โลโก้
ยูเนี่ยนพีเดีย
การสื่อสาร
ดาวน์โหลดได้จาก Google Play
ใหม่! ดาวน์โหลด ยูเนี่ยนพีเดีย บน Android ™ของคุณ!
ติดตั้ง
เร็วกว่าเบราว์เซอร์!
 

พระพรหมโมลี (สุชาติ ธมฺมรตโน)

ดัชนี พระพรหมโมลี (สุชาติ ธมฺมรตโน)

ระพรหมโมลี (สุชาติ ธมฺมรตโน) เจ้าคณะภาค 5 ผู้ช่วยเจ้าอาวาสวัดปากน้ำ ภาษีเจริญ แม่กองบาลีสนามหลวง เลขานุการแม่กองงานพระธรรมทูต รองประธานคณะพระธรรมจาริก หัวหน้าพระธรรมทูตสายที่ 3 ประธานคณะเลขานุการผู้ปฏิบัติหน้าที่สมเด็จพระสังฆราช เลขาธิการสมัชชามหาคณิสสร.

25 ความสัมพันธ์: พ.ศ. 2497พ.ศ. 2519พระราชาคณะพระราชาคณะชั้นธรรมพระราชาคณะเจ้าคณะรองกรุงเทพมหานครมหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัยมหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราชมหานิกายวัดสามพระยาวัดปากน้ำ ภาษีเจริญสมณศักดิ์สมเด็จพระพุทธโฆษาจารย์ (ฟื้น ชุตินฺธโร)สมเด็จพระมหารัชมังคลาจารย์ (ช่วง วรปุญฺโญ)สมเด็จพระมหาธีราจารย์ (นิยม ฐานิสฺสโร)สังฆราชสำนักงานแม่กองบาลีสนามหลวงอำเภอศรีประจันต์ผู้ปฏิบัติหน้าที่สมเด็จพระสังฆราชจังหวัดสุพรรณบุรีนักธรรมชั้นเอกเจ้าคณะภาคเปรียญธรรม 9 ประโยค23 ตุลาคม4 กรกฎาคม

พ.ศ. 2497

ทธศักราช 2497 ตรงกับปีคริสต์ศักราช 1954.

ใหม่!!: พระพรหมโมลี (สุชาติ ธมฺมรตโน)และพ.ศ. 2497 · ดูเพิ่มเติม »

พ.ศ. 2519

ทธศักราช 2519 ตรงกับปีคริสต์ศักราช 1976 เป็นปีอธิกสุรทินที่วันแรกเป็นวันพฤหัสบดี ตามปฏิทินเกรกอเรียน.

ใหม่!!: พระพรหมโมลี (สุชาติ ธมฺมรตโน)และพ.ศ. 2519 · ดูเพิ่มเติม »

พระราชาคณะ

ในการพระราชทานสมณศักดิ์ชั้นพระราชาคณะขึ้นไป พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวเสด็จไปพระราชทานด้วยพระองค์เองหรือไม่ก็โปรดเกล้าให้ผู้แทนพระองค์เป็นผู้มอบแทน พัดยศสมณศักดิ์พระราชาคณะเจ้าคณะรอง พระราชาคณะ หมายถึงพระภิกษุที่ได้รับสถาปนาให้มีสมณศักดิ์ตั้งแต่ชั้นสามัญจนถึงชั้นสมเด็จพระราชาคณะ ในสมัยกรุงศรีอยุธยาเรียกว่าพระสังฆราชาคณะ หมายความว่าเจ้าคณะผู้ปกครองสงฆ์ ต่อมาในสมักรุงรัตนโกสินทร์เปลี่ยนเป็นพระราชาคณะ ความหมายยังคงเดิม มีคำนำหน้าราชทินนามว่าพระ แต่ภาษาชาวบ้านเรียกกันว่าเจ้าคุณหรือท่านเจ้าคุณ ถ้าเป็นสมเด็จพระราชาคณะเรียกว่าท่านเจ้าประคุณ แยกเป็นลำดับดังนี้ พัดยศสมณศักดิ์พระราชาคณะชั้นสามัญเปรียญ.

ใหม่!!: พระพรหมโมลี (สุชาติ ธมฺมรตโน)และพระราชาคณะ · ดูเพิ่มเติม »

พระราชาคณะชั้นธรรม

ระราชาคณะชั้นธรรม เป็นสมณศักดิ์ของพระสงฆ์ไทย มีศักดิ์รองลงมาจากพระราชาคณะเจ้าคณะรอง และสูงกว่าพระราชาคณะชั้นเท.

ใหม่!!: พระพรหมโมลี (สุชาติ ธมฺมรตโน)และพระราชาคณะชั้นธรรม · ดูเพิ่มเติม »

พระราชาคณะเจ้าคณะรอง

ระราชาคณะเจ้าคณะรองเป็นสมณศักดิ์ของพระสงฆ์ไทย มีศักดิ์สูงกว่าพระราชาคณะชั้นธรรม และรองลงมาจากสมเด็จพระราชาคณะ เดิมจึงเรียกว่ารองสมเด็จพระราชาคณ.

ใหม่!!: พระพรหมโมลี (สุชาติ ธมฺมรตโน)และพระราชาคณะเจ้าคณะรอง · ดูเพิ่มเติม »

กรุงเทพมหานคร

กรุงเทพมหานคร เป็นเมืองหลวงและนครที่มีประชากรมากที่สุดของประเทศไทย เป็นศูนย์กลางการปกครอง การศึกษา การคมนาคมขนส่ง การเงินการธนาคาร การพาณิชย์ การสื่อสาร และความเจริญของประเทศ เป็นเมืองที่มีชื่อยาวที่สุดในโลก ตั้งอยู่บนสามเหลี่ยมปากแม่น้ำเจ้าพระยา มีแม่น้ำเจ้าพระยาไหลผ่านและแบ่งเมืองออกเป็น 2 ฝั่ง คือ ฝั่งพระนครและฝั่งธนบุรี กรุงเทพมหานครมีพื้นที่ทั้งหมด 1,568.737 ตร.กม.

ใหม่!!: พระพรหมโมลี (สุชาติ ธมฺมรตโน)และกรุงเทพมหานคร · ดูเพิ่มเติม »

มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย

มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย(มจร.) คือสถาบันการศึกษาพระพุทธศาสนาชั้นสูงในรูปแบบมหาวิทยาลัย ได้รับพระมหากรุณาธิคุณจากพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว ทรงสถาปนาขึ้นเพื่อถวายแด่คณะสงฆ์ฝ่ายมหานิกาย โดยเริ่มจัดการเรียนการสอนด้านพุทธศาสตร์เป็นสาขาแรก แล้วต่อมาได้ขยายการเรียนการสอนไปยังสาขาวิชาอื่นๆ คล้ายกับรูปแบบการก่อตั้ง มหาวิทยาลัยปารีส ประเทศฝรั่งเศส และมหาวิทยาลัยอ๊อกซ์ฟอร์ด ประเทศอังกฤษ ที่เริ่มต้นจากสาขาด้านศาสนาแล้วขยายไปยังสาขาอื่นอีกมายมาย มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย ถือกำเนิดจาก "มหาธาตุวิทยาลัย" ที่พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ให้สถาปนาขึ้นภายในวัดมหาธาตุฯ เมื่อปี พ.ศ. 2430 โดยเริ่มทำการสอนตั้งแต่ปี..

ใหม่!!: พระพรหมโมลี (สุชาติ ธมฺมรตโน)และมหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย · ดูเพิ่มเติม »

มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช

มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช (ื่อย่อ: ม., STOU) เป็นสถาบันอุดมศึกษาของรัฐแบบไม่จำกัดรับจำนวน (มหาวิทยาลัยเปิด) แห่งเดียวของประเทศไทย และเป็นมหาวิทยาลัยเปิดโดยใช้ระบบการศึกษาทางไกลแห่งเดียวในประเทศไทย มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราชจัดตั้งขึ้นเพื่อขยายและกระจายโอกาสทางการศึกษาระดับอุดมศึกษาแก่ประชาชน มีลักษณะเป็นมหาวิทยาลัยในระบบเปิด ดำเนินการดำเนินการสอนโดยใช้ระบบการสอนทางไกลซึ่งพระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดชทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ พระราชทานชื่อ "มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช" ตามพระนามกรมของพระบาทสมเด็จพระปกเกล้าเจ้าอยู่หัว เมื่อครั้งทรงดำรงพระอิสริยยศเป็นกรมหลวงสุโขทัยธรรมราชา และพระราชทานพระบรมราชานุญาตให้ใช้พระราชลัญจกรในรัชกาลที่ 7 ซึ่งเป็นรูปพระแสงศรสามองค์ นำมาประกอบกับเจดีย์ทรงพุ่มข้าวบิณฑ์ซึ่งเป็นสัญลักษณ์ของ กรุงสุโขทัย เป็นตราประจำมหาวิทยาลัย เมื่อวันที่ 5 กันยายน พ.ศ. 2521 พระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดชได้ทรงลงพระปรมาภิไธยใน พระราชบัญญัติมหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช พุทธศักราช 2521 มหาวิทยาลัยจึงกำหนดวันที่ 5 กันยายน ของทุกปีเป็นวันคล้ายวันสถาปนามหาวิทยาลัย มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราชจัดการเรียนการสอนในระดับปริญญาตรีแบบมหาวิทยาลัยเปิดโดยรับนักศึกษาไม่จำกัดจำนวน ปัจจุบันมหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราชเปิดการศึกษาถึงระดับดุษฎีบัณฑิตในบางสาขาวิชา โดยมีการสอบคัดเลือกเพื่อเข้าศึกษาเหมือนมหาวิทยาลัยปิดทั่วไป มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราชไม่มีชั้นเรียนตามปกติเหมือนมหาวิทยาลัยทั่วไป แต่ดำเนินการสอนโดยใช้ระบบการสอนทางไกล ซึ่งจัดการเรียนการสอนโดยเน้นให้นักศึกษาเรียนรู้ด้วยตนเองจากเอกสารชุดวิชาจากสื่อสารสนเทศต่าง ๆ ที่ทางมหาวิทยาลัยจัดไว้ให้นักศึกษา เช่น สื่อสิ่งพิมพ์ สื่ออิเล็กทรอนิกส์และสื่อต่าง ๆ เป็นต้น ผู้ที่จบการศึกษาจากมหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราชในอดีต ได้รับพระมหากรุณาธิคุณให้เข้ารับพระราชทานปริญญาบัตรจากพระหัตถ์พระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดช แต่ในปัจจุบันสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวมหาวชิราลงกรณ บดินทรเทพยวรางกูร เสด็จพระราชดำเนินปฏิบัติพระราชกรณียกิจในการพระราชทานปริญญาบัตรแก่บัณฑิต จากมหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราชจนถึงปัจจุบัน ภายหลัง รัฐประหารในประเทศไทย พ.ศ. 2557 คณะรักษาความสงบแห่งชาติ ได้ออกประกาศที่ 1/2560 เข้าควบคุมมหาวิทยาลั.

ใหม่!!: พระพรหมโมลี (สุชาติ ธมฺมรตโน)และมหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช · ดูเพิ่มเติม »

มหานิกาย

มหานิกาย เป็นคำเรียกนิกาย หรือคณะของพระสงฆ์ไทยสายเถรวาทลัทธิลังกาวงศ์ซึ่งเป็นพระสงฆ์ส่วนใหญ่ในประเทศไทย เป็นฝ่ายคันถธุระ เดิมนั้น คำเรียกแบ่งแยกพระสงฆ์สายเถรวาทในประเทศไทยออกเป็นมหานิกายและธรรมยุติกนิกายยังไม่มี เนื่องจากคณะพระสงฆ์ไทยในสมัยโบราณ ก่อนหน้าที่จะมีการจัดตั้งคณะธรรมยุตขึ้นในรัชสมัยพระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวนั้น ไม่มีการแบ่งแยกออกเป็นนิกายต่าง ๆ โดยส่วนใหญ่พระสงฆ์ไทยนั้นล้วนแต่เป็นเถรวาทสายลังกาวงศ์ทั้งสิ้น จนเมื่อพระวชิรญาณเถระ หรือเจ้าฟ้ามงกุฏ (พระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ 4) ได้ก่อตั้งนิกายธรรมยุตขึ้นในปี พ.ศ. 2376 แยกออกจากคณะพระสงฆ์ไทยที่มีมาแต่เดิมซึ่งเป็นพระสงฆ์ส่วนใหญ่ในสมัยนั้น จึงทำให้พระองค์คิดคำเรียกพระสงฆ์ส่วนใหญ่ในประเทศไทยที่เป็นสายเถรวาทลังกาวงศ์เดิมว่า พระส่วนมาก หรือ มหานิกาย ซึ่งคำ มหานิกาย นั้น มาจากธาตุศัพท์ภาษาบาลี มหนฺต + นิกาย แปลว่าพวกมาก กล่าวโดยสรุป มหานิกายก็คือ พระสงฆ์สายเถรวาทลังกาวงศ์ดั้งเดิมในประเทศไทยส่วนใหญ่ที่ไม่ใช่พระสงฆ์ธรรมยุติกนิก.

ใหม่!!: พระพรหมโมลี (สุชาติ ธมฺมรตโน)และมหานิกาย · ดูเพิ่มเติม »

วัดสามพระยา

วัดสามพระยา เป็นพระอารามหลวงชั้นตรี ชนิดสามัญ เดิมเป็นวัดราษฎร์ สถานที่ตั้งอยู่ที่ แขวงวัดสามพระยา เขตพระนคร กรุงเทพมหานคร ชาวบ้านในละแวกนั้นบ้างก็เรียกชื่อวัดว่า วัดสัก หรือ วัดบางขุนพรหม สันนิษฐานว่า สร้างมาตั้งแต่สมัยกรุงศรีอยุธยาเป็นราชธานี ได้มีการก่อสร้างและบูรณปฏิสังขรณ์เสนาสนะ มาโดยลำดับ ครั้นต่อมา ในรัชกาลที่ ๓ ได้มีพี่น้องร่วมบิดามารดา ประกอบด้วย พระยาราชภักดี (สิงห์ทอง) พระยาเทพอรชุน (ทองปาน) และพระยาราชวรานุกูล (ทองคำ) รวมสามคนพี่น้อง ตามประวัติ บิดาท่านชื่อ มะทอเปิ้น อพยพมาจากรามัญประเทศ แต่ มารดาท่านไม่ปรากฏนาม พี่น้องทั้งสาม ได้จัดสร้างวัดนี้ขึ้นใหม่ แล้วเสร็จจึงได้ทูลเกล้าฯ ถวายเป็นวัดหลวง พระบาทสมเด็จพระนั่งเกล้าเจ้าอยู่หัว มอบพระราชทานนามวัดว่า “วัดสามพระยา”.

ใหม่!!: พระพรหมโมลี (สุชาติ ธมฺมรตโน)และวัดสามพระยา · ดูเพิ่มเติม »

วัดปากน้ำ ภาษีเจริญ

วัดปากน้ำ ภาษีเจริญ เป็นพระอารามหลวงชั้นตรี ตั้งอยู่ ณ ที่ราบลุ่มบางกอกซึ่งเป็นส่วนหนึ่งของดินดอนสามเหลี่ยมปากแม่น้ำเจ้าพระยา ตั้งอยู่ริมคลองหลวงหรือ คลองบางกอกใหญ่ อันเป็นลำแม่น้ำเจ้าพระยาเดิม ก่อนที่จะมีการขุดคลองลัดหน้าวัดอรุณราชวรารามและกลายเป็นลำแม่น้ำเจ้าพระยาในปัจจุบัน เนื่องจากวัดตั้งอยู่บริเวณปากคลองด่านที่แยกไปจากคลองบางหลวงอีกทีหนึ่ง ชื่อของวัดจึงถูกเรียกขานตามตำบลที่ตั้งว่า วัดปากน้ำ ซึ่งชื่อนี้มีปรากฏเรียกใช้ในจดหมายเหตุโบราณหลายฉบับ แต่ได้พบชื่อของวัดที่แปลกออกไปในแผนที่กรุงเทพฯ พ.ศ. 2453 และ พ.ศ. 2474 ว่า วัดสมุทธาราม แต่ไม่เป็นที่นิยมเรียกขานกันอย่างนั้น คงเรียกว่า วัดปากน้ำ มาโดยตลอด ในสมัยรัชกาลที่ 4 ได้มีการขุดคลองภาษีเจริญที่ข้างวัดด้านทิศตะวันตก วัดจึงมีลำน้ำหลักล้อมอยู่ทั้ง 3 ด้าน ส่วนด้านใต้เป็นคลองเล็กแสดงอาณาเขตของวัดในสมัยก่อน วัดปากน้ำ เป็นวัดโบราณสร้างมาแต่สมัยกรุงศรีอยุธยาตอนกลาง (ระหว่าง พ.ศ. 2031-2172) สถาปนาโดยพระราชวงศ์ในสมัยกรุงศรีอยุธยา แต่ไม่ปรากฏพระนามแน่ชัด เป็นวัดประจำหัวเมืองธนบุรี ปรากฏในตำนานเรื่องวัตถุสถานต่างๆ ซึ่งพระบาทสมเด็จพระนั่งเกล้าเจ้าอยู่หัวทรงสถาปนาว่าเป็นพระอารามหลวงครั้งกรุงศรีอยุธยา อันหมายถึงพระอารามที่พระเจ้าแผ่นดินหรือพระมเหสีทรงสถาปนาตั้งแต่สมัยกรุงศรีอยุธยานั้น หลักฐานทางโบราณวัตถุและโบราณสถานภายในวัดมีอายุย้อนไปถึงสมัยอยุธยาตอนกลาง ได้พบร่องรอยคลองเล็กด้านทิศใต้และทิศตะวันตกของวัด ที่โบราณขุดไว้เป็นแนวเขตที่ดินของวัดหลวงสมัยอยุธยา ที่ตั้งของวัดปากน้ำจึงมีลักษณะเป็นเกาะรูปสี่เหลี่ยมมีน้ำล้อมอยู่ทุกด้าน สถาปัตยกรรมและศิลปวัตถุที่อยู่คู่วัดมาเช่น หอพระไตรปิฏก ตู้พระไตรปิฎกทรงบุษบก ล้วนเป็นฝีมือช่างหลวงสมัยสมเด็จพระนารายณ์มหาราช และตัวพระอุโบสถก็ใช้เทคนิคการก่อสร้างในสมัยนั้น ได้ค้นพบนามเจ้าอาวาส 1 รูป ในสมัยสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวพระที่นั่งสุริยาสน์อมรินทร์ (พระเจ้าเอกทัศ) คือ พระครูธนะราชมุนี วัดปากน้ำ ได้มีบทบาทสำคัญมาแต่โบราณเพราะได้รับสถาปนาเป็นพระอารามหลวงที่อยู่นอกกรุงศรีอยุธยา เป็นวัดสำคัญประจำหัวเมืองหน้าด่านทางทะเล ในจดหมายเหตุสมัยต้นกรุงรัตนโกสินทร์ พระบาทสมเด็จพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลกได้เสด็จพระราชดำเนินทางชลมารคถวายผ้าพระกฐินหลวง ณ วัดปากน้ำ ตลอดรัชกาลวัดปากน้ำได้รับการบูรณปฏิสังขรณ์มาโดยตลอด คือ ได้รับพระราชทานพระราชทรัพย์จากสมเด็จพระเจ้าตากสินมหาราชในการซ่อมหลังคาพระอุโบสถคราวหนึ่ง ต่อมาพระบาทสมเด็จพระนั่งเกล้าเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ 3 ได้บูรณปฏิสังขรณ์ใหญ่ในตอนต้นกรุงรัตนโกสินทร์ และให้คงรูปแบบสถาปัตยกรรมสมัยกรุงศรีอยุธยาไว้ ครั้นถึงรัชสมัยพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวรัชกาลที่ 5 ทางวัดได้รับพระบรมราชานุญาตบูรณปฏิสังขรณ์ครั้งใหญ่เกือบทั้งอารามโดยให้อนุรักษ์ศิลปะเดิมไว้ และได้ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ให้พระบรมวงศานุวงศ์นำพระกฐินหลวงมาถวายตลอดรัชกาล ในสมัยรัชกาลที่ 6 วัดปากน้ำได้ชำรุดทรุดโทรมลง ไม่มีเจ้าอาวาสประจำพระอาราม มีแต่ผู้รักษาการที่อยู่ในอารามอื่น ทางเจ้าคณะปกครองได้ส่งพระสมุห์สด จนฺทสโร จากวัดพระเชตุพนวิมลมังคลารามมาดำรงตำแหน่งเจ้าอาวาส ซึ่งท่านได้กวดขันพระภิกษุสามเณรให้ปฏิบัติในพระธรรมวินัยอย่างเคร่งครัด ที่สำคัญได้มีการสอนสมถวิปัสสนากัมมัฏฐาน ส่งเสริมการศึกษาพระปริยัติธรรมตั้งสำนักเรียนทั้งนักธรรมและบาลี สร้างโรงเรียนพระปริยัติธรรมที่ทันสมัยที่สุดในสมัยนั้น ทำให้พระภิกษุสามเณร และสาธุชนเข้ามาขอศึกษาและปฏิบัติธรรมเป็นจำนวนมาก วัดจึงเจริญขึ้นมาโดยลำดับ กลายเป็นศูนย์กลางการปฏิบัติธรรม และเป็นศูนย์กลางการศึกษาบาลี ท่านได้รับพระมหากรุณาธิคุณโปรดเกล้าฯ ตั้งสมณศักดิ์เป็นพระราชาคณะฝ่ายวิปัสสนาธุระ และได้รับพระราชทานเลื่อนสมณศักดิ์มาโดยลำดับ สมณศักดิ์สุดท้ายในพระราชทินนามที่ พระมงคลเทพมุนี แต่ผู้คนทั่วไปรู้จักและเรียกขานนามท่านว่า หลวงพ่อวัดปากน้ำ ในสมัยสมเด็จพระวันรัต (ปุ่น ปุณฺณสิริ) ดำรงตำแหน่งรักษาการเจ้าอาวาส (ในกาลต่อมาท่านได้รับพระราชทานสถาปนาพระอิสริยยศเป็น สมเด็จพระอริยวงศาคตญาณ สมเด็จพระสังฆราช (ปุ่น ปุณฺณสิริ) ในรัชสมัยของพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวภูมิพลอดุลยเดช) วัดปากน้ำได้รับการปรับปรุงทัศนียภาพและบูรณปฏิสังขรณ์ครั้งสำคัญ เช่น พระอุโบสถ พระวิหาร ช่างได้เปลี่ยนสถาปัตยกรรมเครื่องบนเป็นศิลปะสมัยรัตนโกสินทร์เกือบทั้งอาราม แต่ตัวรากฐานและอาคารยังคงเป็นของโบราณแต่เดิมมา ถึงสมัยพระเดชพระคุณท่านเจ้าพระคุณสมเด็จพระมหารัชมังคลาจารย์ (ช่วง วรปุญฺโญ ป.ธ. 9) เจ้าอาวาสวัดปากน้ำรูปปัจจุบัน วัดปากน้ำได้พัฒนาอย่างมากในด้านการศึกษาพระปริยัติธรรม มีพระภิกษุสามเณรสอบได้เปรียญธรรม 9 ประโยคในนามวัดปากน้ำเป็นจำนวนมาก และการปฏิบัติภาวนาตามแนวหลวงพ่อวัดปากน้ำก็ได้รับการส่งเสริมสนับสนุนให้มีสถานที่ปฏิบัติ คือ หอเจริญวิปัสสนาเป็นเอกเทศ และมีผู้เข้าปฏิบัติเป็นจำนวนมากทุกวัน.

ใหม่!!: พระพรหมโมลี (สุชาติ ธมฺมรตโน)และวัดปากน้ำ ภาษีเจริญ · ดูเพิ่มเติม »

สมณศักดิ์

มณศักดิ์ ตามพจนานุกรมฉบับราชบัณฑิตยสถาน พ.ศ. 2542 หมายความว่า ยศพระสงฆ์ที่ได้รับพระราชทานมีหลายชั้น แต่ละชั้นมีพัดยศเป็นเครื่องกำหนด อาจกล่าวได้ว่า สมณศักดิ์ คือบรรดาศักดิ์ หรือยศที่พระมหากษัตริย์พระราชทานแก่ภิกษุผู้ประพฤติดี ประพฤติชอบให้ดำรงมั่นอยู่ในสมณเพศ เพื่อเป็นกำลังสืบต่ออายุพระพุทธศาสนาและเพื่อให้การปกครองคณะสงฆ์เป็นไปโดยเรียบร้อย เพราะการที่พระภิกษุรูปใดได้รับพระราชทานสมณศักดิ์ ย่อมได้รับมอบหมายภาระหน้าที่ในการปกครองหมู่คณะแห่งสงฆ์ไปพร้อมกันด้ว.

ใหม่!!: พระพรหมโมลี (สุชาติ ธมฺมรตโน)และสมณศักดิ์ · ดูเพิ่มเติม »

สมเด็จพระพุทธโฆษาจารย์ (ฟื้น ชุตินฺธโร)

มเด็จพระพุทธโฆษาจารย์ นามเดิม ฟื้น พลายภู่ ฉายา ชุตินฺธโร (20 มีนาคม พ.ศ. 2448 - 16 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2539) เป็นสมเด็จพระราชาคณะ อดีตเจ้าคณะใหญ่หนกลาง อดีตกรรมการมหาเถรสมาคม อดีตแม่กองบาลีสนามหลวง และอดีตเจ้าอาวาสวัดสามพร.

ใหม่!!: พระพรหมโมลี (สุชาติ ธมฺมรตโน)และสมเด็จพระพุทธโฆษาจารย์ (ฟื้น ชุตินฺธโร) · ดูเพิ่มเติม »

สมเด็จพระมหารัชมังคลาจารย์ (ช่วง วรปุญฺโญ)

มเด็จพระมหารัชมังคลาจารย์ นามเดิม ช่วง สุดประเสริฐ ฉายา วรปุญฺโญ เป็นสมเด็จพระราชาคณะฝ่ายมหานิกาย ปัจจุบันดำรงตำแหน่ง กรรมการมหาเถรสมาคมโดยตำแหน่ง เจ้าอาวาสวัดปากน้ำ ภาษีเจริญ (พระอารามหลวง) ประธานสมัชชามหาคณิสสร และอดีตผู้ปฏิบัติหน้าที่สมเด็จพระสังฆร.

ใหม่!!: พระพรหมโมลี (สุชาติ ธมฺมรตโน)และสมเด็จพระมหารัชมังคลาจารย์ (ช่วง วรปุญฺโญ) · ดูเพิ่มเติม »

สมเด็จพระมหาธีราจารย์ (นิยม ฐานิสฺสโร)

มเด็จพระมหาธีราจารย์ (นิยม ฐานิสฺสโร) (นามเดิม: นิยม จันทนินทร) (11 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2466 - 11 มีนาคม พ.ศ. 2554) เป็นอดีตกรรมการมหาเถรสมาคม และเจ้าอาวาสวัดชนะสงครามราชวรมหาวิหาร ได้รับพระบัญชาแต่งตั้งให้ดำรงตำแหน่งเจ้าคณะใหญ่หนกลาง และเป็นคณะผู้ปฏิบัติหน้าที่สมเด็จพระสังฆร.

ใหม่!!: พระพรหมโมลี (สุชาติ ธมฺมรตโน)และสมเด็จพระมหาธีราจารย์ (นิยม ฐานิสฺสโร) · ดูเพิ่มเติม »

สังฆราช

ังฆราช คือพระมหาเถระผู้เป็นใหญ่สูงสุดในสังฆมณฑล ในแต่ละประเทศ เช่น ประเทศพม่า ประเทศไทย ประเทศกัมพูชา มักมีพระสังฆราชเป็นของตน พระสังฆราชอาจเป็นประมุขเฉพาะคณะสงฆ์นิกายหนึ่งหรือเป็นประมุขคณะสงฆ์ทั้งปวงทุกนิกายในประเทศนั้น (ซึ่งเรียกว่าสกลมหาสังฆปริณายก) คำว่า สังฆราช เป็นคำสมาสจากคำว่า สงฺฆ (พระสงฆ์) + ราช (พระราชา) ซึ่งแปลว่า พระราชาแห่งคณะสง.

ใหม่!!: พระพรหมโมลี (สุชาติ ธมฺมรตโน)และสังฆราช · ดูเพิ่มเติม »

สำนักงานแม่กองบาลีสนามหลวง

ำนักงานแม่กองบาลีสนามหลวง เป็นหน่วยงานจัดการศึกษาพระปริยัติธรรมแผนกบาลีของคณะสงฆ์ไทย ภายใต้การดูแลของมหาเถรสมาคม (คู่กับสำนักงานแม่กองธรรมสนามหลวง) ซึ่งอยู่ในความอุปถัมภ์ของรัฐบาลไทย หน้าที่หลักคือกำหนดเปลี่ยนแปลงการใช้คัมภีร์เรียนในหลักสูตรเปรียญธรรม 1-9 ให้เหมาะสมกับชั้นเรียนของแต่ละประโยค รวมทั้งการจัดสอบประเมินผลการศึกษาบาลีระดับชาติ โดยมีสำนักงานพระพุทธศาสนาแห่งชาติเป็นผู้รับสนองงาน ภายใต้การกำกับดูแลของมหาเถรสมาคม.

ใหม่!!: พระพรหมโมลี (สุชาติ ธมฺมรตโน)และสำนักงานแม่กองบาลีสนามหลวง · ดูเพิ่มเติม »

อำเภอศรีประจันต์

อำเภอศรีประจันต์ เป็นอำเภอหนึ่งของจังหวัดสุพรรณบุรี.

ใหม่!!: พระพรหมโมลี (สุชาติ ธมฺมรตโน)และอำเภอศรีประจันต์ · ดูเพิ่มเติม »

ผู้ปฏิบัติหน้าที่สมเด็จพระสังฆราช

ผู้ปฏิบัติหน้าที่สมเด็จพระสังฆราช เป็นตำแหน่งรักษาการแทนสมเด็จพระสังฆราช มีสมเด็จพระราชาคณะผู้อาวุโสโดยสมณศักดิ์ ซึ่งปฏิบัติหน้าที่แทนสมเด็จพระสังฆราช สกลมหาสังฆปริณายก ในระหว่างที่ตำแหน่งสมเด็จพระสังฆราช สกลมหาสังฆปริณายกยังว่างอยู่ หรือในระหว่างที่สมเด็จพระสังฆราช สกลมหาสังฆปริณายก ทรงปฏิบัติศาสนากิจในราชกิจในต่างประเทศ ตามพระราชบัญญัติคณะสง..

ใหม่!!: พระพรหมโมลี (สุชาติ ธมฺมรตโน)และผู้ปฏิบัติหน้าที่สมเด็จพระสังฆราช · ดูเพิ่มเติม »

จังหวัดสุพรรณบุรี

รรณบุรี เป็นจังหวัดหนึ่งในภาคกลางของประเทศไทย ห่างจากกรุงเทพมหานคร 107 กิโลเมตร จังหวัดที่อยู่ติดกัน (จากทิศเหนือ วนตามเข็มนาฬิกา) ได้แก่ อุทัยธานี ชัยนาท สิงห์บุรี อ่างทอง พระนครศรีอยุธยา นครปฐม และกาญจนบุรี.

ใหม่!!: พระพรหมโมลี (สุชาติ ธมฺมรตโน)และจังหวัดสุพรรณบุรี · ดูเพิ่มเติม »

นักธรรมชั้นเอก

นักธรรมชั้นเอก (ชื่อย่อ น.ธ.เอก; dhamma scholar advanced level) เป็นระดับการศึกษา พุทธศาสนาในประเทศไทย แผนกธรรม โดยเป็นชั้นสูงสุดของการศึกษาระดับพื้นฐานของพระสงฆ์ สามเณรในประเทศไทย แบ่งชั้นเรียนออกเป็น 3 ชั้น คือ นักธรรมชั้นตรี นักธรรมชั้นโท และ นักธรรมชั้นเอก ทั้ง ๓ ชั้นนี้เป็นการศึกษาสำหรับฝ่าย พระภิกษุสามเณรโดยเฉ.

ใหม่!!: พระพรหมโมลี (สุชาติ ธมฺมรตโน)และนักธรรมชั้นเอก · ดูเพิ่มเติม »

เจ้าคณะภาค

้าคณะภาค เป็นพระสังฆาธิการที่ได้รับพระบัญชาแต่งตั้งจากสมเด็จพระสังฆราช โดยผ่านมติการเห็นชอบของมหาเถรสมาคม มีอำนาจหน้าที่การปกครองตามพระราชบัญญัติคณะสงฆ์และกฎมหาเถรสมาคม ในเขตจังหวัดของตน เจ้าคณะภาค คือพระสังฆาธิการผู้ปกครองคณะสงฆ์ระดั.

ใหม่!!: พระพรหมโมลี (สุชาติ ธมฺมรตโน)และเจ้าคณะภาค · ดูเพิ่มเติม »

เปรียญธรรม 9 ประโยค

ัดยศเปรียญธรรม 9 ประโยค เปรียญธรรม 9 ประโยค (ชื่อย่อ ป.ธ.9) เป็นระดับชั้นสูงสุด ของการศึกษาแผนกบาลีของคณะสงฆ์ไทย แต่เดิมภาษาบาลีคือภาษามคธที่คนในแคว้นมคธใช้พูดกันเท่านั้น เพราะภาษาบาลีไม่มีอักษรใช้เขียนเป็นตัวหนังสือ พระพุทธเจ้าตรัสสอนธรรมด้วยภาษามคธเพราะแคว้นมคธเป็นแคว้นใหญ่ เหตุที่ภาษาบาลีไม่มีอักษรเขียน จึงต้องอาศัยอักษรจากภาษาอื่นเป็นตัวเขียน เช่น อักษรเทวนาครี อักษรขอม อักษรไทย อักษรโรมัน เป็นต้น ในปัจจุบันภาษาบาลีถือว่าเป็นภาษาที่ตายแล้ว เหมือนภาษาละติน ถึงแม้มีคนใช้พูดอยู่ก็น้อยมาก ในพระพุทธศาสนามีเพียงนิกายเถรวาทที่ใช้ภาษาบาลี เช่นในพระไตรปิฎก เป็นต้น ความหวังผู้ที่สอบได้ ป..๙ สามารถเทียบเท่าระดับปริญญาดุษฎีบัณฑิต หรือ ดร.ทางฝ่ายโลกได้ คือ เป็น ดร.

ใหม่!!: พระพรหมโมลี (สุชาติ ธมฺมรตโน)และเปรียญธรรม 9 ประโยค · ดูเพิ่มเติม »

23 ตุลาคม

วันที่ 23 ตุลาคม เป็นวันที่ 296 ของปี (วันที่ 297 ในปีอธิกสุรทิน) ตามปฏิทินสุริยคติแบบเกรกอเรียน เมื่อถึงวันนี้จะยังเหลือวันอีก 69 วันในปีนั้น.

ใหม่!!: พระพรหมโมลี (สุชาติ ธมฺมรตโน)และ23 ตุลาคม · ดูเพิ่มเติม »

4 กรกฎาคม

วันที่ 4 กรกฎาคม เป็นวันที่ 185 ของปี (วันที่ 186 ในปีอธิกสุรทิน) ตามปฏิทินสุริยคติแบบเกรกอเรียน เมื่อถึงวันนี้จะยังเหลือวันอีก 180 วันในปีนั้น.

ใหม่!!: พระพรหมโมลี (สุชาติ ธมฺมรตโน)และ4 กรกฎาคม · ดูเพิ่มเติม »

ขาออกขาเข้า
Hey! เราอยู่ใน Facebook ตอนนี้! »