โลโก้
ยูเนี่ยนพีเดีย
การสื่อสาร
ดาวน์โหลดได้จาก Google Play
ใหม่! ดาวน์โหลด ยูเนี่ยนพีเดีย บน Android ™ของคุณ!
ติดตั้ง
เร็วกว่าเบราว์เซอร์!
 

พระปารวตี

ดัชนี พระปารวตี

ปารวตี (पार्वती Pārvatī) หรือ อุมา (उमा Umā) เป็นเทวดาสตรีในศาสนาฮินดู เป็นเจ้าแห่งความอุดมสมบูรณ์ ความรัก การอุทิศตน ตลอดจนพลังอำนาจศักดิ์สิทธิ์Suresh Chandra (1998), Encyclopaedia of Hindu Gods and Goddesses,, pp 245-246 ถือกันว่า พระนางเป็นด้านอ่อนโยนและเอาใจใส่ของเทวีศักติ พระนางยังแสดงพระองค์เป็นหลายด้าน เรียกว่า "ปาง" แต่ละปางเป็นที่รู้จักด้วยหลายชื่อหลายเรื่องราวKeller and Ruether (2006), Encyclopedia of Women and Religion in North America, Indiana University Press,, pp 663 พระนาง พร้อมด้วยพระลักษมี เทวีแห่งความมั่งคั่งรุ่งเรือง และพระสรัสวดี เทวีแห่งความรู้ ประกอบกันเป็นองค์สาม (trinity) ของเทวีฮินดู เรียกว่า ตรีเทวี พระนางเป็นพระชายาของพระศิวะ เทพเจ้าผู้ปกปักรักษาสรรพชีวิตและทำลายล้างความชั่วร้ายEdward Balfour,, The Encyclopaedia of India and of Eastern and Southern Asia, pp 153 พระนางเป็นพระธิดาของพระหิมวัต เทพแห่งภูเขา กับพระนางไมนาวติ ผู้เป็นพระชายาH.V. Dehejia, Parvati: Goddess of Love, Mapin,, pp 11 พระนางทรงให้กำเนิดพระคเณศกับพระขันทกุมาร คัมภีร์ปุราณะยังกล่าวว่า พระนางเป็นพระพี่นางหรือน้องนางของพระวิษณุ และของพระคงคาWilliam J. Wilkins,, Hindu Mythology - Vedic and Puranic, Thacker Spink London, pp 295 พระนางกับพระสวามีทรงเป็นเทพศูนย์กลางแห่งไศวนิกาย หรือลัทธิซึ่งถือพระศิวะเป็นใหญ่ ศาสนาฮินดูยังเชื่อว่า พระนางทรงเป็นพลังงานและอำนาจแห่งการสร้างสรรค์ใหม่ของพระสวามี เป็นรากเหง้าของพันธะที่รัดรึงสรรพสิ่งเข้าด้วยกัน และเป็นหนทางแห่งการปลดปล่อยทางจิตวิญญาณในเทวาลัยฮินดูที่สร้างถวายพระนางและพระสวามี มักใช้โยนี (อวัยวะเพศหญิง) เป็นสัญลักษณ์แทนพระนาง.

18 ความสัมพันธ์: พระพิฆเนศพระลักษมีพระวิษณุพระศิวะพระสุรัสวดีพระสตีพระขันทกุมารพระแม่ตริปุรสุนทรีกาลีรามายณะศาสนาฮินดูอุสุภราชทุรคาตรีเทวีปุราณะโยนีเทวีในศาสนาฮินดูเขาไกรลาส

พระพิฆเนศ

ระคเณศ (गणेश பிள்ளையார் Ganesha) ชาวไทยนิยมเรียกว่า พระพิฆเนศ (विघ्नेश) พระพิฆเณศวร พระพิฆเณศ หรือ พระคณปติ ทรงเป็นเทพในศาสนาฮินดู ทรงเป็นเทพแห่งความสำเร็จ ทั้งยังทรงเป็นเทพแห่งศิลปวิทยาการและการประพันธ์ ทรงเป็นหัวหน้านำคณะข้ามความขัดข้อง (ผู้เป็นใหญ่เหนือความขัดข้อง).

ใหม่!!: พระปารวตีและพระพิฆเนศ · ดูเพิ่มเติม »

พระลักษมี

รูปปั้นนูนสูงของพระแม่ลักษมีประดับเทวสถานมุนีศวรัม ประเทศศรีลังกา เทวรูปพระลักษมีสำริด ศิลปะโจฬะ อินเดียใต้ พระลักษมี (ลกฺษฺมี) หรือ พระมหาลักษมี เป็นเทพีในศาสนาฮินดู โดยเป็นเทพีแห่งความร่ำรวย โชคชะตา ความรัก ความงาม ดอกบัว และความอุดมสมบูรณ์ รูปเคารพของพระแม่ลักษมีนั้นนอกจากจะพบในศาสนสถานของศาสนาฮินดูแล้ว ยังพบในศาสนสถานของศาสนาเชนและศาสนาพุทธ ในบางแห่งอีกด้วย พระลักษมีนั้นมีความคล้ายคลึงกันกับเทพีของกรีกองค์หนึ่ง คือเทพีอะโฟร์ดิตี้ โดยที่เทพีทั้งสองนี้ ถือกำเนิดจากมหาสมุทรเหมือนกัน และเป็นตัวแทนของความสวยงามเหมือนกันอีกด้วย นอกจากนั้น พระแม่ลักษมี มีกำเนิดจากฟองน้ำ ในคราวเทวดาและอสูร กวนเกษียรสมุทร น้ำอมฤต จึงได้นามว่า ชลธิชา (เกิดแต่น้ำ) หรือ กษีราพธิตนยา (พระธิดาแห่งพระสมุทร) ในขณะที่ผุดขึ้นมานั้นนั่งมาในดอกบัวและมือถือดอกบัวด้วย จึงมีอีกนามหนึ่งว่า ปัทมา หรือ กมลา แต่ในคัมภีร์วิษณุปุราณะจะกล่าวไว้ว่า พระแม่ลักษมีเป็นธิดาของพระฤๅษีภฤคุกับนางขยาติ และยังกล่าวต่อไปอีกว่าพระแม่ลักษมีเป็นมารดา พระกามเทพ ด้วย พระแม่ลักษมี ผู้ศรัทธาจะถือกันว่าเป็น เทพนารีผู้อำนวยโชค มีน้ำพระทัยเมตตาปราณีอยู่เป็นนิจ เป็นตัวอย่างแห่งนางที่งามตลอดทั้งรูปและกิริยามารยาท มีวาจาเปี่ยมด้วยเสน่ห์และไพเราะ ทั้งถือกันว่าเป็นผู้นำมาซึ่งความเจริญทุกประการ นับกันว่าเป็นผู้อุปถัมภ์บรรดาสตรีทุกชั้น ส่วนรูปมักเขียนเป็นสตรีที่งามยิ่งมี 2 กรอย่างธรรมดา (บางแห่งก็ว่ามี 4 กร) สีกายเป็นสีทองเสื้อทรงสีเหลือง นั่งหรือยืนบนดอกบัวและมือถือดอกบัว พระแม่ลักษมี เป็นชายาของ พระวิษณุ หรือ พระนารายณ์ เมื่อพระวิษณุได้อวตารเป็นพระราม พระแม่ลักษมีก็ได้อวตารตามไปเป็นนางสีดา และเมื่อพระวิษณุอวตารเป็นพระกฤษณะ ในปางกฤษณาวตาร พระวิษณุอวตารเป็น พระกฤษณะ พระแม่ลักษมีก็ไปเป็น พระนางรุกมิณี หรือ พระนางราธาเทวี ในปางปรศุรามาวตารก็ไปอวตารเป็น พระแม่ธรณี ในปางวามนาวตารก็อวตารไปเป็น พระนางกมลา เป็นต้น คติความเชื่อถือเกี่ยวกับพระแม่ลักษมีในเมืองไทยอาจเห็นว่า ไม่พบมากนักนอกจากปรากฏในวรรณคดีเรื่องรามเกียรติ์ หรือ รามายณะ ที่เสด็จอวตารลงมาเป็นนางสีดาในรามาวตาร ซึ่งเป็นชนวนเหตุของการรบ ระหว่างทศกัณฐ์ กับพระราม นอกจากนั้นก็ไม่พบได้เด่นชัดนัก.

ใหม่!!: พระปารวตีและพระลักษมี · ดูเพิ่มเติม »

พระวิษณุ

ลปะโจฬะที่พิพิธภัณฑสถานแห่งชาตินิวเดลี ประเทศอินเดีย. ศิลปะโจฬะที่พิพิธภัณฑสถานแห่งชาตินิวเดลี ประเทศอินเดีย. พระวิษณุ (विष्णु วิษฺณุ) หรือที่รู้จักกันในพระนามอีกอย่างหนึ่งว่า พระนารายณ์ (नारायण นารายณ) เป็นหนึ่งในสามตรีมูรติ มีหน้าที่คุ้มครองแลดูแลรักษาทั้ง 3 โลกตามความเชื่อของชาวฮินดู จากคัมภีร์พราหมณ์ รูปร่างลักษณะมีพระวรกายจะมีสีที่เปลี่ยนไปตามยุค ฉลองพระองค์ดั่งกษัตริย์ มีมงกุฎทอง อาภรณ์สีเหลือง มี 4 กร ถือ สังข์ จักรสุทรรศน์ คทาเกาโมทกี แต่ที่จะพบเห็นได้บ่อยที่สุดคือถือ จักร์ สังข์ คทา ส่วนอีกกรจะถือ ดอกบัวบ้าง หรือ ไม่ถืออะไรเลยบ้าง (โดยจะอยู่ในลักษณะ"ประทานพร") โดยปรกติ พระวิษณุ จะทรงประทับอยู่ที่เกษียรสมุทร โดยส่วนมากจะบรรทมอยู่บนหลังพญาอนันตนาคราช โดยมีพระชายาคือพระแม่ลักษมีมหาเทวี คอยฝ้าดูแลปรนิบัติอยู่ข้าง ๆ เสมอ พาหนะของพระวิษณุคือ พญาครุฑ พระวิษณุ มีอีกพระนามอีกอย่างหนึ่งว่า "หริ" แปลว่าผู้ดูแลแห่งจักรวาลถือเป็นเทพสูงสุด เพราะทุกอย่างเกิดจาก "หริ" โดย"หริ"ได้แบ่งตนเองออกเป็น 3 คือ.

ใหม่!!: พระปารวตีและพระวิษณุ · ดูเพิ่มเติม »

พระศิวะ

ระศิวะ หรือ พระอิศวร (शिव; Shiva) หนึ่งในตรีมูรติ หรือเทพเจ้าสูงสุดสามพระองค์ตามความเชื่อในศาสนาฮินดู (อีกสององค์ ได้แก่ พระพรหม และพระวิษณุ) พระแม่อุมาเทวีประดับโปุรัม ประเทศอินเดีย. พระแม่อุมาเทวีประดับโปุรัม ประเทศอินเดีย. พระศิวะ มีรูปกายเป็นชายหนุ่มร่างกำยำ วรรณะขาว (สีผิวขาว) นุ่งห่มหนังเสือเหมือนฤๅษี มีสังวาล์เป็นลูกประคำหรือกะโหลกมนุษย์ มีงูเห่าคล้องพระศอ ไว้พระเกศายาว ซึ่งจะม้วนเป็นจุฑา (มวยผม) มีพระจันทร์เป็นปิ่น มีคงคาอยู่บนยอดจุฑา ซึ่งพ่นน้ำมาตลอด และมีดวงพระเนตร (ตาที่ 3) กลางพระนลาฏ (หน้าผาก) ซึ่งโดยปกติจะปิดอยู่เสมอ เชื่อว่าหากเปิดขึ้นเมื่อไหร่ ไฟบรรลัยกัลป์จะเผาผลาญล้างโลก (บ้างว่าเป็นพระพรหม) ถือว่าเป็นการสิ้นสุดกัปหนึ่ง ก่อนที่พระพรหมจะสร้างโลกขึ้นมาใหม่ มีพาหนะ คือ โคอุศุภราช (วัวเพศผู้สีขาวล้วน) มีชายา คือ พระอุมา เทพีแห่งความกล้าหาญ มีโอรสสององค์ คือ พระขันทกุมารและพระพิฆเนศ ประทับอยู่ ณ เขาไกรลาส อันเป็นศูนย์กลางแห่งจักรวาล ชายาอีกองค์คือพระแม่คงคา มีธิดาคือพระแม่มนสาเทวีหรือพระยามี พระศิวะเป็นเทพที่จะคอยขับไล่สิ่งชั่วร้ายให้ห่างไกล และทำให้เกิดความดีงามเป็นศิริมงคลเกิดขึ้น ผู้ที่มีความทุกข์ไม่ว่าจะเป็นในทางใด หากบวงสรวงบูชา ขอพรให้พ้นทุกข์ พระศิวะก็จะประทานพรให้ผู้นั้นได้พ้นจากห้วงแห่งความทุกข์ พระศิวะมีท่าร่ายรำอันเป็นการร่ายรำของเทพเจ้า เรียกว่า "ปางนาฏราช" เมื่อแปลงกายลงไปปราบฤๅษีที่ไม่ประพฤติตนอยู่ในเพศดาบส ซึ่งต่อมาชาวฮินดูได้ถือเอาท่าร่ายรำนี้เป็นต้นแบบของการร่ายรำต่าง ๆ มาตราบจนปัจจุบัน นอกจากนี้แล้ว พระศิวะยังถือว่าเป็นเจ้าแห่งผีหรือปีศาจอีกด้วย โดยมีพระนามเรียกว่า "ปีศาจบดี" หรือ "ภูเตศวร" นอกจากนี้แล้วพระอิศวร ยังมีพระนามอื่นอีก เช่น "รุทร", "ศังกร", "ศุลี", "นิลกัณฐ์", "หระ" หรือ "อีสาน" และยังเป็นเทพประจำทิศตะวันออกเฉียงเหนือ หรือ อีสาน อีกด้วย นอกจากนี้แล้ว ยังเชื่อว่าพระศอของพระศิวะมีสีดำ ทั้งนี้เนื่องจากพระองค์ได้ยาพิษของพญานาคไว้เมื่อครั้งกวนเกษียรสมุทรทำน้ำอมฤตเพื่อช่วยโลก ซึ่งบทหนึ่งในกามนิต-วาสิฏฐี วรรณกรรมอิงพุทธศาสนาได้อ้างถึง สีของความรักว่าเป็นสีดำ เสมือนสีคอพระศิวะ พระศิวะ ที่ประเทศศรีลังกา อันเป็นประเทศที่ศาสนาพราหมณ์ได้เข้ามาเผยแพร่ก่อน ก่อนที่จะกลายมาเป็นศาสนาพุทธเป็นศาสนาหลักอย่างเช่นในปัจจุบัน พระศิวะในความเชื่อของที่นี่จะมีพาหนะเป็นนกยูง และกลายมาเป็นเทพเจ้าที่ทำหน้าที่ปกปักษ์รักษาพุทธศาสน.

ใหม่!!: พระปารวตีและพระศิวะ · ดูเพิ่มเติม »

พระสุรัสวดี

ระสุรัสวตี เทวีอักษรศาสตร์(ตราสัญลักษณ์ประจำคณะอักษรศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย พระสุรัสวดี หรือ พระสรัสวดี (सरस्वती สรสฺวตี) เป็นเทพสตรีในศาสนาฮินดู ทรงอุปถัมภ์ความรู้, ศิลปะ, ดนตรี, ปัญญา และการเรียนรู้Kinsley, David (1988).

ใหม่!!: พระปารวตีและพระสุรัสวดี · ดูเพิ่มเติม »

พระสตี

ระสตี (सती) หรือ พระทักษายณี (दाक्षायणी) เป็นเทวีในศาสนาฮินดู เชื่อว่าเป็นเทพเจ้าแห่งการมีอายุยืน เป็นพระชายาองค์แรกของพระศิวะ เมื่อจุติแล้วได้มาเกิดใหม่เป็นพระปารวตี พระสตี เป็นธิดาของพระทักษะประชาบดีได้เป็นชายาของพระศิวะ ที่ทรงอวตารลงมาในภาคของมุนีภพ ไว้ผมหนวดเครารุงรัง นำกระดูกมาร้อยเป็นสังวาลสวมคอ นอนตามป่าช้า มีกลิ่นตัวเหม็นสาบ เป็นที่รังเกียจของพระทักษะ แต่ด้วยบารมีของพระสตี จึงมองเห็นรูปกายที่แท้จริงว่าพระมุนีองค์นี้ ว่าเป็นภาคหนึ่งขององค์พระศิวะ ด้วยความรังเกียจ พระทักษะประชาบดีจึงได้ลบหลู่เกียรติของพระศิวะในงานพิธี พระสตีจึงทรงเข้าตบะเพื่อขับเพลิงออกมาจากร่าง เพื่อสังหารพระองค์เอง (บางตำรากล่าวว่าพระนางกระโดดเข้ากองไฟ) ด้วยความพิโรธ พระศิวะทรงส่งอสูรชื่อวีรภัทร ไปทำลายงานพิธี และตัดศีรษะพระทักษะประชาบดี ต่อคืนด้วยหัวแพะที่ใช้บูชายัญในพิธีนั้น พระศิวะทรงเศร้าโศกเสียใจด้วยความรักที่มีต่อพระสตี จึงทรงทรงพาร่างของพระสตีออกไปจนสุดจักรวาล และบำเพ็ญพรตบารมีอยู่เป็นเวลานาน ต่อมาพระนางได้กลับมาเกิดเป็นธิดาของท้าวหิมวัตและพระนางเมนกา และเป็นชายาของพระศิวะอีกครั้งในร่างของพระอุมาเทวี (พระปารวตี) พิธีสตี ชาวอินเดียที่นับถือพระศิวะและพระอุมา มีพิธีกรรมที่เรียกว่าพิธีสตี เมื่อสามีเสียชีวิต ภรรยาจะฆ่าตัวตายตามโดยกระโดดเข้ากองไฟ เพื่อบูชาความรักและการเสียสละของพระสตี ที่มีต่อพระศิวะ ในบางครั้งภรรยาของผู้ตายไม่ยินยอมเข้าพิธีสตี ก็ยังถูกญาติพี่น้องของสามี บังคับให้เผาตัวตายตาม พิธีบูชายัญนี้ถูกระงับไปเมื่ออินเดียตกอยู่ในการปกครองของอังกฤษ ในช่วงปลายคริสต์ศตวรรษที่ 18.

ใหม่!!: พระปารวตีและพระสตี · ดูเพิ่มเติม »

พระขันทกุมาร

ระขันธกุมาร (เทวนาครี:मुरुगन; முருகன்; മുരുകന്‍; ಸುಬ್ರಹ್ಮಣ್ಯ; సుబ్రహ్మణ్యేశ్వర స్వామి) เป็นเทพเจ้าแห่งการชาญณรงค์สงคราม และเป็นเทพเจ้าที่เป็นแม่ทัพของสวรรค์ด้วย พระองค์นั้นเป็นพระโอรสของพระศิวะ (พระอิศวร) และพระแม่ปารวตี (พระแม่อุมาเทวี) ทรงมีพระอนุชา 1 พระองค์ คือ พระพิฆเนศ ทรงนกยูงปารวาณีเป็นพาหนะ พระชายาของพระขันธกุมารคือ พระแม่เทวเสนา (เกามารี) และพระแม่วัลลี ที่อินเดียใต้นิยมนับถือมาก ด้วยเชื่อว่าพระขันธกุมารคือเทวดาผู้คุ้มครองปกป้องรักษาเทวาลัยของศาสนาฮินดู และเป็นเทพประจำทิศใต้อีกด้ว.

ใหม่!!: พระปารวตีและพระขันทกุมาร · ดูเพิ่มเติม »

พระแม่ตริปุรสุนทรี

พระแม่ตรีปุระสุนทรี (สันสกฤต: त्रिपुरा सुंदरी) หรือ พระแม่ลลิตาเทวี เป็นเทวสตรี ในศาสนาฮินดู เป็น ๑ ใน ๑๐ ของพระแม่ทศมหาวิทยา โดยพระแม่ตรีปุระสุนทรียังทรงเป็นพระเทวีผู้อำนาจที่สุดในพระแม่ทศมหาวิทยาเพราะมีพลังวิทยาของพระเทวีในกลุ่มทศมหาวิทยาทั้งหมดมารวมอยู่ในพลังวิทยาของพระแม่ตรีปุระสุนทรีเพียงพระองค์เดียว พระแม่ตรีปุระสุนทรีอีกรูปลักษณ์หนึ่ง พระแม่ตรีปุระสุนทรีทรงมีลักษณะเป็นหญิงสาวอายุ ๑๖ ปี ทรงมีพระเกศาสีดำพร้อมกับมีกลิ่นดอกอโศก, จำปา และปันนาค โดยพระแม่ทรงกำเนิดขึ้นมาเพื่อปราบอสูรนามว่าภันทาสูรที่ออกอาละวาดทั้งสามโลกในยามนั้น และทรงชุบชีวิตพระกามเทพซึ่งโดนพระศิวะเปิดพระเนตรที่สามเผากลายเป็นเถ้าธุลี.

ใหม่!!: พระปารวตีและพระแม่ตริปุรสุนทรี · ดูเพิ่มเติม »

กาลี

รูปปั้นนูนสูงของพระแม่กาลีและพระแม่ทุรคาประดับเทวสถานพระแม่จามุนดา ประเทศอินเดีย พระแม่กาลี หรือ กาลิกา (काली, Kālī, แปลว่า หญิงดำ) เป็นปางหนึ่งของพระอุมาเทวี ในศาสนาพราหมณ์-ฮินดู มีกายสีดำสนิท มีลักษณะดุร้าย มี ๑๐ พระกร ถืออาวุธร้ายอยู่ในพระกรทั้งสิบนั้น แลบลิ้นยาวถึงทรวงอก ที่ริมฝีปากมีเลือดไหลหยดเป็นทางยาว เครื่องประดับเป็นหัวกะโหลก มีงูใหญ่ร้อยคาดองค์ดั่งสังวาลย์ พระแม่กาลี หรือ เจ้าแม่กาลี มีอำนาจฤทธิ์ในการปราบปรามสิ่งชั่วร้ายทั้งปวง มีเทวานุภาพอันแรงกล้า สร้างความวิบัติแก่เหล่าอสูรอย่างรุนแรง เด็ดขาด แฝงเร้นไว้ซึ่งความน่ากลัว ผู้บูชาพระแม่กาลีอย่างถูกต้องและเคร่งครัด พระแม่จะประทานความแข็งแกร่ง ความกล้าหาญ และอำนาจเหนือผู้อื่น พระแม่กาลี ยังมีพลังอำนาจในการขจัดคุณไสย ลบล้างไสยเวทย์ด้านมืด หากบุคคลใดถูกกระทำทางไสยศาสตร์ เมื่อผู้นั้นได้สวดบูชาอ้อนวอนต่อพระองค์ท่านแล้ว พระองค์ท่านก็มักให้พร ขจัดสิ่งอาถรรพ์ชั่วร้ายให้มลายหายไป และประทานสิ่งที่เป็นไปได้ยากให้ได้รับอย่างง่ายดาย ผู้ใดกระทำการสวดบูชา สรรเสริญ และถวายเครื่องสังเวยแด่พระแม่กาลีเป็นประจำ พระองค์ท่านจะประทานความปลอดภัยมาสู่ผู้นั้น ทรงดลบันดาลให้เกิดความสันติผาสุกแก่ผู้ครองเรือนทั่วไป คุ้มครองผู้บูชาจากภยันตรายและอุบัติเหตุร้ายแรง พระแม่กาลีทรงมีบุคลิกภาพที่ยากแก่การเข้าใจ มีความลึกลับที่สุดในบรรดาเทพเทวาทั้งปวง พระนางมีความดุดัน เกรี้ยวกราด รูปลักษณ์และอุปนิสัยล้วนเต็มไปด้วยความน่าสะพรึงกลัว แต่พระนางก็จะทำลายเฉพาะอสูร ปีศาจ และมนุษย์ที่กระทำการชั่วร้ายเท่านั้น เนื่องจากพระแม่กาลีก็คือเทพ และเทพก็มักปกป้องคุ้มครองผู้กระทำความดีเช่นเดียวกันทุกพระองค์ ฉะนั้น แม้ผู้ที่บูชาพระแม่อย่างเคร่งครัด แต่เป็นคนที่ไม่ดี มีความคิดที่ชั่วร้าย เอารัดเอาเปรียบผู้อื่น พระแม่ท่านก็จะทำลายบุคคลผู้นั้นเสียโดยไม่ละเว้น ผู้ที่มีจิตใจไม่มั่นคง กำลังประสบหรือผ่านพ้นจากเหตุการณ์ร้ายแรงทำให้จิตใจอ่อนแอ สามารถกระทำการบูชาพระองค์ เพื่อขอความเข้มแข็ง และเด็ดขาด ผู้ที่เจอคุณไสย และถูกเบียดเบียนจากพลังงานชั่วร้ายหรืออำนาจไม่ดีทั้งจากมนุษย์และอมนุษย์ สามารถขอพระเมตตา จาก พรหมวิหารธรรมของท่าน ขจัดและทำลายให้พินาศสิ้น ผู้ที่ฝันร้าย เจออวมงคล นิมิตอันเป็นเหตุไม่ดี มีประการต่างๆ สามารถกระทำการบูชา ด้วยประทีปสีแดงและดำ ช่วยปัดเป่าให้มลายหายไป ผู้ที่มีโรคร้ายแรง ยากแก่การรักษา สามารถกระทำ ปฏิบัติบูชา อันจะกล่าวภายหลัง เพื่อหาหนทางบรรเทาโรคภัยได้ ผู้ที่ผิดหวังในรัก รักเพศเดียวกัน รักซ้อนรักแทรก สามารถกระทำปฏิบัติบูชาและบูชาเทวรุปประจำองค์ท่านได้เพื่อความสมหวังทั้งปวง นอกจากนั้น ท่านยังเด่นในเรื่อง การให้โชคลาภและยศฐาบันดาศักดิ์ด้วย พระมหาเทวีท่านโปรดปรานการบูชา ด้วยประทีปหรืออัคนี(อารตีไฟ) ปูเทวรุปด้วยผ้าแดงหรือสีดำก้ได้ (สามารถใช้ สีเงินหรือสีขาว เพื่อระลึกถึง พรหมวิหารธรรมของพระองคืได้ด้วย) ตำนานกล่าวว่า พระอุมาซึ่งอยู่ในปางอัมพิกา พระสิริโฉมงดงามเสด็จสู่สนามรบ เมื่อเหล่าอสูรได้เห็นก็พยายามจะได้นางเป็นชายา แต่นางได้ต่อสู้กับเหล่าอสูรด้วยความพิโรธ ในปางพระแม่กาลี จนอสูรทั้งหลายตายจนเกือบหมด เหลือเพียงมาธูอสูร ที่ทรงสังหารอย่างไรก็ไม่ตาย เพราะเคยได้รับพรจากพระศิวะให้มีชีวิตเป็นอมตะ หากเลือดหยดถึงพื้นดินก็จะเกิดเป็นอสูรอีกมากมายไม่สิ้นสุด ร้อนถึงพระศิวะ ทรงประทานวิธีให้พระแม่กาลีดื่มเลือดอสูรทุกครั้งอย่าให้ตกถึงดิน มาธูอสูรจึงถึงแก่ความตาย หลังจากชนะอสูรมาธู พระนางทรงดีพระทัย กระโดดเต้นเพื่อฉลองชัยชนะ แต่ด้วยตบะอันแรงกล้าทำให้เกิดความเดือดร้อน ต่อด้วยโลกธาตุทั้งปวงเมื่อพระนางกระทืบพระบาท พระศิวะจะเข้าห้ามปรามก็เกรงความดุร้ายของพระนาง จึงใช้อุบายทรงทอดพระกายลงบนพื้นที่พระนางจะกระทืบพระบาท เมื่อพระกาลีเห็นพระศิวะที่พื้น ด้วยปางหนึ่งที่เป็นพระปารวตี ซึ่งรักและภักดีในพระศิวะยิ่ง ก็ทรงชะงัก และแลบลิ้นด้วยความขวยเขิน การบูชาพระแม่กาลี ต้องใช้เลือดบริสุทธิ์ ในอดีตมีการใช้หญิงพรหมจารีย์ไปบูชายัญด้วยเลือดจากลำคอ แต่เมื่ออังกฤษเข้าปกครองอินเดีย ได้สั่งห้ามการฆ่าคนเพื่อบูชายัญ ปัจจุบันนี้การบูชาพระแม่กาลีใช้เลือดแพะแทน จากการที่พระแม่กาลีเป็นปางหนึ่งของพระอุมาเทวีที่ดุร้าย มีรูปลักษณ์คล้ายปีศาจและใช้เลือดและชีวิตในการบูชายัญ จึงมีความเข้าใจผิดกันว่า พระแม่กาลีเป็นเทพเจ้าแห่งความชั่วร้าย ในสำนวนภาษาไทยจึงมีคำว่า "กาลี" ซึ่งหมายความว่า สิ่งที่ชั่วร้าย เช่น "กาลีบ้านกาลีเมือง" หมายถึง "สิ่งที่ชั่วร้ายต่อบ้านเมือง" เป็นต้น บ้างก็ว่าเจ้าแม่กาลีเป็นเทพเจ้าที่โจรบูชา แต่แท้ที่จริงแล้ว ถ้าคนไม่ดีบูชาเจ้าแม่กาลี ก็จะมีอันเป็นไปในเร็ววัน วิธีการบูชาเจ้าแม่กาลีจะต้องถวายน้ำ นมและดอกไม้ ผลไม้ และเอกไม้ที่พระแม่โปรดปรานคือ ดอกชบาแดง ผู้บูชาต้องสวดบทบูชาเจ้าแม่กาลีทั้งเช้าเย็นว่า"โอม ศรี มหากาลิกาไย นะมะห์" โอม เจมาตากาลี โอม สตี เยมา ตา กาลี โอม ศรี มหากาลี มาตา นมัช เลือกบทที่ชอบ และคุ้นชิน หรือ ทำสมาธิถวายปรานแก่องค์พระแม่เพื่อเป็นอันหนึ่งอันเดียวกับพระแม่ ห เจ้าแม่กาลีที่มีชื่อเสียงที่สุดในประเทศไทยคือที่วัดแขก สีลม ผู้ที่ประสบเคราะห์กรรมโดนรังแก สามารถไปไหว้ท่านเพื่อแก้ไขดวงชะตาได้.

ใหม่!!: พระปารวตีและกาลี · ดูเพิ่มเติม »

รามายณะ

พระรามประทับบนไหล่หนุมาน เข้าต่อรบกับพญายักษ์ราวณะ (ทศกัณฐ์), ภาพวาดบนกระดาษ, ศิลปะอินเดีย, ประมาณคริสต์ทศวรรษที่ 1820 (สมบัติของบริติชมิวเซียม) รามายณะ (रामायण) เป็นวรรณคดีประเภทมหากาพย์ของอินเดีย เชื่อว่าเป็นนิทานที่เล่าสืบต่อกันมายาวนานในหลากหลายพื้นที่ของชมพูทวีป แต่ผู้ได้รวบรวมแต่งให้เป็นระเบียบครั้งแรกคือฤๅษีวาลมีกิ เมื่อกว่า 2,400 ปีมาแล้ว โดยประพันธ์ไว้เป็นบทร้อยกรองประเภทฉันท์ภาษาสันสกฤต เรียกว่า โศลก จำนวน 24,000 โศลกด้วยกัน โดยแบ่งเป็น 7 ภาค (กาณฑ์ หรือ กัณฑ์) ดังนี้.

ใหม่!!: พระปารวตีและรามายณะ · ดูเพิ่มเติม »

ศาสนาฮินดู

ัญลักษณ์ “โอม” สัญลักษณ์ของศาสนาฮินดู หมายถึงพระตรีมูรติ เทพเจ้าผู้เป็นใหญ่ทั้ง 3 ศาสนาฮินดู (Hinduism) หรือ สนาตนธรรม เป็นศาสนาแบบพหุเทวนิยมที่พัฒนาการต่อมาจากศาสนาพราหมณ์ จึงมักเรียกรวมกันว่าศาสนาพราหมณ์-ฮินดู ไม่ปรากฏแน่ชัดว่าใครเป็นศาสดา มีพระเวทเป็นคัมภีร์หลัก มีศาสนิกชนมากเป็นอันดับที่ 3 ของโลก มีจำนวนประมาณ 900 ล้านคน ศาสนานี้นับถือเทพเจ้าหลายองค์ เรียกว่า "พหุเทวนิยม" เทพเจ้าแต่ละองค์ในแต่ละยุคสมัย มีบทบาท และตำนานต่างกันไป ในแต่ละท้องถิ่นยังมีความเชื่อเกี่ยวกับเทพเจ้าองค์หนึ่งๆ แตกต่างกันไปด้วย โดยทั่วไปถือว่าชาวฮินดูเชื่อว่ามีเทพเจ้าสูงสุด ที่ได้อวตารแยกร่างออกมาเป็น 3 องค์ เรียกว่า "ตรีมูรติ" คือ.

ใหม่!!: พระปารวตีและศาสนาฮินดู · ดูเพิ่มเติม »

อุสุภราช

ทวรูปโคนนทิที่ปราสาทหินพนมรุ้ง จังหวัดบุรีรัมย์ อุสุภราช หรือ นนทิ (Nandi; สันสกฤต: नंदी) เป็นชื่อโคเผือกที่เป็นพาหนะของพระศิวะ กำเนิดมาจากเมื่อครั้งกวนเกษียณสมุทร พระกัศยปะต้องการให้นางโคสุรภีเป็นพาหนะประจำพระองค์ แต่ติดว่านางโคสุรภีเป็นโคเพศเมีย หากจะเป็นโคพาหนะจึงควรเป็นโคเพศผู้มากกว่า พระกัศยปะจึงได้เนรมิตรโคเพศผู้ขึ้นมาให้สมสู่กับนางโคสุรภี ลูกโคที่เกิดมาเป็นโคสีขาวปลอดเพศผู้ลักษณะดีคือ โคอุสุภราช พระกัศยปะจึงได้ประทานชื่อให้ว่า นนทิ หรือ นันทิ และได้ถวายให้เป็นพระพาหนะแด่พระศิวะ อีกตำนานหนึ่งของการกำเนิดโคอุสุภราช กล่าวว่า เดิมทีเป็นเทพบุตรองค์หนึ่งชื่อ นนทิ เป็นเทพที่ดูแลบรรดาสัตว์ 4 ขาต่าง ๆ ที่เชิงเขาไกรลาส และมักเนรมิตรตนให้เป็นโคเผือกสีขาวเพื่อเป็นพาหนะของพระศิวะเมื่อเสด็จไปยังที่ต่าง ๆ โคอุสุภราชในความเชื่อของชาวฮินดูไม่เพียงแต่เป็นสัตว์พาหนะตัวหนึ่งเท่านั้น แต่ยังได้รับการบูชาดุจดั่งเทพเจ้าองค์หนึ่ง ดังนั้น โคหรือวัวสำหรับชาวฮินดูจึงถือเป็นสัตว์ศักดิ์สิทธิ์ ชาวฮินดูจึงไม่ฆ่าโคและกินเนื้อวัว ในพิธีการมงคลแบบฮินดู พราหมณ์จะนำมูลโคมาเจิมหน้าผาก ถือว่าเป็นมงคลประการที่ 7 และในวิหารบูชาพระศิวะมักมีรูปปั้นโคอุสุภราชนี้ประดิษฐานที่กลางวิหารด้วย ด้วยถือว่าเป็นสัญลักษณ์หนึ่งขององค์พระศิว.

ใหม่!!: พระปารวตีและอุสุภราช · ดูเพิ่มเติม »

ทุรคา

ระแม่ทุรคาทรงปราบอสูรในลักษณะ 18 กร พระแม่ทุรคา (ทุรฺคา) หรือ พระศรีมหาทุรคาเทวี หรือ พระแม่มหิษาสุรมรรทินี เป็นปางหนึ่งของ พระอุมาเทวี มีความหมายว่า "ผู้เข้าถึงได้ยาก" ไม่ว่าทั้งเทพเจ้า มนุษย์ อสูร แม้แต่พระศิวะ พระพรหม หรือพระวิษณุ ก็ไม่อาจสังหารมหิษาสูรได้ มีเพียงหญิงสาวที่ไม่ได้เกิดอย่างธรรมชาติ และเป็นหนึ่งในอำนาจทั้งหมดของจักรวาล ซึ่งก็คือพระแม่ทุรคา ซึ่งเกิดจากอำนาจทั้งปวงของเหล่าเทพเจ้า ในช่วงประมาณเดือนกันยายน-ตุลาคมของทุกปี จะมีการบูชาพระแม่ทุรคาเรียกว่า เทศกาลนวราตรีดุเซร่า มีการฉลองถึง ๙ วัน ๙ คืนด้วยกัน ในประเทศไทย งานฉลองนี้จะมีขึ้นประจำทุกปีที่วัดพระศรีมหาอุมาเทวี หรือ วัดแขกสีลม เขตบางรัก โดยมีการแห่ไปตามท้องถนนในเวลากลางคืนด้วยดอกดาวเรืองและสิ่งบูชาต่าง.

ใหม่!!: พระปารวตีและทุรคา · ดูเพิ่มเติม »

ตรีเทวี

ตรีเทวีหรือตรีศักติ (Tridevi, त्रिदेवी) คือ การอวตารรวมของภาคของมหาเทวีสูงสุดทั้งสามองค์ในศาสนาฮินดู อันได้แก่ พระแม่ปารวตี (พระมเหสีของพระศิวะ) พระลักษมี (พระมเหสีของพระวิษณุ(พระนารายณ์)) และ พระสุรัสวดี (พระมเหสีของพระพรหม) ซึ่งมหาเทวีสามองค์นี้คือพระผู้เป็นใหญ่ในศาสนาฮินดูนิกายศักติ(นิกายใหญ่ในศาสนาฮินดูที่นับถือพระแม่เป็นหลัก) หมวดหมู่:เทพเจ้าฮินดู หมวดหมู่:เทวีในศาสนาฮินดู.

ใหม่!!: พระปารวตีและตรีเทวี · ดูเพิ่มเติม »

ปุราณะ

ระนางอัมพิกะ หรือทุรคา นำ'''มาตฤกา'''ทั้งแปด ไปรบกับอสูรชื่อ '''รักตพีช''' จากเรื่อง "เทวีมาหาตมยัม" ในคัมภีร์'''มารกัณเฑยปุราณะ''' ปุราณะ (पुराण, purāṇa, เก่าแก่, โบราณ) เป็นชื่อคัมภีร์ที่สำคัญประเภทหนึ่งในศาสนาฮินดู (หรือศาสนาเชน และพุทธศาสนา) โดยมากจะเป็นเรื่องเล่าว่าด้วยประวัติของจักรวาล นับตั้งแต่การสร้าง จนถึงการทำลาย (ประลัย) ลำดับพงศ์กษัตริย์ วีรบุรุษ ฤษี ทวยเทพ ตลอดจนจักรวาลวิทยา ปรัชญา และภูมิศาสตร์ของฮินดูด้วย เนื้อหาในปุราณะมักจะเน้นเทพเจ้าองค์ใดองค์หนึ่งโดยเฉพาะ เด่นด้วยแนวคิดเชิงศาสนาและปรัชญา ดำเนินเรื่องให้มีบุคคล (มักจะเป็นฤษี) เป็นผู้เล่าเรื่องให้อีกคนหนึ่งฟัง คัมภีร์ปุราณะแบ่งเป็น 2 กลุ่มใหญ่ ๆ คือ มหาปุราณะ และอุปปุราณ.

ใหม่!!: พระปารวตีและปุราณะ · ดูเพิ่มเติม »

โยนี

นี (vulva) ประกอบด้วยแคม ทั้งแคมใหญ่และแคมเล็ก, ปุ่มกระสัน, ปากของ"ท่อปัสสาวะ" (urethra), และปากช่องคลอ.

ใหม่!!: พระปารวตีและโยนี · ดูเพิ่มเติม »

เทวีในศาสนาฮินดู

ในศาสนาฮินดู เทวี (देवी) หมายถึง เทวดาผู้หญิง.

ใหม่!!: พระปารวตีและเทวีในศาสนาฮินดู · ดูเพิ่มเติม »

เขาไกรลาส

กรลาส แผนที่แสดงที่ตั้ง เขาไกรลาส (कैलास ไกลาส; ทิเบต: གངས་རིན་པོ་ཆེ; 冈仁波齐峰; พินอิน: Gāngrénbōqí fēng) เป็นยอดเขาแห่งหนึ่งของเทือกเขาหิมาลัย ตั้งอยู่ในทิศตะวันตกของเขตปกครองตนเองทิเบต ทางตอนเหนือของยอดเขานันทาเทวีราว 100 ไมล์ มีความสูง 22,020 ฟุต จัดว่าเป็นยอดเขาสูงเป็นอันดับที่ 32 ของโลก และสูงเป็นที่ 19 ในบรรดายอดเขาของเทือกเขาหิมาลัย เป็นยอดเขาที่มีอายุกำเนิดมาจนถึงปัจจุบัน 50 ล้านปี ในศาสนาฮินดูเชื่อว่าเขาไกรลาสเป็นที่ประทับของพระศิวะ ในศาสนาพุทธมีคัมภีร์สารัตถปกาสินีระบุว่าเขาไกรลาสเป็นเขาที่ประเสริฐสุดในบรรดาภูเขาในป่าหิมพานต์ และยังปรากฏในศาสนาเชนและศาสนาบอนด้วย ตามความเชื่อของศาสนาต่าง ๆ เหล่านี้ เขาไกรลาสเป็นศูนย์กลางของจักรวาล และเชื่อว่า คือแห่งเดียวกันกับเขาพระสุเมรุ เชิงเขาไกรลาส เป็นต้นกำเนิดของแม่น้ำสำคัญหลายสายของภูมิภาคแห่งนี้ ได้แก่ แม่น้ำคงคา แม่น้ำสินธุ และยังมีทะเลสาบอีก 7 แห่งอยู่รายรอบ ซึ่งแห่งที่สำคัญ คือ "ทะเลสาบมานสโรวระ" หรือ "ทะเลสาบมานัสสะ" อยู่ทางเหนือของเขาไกรลาส ที่เชื่อกันว่า คือ "สระอโนดาต" ในป่าหิมพานต์ เชื่อกันว่าเป็นสถาน ๆ ที่เป็นต้นกำเนิดของหงส์ และหงส์จะบินกลับมาที่นี่ทุกปี ทะเลสาบมานัส ได้ถูกอ้างอิงถึงในรามายณะและมหาภารตะ ที่ระบุว่า "ทะเลสาบมานัสอันศักดิ์สิทธิ์นี้ แม้แต่ใครได้ถูกต้องสัมผัสหรือนำเอามาล้างร่างกายหรือได้อาบน้ำในทะเลสาบนี้ ผู้นั้นจะได้ไปสู่สรวงสวรรค์ และถ้าใครได้ดื่มน้ำในทะเลสาบศักดิ์สิทธิ์นี้ ก็จะได้ขึ้นไปอยู่ในสวรรค์ใกล้ที่สถิตของพระศิวะ" เขาไกรลาส ปกติจะปกคลุมด้วยหิมะและน้ำแข็งสีขาวโพลน จนได้อีกชื่อหนึ่งว่า "ภูเขาสีเงิน" ("ไกรลาส" หรือ "ไกลาส" เป็นคำวิเศษณ์ในภาษาสันสกฤต แปลว่า "สีเงินยวง") ทุกปีจะมีผู้จารึกแสวงบุญตามศาสนาต่าง ๆ เดินทางมาที่นี่ โดยเชื่อว่าเป็นการบูชาและได้อยู่ใกล้พระศิวะ โดยทำการประทักษิณให้ครบ 39 รอบ เป็นการเคารพบูชาอันสูง.

ใหม่!!: พระปารวตีและเขาไกรลาส · ดูเพิ่มเติม »

เปลี่ยนเส้นทางที่นี่:

Parvatiบรรพตีพระอุมาพระอุมาภควตีพระอุมาเทวีพระแม่อุมาเทวีพระแม่ปารวตีพระแม่ปาราวตีปารวตีปาราวตีปาวรตีปาวารตีนางปารวตี

ขาออกขาเข้า
Hey! เราอยู่ใน Facebook ตอนนี้! »