โลโก้
ยูเนี่ยนพีเดีย
การสื่อสาร
ดาวน์โหลดได้จาก Google Play
ใหม่! ดาวน์โหลด ยูเนี่ยนพีเดีย บน Android ™ของคุณ!
ติดตั้ง
เร็วกว่าเบราว์เซอร์!
 

พระเจ้าฟรีดริชที่ 2 แห่งปรัสเซีย

ดัชนี พระเจ้าฟรีดริชที่ 2 แห่งปรัสเซีย

ระเจ้าฟรีดริชที่ 2 (เยอรมัน: Friedrich II.; อังกฤษ: Frederick II หรือ พระเจ้าฟรีดริชมหาราช (24 มกราคม ค.ศ. 1712 - 17 สิงหาคม ค.ศ. 1786 เป็นพระมหากษัตริย์ปรัสเซียจากราชวงศ์โฮเอินโซลเลิร์น โดยทรงครองราชย์ระหว่างปีค.ศ. 1740 จนถึงปีค.ศ. 1786 พระองค์ทรงเป็นลำดับที่สามและ ‘กษัตริย์ในปรัสเซีย(King in Prussia)’ องค์สุดท้าย ก่อนที่จะฉลองพระอิสรยยศขึ้นเป็น ‘กษัตริย์แห่งปรัสเซีย(King of Prussia)’ หลังจากที่ได้รับดินแดนทางประวัติศาสตร์ดั้งเดิมของปรัสเซีย นอกจากนั้นก็ยังทรงดำรงตำแหน่งผู้คัดเลือกแห่งบรันเดนบวร์กในพระนามว่า “ฟรีดริชที่ 4” และทรงได้รับสมญานามว่า ‘พระเจ้าฟรีดริชมหาราช’ และมีพระนามเล่นว่า ‘เจ้าฟริทซ์แก่(der Alte Fritz)” พระเจ้าฟรีดริชทรงมีความสนพระทัยทางศิลปะตั้งแต่ยังทรงพระเยาว์และทรงพยายามหนีจาการควบคุมจากพระบิดาครั้งหนึ่งแต่ไม่สำเร็จ พระเจ้าฟรีดริช วิลเฮล์มที่ 1 พระราชบิดาทรงเข้มงวดจนได้รับสมญานามว่า “กษัตริย์ทหาร” เมื่อยังทรงพระเยาว์ฟรีดริชทรงถูกบังคับให้ดูการประหารชีวิตอย่างทารุณของพระสหายที่ทรงรู้จักกันมาตั้งแต่ยังทรงพระเยาว์ เมื่อทรงขึ้นครองราชย์ในปีแรกทรงโจมตีจักรวรรดิออสเตรียและยึดครองบริเวณไซลีเซีย ซึ่งอยู่ทางตะวันตกเฉียงใต้ของประเทศโปแลนด์ปัจจุบันซึ่งเป็นดินแดนยึดครองที่มีส่วนสำคัญในการวางรากฐานในการขยายดินแดนของปรัสเซียและเพิ่มความแข็งแกร่งให้แก่ราชอาณาจักรปรัสเซีย ในบั้นปลายของชีวิตพระเจ้าฟรีดริชทรงรวมอาณาจักรต่าง ๆ ที่เคยเป็นราชรัฐเล็กของปรัสเซียเข้าด้วยกันรวมทั้งดินแดนที่ทรงได้มาจากการแบ่งแยกโปแลนด์ พระเจ้าฟรีดริชทรงเป็นผู้สนับสนุนการปกครองระบบที่มีพื้นฐานมาจากสมบูรณาญาสิทธิราชย์อันทรงภูมิธรรม ทรงติดต่อสื่อสารกับวอลแตร์ นักปรัชญาเป็นเวลาราวห้าสิบปี และมีความสนิทสนมกันมากแต่ในขณะเดียวกันความสัมพันธ์ก็เต็มไปด้วยความขัดแย้งโดยตลอด พระราชกรณียกิจที่สำคัญ ๆ คือการปรับปรุงระบบการบริหารราชการและข้าราชการ และยังทรงสนับสนุนเสรีภาพของการนับถือศาสนา ทรงเป็นผู้อุปถัมภ์ศิลปินและนักปรัชญา เมื่อสิ้นพระชนม์ร่างของพระองค์ถูกฝังอยู่ที่พระราชวังที่โปรดปรานที่วังซองส์ซูซิที่เมืองพอทสดัม เมื่อสิ้นพระชนม์ บัลลังก์ตกไปเป็นของพระเจ้าฟรีดริช วิลเฮล์มที่ 2 พระราชนัดดาเพราะพระองค์เองไม่มีพระราชโอรส ฟรีดริช วิลเฮล์มที่ 2 เป็นพระโอรสของเจ้าชายเอากุสท์ วิลเฮล์มแห่งปรัสเซีย พระอนุชาของพระเจ้าฟรีดริชเอง.

100 ความสัมพันธ์: ฟรีดริช วิลเฮล์ม ผู้คัดเลือกแห่งบรันเดินบวร์คฟรีดริชที่ 5 ผู้คัดเลือกแห่งพาลาทิเนตฟลูตพ.ศ. 2255พ.ศ. 2283พ.ศ. 2329พระราชวังซังส์ซูซีพระเจ้าฟรีดริช วิลเฮล์มที่ 1 แห่งปรัสเซียพระเจ้าฟรีดริช วิลเฮล์มที่ 2 แห่งปรัสเซียพระเจ้าฟรีดริชที่ 1 แห่งปรัสเซียพระเจ้าฟรีดริชที่ 2 แห่งปรัสเซียพระเจ้าออกัสตัสที่ 3 แห่งโปแลนด์พระเจ้าจอร์จที่ 1 แห่งบริเตนใหญ่พระเจ้าจอร์จที่ 2 แห่งบริเตนใหญ่พ็อทซ์ดัมภาษีมหาราชมันฝรั่งมาดาม เดอ ปงปาดูร์ยุคเรืองปัญญารักร่วมเพศรัฐบรันเดินบวร์ครัฐผู้คัดเลือกเบราน์ชไวค์-ลือเนอบวร์คราชรัฐราชวงศ์บูร์บงราชวงศ์ฮาพส์บวร์คราชวงศ์โฮเอินโซลเลิร์นราชอาณาจักรบริเตนใหญ่ราชอาณาจักรซัคเซินราชอาณาจักรปรัสเซียรายพระนามพระมหากษัตริย์ปรัสเซียลัทธิคาลวินวอลแตร์วัฒนธรรมสมบูรณาญาสิทธิราชย์อันทรงภูมิธรรมสมเด็จพระราชินีนาถแอนน์แห่งบริเตนใหญ่สมเด็จพระสันตะปาปาเคลเมนต์ที่ 14สงครามรัสเซีย-ตุรกีสงครามสืบราชบัลลังก์ออสเตรียสงครามสืบราชบัลลังก์โปแลนด์สงครามโลกครั้งที่สองสงครามเจ็ดปีออทโท ฟอน บิสมาร์คอัมสเตอร์ดัมอิมมานูเอล คานต์อดอล์ฟ ฮิตเลอร์อเมริกันอินเดียนอเล็กซานเดอร์มหาราชจอห์น เชอร์ชิล ดยุกแห่งมาร์ลบะระจักรพรรดิ...จักรพรรดิมาร์กุส เอาเรลิอุสจักรพรรดิวิลเฮล์มที่ 2 แห่งเยอรมนีจักรพรรดิปีเตอร์ที่ 3 แห่งรัสเซียจักรพรรดินีมาเรีย เทเรซาจักรพรรดินีแอนนาแห่งรัสเซียจักรพรรดินีเยกาเจรีนาที่ 2 แห่งรัสเซียจักรพรรดินีเอลิซาเบธแห่งรัสเซียจักรพรรดินโปเลียนที่ 1จักรวรรดิออสเตรียจักรวรรดิออตโตมันจักรวรรดิโรมันจักรวรรดิโรมันอันศักดิ์สิทธิ์จักรวรรดิเยอรมันจูเลียส ซีซาร์ที่เก็บศพคณะเยสุอิตซิมโฟนีประเทศรัสเซียประเทศสวีเดนประเทศออสเตรียประเทศอังกฤษประเทศแคนาดาประเทศโปแลนด์ประเทศเยอรมนีตะวันออกปรัสเซียนาซีเยอรมนีแม่น้ำดานูบแม่น้ำโอเดอร์โยฮันน์ วอล์ฟกัง ฟอน เกอเทอโยฮันน์ เซบาสเตียน บาคโรมันคาทอลิกโรโกโกโคโลญโซฟี โดโรเทอา แห่งฮันโนเฟอร์โซฟี โดโรเทอา แห่งเบราน์ชไวค์-ลือเนอบวร์คโซฟีแห่งฮันโนเฟอร์โซนาตาโปรเตสแตนต์ไหมไซลีเซียเบอร์ลินเยอรมันเอลิซาเบธ สจวต สมเด็จพระราชินีแห่งโบฮีเมียเอลีซาเบ็ท คริสทีเนอ แห่งเบราน์ชไวค์-ว็อลเฟินบึทเทิล-เบเวิร์นเจ้าชายยูจีนแห่งซาวอยเจ้าชายเฟรเดอริก เจ้าชายแห่งเวลส์เครือจักรภพโปแลนด์–ลิทัวเนียเซนต์ปีเตอร์สเบิร์ก17 สิงหาคม24 มกราคม ขยายดัชนี (50 มากกว่า) »

ฟรีดริช วิลเฮล์ม ผู้คัดเลือกแห่งบรันเดินบวร์ค

ฟรีดริช วิลเฮล์ม ผู้คัดเลือกแห่งบรันเดินบวร์ค (Friedrich Wilhelm; Frederick William I, Elector of Brandenburg) (16 กุมภาพันธ์ ค.ศ. 1620 - 29 เมษายน ค.ศ. 1688) ฟรีดริช วิลเฮล์มเป็นเจ้าชายผู้คัดเลือกของบรันเดินบวร์ค และดยุกแห่งปรัสเซียตั้งแต่ปี..

ใหม่!!: พระเจ้าฟรีดริชที่ 2 แห่งปรัสเซียและฟรีดริช วิลเฮล์ม ผู้คัดเลือกแห่งบรันเดินบวร์ค · ดูเพิ่มเติม »

ฟรีดริชที่ 5 ผู้คัดเลือกแห่งพาลาทิเนต

ฟรีดริชที่ 5 ผู้คัดเลือกแห่งพาลาทิเนต หรือพระเจ้าฟรีดริชที่ 1 แห่งโบฮีเมีย (Friedrich V, Frederick V, Elector Palatine; 26 สิงหาคม ค.ศ. 1596 - 29 พฤศจิกายน ค.ศ. 1632) เป็นเจ้านครรัฐผู้คัดเลือกแห่งพาลาทิเนต และเป็นพระมหากษัตริย์แห่งโบฮีเมีย ในพระนามว่า "พระเจ้าฟรีดริชที่ 1" (Fridrich Falcký) ระหว่างปี ค.ศ. 1619 ถึงปี ค.ศ. 1620 อันเป็นระยะเวลาอันสั้นที่ทำให้เรียกกันว่า "พระราชาแห่งเหมันต์" (Zimní král) พระเจ้าฟรีดริชเสด็จพระราชสมภพที่ตำหนักล่าสัตว์ใกล้อัมแบร์กที่โอเบอร์พฟาลซ์ พระองค์เป็นพระโอรสและทายาทของฟรีดริชที่ 4 ผู้คัดเลือกแห่งพาลาทิเนตและหลุยส์ ยูเลียนาแห่งนัสเซาพระราชธิดาของวิลเลียมที่ 1 แห่งออเรนจ์ และ ชาร์ลอตต์เดอบูร์บอง พระองค์ทรงเป็นผู้คงแก่เรียน รหัสยิก และผู้ถือลัทธิคาลวิน ต่อมาฟรีดริชสืบครองรัฐผู้คัดเลือกพาลาทิเนตเป็นเจ้านครรัฐผู้คัดเลือกในปี ค.ศ. 1610 ฟรีดริชทรงเป็นผู้สร้าง สวนพฤกษชาติพาเลไทน์ อันมีชื่อเสียงที่ไฮเดลแบร์ก.

ใหม่!!: พระเจ้าฟรีดริชที่ 2 แห่งปรัสเซียและฟรีดริชที่ 5 ผู้คัดเลือกแห่งพาลาทิเนต · ดูเพิ่มเติม »

ฟลูต

ฟลุต ฟลูต (flute) เป็นเครื่องดนตรีสากลประเภทเครื่องเป่าลมไม้ ซึ่งแตกต่างจากเครื่องเป่าลมประเภทอื่น ๆ ที่กำเนิดเสียงจากการสั่นสะเทือนของลิ้น ฟลูต กำเนิดเสียงจากการผิวของลม ลักษณะเสียงของฟลูตจะมีความไพเราะ นุ่มนวล อ่อนหวาน.

ใหม่!!: พระเจ้าฟรีดริชที่ 2 แห่งปรัสเซียและฟลูต · ดูเพิ่มเติม »

พ.ศ. 2255

ทธศักราช 2255 ใกล้เคียงกั.

ใหม่!!: พระเจ้าฟรีดริชที่ 2 แห่งปรัสเซียและพ.ศ. 2255 · ดูเพิ่มเติม »

พ.ศ. 2283

ทธศักราช 2283 ใกล้เคียงกั.

ใหม่!!: พระเจ้าฟรีดริชที่ 2 แห่งปรัสเซียและพ.ศ. 2283 · ดูเพิ่มเติม »

พ.ศ. 2329

ทธศักราช 2329 ใกล้เคียงกับ คริสต์ศักราช 1786.

ใหม่!!: พระเจ้าฟรีดริชที่ 2 แห่งปรัสเซียและพ.ศ. 2329 · ดูเพิ่มเติม »

พระราชวังซังส์ซูซี

ระราชวังซังส์ซูซี (Sanssouci) เป็นอดีตพระราชวังฤดูร้อนของพระเจ้าฟรีดริชที่ 2 แห่งปรัสเซียตั้งอยู่ที่เมืองพอทสดัมในประเทศเยอรมนี สร้างโดยพระราชประสงค์ของพระเจ้าฟรีดริชระหว่างปี..

ใหม่!!: พระเจ้าฟรีดริชที่ 2 แห่งปรัสเซียและพระราชวังซังส์ซูซี · ดูเพิ่มเติม »

พระเจ้าฟรีดริช วิลเฮล์มที่ 1 แห่งปรัสเซีย

มเด็จพระเจ้าฟรีดริช วิลเฮล์มที่ 1 แห่งปรัสเซีย (Friedrich Wilhelm I, Frederick William I of Prussia) (14 สิงหาคม ค.ศ. 1688 - 31 พฤษภาคม ค.ศ. 1740) ฟรีดริช วิลเฮล์มที่ 1 แห่งราชวงศ์โฮเฮนโซลเลิร์นเป็นพระมหากษัตริย์แห่งราชอาณาจักรปรัสเซียและอีเล็คเตอร์แห่งบรานเดนบวร์ก (ในพระนามฟรีดริช วิลเฮล์มที่ 2) ผู้ทรงครองราชสมบัติต่อจากสมเด็จพระเจ้าฟรีดริชที่ 1 ในปี ค.ศ. 1713 และครองราชย์ต่อมาจนเสด็จสวรรคตเมื่อวันที่ 31 พฤษภาคม ค.ศ. 1740 โดยมีสมเด็จพระเจ้าฟรีดริชที่ 2 ทรงเป็นผู้สืบราชสมบัติต่อจากพระองค์ สมเด็จพระเจ้าฟรีดริช วิลเฮล์มที่ 1 เสด็จพระราชสมภพเมื่อวันที่ 14 สิงหาคม ค.ศ. 1688 เป็นพระราชโอรสในสมเด็จพระเจ้าฟรีดริชที่ 1 และ โซฟี ชาร์ล็อทเท่แห่งฮันโนเฟอร์ สมเด็จพระเจ้าฟรีดริช วิลเฮล์มทรงได้รับสมญานามว่า “กษัตริย์ทหาร” (der Soldatenkönig) และมีความโปรดปรานการแสดงทางการทหาร ที่ทำให้ทรงพยายามจ้างบุคคลที่มีความสูงมาจากทั่วยุโรปมาเข้าสังกัดกองทหารที่มีชื่อเล่นว่า “ยักษ์พอร์ทสดัม”.

ใหม่!!: พระเจ้าฟรีดริชที่ 2 แห่งปรัสเซียและพระเจ้าฟรีดริช วิลเฮล์มที่ 1 แห่งปรัสเซีย · ดูเพิ่มเติม »

พระเจ้าฟรีดริช วิลเฮล์มที่ 2 แห่งปรัสเซีย

ระเจ้าฟรีดริช วิลเฮล์มที่ 2 แห่งปรัสเซีย (Friedrich Wilhelm II, Frederick William II of Prussia) (25 กันยายน ค.ศ. 1744 - 16 พฤศจิกายน ค.ศ. 1797) ฟรีดริช วิลเฮล์มที่ 2 แห่งราชวงศ์โฮเอินโซลเลิร์นเป็นพระมหากษัตริย์แห่งปรัสเซียและรัฐผู้คัดเลือกแห่งบรันเดินบวร์ค (ในพระนามฟรีดริช วิลเฮล์มที่ 3) ผู้ทรงครองราชสมบัติต่อจากพระเจ้าฟรีดริชที่ 2 ในปี ค.ศ. 1786 และครองราชย์ต่อมาจนเสด็จสวรรคตเมื่อวันที่ 16 พฤศจิกายน ค.ศ. 1797 โดยมีพระเจ้าฟรีดริช วิลเฮล์มที่ 3 ทรงเป็นผู้สืบราชสมบัติต่อจากพระองค์ พระเจ้าฟรีดริช วิลเฮล์มที่ 2 เสด็จพระราชสมภพเมื่อวันที่ 25 กันยายน ค.ศ. 1744 เป็นพระราชโอรสของออกัสตัส วิลเลียมแห่งปรัสเซีย และ หลุยส์ อามาลี แห่งเบราน์ชไวก์-โวลเฟนบึทเทิล.

ใหม่!!: พระเจ้าฟรีดริชที่ 2 แห่งปรัสเซียและพระเจ้าฟรีดริช วิลเฮล์มที่ 2 แห่งปรัสเซีย · ดูเพิ่มเติม »

พระเจ้าฟรีดริชที่ 1 แห่งปรัสเซีย

ระเจ้าฟรีดริชที่ 1 แห่งปรัสเซีย (Friedrich I; Frederick I of Prussia; 11 กรกฎาคม ค.ศ. 1657 - 25 กุมภาพันธ์ ค.ศ. 1713) หรือ ฟรีดริชที่ 3 ผู้คัดเลือกแห่งบรันเดนบูร์ก แห่งราชวงศ์โฮเฮนโซลเลิร์นเป็นเจ้านครรัฐผู้คัดเลือกของรัฐมาร์เกรฟบรันเดนบูร์กระหว่าง ค.ศ. 1688 จนถึง ค.ศ. 1713 และดยุกแห่งดัชชีปรัสเซียโดยการเป็นรัฐร่วมประมุข ตำแหน่งหลังได้รับการเลื่อนขึ้นเป็นราชอาณาจักรโดยฟรีดริชเป็นปฐมกษัตริย์ของราชอาณาจักรปรัสเซียระหว่าง ค.ศ. 1701 จนกระทั่งเสด็จสวรรคตในปี ค.ศ. 1713 สมเด็จพระเจ้าฟรีดริชที่ 1 เป็นพระโอรสองค์ที่สามของฟรีดริช วิลเฮล์มที่ 1 ผู้คัดเลือกแห่งบรันเดนบูร์ก กับพระชายาองค์แรกหลุยส์ เฮนเรียตแห่งออเรนจ์-นาซอ พระธิดาองค์โตของเฟรเดอริค เฮนรี เจ้าชายแห่งออเรนจ์ และอมาเลียแห่งโซล์มส์-บราวน์เฟลส์ พระญาติสายพระมารดาคือสมเด็จพระเจ้าวิลเลียมที่ 3 แห่งอังกฤษ เมื่อฟรีดริช วิลเฮล์มที่ 1 สวรรคตเมื่อวันที่ 29 เมษายน ค.ศ. 1688 ก็ทรงสืบทอดราชสมบัติต่อจากพระบิดาเป็น ฟรีดริชที่ 3 ผู้คัดเลือกแห่งบรันเดนบูร์ก.

ใหม่!!: พระเจ้าฟรีดริชที่ 2 แห่งปรัสเซียและพระเจ้าฟรีดริชที่ 1 แห่งปรัสเซีย · ดูเพิ่มเติม »

พระเจ้าฟรีดริชที่ 2 แห่งปรัสเซีย

ระเจ้าฟรีดริชที่ 2 (เยอรมัน: Friedrich II.; อังกฤษ: Frederick II หรือ พระเจ้าฟรีดริชมหาราช (24 มกราคม ค.ศ. 1712 - 17 สิงหาคม ค.ศ. 1786 เป็นพระมหากษัตริย์ปรัสเซียจากราชวงศ์โฮเอินโซลเลิร์น โดยทรงครองราชย์ระหว่างปีค.ศ. 1740 จนถึงปีค.ศ. 1786 พระองค์ทรงเป็นลำดับที่สามและ ‘กษัตริย์ในปรัสเซีย(King in Prussia)’ องค์สุดท้าย ก่อนที่จะฉลองพระอิสรยยศขึ้นเป็น ‘กษัตริย์แห่งปรัสเซีย(King of Prussia)’ หลังจากที่ได้รับดินแดนทางประวัติศาสตร์ดั้งเดิมของปรัสเซีย นอกจากนั้นก็ยังทรงดำรงตำแหน่งผู้คัดเลือกแห่งบรันเดนบวร์กในพระนามว่า “ฟรีดริชที่ 4” และทรงได้รับสมญานามว่า ‘พระเจ้าฟรีดริชมหาราช’ และมีพระนามเล่นว่า ‘เจ้าฟริทซ์แก่(der Alte Fritz)” พระเจ้าฟรีดริชทรงมีความสนพระทัยทางศิลปะตั้งแต่ยังทรงพระเยาว์และทรงพยายามหนีจาการควบคุมจากพระบิดาครั้งหนึ่งแต่ไม่สำเร็จ พระเจ้าฟรีดริช วิลเฮล์มที่ 1 พระราชบิดาทรงเข้มงวดจนได้รับสมญานามว่า “กษัตริย์ทหาร” เมื่อยังทรงพระเยาว์ฟรีดริชทรงถูกบังคับให้ดูการประหารชีวิตอย่างทารุณของพระสหายที่ทรงรู้จักกันมาตั้งแต่ยังทรงพระเยาว์ เมื่อทรงขึ้นครองราชย์ในปีแรกทรงโจมตีจักรวรรดิออสเตรียและยึดครองบริเวณไซลีเซีย ซึ่งอยู่ทางตะวันตกเฉียงใต้ของประเทศโปแลนด์ปัจจุบันซึ่งเป็นดินแดนยึดครองที่มีส่วนสำคัญในการวางรากฐานในการขยายดินแดนของปรัสเซียและเพิ่มความแข็งแกร่งให้แก่ราชอาณาจักรปรัสเซีย ในบั้นปลายของชีวิตพระเจ้าฟรีดริชทรงรวมอาณาจักรต่าง ๆ ที่เคยเป็นราชรัฐเล็กของปรัสเซียเข้าด้วยกันรวมทั้งดินแดนที่ทรงได้มาจากการแบ่งแยกโปแลนด์ พระเจ้าฟรีดริชทรงเป็นผู้สนับสนุนการปกครองระบบที่มีพื้นฐานมาจากสมบูรณาญาสิทธิราชย์อันทรงภูมิธรรม ทรงติดต่อสื่อสารกับวอลแตร์ นักปรัชญาเป็นเวลาราวห้าสิบปี และมีความสนิทสนมกันมากแต่ในขณะเดียวกันความสัมพันธ์ก็เต็มไปด้วยความขัดแย้งโดยตลอด พระราชกรณียกิจที่สำคัญ ๆ คือการปรับปรุงระบบการบริหารราชการและข้าราชการ และยังทรงสนับสนุนเสรีภาพของการนับถือศาสนา ทรงเป็นผู้อุปถัมภ์ศิลปินและนักปรัชญา เมื่อสิ้นพระชนม์ร่างของพระองค์ถูกฝังอยู่ที่พระราชวังที่โปรดปรานที่วังซองส์ซูซิที่เมืองพอทสดัม เมื่อสิ้นพระชนม์ บัลลังก์ตกไปเป็นของพระเจ้าฟรีดริช วิลเฮล์มที่ 2 พระราชนัดดาเพราะพระองค์เองไม่มีพระราชโอรส ฟรีดริช วิลเฮล์มที่ 2 เป็นพระโอรสของเจ้าชายเอากุสท์ วิลเฮล์มแห่งปรัสเซีย พระอนุชาของพระเจ้าฟรีดริชเอง.

ใหม่!!: พระเจ้าฟรีดริชที่ 2 แห่งปรัสเซียและพระเจ้าฟรีดริชที่ 2 แห่งปรัสเซีย · ดูเพิ่มเติม »

พระเจ้าออกัสตัสที่ 3 แห่งโปแลนด์

ระเจ้าออกัสตัสที่ 3 แห่งโปแลนด์ หรือ เจ้าชายฟรีดริช เอากุสท์ที่ 2 ผู้คัดเลือก (Augustus III of Poland, August III. หรือ Prince-elector Friedrich August II) (17 ตุลาคม ค.ศ. 1696 - 5 ตุลาคม ค.ศ. 1763) เป็นเจ้านครรัฐผู้คัดเลือกแซกโซนี ระหว่างปี ค.ศ. 1733 ถึง ค.ศ. 1763 และเป็นพระมหากษัตริย์โปแลนด์ระหว่างปี ค.ศ. 1734 จนเสด็จสวรรคตเมื่อวันที่ 5 ตุลาคม ค.ศ. 1763 พระเจ้าออกัสตัสที่ 3 เสด็จพระราชสมภพเมื่อวันที่ 17 ตุลาคม ค.ศ. 1696 ที่เมืองเดรสเดินในประเทศเยอรมนีปัจจุบัน พระองค์เป็นพระราชโอรสในพระเจ้าออกัสตัสที่ 2 แห่งโปแลนด์ และ พระนางคริสเตียน เอเบอร์ฮาร์ดีน (Christiane Eberhardine of Brandenburg-Bayreuth) และอภิเษกสมรสกับมาเรีย โจเซฟาแห่งออสเตรีย พระองค์เสด็จสวรรคตเมื่อวันที่ 5 ตุลาคม ค.ศ. 1763 ที่เมืองเดรสเดินเช่นกัน.

ใหม่!!: พระเจ้าฟรีดริชที่ 2 แห่งปรัสเซียและพระเจ้าออกัสตัสที่ 3 แห่งโปแลนด์ · ดูเพิ่มเติม »

พระเจ้าจอร์จที่ 1 แห่งบริเตนใหญ่

ระเจ้าจอร์จที่ 1 แห่งบริเตนใหญ่และไอร์แลนด์ (George I of Great Britain, George I von Großbritannien) (28 พฤษภาคม ค.ศ. 1660 – 11 มิถุนายน ค.ศ. 1727) เป็นพระมหากษัตริย์สหราชอาณาจักรบริเตนใหญ่และไอร์แลนด์สมัยราชวงศ์แฮโนเวอร์ ระหว่างปี..

ใหม่!!: พระเจ้าฟรีดริชที่ 2 แห่งปรัสเซียและพระเจ้าจอร์จที่ 1 แห่งบริเตนใหญ่ · ดูเพิ่มเติม »

พระเจ้าจอร์จที่ 2 แห่งบริเตนใหญ่

ระเจ้าจอร์จที่ 2 แห่งบริเตนใหญ่ (George II of Great Britain) พระราชสมภพเมื่อวันที่ 10 พฤศจิกายน..

ใหม่!!: พระเจ้าฟรีดริชที่ 2 แห่งปรัสเซียและพระเจ้าจอร์จที่ 2 แห่งบริเตนใหญ่ · ดูเพิ่มเติม »

พ็อทซ์ดัม

็อทซ์ดัม (Potsdam) เป็นเมืองหลวงของรัฐบรันเดนบูร์กทางด้านตะวันออกของประเทศเยอรมนี ตั้งอยู่บนแม่น้ำฮาเฟิล (Havel) 26 กม.

ใหม่!!: พระเจ้าฟรีดริชที่ 2 แห่งปรัสเซียและพ็อทซ์ดัม · ดูเพิ่มเติม »

ภาษี

ษี (tax, มาจากภาษาละติน taxo, "ข้าประเมิน") เป็นเงินหรือสิ่งของอื่นที่รัฐหรือสถาบันปฏิบัติหน้าที่เทียบเท่ารัฐเรียกเก็บจากผู้เสียภาษี ซึ่งอาจเป็นปัจเจกบุคคลหรือนิติบุคคลก็ได้ กฎหมายมีบทลงโทษผู้ที่ไม่เสียภาษี ระบอบต่ำกว่ารัฐ (subnational entity) จำนวนมากยังมีการเรียกเก็บภาษีเช่นกัน ภาษีประกอบด้วยภาษีทางตรงและภาษีทางอ้อม และอาจจ่ายเป็นรูปตัวเงินหรือการใช้แรงงานที่เทียบเท่า (มักเป็นการใช้แรงงานที่ไม่มีค่าตอบแทน แต่ไม่เสมอไป) ภาษีอาจนิยามได้ว่า "ภาระที่เป็นตัวเงินซึ่งตกแก่ปัจเจกบุคคลหรือเจ้าของทรัพย์สินเพื่อสนับสนุนรัฐบาล เป็นการชำระซึ่งเรียกเอาจากองค์การใช้อำนาจนิติบัญญัติ"Black's Law Dictionary, p. 1307 (5th ed. 1979).

ใหม่!!: พระเจ้าฟรีดริชที่ 2 แห่งปรัสเซียและภาษี · ดูเพิ่มเติม »

มหาราช

มหาราช อาจหมายถึง.

ใหม่!!: พระเจ้าฟรีดริชที่ 2 แห่งปรัสเซียและมหาราช · ดูเพิ่มเติม »

มันฝรั่ง

มันฝรั่ง (Solanum tuberosum) เป็นพืชเศรษฐกิจที่สำคัญของโลก เดิมเป็นพืชพื้นเมืองของทวีปอเมริก.

ใหม่!!: พระเจ้าฟรีดริชที่ 2 แห่งปรัสเซียและมันฝรั่ง · ดูเพิ่มเติม »

มาดาม เดอ ปงปาดูร์

มาดาม เดอ ปงปาดูร์ ฌานน์ อ็องตัวแน็ต ปัวซง, มาร์กีซ เดอ ปงปาดูร์ (Jeanne Antoinette Poisson, Marquise de Pompadour) หรือรู้จักกันในชื่อ มาดาม เดอ ปงปาดูร์ (Madame de Pompadour; 29 ธันวาคม ค.ศ. 1721 – 15 เมษายน ค.ศ. 1764) เป็นสมาชิกในราชสำนักฝรั่งเศส โดยดำรงตำแหน่งสนมเอกของพระเจ้าหลุยส์ที่ 15 ตั้งแต่อายุ 24 ปี จนกระทั่งเสียชีวิตในด้วยวัย 42 ปี ในระหว่างมีชีวิตอยู่ เธอมีอิทธิพลต่อนโยบายของฝรั่งเศสหลายครั้ง โดยเฉพาะในการทำสนธิสัญญาแวร์ซายครั้งที่ 1 ระหว่างฝรั่งเศสกับออสเตรียในปี..

ใหม่!!: พระเจ้าฟรีดริชที่ 2 แห่งปรัสเซียและมาดาม เดอ ปงปาดูร์ · ดูเพิ่มเติม »

ยุคเรืองปัญญา

ฌ็อง-ฌัก รูโซ บุคคลสำคัญจากยุคเรืองปัญญา ยุคเรืองปัญญา (Age of Enlightenment; Siècle des Lumières) คือการเคลื่อนไหวทางวัฒนธรรมของเหล่าปัญญาชนในยุโรปและอาณานิคมบนทวีปอเมริกาช่วงคริสต์ศตวรรษที่ 18 เป้าหมายเพื่อปฏิรูปสังคมและส่งเสริมการใช้หลักเหตุผลมากกว่าการใช้หลักจารีต, ความเชื่อ และการเปิดเผยจากพระเจ้า รวมไปถึงส่งเสริมความรู้ทางวิทยาศาสตร์ขั้นสูง การเคลื่อนไหวยังสนับสนุนการแลกเปลี่ยนความรู้หรือการใช้ปัญญา ต่อต้านความเชื่อทางไสยศาสตร์, โมหาคติ และการชักนำให้ผิดเพี้ยนจากคริสตจักรและรัฐบาล ยุคเรืองปัญญาเริ่มตั้นขึ้นในช่วงประมาณปี..

ใหม่!!: พระเจ้าฟรีดริชที่ 2 แห่งปรัสเซียและยุคเรืองปัญญา · ดูเพิ่มเติม »

รักร่วมเพศ

รักร่วมเพศ (homosexuality) หมายถึงพฤติกรรมทางเพศหรือความสนใจของคนในเพศเดียวกันหรือรสนิยมทางเพศ ในเรื่องรสนิยมทางเพศหมายถึง "มีเพศสัมพันธ์หรือความรักในทางโรแมนติกพิเศษกับบุคคลในเพศเดียวกัน" และยังหมายถึง "ความรู้สึกส่วนตัวและการแสดงออกทางสังคมโดยยึดจากความชอบ พฤติกรรมที่พวกเขาแสดงออก และการเป็นสมาชิกในกลุ่มสังคมเดียวกันของพวกเขา" รักร่วมเพศ, ไบเซ็กชวล และรักต่างเพศ ถือเป็นกลุ่มคนหลัก 3 ประเภทของรสนิยมทางเพศ สัดส่วนของประชากรที่เป็นกลุ่มคนรักเพศเดียวกันค่อนข้างยากที่จะประเมินLeVay, Simon (1996).

ใหม่!!: พระเจ้าฟรีดริชที่ 2 แห่งปรัสเซียและรักร่วมเพศ · ดูเพิ่มเติม »

รัฐบรันเดินบวร์ค

รันเดินบวร์ค (Brandenburg) เป็นรัฐหนึ่งใน 16 รัฐสหพันธ์ของประเทศเยอรมนี ตั้งอยู่ทางตะวันออกของประเทศ ด้วยเป็นหนึ่งในรัฐใหม่ที่ก่อตั้งขึ้นใน..

ใหม่!!: พระเจ้าฟรีดริชที่ 2 แห่งปรัสเซียและรัฐบรันเดินบวร์ค · ดูเพิ่มเติม »

รัฐผู้คัดเลือกเบราน์ชไวค์-ลือเนอบวร์ค

รัฐผู้คัดเลือกฮันโนเฟอร์ (Electorate of Hanover) หรือ รัฐผู้คัดเลือกเบราน์ชไวค์-ลือเนอบวร์ค (Kurfürstentum Braunschweig-Lüneburg) เป็นหนึ่งในรัฐผู้คัดเลือกลำดับที่เก้าของจักรวรรดิโรมันอันศักดิ์สิทธิ์ ในปี..

ใหม่!!: พระเจ้าฟรีดริชที่ 2 แห่งปรัสเซียและรัฐผู้คัดเลือกเบราน์ชไวค์-ลือเนอบวร์ค · ดูเพิ่มเติม »

ราชรัฐ

ราชรัฐ เป็นคำที่ราชบัณฑิตยสถานบัญญัติขึ้นเพื่อใช้เรียกเขตการปกครองที่มีประมุขเป็นเจ้าซึ่งมีอิสริยยศต่ำกว่าพระมหากษัตริย์ ราชรัฐมี 4 ชั้น คือ.

ใหม่!!: พระเจ้าฟรีดริชที่ 2 แห่งปรัสเซียและราชรัฐ · ดูเพิ่มเติม »

ราชวงศ์บูร์บง

ราชวงศ์บูร์บง (ฝรั่งเศส: Maison de Bourbon; สเปน: Casa de Borbón; อังกฤษ: House of Bourbon) เป็นหนึ่งในราชวงศ์ที่สำคัญที่สุดในทวีปยุโรป ซึ่งได้ปกครองประเทศฝรั่งเศสในคริสต์ศตวรรษที่ 16 เป็นต้นมา และเมื่อถึงคริสต์ศตวรรษที่ 18 สมาชิกในราชวงศ์บูร์บงก็ได้ปกครองประเทศสเปน เมืองเนเปิลส์ เกาะซิซิลี และเมืองปาร์มาในประเทศอิตาลีด้วย ในปัจจุบันประเทศที่ยังคงมีสมาชิกในราชวงศ์บูร์บงปกครองอยู่คือราชอาณาจักรสเปนและราชรัฐลักเซมเบิร์ก กษัตริย์แห่งราชวงศ์บูร์บงเริ่มการปกครองครั้งแรกในปี พ.ศ. 2098 (ค.ศ. 1555) ที่เมืองนาวาร์ (ตอนเหนือของประเทศสเปนและทางใต้ของประเทศฝรั่งเศส) และพอมาถึงปี พ.ศ. 2132 (ค.ศ. 1589) ราชวงศ์บูร์บงก็ได้ปกครองประเทศฝรั่งเศสทั้งประเทศ จนมาถึงสิ้นสุดลงในปี พ.ศ. 2335 (ค.ศ. 1792) เมื่อครั้งการปฏิวัติฝรั่งเศส ถึงแม้จะมีการฟื้นฟูขึ้นมาใหม่อีกครั้ง แต่ก็ดำรงอยู่ได้เพียง 24 ปี ก็ได้มีการล้มล้างระบอบกษัตริย์ลง พระเจ้าเฟลีเปที่ 5 แห่งสเปนทรงเป็นกษัตริย์พระองค์แรกแห่งราชวงศ์บูร์บงที่ได้ปกครองประเทศสเปน ตั้งแต่ปี พ.ศ. 2243 (ค.ศ. 1700) ได้มีการโค่นล้ม แก่งแย่ง และฟื้นฟูใหม่อยู่ตลอดเวลา จนมาถึงปัจจุบันซึ่งมีสมเด็จพระราชาธิบดีเฟลิเปที่ 6 แห่งสเปนทรงเป็นประมุขแห่งประเทศสเปนอยู่ ส่วนทางประเทศลักเซมเบิร์กนั้น ได้มีการอภิเษกสมรสระหว่างราชวงศ์ จึงนับได้ว่าทางฝ่ายราชสำนักลักเซมเบิร์กนั้นก็มีเชื้อสายราชวงศ์นี้เช่นกัน.

ใหม่!!: พระเจ้าฟรีดริชที่ 2 แห่งปรัสเซียและราชวงศ์บูร์บง · ดูเพิ่มเติม »

ราชวงศ์ฮาพส์บวร์ค

ราชวงศ์ฮาพส์บวร์ค (Haus de Habsburg) (House of Habsburg, บางครั้งเขียนว่า Hapsburg) เป็นราชวงศ์ที่สำคัญที่สุดราชวงศ์หนึ่งในทวีปยุโรป ราชวงศ์นี้ได้ปกครองประเทศสเปนและประเทศออสเตรีย รวมเวลาทั้งหมดถึง 6 ศตวรรษ แต่ที่รู้จักกันดีมากที่สุดคือ การปกครองในตำแหน่งของ จักรพรรดิโรมันอันศักดิ์สิทธิ์ หลังจากได้มีการสถาปนาจักรวรรดิโรมันอันศักดิ์สิทธิ์ขึ้นมา พระราชวงศ์นี้ได้ปกครองรัฐและประเทศต่าง ๆ ถึง 1,800 รั.

ใหม่!!: พระเจ้าฟรีดริชที่ 2 แห่งปรัสเซียและราชวงศ์ฮาพส์บวร์ค · ดูเพิ่มเติม »

ราชวงศ์โฮเอินโซลเลิร์น

ราชวงศ์โฮเอินโซลเลิร์น (Haus Hohenzollern) เป็นราชตระกูลเยอรมันและโรมาเนียของยุโรปที่ปกครองปรัสเซีย, เยอรมนี และ โรมาเนีย บริเวณดั้งเดิมของราชวงศ์อยู่ในบริเวณเมืองเฮ็คคิงเงิน (Hechingen) ในชวาเบินที่ก่อตั้งขึ้นในคริสต์ศตวรรษที่ 11 ชื่อราชวงศ์มาจากที่พำนักของตระกูลที่เรียกว่าปราสาทโฮเอินโซลเลิร์น (Burg Hohenzollern) คำขวัญของตระกูลคือ “Nihil Sine Deo” (ไม่มีสิ่งใดถ้าไม่มีพระเจ้า) ตราประจำตระกูลเริ่มใช้ในปี..

ใหม่!!: พระเจ้าฟรีดริชที่ 2 แห่งปรัสเซียและราชวงศ์โฮเอินโซลเลิร์น · ดูเพิ่มเติม »

ราชอาณาจักรบริเตนใหญ่

ราชอาณาจักรบริเตนใหญ่ (Kingdom of Great Britain) หรือ สหราชอาณาจักรบริเตนใหญ่ (United Kingdom of Great Britain) เป็นรัฐในยุโรปตะวันตก ดำรงอยู่ในช่วงค.ศ. 1707 จนถึง ค.ศ. 1801 เกิดจากการรวมกันของราชอาณาจักรอังกฤษและราชอาณาจักรสกอตแลนด์ ภายใต้พระราชบัญญัติสหภาพ ค.ศ. 1707 (พ.ศ. 2250) ก่อนหน้านี้ราชอาณาจักรทั้งสองได้มีพระประมุขพระองค์เดียวกัน ตั้งแต่สมเด็จพระเจ้าเจมส์ที่ 6 แห่งสกอตแลนด์ขึ้นครองราชย์เป็นประมุขของอังกฤษในค.ศ. 1631 สหราชอาณาจักรบริเตนใหญ่และไอร์แลนด์เข้าแทนที่ราชอาณาจักรบริเตนใหญ่ในปีค.ศ. 1801 หลังจากราชอาณาจักรไอร์แลนด์เข้าร่วมในพระราชบัญญัติสหภาพ ค.ศ. 1800.

ใหม่!!: พระเจ้าฟรีดริชที่ 2 แห่งปรัสเซียและราชอาณาจักรบริเตนใหญ่ · ดูเพิ่มเติม »

ราชอาณาจักรซัคเซิน

ราชอาณาจักรซัคเซิน ในปี ค.ศ. 1900 ราชอาณาจักรซัคเซิน Königreich Sachsen) หรือ ราชอาณาจักรแซกโซนี (Kingdom of Saxony) เป็นราชอาณาจักรตั้งอยู่ในบริเวณตะวันตกเฉียงเหนือของสาธารณรัฐเช็กในปัจจุบันระหว่างปี ค.ศ. 1806 ถึงปี ค.ศ. 1918 โดยมีพระเจ้าฟรีดิช ออกัสตัสที่ 1 แห่งซัคเซินแห่งราชวงศ์เวททินเป็นกษัตริย์องค์แรก และพระเจ้าฟรีดิช ออกัสตัสที่ 3 แห่งซัคเซินแห่งราชวงศ์เวททินเป็นกษัตริย์องค์สุดท้าย ราชอาณาจักรซัคเซินเป็นราชรัฐอิสระหลังสมัยนโปเลียนและเป็นส่วนหนึ่งของจักรวรรดิเยอรมันตั้งแต่ปี ค.ศ. 1871 ก่อนที่จะถูกกลืนเข้าเป็นส่วนหนึ่งของสาธารณรัฐไวมาร์ในปี ค.ศ. 1918 หลังสงครามโลกครั้งที่ 1 เมืองหลวงตั้งอยู่ที่เดรสเดิน ในปัจจุบันราชอาณาจักรซัคเซินคือเสรีรัฐซัคเซินของประเทศเยอรมนี.

ใหม่!!: พระเจ้าฟรีดริชที่ 2 แห่งปรัสเซียและราชอาณาจักรซัคเซิน · ดูเพิ่มเติม »

ราชอาณาจักรปรัสเซีย

ราชอาณาจักรปรัสเซีย (Kingdom of Prussia) เป็นราชอาณาจักรหนึ่งของชนชาติเยอรมัน ดำรงอยู่ระหว่างปีค.ศ. 1701 ถึง 1918 ครอบคลุมพื้นที่ในประเทศเยอรมนี โปแลนด์ รัสเซีย ลิทัวเนีย เดนมาร์ก เบลเยียม และเช็กเกียในปัจจุบัน ราชอาณาจักรปรัสเซียกลายเป็นมหาอำนาจของยุโรปในศตวรรษที่ 18 ในรัชสมัยของพระเจ้าฟรีดริชมหาราช และยิ่งทรงอำนาจขึ้นจนสามารถเป็นแกนนำในการชักนำรัฐเยอรมันต่างๆให้ทำการรวมชาติกันเป็นจักรวรรดิเยอรมัน ในปี 1871.

ใหม่!!: พระเจ้าฟรีดริชที่ 2 แห่งปรัสเซียและราชอาณาจักรปรัสเซีย · ดูเพิ่มเติม »

รายพระนามพระมหากษัตริย์ปรัสเซีย

ตราอาร์มของราชอาณาจักรปรัสเซีย รายพระนามพระมหากษัตริย์ปรัสเซีย (List of monarchs of Prussia) เป็นรายนามและรายพระนามของประมุขของอดีตรัฐเยอรมันแห่งปรัสเซีย ที่เดิมเป็นรัฐอัศวินทิวทอนิก บนฝั่งทะเลบอลติกที่อัศวินทิวทอนิกพิชิตได้มาจากโปแลนด์และลิทัวเนีย ต่อมาเป็นดัชชีภายใต้การปกครองของราชอาณาจักรโปแลนด์ ดัชชีปรัสเซีย ราชอาณาจักรปรัสเซียอิสระ ราชอาณาจักรภายในจักรวรรดิเยอรมัน และเสรีรัฐปรัสเซียของเยอรมนีในที่สุด ประวัติศาสตร์ของปรัสเซียตั้งแต่ปี..

ใหม่!!: พระเจ้าฟรีดริชที่ 2 แห่งปรัสเซียและรายพระนามพระมหากษัตริย์ปรัสเซีย · ดูเพิ่มเติม »

ลัทธิคาลวิน

ลัทธิคาลวิน (Calvinism) ขนบปฏิรูป (Reformed tradition) หรือ เทววิทยาปฏิรูป เป็นเทววิทยาศาสนาคริสต์นิกายโปรเตสแตนต์ ที่ถือแนวคำสอนและการปฏิบัติตามการตีความของฌ็อง กาลแว็ง และนักเทววิทยาอื่น ๆ ช่วงการปฏิรูปศาสนา ลัทธิคาลวินแตกหักกับคริสตจักรโรมันคาทอลิก จึงนับเป็นฝ่ายโปรเตสแตนต์ แต่ก็ต่างจากโปรเตสแตนต์สายอื่น ๆ เช่น ลูเทอแรน ในประเด็นต่าง ๆ เช่น พระเยซูในพิธีมหาสนิทศักดิ์สิทธิ์ หลักบังคับในการนมัสการ การบังคับใช้กฎของพระเจ้ากับคริสตชน การเรียกเทววิทยาสายนี้ว่า "ลัทธิคาลวิน" ค่อนข้างคลาดเคลื่อน เพราะในความเป็นจริง เป็นเทววิทยาที่มีแนวคิดหลากหลาย ไม่ได้จำกัดเฉพาะกับฌ็อง กาลแว็งผู้ก่อตั้งเพียงคนเดียว นักเทววิทยากลุ่มนี้ถูกฝ่ายลูเทอแรนเรียกว่า "ลัทธิคาลวิน" แต่ในภายในสายมักใช้คำว่า คณะปฏิรูป มากกว่า นับแต่มีการโต้แย้งอาร์มิเนียน ฝ่ายปฏิรูปก็แบ่งออกเป็นสองสาย คือ สายคาลวิน และ สายอาร์มิเนียน แต่ปัจจุบันมักใช้คำว่า คณะปฏิรูป ในเชิงไวพจน์กับลัทธิคาลวินมากกว่า นักเทววิทยาสายปฏิรูปที่มีบทบาทสำคัญในยุคต้น ๆ ได้แก่ ฌ็อง กาลแว็ง มาร์ทิน บูเคอร์ ไฮน์ริช บุลลิงเงอร์ และปีเอโตร มาร์ตีเร แวร์มิกลี จุดเด่นของลัทธิคาลวินมีอยู่ 5 ประเด็น ที่เป็นที่รู้จักที่สุดคือความเชื่อเรื่องเทวลิขิตและมนุษย์เสื่อมทรามโดยสิ้นเชิง ประเด็น 5 ข้อของลัทธิคาลวิน (5 Points of Calvinism; TULIP) ได้แก.

ใหม่!!: พระเจ้าฟรีดริชที่ 2 แห่งปรัสเซียและลัทธิคาลวิน · ดูเพิ่มเติม »

วอลแตร์

ฟร็องซัว-มารี อารูเอ (François-Marie Arouet) หรือเป็นที่รู้จักกันในนามปากกาว่า วอลแตร์ (Voltaire) เป็นปราชญ์, นักเขียน และนักประวัติศาสตร์ในยุคเรืองปัญญาของฝรั่งเศส เขาเป็นผู้โจมตีการจัดตั้งศาสนจักรคาทอลิกในฝรั่งเศส และยังสนับสนุนเสรีภาพทางศาสนา, เสรีภาพในการพูด และยังผลักดันให้มีการแบ่งแยกศาสนจักรออกจากรั.

ใหม่!!: พระเจ้าฟรีดริชที่ 2 แห่งปรัสเซียและวอลแตร์ · ดูเพิ่มเติม »

วัฒนธรรม

วัฒนธรรม โดยทั่วไปหมายถึง รูปแบบของกิจกรรมมนุษย์และโครงสร้างเชิงสัญลักษณ์ที่ทำให้กิจกรรมนั้นเด่นชัดและมีความสำคัญ วิถีการดำเนินชีวิต ซึ่งเป็นพฤติกรรมและสิ่งที่คนในหมู่ผลิตสร้างขึ้น ด้วยการเรียนรู้จากกันและกัน และร่วมใช้อยู่ในหมู่พวกของตน ซึ่งสามารถเปลี่ยนแปลงได้ตามยุคสมัย และ ความเหมาะสม แต่ถ้าเป็นในวิชาหน้าที่พลเมืองจะแปลว่าสิ่งที่มนุษย์ เปลี่ยนแปลงเพื่อความเจริญงอกงาม และสืบต่อกันมา วัฒนธรรมส่วนหนึ่งสามารถแสดงออกผ่าน ดนตรี วรรณกรรม จิตรกรรม ประติมากรรม การละครและภาพยนตร์ แม้บางครั้งอาจมีผู้กล่าวว่าวัฒนธรรมคือเรื่องที่ว่าด้วยการบริโภคและสินค้าบริโภค เช่น วัฒนธรรมระดับสูง วัฒนธรรมระดับต่ำ วัฒนธรรมพื้นบ้าน หรือวัฒนธรรมนิยม เป็นต้น แต่นักมานุษยวิทยาโดยทั่วไปมักกล่าวถึงวัฒนธรรมว่า มิได้เป็นเพียงสินค้าบริโภค แต่หมายรวมถึงกระบวนการในการผลิตสินค้าและการให้ความหมายแก่สินค้านั้น ๆ ด้วย ทั้งยังรวมไปถึงความสัมพันธ์ทางสังคมและแนวการปฏิบัติที่ทำให้วัตถุและกระบวนการผลิตหลอมรวมอยู่ด้วยกัน ในสายตาของนักมานุษยวิทยาจึงรวมไปถึงเทคโนโลยี ศิลปะ วิทยาศาสตร์รวมทั้งระบบศีลธรรม วัฒนธรรมในภูมิภาคต่าง ๆ อาจได้รับอิทธิพลจากการติดต่อกับภูมิภาคอื่น เช่น การเป็นอาณานิคม การค้าขาย การย้ายถิ่นฐาน การสื่อสารมวลชนและศาสนา อีกทั้งระบบความเชื่อ ไม่ว่าจะเป็นเรื่องศาสนามีบทบาทในวัฒนธรรมในประวัติศาสตร์ของมนุษยชาติมาโดยตลอ.

ใหม่!!: พระเจ้าฟรีดริชที่ 2 แห่งปรัสเซียและวัฒนธรรม · ดูเพิ่มเติม »

สมบูรณาญาสิทธิราชย์อันทรงภูมิธรรม

มบูรณาญาสิทธิราชย์อันทรงภูมิธรรม (enlightened absolutism, benevolent despotism หรือ enlightened despotism) คือรูปแบบของระบอบสมบูรณาญาสิทธิราชย์และระบบใช้อำนาจเด็ดขาด ที่ซึ่งผู้ปกครองได้รับอิทธิพลจากยุคเรืองปัญญา พระมหากษัตริย์ในระบอบนี้ที่เรียกว่า ประมุขผู้ทรงภูมิธรรม เป็นผู้อุปถัมภ์หลักการของการเรืองปัญญา โดยเฉพาะความสำคัญของหลักเหตุและผล และนำไปใช้ในการปกครองดินแดนของตน พระมหากษัตริย์มีแนวโน้มที่จะมีพระบรมราชานุญาตให้มีหลักขันติธรรมทางศาสนา, เสรีภาพในการแสดงความคิดเห็นและการเผยแพร่ข่าวสาร รวมถึงสิทธิ์ของประชาชนทั่วไปในการครอบครองทรัพย์สิน อันเป็นการช่วยสร้างความเจริญก้าวหน้าทางศิลปศาสตร์, วิทยาศาสตร์ และการศึกษาในยุโรปอย่างมาก.

ใหม่!!: พระเจ้าฟรีดริชที่ 2 แห่งปรัสเซียและสมบูรณาญาสิทธิราชย์อันทรงภูมิธรรม · ดูเพิ่มเติม »

สมเด็จพระราชินีนาถแอนน์แห่งบริเตนใหญ่

มเด็จพระราชินีนาถแอนน์แห่งบริเตนใหญ่ (Anne of Great Britain; 6 กุมภาพันธ์ ค.ศ. 1665 – 1 สิงหาคม ค.ศ. 1714) ทรงขึ้นครองราชย์เป็นพระราชินีนาถราชวงศ์สจวตองค์สุดท้ายของราชอาณาจักรอังกฤษ ราชอาณาจักรสกอตแลนด์ และราชอาณาจักรไอร์แลนด์ เมื่อวันที่ 8 มีนาคม ค.ศ. 1702 สืบต่อจากสมเด็จพระเจ้าวิลเลียมที่ 3 แห่งอังกฤษ พระนางเจ้าแอนน์ทรงพระราชสมภพเมื่อวันที่ 6 กุมภาพัน..

ใหม่!!: พระเจ้าฟรีดริชที่ 2 แห่งปรัสเซียและสมเด็จพระราชินีนาถแอนน์แห่งบริเตนใหญ่ · ดูเพิ่มเติม »

สมเด็จพระสันตะปาปาเคลเมนต์ที่ 14

สมเด็จพระสันตะปาปาคลีเมนต์ที่ 14 (Clement XIV) ทรงดำรงตำแหน่งพระสันตะปาปาตั้งแต่ ค.ศ. 1769 ถึง ค.ศ. 1774 หมวดหมู่:บุคคลที่เกิดในปี พ.ศ. 2248 คลีเมนต์ที่ 14 หมวดหมู่:บุคคลจากแคว้นเอมีเลีย-โรมัญญา.

ใหม่!!: พระเจ้าฟรีดริชที่ 2 แห่งปรัสเซียและสมเด็จพระสันตะปาปาเคลเมนต์ที่ 14 · ดูเพิ่มเติม »

สงครามรัสเซีย-ตุรกี

งครามรัสเซีย-ตุรกี อาจจะหมายถึง.

ใหม่!!: พระเจ้าฟรีดริชที่ 2 แห่งปรัสเซียและสงครามรัสเซีย-ตุรกี · ดูเพิ่มเติม »

สงครามสืบราชบัลลังก์ออสเตรีย

งครามสืบราชบัลลังก์ออสเตรีย (War of the Austrian Succession) เป็นสงครามที่เกี่ยวข้องกับทุกมหาอำนาจในทวีปยุโรป สงครามเริ่มจากการที่เมื่อจักรพรรดิคาร์ลที่ 6 แห่งโรมันอันศักดิ์สิทธิ์ เสด็จสวรรคตใน..

ใหม่!!: พระเจ้าฟรีดริชที่ 2 แห่งปรัสเซียและสงครามสืบราชบัลลังก์ออสเตรีย · ดูเพิ่มเติม »

สงครามสืบราชบัลลังก์โปแลนด์

งครามสืบราชบัลลังก์โปแลนด์ (ค.ศ. 1733 - 1738) เป็นสงครามครั้งใหญ่ของชาวยุโรปซึ่งปะทุขึ้นจากสงครามกลางเมืองในประเทศโปแลนด์ อันมีสาเหตุสืบเนื่องมาจากการสืบราชสมบัติต่อจากพระเจ้าออกุสตุสที่ 2 แห่งโปแลนด์ ความขัดแย้งดังกล่าวได้ขยายเป็นวงกว้างจากการที่ชาติมหาอำนาจยุโรปต่างให้การสนับสนุนคู่ขัดแย้งแต่ละฝ่ายโดยมุ่งหวังเรื่องผลประโยชน์แห่งชาติของตนเองเป็นหลัก ฝรั่งเศสและสเปน ซึ่งเป็นชาติที่มีกษัตริย์ผู้ปกครองจากราชวงศ์บูร์บงร่วมกัน พยายามทดสอบกำลังอำนาจของราชวงศ์ฮับส์บูร์กแห่งออสเตรียที่มีอยู่ในยุโรปตะวันตก ราชอาณาจักรปรัสเซียเองก็ทำเช่นเดียวกัน ขณะที่ฝ่ายซัคเซินและรัสเซียได้เคลื่อนพลเพื่อสนับสนุนชัยชนะของโปแลนด์ในตอนท้าย การสู้รบที่เกิดขึ้นไม่กี่ครั้งในโปแลนด์ได้นำผลไปสู่การขึ้นเสวยราชสมบัติของออกุสตุสที่ 3 ซึ่งเป็นผู้ฝักใฝ่รัสเซียและซัคเซิน โดยได้รับการสนับสนุนทางการเมืองจากราชวงศ์ฮับส์บูร์ก.

ใหม่!!: พระเจ้าฟรีดริชที่ 2 แห่งปรัสเซียและสงครามสืบราชบัลลังก์โปแลนด์ · ดูเพิ่มเติม »

สงครามโลกครั้งที่สอง

งครามโลกครั้งที่สอง (World War II หรือ Second World Warคำว่าสงครามโลกครั้งที่สองในภาษาอังกฤษนั้น ในเอกสารประวัติศาสตร์อย่างเป็นทางการของสหราชอาณาจักรและชาติตะวันตกใช้คำว่า "Second World War" ส่วนในสหรัฐใช้คำว่า "World War II" (ย่อเป็น "WWII" หรือ "WW2") ซึ่งเอกสารประวัติศาสตร์อย่างเป็นทางการในประเทศส่วนใหญ่มักจะใช้ภาษาอังกฤษว่า "Second World War" (เช่น Zweiter Weltkrieg ในภาษาเยอรมัน; Segunda Guerra mundial ในภาษาสเปน; Seconde Guerre mondiale ในภาษาฝรั่งเศส) แต่ทั้งสองคำนี้โดยทั่วไปแล้วสามารถใช้แทนกันได้; แม้ในประวัติศาสตร์การทหารอย่างเป็นทางการ คำว่า "Second World War" ถูกสร้างขึ้นโดย แฟรงก์ บี. เคลล็อก รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการต่างประเทศสหรัฐอเมริกา; ส่วนคำว่า "World War II" พบใช้เป็นครั้งแรกในนิตยสาร ไทมส์ เมื่อวันที่ 12 มิถุนายน ค.ศ. 1939 ซึ่งเป็นผู้ประดิษฐ์คำว่า "World War I" ขึ้นในอีกสามเดือนต่อมา; มักย่อเป็น WWII หรือ WW2) เป็นสงครามทั่วโลกกินเวลาตั้งแต่ปี 1939 ถึง 1945 ประเทศส่วนใหญ่ในโลกมีส่วนเกี่ยวข้อง รวมทั้งรัฐมหาอำนาจทั้งหมด แบ่งเป็นพันธมิตรทางทหารคู่สงครามสองฝ่าย คือ ฝ่ายสัมพันธมิตรและฝ่ายอักษะ เป็นสงครามที่กว้างขวางที่สุดในประวัติศาสตร์ มีทหารกว่า 100 ล้านนายจากกว่า 30 ประเทศเข้าร่วมโดยตรง สงครามนี้มีลักษณะเป็น "สงครามเบ็ดเสร็จ" คือ ประเทศผู้ร่วมสงครามหลักทุ่มขีดความสามารถทางเศรษฐกิจ อุตสาหกรรมและวิทยาศาสตร์ทั้งหมดเพื่อความพยายามของสงคราม โดยลบเส้นแบ่งระหว่างทรัพยากรของพลเรือนและทหาร ประเมินกันว่าสงครามมีมูลค่าราว 1 ล้านล้านดอลลาร์สหรัฐ ประเมินกันว่ามีผู้เสียชีวิตระหว่าง 50 ถึง 85 ล้านคน ด้วยประการทั้งปวง สงครามโลกครั้งที่สองจึงนับว่าเป็นสงครามขนาดใหญ่ที่สุด ใช้เงินทุนมากที่สุด และมีผู้เสียชีวิตสูงสุดในประวัติศาสตร์มนุษยชาติ จักรวรรดิญี่ปุ่นซึ่งมีเป้าหมายครอบงำทวีปเอเชียและแปซิฟิกและทำสงครามกับจีนมาตั้งแต่ปี 1937 แล้ว แต่โดยทั่วไปถือว่าสงครามโลกครั้งที่สองเริ่มตั้งแต่การบุกครองโปแลนด์ของเยอรมนีในวันที่ 1 กันยายน 1939 นำไปสู่การประกาศสงครามต่อเยอรมนีของประเทศฝรั่งเศสและสหราชอาณาจักร ตั้งแต่ปลายปี 1939 ถึงต้นปี 1941 ในการทัพและสนธิสัญญาต่าง ๆ ประเทศเยอรมนีพิชิตหรือควบคุมยุโรปภาคพื้นทวีปได้ส่วนใหญ่ และตั้งพันธมิตรอักษะกับอิตาลีและญี่ปุ่น ภายใต้สนธิสัญญาโมโลตอฟ–ริบเบนทรอพเมื่อเดือนสิงหาคม 1939 เยอรมนีและสหภาพโซเวียตแบ่งแลผนวกดินแดนประเทศเพื่อนบ้านยุโรปของตน ได้แก่ โปแลนด์ ฟินแลนด์ โรมาเนียและรัฐบอลติก สงครามดำเนินต่อส่วนใหญ่ระหว่างชาติฝ่ายอักษะยุโรปและแนวร่วมสหราชอาณาจักรและเครือจักรภพบริติช โดยมีการทัพอย่างการทัพแอฟริกาเหนือและแอฟริกาตะวันออก ยุทธการที่บริเตนซึ่งเป็นการสู้รบทางอากาศ การทัพทิ้งระเบิดเดอะบลิตซ์ การทัพบอลข่าน ตลอดจนยุทธการที่แอตแลนติกที่ยืดเยื้อ ในเดือนมิถุนายน 1941 ชาติอักษะยุโรปบุกครองสหภาพโซเวียต เปิดฉากเขตสงครามภาคพื้นดินที่ใหญ่ที่สุดในประวัติศาสตร์ ซึ่งทำให้กำลังทหารสำคัญของฝ่ายอักษะตกอยู่ในสงครามบั่นทอนกำลัง ในเดือนธันวาคม 1941 ญี่ปุ่นโจมตีสหรัฐและอาณานิคมยุโรปในมหาสมุทรแปซิฟิก และพิชิตมหาสมุทรแปซิฟิกตะวันตกส่วนมากได้อย่างรวดเร็ว การรุกของฝ่ายอักษะยุติลงในปี 1942 หลังญี่ปุ่นปราชัยในยุทธนาวีที่มิดเวย์ใกล้กับฮาวายที่สำคัญ และเยอรมนีปราชัยในแอฟริกาเหนือและจากนั้นที่สตาลินกราดในสหภาพโซเวียต ในปี 1943 จากความปราชัยของเยอรมนีติด ๆ กันที่เคิสก์ในยุโรปตะวันออก การบุกครองอิตาลีของฝ่ายสัมพันธมิตรซึ่งนำให้อิตาลียอมจำนน จนถึงชัยของฝ่ายสัมพันธมิตรในมหาสมุทรแปซิฟิก ฝ่ายอักษะเสียการริเริ่มและต้องล่าถอยทางยุทธศาสตร์ในทุกแนวรบ ในปี 1944 ฝ่ายสัมพันธมิตรบุกครองฝรั่งเศสในการยึดครองของเยอรมนี ขณะเดียวกันกับที่สหภาพโซเวียตยึดดินแดนที่เสียไปทั้งหมดคืนและบุกครองเยอรมนีและพันธมิตร ระหว่างปี 1944 และ 1945 ญี่ปุ่นปราชัยสำคัญในทวีปเอเชียในภาคกลางและภาคใต้ของจีนและพม่า ขณะที่ฝ่ายสัมพันธมิตรก่อความเสียหายต่อกองทัพเรือญี่ปุ่นและยึดหมู่เกาะแปซิฟิกตะวันตกที่สำคัญ สงครามในยุโรปยุติลงหลังกองทัพแดงยึดกรุงเบอร์ลินได้ และการยอมจำนนอย่างไม่มีเงื่อนไขของเยอรมนีเมื่อวันที่ 8 สิงหาคม 1945 แม้จะถูกโดดเดี่ยวและตกอยู่ในสภาพเสียเปรียบอย่างยิ่ง ญี่ปุ่นยังปฏิเสธที่จะยอมจำนน กระทั่งมีการทิ้งระเบิดนิวเคลียร์สองลูกถล่มญี่ปุ่น และการบุกครองแมนจูเรีย จึงได้นำไปสู่การยอมจำนนอย่างเป็นทางการของญี่ปุ่นเมื่อวันที่ 2 กันยายน 1945 สงครามยุติลงด้วยชัยชนะของฝ่ายสัมพันธมิตร ผลของสงครามได้เปลี่ยนแปลงการวางแนวทางการเมืองและโครงสร้างสังคมของโลก สหประชาชาติถูกสถาปนาขึ้น เพื่อส่งเสริมความร่วมมือระหว่างประเทศและเพื่อป้องกันความขัดแย้งในอนาคต สหรัฐอเมริกากับสหภาพโซเวียตก้าวเป็นอภิมหาอำนาจของโลกอันเป็นคู่ปรปักษ์กัน นำไปสู่ความขัดแย้งบนเวทีแห่งสงครามเย็น ซึ่งได้ดำเนินต่อมาอีก 46 ปีหลังสงคราม ขณะเดียวกัน การยอมรับหลักการการกำหนดการปกครองด้วยตนเอง เร่งให้เกิดการเคลื่อนไหวเพื่อเรียกร้องเอกราชในทวีปเอเชียและทวีปแอฟริกา พร้อม ๆ กับที่หลายประเทศได้มุ่งหน้าฟื้นฟูเศรษฐกิจซึ่งอุตสาหกรรมได้รับความเสียหายระหว่างสงคราม และบูรณาการทางการเมืองได้เกิดขึ้นทั่วโลกในความพยายามที่จะรักษาเสถียรภาพความสัมพันธ์หลังสงคราม.

ใหม่!!: พระเจ้าฟรีดริชที่ 2 แห่งปรัสเซียและสงครามโลกครั้งที่สอง · ดูเพิ่มเติม »

สงครามเจ็ดปี

ำหรับสงครามเจ็ดปีในความหมายอื่น อ่าน สงครามเจ็ดปี (แก้ความกำกวม) สงครามเจ็ดปี (Seven Years' War) หรือ สงครามไซลีเซียครั้งที่ 3 (Third Silesian War) เป็นสงครามที่เกิดขึ้นระหว่างปี..

ใหม่!!: พระเจ้าฟรีดริชที่ 2 แห่งปรัสเซียและสงครามเจ็ดปี · ดูเพิ่มเติม »

ออทโท ฟอน บิสมาร์ค

ออทโท อีดวร์ท เลโอโพลด์ ฟอน บิสมาร์ค-เชินเฮาเซิน (Otto Eduard Leopold von Bismarck-Schönhausen) หรือที่นิยมเรียกว่า ออทโท ฟอน บิสมาร์ค เป็นรัฐบุรุษและนักการทูตแห่งราชอาณาจักรปรัสเซียและจักรวรรดิเยอรมัน เขาเป็นผู้นำทางการเมืองที่ทรงอิทธิพลที่สุดในยุโรประหว่างทศวรรษ 1860 ถึง 1890 และดำรงตำแหน่งเป็นนายกรัฐมนตรีคนแรกแห่งจักรวรรดิเยอรมันระหว่าง 1871 ถึง 1890 ในปี 1862 พระเจ้าวิลเฮล์มที่ 1 แห่งปรัสเซีย ทรงแต่งตั้งบิสมาร์คเป็นนายกรัฐมนตรีแห่งปรัสเซีย ซึ่งเขาดำรงตำแหน่งนี้จนถึงปี 1890 เขานำพาปรัสเซียเข้าสู่สงครามสามครั้งอันได้แก่ สงครามชเลสวิจครั้งที่สอง, สงครามออสเตรีย-ปรัสเซีย และสงครามฝรั่งเศส-ปรัสเซีย และได้รับชัยชนะในสงครามทั้งสาม หลังชนะในสงครามกับออสเตรีย บิสมาร์คได้ยุบสมาพันธรัฐเยอรมันทิ้ง และจัดตั้งสมาพันธรัฐเยอรมันเหนืออันมีปรัสเซียเป็นแกนนำขึ้นมาแทน ศูนย์อำนาจทางการเมืองของยุโรปภาคพื้นทวีปได้ย้ายจากกรุงเวียนนาของออสเตรียไปยังกรุงเบอร์ลินของปรัสเซีย และเมื่อปรัสเซียมีชัยชนะเหนือฝรั่งเศสแล้ว บิสมาร์คก็ได้สถาปนาสมาพันธรัฐเยอรมันเหนือขึ้นเป็นจักรวรรดิเยอรมัน โดยทูลเชิญพระเจ้าวิลเฮล์มที่ 1 ขึ้นดำรงตำแหน่งจักรพรรดิเยอรมันพระองค์แรกในปี 1871 บิสมาร์คจึงกลายเป็นทั้งนายกรัฐมนตรีแห่งปรัสเซียและจักรวรรดิเยอรมัน ความสำเร็จในการรวมชาติเยอรมันในปี 1871 บิสมาร์คได้ใช้ทักษะทางการทูตของเขารักษาดุลอำนาจของเยอรมันในยุโรปไว้ บิสมาร์คได้อุทิศตนเองในการพยายามรักษาสันติภาพในบรรดามหาอำนาจเป็นเวลากว่าสองทศวรรษ อย่างไรก็ตาม ภายหลังจากที่เยอรมันผนวกแคว้นอัลซัค-ลอแรน (Alsace-Lorraine) มาจากฝรั่งเศส ได้จุดชนวนขบวนการชาตินิยมขึ้นในฝรั่งเศส การเรืองอำนาจของเยอรมันทำให้เกิดภาวะ "กลัวเยอรมัน" (Germanophobia) ขึ้นในฝรั่งเศส เป็นความครุกครุ่นก่อนปะทุเป็นสงครามโลกครั้งที่หนึ่ง นโยบาย realpolitik ของบิสมาร์คประกอบกับบารมีที่มากล้นของเขาทำให้บิสมาร์คได้รับสมญาว่า นายกฯเหล็ก ความเจริญเติบโตทางเศรษฐกิจที่ก้าวกระโดดของเยอรมันถือเป็นรากฐานของนโยบายเหล่านี้ บิสมาร์คเป็นคนไม่ชอบการล่าอาณานิคมแต่เขาก็จำยอมฝืนใจต้องสร้างจักรวรรดิอาณานิคมเยอรมันขึ้นจากเสียงเรียกร้องของบรรดาชนชั้นนำและมวลชนในจักรวรรดิ บิสมาร์คมีชั้นเชิงทางการทูตชนิดหาตัวจับได้ยาก เขาเล่นกลการเมืองด้วยการจัดการประชุม การเจรจา และการร่วมเป็นพันธมิตรที่สอดประสานกันอย่างซับซ้อนหลายครั้งเพื่อถ่วงดุลอำนาจในทวีปยุโรปให้เกิดสันติสุขตลอดช่วงคริสต์ทศวรรษ 1870 และ 1880 ได้สำเร็จ ไม่เพียงด้านการทูตและการต่างประเทศเท่านั้น บิสมาร์คยังเป็นปรมาจารย์ด้านการเมืองในประเทศ เขาริเริ่มรัฐสวัสดิการเป็นครั้งแรกในโลกสมัยใหม่ มีเป้าหมายเพื่อดึงการสนับสนุนของมวลชนจากชนชั้นแรงงาน ซึ่งมิเช่นนั้นแล้วมวลชนเหล่านี้อาจไปเข้าร่วมกับสังคมนิยมซึ่งเป็นศัตรูของเขาได้ ในช่วงคริสต์ทศวรรษ 1870 เขาเข้าเป็นพันธมิตรกับเสรีนิยม (ผู้นิยมอัตราภาษีศุลกากรระดับต่ำและต่อต้านคาทอลิก) และต่อสู้กับศาสนจักรคาทอลิกที่ซึ่งถูกขนานนามว่า คุลทูร์คัมพฟ์ (Kulturkampf; การต่อสู้ทางวัฒนธรรม) แต่พ่ายแพ้ โดยฝ่ายศาสนจักรตอบโต้ด้วยการจัดตั้งพรรคกลาง (Centre Party) อันทรงพลังและใช้สิทธิออกเสียงเลือกตั้งทั่วไปของชายเพื่อให้ได้ที่นั่งในสภา ด้วยเหตุนี้บิสมาร์คจึงกลับลำ ล้มเลิกปฏิบัติการคุลทูร์คัมพฟ์ ตัดขาดกับฝ่ายเสรีนิยม กำหนดภาษีศุลกากรแบบคุ้มกัน และร่วมเป็นพันธมิตรทางการเมืองกับพรรคกลางเพื่อต่อกรกับฝ่ายสังคมนิยม บิสมาร์คเป็นผู้เลื่อมใสศรัทธาในนิกายลูเทอแรนอย่างมาก จึงจงรักภักดีต่อกษัตริย์ของตนผู้ซึ่งมีทัศนะขัดแย้งกับเขา แต่ท้ายที่สุดก็ทรงโอนอ่อนและสนับสนุนเขาจากคำแนะนำของพระมเหสีและพระรัชทายาท ในขณะนั้นสภาไรชส์ทาคมาจากเลือกตั้งแบบสิทธิออกเสียงเลือกตั้งทั่วไปของชายชาวเยอรมัน แต่ไรชส์ทาคไม่มีอำนาจควบคุมนโยบายของรัฐบาลมากนัก บิสมาร์คไม่เชื่อในระบอบประชาธิปไตยจึงปกครองผ่านระบบข้าราชการประจำที่แข็งแกร่งและได้รับการฝึกฝนมาดีในอุ้งมือของอภิชนยุงเคอร์เดิมซึ่งประกอบด้วยขุนนางเจ้าที่ดินในปรัสเซียตะวันออก ในรัชกาลพระเจ้าวิลเฮล์มที่ 1 เขาเป็นผู้ควบคุมกิจการในประเทศและต่างประเทศเสียเป็นส่วนใหญ่ จนเมื่อจักรพรรดิวิลเฮล์มที่ 2 ถอดเขาจากตำแหน่งในปี 1890 เมื่อเขาอายุได้ 75 ปี บิสมาร์คผู้เป็นขุนนางศักดินา ยุงเคอร์ มีบุคคลิกเด่น ๆ คือหัวรั้น ปากกล้า และบางครั้งเอาแต่ใจ แต่ในขณะเดียวกันก็สุภาพ มีเสน่ห์ และมีไหวพริบด้วยเช่นกัน ในบางโอกาสเขาก็เป็นคนที่มีอารมณ์รุนแรง บิสมาร์ครักษาอำนาจของเขาด้วยการเล่นละครแสดงบทบาทอ่อนไหวพร้อมขู่ว่าจะลาออกจากตำแหน่งอยู่ซ้ำ ๆ ซึ่งมักจะทำให้พระเจ้าวิลเฮล์มที่ 1 ทรงเกรงกลัว นอกจากนี้บิสมาร์คไม่เพียงแต่มีวิสัยทัศน์เกี่ยวกับกิจการภายในและต่างประเทศอันยาวไกลเท่านั้น แต่ยังมีทักษะที่สามารถเล่นกลทางการเมืองเพื่อแทรกแซงสถานการณ์อันซับซ้อนที่กำลังดำเนินไปในระยะสั้นได้ด้วย จนกลายเป็นผู้นำที่ถูกนักประวัติศาสตร์ขนานนามว่าเป็น "ฝ่ายอนุรักษนิยมสายปฏิวัติ" (revolutionary conservatism) สำหรับนักชาตินิยมเยอรมัน บิสมาร์คคือวีรบุรุษของพวกเขา มีการจัดสร้างอนุสาวรีย์ของบิสมาร์คหลายแห่งเพื่อเชิดชูเกียรติผู้ก่อตั้ง จักรวรรดิไรซ์ ยุคใหม่ นักประวัติศาสตร์หลายคนเองก็ชื่นชมเขาในฐานะผู้มีวิสัยทัศน์ไกล ผู้ซึ่งมีส่วนสำคัญในการรวมเยอรมนีให้เป็นหนึ่งเดียวและช่วยให้ยุโรปดำรงสันติภาพเอาไว้ได้ผ่านการทูตอันชาญฉลาดของ.

ใหม่!!: พระเจ้าฟรีดริชที่ 2 แห่งปรัสเซียและออทโท ฟอน บิสมาร์ค · ดูเพิ่มเติม »

อัมสเตอร์ดัม

อัมสเตอร์ดัม (Amsterdam) เป็นเมืองหลวงของประเทศเนเธอร์แลนด์ ตั้งอยู่ริมฝั่งแม่น้ำอัมสเติล (Amstel) เริ่มก่อตั้งประมาณคริสต์ศตวรรษที่ 12 ปัจจุบันเป็นเมืองที่ใหญ่ที่สุดของเนเธอร์แลนด์ มีประชากรในเขตตัวเมืองประมาณ 742,000 คน แต่ถ้านับรวมประชากรในเขตเมืองโดยรอบทั้งหมด จะมีประมาณ 1.5 ล้านคน (ข้อมูลปี ค.ศ. 2005) อัมสเตอร์ดัมเป็นเมืองศูนย์กลางทางประวัติศาสตร์ที่สำคัญแห่งหนึ่งของทวีปยุโรป โดยเฉพาะช่วงคริสต์ศตวรรษที่ 17 ซึ่งเป็นช่วงยุคทองของเนเธอร์แลนด์ ถึงแม้อัมสเตอร์ดัมจะเป็นเมืองหลวงของประเทศ แต่ศูนย์กลางของหน่วยงานรัฐบาลนั้นอยู่ที่เฮก.

ใหม่!!: พระเจ้าฟรีดริชที่ 2 แห่งปรัสเซียและอัมสเตอร์ดัม · ดูเพิ่มเติม »

อิมมานูเอล คานต์

อิมมานูเอิล คานท์ อิมมานูเอล คานต์ (Immanuel Kant; 22 เมษายน ค.ศ. พ.ศ. 2267 - 12 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2347) เป็นนักปรัชญาชาวเยอรมัน จากแคว้นปรัสเซีย ได้รับการยกย่องโดยทั่วไปว่า เป็นนักคิดที่มีอิทธิพลมากที่สุดของยุโรป และเป็นนักปรัชญาคนสำคัญคนสุดท้ายของยุคแสงสว่าง เขาสร้างผลกระทบที่สำคัญไปถึงนักปรัชญาสายโรแมนติกและสายจิตนิยม ในสมัยคริสต์ศตวรรษที่ 19 งานของเขาเป็นจุดเริ่มของเฮเกล คานต์เป็นที่รู้จักเนื่องจากแนวคิดของเขา ที่เรียกว่าจิตนิยมอุตรวิสัย (transcendental idealism) ที่กล่าวว่ามนุษย์ใช้แนวคิดบางอย่างที่ติดตัวมาแต่กำเนิด (innate idea) ในการรับรู้ประสบการณ์ที่เกิดขึ้นรอบตัวในโลก เรารับรู้โลกโดยผ่านทางประสาทสัมผัสประกอบกับมโนภาพที่ติดตัวมานี้ ดังนั้นเราจึงไม่สามารถล่วงรู้หรือเข้าใจใน "สรรพสิ่งที่แท้" ได้ ความรู้ต่อสรรพสิ่งที่เรามีนั้นจึงเป็นได้แค่เพียงภาพปรากฏ ที่เรารับรู้ได้ผ่านทางประสาทสัมผัสเท่านั้น ญาณวิทยา (epistemology) หรือทฤษฎีความรู้ของคานต์นั้น เกิดขึ้นเพื่อแก้ความขัดแย้งระหว่างปรัชญาสายเหตุผลนิยมที่กล่าวว่า ความรู้สามารถสร้างขึ้นได้ไม่จำเป็นต้องใช้ประสบการณ์ กับปรัชญาสายประสบการณ์นิยมที่กล่าวว่า ทุกสิ่งทุกอย่างที่เรารู้มีที่มาจากประสบการณ์ คานต์ได้เชื่อมแนวคิดที่ขัดแย้งกันทั้งสอง ดังคำกล่าวที่เขาเองเปรียบเปรยว่าเป็นการปฏิวัติแบบโคเปอร์นิคัส (Copernical Revolution) โดยสรุปคร่าวๆ ได้เป็นประโยคขึ้นต้นของหนังสือ บทวิพากษ์ของการใช้เหตุผล (Critique of Pure Reason) ว่า "แม้ว่าความรู้ทั้งหมดที่เรามีจะมีจุดเริ่มต้นจากประสบการณ์ แต่นั่นมิได้หมายความว่าความรู้ทั้งหมดนั้นเกิดขึ้นมาจากประสบการณ์" ใน Critique of Pure Reason ยังได้นำเสนอเนื้อหาของหลักทางศีลธรรม (จริยศาสตร์) ที่ยังคงมีอิทธิพลต่อแนวความคิดด้านจริยธรรมของโลกตะวันตกมาจนถึงปัจจุบัน ตลอดจนอาจกล่าวได้ว่าเขาเป็นบิดาแห่งแนวคิดเรื่องสหประชาชาติ ดังที่ปรากฏในความเรียงว่าด้วยเรื่องสันติภาพถาวรของเขาได้เสนอให้มีการจัดตั้งองค์กรระหว่างประเทศขึ้นเพื่อยุติความขัดแย้งและความโหดร้ายของสงคราม กระทั่งสันนิบาตชาติและตามด้วยสหประชาชาติได้เกิดขึ้นจริงในปัจจุบัน.

ใหม่!!: พระเจ้าฟรีดริชที่ 2 แห่งปรัสเซียและอิมมานูเอล คานต์ · ดูเพิ่มเติม »

อดอล์ฟ ฮิตเลอร์

อดอล์ฟ ฮิตเลอร์ (Adolf Hitler) เป็นนักการเมืองเยอรมันเชื้อชาติออสเตรีย หัวหน้าพรรคกรรมกรชาติสังคมนิยมเยอรมัน หรือที่รู้จักกันทั่วไปในชื่อ พรรคนาซี ฮิตเลอร์ดำรงตำแหน่งนายกรัฐมนตรีเยอรมนี ระหว่าง..

ใหม่!!: พระเจ้าฟรีดริชที่ 2 แห่งปรัสเซียและอดอล์ฟ ฮิตเลอร์ · ดูเพิ่มเติม »

อเมริกันอินเดียน

อเมริกันอินเดียน อาจหมายถึง.

ใหม่!!: พระเจ้าฟรีดริชที่ 2 แห่งปรัสเซียและอเมริกันอินเดียน · ดูเพิ่มเติม »

อเล็กซานเดอร์มหาราช

อเล็กซานเดอร์ที่ 3 แห่งมาเกโดนีอา (356-323 ปีก่อนคริสตกาล) หรือที่รู้จักกันโดยทั่วไปว่า อเล็กซานเดอร์มหาราช (Alexander the Great, Μέγας Ἀλέξανδρος) เป็นกษัตริย์กรีกจากราชอาณาจักรมาเกโดนีอา ผู้สร้างชื่อเสียงมากที่สุดของราชวงศ์อาร์กีด เป็นผู้สร้างจักรวรรดิที่ยิ่งใหญ่ที่สุดในประวัติศาสตร์ยุคโบราณ เกิดที่เมืองเพลลา ตอนเหนือของมาเกโดนีอา เมื่อปีที่ 356 ก่อนคริสตกาล ได้รับการศึกษาตามแบบกรีกดั้งเดิมภายใต้การกำกับดูแลของอริสโตเติล นักปรัชญากรีกผู้มีชื่อเสียง สืบทอดราชบัลลังก์ต่อจาก พีลิปโปสที่ 2 แห่งมาเกโดนีอา เมื่อปีที่ 336 ก่อนคริสตกาลหลังจากที่พระบิดาถูกลอบสังหาร สวรรคตในอีก 13 ปีต่อมาเมื่อพระชนมายุเพียง 32 พรรษา แม้ว่าราชบัลลังก์และจักรวรรดิของอเล็กซานเดอร์จะอยู่เพียงชั่วครู่ยาม แต่ผลกระทบจากการพิชิตดินแดนของพระองค์ส่งผลสืบเนื่องต่อมาเป็นเวลาหลายศตวรรษ อเล็กซานเดอร์ถือเป็นหนึ่งในบุรุษผู้มีชื่อเสียงมากที่สุดในโลกยุคโบราณ มีชื่อเสียงเลื่องลือในความสามารถทางการรบ ยุทธวิธี และการเผยแพร่อารยธรรมกรีกไปในดินแดนตะวันออก พระเจ้าพีลิปโปสทรงนำแว่นแคว้นกรีกโดยมากบนแผ่นดินใหญ่กรีซให้มาอยู่ภายใต้การปกครองของมาเกโดนีอา โดยใช้ทั้งกลวิธีทางการทูตและทางทหาร เมื่อพีลิปโปสสวรรคต อเล็กซานเดอร์จึงได้สืบทอดราชอาณาจักรที่เข้มแข็งและกองทัพที่เปี่ยมประสบการณ์ พระองค์เป็นที่ยอมรับในด้านการรบจากแว่นแคว้นกรีซ และได้เริ่มแผนการขยายอำนาจแผ่อาณาจักรตามที่บิดาเคยริเริ่มไว้ พระองค์ยกทัพรุกรานดินแดนเอเชียไมเนอร์ภายใต้การปกครองของอาณาจักรเปอร์เซีย และกระทำการรณยุทธ์อย่างต่อเนื่องติดต่อกันเป็นเวลาร่วมสิบปี อเล็กซานเดอร์เอาชนะชาวเปอร์เซียครั้งแล้วครั้งเล่า นำทัพข้ามซีเรีย อียิปต์ เมโสโปเตเมีย เปอร์เซีย และแบคเทรีย ทรงโค่นล้มกษัตริย์พระเจ้าดาไรอัสที่ 3 แห่งเปอร์เซีย และพิชิตจักรวรรดิเปอร์เซียได้ทั้งหมด พระองค์ไล่ตามความปรารถนาที่ต้องการเห็น "จุดสิ้นสุดของโลกและมหาสมุทรใหญ่ที่เบื้องปลาย" จึงยกทัพบุกอินเดีย แต่ต่อมาถูกบีบให้ต้องถอยทัพกลับโดยบรรดาทหารที่กำเริบขึ้นเนื่องจากเบื่อหน่ายการสงคราม การสูญเสียเฮฟีสเทียนทำให้อเล็กซานเดอร์ตรอมใจจนสวรรคตที่เมืองบาบิโลน ในปี 323 ก่อนคริสตกาล ก่อนจะเริ่มแผนการรบต่อเนื่องในการรุกรานคาบสมุทรอาระเบีย ในปีถัดจากการสวรรคตของอเล็กซานเดอร์ เกิดสงครามกลางเมืองทั่วไปจนอาณาจักรของพระองค์แตกเป็นเสี่ยงๆ ทำให้เกิดเป็นรัฐใหญ่น้อยมากมายปกครองโดยบรรดาขุนนางชาวมาเกโดนีอา แม้ความเป็นผู้พิชิตของพระองค์จะโดดเด่นอย่างยิ่ง แต่มรดกของอเล็กซานเดอร์ที่ยืนยงต่อมากลับมิใช่ราชบัลลังก์ กลายเป็นการเผยแพร่วัฒนธรรมที่ติดตามมาจากการพิชิตดินแดนเหล่านั้น การก่อร่างสร้างเมืองอาณานิคมกรีกและวัฒนธรรมกรีกที่เผยแพร่ไปในแดนตะวันออกทำให้เกิดเป็นวัฒนธรรมเฮเลนนิสติก ซึ่งยังคงสืบทอดต่อมาในจักรวรรดิไบแซนไทน์กระทั่งกลางคริสต์ศตวรรษที่ 15 อเล็กซานเดอร์เป็นบุคคลในตำนานในฐานะวีรบุรุษผู้ตามอย่างอคิลลีส มีบทบาทสำคัญในประวัติศาสตร์และวัฒนธรรมปรัมปราทั้งของฝ่ายกรีกและที่ไม่ใช่กรีก เป็นหลักเกณฑ์มาตรฐานซึ่งบรรดานายพลทั้งหลายใช้เปรียบเทียบกับตนเองแม้จนถึงปัจจุบัน โรงเรียนการทหารทั่วโลกยังคงใช้ยุทธวิธีการรบของพระองค์เป็นแบบอย่างในการเรียนการสอน.

ใหม่!!: พระเจ้าฟรีดริชที่ 2 แห่งปรัสเซียและอเล็กซานเดอร์มหาราช · ดูเพิ่มเติม »

จอห์น เชอร์ชิล ดยุกแห่งมาร์ลบะระ

อห์น เชอร์ชิล ดยุกแห่งมาร์ลบะระ (John Churchill, 1st Duke of Marlborough) เป็นแม่ทัพและรัฐบุรุษชาวอังกฤษผู้รับราชการในพระเจ้าแผ่นดิน 5 พระองค์ในคริสต์ศตวรรษที่ 17 ถึง 18 เขาเป็นแม่ทัพคนสำคัญในสงครามสืบราชบัลลังก์สเปน ซึ่งทำให้อังกฤษได้เข้าครอบครองช่องแคบยิบรอลตาร์และเกาะมินอร์กา จอห์น เชอร์ชิลเริ่มขีวิตการทำงานด้วยการเป็นมหาดเล็กในราชสำนักของราชวงศ์สจวตในราชอาณาจักรอังกฤษ แต่ความเก่งกล้าสามารถในสนามรบทำให้ได้รับการเลื่อนตำแหน่งขึ้นอย่างรวดเร็วจากเจ้าชายเจมส์ ดยุกแห่งยอร์ค เมื่อเจ้าชายเจมส์ขึ้นครองราชบัลลังก์ในปี ค.ศ. 1685 เป็นพระเจ้าเจมส์ที่ 2 เชอร์ชิลได้มีบทบาทสำคัญในการพ่ายแพ้ของการกบฏที่นำโดยเจมส์ สกอตต์ ดยุกแห่งมอนม็อธที่ 1 แต่สามปีต่อมาจอห์น เชอร์ชิลได้ละทิ้งพระเจ้าเจมส์ที่ 2 ผู้เปลี่ยนไปนับถือนิกายโรมันคาทอลิกไปเข้าข้างพระเจ้าวิลเลียมที่ 3 ผู้เป็นโปรแตสแตนท์ ในพระราชพิธีราชาภิเษกจอห์น เชอร์ชิลได้รับแต่งตั้งให้เป็น “เอิร์ลแห่งมาร์ลบะระ” และได้รับราชการมีผลงานดีเด่นในราชอาณาจักรไอร์แลนด์ และฟลานเดอร์สระหว่างสงครามเก้าปี แต่ความสัมพันธ์ระหว่างลอร์ดแห่งมาร์ลบะระและภรรยาซาราห์ กับพระเจ้าวิลเลียมที่ 3 และ สมเด็จพระราชินีนาถแมรีที่ 2 ตลอดรัชสมัยของทั้งสองพระองค์ไม่ค่อยดีนัก หลังจากที่ถูกกล่าวหาว่ามีส่วนสมรู้ร่วมคิดกับอดีตพระเจ้าแผ่นดิน ลอร์ดมาร์ลบะระก็ถูกปลดจากตำแหน่งทุกตำแหน่งทั้งการทหารและพลเรือนและถูกจำคุกที่หอคอยลอนดอนอยู่ชั่วระยะหนึ่ง หลังจากพระราชินีนาถแมรีที่ 2 สวรรคตและอังกฤษเผชิญกับสงครามที่เกิดขึ้นในยุโรป ลอร์ดมาร์ลบะระจึงได้กลับมาเป็นคนโปรดอีกครั้งหนึ่ง ลอร์ดมาร์ลบะระมีอิทธิพลในราชสำนักมากที่สุดในรัชการของพระราชินีนาถแอนน์ผู้เป็นสหายสนิทของซาราห์ และได้รับแต่งตั้งให้เป็น “ผู้บัญชาการทหารสูงสุด” (Captain-General) ของกองทัพอังกฤษ แต่ต่อมาได้รับเลื่อนขึ้นเป็นดยุก ดยุกแห่งมาร์ลบะระมีชื่อเสียงจากการต่อสู้ในสงครามสืบราชบัลลังก์สเปนในยุทธการเบล็นไฮม์ (Battle of Blenheim) ยุทธการรามิลีส์ (Battle of Ramillies) และ ยุทธการอูเดนาร์ด (Battle of Oudenarde) แต่เมื่อซาราห์ไม่ได้กลายเป็นสหายสนิทของพระราชินีนาถแอนน์และพรรคทอรี จึงต้องมีการสงบศึกกับฝรั่งเศสซึ่งทำให้ดยุกแห่งมาร์ลบะระหมดอำนาจลง ดยุกแห่งมาร์ลบะระถูกกล่าวหาว่าฉ้อโกงจึงถูกปลดจากตำแหน่งทุกตำแหน่งทั้งการทหารและพลเรือนอีกครั้งหนี่ง แต่ก็มารุ่งเรืองขึ้นอีกเมื่อพระเจ้าจอร์จที่ 1 ขึ้นครองราชย์ในปี ค.ศ. 1714 แต่สุขภาพของดยุกได้เริ่มเสื่อมโทรมลง หลังจากการอุดตันของเส้นโลหิตที่ไปเลี้ยงสมองเกิดขึ้นสองสามครั้ง ในที่สุดก็เสียชีวิตที่บ้านวินด์เซอร์เมื่อวันที่ 16 มิถุนายน ค.ศ. 1722.

ใหม่!!: พระเจ้าฟรีดริชที่ 2 แห่งปรัสเซียและจอห์น เชอร์ชิล ดยุกแห่งมาร์ลบะระ · ดูเพิ่มเติม »

จักรพรรดิ

ักรพรรดิ หรือ พระราชาธิราช หมายถึง ประมุขของจักรวรรดิ หากเป็นสตรีเรียกว่า จักรพรรดินี (Empress) แต่คำว่า “จักรพรรดินี” ก็ใช้เรียกพระมเหสีของจักรพรรดิด้วย ในภาษาอังกฤษจะมีคำต่อท้ายให้เป็นที่เข้าใจคือ “Empress Consort” โดยทั่วไปถือกันว่า “จักรพรรดิ” มีฐานันดรสูงกว่า “พระราชา”.

ใหม่!!: พระเจ้าฟรีดริชที่ 2 แห่งปรัสเซียและจักรพรรดิ · ดูเพิ่มเติม »

จักรพรรดิมาร์กุส เอาเรลิอุส

ักรพรรดิมาร์กุส เอาเรลิอุส (Marcus Aurelius หรือ Marcus Aurelius Antoninus Augustus) (ราว 26 เมษายน ค.ศ. 121Augustan History, "Marcus Aurelius" – 17 มีนาคม ค.ศ. 180) มาร์กุส เอาเรลิอุสเป็นจักรพรรดิแห่งจักรวรรดิโรมันระหว่างวันที่ 8 มีนาคม ค.ศ. 161 ถึง ค.ศ. 169 โดยปกครองร่วมกับ ลูกิอุส เวรุส (Lucius Verus) พระอนุชาบุญธรรม จนเวรุสสิ้นพระชนม์ในปี 169; จากนั้นเอาเรลิอุสทรงปกครองต่อมาโดยลำพังพระองค์เองระหว่างปี ค.ศ. 169 ถึง ค.ศ. 177 และ ทรงปกครองร่วมกับ ก็อมมอดุส (Commodus) ผู้เป็นราชโอรสของพระองค์ ระหว่าง ค.ศ. 177 จนกระทั่งสิ้นพระชนม์เมื่อวันที่ 17 มีนาคม ค.ศ. 180 มาร์กุส เอาเรลิอุสเป็นจักรพรรดิองค์สุดท้ายของ “จักรพรรดิโรมันผู้ทรงคุณธรรมห้าพระองค์” (Five Good Emperors) และถือกันว่าเป็นนักปรัชญาลัทธิสโตอิก (Stoicism) คนสำคัญคนหนึ่ง เหตุการณ์สำคัญในสมัยการปกครองของมาร์กุส เอาเรลิอุสก็ได้แก่สงครามในเอเชียกับจักรวรรดิพาร์เธียน (Parthian Empire), และกับชนเผ่าเจอร์มานิคตามบริเวณพรมแดนโรมัน-เจอร์มานิคัส (LimesGermanicus) เข้าไปในกอลและข้ามแม่น้ำดานูบ และการปฏิวัติทางตะวันออกที่นำโดยอาวิเดียส คาสเซียส (Avidius Cassius) ที่ไม่ประสบความสำเร็จ นอกจากความสามารถในการสงครามแล้วมาร์กุส เอาเรลิอุสก็ยังมีงานเขียน “Meditations” ที่เขียนเป็นภาษากรีกระหว่างที่ทำการรณรงค์ระหว่างปี..

ใหม่!!: พระเจ้าฟรีดริชที่ 2 แห่งปรัสเซียและจักรพรรดิมาร์กุส เอาเรลิอุส · ดูเพิ่มเติม »

จักรพรรดิวิลเฮล์มที่ 2 แห่งเยอรมนี

ักรพรรดิวิลเฮล์มที่ 2 แห่งเยอรมนี (Wilhelm II หรือ Friedrich Wilhelm Albert Viktor von Preußen 27 มกราคม พ.ศ. 2402 - 4 มิถุนายน พ.ศ. 2484) หรือ พระเจ้าไกเซอร์วิลเฮล์มที่ 2 เป็นพระราชโอรสใน พระจักรพรรดิฟรีดริชที่ 3 กับพระราชธิดาในสมเด็จพระราชินีวิกตอเรีย ทรงเป็นจักรพรรดิพระองค์สุดท้ายแห่งจักรวรรดิเยอรมัน และพระมหากษัตริย์พระองค์สุดท้ายแห่งปรัสเซีย ทรงดำรงวาระตั้งแต่วันที่ 27 มกราคม พ.ศ. 2431 (ค.ศ. 1888) ถึง 9 พฤศจิกายน พ.ศ. 2461 (ค.ศ. 1918) ทรงเป็นผู้ที่มีความชื่นชมในศักยภาพทางทหารของจักรวรรดิ ทรงเห็นว่ากองทัพเป็นผู้รวมชาติเยอรมันและสร้างความยิ่งใหญ่ให้กับจักรวรรดิ หาใช่สมาชิกรัฐสภาไม่ พระองค์จึงทรงมุ่งมั่นที่จะใช้กำลังทหารเพื่อขยายอิทธิพลของจักรวรรดิเยอรมันไปทั่วโลก ซึ่งมีผลต่อสถานการณีการเมืองในยุโรปอย่างมาก ก่อให้เกิดการช่วงชิงผลประโยชน์และอำนาจซึ่งกันและกัน ตลอดจนเกิดการแบ่งแยกมหาอำนาจยุโรปเป็น 2 ค่าย จนเกิดสงครามโลกครั้งที่ 1 ในที่สุด หลังสงครามโลกครั้งที่ 1 ยุติลงใน..

ใหม่!!: พระเจ้าฟรีดริชที่ 2 แห่งปรัสเซียและจักรพรรดิวิลเฮล์มที่ 2 แห่งเยอรมนี · ดูเพิ่มเติม »

จักรพรรดิปีเตอร์ที่ 3 แห่งรัสเซีย

ักรพรรดิปีเตอร์ที่ 3 แห่งรัสเซีย (Пётр III Фëдорович, Pyotr III Fyodorovitch) (21 กุมภาพันธ์ ค.ศ. 1728 - 17 กรกฎาคม ค.ศ. 1762) ทรงปกครองจักรวรรดิรัสเซียในฐานะพระจักรพรรดิเป็นเวลา 6 เดือน (5 มกราคม ค.ศ. 1762 - 9 กรกฎาคม ค.ศ. 1762).

ใหม่!!: พระเจ้าฟรีดริชที่ 2 แห่งปรัสเซียและจักรพรรดิปีเตอร์ที่ 3 แห่งรัสเซีย · ดูเพิ่มเติม »

จักรพรรดินีมาเรีย เทเรซา

ักรพรรดินีมาเรีย เทเรซา (Maria Theresia von Österreich, Maria Theresa of Austria; พระนามเต็ม: มาเรีย เทเรเซีย วาร์ลบูก้า อมาเลีย คริสติน่า ฟอน ฮับส์บูร์ก) หรือ สมเด็จพระราชินีนาถมาเรีย เทเรซา แห่งฮังการีและโบฮีเมีย เป็นจักรพรรดินีแห่งโรมันอันศักดิ์สิทธิ์จากอภิเษกสมรส แต่พระราชอำนาจทั้งหมดอยู่ที่พระองค์เพียงผู้เดียว นอกจากนี้ พระองค์ยังทรงเป็นประมุขแห่งออสเตรีย ฮังการี โบฮีเมีย โครเอเชีย และสลาโวเนีย ถือว่า พระองค์ทรงเป็นหนึ่งในพระประมุขผู้ทรงอำนาจที่สุดในทวีปยุโรปเลยทีเดียว.

ใหม่!!: พระเจ้าฟรีดริชที่ 2 แห่งปรัสเซียและจักรพรรดินีมาเรีย เทเรซา · ดูเพิ่มเติม »

จักรพรรดินีแอนนาแห่งรัสเซีย

ักรพรรดินีแอนนาแห่งรัสเซีย (Анна Иоанновна Anna of Russia) (7 กุมภาพันธ์ 1693 - 28 ตุลาคม 1740) เป็นจักรพรรดินีแห่งรัสเซียต่อจากจักรพรรดิปีเตอร์ที่ 2 พระนางเป็นพระราชธิดาของพระเจ้าซาร์อีวานที่ 5และปราสโกเวีย ซัลตีโควา พระนางอภิเสกสมรสกับเฟรเดอริก วิลเลียม ดยุคแห่งคอร์แลนด์ จักรพรรดิที่ครองราชต่อจากพระนางคือจักรพรรดิอีวานที่ 6.

ใหม่!!: พระเจ้าฟรีดริชที่ 2 แห่งปรัสเซียและจักรพรรดินีแอนนาแห่งรัสเซีย · ดูเพิ่มเติม »

จักรพรรดินีเยกาเจรีนาที่ 2 แห่งรัสเซีย

ักรพรรดินีแคทเธอรีนที่ 2 แห่งรัสเซีย (Catherine II of Russia) ซึ่งทรงได้รับการถวายพระราชสมัญญาว่า "แคทเธอรีนมหาราชินี" (หรือ Екатерина II Великая; Katharina die Große; 2 พฤษภาคม พ.ศ. 2272 - 17 พฤศจิกายน พ.ศ. 2339) พระองค์ทรงเป็นจักรพรรดินีนาถที่เป็นที่รู้จักมากที่สุดและครองราชย์ยาวนานที่สุดของรัสเซีย ทรงขึ้นครองราชย์ตั้งแต่วันที่ 9 กรกฎาคม พ.ศ. 2305 หลังจากการรัฐประหารและการปลงพระชนม์จักรพรรดิปีเตอร์ที่ 3 พระราชสวามีของพระองค์เอง (ไม่นานหลังจากการสิ้นสุดของสงครามเจ็ดปี) จนกระทั่งเสด็จสวรรคต การปกครองของพระองค์เป็นการอธิบายถึงการเป็น ผู้ใช้อำนาจเด็ดขาดที่ทรงเรืองปัญญา (enlightened despot) ทั้งยังทรงฟื้นฟูจักรวรรดิรัสเซียให้แข็งแกร่งและมีอาณาเขตกว้างกว่าเดิมอย่างที่ไม่เคยเป็นมาก่อน จนรัสเซียกลายมาเป็นชาติมหาอำนาจที่สำคัญมากที่สุดชาติหนึ่งในยุโรป ในการเข้าถึงขุมอำนาจและปกครองจักรวรรดิของพระองค์ พระนางแคทเธอรีนมักจะทรงพึ่งพาอำนาจจากเหล่าขุนนางที่ทรงโปรดปราน และผู้ที่มีชื่อเสียงมากที่สุดเช่นกริกอรี ออโลฟ และกริกอรี โปเตมคิน หรือเหล่านายพลผู้มีอำนาจบารมีสูงเช่น ปิออตร์ รูเมียนเซฟ และอเล็กซานเดอร์ ซูโวโลฟ หรือแม้แต่พลเรือเอกเช่น ฟิโอดอร์ อูชาโคฟ พระนางปกครองรัสเซียในช่วงเวลาที่จักรวรรดิได้ทำการแผ่ขยายอาณาเขตของตนโดยทั้งการศึกสงครามและการทูต ทางทิศใต้, อาณาจักรข่านแห่งไครเมียร์ถูกบดขยี้และตามมาด้วยชัยชนะเหนือจักรวรรดิออตโตมันในสงครามรัสเซีย-ตุรกี ต่อมารัสเซียได้ทำการเข้ายึดครองดินแดนอันว่างเปล่าแห่งโนโวรอสซิยาตลอดจนชายฝั่งทะเลดำและทะเลอะซอฟ ทางทิศตะวันตก, เครือจักรภพโปแลนด์-ลิทัวเนียซึ่งถูกปกครองโดยอดีตคนรักของพระนาง พระเจ้าสตานิส์ลอว์ ออกุส โปเนียโทว์สกี ในที่สุดก็ถูกแบ่งแยกออกจากกันโดยรัสเซียได้ส่วนแบ่งของดินแดนมากที่สุด ทางทิศตะวันออก, รัสเซียเริ่มเข้ายึดครองอะแลสกาในรูปแบบของอาณานิคมจนนำไปสู่การก่อตั้งอเมริกาของรัสเซีย พระองค์ทรงทำการปฏิรูประบบราชการภายในของเขตกูเบอร์นิยา รวมไปถึงมีรับสั่งให้สถาปนาเมืองและหมู่บ้านขึ้นมากมาย และในฐานะที่ทรงเป็นผู้นิยมชมชอบพระราชกรณียกิจของจักรพรรดิปีเตอร์มหาราช พระองค์จึงได้ดำเนินพระราโชบายตามแนวทางของจักรพรรดิปีเตอร์มหาราชโดยการปฏิรูปรัสเซียให้เข้าสู่ความทันสมัยตามแบบฉบับชาติยุโรปตะวันตก อย่างไรก็ตามการเข้ารับราชการในกองทัพและระบบเศรษฐกิจของประเทศยังคงต้องพึ่งพาระบบทาสอยู่ต่อไป ในขณะที่ความต้องการใช้แรงงานของประเทศและของเหล่าผู้ครอบครองที่ดินเพิ่มสูงขึ้นอย่างต่อเนื่อง ส่งผลให้การใช้แรงงานทาสดำเนินไปถึงขั้นกดขี่แรงงานทาส และระบบทาสดังกล่าวก็เป็นหนึ่งในเหตุผลประการสำคัญของการก่อกบฏหลายต่อหลายครั้ง ดังเช่นกบฏปูกาเชฟที่มีกองทหารม้าและชาวนาจำนวนมากมายเข้าร่วมการกบฏ ตลอดระยะเวลาในการครองราชย์หรือ สมัยแคทเธอรีน ถูกพิจารณาว่าเป็นยุคทองของจักรวรรดิรัสเซียและของระบอบศักดินาในรัสเซีย แถลงการณ์ว่าด้วยเสรีภาพของขุนนางซึ่งเป็นที่โต้แย้งกันในรัชสมัยของจักรพรรดิปีเตอร์ที่ 3 ก็ได้รับการยินยอมในช่วงรัชสมัยของพระนางแคทเธอรีน โดยแถลงการณ์ฉบับนี้ได้ให้อิสรภาพแก่บรรดาขุนนางไม่ต้องตกอยู่ภายใต้อำนาจของกองทัพหรือการรับราชการสนองคุณประเทศ ให้อิสรภาพในการครอบครองที่อยู่อาศัย เช่น แมนชันรูปแบบคลาสสิก โดยรูปแบบสถาปัตยกรรมดังกล่าวเป็นที่นิยมและได้รับการสนับสนุนโดยพระนางเจ้าแคทเธอรีนอย่างมาก ก่อให้เกิดตึกรามบ้านช่องอันหรูหราขึ้นจำนวนมาก ซึ่งตลอดช่วงการครองราชย์ของพระองค์ได้ทรงทำให้โฉมหน้าของประเทศเปลี่ยนไปอย่างสิ้นเชิง จึงกล่าวได้ว่ารัชสมัยของพระนางคือยุคเรืองปัญญาของรัสเซียก็ว่าได้.

ใหม่!!: พระเจ้าฟรีดริชที่ 2 แห่งปรัสเซียและจักรพรรดินีเยกาเจรีนาที่ 2 แห่งรัสเซีย · ดูเพิ่มเติม »

จักรพรรดินีเอลิซาเบธแห่งรัสเซีย

ักรพรรดินีเอลิซาเบธแห่งรัสเซีย หรือ เยริซาเวตา เปตรอฟนา (Елизаве́та (Елисаве́т) Петро́вна; 29 ธันวาคม พ.ศ. 2252 - 5 มกราคม พ.ศ. 2305) ซึ่งทรงเป็นที่รู้จักในพระนาม เยลิซาเว็ต และ เอลิซาเบธ เป็นจักรพรรดินีแห่งรัสเซีย (พ.ศ. 2284 - พ.ศ. 2305) ทรงชักนำประเทศเข้าสู่สงครามสืบราชสมบัติออสเตรีย (พ.ศ. 2283 - พ.ศ. 2291) และสงครามเจ็ดปี (พ.ศ. 2249 - พ.ศ. 2306)Russian Tsars by Boris Antonov, p.105.

ใหม่!!: พระเจ้าฟรีดริชที่ 2 แห่งปรัสเซียและจักรพรรดินีเอลิซาเบธแห่งรัสเซีย · ดูเพิ่มเติม »

จักรพรรดินโปเลียนที่ 1

นโปเลียน โบนาปาร์ต (Napoléon Bonaparte) เป็นนายพลในช่วงการปฏิวัติฝรั่งเศส ดำรงตำแหน่งกงสุลเอกของฝรั่งเศส ตั้งแต่ปลายปี..

ใหม่!!: พระเจ้าฟรีดริชที่ 2 แห่งปรัสเซียและจักรพรรดินโปเลียนที่ 1 · ดูเพิ่มเติม »

จักรวรรดิออสเตรีย

ักรวรรดิออสเตรีย (Austrian Empire; Kaisertum Österreich) เป็นจักรวรรดิที่ก่อตั้งจากอาณาบริเวณที่เหลือจากจักรวรรดิโรมันอันศักดิ์สิทธิ์ ตั้งอยู่ที่ประเทศออสเตรียในปัจจุบัน รุ่งเรืองในช่วง..

ใหม่!!: พระเจ้าฟรีดริชที่ 2 แห่งปรัสเซียและจักรวรรดิออสเตรีย · ดูเพิ่มเติม »

จักรวรรดิออตโตมัน

ักรวรรดิออตโตมัน (Ottoman Empire, Osmanlı İmparatorluğu, โอสมานลือ อิมพาราโทรลู) ถือกำเนิดขึ้นในปี พ.ศ. 1996 (ค.ศ. 1453) หลังการล่มสลายของจักรวรรดิไบแซนไทน์ ซึ่งมีคอนสแตนติโนเปิล (อิสตันบูล) เป็นเมืองหลวง สุลต่านเมห์เหม็ดที่ 2 เป็นผู้นำในการทำสงคราม ตอนแรกที่ยึดคอนสแตนติโนเปิลได้ พระองค์ได้ทรงเปลี่ยนชื่อเมืองคอนสแตนติโนเปิลใหม่เป็น อิสตันบูล และเปลี่ยนโบสถ์ฮาเจีย โซเฟีย ที่เป็นโบสถ์ในศาสนาคริสต์ เป็นมัสยิดในศาสนาอิสลาม จักรวรรดิออตโตมันมีอาณาเขตที่ครอบคลุมถึง 3 ทวีป ได้แก่ เอเชีย แอฟริกา และยุโรป ซึ่งขยายไปไกลสุดถึงช่องแคบยิบรอลตาร์ทางตะวันตก นครเวียนนาทางทิศเหนือ ทะเลดำทางทิศตะวันออก และอียิปต์ทางทิศใต้ จักรวรรดิออตโตมันล่มสลายในปี พ.ศ. 2466 (ค.ศ. 1923) มีจักรพรรดิเมห์เหม็ดที่ 6 เป็นจักรพรรดิองค์สุดท้าย และมีสาธารณรัฐตุรกี ขึ้นมาแทนที่ และมีมุสตาฟา เคมาล อตาเติร์ก เป็นประธานาธิบดีคนแรก.

ใหม่!!: พระเจ้าฟรีดริชที่ 2 แห่งปรัสเซียและจักรวรรดิออตโตมัน · ดูเพิ่มเติม »

จักรวรรดิโรมัน

ักรวรรดิโรมันในช่วงเวลาต่างๆกัน จักรวรรดิโรมัน (Imperivm Romanvm; Ῥωμαϊκὴ Αὐτοκρατορία หรือ Ἡ Ῥωμαίων βασιλεία; Roman Empire) เป็นช่วงระยะเวลาหนึ่งของอารยธรรมโรมันโบราณซึ่งปกครองโดยรูปแบบอัตตาธิปไตย จักรวรรดิโรมันได้สืบต่อการปกครองมาจากสาธารณรัฐโรมัน (510 ปีก่อนคริสตกาล - ศตวรรษที่ 1 ก่อนคริสตาล) ซึ่งได้อ่อนแอลงหลังจากความขัดแย้งระหว่างไกอุส มาริอุสและซุลลา และสงครามกลางเมืองระหว่างจูเลียส ซีซาร์และปอมปีย์ มีวันหลายวันที่ได้ถูกเสนอให้เป็นเส้นแบ่งของการเปลี่ยนแปลงระหว่างสาธารณรัฐและจักรวรรดิ ได้แก.

ใหม่!!: พระเจ้าฟรีดริชที่ 2 แห่งปรัสเซียและจักรวรรดิโรมัน · ดูเพิ่มเติม »

จักรวรรดิโรมันอันศักดิ์สิทธิ์

ักรวรรดิโรมันอันศักดิ์สิทธิ์ (ละติน: Sacrum Imperium Romanum, Heiliges Römisches Reich) เป็นอภิมหาอำนาจในอดีต เป็นจักรวรรดิซึ่งประกอบด้วยดินแดนหลากเชื้อชาติในยุโรปกลาง ก่อกำเนิดขึ้นในสมัยกลางตอนต้นและล่มสลายลงในปี..

ใหม่!!: พระเจ้าฟรีดริชที่ 2 แห่งปรัสเซียและจักรวรรดิโรมันอันศักดิ์สิทธิ์ · ดูเพิ่มเติม »

จักรวรรดิเยอรมัน

ักรวรรดิเยอรมัน (Deutsches Kaiserreich) เป็นชื่ออย่างไม่เป็นทางการที่ใช้เรียกแผ่นดินของชาวเยอรมัน ตั้งแต่ที่พระเจ้าวิลเฮล์มที่ 1 แห่งปรัสเซีย ได้สถาปนาพระองค์ขึ้นเป็นจักรพรรดิเยอรมันใน..

ใหม่!!: พระเจ้าฟรีดริชที่ 2 แห่งปรัสเซียและจักรวรรดิเยอรมัน · ดูเพิ่มเติม »

จูเลียส ซีซาร์

กาอิอุส ยูลิอุส ไกซาร์ (Caivs/Gaivs Ivlivs Caesar) หรือ จูเลียส ซีซาร์ (Julius Caesar; กรกฎาคม 100 ปีก่อน ค.ศ. – 15 มีนาคม 44 ปีก่อน ค.ศ.) เป็นรัฐบุรุษ แม่ทัพ และผู้ประพันธ์ร้อยแก้วอันเลื่องชื่อชาวโรมัน เขามีบทบาทสำคัญในเหตุการณ์อันนำไปสู่การสิ้นสุดสาธารณรัฐโรมันและความเจริญของจักรวรรดิโรมัน ใน 60 ปีก่อน..

ใหม่!!: พระเจ้าฟรีดริชที่ 2 แห่งปรัสเซียและจูเลียส ซีซาร์ · ดูเพิ่มเติม »

ที่เก็บศพ

ที่เก็บศพแบบหนึ่ง: มอโซเลียมโมฮัมหมัดที่ 5 ที่โมร็อกโก ที่เก็บศพแบบหนึ่ง: ฝาครอบโลงหินของอิทรัสกันที่อิตาลี ที่เก็บศพ (Tomb) คือที่เก็บร่างของผู้ตายซึ่งมิใช่การฝัง คำนี้โดยทั่วไปจะหมายถึงสิ่งก่อสร้างที่มีที่เก็บร่างของผู้ตายที่มีขนาดต่างๆ กัน.

ใหม่!!: พระเจ้าฟรีดริชที่ 2 แห่งปรัสเซียและที่เก็บศพ · ดูเพิ่มเติม »

คณะเยสุอิต

ณะเยสุอิต.

ใหม่!!: พระเจ้าฟรีดริชที่ 2 แห่งปรัสเซียและคณะเยสุอิต · ดูเพิ่มเติม »

ซิมโฟนี

ซิมโฟนี (Symphony) เป็นดนตรีประเภทหนึ่ง เป็นดนตรีประกอบเพิ่มเติมในดนตรีคลาสสิกตะวันตก ซึ่งต้องบรรเลงเกือบตลอดเวลาสำหรับวงดนตรี ซิมโฟนีมักจะมีเครื่องดนตรีอย่างน้อยหนึ่งชนิดมาประกอบด้วยตามหลักการโซนาตา วงดนตรีที่บรรเลงดนตรีแบบซิมโฟนีนั้นเรียกว่า วงซิมโฟนี ออร์เคสตรา ซึ่งในวงจะประกอบไปด้วยเครื่องดนตรีครบทั้งสี่ชนิด ตัวอย่างเพลงซิมโฟนี หมวดหมู่:ดนตรีคลาสสิก.

ใหม่!!: พระเจ้าฟรีดริชที่ 2 แห่งปรัสเซียและซิมโฟนี · ดูเพิ่มเติม »

ประเทศรัสเซีย

รัสเซีย (Russia; Росси́я) มีชื่ออย่างเป็นทางการว่า สหพันธรัฐรัสเซีย (Russian Federation; a) เป็นประเทศในยูเรเชียเหนือ และเป็นประเทศใหญ่ที่สุดในโลก กว่า 10,000,000 ตารางกิโลเมตร ครอบคลุมพื้นที่ที่สามารถอยู่อาศัยของโลกถึงหนึ่งในแปด รัสเซียยังเป็นชาติมีประชากรมากที่สุดอันดับที่ 9 ของโลก โดยมีประชากร 143 ล้านคน รัสเซียปกครองด้วยระบอบสหพันธ์สาธารณรัฐกึ่งประธานาธิบดี ประกอบด้วย 83 เขตการปกครอง ไล่จากตะวันตกเฉียงเหนือถึงตะวันออกเฉียงใต้ รัสเซียมีพรมแดนติดกับนอร์เวย์ ฟินแลนด์ เอสโตเนีย ลัตเวีย ลิทัวเนีย และโปแลนด์ (ทั้งสองผ่านมณฑลคาลินินกราด) เบลารุส ยูเครน จอร์เจีย อาเซอร์ไบจาน คาซัคสถาน จีน มองโกเลียและเกาหลีเหนือ นอกจากนี้ยังมีพรมแดนทางทะเลติดกับญี่ปุ่นโดยทะเลโอฮอตสค์ และสหรัฐอเมริกาโดยช่องแคบแบริง อาณาเขตของรัสเซียกินเอเชียเหนือทั้งหมดและ 40% ของยุโรป แผ่ข้ามเก้าเขตเวลาและมีสิ่งแวดล้อมและธรณีสัณฐานหลากหลาย รัสเซียมีปริมาณทรัพยากรแร่ธาตุและพลังงานสำรองใหญ่ที่สุดของโลก และเป็นผู้ผลิตก๊าซธรรมชาติอันดับหนึ่งของโลก เช่นเดียวกับผู้ผลิตน้ำมันอันดับหนึ่งทั่วโลก รัสเซียมีป่าไม้สำรองใหญ่ที่สุดในโลกและทะเลสาบในรัสเซียบรรจุน้ำจืดประมาณหนึ่งในสี่ของโลก ประวัติศาสตร์ของชาติเริ่มขึ้นด้วยชาวสลาฟตะวันออก ผู้ถือกำเนิดขึ้นเป็นกลุ่มที่โดดเด่นได้ในยุโรประหว่างคริสต์ศตวรรษที่ 3 ถึงที่ 8 รัฐรุสในสมัยกลาง ซึ่งก่อตั้งและปกครองโดยอภิชนนักรบวารันเจียนและผู้สืบเชื้อสาย เกิดขึ้นในคริสต์ศตวรรษที่ 9 ใน..

ใหม่!!: พระเจ้าฟรีดริชที่ 2 แห่งปรัสเซียและประเทศรัสเซีย · ดูเพิ่มเติม »

ประเทศสวีเดน

วีเดน (Sweden; สฺแวรฺแย) หรือชื่อทางการคือ ราชอาณาจักรสวีเดน (Kingdom of Sweden) เป็นประเทศกลุ่มนอร์ดิกตั้งอยู่บนคาบสมุทรสแกนดิเนเวีย ในยุโรปเหนือ เขตแดนทางตะวันตกจรดประเทศนอร์เวย์ ทางตะวันออกเฉียงเหนือจรดประเทศฟินแลนด์ และช่องแคบ สแกเกอร์แรก (Skagerrak) ทางตะวันตกเฉียงใต้จรดช่องแคบแคทีแกต (Kattegat) และทางตะวันออกจรดทะเลบอลติก และอ่าวบอทเนีย มีกรุงสต็อกโฮล์มเป็นเมืองหลวง ประเทศสวีเดนมีประชากรที่เบาบาง เว้นแต่ในเขตเมืองใหญ่ พื้นที่ส่วนใหญ่ของประเทศประกอบด้วยป่าไม้ และภูเขาสูง หลังจากสิ้นสุดยุคไวกิง สวีเดนกลายเป็นส่วนหนึ่งของสหภาพคาลมาร์ ร่วมกับเดนมาร์กและนอร์เวย์ (ในช่วงเวลานี้ ฟินแลนด์เป็นส่วนหนึ่งของราชอาณาจักรสวีเดน) สวีเดนได้ออกจากสหภาพในช่วงต้นคริสต์ศตวรรษที่ 16 และได้รบสู้กับประเทศเพื่อนบ้านเป็นเวลาหลายปี โดยเฉพาะรัสเซีย และเดนมาร์กกับนอร์เวย์ที่ยังเป็นสหภาพอยู่ ซึ่งไม่ยอมรับการที่สวีเดนออกจากสหภาพ ในคริสศตวรรษที่ 17 สวีเดนได้ขยายเขตด้วยสงครามและกลายเป็นมหาอำนาจด้วยขนาด 2 เท่าของปัจจุบัน ถึง..

ใหม่!!: พระเจ้าฟรีดริชที่ 2 แห่งปรัสเซียและประเทศสวีเดน · ดูเพิ่มเติม »

ประเทศออสเตรีย

ออสเตรีย (Austria; Österreich เออสฺตะไรฌ) หรือชื่อทางการคือ สาธารณรัฐออสเตรีย (Republic of Austria; Republik Österreich) เป็นประเทศที่ไม่มีทางออกสู่ทะเลในยุโรปกลาง มีอาณาเขตทางเหนือจรดประเทศเยอรมนีและเช็กเกีย ทางตะวันออกจรดสโลวาเกียและฮังการี ทางใต้จรดสโลวีเนียและอิตาลี และทางตะวันตกจรดสวิตเซอร์แลนด์และลิกเตนสไตน์ มีการปกครองแบบประชาธิปไตยแบบมีผู้แทนภายใต้หลักการของรั.

ใหม่!!: พระเจ้าฟรีดริชที่ 2 แห่งปรัสเซียและประเทศออสเตรีย · ดูเพิ่มเติม »

ประเทศอังกฤษ

อังกฤษ (England อิง(ก)ลันด์) หรือในอดีตเรียกว่า แคว้นอังกฤษ เป็นประเทศอันเป็นส่วนหนึ่งของสหราชอาณาจักร มีพรมแดนทางบกติดต่อกับสกอตแลนด์ทางเหนือ และเวลส์ทางตะวันตก ทะเลไอร์แลนด์ทางตะวันตกเฉียงเหนือ ทะเลเคลติกทางตะวันตกเฉียงใต้ ทะเลเหนือทางตะวันออก และช่องแคบอังกฤษซึ่งคั่นระหว่างอังกฤษกับยุโรปแผ่นดินใหญ่ พื้นที่ประเทศอังกฤษส่วนใหญ่ตั้งอยู่ทางตอนกลางและตอนใต้ของเกาะบริเตนใหญ่ในมหาสมุทรแอตแลนติกเหนือ ประเทศอังกฤษยังรวมถึงเกาะที่เล็กกว่าอีกกว่า 100 เกาะ เช่น หมู่เกาะซิลลีและเกาะไวต์ ภูมิประเทศของอังกฤษส่วนมากประกอบด้วยเขาเตี้ยๆ และที่ราบ โดยเฉพาะทางตอนกลางและตอนใต้ของอังกฤษ อย่างไรก็ตาม ทางเหนือและทางตะวันตกเฉียงใต้เป็นที่สูง วินเชสเตอร์เป็นเมืองหลวงเก่าของอังกฤษกระทั่งเปลี่ยนมาเป็นลอนดอนใน..

ใหม่!!: พระเจ้าฟรีดริชที่ 2 แห่งปรัสเซียและประเทศอังกฤษ · ดูเพิ่มเติม »

ประเทศแคนาดา

แคนาดา (-enCanada) เป็นประเทศในทวีปอเมริกาเหนือ ติดกับสหรัฐ เป็นประเทศที่มีที่ตั้งอยู่ทางเหนือมากที่สุดของโลกและมีขนาดใหญ่เป็นอันดับสองของโลก ปัจจุบันแคนาดาใช้ระบอบการปกครองแบบประชาธิปไตยโดยมีพระมหากษัตริย์เป็นประมุข โดยถือสมเด็จพระราชินีนาถเอลิซาเบธที่ 2 แห่งสหราชอาณาจักรเป็นพระมหากษัตริย์ (หมายเหตุ: พระองค์เดียวกับพระมหากษัตริย์สหราชอาณาจักร แต่โดยรัฐธรรมนูญแล้วถือว่าเป็นคนละตำแหน่ง) ดินแดนที่เป็นประเทศแคนาดาในปัจจุบันในอดีตมีผู้อยู่อาศัยอยู่แล้วเป็นชนพื้นเมืองหลากหลายกลุ่ม เมื่อตอนต้นคริสต์ศตวรรษที่ 15 นักสำรวจเดินทางชาวอังกฤษและฝรั่งเศสได้เข้ามาสำรวจ และต่อมาจึงมีการตั้งรกรากขึ้นบนแถบชายฝั่งมหาสมุทรแอตแลนติก ในปี..1763 ฝรั่งเศสได้ยอมสูญเสียอาณานิคมเกือบทั้งหมดในทวีปอเมริกาเหนือหลังจากสงครามเจ็ดปี ในปี..1867 มีการรวมตัวของอาณานิคมของอังกฤษ 3 แห่งขึ้น และประเทศแคนาดาก็ถือกำเนิดขึ้นในรูปแบบของเขตปกครองสหพันธรัฐ ประกอบด้วย 4 รัฐ และนี่กลายเป็นจุดเริ่มต้นของการเพิ่มจำนวนขึ้นของรัฐและดินแดนต่างๆ และกระบวนการได้รับอำนาจปกครองตนเองจากสหราชอาณาจักร รัฐบัญญัติแห่งเวสต์มินสเตอร์ในปี..1931 ได้เพิ่มอำนาจปกครองตนเองและเป็นผลให้เกิดพระราชบัญญัติแคนาดาในปี..1982 ซึ่งมีผลให้แคนาดาตัดขาดจากการขึ้นตรงต่ออำนาจของรัฐสภาอังกฤษ ประเทศแคนาดา ประกอบด้วยรัฐ 10 รัฐ และดินแดน 3 แห่ง และปกครองในระบอบราชาธิปไตยภายใต้รัฐธรรมนูญ โดยมีสมเด็จพระราชินีนาถเอลิซาเบธที่ 2 เป็นพระประมุขสูงสุด แคนาดาเป็นประเทศที่ใช้ภาษาทางการ 2 ภาษาทั้งในระดับประเทศและในรัฐนิวบรันสวิก ภาษาทางการ 2 ภาษานั้นคือ ภาษาอังกฤษและภาษาฝรั่งเศส และมีความหลากหลายทางวัฒนธรรม แคนาดาเป็นประเทศที่มีความก้าวหน้าทางเทคโนโลยีและเป็นประเทศอุตสาหกรรม มีเศรษฐกิจที่หลากหลาย ซึ่งพึ่งพาทรัพยากรธรรมชาติอันอุดมสมบูรณ์ และพึ่งพาการค้าขาย โดยเฉพาะกับสหรัฐอเมริกาซึ่งเป็นประเทศที่แคนาดามีความสัมพันธ์อันยาวนานและสลับซับซ้อน.

ใหม่!!: พระเจ้าฟรีดริชที่ 2 แห่งปรัสเซียและประเทศแคนาดา · ดูเพิ่มเติม »

ประเทศโปแลนด์

ไม่มีคำอธิบาย.

ใหม่!!: พระเจ้าฟรีดริชที่ 2 แห่งปรัสเซียและประเทศโปแลนด์ · ดูเพิ่มเติม »

ประเทศเยอรมนีตะวันออก

อรมนีตะวันออก (East Germany) เป็นชื่ออย่างไม่เป็นทางการของ สาธารณรัฐประชาธิปไตยเยอรมนี (Deutsche Demokratische Republik - DDR; German Democratic Republic - GDR) เป็นประเทศคอมมิวนิสต์ที่ดำรงอยู่ในช่วงปี 1949 ถึงปี 1990 โดยเป็นส่วนหนึ่งของดินแดนเยอรมันที่ถูกปกครองโดยอดีตสหภาพโซเวียต หลังจากการยึดครองเยอรมนีของกองทัพโซเวียตสมัยสงครามโลกครั้งที่สอง เยอรมนีตะวันออกเป็นประเทศหนึ่งที่เข้าร่วมสนธิสัญญาวอร์ซอ ในช่วงสงครามเย็น โดยเยอรมนีตะวันออกได้นิยามตัวเองว่าเป็นรัฐสังคมนิยม "ของคนงานและชาวนา"Patrick Major, Jonathan Osmond, The Workers' and Peasants' State: Communism and Society in East Germany Under Ulbricht 1945–71, Manchester University Press, 2002, และเขตที่ถูกยึดครอง ได้รับการปกครองโดยกองกำลังโซเวียตในตอนท้ายของสงครามโลกครั้งที่สอง เขตยึดครองโซเวียตตามข้อตกลงพ็อทซ์ดัมซึ่งอยู่ทางทิศตะวันออกติดกับแนว Oder-Neisse เขตยึดครองโซเวียตล้อมรอบเบอร์ลินตะวันตก แต่ไม่รวมถึง เป็นผลให้เบอร์ลินตะวันตกยังคงอยู่นอกเขตอำนาจของเยอรมนีตะวันออก สาธารณรัฐประชาธิปไตยเยอรมนีก่อตั้งขึ้นในเขตโซเวียต ขณะที่สหพันธรัฐจัดตั้งขึ้นในสามเขตตะวันตก เยอรมนีตะวันออกเป็นรัฐบริวารของสหภาพโซเวียต เจ้าหน้าที่ยึดครองโซเวียตได้เริ่มถ่ายโอนความรับผิดชอบในการบริหารให้กับผู้นำคอมมิวนิสต์เยอรมันในปี 1948 และเริ่มมีบทบาทเป็นรัฐเมื่อวันที่ 7 ตุลาคม 1949 อย่างไรก็ตามกองทัพโซเวียตยังคงกำลังอยู่ในประเทศตลอดช่วงสงครามเย็น จนถึง 1989 เยอรมนีตะวันออกถูกปกครองโดยพรรคเอกภาพสังคมนิยมเยอรมนี แม้ว่าพรรคอื่น ๆ ในนามขององค์กรพันธมิตร National Front of Democratic Germany 29 October 1989.

ใหม่!!: พระเจ้าฟรีดริชที่ 2 แห่งปรัสเซียและประเทศเยอรมนีตะวันออก · ดูเพิ่มเติม »

ปรัสเซีย

ปรัสเซีย (Prussia) หรือ พร็อยเซิน (Preußen) หรือ โบรุสเซีย (ละติน: Borussia) เป็นรัฐที่รุ่งเรืองที่สุดในบรรดารัฐทั้งหลายของชนชาติเยอรมัน มีจุดกำเนิดจากดัชชีปรัสเซียและรัฐมาร์เกรฟบรันเดินบวร์ค อันเป็นรัฐหนึ่งของจักรวรรดิโรมันอันศักดิ์สิทธิ์ซึ่งตั้งอยู่ตอนกลางของภูมิภาคที่ชื่อว่าพร็อยเซิน รัฐแห่งนี้ถูกปกครองโดยราชวงศ์โฮเอินโซลเลิร์นเป็นเวลาหลายศตวรรษ การมีกองทัพที่เข็มแข็งทำให้ปรัสเซียประสบความสำเร็จในการแผ่ขยายดินแดน ปรัสเซียมีเมืองหลวงเดิมอยู่ที่เคอนิจส์แบร์กก่อนที่จะย้ายเมืองหลวงไปยังเบอร์ลินในปี 1701 ในการประชุมใหญ่แห่งเวียนนา (ปี 1814–15) ซึ่งจัดระเบียบทวีปยุโรปเสียใหม่ภายหลังถูกทำให้ปั่นป่วนจากสงครามนโปเลียน ปรัสเซียได้รับดินแดนส่วนใหญ่ทางตะวันตกเฉียงเหนือของเยอรมนีซึ่งรวมถึงรัฐร่ำรวยถ่านหินอย่างรัฐรูร์ (Ruhr) อิทธิพลทางเศรษฐกิจและทางการเมืองของปรัสเซียได้เติบโตอย่างรวดเร็ว ปรัสเซีบกลายเป็นหัวใจของสมาพันธรัฐเยอรมันเหนือในปี 1867 และของจักรวรรดิเยอรมันในปี 1871 ปรัสเซียในยุคจักรวรรดิเยอรมนี้มีอาณาเขตไพศาลมากกว่ารัฐเยอรมันที่เหลือรวมกันเสียอีก ชนชั้นนำของปรัสเซียมักจะระบุว่าตัวเองนั้นเป็น "ชาวเยอรมัน" มากกว่าบอกว่าตัวเองนั้นเป็น "ชาวปรัสเซีย".

ใหม่!!: พระเจ้าฟรีดริชที่ 2 แห่งปรัสเซียและปรัสเซีย · ดูเพิ่มเติม »

นาซีเยอรมนี

นาซีเยอรมนี (Nazi Germany) หรือ ไรช์ที่สาม (Drittes Reich) หรือชื่ออย่างเป็นทางการคือ ไรช์เยอรมัน (Deutsches Reich) เป็นชื่อเรียกยุคหนึ่งในประวัติศาสตร์เยอรมนีระหว่างปี 1933 ถึง 1945 เมื่อประเทศเยอรมนีอยู่ภายใต้การควบคุมระบอบเผด็จการของอดอล์ฟ ฮิตเลอร์และพรรคนาซี ในการปกครองของฮิตเลอร์ ประเทศเยอรมนีกลายเป็นรัฐฟาสซิสต์ซึ่งควบคุมแทบทุกแง่มุมของชีวิต นาซีเยอรมนีล่มสลายหลังฝ่ายสัมพันธมิตรพิชิตเยอรมนีในเดือนพฤษภาคม 1945 ซึ่งยุติสงครามโลกครั้งที่สองในทวีปยุโรป ประธานาธิบดีแห่งสาธารณรัฐไวมาร์ เพาล์ ฟอน ฮินเดนบูร์กแต่งตั้งฮิตเลอร์เป็นนายกรัฐมนตรีเมื่อวันที่ 30 มกราคม 1933 จากนั้น พรรคนาซีเริ่มกำจัดคู่แข่งทางการเมืองและรวบอำนาจ ฮินเดนบูร์กถึงแก่อสัญกรรมเมื่อวันที่ 2 สิงหาคม 1934 และฮิตเลอร์เป็นผู้เผด็จการแห่งเยอรมนีโดยการรวมอำนาจและตำแหน่งของนายกรัฐมนตรีกับประธานาธิบดี มีการจัดการลงประชามติทั่วประเทศเมื่อวันที่ 19 สิงหาคม 1934 ทำให้ฮิตเลอร์เป็นฟือเรอร์ (ผู้นำ) เยอรมนีเพียงผู้เดียว อำนาจเบ็ดเสร็จทั้งหมดรวมอยู่ในมือของฮิตเลอร์ และคำของเขาอยู่เหนือกฎหมายทั้งปวง รัฐบาลมิได้เป็นหน่วยที่ร่วมมือประสานกัน หากแต่เป็นหมู่กลุ่มแยกต่าง ๆ ที่แก่งแย่งอำนาจและความนิยมจากฮิตเลอร์ ท่ามกลางภาวะเศรษฐกิจตกต่ำครั้งใหญ่ นาซีฟื้นฟูเสถียรภาพทางเศรษฐกิจและยุติการว่างงานขนานใหญ่โดยใช้รายจ่ายทางทหารอย่างหนักและเศรษฐกิจแบบผสม มีการดำเนินการโยธาสาธารณะอย่างกว้างขวาง รวมการก่อสร้างเอาโทบาน การคืนเสถียรภาพทางเศรษฐกิจส่งเสริมความนิยมของรัฐบาลให้เพิ่มพูนขึ้น คตินิยมเชื้อชาติ โดยเฉพาะอย่างยิ่ง การต่อต้านยิว เป็นลักษณะหัวใจของนาซีเยอรมนี โดยถือว่า กลุ่มชนเจอร์มานิค หรือเชื้อชาตินอร์ดิก (Nordic race) เป็นเชื้อชาติอารยันซึ่งบริสุทธิ์ที่สุด ฉะนั้นจึงเป็นเชื้อชาติปกครอง (master race) ชาวยิวและชนกลุ่มอื่นที่ถือว่าไม่พึงปรารถนาถูกเบียดเบียนหรือฆ่า และการค้านการปกครองของฮิตเลอร์ถูกปราบปรามอย่างโหดเหี้ยม สมาชิกฝ่ายค้านเสรีนิยม สังคมนิยมและคอมมิวนิสต์ถูกฆ่า จำคุกหรือเนรเทศ โบสถ์คริสต์ก็ถูกกดขี่เช่นกัน โดยผู้นำหลายคนถูกจำคุก การศึกษามุ่งเน้นชีววิทยาเชื้อชาติ นโยบายประชากร และสมรรถภาพทางกายสำหรับราชการทหาร โอกาสในอาชีพและการศึกษาของสตรีถูกตัดทอน มีการจัดนันทนาการและการท่องเที่ยวผ่านโครงการความแข็งแรงผ่านความรื่นเริง (Strength Through Joy) มีการใช้โอลิมปิกฤดูร้อน 1936 เป็นตัวนำเสนอไรช์ที่สามในเวทีระหว่างประเทศ รัฐมนตรีโฆษณาการ โยเซฟ เกิบเบิลส์ ใช้ภาพยนตร์ การชุมนุมมวลชน และวาทศิลป์จับจิตของฮิตเลอร์เพื่อควบคุมมติมหาชนอย่างได้ผล รัฐบาลควบคุมการแสดงออกทางศิลปะ โดยสนับสนุนศิลปะบางรูปแบบ แต่ขัดขวางหรือห้ามศิลปะรูปแบบอื่น เริ่มตั้งแต่ปลายคริสต์ทศวรรษ 1930 นาซีเยอรมนีเรียกร้องดินแดนอย่างก้าวร้าวมากขึ้นเรื่อย ๆ และขู่ทำสงครามหากไม่สนองข้อเรียกร้อง เยอรมนียึดออสเตรียและเชโกสโลวาเกียในปี 1938 และ 1939 ฮิตเลอร์ทำสนธิสัญญาไม่รุกรานกับโจเซฟ สตาลิน และบุกครองโปแลนด์ในเดือนกันยายน 1939 เป็นการเปิดฉากสงครามโลกครั้งที่สองในทวีปยุโรป เยอรมนีเข้าเป็นพันธมิตรกับอิตาลีและฝ่ายอักษะที่เล็กกว่าและพิชิตทวีปยุโรปส่วนใหญ่เมื่อถึงปี 1940 และคุกคามสหราชอาณาจักร ไรช์ซคอมมิสซารีอัทควบคุมพื้นที่ที่ถูกพิชิตอย่างโหดร้ายและมีการสถาปนาการปกครองของเยอรมนีในประเทศโปแลนด์ที่เหลืออยู่ ชาวยิวและกลุ่มอื่นที่ถือว่าไม่พึงปรารถนาถูกจำคุกในค่ายกักกันและค่ายกำจัดนาซี การนำนโยบายเชื้อชาติของระบอบไปปฏิบัติลงเอยด้วยการสังหารชาวยิวและชนกลุ่มน้อยอื่นเป็นอันมากในฮอโลคอสต์ หลังการรุกรานสหภาพโซเวียตในปี 1941 นาซีเยอรมนีก็เริ่มเป็นรอง และปราชัยทางทหารสำคัญหลายครั้งในปี 1943 การทิ้งระเบิดทางอากาศต่อประเทศเยอรมนีทวีขึ้นในปี 1944 และฝ่ายอักษะถอยจากยุโรปตะวันออกและยุโรปใต้ หลังการบุกครองฝรั่งเศสของสัมพันธมิตร ประเทศเยอรมนีถูกโซเวียตจากทิศตะวันออกและฝ่ายสัมพันธมิตรจากทิศตะวันตกพิชิตและยอมจำนนในหนึ่งปี การที่ฮิตเลอร์ปฏิเสธยอมรับความปราชัยนำให้โครงสร้างพื้นฐานของเยอรมนีถูกทำลายล้างขนานใหญ่และการเสียชีวิตที่เกี่ยวข้องกับสงครามเพิ่มในเดือนท้าย ๆ ของสงคราม ฝ่ายสัมพันธมิตรผู้กำชัยริเริ่มนโยบายขจัดความเป็นนาซี (denazification) และนำผู้นำนาซีที่เหลือรอดหลายคนมาพิจารณาคดีอาชญากรรมสงครามในการพิจารณาคดีเนือร์นแบร์ก ส่วนประเทศเยอรมนีถูกยึดครองโดยมหาอำนาจฝ่ายสัมพันธมิตรคือ ฝรั่งเศส สหภาพโซเวียต สหรัฐอเมริกา และสหราชอาณาจักร.

ใหม่!!: พระเจ้าฟรีดริชที่ 2 แห่งปรัสเซียและนาซีเยอรมนี · ดูเพิ่มเติม »

แม่น้ำดานูบ

แม่น้ำดานูบ (Danube River) เป็นแม่น้ำที่ยาวที่สุดในสหภาพยุโรป และยาวเป็นอันดับสองของทวีปยุโรป (รองจากแม่น้ำวอลกา) มีต้นกำเนิดที่แถบป่าดำ (Black Forest; Schwarzwald) ในประเทศเยอรมนี เกิดจากแม่น้ำเล็กๆ สองสาย คือ Brigach และ Breg ซึ่งไหลมารวมกันเป็นแม่น้ำดานูบที่เมือง Donaueschingen แม่น้ำดานูบไหลจากป่าดำไปทางทิศตะวันออกผ่านเมืองหลวงและเมืองสำคัญๆ ของประเทศต่างๆ ในยุโรปตะวันตกและยุโรปตะวันออก ก่อนที่จะไหลผ่านดินดอนสามเหลี่ยมปากแม่น้ำดานูบ (Danube Delta) และแยกลงสู่ทะเลดำที่ประเทศโรมาเนียและยูเครน มีความยาวประมาณ 2,845 กม.

ใหม่!!: พระเจ้าฟรีดริชที่ 2 แห่งปรัสเซียและแม่น้ำดานูบ · ดูเพิ่มเติม »

แม่น้ำโอเดอร์

แม่น้ำโอเดอร์ หรือ แม่น้ำโอดรา (เช็ก/โปแลนด์: Odra) เป็นแม่น้ำในยุโรปตอนกลาง ต้นน้ำเกิดจากเทือกเขาทางตะวันออกของสาธารณรัฐเช็ก ไหลไปทางเหนือผ่านด้านตะวันตกของประเทศโปแลนด์ มีแม่น้ำไนเซอไหลมารวมด้วย ใกล้เมืองฟรังค์ฟูร์ท จากนั้นไหลขึ้นไปทางเหนือเป็นเส้นเขตแดนระหว่างประเทศโปแลนด์และเยอรมนี จนไปลงทะเลบอลติก แม่น้ำมีความยาว 854 กิโลเมตร แควสำคัญทางด้านฝั่งซ้ายของแม่น้ำได้แก่ แม่น้ำนีซา แม่น้ำคาชาวาบูเบอร์ และแม่น้ำไนเซอ และแควด้านฝั่งขวา สายสำคัญ คือ แม่น้ำวาร์ตา หมวดหมู่:แม่น้ำในประเทศโปแลนด์ หมวดหมู่:แม่น้ำในประเทศเยอรมนี หมวดหมู่:แม่น้ำในประเทศเช็กเกีย.

ใหม่!!: พระเจ้าฟรีดริชที่ 2 แห่งปรัสเซียและแม่น้ำโอเดอร์ · ดูเพิ่มเติม »

โยฮันน์ วอล์ฟกัง ฟอน เกอเทอ

โยฮันน์ วอล์ฟกัง ฟอน เกอเทอ โยฮันน์ วอล์ฟกัง ฟอน เกอเทอ (Johann Wolfgang von Goethe, 28 สิงหาคม พ.ศ. 2292 — 22 มีนาคม พ.ศ. 2375) เป็นผู้รู้รอบด้านชาวเยอรมัน เขาเป็นทั้งนักเขียนนิยาย นักเขียนบทละคร นักสิทธิมนุษยชน นักวิทยาศาสตร์ นักปรัชญา รวมถึงดำรงตำแหน่งสมาชิกคณะบริหารของไวมาร์ในประเทศเยอรมนีอยู่ 10 ปี เกอเทอเป็นเหมือนสัญลักษณ์ของวรรณคดีเยอรมัน คลาสสิกใหม่ของยุโรปและโรมัน ในช่วงปลายคริสต์ศตวรรษที่ 18 ถึงต้นคริสต์ศตวรรษที่ 19 เกอเทอและงานของเขาได้ส่งผลไปทั่วยุโรปและได้สร้างแรงบันดาลใจกับงานต่อ ๆ มาทางด้าน ดนตรี การละคร และกวี หมวดหมู่:บุคคลที่เกิดในปี พ.ศ. 2292 หมวดหมู่:นักเขียนชาวเยอรมัน หมวดหมู่:นักวิทยาศาสตร์ หมวดหมู่:นักวิทยาศาสตร์ชาวเยอรมัน หมวดหมู่:นักปรัชญา หมวดหมู่:ชาวเยอรมัน หมวดหมู่:นักปรัชญาชาวเยอรมัน หมวดหมู่:นักสิทธิมนุษยชน หมวดหมู่:ผู้เขียนอัตชีวประวัติชาวเยอรมัน.

ใหม่!!: พระเจ้าฟรีดริชที่ 2 แห่งปรัสเซียและโยฮันน์ วอล์ฟกัง ฟอน เกอเทอ · ดูเพิ่มเติม »

โยฮันน์ เซบาสเตียน บาค

ันน์ เซบาสเตียน บาค, ปี พ.ศ. 2291 วาดโดย อีลิอาส ก็อตลอบ เฮาส์มันน์ (Elias Gottlob Haussmann) โยฮันน์ เซบาสเตียน บาค (Johann Sebastian Bach) เป็นคีตกวีและนักออร์แกนชาวเยอรมัน เกิดเมื่อวันที่ 21 มีนาคม พ.ศ. 2228 (ค.ศ. 1685) ในครอบครัวนักดนตรี ที่เมืองไอเซนัค บาคแต่งเพลงไว้มากมายโดยดั้งเดิมเป็นเพลงสำหรับใช้ในโบสถ์ เช่น "แพชชั่น" บาคถึงแก่กรรมเมื่อวันที่ 28 กรกฎาคม พ.ศ. 2293 ที่เมืองไลพ์ซิก บาคเป็นนักประพันธ์ดนตรีสมัยบาโรค เขาสร้างดนตรีของเขาจนกลายเป็นเอกลักษณ์ของยุคสมัย บาคมีอิทธิพลอย่างสูงและยืนยาวต่อการพัฒนาดนตรีตะวันตก แม้แต่นักประพันธ์เพลงผู้ยิ่งใหญ่เช่น โมซาร์ท และเบโธเฟน ยังยอมรับบาคในฐานะปรมาจารย์ งานของบาคโดดเด่นในทุกแง่มุม ด้วยความพิถีพิถันของบทเพลงที่เต็มไปด้วย ท่วงทำนอง เสียงประสาน หรือ เทคนิคการสอดประสานกันของท่วงทำนองต่าง ๆ รูปแบบที่สมบูรณ์แบบ เทคนิคที่ฝึกฝนมาเป็นอย่างดี การศึกษาค้นคว้า แรงบันดาลใจอันเต็มเปี่ยม รวมทั้งปริมาณของบทเพลงที่แต่ง ทำให้งานของบาคหลุดจากวงจรทั่วไปของงานสร้างสรรค์ที่ปกติแล้วจะเริ่มต้น เจริญเติบโตถึงขีดสุด แล้วเสื่อมสลาย นั่นคือไม่ว่าจะเป็นเพลงที่บาคได้ประพันธ์ไว้ตั้งแต่วัยเยาว์ หรือเพลงที่ประพันธ์ในช่วงหลังของชีวิตนั้นจะมีคุณภาพทัดเทียมกัน.

ใหม่!!: พระเจ้าฟรีดริชที่ 2 แห่งปรัสเซียและโยฮันน์ เซบาสเตียน บาค · ดูเพิ่มเติม »

โรมันคาทอลิก

ระศาสนจักรคาทอลิก (Catholic Church) หรือ คริสตจักรโรมันคาทอลิก (Roman Catholic Church) เป็นคริสตจักรที่ใหญ่ที่สุดในโลกซึ่งมีศาสนิกชนกว่าพันล้านคน มีพระสันตะปาปาเป็นประมุข มีพันธกิจหลักคือ การประกาศข่าวดีเรื่องพระเยซูคริสต์ โปรดศีลศักดิ์สิทธิ์ และปฏิบัติกิจเมตตา ศาสนจักรคาทอลิกเป็นสถาบันที่เก่าแก่ที่สุดในโลกและมีบทบาทสำคัญในประวัติศาสตร์อารยธรรมตะวันตกO'Collins, p. v (preface).

ใหม่!!: พระเจ้าฟรีดริชที่ 2 แห่งปรัสเซียและโรมันคาทอลิก · ดูเพิ่มเติม »

โรโกโก

้านเหนือของวังแคทเธอรีนที่ Tsarskoye Selo - ลานราชรถ: เป็นลวดลายปูนปั้นปิดทองมาจนสมัยพระจักรพรรดินีนาถแคทเธอรีนที่ทรงสั่งให้ติดช่อมะกอกแทน ท้องพระโรงของวังแคทเธอรีนที่ Tsarskoye Selo ศิลปะโรโกโก (Rococo) หรือบางครั้งก็เรียกกันว่า "ศิลปะแบบหลุยส์ที่ 14" (Louis XIV Style) ศิลปะโรโกโกเริ่มพัฒนามาจากศิลปะฝรั่งเศส และการตกแต่งภายในเมื่อคริสต์ศตวรรษที่ 18 ห้องที่ออกแบบแบบโรโกโกจะเป็น เอกภาพ คือทุกสิ่งทุกอย่างในห้อง ไม่ว่าจะเป็นผนัง เครื่องเรือน หรือเครื่องประดับ จะออกแบบเพื่อให้กลมกลืนกันอันหนึ่งอันเดียวกันมิใช่จะอิสระต่อกัน คือไม่มีสิ่งใดในห้องนั้นที่นอกแบบออกมา ภายในห้องจะมีเครื่องเรือนที่หรูหราและอลังการ รูปปั้นเล็ก ๆ แบบประดิดประดอย ภาพเขียนหรือกระจกก็จะเป็นกรอบลวดลาย และพรมแขวนผนัง ที่ถ้าแยกอะไรออกมาก็จะทำให้ห้องนั้นไม่สมบูรณ์แบบ ศิลปะโรโกโกมาแทนด้วยสถาปัตยกรรมฟื้นฟูคลาสสิก คำว่าโรโกโกมาจากคำสองคำผสมกัน คำว่า rocaille จากภาษาฝรั่งเศส ซึ่งหมายถึงศิลปะการตกแต่งที่ใช้ลวดลายคล้ายหอยหรือใบไม้ และคำว่า barocco จากภาษาอิตาลี หรือที่เรียกว่า ศิลปะบาโรก ศิลปินโรโกโกจะนิยมเล่นเส้นโค้งตัวซีและตัวเอส (S และ C curves) แบบเปลือกหอย หรือการม้วนตัวของใบไม้เป็นหลัก และจะเน้นการตกแต่งประดิดประดอย จนทำให้นักวิจารณ์ศิลปะค่อนว่าเป็นศิลปะของความฟุ้งเฟ้อและเป็นเพียงศิลปะสมัยนิยมเท่านั้น คำว่าโรโกโกเมื่อเริ่มใช้เป็นครั้งแรกที่ประเทศอังกฤษเมื่อประมาณปี..

ใหม่!!: พระเจ้าฟรีดริชที่ 2 แห่งปรัสเซียและโรโกโก · ดูเพิ่มเติม »

โคโลญ

ลญ (Cologne) หรือ เคิลน์ (Köln) เป็นเมืองใหญ่เป็นอันดับสี่ของประเทศเยอรมนี รองจากเบอร์ลิน ฮัมบวร์ค และมิวนิก และเป็นเมืองใหญ่ที่สุดของรัฐนอร์ทไรน์-เว็สท์ฟาเลิน โคโลญเป็นหนึ่งในเมืองที่เก่าแก่ที่สุดของเยอรมนี สร้างโดยชาวโรมัน มีประวัติศาสตร์ย้อนไปถึง ค.ศ. ​50 เมืองโคโลญตั้งอยู่ริมฝั่งแม่น้ำไรน์ มีอาสนวิหารโคโลญซึ่งเป็นโบสถ์ศาสนาคริสต์นิกายโรมันคาทอลิกที่มีชื่อเสียง มหาวิทยาลัยโคโลญเป็นหนึ่งในมหาวิทยาลัยที่เก่าแก่ที่สุดในทวีปยุโรป และเป็นมหาวิทยาลัยที่ใหญ่เป็นอันดับสองของประเทศ ตัวเมืองมีพื้นที่ 405.15 ตารางกิโลเมตร มีประชากรนับเฉพาะที่อาศัยในเขตเมือง 998,105 คน (ข้อมูลปี ค.ศ. 2009).

ใหม่!!: พระเจ้าฟรีดริชที่ 2 แห่งปรัสเซียและโคโลญ · ดูเพิ่มเติม »

โซฟี โดโรเทอา แห่งฮันโนเฟอร์

ซเฟีย โดโรเธียแห่งฮาโนเวอร์ พระราชินีแห่งปรัสเซีย หรือ โซเฟีย โดโรเธียแห่งฮาโนเวอร์ (Sophia Dorothea of Hanover; 16 มีนาคม ค.ศ. 1687 - 28 มิถุนายน ค.ศ. 1757) เป็นพระราชินีแห่งปรัสเซียประสูติเมื่อวันที่ 16 มีนาคม ค.ศ. 1687 ที่ฮาโนเวอร์ เยอรมนี เป็นพระราชธิดาของสมเด็จพระเจ้าจอร์จที่ 1 แห่งบริเตนใหญ่และโซเฟีย โดโรเธียแห่งเซลล์ เป็นพระราชินีในพระเจ้าฟรีดริช วิลเลียมที่ 1 แห่งปรัสเซีย ระหว่างวันที่ 25 กุมภาพันธ์ ค.ศ. 1713 ถึงวันที่ 31 พฤษภาคม ค.ศ. 1740 และสิ้นพระชนม์เมื่อ 28 มิถุนายน ค.ศ. 1757 ที่พระราชวังมอนบิจู เบอร์ลิน เยอรมนี โซเฟีย โดโรเธียแห่งฮาโนเวอร์เมื่อทรงพระราชสมภพมีพระนามว่า “ดัชเชสโซเฟีย โดโรเธียแห่งบรันสวิค-ลืนเนอเบิร์ก” เมื่อพระเจ้าฟรีดริช วิลเลียมที่ 1 แห่งปรัสเซียพระสวามีเสด็จสวรรคตพระราชโอรสองค์โตเจ้าชายฟรีดริชก็ขึ้นครองราชสมบัติเป็นพระเจ้าฟรีดริชที่ 2 แห่งปรัสเซีย โซเฟีย โดโรเธียแห่งฮาโนเวอร์ก็มีพระราชอิสริยศเป็นพระชนนี.

ใหม่!!: พระเจ้าฟรีดริชที่ 2 แห่งปรัสเซียและโซฟี โดโรเทอา แห่งฮันโนเฟอร์ · ดูเพิ่มเติม »

โซฟี โดโรเทอา แห่งเบราน์ชไวค์-ลือเนอบวร์ค

ซฟี โดโรเทอา แห่งเบราน์ชไวค์-ลือเนอบวร์ค (Sophie Dorothea von Braunschweig-Lüneburg) หรือในอังกฤษรู้จักกันในชื่อ โซเฟีย โดโรเธียแห่งเซลล์ (Sophia Dorothea of Celle) เป็นเจ้าหญิงเยอรมันซึ่งอภิเษกเข้าสู่พระราชวงศ์อังกฤษ ประสูติ ณ เมืองเซลเลอ ราชอาณาจักรฮันโนเฟอร์ เป็นพระธิดาของเกออร์ก วิลเฮล์ม เบราน์ชไวค์-ลือเนอบวร์คและพระสนมเอเลนอร์ เดสเมียร์ โดลบรูส เคานเทสแห่งวิลเลียมสเบิร์ก (Eleonore d'Esmier d'Olbreuse) ต่อมาโซเฟีย โดโรเธียแห่งเซลล์ทรงเสกสมรสกับจอร์จ หลุยส์พระญาติซึ่งต่อมาขึ้นครองราชย์เป็นสมเด็จพระเจ้าจอร์จที่ 1 แห่งบริเตนใหญ่ เมื่อปี ค.ศ. 1682 และทรงหย่าจากพระสวามีเมื่อปี ค.ศ. 1694 โซเฟีย โดโรเธียสิ้นพระชนม์เมื่อวันที่ 13 พฤศจิกายน ค.ศ. 1726 ที่อาห์ลเด็น เยอรมนี โซเฟีย โดโรเธียเป็นพระมารดาของสมเด็จพระเจ้าจอร์จที่ 2 แห่งบริเตนใหญ่ และโซเฟีย โดโรเธียแห่งฮาโนเวอร์ พระราชินีแห่งปรัสเซียผู้เป็นพระมเหสีของพระเจ้าฟรีดริช วิลเลียมที่ 1 แห่งปรัสเซียผู้เป็นพระมารดาและบิดาของพระเจ้าฟรีดริชที่ 2 แห่งปรัสเซี.

ใหม่!!: พระเจ้าฟรีดริชที่ 2 แห่งปรัสเซียและโซฟี โดโรเทอา แห่งเบราน์ชไวค์-ลือเนอบวร์ค · ดูเพิ่มเติม »

โซฟีแห่งฮันโนเฟอร์

ซฟีแห่งพาลาทิเนต (Sophie von der Pfalz) หรือ โซฟีแห่งฮันโนเฟอร์ (Sophie von Hannover) หรือ โซเฟียแห่งแฮโนเวอร์ (Sophia of Hanover) เป็นเจ้าหญิงเยอรมัน-สกอตแลนด์ ผู้กลายเป็นทายาทโดยสันนิษฐานแห่งราชบัลลังก์อังกฤษ จากการที่นางเป็นพระราชนัดดา (หลานตา) ในพระเจ้าเจมส์ที่ 1 แห่งอังกฤษทำให้เธอมีสิทธิในราชบัลลังก์อังกฤษ ท่านหญิงโซฟีเกิดเมื่อ 14 ตุลาคม..

ใหม่!!: พระเจ้าฟรีดริชที่ 2 แห่งปรัสเซียและโซฟีแห่งฮันโนเฟอร์ · ดูเพิ่มเติม »

โซนาตา

ซนาตา (Sonata; Sonare) เป็นประเภทของบทเพลงที่ใช้สำหรับเดี่ยวเครื่องดนตรี เช่น Piano sonata ก็คือบทเพลงที่ใช้สำหรับเดี่ยวเปียโน หรือ Violin Sonata ก็เป็นบทเพลงที่ใช้สำหรับเดี่ยวไวโอลิน อนึ่ง เพลงเดี่ยวสำหรับเครื่องดนตรีที่ไม่ใช่เปียโนมักจะมีเครื่องดนตรีบรรเลงประกอบ (Accompaniment) ซึ่งมักจะเป็นเปียโน โซนาตา เป็นภาษาอิตาลีและมาจากคำละตินว่า "โซนาเร" (Sonare) ที่หมายความว่าเสียง (Sound) ในความหมายว่าบรรเลง เพลงประเภทโซนาตามักประกอบด้วย 3 หรือ 4 ท่อน ท่อนแรกมักอยู่ในอัตราเร็ว ท่อนที่ 2 อยู่ในอัตราช้า ท่อนที่ 3 มักอยู่ในบรรยากาศที่ร่าเริง.

ใหม่!!: พระเจ้าฟรีดริชที่ 2 แห่งปรัสเซียและโซนาตา · ดูเพิ่มเติม »

โปรเตสแตนต์

นิกายโปรเตสแตนต์ (Protestantism) เป็นนิกายหนึ่งในศาสนาคริสต์ ใช้หมายถึงคริสต์ศาสนิกชนใด ๆ ที่ไม่ใช่โรมันคาทอลิกและออร์ทอดอกซ์ โปรเตสแตนต์เป็นขบวนการศาสนาที่มีจุดเริ่มต้นที่ประเทศเยอรมนีช่วงต้นคริสต์ศตวรรษที่ 16 เพื่อคัดค้านหลักความเชื่อและการปฏิบัติแบบโรมันคาทอลิก โดยเฉพาะในประเด็นที่เกี่ยวกับความรอด การทำให้ชอบธรรม และคริสตจักรวิทยา โปรเตสแตนต์แบ่งออกเป็นหลายคริสตจักรย่อย ซึ่งยึดหลักความเชื่อแตกต่างกันไป แต่โดยทั่วไปจะยอมรับหลักการเหมือนกันว่ามนุษย์จะเป็นคนชอบธรรมได้ก็โดยอาศัยพระคุณจากพระเจ้าผ่านทางความเชื่อเท่านั้น (เรียกว่าหลักโซลากราเซียและโซลาฟีเด) เชื่อว่าผู้เชื่อทุกคนเป็นปุโรหิต และคัมภีร์ไบเบิลมีอำนาจสูงสุดในการกำหนดหลักความเชื่อและศีลธรรม (เรียกว่าหลักโซลาสกริปตูรา) ในคริสต์ศตวรรษที่ 16 ศิษย์ของมาร์ติน ลูเทอร์ ได้ตั้งคริสตจักรอิแวนเจลิคัลแห่งเยอรมนีและสแกนดิเนเวียขึ้น ส่วนคริสตจักรปฏิรูปในประเทศฮังการี สวิตเซอร์แลนด์ สกอตแลนด์ และฝรั่งเศส ตั้งขึ้นโดยฌ็อง กาลแว็ง และนักปฏิรูปศาสนาคนอื่น ๆ เช่น ฮุลดริช ซวิงลี นอกจากนี้ยังมีจอห์น น็อกซ์ ที่ตั้งคริสตจักรปฏิรูปในฮังการีขึ้น ในประเทศอังกฤษการปฏิรูปศาสนานำโดยคริสตจักรแห่งอังกฤษ และยังมีขบวนการปฏิรูปศาสนาอีกหลายกลุ่มเกิดขึ้นทั่วยุโรปภาคพื้นทวีป เช่น การปฏิรูปแบบรุนแรง ซึ่งเป็นต้นกำเนิดของกลุ่มอนาแบ๊บติสต์ โมราเวียน และขวนการไพเอทิสต์อื่น.

ใหม่!!: พระเจ้าฟรีดริชที่ 2 แห่งปรัสเซียและโปรเตสแตนต์ · ดูเพิ่มเติม »

ไหม

หม อาจหมายถึง.

ใหม่!!: พระเจ้าฟรีดริชที่ 2 แห่งปรัสเซียและไหม · ดูเพิ่มเติม »

ไซลีเซีย

ูมิภาคในประวัติศาสตร์ (ในวงสีฟ้าและเหลือง) และเขตแดนประเทศต่าง ๆ ในปัจจุบัน ไซลีเซีย (Silesia; ไซลีเซีย: Ślůnsk; Śląsk; Slezsko; Schlesien) เป็นภูมิภาคในประวัติศาสตร์ของยุโรปกลาง ปัจจุบันตั้งอยู่ในประเทศโปแลนด์ สาธารณรัฐเช็ก และเยอรมนี ไซลีเซียเป็นดินแดนที่เต็มไปด้วยทรัพยากรธรรมชาติและมีบริเวณสำคัญทางอุตสาหกรรมหลายแห่ง เมืองที่ใหญ่ที่สุดในบริเวณนี้ได้แก่วรอตสวัฟ (Wrocław) ซึ่งเป็นเมืองหลวงในประวัติศาสตร์ คาโตวีตเซในโปแลนด์ และออสตราวา (Ostrava) ในสาธารณรัฐเช็ก แม่น้ำสำคัญคือแม่น้ำโอเดอร์ เขตแดนของไซลีเซียเปลี่ยนแปลงไปเป็นอย่างมากตลอดมาในประวัติศาสตร์ทั้งตั้งแต่ยังเป็นของขุนนางในสมัยศักดินา มาจนถึงหลังจากการรุ่งเรืองของรัฐชาติสมัยใหม่ รัฐแรกที่เป็นที่ทราบว่ามีอำนาจในบริเวณนี้คือเกรตเตอร์โมราเวีย (Greater Moravia) และโบฮีเมีย ในคริสต์ศตวรรษที่ 10 ถูกผนวกเข้าเป็นส่วนหนึ่งของรัฐโปแลนด์สมัยแรก แต่ต่อมาก็แยกตัวออกไปเป็นดัชชีอิสระแต่ตกเข้ามาอยู่ภายใต้อิทธิพลของเยอรมนีมากขึ้นทุกขณะ ในที่สุดไซลีเซียก็ตกมาเป็นของราชบัลลังก์โบฮีเมีย ที่ผ่านต่อไปยังออสเตรียในปี..

ใหม่!!: พระเจ้าฟรีดริชที่ 2 แห่งปรัสเซียและไซลีเซีย · ดูเพิ่มเติม »

เบอร์ลิน

อร์ลิน (แบร์ลีน) เป็นเมืองหลวงและรัฐหนึ่งในสิบหกรัฐสหพันธ์ของประเทศเยอรมนี มีประชากร 3.4 ล้านคนในเขตเมือง มากที่สุดในเยอรมนี และมากเป็นอันดับสองในสหภาพยุโรป เป็นศูนย์กลางของเขตนครหลวงเบอร์ลิน-บรานเดนบูร์ก ทางตะวันออกเฉียงเหนือของเยอรมนี มีประชากรในเขตนครหลวงรวม 1คนจาก 1ชาติ มากเป็นอันดับเก้าในสหภาพยุโรป, Eurostat.

ใหม่!!: พระเจ้าฟรีดริชที่ 2 แห่งปรัสเซียและเบอร์ลิน · ดูเพิ่มเติม »

เยอรมัน

อรมัน หรือ เยอรมนี อาจหมายถึง.

ใหม่!!: พระเจ้าฟรีดริชที่ 2 แห่งปรัสเซียและเยอรมัน · ดูเพิ่มเติม »

เอลิซาเบธ สจวต สมเด็จพระราชินีแห่งโบฮีเมีย

อลิซาเบธ สจวต (Elizabeth Stuart) เป็นเจ้าหญิงอังกฤษซึ่งเสกสมรสกับฟรีดริชที่ 5 ผู้คัดเลือกแห่งพาลาทิเนต ต่อมาพระสวามีได้ขึ้นครองราชย์เป็นกษัตริย์แห่งโบฮีเมีย ทำให้พระนางได้เป็นสมเด็จพระราชินีแห่งโบฮีเมีย อย่างไรก็ตาม พระสวามีครองราชบัลลังก์โบฮีเมียได้เพียงปีเท่านั้น ทำให้พระนางได้รับสมญาว่า ราชินีฤดูหนาว จากการที่ได้ขึ้นเป็นราชินีและพ้นจากตำแหน่งในฤดูหนาว พระนางเป็นพระธิดาองค์ใหญ่ในพระเจ้าเจมส์ที่ 1 กษัตริย์แห่งอังกฤษ, สกอตแลนด์ และไอร์แลนด์ กับแอนน์แห่งเดนมาร์ก พระนางยังเป็นพระอัยกา (ยาย) ของพระเจ้าจอร์จที่ 1 แห่งบริเตนใหญ่ อีกด้ว.

ใหม่!!: พระเจ้าฟรีดริชที่ 2 แห่งปรัสเซียและเอลิซาเบธ สจวต สมเด็จพระราชินีแห่งโบฮีเมีย · ดูเพิ่มเติม »

เอลีซาเบ็ท คริสทีเนอ แห่งเบราน์ชไวค์-ว็อลเฟินบึทเทิล-เบเวิร์น

อลีซาเบ็ท คริสทีเนอ แห่งเบราน์ชไวค์-ว็อลเฟินบึทเทิล-เบเวิร์น (Elisabeth Christine von Braunschweig-Wolfenbüttel-Bevern) เป็นสมเด็จพระราชินีแห่งปรัสเซียในฐานะพระอัครมเหสีของพระเจ้าฟรีดริชที่ 2 แห่งปรัสเซีย เมื่อแรกประสูติพระองค์ทรงมีศักดิ์เป็นดัชเชสแห่งเบราน์ชไวค์-ว็อลเฟินบึทเทิล.

ใหม่!!: พระเจ้าฟรีดริชที่ 2 แห่งปรัสเซียและเอลีซาเบ็ท คริสทีเนอ แห่งเบราน์ชไวค์-ว็อลเฟินบึทเทิล-เบเวิร์น · ดูเพิ่มเติม »

เจ้าชายยูจีนแห่งซาวอย

้าชายยูจีนแห่งซาวอย หรือ เจ้าชายเออแฌนแห่งซาวัว-คารินยอง (Eugen von Savoyen; Eugène de Savoie-Carignan); Prince Eugene of Savoy) (18 ตุลาคม ค.ศ. 1663 - 21 เมษายน ค.ศ. 1736) เจ้าชายยูจีนแห่งซาวอยเป็นแม่ทัพผู้มีชื่อเสียงและมีสมรรถภาพที่สุดคนหนึ่งในประวัติศาสตรยุโรป เจ้าชายยูจีนแห่งซาวอยประสูติที่ปารีสจากพระบิดามารดาที่เป็นเจ้านายซาวอย เจ้าชายยูจีนเจริญพระชันษาขึ้นมาในราชสำนักฝรั่งเศสของพระเจ้าหลุยส์ที่ 14 เดิมพระองค์มีพระประสงค์จะดำเนินอาชีพเป็นนักบวชแต่เมื่อมีพระชนม์ได้ 19 ก็หันไปสนใจกับอาชีพการเป็นทหาร เมื่อถูกปฏิเสธโดยพระเจ้าหลุยส์ที่ 14 จากการเข้ารับราชการในกองทัพฝรั่งเศส เจ้าชายยูจีนก็ทรงย้ายไปออสเตรียและหันไปสวามิภักดิ์ต่อราชวงศ์ฮับส์บวร์ก เจ้าชายยูจีนแห่งซาวอยรับราชการอยู่หกสิบปีภายใต้จักรพรรดิฮับส์บวร์กสามพระองค์ – จักรพรรดิลีโอโพลด์ที่ 1, จักรพรรดิโจเซฟที่ 1 และ จักรพรรดิคาร์ลที่ 6 สงครามครั้งแรกที่เจ้าชายยูจีนทรงมีส่วนร่วมคือการสงครามต่อต้านการล้อมกรุงเวียนนาของออตโตมันเติร์กในยุทธการเวียนนาใน ค.ศ. 1683 และต่อมาสงครามสันนิบาตศักดิ์สิทธิ์ซึ่งเป็นส่วนหนึ่งของมหาสงครามตุรกี ก่อนที่จะเข้าร่วมในสงครามเก้าปีพร้อมกับลูกพี่ลูกน้องวิคเตอร์ อมาเดอุสที่ 2 ดยุคแห่งซาวอย แต่ชื่อเสียงของเจ้าชายยูจีนมามั่นคงเมื่อได้รับชัยชนะอย่างเด็ดขาดต่อออตโตมันในยุทธการเซนทาในปี ค.ศ. 1697 จากนั้นก็มีชื่อเสียงเพิ่มขึ้นระหว่างสงครามสืบราชบัลลังก์สเปนเมื่อไปทำการเป็นพันธมิตรกับจอห์น เชอร์ชิลล์ ดยุคแห่งมาร์ลบะระห์ที่ได้รับชัยชนะต่อฝรั่งเศสในยุทธการเบล็นไฮม์, ยุทธการอูเดอนาร์ด และ ยุทธการมาลพลาเคต์ จากนั้นก็ไปได้รับความสำเร็จในฐานะแม่ทัพของกองทัพของพระจักรพรรดิทางตอนเหนือของอิตาลี โดยเฉพาะในยุทธการตูรินในปี ค.ศ. 1706 เมื่อความขัดแย้งกับจักรวรรดิออตโตมันเริ่มขึ้นอีกครั้งในสงครามออสเตรีย-ตุรกี ค.ศ. 1716-1718 เจ้าชายยูจีนก็ทรงสามารถปราบปรามข้าศึกศัตรูได้ในยุทธการเปโตรวาราดิน และ ยุทธการเบลเกรด ตลอดคริสต์ทศวรรษ 1720 อิทธิพลและความสามารถทางการทูตของของเจ้าชายยูจีนก็สามารถสร้างความมั่นคงให้แก่จักรพรรดิแห่งจักรวรรดิโรมันอันศักดิ์สิทธิ์ในปัญญาขัดแย้งต่างๆ ที่เกี่ยวกับการสืบราชบัลลังก์ แต่ในบั้นปลายของชีวิตความเหนื่อยร้าและสุขภาพทางจิตที่เปราะบางทำให้พระองค์ไม่ทรงประสบความสำเร็จในฐานะผู้บังคับบัญชาทหารสูงสุดในการพยายามยุติสงครามสืบราชบัลลังก์โปแลนด์ได้ แต่กระนั้นในออสเตรีย ชื่อเสียงของเจ้าชายยูจีนก็ไม่มีผู้ใดเทียมได้ ความเห็นเกี่ยวกับบุคลิกของเจ้าชายยูจีนอาจจะแตกต่างกันไป แต่ก็ไม่มีผู้ใดที่จะค้านความสำเร็จอันยิ่งใหญ่ที่พระองค์ทรงป้องกันจักรวรรดิฮับส์บวร์กจากถูกกลืนไปเป็นของฝรั่งเศส และทรงหยุดยั้งการรุกรานมาทางตะวันตกของจักรวรรดิออตโตมัน และปลดปล่อยยุโรปกลางจากการยึดครองของออตโตมันที่ดำเนินมาเป็นเวลาร้อยห้าสิบปี นอกจากนั้นเจ้าชายยูจีนก็ยังทรงเป็นผู้อุปถัมภ์ศิลปะคนสำคัญ เจ้าชายยูจีนสิ้นพระชนม์เมื่อวันที่ 21 เมษายน ค.ศ. 1736 เมื่อมีพระชนมายุได้ 72 พรรษ.

ใหม่!!: พระเจ้าฟรีดริชที่ 2 แห่งปรัสเซียและเจ้าชายยูจีนแห่งซาวอย · ดูเพิ่มเติม »

เจ้าชายเฟรเดอริก เจ้าชายแห่งเวลส์

้าชายเฟรเดอริก หลุยส์ เจ้าชายแห่งเวลส์ (Frederick Louis, Prince of Wales) ประสูติเมื่อวันที่ 1 กุมภาพันธ์ ค.ศ. 1707 เป็นสมาชิกแห่งพระราชวงศ์แฮโนเวอร์ และต่อมาพระราชวงศ์อังกฤษ เป็นพระราชโอรสพระองค์ใหญ่ในสมเด็จพระเจ้าจอร์จที่ 2 ทรงเป็นพระราชบิดาของสมเด็จพระเจ้าจอร์จที่ 3 และพระอัยกาของสมเด็จพระราชินีนาถวิกตอเรียแห่งสหราชอาณาจักร ซึ่งหลังจากการผ่านพระราชบัญญัติว่าด้วยการสืบราชสันตติวงศ์ ค.ศ. 1701 โดยรัฐสภาแห่งอังกฤษในปีค.ศ. 1701 เจ้าชายเฟรเดริกได้กลายเป็นองค์รัชทายาทผู้มีสิทธิในราชบัลลังก์อังกฤษทันที พระองค์เสด็จพระราชดำเนินไปประทับที่อังกฤษเป็นการถาวรภายหลังจากพระราชพิธีบรมราชาภิเษกของพระราชบิดา และต่อมาได้ทรงเฉลิมพระอิสริยยศเป็น "เจ้าชายแห่งเวลส์" พระองค์สิ้นพระชนม์ก่อนจะเสวยราชย์ต่อจากพระราชบิดา อย่างไรก็ตามพระโอรสของพระองค์ (เจ้าชายจอร์จ ซึ่งต่อมาเฉลิมพระอิสริยยศเป็น เจ้าชายจอร์จแห่งเวลส์) ได้รับการสืบทอดราชสมบัติหลังจากพระราชบิดาเสด็จสวรรคตเมื่อวันที่ 25 ตุลาคม ค.ศ. 1760 เป็นสมเด็จพระเจ้าจอร์จที่ 3 ซึ่งครองราชย์ยาวนานตั้งแต่ค.ศ. 1760 จนถึงปีค.ศ. 1820.

ใหม่!!: พระเจ้าฟรีดริชที่ 2 แห่งปรัสเซียและเจ้าชายเฟรเดอริก เจ้าชายแห่งเวลส์ · ดูเพิ่มเติม »

เครือจักรภพโปแลนด์–ลิทัวเนีย

รือจักรภพโปแลนด์-ลิทัวเนีย (Rzeczpospolita Obojga Narodów; Polish-Lithuanian Commonwealth) มีชื่อเป็นทางการว่า “Rzeczpospolita Korony Polskiej i Wielkiego Księstwa Litewskiego” หรือที่รู้จักกันในนาม “สาธารณรัฐโปแลนด์ที่หนึ่ง” (First Polish Republic) หรือ “สาธารณรัฐแห่งสองชาติ” (Republic of the Two Nations) (Pierwsza Rzeczpospolita หรือ Rzeczpospolita Obojga Narodów; Abiejų tautų respublika) เป็นเครือจักรภพที่ใหญ่ที่สุดและมีประชากรมากที่สุด, accessed on 19 March 2006: At its apogee, the Polish-Lithuanian Commonwealth comprised some 400000 sqare mile and a multi-ethnic population of 11 million. For population comparisons, see also those maps:,. แห่งหนี่งในยุโรปในคริสต์ศตวรรษที่ 17 โครงสร้างทางการเมืองเป็นกึ่งสหพันธรัฐ กึ่งราชาธิปไตย เครือจักรภพก่อตั้งขึ้นในปี..

ใหม่!!: พระเจ้าฟรีดริชที่ 2 แห่งปรัสเซียและเครือจักรภพโปแลนด์–ลิทัวเนีย · ดูเพิ่มเติม »

เซนต์ปีเตอร์สเบิร์ก

ซนต์ปีเตอร์สเบิร์ก (Saint Petersburg; Санкт-Петербу́рг, เป็นเมืองท่าทางทิศตะวันตกเฉียงเหนือของสหพันธรัฐรัสเซีย ตั้งอยู่ปากแม่น้ำเนวา ริมอ่าวฟินแลนด์ในทะเลบอลติก เซนต์ปีเตอร์สเบิร์กสร้างโดยพระเจ้าซาร์ปีเตอร์มหาราช เมื่อ พ.ศ. 2246 โดยตัวเมืองเริ่มสร้างด้วยการถมทรายและหินเป็นจำนวนมากเพราะว่าพื้นที่เดิมของเมืองนั้นเป็นดินเลนของทะเล พระองค์ทรงเลือกที่จะสร้างเมืองที่บริเวณนี้เพราะว่าตัวเมืองมีทางออกทะเลบอลติกและสามารถติดต่อไปทางยุโรปและประเทศอื่นๆได้ง่าย เพื่อการปฏิรูปรัสเซียให้ทัดเทียมกับประเทศอื่น ๆ ในยุโรปได้โดยง่าย ต่อมาเมืองเซนต์ปีเตอร์เบิร์กจึงได้รับสมญานามว่าหน้าต่างแห่งยุโรป และได้เป็นเมืองหลวงของจักรวรรดิรัสเซียเป็นเวลา 206 ปี (หลังจากนั้นได้ย้ายเมืองหลวงไปที่มอสโก เมื่อ พ.ศ. 2461) ชื่อเดิมของเซนต์ปีเตอร์สเบิร์กคือ เปโตรกราด (Petrograd, Петрогра́д, ใช้ในช่วง พ.ศ. 2457-2467) และ เลนินกราด (Leningrad, Ленингра́д, ใช้ในช่วง พ.ศ. 2467-2534) ปัจจุบันเซนต์ปีเตอร์สเบิร์กมีประชากรมากกว่า 4.7 ล้านคน เป็นเมืองใหญ่อันดับสองของรัสเซีย และเป็นมรดกโลกขององค์กรยูเนสโก.

ใหม่!!: พระเจ้าฟรีดริชที่ 2 แห่งปรัสเซียและเซนต์ปีเตอร์สเบิร์ก · ดูเพิ่มเติม »

17 สิงหาคม

วันที่ 17 สิงหาคม เป็นวันที่ 229 ของปี (วันที่ 230 ในปีอธิกสุรทิน) ตามปฏิทินสุริยคติแบบเกรกอเรียน เมื่อถึงวันนี้จะยังเหลือวันอีก 136 วันในปีนั้น.

ใหม่!!: พระเจ้าฟรีดริชที่ 2 แห่งปรัสเซียและ17 สิงหาคม · ดูเพิ่มเติม »

24 มกราคม

วันที่ 24 มกราคม เป็นวันที่ 24 ของปี ตามปฏิทินสุริยคติแบบเกรกอเรียน เมื่อถึงวันนี้จะยังเหลือวันอีก 341 วันในปีนั้น (342 วันในปีอธิกสุรทิน).

ใหม่!!: พระเจ้าฟรีดริชที่ 2 แห่งปรัสเซียและ24 มกราคม · ดูเพิ่มเติม »

เปลี่ยนเส้นทางที่นี่:

Frederick II of Prussiaสมเด็จพระราชาธิบดีฟรีดริชที่ 2 แห่งปรัสเซียสมเด็จพระเจ้าฟรีดริชที่ 2 แห่งปรัสเซียพระเจ้าฟรีดริชมหาราชพระเจ้าเฟรดริคที่ 2 แห่งปรัสเซียพระเจ้าเฟรเดอริกมหาราชแห่งปรัสเซีย

ขาออกขาเข้า
Hey! เราอยู่ใน Facebook ตอนนี้! »