียและเชโกสโลวาเกียในปี 1938 และ 1939 ฮิตเลอร์ทำสนธิสัญญาไม่รุกรานกับโจเซฟ สตาลิน และบุกครองโปแลนด์ในเดือนกันยายน 1939 เป็นการเปิดฉากสงครามโลกครั้งที่สองในทวีปยุโรป เยอรมนีเข้าเป็นพันธมิตรกับอิตาลีและฝ่ายอักษะที่เล็กกว่าและพิชิตทวีปยุโรปส่วนใหญ่เมื่อถึงปี 1940 และคุกคามสหราชอาณาจักร ไรช์ซคอมมิสซารีอัทควบคุมพื้นที่ที่ถูกพิชิตอย่างโหดร้ายและมีการสถาปนาการปกครองของเยอรมนีในประเทศโปแลนด์ที่เหลืออยู่ ชาวยิวและกลุ่มอื่นที่ถือว่าไม่พึงปรารถนาถูกจำคุกในค่ายกักกันและค่ายกำจัดนาซี การนำนโยบายเชื้อชาติของระบอบไปปฏิบัติลงเอยด้วยการสังหารชาวยิวและชนกลุ่มน้อยอื่นเป็นอันมากในฮอโลคอสต์ หลังการรุกรานสหภาพโซเวียตในปี 1941 นาซีเยอรมนีก็เริ่มเป็นรอง และปราชัยทางทหารสำคัญหลายครั้งในปี 1943 การทิ้งระเบิดทางอากาศต่อประเทศเยอรมนีทวีขึ้นในปี 1944 และฝ่ายอักษะถอยจากยุโรปตะวันออกและยุโรปใต้ หลังการบุกครองฝรั่งเศสของสัมพันธมิตร ประเทศเยอรมนีถูกโซเวียตจากทิศตะวันออกและฝ่ายสัมพันธมิตรจากทิศตะวันตกพิชิตและยอมจำนนในหนึ่งปี การที่ฮิตเลอร์ปฏิเสธยอมรับความปราชัยนำให้โครงสร้างพื้นฐานของเยอรมนีถูกทำลายล้างขนานใหญ่และการเสียชีวิตที่เกี่ยวข้องกับสงครามเพิ่มในเดือนท้าย ๆ ของสงคราม ฝ่ายสัมพันธมิตรผู้กำชัยริเริ่มนโยบายขจัดความเป็นนาซี (denazification) และนำผู้นำนาซีที่เหลือรอดหลายคนมาพิจารณาคดีอาชญากรรมสงครามในการพิจารณาคดีเนือร์นแบร์ก ส่วนประเทศเยอรมนีถูกยึดครองโดยมหาอำนาจฝ่ายสัมพันธมิตรคือ ฝรั่งเศส สหภาพโซเวียต สหรัฐอเมริกา และสหราชอาณาจักร.

ใหม่!!: พันแซร์เฟาสท์และนาซีเยอรมนี · ดูเพิ่มเติม »

แนวรบด้านตะวันออก (สงครามโลกครั้งที่สอง)

แนวรบด้านตะวันออกเป็นเขตสงครามหนึ่งในสงครามโลกครั้งที่สอง มีอักษะประเทศในทวีปยุโรป และคู่สงครามร่วมฟินแลนด์ฝ่ายหนึ่ง กับสหภาพโซเวียต โปแลนด์และชาติสัมพันธมิตรจำนวนหนึ่งอีกฝ่ายหนึ่งเป็นคู่สงคราม เขตสงครามนี้กินอาณาบริเวณยุโรปตะวันออก บางส่วนของยุโรปเหนือและยุโรปใต้ สู้รบกันระหว่างวันที่ 22 มิถุนายน..

ใหม่!!: พันแซร์เฟาสท์และแนวรบด้านตะวันออก (สงครามโลกครั้งที่สอง) · ดูเพิ่มเติม »

แนวรบด้านตะวันตก (สงครามโลกครั้งที่สอง)

แนวรบด้านตะวันตก ของการสู้รบบนภาคพื้นทวีปยุโรปในสงครามโลกครั้งที่สองโอบล้อมบริเวณพื้นที่ตั้งแต่เดนมาร์ก นอร์เวย์ ลักเซมเบิร์ก เบลเยียม เนเธอร์แลนด์ สหราชอาณาจักร ฝรั่งเศส และภาคตะวันตกของเยอรมนี ปฏิบัติการทางทหารในสงครามโลกครั้งที่สองบริเวณยุโรปตอนใต้และบริเวณอื่นๆ ถูกจัดว่าไม่เกี่ยวกับแนวรบด้านตะวันตกนี้ การต่อสู้ในแนวรบด้านตะวันตกถูกแบ่งโดยปฏิบัติการสู้รบครั้งใหญ่ๆ ด้วยกันสองครั้ง คือ ช่วงแรกที่เนเธอร์แลนด์ เบลเยียม และฝรั่งเศส ยอมจำนนต่อกองทัพนาซีเยอรมนีในช่วงเดือนพฤษภาคมและมิถุนายน ค.ศ. 1940 ภายหลังจากที่พ่ายแพ้การสู้รบในกลุ่มประเทศแผ่นดินต่ำและในพื้นที่กึ่งหนึ่งของฝรั่งเศสตอนเหนือ จากนั้นสงครามจึงดำเนินเข้าสู่การสู้รบทางอากาศระหว่างเยอรมนีกับสหราชอาณาจักร ซึ่งทวีความรุนแรงมากที่สุดในช่วงยุทธการที่บริเตน ช่องที่สองคือช่วงของการสู้รบภาคพื้นดินขนาดใหญ่ซึ่งเริ่มต้นขึ้นในเดือนมิถุนายน ค.ศ. 1944 จากการยกพลขึ้นบกที่นอร์ม็องดี และดำเนินไปจนกระทั่งสามารถปลดปล่อยกรุงปารีสและฝรั่งเศลให้พ้นจากนาซีเยอรมัน ต่อมาสามารถเอาชนะเยอรมนีได้ในเดือนพฤษภาคม ค.ศ. 1945 แม้ว่าพลทหารเยอรมันส่วนมากจะเสียชีวิตในแนวรบด้านตะวันออก แต่ความสูญเสียที่เกิดขึ้นในแนวรบด้านตะวันตกแทบจะไม่สามารถทดแทนกลับคืนมาได้ เนื่องจากทรัพยากรสงครามส่วนมากของเยอรมนีถูกโยกย้ายไปใช้ในแนวรบด้านตะวันตก ซึ่งหมายความได้ว่าในแนวรบด้านตะวันออกมีการเสริมกำลังและทรัพยากรเพื่อยืดระยะเวลาการสู้รบออกไปได้ ในขณะที่แนวรบด้านตะวันตกมีการส่งกำลังเสริมและทรัพยากรทดแทนเพื่อหยุดยั่งการรุกคืบของฝ่ายสัมพันธมิตรได้เพียงน้อยนิด การยกพลขึ้นบกที่นอร์ม็องดีนับได้ว่าส่งสัญญาณเชิงจิตวิทยาในแง่ลบให้แก่กองทัพและผู้นำของนาซีเยอรมนีอย่างมาก เนื่องจากอดอล์ฟ ฮิตเลอร์เกรงกลัวสถานการณ์ที่เยอรมนีถูกขนาบด้วยการสู้รบจากแนวรบทั้งสองด้าน ซึ่งเป็นหนึ่งในสาเหตุสำคัญที่ทำให้เยอรมนีพ่ายแพ้ในสงครามโลกครั้งที่หนึ่ง.

ใหม่!!: พันแซร์เฟาสท์และแนวรบด้านตะวันตก (สงครามโลกครั้งที่สอง) · ดูเพิ่มเติม »

เปลี่ยนเส้นทางที่นี่:

แพนเซอร์เฟาซ์

ขาออกขาเข้า
Hey! เราอยู่ใน Facebook ตอนนี้! »