โลโก้
ยูเนี่ยนพีเดีย
การสื่อสาร
ดาวน์โหลดได้จาก Google Play
ใหม่! ดาวน์โหลด ยูเนี่ยนพีเดีย บน Android ™ของคุณ!
ฟรี
เร็วกว่าเบราว์เซอร์!
 

รายชื่อตัวละครในรามเกียรติ์

ดัชนี รายชื่อตัวละครในรามเกียรติ์

ไม่มีคำอธิบาย.

103 ความสัมพันธ์: ชมพูทวีปชิวหาพญาทูษณ์พระพรหมพระพรตพระพิราพพระพิรุณพระพิฆเนศพระพนัสบดีพระยาขรพระรามพระราหูพระฤๅษีโคดมพระลักษมีพระลักษมณ์พระวิษณุพระศิวะพระสัตรุดพระสุรัสวดีพระอินทร์พระขันทกุมารพระปารวตีพระนารายณ์พระแม่มาเหศวรีพระเกตุพฤหัสบดีพัทกาวีพิเภกพุธการุณราชกาลสูรกุมภกรรณกุมภกาศกุมภัณฑ์ภานุราชมหาชัยมหากายมหายมยักษ์มังกรกัณฐ์มารีศมโหทรยมรัชฎารัชฎาสูรรามสูรรามเกียรติ์รายชื่อตัวละครในรามเกียรติ์วิรุณจำบังวิศวกรรมศาสตร์วิสุทธิ...ศุกร์สหัสเดชะสุชาดาสุจิตราสุนันทาหิมพานต์อรชุนอังคารอาทิตย์อิทธิกายอินทรชิตผีเสื้อจักรวรรดิจันทร์ทศกัณฐ์ทศคีรีวัน ทศคีรีธรท้าวกุเวรท้าววิรุฬหกท้าววิรูปักษ์ท้าวจักรวรรดิท้าวธตรฐท้าวทศรถคนธรรพ์ตรีเมฆตรีเศียรปักหลั่นนารายณ์นางกาลอัคคีนาคราชนางมณโฑนางสำมนักขานางสุพรรณมัจฉานางสีดานางอากาศตะไลนางเบญกายนนทกนนทยักษ์นนทสูรนนทจิตรนนทไพรีแม่น้ำสะโตงแม่น้ำคงคาแสงอาทิตย์โคบุตรไฟไกยเกษีไมยราพไวยวิกไวยตาลเมขลาเสาร์เทวดาเขาไกรลาสเปาวนาสูร ขยายดัชนี (53 มากกว่า) »

ชมพูทวีป

มพูทวีป มีความหมายได้ 2 ประการ ประการแรกหมายถึง ดินแดนที่เป็นประเทศอินเดีย ปากีสถาน เนปาลและบังกลาเทศในปัจจุบัน มีชื่อเรียกทางภูมิศาสตร์ที่เรียกว่า “เอเชียใต้”, “อนุทวีปอินเดีย”, หรือ “ภารตวรรษ” (Bharatavarsa) ประการที่สองหมายถึงทวีปใหญ่ทางทิศใต้ของเขาพระสุเนรุซึ่งเป็น 1 ใน 4 ทวีปของชาวภารตะ (อุตรกุรูทวีป บุพวิเทหทวีป ชมพูทวีป และอมรโคยานทวีป).

ใหม่!!: รายชื่อตัวละครในรามเกียรติ์และชมพูทวีป · ดูเพิ่มเติม »

ชิวหา

จิตรกรรมฝาผนังในพระอุโบสถวัดพระศรีรัตนศาสดาราม ห้อง 21 ตอน ทศกัณฐ์ประพาสป่าให้ชิวหาน้องเขยรักษาเมือง ชิวหา เป็นตัวละครในวรรณกรรมเรื่องรามเกียรติ์ เป็นน้องเขยของทศกัณฐ์ สามีของนางสำมนักขา มีลักษณะกายสีหงเสน ยอดน้ำเต้ากลม ตาจระเข้ ปากแสยะ แลบลิ้น เมื่อครั้งนั้น ทศกัณฐ์ไปประพาสป่า จึงให้น้องเขยเฝ้าเมืองไว้ ฝ่ายชิวหา เมื่อได้รับหน้าที่ก็ทำหน้าที่อย่างดี ชิวหา เป็นยักษ์ที่มีฤทธิ์เดช คือมีลิ้นที่ยาวและใหญ่ สามารถใช้ในการศึกได้ เมื่อชิวหาได้รับหน้าที่มา ก็จัดยามตามไฟรักษาเมืองไม่ได้หลับไม่ได้นอน จนวันที่ 7 ชิวหา ก็ทนความง่วงไม่ไหว จึงเนรมิตกายให้ใหญ่โต แล้วแลบลิ้นไปปิดเมืองลงกาไว้ แล้วหลับไป ฝ่ายทศกัณฐ์ เมื่อกลับมาจากประพาสป่า มองไม่เห็นเมืองลงกา ก็เข้าใจว่าเป็นอุบายของศัตรูบดบังเมืองไว้ ด้วยความโกรธ จึงขว้างจักร อาวุธของตนไปตัดลิ้นชิวหาทันที ชิวหาถูกตัดลิ้นขาดไปก็สิ้นใจลง นางสำมนักขาเสียใจมาก จึงไปเที่ยวป่าแล้วเจอกับพระราม จนเป็นปฐมเหตุของสงครามครั้งนี้ในที่สุด หมวดหมู่:ตัวละครในรามเกียรติ์.

ใหม่!!: รายชื่อตัวละครในรามเกียรติ์และชิวหา · ดูเพิ่มเติม »

พญาทูษณ์

ญาทูษณ์ หรือ พญาทูต (ทูษณ์ หรือ ทูต - พญายักษ์ (อสุรพงศ์)) เป็นตัวละครจากวรรณกรรมเรื่อง "รามเกียรติ์" เป็นโอรสองค์ที่ ๕ ของท้าวลัสเตียนกับนางรัชฎา น้องชายร่วมบิดามารดาของทศกัณฐ์เป็นกษัตริย์เมืองจารึกองค์ที่ ๑ มีบทบาทแค่ตอนที่ นางสำมนักขา ผู้เป็นน้องสาว แค้น พระรามและได้มาขอความช่วยเหลือ ให้ไปฆ่าพระราม และสามารถหักศรพระรามได้ แต่พระรามก็ได้เอา คันธนูที่ รามสูร ให้ไว้ สุดท้าย พระยาทูษณ์ ก็โดนพระรามแผลงศร ตายในที.

ใหม่!!: รายชื่อตัวละครในรามเกียรติ์และพญาทูษณ์ · ดูเพิ่มเติม »

พระพรหม

ระพรหม (ब्रह्मा; Brahma; బ్రహ్మ) เป็นเทพเจ้าสูงสุด (ตรีมูรติ) ในคติของศาสนาฮินดู เป็นเทพเจ้าแห่งการสร้างสรรค์ ความเมตตา เป็นพระผู้สร้างโลกและให้กำเนิดสิ่งต่าง ๆ ในจักรวาล และให้กำเนิดคัมภีร์พระเวท พระพรหมมีสี่พักตร์ พระศอสวมลูกประคำ พระหัตถ์แต่ละข้างถือดอกบัว, คัมภีร์ และหม้อน้ำ มีพาหนะเป็นหงส์ หรือ ห่าน พระชายา คือ พระสุรัสวดี เทพีแห่งศิลปะวิทยาการและความรอบรู้ ในคัมภีร์มัตสยาปุราณะเล่าว่า พระพรหมเดิมทีมีถึงห้าพักตร์ การที่มีห้าพักตร์เกิดจาก การที่พระพรหมให้ได้กำเนิดผู้หญิงนางหนึ่งชื่อ ศตรูป ขึ้นมา ความงามของศตรูปทำให้พระองค์หลงใหล เมื่อศตรูปนี้เคลื่อนไปทางใด พระพรหมก็จะหันพระพักตร์เพื่อมองตามไปด้วย แต่ว่ามีครั้งหนึ่งที่พระพรหมไปดูแคลนพระศิวะเข้า ทำให้พระศิวะพิโรธ และใช้ไฟบรรลัยกัลป์จากพระเนตรที่สามที่กลางพระนลาฏเผาพระพักตร์ที่อยู่ด้านบนเศียรของพระพรหม จนเหลือเพียงสี่พักตร์ แต่อีกความเชื่อหนึ่งเล่าว่า เพราะพักตร์ด้านบนของพระพรหมนั้นเจิดจรัสมาก ทำให้พวกสุระและอสุระทนไม่ได้ จึงขอร้องให้พระศิวะเป็นผู้ตัดให้ และยังเชื่อด้วยว่าพระพรหมเป็นผู้สร้างบุคคลในวรรณะต่าง ๆ จากอวัยวะแต่ละส่วน ได้แก่ พราหมณ์เกิดจากพระโอษฐ์, กษัตริย์ เกิดจากอก, แพศย์เกิดจากส่วนท้อง และศูทรเกิดจากเท้า ตามมติของพราหมณาจารย์แต่โบราณกล่าวถึงตำราพรหมชาติ ว่าเป็นตำราที่มาจากพรหม ตำราพุทธลักษณะที่ฤษีแต่งไว้ก็มาจากพรหม เหตุที่รู้เห็นถึงพุทธลักษณะได้เพราะพรหมเป็นผู้มีอายุยืนและได้รู้เห็นเรื่องราวต่างๆอยู่ตลอดกาลนาน เมื่อเวลาพราหมณ์หนุ่มเที่ยวสืบหาที่เรียนและทำความเคารพนบนอบในผู้เฒ่าผู้แก่อยู่นั้น พระพรหมเห็นแก่ความกรุณา พอทราบเรื่อง จึงได้แปลงเพศมาเป็นพราหมณ์ฤษีแล้วบอกวิชา ทั้งเรื่องมนต์ ไสยเวท ตำราพยากรณ์ ตำราดูลักษณะของหมอดู ต่างๆนั้นเองพราหมณ์จึงถือว่ามาจากพรหม และจึงได้นับถือกันว่าเป็นของศักดิ์สิทธิ์มีความงดงาม แม้คัมภีร์ปิงคละดาบส ตำราโตลกจือโหราศาสตร์จีน ถึงตลอดคัมภีร์โหราศาสตร์ในรุ่นหลังๆ ก็ได้กล่าวว่าได้มาแต่ฤษีและเทวะบันดาล อาจารย์ผู้ที่เรียนรู้ไว้ต่างกล่าวถึงสิ่งมงคลนี้ในทำนองเดียวกัน ในคติของชาวไทยที่รับคติความเชื่อจากศาสนาพรหมณ์-ฮินดู เชื่อว่าพระพรหมเป็นผู้ลิขิต ชะตาชีวิตของบุคคลต่าง ๆ ตั้งแต่เกิดจนตาย เรียกว่า "พรหมลิขิต" และผู้ใดที่บูชาพระพรหมอยู่เป็นนิจ พระองค์จะประทานพรให้สมหวัง เรียกว่า "พรพรหม" หรือ "พรหมพร" และยังเป็นเทพประจำทิศเบื้องบนอีกด้วย ด้วยเหตุดังนี้ พระพรหมจึงมีพระนามต่าง ๆ อาทิ "พรหมธาดา" หรือ "ประชาบดี" (ผู้สร้าง), "หงสรถ" หรือ "หงสวาหน" (ผู้มีหงส์เป็นพาหนะ), "จตุรพักตร์" (ผู้มีสี่หน้า), "ปรเมษฐ์" (ผู้ประเสริฐ) เป็นต้น ส่วนในลิลิตโองการแช่งน้ำเรียกว่า "ขุนหงส์ทองเกล้าสี่" โดยความหมายของคำว่า "พรหม" หมายถึง "ความเจริญ, ความกว้างขวาง, ความขยายตัว หรือความเบิกบาน" ดังนั้นตามคติและวัตรปฏิบัติต่าง ๆ ทั้งในศาสนาพราหมณ์-ฮินดู และพุทธศาสนาจึงมีคำว่า พรหม ประกอบคำศัพท์ เช่น "พรหมจรรย์", "พรหมบุตร" หรือ "พรหมวิหาร 4" เป็นต้น.

ใหม่!!: รายชื่อตัวละครในรามเกียรติ์และพระพรหม · ดูเพิ่มเติม »

พระพรต

ระพรต เป็นตัวละครในเรื่องรามเกียรติ์ มีกายสีแดง (คือจักรแก้วของพระนารายณ์ที่อวตารลงมาพร้อมกับพระราม) เป็นโอรสของท้าวทศรถกับพระนางไกยเกษี คำว่า "พรต" มีความหมายว่า "พระ" (พงศ์นารายณ์ - วงศ์กษัตริย์แห่งเมืองอโยธยา).

ใหม่!!: รายชื่อตัวละครในรามเกียรติ์และพระพรต · ดูเพิ่มเติม »

พระพิราพ

thumb พระพิราพ (อสูรเทพบุตร) มีลักษณะคือ หน้ากางคางออก เรียกว่าหน้าจาวตาล สีม่วงแก่ หรือสีน้ำรัก หรือสีทอง ปากแสยะ ตาจระเข้ เขี้ยวทู่หรือเขี้ยวตัด หัวโล้น สวมกะบังหน้า ตอนทรงเครื่องสวมมงกุฎยอดเดินหน กายสีม่วงแก่ 1 พักตร์ 2 กร มีกายเป็นวงทักขิณาวัฎ พระพิราพ เป็นครูสูงสุดทั้งฝ่ายนาฏศิลป์และดุริยางค์ศิลป์ โดยเชื่อกันว่า พระองค์นั้น เป็นภาคหนึ่งของพระอิศวร ซึ่งในคติดั่งเดิมเรียกพระองค์ว่าพระไภรวะ หรือไภราวะ หรือพระไภราพ เมื่อนาฏดุริยางค์ศิลป์ของไทยเรานับเอาศาสตร์แขนงนี้มาจากอินเดีย คติการนับถือพระอิศวรนารายณ์ทวยเทพทั้งหลายรวมไปถึงพระไภรวะจึงติดตามมาด้วย แต่เมื่อเข้ามาในไทยเราแล้วมีการเรียกนามพระองค์เพี้ยนไปจากเดิมเป็นพระพิราพ คติการนับถือพระพิราพกับการแสดงนาฏศิลป์และดุริยางค์ศิลป์ ปรากฏหลักฐานมาแต่สมัยกรุงศรีอยุธยา และมีการบันทึกหลักฐานเป็นที่แน่ชัดในราวรัชกาลที่ 2 พระพิราพถือเป็นครูยักษ์ เป็นเทพอสูร และเป็นมหาเทพ (ศิวะอวตาร) แต่เนื่องจากนามของพระองค์คล้ายคลึงกับตัวละครตัวหนึ่งในเรื่องรามเกียรติ์ซึ่มมีลักษณะเป็นยักษ์เช่นกันคือยักษ์วิราธ และนิยมเรียกเพี้ยนเป็นยักษ์พิราพ ทำให้บรมครูสูงสุดกับตัวละครตัวนี้เกิดความสับสนปนเปกัน ในปัจจุบันทางกรมศิลปากรได้มีการชำระประวัติของพระพิราพ โดยนักวิชาการ และมีการเผยแพร่สร้างความเข้าใจให้แก่บุคคลทั่วไป แต่ก็ยังไม่เป็นที่แพร่หลาย ในปัจจุบันนี้คติการนับถือพระพิราพแพร่หลายมากขึ้น เนื่องจากครูบาอาจารย์หลายสำนักนิยมนำพระองค์มาสร้างเป็นวัตถุมงคล อย่างไรก็ตามเพื่อเป็นประโยชน์แก่การศึกษา ผู้บูชาจึงควรศึกษาประวัติของท่านให้ถ่องแท้ด้ว.

ใหม่!!: รายชื่อตัวละครในรามเกียรติ์และพระพิราพ · ดูเพิ่มเติม »

พระพิรุณ

ระพิรุณ หรือ พระวิรุณ หรือ พระวรุณ (वरुण) เป็นเทพเจ้าแห่งฝน ตามคติของศาสนาฮินดู เป็นโลกบาลทิศประจิม (ทิศตะวันตก) มีผิวสีขาวผ่อง ถือบ่วงบาศและอาโภค ทรงจระเข้เป็นพาหนะ (หรือนาค หรือมกร) ในหนังสือพระนลคำหลวง พระราชนิพนธ์ในพระบาทสมเด็จพระมงกุฏเกล้าเจ้าอยู่หัวระบุว่า พิรุณเป็นนามของพระสุริยะ เป็นลูกนางอทิติ เป็นเทพแห่งความเป็นธรรม พระพิรุณยอมรู้ว่าผู้ใดทำอะไร ย่อมรู้ว่าผู้ใดกะพริบตากี่ครั้ง ใครทำบาป เมื่อมีผู้ทำบาปพระพิรุณจักใช้บ่วงคล้องผู้นั้นไปหาพญายมราชเพื่อนำไปลงทัณฑ์ ในพระเวทเรียก "เจ้าฟ้าอันอยู่ทั่วไป" ภายหลังได้ฉายาว่า "สินธุปติ" แปลว่า "เจ้าน้ำทั่วไป" ในมหาภารตะ พระพิรุณเป็นบุตรพระฤๅษีกรรทม พรหมบุตร พระพิรุณในความเชื่อของคนไทยว่าเป็นผู้ให้ฝน ให้น้ำ ถือพระขรรค์ ทรงพญานาค หรือมกร เป็นพาหนะ จึงเป็นสัญลักษณ์ของหน่วยงานราชการที่เกี่ยวกับการเกษตร อาทิ กระทรวงเกษตรและสหกรณ์ หรือมหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร.

ใหม่!!: รายชื่อตัวละครในรามเกียรติ์และพระพิรุณ · ดูเพิ่มเติม »

พระพิฆเนศ

ระคเณศ (गणेश பிள்ளையார் Ganesha) ชาวไทยนิยมเรียกว่า พระพิฆเนศ (विघ्नेश) พระพิฆเณศวร พระพิฆเณศ หรือ พระคณปติ ทรงเป็นเทพในศาสนาฮินดู ทรงเป็นเทพแห่งความสำเร็จ ทั้งยังทรงเป็นเทพแห่งศิลปวิทยาการและการประพันธ์ ทรงเป็นหัวหน้านำคณะข้ามความขัดข้อง (ผู้เป็นใหญ่เหนือความขัดข้อง).

ใหม่!!: รายชื่อตัวละครในรามเกียรติ์และพระพิฆเนศ · ดูเพิ่มเติม »

พระพนัสบดี

ระพนัสบดี พระพุทธรูปศิลาสมัยทวารวดี(พระพนัสบดี)ได้ขึ้นทะเบียนเป็นโบราณวัตถุแล้ว โดยสันนิษฐานว่าพระพนัสบดีองค์จริงนั้น สร้างขึ้นในสมัยทวารวดี และพระพนัสบดีองค์จำลอง ประดิษฐาน ณ หอพระพระพนัสบดี อำเภอพนัสนิคม จังหวัดชลบุรี จัดเป็นพระพุทธรูปที่มีพุทธลักษณะงดงามในประเทศไทยองค์หนึ่ง.

ใหม่!!: รายชื่อตัวละครในรามเกียรติ์และพระพนัสบดี · ดูเพิ่มเติม »

พระยาขร

ระยาขร (ขร - พญายักษ์ (อสุรพงศ์)) เป็นตัวละครจากวรรณกรรมเรื่องรามเกียรติ์ มีรูปลักษณ์สีเขียว ๑ หน้า ๒ มือ มงกุฎจี.

ใหม่!!: รายชื่อตัวละครในรามเกียรติ์และพระยาขร · ดูเพิ่มเติม »

พระราม

ระราม (राम รามะ) เป็นตัวละครเอกในเรื่องรามเกียรติ์ ซึ่งชาวฮินดูเชื่อว่าเป็นร่างอวตารปางที่ 7 ของพระวิษณุ อวตารลงมาเป็นโอรสท้าวทศรถและนางเกาสุริยา มีพระวรกายเป็นสีเขียว ทรงธนูเป็นอาวุธ มีศรวิเศษสามเล่มคือ ศรพรหมมาตร ศรอัคนิวาต และศรพลายวาต เวลาสำแดงอิทธิฤทธิ์จะปรากฏเป็น 4 มือ ทรงเทพอาวุธ ตรี คฑา จักร สังข์ พระรามมีพระอนุชาร่วมพระบิดา 3 พระองค์ ได้แก่ พระพรต พระลักษมณ์ และพระสัตร.

ใหม่!!: รายชื่อตัวละครในรามเกียรติ์และพระราม · ดูเพิ่มเติม »

พระราหู

ระราหู (राहु ราหู) เป็นอสูรและเทวดานพเคราะห์องค์หนึ่งตามคติของศาสนาฮินดูและศาสนาพุท.

ใหม่!!: รายชื่อตัวละครในรามเกียรติ์และพระราหู · ดูเพิ่มเติม »

พระฤๅษีโคดม

พระฤๅษีโคดม หรือ ท้าวโคดมผู้ครองนครสาเกด ไม่มีธิดาและโอรส เกิดความเบื่อหน่ายราชสมบัติจึงออกผนวชเป็นดาบสบำเพ็ญพรตสองพันปี จนหนวดเครารกรุงรัง ยังมีนกกระจาบป่าสองตัวผัวเมียเวียนออกไข่ที่หนวดเคราพระฤๅษี จนบังเกิดเหตุ นกตัวผู้ออกไปหากินชะมดอกบัวจนมืดค่ำ กลีบดอกบัวหุบลงมากักตัวไว้ เช้าวันรุ่งขึ้นดอกบัวคลี่บาน จึงบินกลับรัง เล่าเรื่องราวให้นางนกฟัง แต่นางนกไม่ยอมเชื่อ หาว่าไปติดนกสาวตัวอื่น ฝ่ายนกตัวผู้จึงสาบานตนว่า ถ้าเป็นเช่นนั้นจริง ขอรับเอาบาปของดาบสไว้แก่ตนเอง พระฤๅษีจึงถามว่าตนมีบาปข้อใดจึงจะรับเอาไป นกกระจาบตัวผู้ตอบว่า มีบาปที่ไม่มีโอรสและธิดา หนีออกจากเมืองมา จึงไม่มีผู้สืบราชสมบัตินับเป็นบาปอย่างยิ่ง พระมหาดาบสตรึกตรองก็เห็นพ้องกับนก จึงโกนหนวดเครา แล้วทำพิธีกองกูณฑ์บูชาไฟ หลับตาบริกรรมคาถา บังเกิดนางขึ้นกลางไฟ งดงามยิ่งนัก ให้ชื่อว่า นางกาลอัจนา อยู่ด้วยกันต่อมาจนได้ธิดาชื่อว่า สวาหะ เมื่อฤๅษีโคดมออกป่า พระอินทร์ต้องการแบ่งกำลังฤทธิ์ไว้คอยช่วยพระนารายณ์อวตาร ก็เลยแอบมาเกี้ยวพานางกาลอัจนา และสัมผัสกายนาง นางจึงตั้งครรภ์คลอดบุตรเป็นชาย มีกายสีเขียวอ่อนดังมรกต พระฤๅษีหลงรักยิ่งกว่าราชบุตรีเสียอีก ต่อมานางกาลอัจนาเกิดหลงรักพระอาทิตย์ พระอาทิตย์ต้องการแบ่งกำลังฤทธิ์ไว้คอยช่วยพระนารายณ์อวตารเช่นกัน จึงลงมาหานาง ลูบหน้าลูบหลังนางด้วยความยินดี นางก็ตั้งครรภ์ คลอดบุตรเป็นชาย ผุดผ่องดั่งดวงตะวัน วันหนึ่งพระฤๅษีโคดมพาลูกน้อยทั้งสามไปเล่นน้ำ ลูกชายคนโตขี่หลัง ลูกชายคนเล็กอุ้มไว้ ลูกสาวเดินตาม นางสวาหะคับแค้นใจจึงบ่นว่า “ ทีลูกตัวเองให้เดินดิน ลูกเขาล่ะก็ทั้งอุ้มทั้งขี่หลัง ” พระฤๅษีเอะใจในคำนางสวาหะ จึงซักถามจนได้ความ พระฤๅษีจึงยกมือพนม ตั้งสัตย์อฐิษฐานจะโยนเด็กทั้งสามลงกลางน้ำ ถ้าเป็นลูกตนให้ว่ายกลับมาหา ถ้าเป็นลูกชายคนอื่นให้เป็นลิงป่า อย่าว่ายคืนกลับมา นางสวาหะว่ายกลับมา บุตรชายทั้งสองว่ายน้ำขึ้นฝั่ง กลายเป็นลิงวิ่งเข้าป่าไป พระฤๅษีจึงสาปนางกาลอัจนาให้กลายเป็นแผ่นหิน และจะต้องถูกพระรามเอาไปถมทะเลเพื่อเข้าไปกรุงลงกา นางกาลอัจนาโกรธนางสวาหะมาก จึงสาปให้อ้าปากยืนตีนเดียวเหนี่ยวกินลมกลางป่าเชิงเขาจักรวาล ต่อเมื่อมีลูกเป็นลิงที่มีอิทธิฤทธิ์เหนือลิงทั้งปวง จึงจะพ้นคำสาป หมวดหมู่:ฤๅษี.

ใหม่!!: รายชื่อตัวละครในรามเกียรติ์และพระฤๅษีโคดม · ดูเพิ่มเติม »

พระลักษมี

รูปปั้นนูนสูงของพระแม่ลักษมีประดับเทวสถานมุนีศวรัม ประเทศศรีลังกา เทวรูปพระลักษมีสำริด ศิลปะโจฬะ อินเดียใต้ พระลักษมี (ลกฺษฺมี) หรือ พระมหาลักษมี เป็นเทพีในศาสนาฮินดู โดยเป็นเทพีแห่งความร่ำรวย โชคชะตา ความรัก ความงาม ดอกบัว และความอุดมสมบูรณ์ รูปเคารพของพระแม่ลักษมีนั้นนอกจากจะพบในศาสนสถานของศาสนาฮินดูแล้ว ยังพบในศาสนสถานของศาสนาเชนและศาสนาพุทธ ในบางแห่งอีกด้วย พระลักษมีนั้นมีความคล้ายคลึงกันกับเทพีของกรีกองค์หนึ่ง คือเทพีอะโฟร์ดิตี้ โดยที่เทพีทั้งสองนี้ ถือกำเนิดจากมหาสมุทรเหมือนกัน และเป็นตัวแทนของความสวยงามเหมือนกันอีกด้วย นอกจากนั้น พระแม่ลักษมี มีกำเนิดจากฟองน้ำ ในคราวเทวดาและอสูร กวนเกษียรสมุทร น้ำอมฤต จึงได้นามว่า ชลธิชา (เกิดแต่น้ำ) หรือ กษีราพธิตนยา (พระธิดาแห่งพระสมุทร) ในขณะที่ผุดขึ้นมานั้นนั่งมาในดอกบัวและมือถือดอกบัวด้วย จึงมีอีกนามหนึ่งว่า ปัทมา หรือ กมลา แต่ในคัมภีร์วิษณุปุราณะจะกล่าวไว้ว่า พระแม่ลักษมีเป็นธิดาของพระฤๅษีภฤคุกับนางขยาติ และยังกล่าวต่อไปอีกว่าพระแม่ลักษมีเป็นมารดา พระกามเทพ ด้วย พระแม่ลักษมี ผู้ศรัทธาจะถือกันว่าเป็น เทพนารีผู้อำนวยโชค มีน้ำพระทัยเมตตาปราณีอยู่เป็นนิจ เป็นตัวอย่างแห่งนางที่งามตลอดทั้งรูปและกิริยามารยาท มีวาจาเปี่ยมด้วยเสน่ห์และไพเราะ ทั้งถือกันว่าเป็นผู้นำมาซึ่งความเจริญทุกประการ นับกันว่าเป็นผู้อุปถัมภ์บรรดาสตรีทุกชั้น ส่วนรูปมักเขียนเป็นสตรีที่งามยิ่งมี 2 กรอย่างธรรมดา (บางแห่งก็ว่ามี 4 กร) สีกายเป็นสีทองเสื้อทรงสีเหลือง นั่งหรือยืนบนดอกบัวและมือถือดอกบัว พระแม่ลักษมี เป็นชายาของ พระวิษณุ หรือ พระนารายณ์ เมื่อพระวิษณุได้อวตารเป็นพระราม พระแม่ลักษมีก็ได้อวตารตามไปเป็นนางสีดา และเมื่อพระวิษณุอวตารเป็นพระกฤษณะ ในปางกฤษณาวตาร พระวิษณุอวตารเป็น พระกฤษณะ พระแม่ลักษมีก็ไปเป็น พระนางรุกมิณี หรือ พระนางราธาเทวี ในปางปรศุรามาวตารก็ไปอวตารเป็น พระแม่ธรณี ในปางวามนาวตารก็อวตารไปเป็น พระนางกมลา เป็นต้น คติความเชื่อถือเกี่ยวกับพระแม่ลักษมีในเมืองไทยอาจเห็นว่า ไม่พบมากนักนอกจากปรากฏในวรรณคดีเรื่องรามเกียรติ์ หรือ รามายณะ ที่เสด็จอวตารลงมาเป็นนางสีดาในรามาวตาร ซึ่งเป็นชนวนเหตุของการรบ ระหว่างทศกัณฐ์ กับพระราม นอกจากนั้นก็ไม่พบได้เด่นชัดนัก.

ใหม่!!: รายชื่อตัวละครในรามเกียรติ์และพระลักษมี · ดูเพิ่มเติม »

พระลักษมณ์

ระลักษมณ์ (พงศ์นารายณ์ - วงศ์กษัตริย์แห่งกรุงอโยธยา) เป็นตัวละครในเรื่องรามเกียรติ์ พระลักษมณ์ คือพญาอนันตนาคราชที่ประทับของพระนารายณ์และสังข์ของพระนารายณ์มาเกิด เป็นโอรสของท้าวทศรถและนางสมุทรชา มีพระวรกายสีเหลืองดั่งทองทา มีพระอนุชาร่วมพระมารดา คือ พระสัตรุด พระลักษมณ์มีความจงรักภักดีต่อพระรามมาก เมื่อพระรามต้องออกเดินป่าถึง 14 ปี พระลักษมณ์ก็ได้ติดตามไปด้วย และยังช่วยออกรบกับกองทัพของกรุงลงกา อย่างกล้าหาญหลายครั้งหลายหน ทรงเคียงคู่พระรามเสมอ ในระหว่างเกิดศึกกรุงลงกา และเมื่อพระรามต้องเสด็จเดินดงเป็นครั้งที่สอง ก็ได้ทูลขอเสด็จตามไปด้วยอีก ทรงร่วมผจญหมู่มารและเหล่าศัตรูเคียงคู่พระรามหลายครั้งหลายครา พระลักษมณ์เคยได้ไปร่วมพิธียกธนูโมลีที่มิถิลา ได้ยกศรก่อนพระราม เมื่อจับศรแล้วศรขยับ แต่แกล้งทำเป็นยกไม่ได้ เพราะรู้ว่าพระรามหลงรักนางสีดาตั้งแต่แรกเห็น อีกทั้งพระลักษมณ์ก็ไม่ได้รักนางสีดาแบบชู้สาว จึงเปิดโอกาสให้พระราม พระรามจึงได้อภิเษกสมรสกับนางสีดา ในระหว่างศึกสงคราม พระลักษมณ์ได้ออกรบจนถูกอาวุธได้รับบาดเจ็บเกือบสิ้นพระชนม์ถึง 5 ครั้ง จากหอกโมกขศักดิ์ของกุมภกรรณ ศรนาคบาศกับศรพรหมาสตร์ของอินทรชิต หอกแก้ววราวุธของมูลพลัม และหอกกบิลพัทของทศกัณฐ์ แต่ฝีมือก็ไม่ได้ด้อยไปกว่าใคร ได้สังหารกุมภกาศ อินทรชิต มูลพลัม จิตรไพรี ทศคีรีวัน ทศคีรีธร พระนามของพระลักษมณ์มาจากภาษาสันสกฤต แปลว่าผู้มีเครื่องหมายอันเป็นมงคล หรือผู้ที่มีลักษณะดี.

ใหม่!!: รายชื่อตัวละครในรามเกียรติ์และพระลักษมณ์ · ดูเพิ่มเติม »

พระวิษณุ

ลปะโจฬะที่พิพิธภัณฑสถานแห่งชาตินิวเดลี ประเทศอินเดีย. ศิลปะโจฬะที่พิพิธภัณฑสถานแห่งชาตินิวเดลี ประเทศอินเดีย. พระวิษณุ (विष्णु วิษฺณุ) หรือที่รู้จักกันในพระนามอีกอย่างหนึ่งว่า พระนารายณ์ (नारायण นารายณ) เป็นหนึ่งในสามตรีมูรติ มีหน้าที่คุ้มครองแลดูแลรักษาทั้ง 3 โลกตามความเชื่อของชาวฮินดู จากคัมภีร์พราหมณ์ รูปร่างลักษณะมีพระวรกายจะมีสีที่เปลี่ยนไปตามยุค ฉลองพระองค์ดั่งกษัตริย์ มีมงกุฎทอง อาภรณ์สีเหลือง มี 4 กร ถือ สังข์ จักรสุทรรศน์ คทาเกาโมทกี แต่ที่จะพบเห็นได้บ่อยที่สุดคือถือ จักร์ สังข์ คทา ส่วนอีกกรจะถือ ดอกบัวบ้าง หรือ ไม่ถืออะไรเลยบ้าง (โดยจะอยู่ในลักษณะ"ประทานพร") โดยปรกติ พระวิษณุ จะทรงประทับอยู่ที่เกษียรสมุทร โดยส่วนมากจะบรรทมอยู่บนหลังพญาอนันตนาคราช โดยมีพระชายาคือพระแม่ลักษมีมหาเทวี คอยฝ้าดูแลปรนิบัติอยู่ข้าง ๆ เสมอ พาหนะของพระวิษณุคือ พญาครุฑ พระวิษณุ มีอีกพระนามอีกอย่างหนึ่งว่า "หริ" แปลว่าผู้ดูแลแห่งจักรวาลถือเป็นเทพสูงสุด เพราะทุกอย่างเกิดจาก "หริ" โดย"หริ"ได้แบ่งตนเองออกเป็น 3 คือ.

ใหม่!!: รายชื่อตัวละครในรามเกียรติ์และพระวิษณุ · ดูเพิ่มเติม »

พระศิวะ

ระศิวะ หรือ พระอิศวร (शिव; Shiva) หนึ่งในตรีมูรติ หรือเทพเจ้าสูงสุดสามพระองค์ตามความเชื่อในศาสนาฮินดู (อีกสององค์ ได้แก่ พระพรหม และพระวิษณุ) พระแม่อุมาเทวีประดับโปุรัม ประเทศอินเดีย. พระแม่อุมาเทวีประดับโปุรัม ประเทศอินเดีย. พระศิวะ มีรูปกายเป็นชายหนุ่มร่างกำยำ วรรณะขาว (สีผิวขาว) นุ่งห่มหนังเสือเหมือนฤๅษี มีสังวาล์เป็นลูกประคำหรือกะโหลกมนุษย์ มีงูเห่าคล้องพระศอ ไว้พระเกศายาว ซึ่งจะม้วนเป็นจุฑา (มวยผม) มีพระจันทร์เป็นปิ่น มีคงคาอยู่บนยอดจุฑา ซึ่งพ่นน้ำมาตลอด และมีดวงพระเนตร (ตาที่ 3) กลางพระนลาฏ (หน้าผาก) ซึ่งโดยปกติจะปิดอยู่เสมอ เชื่อว่าหากเปิดขึ้นเมื่อไหร่ ไฟบรรลัยกัลป์จะเผาผลาญล้างโลก (บ้างว่าเป็นพระพรหม) ถือว่าเป็นการสิ้นสุดกัปหนึ่ง ก่อนที่พระพรหมจะสร้างโลกขึ้นมาใหม่ มีพาหนะ คือ โคอุศุภราช (วัวเพศผู้สีขาวล้วน) มีชายา คือ พระอุมา เทพีแห่งความกล้าหาญ มีโอรสสององค์ คือ พระขันทกุมารและพระพิฆเนศ ประทับอยู่ ณ เขาไกรลาส อันเป็นศูนย์กลางแห่งจักรวาล ชายาอีกองค์คือพระแม่คงคา มีธิดาคือพระแม่มนสาเทวีหรือพระยามี พระศิวะเป็นเทพที่จะคอยขับไล่สิ่งชั่วร้ายให้ห่างไกล และทำให้เกิดความดีงามเป็นศิริมงคลเกิดขึ้น ผู้ที่มีความทุกข์ไม่ว่าจะเป็นในทางใด หากบวงสรวงบูชา ขอพรให้พ้นทุกข์ พระศิวะก็จะประทานพรให้ผู้นั้นได้พ้นจากห้วงแห่งความทุกข์ พระศิวะมีท่าร่ายรำอันเป็นการร่ายรำของเทพเจ้า เรียกว่า "ปางนาฏราช" เมื่อแปลงกายลงไปปราบฤๅษีที่ไม่ประพฤติตนอยู่ในเพศดาบส ซึ่งต่อมาชาวฮินดูได้ถือเอาท่าร่ายรำนี้เป็นต้นแบบของการร่ายรำต่าง ๆ มาตราบจนปัจจุบัน นอกจากนี้แล้ว พระศิวะยังถือว่าเป็นเจ้าแห่งผีหรือปีศาจอีกด้วย โดยมีพระนามเรียกว่า "ปีศาจบดี" หรือ "ภูเตศวร" นอกจากนี้แล้วพระอิศวร ยังมีพระนามอื่นอีก เช่น "รุทร", "ศังกร", "ศุลี", "นิลกัณฐ์", "หระ" หรือ "อีสาน" และยังเป็นเทพประจำทิศตะวันออกเฉียงเหนือ หรือ อีสาน อีกด้วย นอกจากนี้แล้ว ยังเชื่อว่าพระศอของพระศิวะมีสีดำ ทั้งนี้เนื่องจากพระองค์ได้ยาพิษของพญานาคไว้เมื่อครั้งกวนเกษียรสมุทรทำน้ำอมฤตเพื่อช่วยโลก ซึ่งบทหนึ่งในกามนิต-วาสิฏฐี วรรณกรรมอิงพุทธศาสนาได้อ้างถึง สีของความรักว่าเป็นสีดำ เสมือนสีคอพระศิวะ พระศิวะ ที่ประเทศศรีลังกา อันเป็นประเทศที่ศาสนาพราหมณ์ได้เข้ามาเผยแพร่ก่อน ก่อนที่จะกลายมาเป็นศาสนาพุทธเป็นศาสนาหลักอย่างเช่นในปัจจุบัน พระศิวะในความเชื่อของที่นี่จะมีพาหนะเป็นนกยูง และกลายมาเป็นเทพเจ้าที่ทำหน้าที่ปกปักษ์รักษาพุทธศาสน.

ใหม่!!: รายชื่อตัวละครในรามเกียรติ์และพระศิวะ · ดูเพิ่มเติม »

พระสัตรุด

ระสัตรุดคือคทาของพระนารายณ์อวตารลงมาพร้อมกับพระองค์ พระสัตรุดเป็นโอรสของท้าวทศรถ บิดาของพระราม กับพระนางสมุทรชา เป็นพระอนุชาฝาแฝดของพระลักษมณ์ เป็นจอมทัพร่วมกับพระพรตผู้เป็นพระเชษฐา ตอนศึกกรุงลงกาครั้งที่ 2และศึกเมืองมลิวัน ภายหลังได้เป็นเจ้าอุปราชแห่งเมืองไกยเกษ แม้พระสัตรุดจะเป็นพระอนุชาร่วมพระมารดากับพระลักษมณ์ คือ นางสมุทรชา แต่ทั้งในรามายณะของอินเดียและรามเกียรติ์ของไทย ก็มักกล่าวถึงพระสัตรุดคู่ไปกับพระพรต และกล่าวถึงพระรามคู่กับพระลักษมณ์ ในรามเกียรติ์ตอนต้นจนถึงตอนกลางเรื่อง พระสัตรุดมีบทบาทน้อย แต่มีบทบาทมากขึ้นในตอนท้ายเรื่อง พระนามพระสัตรุดในรามเกียรติ์เขียน สัตรุด แต่ในรามายณะ เขียน ศตฺรุฆฺน (อ่านว่า สะ -ตฺรุ-คฺนะ) แปลว่า ผู้สังหารศัตรู.

ใหม่!!: รายชื่อตัวละครในรามเกียรติ์และพระสัตรุด · ดูเพิ่มเติม »

พระสุรัสวดี

ระสุรัสวตี เทวีอักษรศาสตร์(ตราสัญลักษณ์ประจำคณะอักษรศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย พระสุรัสวดี หรือ พระสรัสวดี (सरस्वती สรสฺวตี) เป็นเทพสตรีในศาสนาฮินดู ทรงอุปถัมภ์ความรู้, ศิลปะ, ดนตรี, ปัญญา และการเรียนรู้Kinsley, David (1988).

ใหม่!!: รายชื่อตัวละครในรามเกียรติ์และพระสุรัสวดี · ดูเพิ่มเติม »

พระอินทร์

http://www.school.net.th/library/create-web/10000/literature/10000-5627.html | สถานบำบวงหลัก.

ใหม่!!: รายชื่อตัวละครในรามเกียรติ์และพระอินทร์ · ดูเพิ่มเติม »

พระขันทกุมาร

ระขันธกุมาร (เทวนาครี:मुरुगन; முருகன்; മുരുകന്‍; ಸುಬ್ರಹ್ಮಣ್ಯ; సుబ్రహ్మణ్యేశ్వర స్వామి) เป็นเทพเจ้าแห่งการชาญณรงค์สงคราม และเป็นเทพเจ้าที่เป็นแม่ทัพของสวรรค์ด้วย พระองค์นั้นเป็นพระโอรสของพระศิวะ (พระอิศวร) และพระแม่ปารวตี (พระแม่อุมาเทวี) ทรงมีพระอนุชา 1 พระองค์ คือ พระพิฆเนศ ทรงนกยูงปารวาณีเป็นพาหนะ พระชายาของพระขันธกุมารคือ พระแม่เทวเสนา (เกามารี) และพระแม่วัลลี ที่อินเดียใต้นิยมนับถือมาก ด้วยเชื่อว่าพระขันธกุมารคือเทวดาผู้คุ้มครองปกป้องรักษาเทวาลัยของศาสนาฮินดู และเป็นเทพประจำทิศใต้อีกด้ว.

ใหม่!!: รายชื่อตัวละครในรามเกียรติ์และพระขันทกุมาร · ดูเพิ่มเติม »

พระปารวตี

ปารวตี (पार्वती Pārvatī) หรือ อุมา (उमा Umā) เป็นเทวดาสตรีในศาสนาฮินดู เป็นเจ้าแห่งความอุดมสมบูรณ์ ความรัก การอุทิศตน ตลอดจนพลังอำนาจศักดิ์สิทธิ์Suresh Chandra (1998), Encyclopaedia of Hindu Gods and Goddesses,, pp 245-246 ถือกันว่า พระนางเป็นด้านอ่อนโยนและเอาใจใส่ของเทวีศักติ พระนางยังแสดงพระองค์เป็นหลายด้าน เรียกว่า "ปาง" แต่ละปางเป็นที่รู้จักด้วยหลายชื่อหลายเรื่องราวKeller and Ruether (2006), Encyclopedia of Women and Religion in North America, Indiana University Press,, pp 663 พระนาง พร้อมด้วยพระลักษมี เทวีแห่งความมั่งคั่งรุ่งเรือง และพระสรัสวดี เทวีแห่งความรู้ ประกอบกันเป็นองค์สาม (trinity) ของเทวีฮินดู เรียกว่า ตรีเทวี พระนางเป็นพระชายาของพระศิวะ เทพเจ้าผู้ปกปักรักษาสรรพชีวิตและทำลายล้างความชั่วร้ายEdward Balfour,, The Encyclopaedia of India and of Eastern and Southern Asia, pp 153 พระนางเป็นพระธิดาของพระหิมวัต เทพแห่งภูเขา กับพระนางไมนาวติ ผู้เป็นพระชายาH.V. Dehejia, Parvati: Goddess of Love, Mapin,, pp 11 พระนางทรงให้กำเนิดพระคเณศกับพระขันทกุมาร คัมภีร์ปุราณะยังกล่าวว่า พระนางเป็นพระพี่นางหรือน้องนางของพระวิษณุ และของพระคงคาWilliam J. Wilkins,, Hindu Mythology - Vedic and Puranic, Thacker Spink London, pp 295 พระนางกับพระสวามีทรงเป็นเทพศูนย์กลางแห่งไศวนิกาย หรือลัทธิซึ่งถือพระศิวะเป็นใหญ่ ศาสนาฮินดูยังเชื่อว่า พระนางทรงเป็นพลังงานและอำนาจแห่งการสร้างสรรค์ใหม่ของพระสวามี เป็นรากเหง้าของพันธะที่รัดรึงสรรพสิ่งเข้าด้วยกัน และเป็นหนทางแห่งการปลดปล่อยทางจิตวิญญาณในเทวาลัยฮินดูที่สร้างถวายพระนางและพระสวามี มักใช้โยนี (อวัยวะเพศหญิง) เป็นสัญลักษณ์แทนพระนาง.

ใหม่!!: รายชื่อตัวละครในรามเกียรติ์และพระปารวตี · ดูเพิ่มเติม »

พระนารายณ์

ระนารายณ์บรรมบนหลังพญาอนันตนาคราช ณ เกษียรสมุทร และให้กำเนิดพระพรหม ดูบทความหลักที่ พระวิษณุ พระนารายณ์ (สันสกฤต: नारायण; Narayana; ความหมาย: ผู้ที่ได้เคลื่อนไหวอยู่ในน้ำ) เป็นเทพเจ้าสูงสุดหนึ่งในสามพระองค์ (ตรีมูรติ) ในความเชื่อของศาสนาพราหมณ์-ฮินดู โดยมากถือว่าเป็นองค์เดียวกันกับพระวิษณุ แต่ทว่าชาวไทยส่วนใหญ่จะคุ้นเคยกับพระนาม พระนารายณ์ มากกว่า เหตุที่มีพระนามแตกต่างกัน เนื่องจากมีบางคัมภีร์ในศาสนาพราหมณ์-ฮินดูเล่าว่า เดิมทีมีเทพเจ้าเพียงองค์เดียว คือ พระนารายณ์ ซึ่งเรียกว่าปรพรหม ซึ่งเป็นพระผู้สร้างทุกสรรพสิ่ง เมื่อพระนารายณ์รำพึงถึงการสร้างโลก ก็ทรงคำนึงถึงการปกปักรักษา แต่พระปรพรหมนั้นเป็นอรูปกเทพ คือ ไม่มีตัวตน จึงไม่สามารถที่จะสร้างโลกได้ จึงแบ่งภาคแยกร่างออกมาเป็น พระวิษณุ ซึ่งทรงประทานพระนามให้ และเมื่อพระวิษณุบรรทมหลับในเกษียรสมุทร ก็ทรงสุบินถึงการสร้างทุกสรรพสิ่ง ซึ่งพระวิษณุเป็นเทพผู้สร้างโลก สิ่งมีชีวิต รวมถึงมนุษย์ และที่พระนาภีของพระองค์ก็บังเกิดมีดอกบัวหลวงผุดขึ้นมา และภายในดอกบัวนั้นก็มี พระพรหม ซึ่งเป็นหนึ่งในตรีมูรติอยู่ภายใน ซึ่งพระวิษณุก็เป็นผู้ให้กำเนิดพระพรหมด้วย บางตำราก็กล่าวว่าเดิมมีพระนามว่า วิษณุ หรือ พิษณุ และได้เปลี่ยนเป็น นารายณ์ ในระยะหลัง โดยพระองค์มีสีพระวรกายเปลี่ยนแปลงไปตามยุคสมัยของโลก ในกฤตยุค ยุคแรกของโลก ยุคที่คุณธรรมความดีของมนุษย์มีเต็มเปี่ยม สีกายพระนารายณ์สีขาว ยุคที่สอง ไตรดายุค ธรรมะและคุณธรรมมนุษย์เหลือสามในสี่ สีกายพระนารายณ์เป็นสีแดง ยุคที่สาม ทวาปรยุค คุณธรรมมนุษย์เหลือครึ่งเดียว สีกายเป็นสีเหลือง ยุคปัจจุบัน เป็นยุคที่สี่ กลียุค คุณธรรมของมนุษย์ลดลงเหลือหนึ่งในสี่ สีกายพระนารายณ์ เปลี่ยนเป็นสีนิลแก่หรือสีดำ.

ใหม่!!: รายชื่อตัวละครในรามเกียรติ์และพระนารายณ์ · ดูเพิ่มเติม »

พระแม่มาเหศวรี

ระแม่มเหศวรี(माहेस्वरीMaheshvari)เป็นเทวีในศาสนาฮินดูองค์หนึ่งในคณะของพระแม่สัปตมาตฤกา โดยถือว่าเป็นพลังของพระอิศวรและพระอุมาเทวี ในศาสนาฮินดูและยังปรากฏเทวรูปในประเทศไทยที่ประเทศไทยเทวสถานโบสถ์พราหมณ์ กรุงเทพมหานครโดยประดิษฐานในบุษบกขนาบข้างร่วมกับเทวรูปพระนารายณ์และเทวรูปพระลักษมี ในหอพระนารายณ.

ใหม่!!: รายชื่อตัวละครในรามเกียรติ์และพระแม่มาเหศวรี · ดูเพิ่มเติม »

พระเกตุ

ระเกตุ (เทวนาครี: केतु เกตุ) เป็นเทวดานพเคราะห์องค์หนึ่ง ในคติไทย พระเกตุถูกสร้างจากหางของพระราหู เนื่องจากพระราหูแอบไปขโมยน้ำอมฤตที่เทวดาได้กวนไว้ดื่ม พระนารายณ์โกรธจึงขว้างจักรตัดเอวพระราหู เดชะฤทธิ์น้ำอมฤต พระราหูจึงไม่ตาย และกลับไปยังวิมานเดิม หางที่ขาดนั้นเองก็กลายเป็นพระเกตุ ประจำในทิศท่ามกลาง ให้ผลเป็นกลาง ๆ ในการพยากรณ์ จึงไม่นิยมพิจารณาพระเกตุมากนัก ในโหราศาสตร์ไทย พระเกตุถูกแทนด้วยสัญลักษณ์ ๙ (เลขเก้าไทย) มีอัตราการจรในแต่ละราศีประมาณสองเดือน โคจรย้อนจักราศีเช่นเดียวกับราหู แต่ไม่ได้เล็งกับราหูตลอดเวลาเช่นทางสากลและอินเดีย โดยในส่วนของเกตุมีความสัมพันธ์กับจันทร์ จึงเป็นปัจจัยที่มีความหมายที่คล้ายกับจันทร์ส่วนหนึ่งคือความหวั่นไหว อ่อนไหวได้ง่าย แต่ว่าเป็นขั้นสูงของจันทร์ที่ละเอียดกว่า จึงแทนด้วยสิ่งศักดิ์สิทธิ์ที่รับรู้ได้ด้วยใจ และเมื่อเกตุไปกุมกับดาวเคราะห์ใดๆ จะทำให้ดาวนั้นเพิ่มการตอบสนองจากการถูกกระทบมากขึ้น เช่นการเกิดอารมณ์ร่วมกับเหตุการณ์อันเกิดจากดาวที่จรมากระทบได้มากขึ้นกว่าเดิม ซึ่งมีสิ่งที่เกิดดุจดังเลข ๙ ที่มีลักษณ์ที่ดุจดังน้ำหรือเปลวไฟที่มีอาการสั่นไหวนั่นเอง พระเกตุเมื่อเทียบกับความเชื่อทางตะวันตกแล้ว เทียบได้กับโพไซดอนตามเทพปกรณัมกรีก และเนปจูนตามเทพปกรณัมโรมัน ส่วนเกตุทางสากลและอินเดียคือจุดตัดของวงโคจรโลกรอบดวงอาทิตย์ตัดกับจันทร์โคจรรอบโลก คือช่วงที่เป็นจุดตัดที่มีทิศทางการโคจรจรของจันทร์จากที่อยู่ทิศใต้ของเส้นวงโคจรของโลกรอบดวงอาทิตย์กำลังเดินขึ้นไปทางทิศเหนือของเส้นวงโคจรของโลกรอบดวงอาทิต.

ใหม่!!: รายชื่อตัวละครในรามเกียรติ์และพระเกตุ · ดูเพิ่มเติม »

พฤหัสบดี

หัสบดี อาจหมายถึง.

ใหม่!!: รายชื่อตัวละครในรามเกียรติ์และพฤหัสบดี · ดูเพิ่มเติม »

พัทกาวี

พัทกาวี เป็นเสนายักษ์ ๑ ใน ๒๐ ตนของเสนายักษ์กรุงลงกา มีลักษณะสีเหลือง ๑ หน้า ๒ มือ หัวโล้น หมวดหมู่:ตัวละครในรามเกียรติ์.

ใหม่!!: รายชื่อตัวละครในรามเกียรติ์และพัทกาวี · ดูเพิ่มเติม »

พิเภก

ก เป็นตัวละครในเรื่องรามเกียรติ์ มีกายสีเขียว ทรงมงกุฎน้ำเต้ากลม เป็นน้องของทศกัณฐ์ และกุมภกรรณ อดีตชาติ เป็นพระเวสสุญาณเทพบุตร พระอิศวรสั่งให้ไปจุติเป็นพี่น้องร่วมท้องเดียวกันกับทศกัณฐ์เพื่อเป็นไส้ศึกคอยบอกความลับต่าง ๆ ให้แก่พระราม พร้อมประทานแว่นวิเศษติดที่ดวงตาขวา มองเห็นได้ทั้งสามโลก แม้กระทั่งอดีตและอนาคต พิเภกโดนทศกัณฐ์ขับออกจากกรุงลงกา เพราะไปแนะให้ทศกัณฐ์คืนนางสีดาแก่พระราม จึงเข้าร่วมกับฝ่ายพระราม ทำหน้าที่เป็นโหราจารย์ พิเภกมีส่วนช่วยในกองทัพพระรามเป็นอันมาก เป็นผู้บอกกลศึกและทำนายเหตุการณ์ต่าง ๆ ของฝ่ายทศกัณฐ์ให้แก่พระราม เมื่อทศกัณฐ์ใกล้ตายเพราะถูกศรพรหมาศของพระราม ทศกัณฐ์สำนึกได้ จึงเรียกพิเภกเข้าไปสั่งสอน โดยมีใจความหลักว่า ให้ประพฤติตนเป็นธรรม อย่าเกเรเหมือนตน ซึ่งบทนี้ถูกเรียกว่า "ทศกัณฐ์สอนน้อง" จากนั้น พิเภกได้รับแต่งตั้งจากพระรามให้เป็น "ท้าวทศคิริวงศ์" ครองกรุงลงกาแทนทศกัณฐ์สืบไป ในรามายณะ มีชื่อว่า "วิภีษณะ".

ใหม่!!: รายชื่อตัวละครในรามเกียรติ์และพิเภก · ดูเพิ่มเติม »

พุธ

อาจหมายถึง.

ใหม่!!: รายชื่อตัวละครในรามเกียรติ์และพุธ · ดูเพิ่มเติม »

การุณราช

การุณราช เป็นเสนายักษ์ 1 ใน 20 ตนของเสนายักษ์กรุงลงก.

ใหม่!!: รายชื่อตัวละครในรามเกียรติ์และการุณราช · ดูเพิ่มเติม »

กาลสูร

กาลสูร เป็นเสนายักษ์ 1 ใน 10 ตนของเสนายักษ์กรุงลงกา ลักษณะและสี คือ มีดำหมึก 1 หน้า 2 มือ หัวโล้น หมวดหมู่:ตัวละครในรามเกียรติ์.

ใหม่!!: รายชื่อตัวละครในรามเกียรติ์และกาลสูร · ดูเพิ่มเติม »

กุมภกรรณ

กุมภกรรณ (สันสกฤต: कुम्भकर्ण กุมฺภกรฺณ) เป็นโอรสของท้าวลัสเตียนและนางรัชฎา มีศักดิ์เป็นน้องแท้ ๆ ของทศกัณฐ์ มีหน้าและกายสีเขียว ชายาชื่อนางจันทวดี เป็นยักษ์ที่มีฤทธิ์มากที่สุดตนหนึ่ง มีอาวุธร้ายประจำกาย คือ หอกโมกขศักดิ์ ที่จริงแล้วเป็นยักษ์ที่ตั้งมั่นในธรรม แต่ต้องออกรบช่วยทศกัณฐ์เพราะเห็นแก่ความเป็นพี่น้อง เคยแสดงฤทธิ์ในสมรภูมิรบถึง 4 ครั้ง ครั้งแรกรบกับสุครีพ โดยวางอุบายลวงสุครีพถอนต้นรัง ครั้งที่สอง ทำพิธีลับหอกโมกขศักดิ์ แต่ถูกหนุมานและองคตทำลายพิธี ครั้งที่สาม ทำพิธีทดน้ำ แต่ไม่สำเร็จเพราะถูกขัดขวางจากหนุมานและกุมภกรรณแทงหอกโมกขศักดิ์ใส่พระลักษมณ์จนเกือบสิ้นชีวิต และครั้งที่สี่สู้รบกับพระราม แต่ก็เพลี่ยงพล้ำถูกศรพระรามฆ่าตาย เหตุที่ชื่อ กุมภกรรณ (หูหม้อ) นั้นเพราะมีร่างกายใหญ่โตมาก สามารถเอาหม้อใส่ใบหูได้ กุมภกรรณในรามายณะมีลักษณะคล้ายกุมภกรรณในรามเกียรติ์ คือเป็นคนซื่อสัตย์เที่ยงธรรม แต่ในรามายณะ กุมกรรณได้เคยขอพรพระพรหมให้ตนเองมีสภาพคล้ายพระวิษณุ คือนอนหลับอยู่เป็นเวลานานจึงตื่นเพียงวันเดียว และหยั่งรู้ความเป็นไปของโลกในการนอนหลับนั้น ดังนั้นเมื่อทศกัณฐ์ปลุกกุมภกรรณให้ไปรบกับพระนารายณ์นั้น กุมภกรรณย่อมรู้ว่าพระรามนั้นที่แท้คือพระวิษณุและตนไม่มีทางรบชนะเด็ดขาด แต่ด้วยหน้าที่ของการเป็นทหาร กุมภกรรณยังคงตัดสินใจไปรบโดยทูลทศกัณฐ์ว่า ถ้าตนตายในการรบก็ขอให้ทศกัณฐ์ยอมแพ้เสีย เพราะถ้าตนรบชนะไม่ได้ก็ย่อมไม่มีใครในลงการบชนะพระรามได้.

ใหม่!!: รายชื่อตัวละครในรามเกียรติ์และกุมภกรรณ · ดูเพิ่มเติม »

กุมภกาศ

กุมภกาศ เป็นโอรสของ ชิวหา และ นางสำมนักขา มีศักดิ์เป็นหลานชายแท้ๆของ ทศกัณฐ์ มีนิสัยจองหองโดยตัวละครตัวนี้ได้มีบทบาทแค่ช่วงต้นของเรื่อง รามเกียรติ์ เท่านั้นเนื่องจากได้ถูก พระลักษมณ์ พระอนุชาของ พระราม ฆ่าตาย เนื่องจากในขณะนั้นกุมภกาศได้ตั้งโรงพิธีขอพรจาก พระพรหม เพื่อขอพระขรรค์เทพศัตราแต่เนื่องจากพระพรหมท่านมีธุระสำคัญจึงมิได้เหาะลงมามอบด้วยพระองค์เองแต่ได้ทิ้งพระขรรค์ลงมาข้างโรงพิธีของกุมภกาศที่ริมฝั่งแม่น้ำโคทาวรีจึงทำให้กุมภกาศโกรธมากต่อว่าพระพรหมว่าไม่ให้เกียรติและระหว่างนั้นพระรามและพระลักษมณ์ได้มาประทับที่ศาลาริมแม่น้ำโคทาวรีและพระลักษมณ์ได้เสด็จออกมาหาอาหารระหว่างทางได้พบกับพระขรรค์เทพศัตราของพระพรหมที่ทรงทิ้งลงมาให้แก่กุมภกาศพระลักษมณ์จึงทรงยกพระขรรค์ขึ้นมาทำให้แสงของพระขรรค์ไปเข้าตาของกุมภกาศจึงได้ออกมาต่อสู้กับพระลักษมณ์เพื่อแย่งชิงพระขรรค์และในที่สุดกุมภกาศจึงถูกพระลักษมณ์ฆ่าตายด้วยพระขรรค์เทพศัตร.

ใหม่!!: รายชื่อตัวละครในรามเกียรติ์และกุมภกาศ · ดูเพิ่มเติม »

กุมภัณฑ์

กุมภัณฑ์ (Kumbhaṇḍa; Kumbhāṇḍa) คือ เทวดากลุ่มหนึ่งตามความเชื่อในศาสนาพุทธ มีร่างสูงใหญ่ ท้องโต ตาโตแดงก่ำ เป็นบริวารของท้าววิรุฬหก กุมภัณฑ์มี 2 พวก คือ กุมภัณฑ์ชั้นสูงอาศัยในสวรรค์ชั้นจาตุมหาราชิกาและบนโลก ทำหน้าที่รักษาสถานที่ต่าง ๆ หากมีผู้ล่วงล้ำเข้าไป ก็จะจับผู้นั้นกินเสีย กุมภัณฑ์กลุ่มนี้เรียกว่ารากษส ส่วนกุมภัณฑ์ชั้นต่ำคือยมบาล อาศัยในนรกภูมิ มีหน้าที่ลงโทษสัตว์นรกต่าง ๆ ตามกรรมที่สัตว์นั้นได้ทำไว้.

ใหม่!!: รายชื่อตัวละครในรามเกียรติ์และกุมภัณฑ์ · ดูเพิ่มเติม »

ภานุราช

นุราช คือตัวละครยักษ์ในวรรณคดีเรื่อง รามเกียรติ์ เป็นเสนายักษ์ 1 ใน 20 ตนของเสนายักษ์กรุงลงก.

ใหม่!!: รายชื่อตัวละครในรามเกียรติ์และภานุราช · ดูเพิ่มเติม »

มหาชัย

มหาชัย อาจหมายถึง.

ใหม่!!: รายชื่อตัวละครในรามเกียรติ์และมหาชัย · ดูเพิ่มเติม »

มหากาย

มหากาย เป็นเสนายักษ์ 1 ใน 20 ตนของเสนายักษ์กรุงลงกา เป็นตัวละครในวรรณคดีเรื่อง รามเกียรต.

ใหม่!!: รายชื่อตัวละครในรามเกียรติ์และมหากาย · ดูเพิ่มเติม »

มหายมยักษ์

มหายมยักษ์ หรือ ศากยวงษา มหายมยักษ์ - พญายักษ์ (อสูรพงศ์แห่งเมืองบาดาล) กษัตริย์เมืองบาดาลองค์ที่ 2 เป็นโอรสของท้าวสหมลิวันต้นวงศ์ผู้ครองเมืองบาดาล ได้รับราชสมบัติต่อจากพระราชบิดา เกลียดชังทศกัณฐ์นักก่อนตายห้ามไม่ให้ลูกหลานข้องเกี่ยวกับทศกัณ.

ใหม่!!: รายชื่อตัวละครในรามเกียรติ์และมหายมยักษ์ · ดูเพิ่มเติม »

มังกรกัณฐ์

มังกรกัณฐ์ เป็นตัวละครจากรามเกียรติ์ อดีตชาติคือทรพีมาเกิดเป็นลูกของพญาขรตามคำสาปของพระอิศวร ร่วมทำศึกกับอินทรชิต ให้อินทรชิตไปทำพิธีชุบศรนาคบาศ ส่วนตนออกไปสู้เพื่อขัดตาทัพไว้ ผลสุดท้ายตายด้วยศรของพระราม ลักษณะของมังกรกัณฐ์ เป็นยักษ์ ตาจระเข้ ปากหุบ มีหนึ่งพักตร์ สองกร กายสีเขียว ทรงมงกุฎยอดนาค มีศรเป็นอาวุธ หมวดหมู่:ตัวละครในรามเกียรติ์.

ใหม่!!: รายชื่อตัวละครในรามเกียรติ์และมังกรกัณฐ์ · ดูเพิ่มเติม »

มารีศ

มารีศ หรือ ม้ารีดบรรจบ พันธุเมธา, ศาสตราจารย์, ดอกเตอร.

ใหม่!!: รายชื่อตัวละครในรามเกียรติ์และมารีศ · ดูเพิ่มเติม »

มโหทร

มโหทร - เป็นยักษ์ สำคัญในเรื่องรามเกียรติ์ มีบทบาทเคียงข้างทศกัณฐ์เจ้ากรุงลงกาอยู่เสมอ เช่นเดียวกับ เปาวนาสูร.

ใหม่!!: รายชื่อตัวละครในรามเกียรติ์และมโหทร · ดูเพิ่มเติม »

ยม

ม อาจหมายถึง.

ใหม่!!: รายชื่อตัวละครในรามเกียรติ์และยม · ดูเพิ่มเติม »

รัชฎา

นางรัชฎา เป็นตัวละครในรามเกียรติ์ เธอเป็นมเหสีองค์ที่ 5 ของท้าวลัสเตียน กษัตริย์ครองกรุงลงกาองค์ที่ 2.

ใหม่!!: รายชื่อตัวละครในรามเกียรติ์และรัชฎา · ดูเพิ่มเติม »

รัชฎาสูร

รัชฏาสูร - นาง (อสุรพงศ์).

ใหม่!!: รายชื่อตัวละครในรามเกียรติ์และรัชฎาสูร · ดูเพิ่มเติม »

รามสูร

รามสูร เป็นชื่อของยักษ์ตนหนึ่งมีฤทธิ์เดชมาก เป็นตัวละครในวรรณคดีเรื่องรามเกียรต.

ใหม่!!: รายชื่อตัวละครในรามเกียรติ์และรามสูร · ดูเพิ่มเติม »

รามเกียรติ์

ตัวละครหลักที่ปรากฏในเรื่อง มีดังนี้ ฝ่ายพระราม.

ใหม่!!: รายชื่อตัวละครในรามเกียรติ์และรามเกียรติ์ · ดูเพิ่มเติม »

รายชื่อตัวละครในรามเกียรติ์

ไม่มีคำอธิบาย.

ใหม่!!: รายชื่อตัวละครในรามเกียรติ์และรายชื่อตัวละครในรามเกียรติ์ · ดูเพิ่มเติม »

วิรุณจำบัง

วิรุณจำบังเป็นโอรสของพญาทูษณ์ กษัตริย์เมืองจารึกองค์ที่ ๑ โอรสองค์ที่ ๕ ของท้าวลัสเตียนกับนางรัชฎา น้องชายร่วมบิดามารดาของทศกัณฐ์ วิรุณจำบังมีม้าทรงคู่ใจตัวดำปากแดงชื่อ นิลพาหุ ซึ่งสามารถหายตัวได้ทั้งตนและม้า วิรุณจำบังรับอาสาทศกัณฐ์ยกทัพไปทำสงครามกับพระรามและพลวานรซึ่งกำลังมุ่งหน้ามาที่กรุงลงกาเพื่อทวงนางสีดาคืน โดยไปสมทบกับทัพของท้าวสัทธาสูร เจ้าเมืองอัสดง สหายอีกตนของทศกัณฐ์ ซึ่งต่อมาก็ถูกหนุมานฆ่าตาย เมื่อวิรุณจำบังไปรบ พลยักษ์ถูกพลวานรฆ่าตายหมด วิรุญจำบังผู้เป็นแม่ทัพจึงร่ายเวทย์กำบังตัวเองและม้า เข้าไปสังหารฝ่ายวานรล้มตายเป็นจำนวนมาก พระรามเห็นความไม่ชอบมาพากลจึงตรัสถามพิเภก พิเภกตอบว่า ขณะนี้วิรุณจำบังใช้เวทย์หายตัวเข้ามาในกองทัพ พิเภกถวายคำแนะนำให้พระรามแผลงศรไปฆ่าม้านิลพาหุเสีย เมื่อพระรามแผลงศรพรหมาสตร์ออกไปถูกม้าทรงของวิรุณจำบังตาย วิรุณจำบังเห็นว่าสู้ไม่ได้จึงคิดหนี โดยร่ายเวทย์เสกผ้าโพกศีรษะเป็นหุ่นพยนต์ซึ่งมีรูปกายเหมือนตนไม่ผิดเพี้ยน แล้วหลบหนีไปจนพบนางวานรินทร์ที่ในถ้ำกลางป่า นางวานรินทร์แนะให้ไปซ่อนตัวอยู่ในฟองน้ำที่นทีสีทันดรฝ่ายพระรามทรงรู้กลศึก แผลงศรเป็นตาข่ายเพชรทำลายรูปนิมิต แล้วสั่งให้หนุมานติดตามไปสังหาร หนุมานติดตามมาจนได้พบนางวานรินทร์จึงเข้าเกี้ยวพาราสี และทราบว่าเป็นนางฟ้าที่ถูกสาปที่ทำผิด เนื่องจากมีหน้าที่รักษาประทีป แล้วปล่อยให้ประทีปดับ และจะพ้นคำสาปเมื่อได้พบทหารเอกของพระราม เมื่อนางวานรินทร์บอกที่ซ่อนของวิรุณจำบังแล้วจึงส่งนางกลับขึ้นสู่สวรรค์ หนุมานตามไปสังหารวิรุณจำบังได้สำเร็.

ใหม่!!: รายชื่อตัวละครในรามเกียรติ์และวิรุณจำบัง · ดูเพิ่มเติม »

วิศวกรรมศาสตร์

การจะออกแบบสร้างกังหันลมในทะเลต้องใช้ความรู้ทางวิศวกรรมในหลายๆสาขาประกอบเข้าด้วยกัน วิศวกรรมอาจจะหมายถึงพระวิศวกรรม วิศวกรรมศาสตร์ เป็นสาขาความรู้และวิชาชีพเกี่ยวกับการประยุกต์ใช้ประยุกตวิทยา (เทคโนโลยี), วิทยาศาสตร์และความรู้ทางคณิตศาสตร์เพื่อการใช้ประโยชน์จากกฎทางธรรมชาติและทรัพยากรทางกายภาพให้เกิดประโยชน์สูงสุด, เพื่อช่วยในการออกแบบและประยุกต์ใช้ วัสดุ, โครงสร้าง, เครื่องจักร, เครื่องมือ, ระบบ และ กระบวนการ เพื่อการตอบสนองต่อจุดประสงค์ที่ต้องการได้อย่างปลอดภัยและเชื่อถือได้ American Engineers' Council for Professional Development (ECPD, ซึ่งต่อมาคือ ABET) ได้ให้นิยามเกี่ยวกับวิศวกรรมศาสตร์เอาไว้ดังนี้.

ใหม่!!: รายชื่อตัวละครในรามเกียรติ์และวิศวกรรมศาสตร์ · ดูเพิ่มเติม »

วิสุทธิ

วิสุทธิ หมายถึง ความบริสุทธิ์ ความหมดจด ในศาสนาพุทธกล่าวถึง วิสุทธิ 7 ซึ่งหมายถึง ความบริสุทธิ์ที่สูงขึ้นไปตามลำดับ เป็นการชำระให้บริสุทธิ์ ด้วยการฝึกฝนตนเองที่เรียกว่าไตรสิกขา ไปโดยลำดับ จนบรรลุจุดมุ่งหมายคือนิพพาน มี 7 ขั้น คือ.

ใหม่!!: รายชื่อตัวละครในรามเกียรติ์และวิสุทธิ · ดูเพิ่มเติม »

ศุกร์

กร์ อาจหมายถึง.

ใหม่!!: รายชื่อตัวละครในรามเกียรติ์และศุกร์ · ดูเพิ่มเติม »

สหัสเดชะ

ทวารบาลสหัสเดชะ ที่วัดพระแก้ว สหัสเดชะ (แปลว่า มีกำลังนับพัน) เป็นรากษสกายสีขาว เจ้าเมืองปางตาล มี 1000 หน้า 2000 มือ ร่างกายสูงใหญ่ดั่งเขาอัศกรรม มีกระบองวิเศษที่พระพรหมประทานให้มีฤทธิ์คือต้นชี้ตายปลายชี้เป็นและได้รับพรเมื่อข้าศึกหรือศัตรูเห็นจงหนีหายไปด้วยความกลัว เมื่อพญามูลพลัมรู้ว่าทศกัณฐ์เพื่อนของตนกำลังรบกับพระรามอยู่จึงคิดจะช่วยโดยชวนสหัสเดชะพี่ชายของตนไปออกรบด้วยกัน ภายหลังด้วยความชะล่าใจของตนจึงถูกหนุมานใช้กลอุบายแปลงเป็นลิงน้อยหลอกเอากระบองวิเศษมาหักทิ้ง และฆ่าสหัสเดชะตายในที่สุด สหัสเดชะ เป็นหนึ่งในยักษ์ทวารบาลสองตน ที่ยืนเฝ้าประตูทางเข้าพระอุโบสถวัดพระศรีรัตนศาสดารามและวัดอรุณราชวรารามคู่กับทศกัณฐ์ เพราะถือว่าเป็น ยักษ์ที่มีฤทธิ์มากดุจเดียวกับทศกัณ.

ใหม่!!: รายชื่อตัวละครในรามเกียรติ์และสหัสเดชะ · ดูเพิ่มเติม »

สุชาดา

อาจหมายถึง.

ใหม่!!: รายชื่อตัวละครในรามเกียรติ์และสุชาดา · ดูเพิ่มเติม »

สุจิตรา

ตรา อาจหมายถึง.

ใหม่!!: รายชื่อตัวละครในรามเกียรติ์และสุจิตรา · ดูเพิ่มเติม »

สุนันทา

นันทา อาจหมายถึง; เทพปกรณัม.

ใหม่!!: รายชื่อตัวละครในรามเกียรติ์และสุนันทา · ดูเพิ่มเติม »

หิมพานต์

หิมพานต์ อาจหมายถึง.

ใหม่!!: รายชื่อตัวละครในรามเกียรติ์และหิมพานต์ · ดูเพิ่มเติม »

อรชุน

อรชุน (เทวนาครี: अर्जुन, อังกฤษ: Arjuna) เป็นหนึ่งในตัวละครเอกในมหากาพย์มหาภารตะ ชื่อนี้หมายถึง สว่าง ส่องแสง ขาว หรือ เงิน อรชุนเป็นนักยิงธนูที่มีฝีมือสูงส่ง ไม่มีใครเทียบได้ เป็นพี่น้องคนที่สามในบรรดาปาณฑพทั้งห้า เป็นลูกของนางกุนตี ภรรยาคนแรกของปาณฑุ และเป็นคนเดียวในพี่น้องปาณฑพที่ได้รับพรและอาวุธวิเศษจากเทพเจ้ามากที่สุดด้ว.

ใหม่!!: รายชื่อตัวละครในรามเกียรติ์และอรชุน · ดูเพิ่มเติม »

อังคาร

อังคาร อาจหมายถึง.

ใหม่!!: รายชื่อตัวละครในรามเกียรติ์และอังคาร · ดูเพิ่มเติม »

อาทิตย์

อาทิตย์ อาจหมายถึง.

ใหม่!!: รายชื่อตัวละครในรามเกียรติ์และอาทิตย์ · ดูเพิ่มเติม »

อิทธิกาย

อิทธิกาย - ยักษ.

ใหม่!!: รายชื่อตัวละครในรามเกียรติ์และอิทธิกาย · ดูเพิ่มเติม »

อินทรชิต

อินทรชิต (สันสกฤต: इन्‍द्र जीत, Indrajit อินฺทฺร ชีต) เดิมมีชื่อว่า รณพักตร์ เป็น บุตรทศกัณฐ์กับนางมณโฑ มีมเหสีชื่อ นางสุวรรณกันยุมา มีบุตรชื่อยามลิวันและกันยุเวก มีสีกายสีเขียว มีฤทธิ์เก่งกล้ามาก เมื่อโตขึ้นจึงทูลลาพระบิดาและพระมารดาเพื่อไปศึกษาวิชากับพระฤๅษีโคบุตรจนสำเร็จวิชามนต์มหากาลอัคคี จึงกราบลาอาจารย์เพื่อไปบำเพ็ญตบะ เมื่อบำเพ็ญจนเก่งกล้าแล้วจึงทำพิธีขออาวุธวิเศษต่อมหาเทพทั้ง 3 มหาเทพจึงประทานอาวุธวิเศษให้ คือ พระอิศวรประทานศรนาคบาศและพรสามารถแปลงร่างเป็นพระอินทร์ได้ พระพรหมประทานศรพรหมาสตร์และพรไม่ให้ตายบนพื้นดินหากตายก็ให้ตายบนอากาศหากเศียรขาดตกลงพื้นก็ให้เกิดไฟไหม้ทั่วทั้งจักรวาลต้องนำพานแว่นฟ้าของพระพรหมเท่านั้นมารองรับเศียรจึงจะระงับเหตุได้ ส่วนพระนารายณ์ประทานศรวิษณุปานัม เมื่อได้รับพรและอาวุธวิเศษแล้วจึงเกิดความหึกเหิมบุกสวรรค์และท้าพระอินทร์รบ และชนะพระอินทร์ ทศกัณฐ์เมื่อทราบข่าวบุตรของตนมีชัยชนะก็ดีใจมากจึงเปลื่ยนชื่อใหม่เป็น อินทรชิต หมายถึง "ชนะพระอินทร์" แต่ด้วยไม่ตั้งตนอยู่ในธรรมและการประพฤติชั่วของตน ภายหลังถูกศรของพระลักษมณ์สิ้นใจต.

ใหม่!!: รายชื่อตัวละครในรามเกียรติ์และอินทรชิต · ดูเพิ่มเติม »

ผีเสื้อ

ผีเสื้อ อาจหมายถึง; สัตว.

ใหม่!!: รายชื่อตัวละครในรามเกียรติ์และผีเสื้อ · ดูเพิ่มเติม »

จักรวรรดิ

ักรวรรดิ (อ่านว่า จัก-กฺระ-หฺวัด, อังกฤษ: empire) ถูกนิยามว่าหมายถึง "กลุ่มชาติรัฐหรือชาติพันธุ์ที่อยู่ภายใต้การปกครองของจักรพรรดิหรืออธิปไตยของรัฐอื่นๆที่ทรงอิทธิพล โดยทั่วไปมีอาณาเขตกว้างใหญ่กว่าราชอาณาจักร" นักวิชาการได้ถกเถียงกันมานานเกี่ยวกับคำว่า “Empire” ในภาษาอังกฤษหรือ “จักรวรรดิ” ในภาษาไทย (จากคำภาษาละติน “imperium” ที่หมายถึงสายการบังคับบัญชาทางการทหารของรัฐบาลโรมันโบราณ) โดยทั่วไปมักนิยามให้เป็นรัฐที่มีอาณาจักรอื่นที่มีประชากรและวัฒนธรรมที่แตกต่างชัดเจนอยู่ภายใต้อิทธิพลอำนาจการปกครองหรืออยู่ในเครือจักรภพ เช่นประเทศในเครือจักรภพอังกฤษในปัจจุบัน นิยามอีกรูปแบบหนึ่งอาจเน้นปัจจัยทางเศรษฐกิจหรือการเมือง แต่โดยทั่วไปมักหมายถึงการครอบงำทางอำนาจการทหาร เช่นเดียวกับรัฐทั่วไป จักรวรรดิจะมีโครงสร้างทางการเมืองของตนเอง หรืออย่างน้อยก็โดยวิธีกดขี่บังคับให้อยู่ใต้อำนาจ จักรวรรดิบนแผ่นดินใหญ่ (เช่นจักรวรรดิมองโกล หรือจักรวรรดิอาคีเมนิดเปอร์เชีย – Achaemenid Persia) มักจะขยายไปตามอาณาเขตที่ประชิดต่อเนื่องกัน ส่วนจักรวรรดิทางทะเล (เช่น จักรวรรดิเอเธนีเนียน จักรวรรดิโปรตุเกสและจักรวรรดิอังกฤษ) อาจมีอาณาเขตกระจัดกระจายหลวมๆ แต่อยู่ในอำนาจการควบคุมทางกองทัพเรือเป็นต้น จักรวรรดิที่มีมาก่อนจักรวรรดิโรมันหลายร้อยปี ได้แก่จักรวรรดิอียิปต์ซึ่งได้ก่อตั้งจักรวรรดิเมื่อประมาณ 1000 ปีก่อน..

ใหม่!!: รายชื่อตัวละครในรามเกียรติ์และจักรวรรดิ · ดูเพิ่มเติม »

จันทร์

ันทร์ อาจหมายถึง.

ใหม่!!: รายชื่อตัวละครในรามเกียรติ์และจันทร์ · ดูเพิ่มเติม »

ทศกัณฐ์

ระยาพรหมาภิบาล (ทองใบ สุวรรณภารต) ทศกัณฐ์ทรงศร ทศกัณฐ์ทรงหอกกบิลพัท ทศกัณฐ์ (ผู้มีสิบคอ คือ มีสิบหัว) เป็นตัวละครเอกตัวหนึ่งในเรื่องรามเกียรติ์ ดัดแปลงมาจากตัวละคร ราวณะ ในมหากาพย์ฮินดูเรื่อง รามายณ.

ใหม่!!: รายชื่อตัวละครในรามเกียรติ์และทศกัณฐ์ · ดูเพิ่มเติม »

ทศคีรีวัน ทศคีรีธร

ทศคีรีวันและทศคีรีธร เป็นยักษ์ฝาแฝดที่เกิดจากทศกัณฐ์กับนางช้างพัง ทศคีรีวันเป็นพี่ ทศคีรีธรเป็นน้อง ทศกัณฐ์ยกให้เป็นบุตรบุญธรรมแก่ ท้าวอัศกรรมมาลา เจ้าเมืองดุรัม วันหนึ่งคิดถึงบิดาตนจึงไปหาและทราบเรื่องราวที่บิดาตนทำศึกกับพระรามจึงอาสาออกรบ เมื่อสองตนนี้ยกทัพมาถึง พระรามรับสั่งให้พระลักษมณ์เป็นทัพหน้า เข้าสู้กับกองทัพลงกาซึ่งทศกัณฐ์อยู่ตรงกลาง พระลักษมณ์แผลงศรพลายวาตถูกม้าศึกทั้งสองตายคาที่ สองยักษ์พี่น้องจึงกระโดดเข้าหักงอนรถพระลักษมณ์ พระลักษมณ์หวดด้วยคันศร ทั้งสองแผลงศรเป็นอาวุธเก้าอย่างถูกพลลิงตายมากมาย พระลักษมณ์จึงแผลงศรไปแก้เป็นลมพัด จนวานรฟื้นคืนหมดแล้วศรก็พุ่งไปเสียบอกยักษ์พี่น้องสองตนขาดใจต.

ใหม่!!: รายชื่อตัวละครในรามเกียรติ์และทศคีรีวัน ทศคีรีธร · ดูเพิ่มเติม »

ท้าวกุเวร

ท้าวกุเวรทรงมนุษย์เป็นพาหนะ ท้าวกุเวร (कुबेर กุเพร, कुवेर กุเวร, குபேரன் กุเปรัน) เป็นหนึ่งในสี่จาตุมหาราช ผู้ปกครองเหล่ายักษ์ เป็นชื่อของเทพแห่งความมั่งคั่ง ตามคติในศาสนาพุทธและศาสนาฮินดู นับถือกันว่าพระองค์เป็นทิกบาลหรือเทพประจำทิศเหนือ และเป็นเทพผู้คุ้มครองโลก (โลกบาล) บางตำราเรียกท้าวกุเวรว่า "ท้าวเวสสุวรรณ" (वैश्रवण ไวศฺรวณ, वेस्सवण. เวสฺสวณ) ตามนามโคตรของท้าวกุเวรในศาสนาฮินดู ส่วนในศาสนาเชนจะเรียกเทพองค์นี้ว่า ศารวนุภูติ (Sarvanubhuti).

ใหม่!!: รายชื่อตัวละครในรามเกียรติ์และท้าวกุเวร · ดูเพิ่มเติม »

ท้าววิรุฬหก

ท้าววิรุฬหก ท้าววิรุฬหก (Viruḷhaka; विरूढक) หนึ่งในสี่ผู้ปกครองสวรรค์ชั้นจาตุมหาราชิกา ซึ่งเป็นชั้นล่างสุดในฉกามาพจรเป็นเทพเจ้าผู้ปกครองทิศใต้ของเขาพระสุเมรุ ซึ่งเป็นใหญ่ในหมู่ครุฑมีเทพกลุ่มกุมภัณฑ์เป็นบริวาร มีรูปร่างท้องป่องพุ่งใหญ่ ขาสั้น กำยำล่ำสัน ตามความเชื่อบางคติจะพบได้ว่าท้าววิรุฬหกคือผู้ปกครองครุฑและนก ท้าววิรุฬหกปกครองสวรรค์ชั้นจาตุมหาราชิการ่วมกับ 1.

ใหม่!!: รายชื่อตัวละครในรามเกียรติ์และท้าววิรุฬหก · ดูเพิ่มเติม »

ท้าววิรูปักษ์

กว่างมู่เทียน (ท้าววิรูปักษ์) ศิลปะจีน, ปักกิ่ง, สาธารณรัฐประชาชนจีน วัดโทได ท้าววิรูปักษ์ หนึ่งในสี่จาตุมหาราชผู้ปกครองทิศตะวันตก เป็นเทพเจ้าแห่งพญานาคทั้งปวง ในเทวตำนานยุคต้นทรงดำรงตำแหน่งท้าวสักกะ นอกจากนี้ยังมีกล่าวถึงในขันธปริตร (โบราณเรียกพระปริตรกันงู) บทสวดเจ็ดตำนาน สวดเพื่อให้สวัสดิภาพจากพวกสัตว์มีพิษทั้งหลาย เพราะท้าวมหาราชพระองค์นี้ทรงมีพญานาคเป็นบริวาร.

ใหม่!!: รายชื่อตัวละครในรามเกียรติ์และท้าววิรูปักษ์ · ดูเพิ่มเติม »

ท้าวจักรวรรดิ

ท้าวจักรวรรดิ (ซ้าย) และท้าวอัศกรรมมาลา (ขวา) ในวัดพระศรีรัตนศาสดาราม ท้าวจักรวรรดิ ยักษ์ตนหนึ่งในเรื่องรามเกียรติ์ เป็นกษัตริย์แห่งกรุงมลิวัน สหายของทศกัณฐ์ ได้ร่วมมือกับ ไพนาสุริยวงศ์(โอรสทศกัณฐ์) เข้ากอบกู้กรุงลงกา โดยยกทัพไปทำศึก และจับพิเภก ก่อนที่จะจัดพิธี มอบราชสมบัติกรุงลงกาคืน แก่ไพนาสุริยวงศ์ และให้นามใหม่ว่า ท้าวทศพิน ต่อมา พระพรตจึงได้ยกทัพมาปราบ และยืดเยื้อมาถึงเมืองมลิวัน เกิดการต่อสู้อย่างต่อเนื่อง หลายครั้งหลายคราว แต่ก็ยังไม่สามารถ กำราบท้าวจักรวรรดิลงได้ กระทั่งพระพรต แผลงศรไปปักอก ส่วนแขน และขานั้นขาดสะบั้น ท้าวจักรวรรดิ จึงได้สำนึกผิด และขออโหสิกรรม ท้าวจักรวรรดิ เป็นหนึ่งในทวารบาลในพระบรมมหาราชวังคู่กับท้าวอัศกรรมมาลา right.

ใหม่!!: รายชื่อตัวละครในรามเกียรติ์และท้าวจักรวรรดิ · ดูเพิ่มเติม »

ท้าวธตรฐ

ีกุกชอนวาง (ท้าวธตรฐ), ปูซาน, เกาหลีใต้ ท้าวธตรฐ (Dhataraṭṭha; Dhṛtarāṣṭra) เป็นหนึ่งในสี่จาตุมหาราช เทพเจ้าแห่งคนธรรพ์ ผู้ปกครองทิศตะวันออก ฤดูร้อน ธาตุไฟ ทรงพิณเป็นสัญลักษณ.

ใหม่!!: รายชื่อตัวละครในรามเกียรติ์และท้าวธตรฐ · ดูเพิ่มเติม »

ท้าวทศรถ

ท้าวทศรถ เป็นพระราชโอรสของท้าวอัชบาล กับพระนางเทพอัปสร ครองกรุงอโยธยาต่อจากพระราชบิดา ท้าวทศรถได้กำหราบยักษ์หลายตน เช่น ปทูตทันต์ ในการศึกนั้นท้าวทศรถต่อสู้ด้วยศร จนปทูตทันต์กระเด็นไป ปทูตทันต์โมโหก็ขว้างกระบองแก้ว ทำให้เกิดเสียงดังกัมปนาท และบังเกิดเปลวไฟ ท้าวทศรถเห็นเพลิงจึงขว้างพระขรรค์ เกิดเป็นฝนตกลงมาดับไฟ ทำให้เพลารถหัก พระนางไกษเกษีเห็นดังนั้น จังนำแขนมาเทียมรถ ได้รับความเจ็บปวดอย่างมาก ปทูตทันต์โมโหโทโส กระโดดเข้ามาใหม่ ท้าวทศรถจึงขว้างพระขรรค์ไปใหม่ ด้วยอำนาจอันเรืองฤทธิ์ของพระขรรค์ ปทูตทันต์จึงกระเด็นตกยังพื้นพสุธาคอหักตายคาที และท้าวทศรถจึงได้ให้รางวัลแก่พระนางไกษเกษี ว่าในวันข้างหน้า หากนางขออะไร ก็จะให้ตามที่นางขอ ท้าวทศรถอยู่ในราชสมบัติได้หกหมื่นปี ก็มาคิดเรื่องโอรสทั้งสี่ที่จะแบ่งสมบัติให้ โดยพระพรตและพระสัตรุตจะได้ครองกรุงไกยเกษ ส่วนพระรามและพระลักษมณ์จะให้ครองเมืองอโยธยาแต่การนี้พระนางไกยเกษีมเหสีองค์รองขัดขวาง โดยยกเรื่องของรางวัลในอดีตมาเป็นข้อต่อรอง ให้พระรามไปอยู่ในป่าสิบสี่ปี และให้พระพรตขึ้นครองราชย์แทน ท้าวทศรถเสียใจมากจึงสวรรคตด้วยความตรอมพระทั.

ใหม่!!: รายชื่อตัวละครในรามเกียรติ์และท้าวทศรถ · ดูเพิ่มเติม »

คนธรรพ์

รูปสลักไม้คนธรรพ์ ที่พิพิธภัณฑ์ช้างเอราวัณริมถนนสุขุมวิทจังหวัดสมุทรปราการ คนธรรพ์ (गन्धर्व Gandharva) เป็นอมนุษย์จำพวกหนึ่ง ตามคติในศาสนาพุทธและศาสนาฮินดู.

ใหม่!!: รายชื่อตัวละครในรามเกียรติ์และคนธรรพ์ · ดูเพิ่มเติม »

ตรีเมฆ

ตรีเมฆ เป็นบุตรของ ตรีเศียร ได้ครองกรุงมัชวารีต่อจากตรีเศียร เป็นหลานของทศกัณฐ์ ทศกัณฐ์ใช้ให้ออกรบพร้อมกับท้าวสัตลุง หลังจากท้าวสัตลุงถูกพระรามฆ่าตาย ตรีเมฆได้หนีไปแอบอยู่ในเม็ดทราย หนุมานตามมาพบและฆ่าตรีเมฆตาย ตรีเมฆ เป็นยักษ์สีหงดินแก่ ปากขบตาจระเข้ บางแห่งว่าตาโพลง สวมมงกุฎหางไหล กายสีหงดิน มี 1 พักตร์ 2 กร หมวดหมู่:ตัวละครที่เป็นยักษ์ หมวดหมู่:ตัวละครในรามเกียรติ์.

ใหม่!!: รายชื่อตัวละครในรามเกียรติ์และตรีเมฆ · ดูเพิ่มเติม »

ตรีเศียร

ตรีเศียร เป็นโอรสองค์ที่ ๖ ของท้าวลัสเตียนกับนางรัชฎา น้องชายร่วมบิดามารดาของทศกัณฐ์ กุมภกรรณ พิเภก ขร ทูษณ์ และพี่ชายของนางสำมนักขา พญาตรีเศียรเป็นกษัตริย์เมืองมัชวารีองค์ที่ ๑.

ใหม่!!: รายชื่อตัวละครในรามเกียรติ์และตรีเศียร · ดูเพิ่มเติม »

ปักหลั่น

ปักหลั่น เป็นชื่อของยักษ์ตนหนึ่งในตัวละครในเรื่องรามเกียรติ์ มีหน้าที่เฝ้าสระโบกขรณีชื่อ "พันตา" ตั้งอยู่ระหว่างทางที่ทัพพระรามจะเคลื่อนทัพไปกรุงลงกา ปักหลั่นคอยดักสัตว์กินเป็นอาหาร เมื่อพบกับ หนุมาน องคต และชมพูพาน ที่มานอนหลับริมสระ จึงคิดจะกินลิงทั้สาม แต่ต่อสู้กันปักหลั่นก็แพ้ และบอกที่มาว่าของตนเดิมว่าเป็น เทวดาแต่ลักลอบเป็นชู้กับนางเกสรมาลา จึงถูกสาปมาเป็นยักษ์เฝ้าสระ แต่ถ้าได้พบกับทหารขององค์พระนารายณ์เข้าลูบกายก็จะพ้นคำสาป องคตจึงเข้าลูบหลังทำให้ พ้นคำสาปกลับไปเป็นเทวดา ปักหลั่น อยู่ในสำนวนไทยที่ใช้เปรียบเทียบคนตัวใหญ่ว่า ใหญ่โตราวกับยักษ์ปักหลั่น.

ใหม่!!: รายชื่อตัวละครในรามเกียรติ์และปักหลั่น · ดูเพิ่มเติม »

นารายณ์

นารายณ์ อาจหมายถึง.

ใหม่!!: รายชื่อตัวละครในรามเกียรติ์และนารายณ์ · ดูเพิ่มเติม »

นางกาลอัคคีนาคราช

นางกาลอัคคี (Kanavki) เป็นตัวละครใน มหากาพย์รามเกียรติ์ของไทยและรามายณะต้นฉบับของอินเดียและศรีลังกา ในรามเกียรติ์ของไทยเป็นธิดาพญากาลนาคกับนางนาคประภา เป็นนาคกับพระมเหสีองค์แรกของทศกัณฐ์แห่งกรุงลงกา มีบุตรชื่อบรรลัยกัลป์ ในรามายณะต้นฉบับ ปารากฎชื่อเป็น ธัญญามาลินี(Dhanyamalini) ส่วนในเรียมเกร์ของประเทศกัมพูชาและยามะซะตอของพม่าไม่ปารากฎ(เพราะเนื้อเรื่องของเนื้อหาสั้นกว่า มหากาพย์รามเกียรติ์ของไทย).

ใหม่!!: รายชื่อตัวละครในรามเกียรติ์และนางกาลอัคคีนาคราช · ดูเพิ่มเติม »

นางมณโฑ

นางมณโฑ ในมหากาพย์รามายณะเรียกว่า มนโททรี (मंदोदरी มํโททรี) เป็นชายาของพาลี ทศกัณฐ์ หนุมาน และพิเภก โดยระหว่างเป็นมเหสีของทศกัณฐ์ นางได้ให้กำเนิดนางสี.

ใหม่!!: รายชื่อตัวละครในรามเกียรติ์และนางมณโฑ · ดูเพิ่มเติม »

นางสำมนักขา

นางสำมนักขา (शूर्पणखा ศูรฺปณขา) เป็นตัวละครหนึ่งในมหากาพย์รามายณ.

ใหม่!!: รายชื่อตัวละครในรามเกียรติ์และนางสำมนักขา · ดูเพิ่มเติม »

นางสุพรรณมัจฉา

นางสุพรรณมัจฉา (ความหมาย: "ปลาทอง") เป็นตัวละครจากวรรณคดีเรื่อง รามเกียรติ์ อันเป็นธิดาของทศกัณฑ์ ที่ต่อมาได้ตกเป็นภรรยาคนหนึ่งของหนุมาน ทหารเอกของพระราม อันเป็นตัวเอกของวรรณคดีเรื่องดังกล่าว นางปรากฏตัวครั้งแรกเมื่อครั้งที่พระรามให้หนุมานถมมหาสมุทรข้ามไปยังกรุงลงกา ทศกัณฑ์จึงให้นางสุพรรณมัจฉาและบริวารที่เป็นปลาลอบขนหินถมทะเลดังกล่าวไปทิ้ง หนุมานสงสัยจึงดำลงไปใต้ท้องทะเลจึงพบนางสุพรรณมัจฉา ภายหลังทั้งสองได้ร่วมรักกันและมีบุตรคือ มัจฉานุ ที่ตัวเป็นลิงมีหางเป็นปลา เช่นเดียวกับนางสีดา ที่มีบิดาเป็นยักษ์ แต่ก็มีรูปโฉมที่สวยงาม แม้นางสุพรรณมัจฉาจะเป็นตัวละครที่มีบทบาทไม่มากนัก แต่ก็เป็นที่กล่าวขานถึงรูปลักษณ์ที่งดงามที่ปรากฏตามจิตรกรรมฝาผนัง จนเป็นหนึ่งในนางในวรรณคดีที่มีชื่อเสียงนางหนึ่ง ทั้งนี้นางสุพรรณมัจฉาปรากฏอยู่ในรามายณะของภูมิภาคอุษาคเนย์บางประเทศเท่านั้น.

ใหม่!!: รายชื่อตัวละครในรามเกียรติ์และนางสุพรรณมัจฉา · ดูเพิ่มเติม »

นางสีดา

นางสีดา จากการแสดง รามายณะ ที่ยอกจาการ์ตา ประเทศอินโดนีเซีย ซึ่งสีดาในรามายณะฉบับอินโดนีเซีย แต่งตัวด้วยการนำเอาใบหญ้ามาคลุมตัวหน้า 13 ประชาชื่น, ''''เยี่ยมบ้าน ส.พลายน้อย 88 ปี วันนี้...สบายดี "สนุกกับการค้นพบสิ่งใหม่ ๆ ในทะเลหนังสือ"'' โดย พนิดา สงวนเสรีวานิช. '''มติชน'''ปีที่ 40 ฉบับที่ 14318: วันพุธที่ 24 พฤษภาคม พ.ศ. 2560 นางสีดา (Sita) เป็นตัวละครเอกจากเรื่องรามเกียรติ์ โดยเป็นบุตรสาวของทศกัณฐ์กับนางมณโฑ และเป็นอัครมเหสีของพระราม แต่ในรามายณะของอินเดียหลายฉบับบอกว่านางสีดาเป็นธิดาของพระภูมิเทวีหรือพระแม่ธรณี.

ใหม่!!: รายชื่อตัวละครในรามเกียรติ์และนางสีดา · ดูเพิ่มเติม »

นางอากาศตะไล

อากาศตะไล หรือ นางสุรสา (Surasa) เป็นชื่อตัวละครในเรื่องรามายณะของอินเดียและรามเกียรติ์ของไทย ในเรื่องรามายณะของอินเดียเป็นเทวีซึ่งเป็นมารดาของเหล่านาคและดูแลมหาสมุทรก่อนถึงกรุงลงกาและเป็นสตรีหนึ่งในสามคนที่รักษากรุงลงกาได้แก่ นางสุรสา นางสิมหิกา และผีเสื้อสมุทร ในรามเกียรติ์ของไทย เป็นยักษิณีซึ่งเป็นเสื้อเมืองกรุงลงกา รักษาด่านทางอากาศ และเป็นหนึ่งในเจ็ดกองลาดตระเวนตรวจการกรุงลงกา เมื่อหนุมานมาถวายแหวนให้แก่นางสีดาที่สวนขวัญในกรุงลงกา อากาศตะไลได้รบกับหนุมาน และพ่ายแพ้ถูกหนุมานสังหารถึงแก่ความตาย (ชื่ออากาศตะไล เขียนตามบทพระราชนิพนธ์เรื่องรามเกียรติ์ ในรัชกาลที่ ๑, ชื่ออังกาศตะไล เขียนตามบทพระราชนิพนธ์ เรื่องรามเกียรติ์ ในรัชกาลที่ ๒).

ใหม่!!: รายชื่อตัวละครในรามเกียรติ์และนางอากาศตะไล · ดูเพิ่มเติม »

นางเบญกาย

นางเบญกาย เป็นตัวละครในวรรณคดีเรื่อง รามเกียรติ์ เป็นธิดาของพิเภก และเป็นหลานของทศกัณฐ์ ที่ต่อมาได้ตกเป็นภรรยาคนหนึ่งของหนุมาน (ตอนนี้ไม่ปรากฏในรามายณะ) นางปรากฏตัวในตอนนางลอย ที่ทศกัณฐ์ผู้เป็นลุงได้สั่งให้เธอแปลงกายนางสีดาแสร้งเป็นศพลอยน้ำไปยังค่ายของพระราม หวังที่จะทำให้พระรามหมดกำลังใจและถอนทัพกลับ แต่หนุมานได้เห็นพิรุธบางประการจึงทูลพระรามก่อนนำไปสู่การเปิดเผ.

ใหม่!!: รายชื่อตัวละครในรามเกียรติ์และนางเบญกาย · ดูเพิ่มเติม »

นนทก

นนทก ในรามเกียรติ์ หรือ (Bhasmasura Praveen, Bhasmasur Praveen หรือ भस्मासुर) ในตำนานฮินดู เป็นตัวละครที่ได้รับพรจากพระศิวะมีนิ้ววิเศษชี้ไปที่ผู้ใดผู้นั้นต้องตาย สร้างความเดือนร้อนแก่เหล่าเทวดา พระวิษณุจำต้องแปลงเป็นนางโมหิณีมาล่อหลอกให้นนทกร่ายรำชี้นิ้วไปที่ตนเองจนถึงแก่ความตาย นนทกเป็นต้นกำเนิดของทศกัณฐ์ในรามเกียรต.

ใหม่!!: รายชื่อตัวละครในรามเกียรติ์และนนทก · ดูเพิ่มเติม »

นนทยักษ์

นนทยักษ์ เป็นเสนายักษ์ 1 ใน 10 ตนของเสนายักษ์กรุงลงกา มีลักษณะสีขาบ 1 หน้า 2 มือ หัวโล้น หมวดหมู่:ตัวละครในรามเกียรติ์.

ใหม่!!: รายชื่อตัวละครในรามเกียรติ์และนนทยักษ์ · ดูเพิ่มเติม »

นนทสูร

นนทสูร เป็นยักษ์ใน "รามเกียรติ์".

ใหม่!!: รายชื่อตัวละครในรามเกียรติ์และนนทสูร · ดูเพิ่มเติม »

นนทจิตร

นนทจิตร เป็นเสนายักษ์ 1 ใน 20 ตนของเสนายักษ์กรุงลงกา มีลักษณะเป็นสีมอคราม 1 หน้า 2 มือ หัวโล้น หมวดหมู่:ตัวละครในรามเกียรติ์.

ใหม่!!: รายชื่อตัวละครในรามเกียรติ์และนนทจิตร · ดูเพิ่มเติม »

นนทไพรี

นนทไพรี เป็นเสนายักษ์ 1 ใน 20 ตนของเสนายักษ์กรุงลงกา มีลักษณะสีมอหมึก 1 หน้า 2 มือ หัวโล้น หมวดหมู่:ตัวละครในรามเกียรติ์.

ใหม่!!: รายชื่อตัวละครในรามเกียรติ์และนนทไพรี · ดูเพิ่มเติม »

แม่น้ำสะโตง

แม่น้ำสะโตง หรือ แม่น้ำซิตอง (Sittoung River, စစ်တောင်းမြစ်) เป็นแม่น้ำในประเทศพม่ามีความยาว 420 กิโลเมตร เป็นเส้นแบ่งเขตแดนระหว่างเขตหงสาวดีกับรัฐมอญ แม่น้ำสะโตงเป็นแม่น้ำสายใหญ่ที่เมื่อถึงฤดูน้ำหลาก ความกว้างจากฝั่งหนึ่งไปยังอีกฝั่งหนึ่งอาจกว้างได้ถึง 3 กิโลเมตร มีความสำคัญในประวัติศาสตร์ไทยเมื่อครั้งที่สมเด็จพระนเรศวรมหาราช เสด็จหลบหนีกองทัพพม่าของพระมหาอุปราชมังสามเกียด พระองค์ได้หลบหนีข้ามพ้นมาและได้แสดงวีรกรรมยิงพระแสงปืนข้ามลำน้ำสะโตง คือ ยิงปืนคาบศิลาจากอีกฝั่งของแม่น้ำถูกแม่ทัพพม่า ชื่อ สุรกรรมา เสียชีวิตคาคอช้าง เมื่อปี พ.ศ. 2127 ซึ่งต่อมาพระแสงปืนกระบอกนี้ได้ถูกขนามนามว่า "พระแสงปืนต้นข้ามแม่น้ำสะโตง".

ใหม่!!: รายชื่อตัวละครในรามเกียรติ์และแม่น้ำสะโตง · ดูเพิ่มเติม »

แม่น้ำคงคา

ริเวณที่ราบลุ่มแม่น้ำคงคาอันกว้างใหญ่ ริมฝั่งแม่น้ำคงคา แม่น้ำคงคา (เทวนาครี: गंगा คังคา ภาษาอังกฤษ: Ganges แกนจีส, Ganga) เป็นแม่น้ำสายสำคัญของอินเดีย ซึ่งได้ชื่อว่าเป็นแม่น้ำศักดิ์สิทธิ์ของชาวฮินดูคู่กับแม่น้ำยมุนาที่ไหลขนานกัน มีต้นกำเนิดทางภาคเหนือของอินเดีย บริเวณเทือกเขาหิมาลัย ไหลผ่านทางภาคตะวันออกเฉียงเหนือของอินเดียไปทางตะวันออก และรวมกับแม่น้ำพรหมบุตรที่ประเทศบังกลาเทศ เกิดเป็นดินดอนสามเหลี่ยมขนาดใหญ่ชื่อว่าสามเหลี่ยมปากแม่น้ำคงคา นับเป็นแหล่งชลประทานและการคมนาคมที่สำคัญแห่งหนึ่ง ก่อนจะไหลออกที่อ่าวเบงกอล แม่น้ำคงคามีความยาวประมาณ 2,510 กิโลเมตร.

ใหม่!!: รายชื่อตัวละครในรามเกียรติ์และแม่น้ำคงคา · ดูเพิ่มเติม »

แสงอาทิตย์

แสงอาทิตย์ส่องผ่านเมฆ แสงอาทิตย์ เป็นรังสีแม่เหล็กไฟฟ้าส่วนหนึ่งที่ปล่อยออกจากดวงอาทิตย์ โดยเฉพาะอย่างยิ่งแสงในช่วงอินฟราเรด แสงที่ตามองเห็น และอัลตราไวโอเล็ต บนโลก แสงอาทิตย์ถูกกรองผ่านชั้นบรรยากาศโลก และเห็นชัดเป็นแสงกลางวันเมื่อดวงอาทิตย์อยู่เหนือเส้นขอบฟ้า แสงอาทิตย์มีสีขาว เกิดจากแสงทั้ง7สีมารวมกัน โดยแสงอาทิตย์จะมีความยาวคลื่นประมาณ 400-700nm แสงที่ความยาวคลื่นต่ำสุดคือสีม่วง สีน้ำเงิน จนมาถึงสีแดง ที่มีความยาวคลื่นประมาณ 700nm เมื่อรังสีจากดวงอาทิตย์โดยตรงไม่ถูกเมฆกั้น แสงอาทิตย์จะเป็นแสงจ้าและรังสีความร้อนประกอบกัน เมื่อรังสีจากดวงอาทิตย์โดยตรงถูกเมฆกั้นหรือสะท้อนออกไปโดยวัตถุอื่น จะเห็นไปแสงพร่ากระจาย (diffused light) แสงอาทิตย์ใช้เวลาเดินทางถึงโลกราว 8.3 นาที โดยเฉลี่ย ต้องใช้พลังงานระหว่าง 10,000 ถึง 170,000 ปีจึงจะออกจากภายในดวงอาทิตย์ แล้วค่อยถูกเปล่งจากพื้นผิวเป็นแสงได้ แสงอาทิตย์โดยตรงมีประสิทธิภาพความส่องสว่างอยู่ที่ราว 93 ลูเมนต่อวัตต์ของฟลักซ์การแผ่รังสี แสงอาทิตย์สว่างให้ความสว่างประมาณ 100,000 ลักซ์หรือลูเมนต่อตารางเมตรที่พื้นผิวโลก องค์ประกอบของแสงอาทิตย์ที่ระดับพื้นต่อตารางเมตร เมื่อดวงอาทิตย์อยู่ที่จุดเหนือศีรษะ อยู่ที่ราว 527 วัตต์ของรังสีอินฟราเรด 445 วัตต์ของแสงที่ตามองเห็น และ 32 วัตต์ของรังสีอัลตราไวโอเล็ต บนชั้นบรรยากาศ แสงอาทิตย์เข้มกว่าประมาณ 30% โดยมีสัดส่วนอัลตราไวโอเล็ตสูงกว่าสามเท่า รังสีอัลตราไวโอเล็ตที่เพิ่มขึ้นนี้ส่วนใหญ่ประกอบด้วยอัลตราไวโอเล็ตคลื่นสั้นที่เป็นอันตรายต่อสิ่งมีชีวิต แสงอาทิตย์ เป็นพลังงานรูปแบบหนึ่ง ที่เกิดจากปฏิกิริยานิวเคลียร์ฟิวส์ชัน (Nuclear fusion)  บนดวงอาทิตย์  เกิดจากการหลอมรวมตัวกันของอะตอม ของธาตุไฮโดรเจน กลายเป็นอะตอมของธาตุฮีเลียม ในการเกิดปฏิกิริยานี้ จะให้พลังงานมหาศาล และพลังงานรูปหนึ่งที่เกิดขึ้นนี้ แผ่รังสีในรูปคลื่นแม่เหล็กไฟฟ้า มายังโลกของเรา ที่เราพอสังเกตเห็นได้ในรูปของความร้อน และแสง ที่เราเรียกว่า แสงแดด หรือแสงอาทิตย์  คลื่นแม่เหล็กไฟฟ้าที่แผ่รังสีมาจากดวงอาทิตย์นี้มีความยาวคลื่นต่างๆ ตั้งแต่ความยาวคลื่นมากกว่า 1,000  ไมครอน  (Micron)  ต่อเนื่องกันจนถึงสั้นกว่า  0.2  ไมครอน  (200 นาโนเมตร)  ในบรรดาคลื่นแสงที่แผ่มาจากดวงอาทิตย์ทั้งหมด แสงสีเหลืองที่มีความยาวคลื่น  0.55  ไมครอน  (550 นาโนเมตร)  เป็นคลื่นแสงที่มี ปริมาตรความเข้มสูงสุด ดังแสดงด้วยเส้นกราฟสเปคตรัม  (Spectrum)  ของคลื่นแสง และแสงแดดเป็นคลื่นแสง ที่เหมาะสมที่พืชใช้ในการสังเคราะห์แสงสร้างชีวมวล (Biomass) และมี่ส่วนทำให้พืชและสัตว์ดำรงชีวิตอยู่บนโลกนี้ได้.

ใหม่!!: รายชื่อตัวละครในรามเกียรติ์และแสงอาทิตย์ · ดูเพิ่มเติม »

โคบุตร

โคบุตร เป็นนิทานกลอนเรื่องแรกของสุนทรภู่ แต่งขึ้นเพื่อถวายเจ้านายในพระราชวังหลังพระองค์หนึ่ง เป็นเรื่องเกี่ยวกับ โคบุตรซึ่งเป็นลูกของพระอาทิตย์และนางอัปสร โดยฝากเลี้ยงไว้กับพญาราชสีห์ และนางไกรสร เมื่อเจริญชันษาโคบุตรซึ่งได้รับของวิเศษจากพระอาทิตย์ คือ แหวน และสังวาล และได้รับมอบใบยาวิเศษที่สามารถชุบชีวิตคนตายให้มีชีวิตได้จากราชสีห์ ต่อจากนั้นจึงเป็นเรื่องราวการผจญภัยของโคบุตร ดังที่จะคัดมาตอนหนึ่งในตอนท้ายที่โคบุตรมีพระมเหสีสองคน คือ นางอำพันมาลา และนางมณีสาคร นางอำพันมาลาเห็นโคบุตรรักนางมณีสาครมากกว่าตน จึงทำเสน่ห์ให้โคบุตรหลงรัก แต่อรุณกุมารได้แก้ไขเสน่ห์ โคบุตรโกรธมากถึงกับสั่งประหาร แต่อรุณกุมารขอร้อง โคบุตรจึงขับไล่นางอำพันมาลาออกจากวัง ดังต่อไปนี้ หมวดหมู่:นิทาน หมวดหมู่:วรรณคดีประเภทกลอน หมวดหมู่:กวีนิพนธ์ของสุนทรภู่.

ใหม่!!: รายชื่อตัวละครในรามเกียรติ์และโคบุตร · ดูเพิ่มเติม »

ไฟ

ฟ ไฟ เป็นการออกซิเดชันของวัสดุอย่างรวดเร็วในกระบวนการเผาไหม้ชนิดคายความร้อนซึ่งปล่อยความร้อน แสงสว่าง และผลิตภัณฑ์มากมายจากปฏิกิริยา กระบวนการออกซิเดชันที่ช้ากว่านั้น เช่น การขึ้นสนิม หรือการย่อยอาหาร ไม่นับรวมในนิยามนี้ ไฟร้อนเนื่องจากการแปลงพันธะคู่อ่อนของโมเลกุลของออกซิเจน (O2) ไปเป็นพันธะที่แข็งแกร่งกว่าทำให้เกิดผลิตภัณฑ์เป็นคาร์บอนไดออกไซด์และน้ำ ปล่อยพลังงานออกมา (418 กิโลจูลต่อออกซิเจน 32 กรัม) พลังงานพันธะของเชื้อเพลิงมีส่วนเพียงเล็กน้อยSchmidt-Rohr, K. (2015).

ใหม่!!: รายชื่อตัวละครในรามเกียรติ์และไฟ · ดูเพิ่มเติม »

ไกยเกษี

ระนางไกยเกษี เป็นพระธิดาของท้าวไกยเกษ กับพระมหาเทวีเจ้าประไภวดีหรือเกศินี เป็นพระอัครมเหสีองค์หนึ่งของท้าวทศรถ มีพระโอรสชื่อพระพรต เมื่อครั้งพระอินทร์เชิญท้าวทศรถขึ้นไปปราบอสูรปทูตทันต์ที่ขึ้นไปรุกรานสวรรค์ ปทูตทันต์แผลงศรถูกเพลารถพระที่นั่งหักลง พระนางไกยเกษีเอาแขนสอดแทนเพลาที่หัก และสังหารอสูรตนนั้น ท้าวทศรถจึงพระราชทานพร เมื่อท้าวทศรถจะมอบราชบัลลังก์ให้พระราม นางจึงใช้โอกาสขอพรนั้น ให้พระพรตครองราชย์ก่อน และขอให้พระรามออกผนวชเป็นเวลา ๑๔ ปี นางจึงเป็นต้นเหตุให้พระรามเดินป่า และท้าวทศรถสิ้นพระชนม์ด้วยความตรอมพระทัยที่พรากจากโอรส นางถูกห้ามไม่ให้จุดไฟพระเพลิง หลังจากพิธีบรมศพ นางไปทูลขอลุแก่โทษและกราบทูลให้พระรามกลับมาครองร.

ใหม่!!: รายชื่อตัวละครในรามเกียรติ์และไกยเกษี · ดูเพิ่มเติม »

ไมยราพ

มยราพ เป็นตัวละครในเรื่องรามเกียรติ์ พญายักษ์เจ้าแห่งเมืองบาดาล กายสีม่วงอ่อน มงกุฏยอดกระหนก ปากขบ นัยน์ตาจระเข้ มีเวทมนตร์สะกดทัพ และเครื่องสรรพยาเป่ากล้องล่องหนเป็นอาวุธ ในต้นฉบับภาษาสันสกฤตชื่อว่า อหิรภัณ อหิรภณะ ไมยราพเป็นยักษ์ที่มีนิสัยดุร้ายเป็นอย่างมาก.

ใหม่!!: รายชื่อตัวละครในรามเกียรติ์และไมยราพ · ดูเพิ่มเติม »

ไวยวิก

วยวิก เป็นโอรสของนางพิรากวนพี่สาวของไมยราพณ์ ก่อนไมยราพณ์จะรบกับพระรามได้ฝันร้าย โหรทำนายว่าเมืองบาดาลนี้จะมีพระญาติวงศ์ขึ้นเสวยสมบัติ เมื่อโหรดูอย่างละเอียดก็รู้ว่าไวยวิกจะขึ้นครองสมบัติไมยราพณ์จึงรับสั่งให้นนทสูรจับไวยวิกกับนางพิรากวนขัง ต่อมาเมื่อจะรบกับกองทัพพระราม ไมยราพณ์สะกดทัพแล้วจับพระรามไปขังไว้ยังเมืองบาดาล หนุมานรู้ก็รีบตามไปช่วยและพบกับนางพิรากวนได้ช่วยเหลือหนุมานจนช่วยพระรามออกมาได้สำเร็จ และฆ่าไมยราพณ์ตาย หลังจากนั้นจึงปล่อยไวยวิกออกจากที่คุมขัง ทำการมอบสมบัติให้ครองสืบไป ภายหลังได้ไปเข้าเฝ้าพระราม.

ใหม่!!: รายชื่อตัวละครในรามเกียรติ์และไวยวิก · ดูเพิ่มเติม »

ไวยตาล

ไวยตาล-พญารากษส ลักษณะหัวโขน หน้ายักษ์สีครามอ่อน บางตำราว่าสีมอคราม ปากขบตาจระเข้ สวมมงกุฎหระหนก กายสีครามอ่อน บางตำราว่าสีมอคราม มี 1 พักตร์ 2 กรครองกรุงกุรุราษฎร์ในบาดาลเป็นสหายของท้าวจักรวรรดิแห่งกรุงมลิวันท้าวจักรวรรดิขอความช่วยเหลือให้มาช่วยรบศึกกรุงมลิวัน จึงได้ทำพิธิปลุกกระบองตาลวิเศษที่บาดาลเพื่อให้มีฤทธิ์ชี้ต้นตายชี้ปลายเป็นกายจะเป็นเพชร ใครฆ่าไม่ตาย พระพรตให้นิลพัทและอสุรพัตไปทำลายพิธี สำเร็จแล้วดักรออยู่จนกระทั่งท้าวไวยตาลยกทัพมา เกิดการสู้รบกัน ท้าวไวยตาลตาย.

ใหม่!!: รายชื่อตัวละครในรามเกียรติ์และไวยตาล · ดูเพิ่มเติม »

เมขลา

นางมณีเมขลากับรามสูร เมขลา หรือ มณีเมขลา เป็นเทพธิดาประจำมหาสมุทร และเป็นนางผู้ถือดวงแก้วล่อให้รามสูรขว้างขวานจนทำให้เกิดฟ้าร้อง แต่นางก็โยนแก้วล่อไปล่อมาทำให้เกิดฟ้าแลบแสบตา ทั้งนี้จาตุมหาราชิกาได้มอบหมายให้คอยช่วยเหลือผู้มีบุญญาที่ตกน้ำ โดยปรากฏในชาดกเรื่อง "พระมหาชนก" ซึ่งเมขลาเข้าช่วยเหลือเจ้าชายมหาชนกจากเรืออัปปางAnne Elizabeth Monius.

ใหม่!!: รายชื่อตัวละครในรามเกียรติ์และเมขลา · ดูเพิ่มเติม »

เสาร์

ร์ อาจหมายถึง.

ใหม่!!: รายชื่อตัวละครในรามเกียรติ์และเสาร์ · ดูเพิ่มเติม »

เทวดา

ระอินทร์ทรงช้างเอราวัณ เทวดา (devatā) หรือ เทพ (deva เทว) ตามคติความเชื่อทางศาสนาต่าง ๆ หมายถึง ชาวสวรรค์ที่เป็นโอปปาติกะ มีกายทิพย์ ตาทิพย์ หูทิพย์ และกินอาหารทิพย์ และเสวยสุขในสรวงสวรรค์ชั้นต่าง ๆ ซึ่งถือว่าเป็นภพภูมิที่ดี เทวดาผู้หญิงเรียกว่า เทวี หรือ "เทพี" หรือ นางฟ้า เทวดาผู้มีมิจฉาทิฐิ เรียกว่า มาร คำว่า เทพเจ้า หมายถึง เทวดาผู้เป็นใหญ่ ตามความเชื่อแบบพหุเทวนิยม ซึ่งเชื่อว่ามีอำนาจควบคุมธรรมชาติบางอย่าง เช่น สุริยเทพ เทพเจ้าแห่งสายฟ้.

ใหม่!!: รายชื่อตัวละครในรามเกียรติ์และเทวดา · ดูเพิ่มเติม »

เขาไกรลาส

กรลาส แผนที่แสดงที่ตั้ง เขาไกรลาส (कैलास ไกลาส; ทิเบต: གངས་རིན་པོ་ཆེ; 冈仁波齐峰; พินอิน: Gāngrénbōqí fēng) เป็นยอดเขาแห่งหนึ่งของเทือกเขาหิมาลัย ตั้งอยู่ในทิศตะวันตกของเขตปกครองตนเองทิเบต ทางตอนเหนือของยอดเขานันทาเทวีราว 100 ไมล์ มีความสูง 22,020 ฟุต จัดว่าเป็นยอดเขาสูงเป็นอันดับที่ 32 ของโลก และสูงเป็นที่ 19 ในบรรดายอดเขาของเทือกเขาหิมาลัย เป็นยอดเขาที่มีอายุกำเนิดมาจนถึงปัจจุบัน 50 ล้านปี ในศาสนาฮินดูเชื่อว่าเขาไกรลาสเป็นที่ประทับของพระศิวะ ในศาสนาพุทธมีคัมภีร์สารัตถปกาสินีระบุว่าเขาไกรลาสเป็นเขาที่ประเสริฐสุดในบรรดาภูเขาในป่าหิมพานต์ และยังปรากฏในศาสนาเชนและศาสนาบอนด้วย ตามความเชื่อของศาสนาต่าง ๆ เหล่านี้ เขาไกรลาสเป็นศูนย์กลางของจักรวาล และเชื่อว่า คือแห่งเดียวกันกับเขาพระสุเมรุ เชิงเขาไกรลาส เป็นต้นกำเนิดของแม่น้ำสำคัญหลายสายของภูมิภาคแห่งนี้ ได้แก่ แม่น้ำคงคา แม่น้ำสินธุ และยังมีทะเลสาบอีก 7 แห่งอยู่รายรอบ ซึ่งแห่งที่สำคัญ คือ "ทะเลสาบมานสโรวระ" หรือ "ทะเลสาบมานัสสะ" อยู่ทางเหนือของเขาไกรลาส ที่เชื่อกันว่า คือ "สระอโนดาต" ในป่าหิมพานต์ เชื่อกันว่าเป็นสถาน ๆ ที่เป็นต้นกำเนิดของหงส์ และหงส์จะบินกลับมาที่นี่ทุกปี ทะเลสาบมานัส ได้ถูกอ้างอิงถึงในรามายณะและมหาภารตะ ที่ระบุว่า "ทะเลสาบมานัสอันศักดิ์สิทธิ์นี้ แม้แต่ใครได้ถูกต้องสัมผัสหรือนำเอามาล้างร่างกายหรือได้อาบน้ำในทะเลสาบนี้ ผู้นั้นจะได้ไปสู่สรวงสวรรค์ และถ้าใครได้ดื่มน้ำในทะเลสาบศักดิ์สิทธิ์นี้ ก็จะได้ขึ้นไปอยู่ในสวรรค์ใกล้ที่สถิตของพระศิวะ" เขาไกรลาส ปกติจะปกคลุมด้วยหิมะและน้ำแข็งสีขาวโพลน จนได้อีกชื่อหนึ่งว่า "ภูเขาสีเงิน" ("ไกรลาส" หรือ "ไกลาส" เป็นคำวิเศษณ์ในภาษาสันสกฤต แปลว่า "สีเงินยวง") ทุกปีจะมีผู้จารึกแสวงบุญตามศาสนาต่าง ๆ เดินทางมาที่นี่ โดยเชื่อว่าเป็นการบูชาและได้อยู่ใกล้พระศิวะ โดยทำการประทักษิณให้ครบ 39 รอบ เป็นการเคารพบูชาอันสูง.

ใหม่!!: รายชื่อตัวละครในรามเกียรติ์และเขาไกรลาส · ดูเพิ่มเติม »

เปาวนาสูร

ปาวนาสูร มโหทร (ซ้าย) และเปาวนาสูร (ขวา) เปาวนาสูร เป็นยักษ์สำคัญในเรื่องรามเกียรติ์ มีบทบาทเคียงข้างทศกัณฐ์เจ้ากรุงลงกาอยู่เสมอ เช่นเดียวกับมโหทร เป็นยักษ์ชั้นเสนาบดีแห่งลงกา มีกายสีขาว มี 1 หน้า 2 มือ และมีลักษณะหัวโขน หน้ายักษ์สีขาว ปากแสยะตาโพลง บางแห่งว่าปากขบตาจระเข้ สวมมงกุฎน้ำเต้าเฟือง หัวโขนอีกแบบหนึ่งทำเป็นหัวโล้น สวมกระบังหน้า มงกุฏน้ำเต้ากลม.

ใหม่!!: รายชื่อตัวละครในรามเกียรติ์และเปาวนาสูร · ดูเพิ่มเติม »

เปลี่ยนเส้นทางที่นี่:

วรประไภสมุทรชาสุมันตันอโนมาตันพระมงกุฎ พระลบพระลบพระอโนมาตันทรพาทรพีท้าวสุทรรศน์ท้าวอัชบาลท้าวอโนมาตันท้าวชนกจักรวรรดิ์ท้าวโรมพัตนางมลิกานางมณีเกสรนางรัชฏาสูรนางเกาสุริยา

ขาออกขาเข้า
Hey! เราอยู่ใน Facebook ตอนนี้! »