โลโก้
ยูเนี่ยนพีเดีย
การสื่อสาร
ดาวน์โหลดได้จาก Google Play
ใหม่! ดาวน์โหลด ยูเนี่ยนพีเดีย บน Android ™ของคุณ!
ดาวน์โหลด
เร็วกว่าเบราว์เซอร์!
 

เมืองพระนคร

ดัชนี เมืองพระนคร

มืองพระนคร (ក្រុងអង្គរ) ตั้งอยู่ในจังหวัดเสียมราฐ ทางตะวันตกเฉียงเหนือของประเทศกัมพูชา อยู่เหนือทะเลสาบเขมรไม่ไกลนัก เมืองพระนครได้รับลงทะเบียนเป็นมรดกโลกเมื่อปี พ.ศ. 2535 ซึ่งตั้งแต่ปีที่ลงทะเบียนเรื่อยมาจนถึงปี พ.ศ. 2547 เมืองพระนครได้ถูกจัดให้เป็นแหล่งมรดกโลกที่ตกอยู่ในภาวะอันตร.

21 ความสัมพันธ์: บารายตะวันออกบารายตะวันตกพ.ศ. 2535พ.ศ. 2547มรดกโลกรายชื่อแหล่งมรดกโลกที่กำลังตกอยู่ในภาวะอันตรายจังหวัดเสียมราฐประเทศกัมพูชาปราสาทบันทายศรีปราสาทบันทายสำเหร่ปราสาทบากองปราสาทบายนปราสาทพระกาฬปราสาทตาพรหมปราสาทนาคพันธ์ปราสาทนครหลวงปราสาทโลเลยนครวัดนครธมโตนเลสาบเสียมราฐ (เมือง)

บารายตะวันออก

รายตะวันออก (បារាយណ៍ខាងកើត; East Baray) ในปัจจุบันเป็น บาราย ที่เหือดแห้งหายไปแล้ว เป็นแหล่งเก็บน้ำสำคัญในอดีตใน เมืองพระนคร ประเทศกัมพูชา ตั้งอยู่ทางด้านตะวันออกของกำแพงเมือง นครธม บารายตะวันออกถูกสร้างขึ้นในราวปี พ.ศ. 1443 (หรือ คริสต์ศตวรรษที่ 10) ในรัชสมัยของ พระเจ้ายโศวรมัน บารายแห่งนี้ถูกหล่อเลี้ยงโดยแม่น้ำเสียมราฐ บารายแห่งนี้เป็นบารายที่ใหญ่ที่สุดอันดับสอง รองลงมาจาก บารายตะวันตก วัดคร่าว ๆ ได้ 7,150 คูณ 1,740 เมตร และบรรจุน้ำเกือบ 50 ล้าน ลูกบาศก์เมตรของน้ำ รูปสลักที่เล่าเรื่องการก่อสร้างบาราย พบได้ตามมุมทั้งสี่ของสิ่งก่อสร้าง ตอนแรก บารายแห่งนี้ ถูกเรียกว่า ยโศดรตตกะ ตามชื่อกษัตริย์ผู้สร้าง บัณฑิตแบ่งแยกกันตามความคิดของวัตถุประสงค์ของบารายนี้ และบารายอื่น ๆ โดยทฤษฎีบางทฤษฎี ชาวขอมกักเก็บน้ำสำหรับการชลประทาน แต่ไม่มีร่องรอยการแกะสลักที่บ่งบอกถึงวัตถุประสงค์ดังกล่าว ทฤษฎีอื่น ๆ คือ บารายถูกสร้างขึ้นมาหลัก ๆ ไว้สำหรับทางศาสนา ซึ่งแสดงถึงทะเลแห่งการสร้าง ซึ่งล้อมรอบเขาพระสุเมรุ ที่อยู่อาศัยของเทพเจ้าในศาสนาฮินดู บารายตะวันออกในปัจจุบันไม่ได้บรรจุน้ำแล้ว แต่เค้าโครงของมันยังคงปรากฏให้เห็นเด่นชัดในภาพถ่ายทางอากาศ ตรงใจกลางของบาราย คือ ปราสาทแม่บุญตะวันออก ซึ่งตั้งอยู่ในพื้นยกระดับที่เคยเป็นเกาะมาก่อนในอดีต ตอนที่บารายยังบรรจุน้ำ.

ใหม่!!: เมืองพระนครและบารายตะวันออก · ดูเพิ่มเติม »

บารายตะวันตก

แก้ไข บารายตะวันตก บารายตะวันตก (បារាយណ៍ទឹក​ថ្លា; West Baray) เป็นบาราย (อ่างเก็บน้ำขนาดใหญ่ที่มนุษย์สร้างขึ้น เป็นเสมือนทะเลสาบน้ำจืด ที่ใช้เพื่อการเกษตร) ที่สร้างขึ้นในอาณาจักรขอม อยู่ทางตะวันตกของนครธม มีขนาดกว้าง 2.2 กิโลเมตร ยาว 8 กิโลเมตร ลึกโดยเฉลี่ย 7 เมตร มีพื้นที่ 1,760 เฮกเตอร์ จุน้ำได้ราว 123 ล้านลูกบาศก์ลิตร ใจกลางของบาราย มีเกาะเล็ก ๆ ตั้งอยู่ เรียกว่า แม่บุญตะวันตกสร้างในสมัยพระเจ้าสุริยวรมันที่ 1 ซึ่งยังคงมีน้ำขังอยู่จนถึงทุกวันนี้ สามารถใช้เป็นแหล่งประมงน้ำจืด และพื้นที่พักผ่อนของชาวเสียมราฐ ต่างจากบารายตะวันออกที่ปัจจุบันตื้นเขินไปแล้ว หมวดหมู่:สิ่งก่อสร้างในประเทศกัมพูชา หมวดหมู่:ปราสาทขอม.

ใหม่!!: เมืองพระนครและบารายตะวันตก · ดูเพิ่มเติม »

พ.ศ. 2535

ทธศักราช 2535 ตรงกับปีคริสต์ศักราช 1992 เป็นปีอธิกสุรทินที่วันแรกเป็นวันพุธตามปฏิทินเกรกอเรียน.

ใหม่!!: เมืองพระนครและพ.ศ. 2535 · ดูเพิ่มเติม »

พ.ศ. 2547

ทธศักราช 2547 ตรงกับปีคริสต์ศักราช 2004 เป็นปีอธิกสุรทินที่วันแรกเป็นวันพฤหัสบดีตามปฏิทินเกรกอเรียน เป็นปีอธิกมาส ปกติวาร ตามปฏิทินไทยจันทรคติ และกำหนดให้เป็น.

ใหม่!!: เมืองพระนครและพ.ศ. 2547 · ดูเพิ่มเติม »

มรดกโลก

ตราสัญลักษณ์ แหล่งมรดกโลก หรือ มรดกโลก (World Heritage Site; Patrimoine Mondial) คือสถานที่ อันได้แก่ ป่าไม้ อนุสาวรีย์ สิ่งก่อสร้างต่างๆ รวมไปถึงเมือง ซึ่งคัดเลือกโดยองค์การยูเนสโกตั้งแต่ปี พ.ศ. 2515 เพื่อเป็นการบ่งบอกถึงคุณค่าของสิ่งที่มนุษยชาติ หรือธรรมชาติได้สร้างขึ้นมา และควรจะปกป้องสิ่งเหล่านั้นได้อย่างไร เพื่อให้ได้ตกทอดไปถึงอนาคต ในปัจจุบัน (กรกฎาคม 2560) มีมรดกโลกทั้งหมด 1073 แห่ง ใน 167 ประเทศทั่วโลก ซึ่งแบ่งเป็นมรดกโลกทางวัฒนธรรม 832 แห่ง มรดกโลกทางธรรมชาติ 206 แห่ง และอีก 35 แห่งเป็นแบบผสมทั้งสองประเภท, UNESCO World Heritage Sites official sites.

ใหม่!!: เมืองพระนครและมรดกโลก · ดูเพิ่มเติม »

รายชื่อแหล่งมรดกโลกที่กำลังตกอยู่ในภาวะอันตราย

โบสถ์พระคริสตสมภพ ซึ่งถือกันว่าเป็นสถานที่ประสูติของพระเยซู เป็นหนึ่งในสถานที่ที่ถูกกำหนดให้เป็นแหล่งมรดกโลก และเป็นแหล่งมรดกโลกที่กำลังตกอยู่ในภาวะอันตราย ในปีเดียวกัน.

ใหม่!!: เมืองพระนครและรายชื่อแหล่งมรดกโลกที่กำลังตกอยู่ในภาวะอันตราย · ดูเพิ่มเติม »

จังหวัดเสียมราฐ

ียมราฐ หรือ เสียมเรียบ (សៀមរាប) เป็นจังหวัดหนึ่งในประเทศกัมพูชา ตั้งอยู่ทางตะวันตกเฉียงเหนือของประเทศ อยู่ริมฝั่งทะเลสาบเขมร ห่างจากกรุงพนมเปญ 314 กิโลเมตร โดยใช้เวลาเดินทางด้วยรถยนต์ประมาณ 5 ชั่วโมง จังหวัดเสียมราฐเป็นที่ตั้งของนครวัดและกลุ่มปราสาทหินหลายแห่ง อาทิ หมู่ปราสาทหินจากอาณาจักรขอม ได้แก่ ปราสาทนครวัด, กลุ่มปราสาทนครธม, (ตาพรหม และบายน, บันทายศรี, บากอง, โลเลย, พนมบาเค็ง, พนมกุเลน และบารายตะวันตก เมืองหลักของจังหวัดนี้ (เทียบได้กับอำเภอเมืองในจังหวัดของไทย) ก็มีชื่อว่า เสียมราฐ เช่นกัน โดยเมืองเสียมราฐนี้เป็นแหล่งท่องเที่ยวที่สำคัญที่สุดของประเทศกัมพูชา แต่ละปีมีนักท่องเที่ยวไปเยี่ยมชมนครวัดประมาณ 1,600,000 คน.

ใหม่!!: เมืองพระนครและจังหวัดเสียมราฐ · ดูเพิ่มเติม »

ประเทศกัมพูชา

กัมพูชา หรือ ก็อมปุเจีย (កម្ពុជា กมฺพุชา) ชื่ออย่างเป็นทางการว่า ราชอาณาจักรกัมพูชา หรือ ราชอาณาจักรก็อมปุเจีย (ព្រះរាជាណាចក្រកម្ពុជា พฺระราชาณาจกฺรกมฺพุชา) เป็นประเทศตั้งอยู่ในส่วนใต้ของคาบสมุทรอินโดจีนในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ มีพื้นที่ 181,035 ตารางกิโลเมตร มีพรมแดนทิศตะวันตกติดต่อกับประเทศไทย ทิศเหนือติดกับประเทศไทยและลาว ทิศตะวันออกและทิศใต้ติดกับเวียดนาม และทิศตะวันตกเฉียงใต้ติดอ่าวไทย ด้วยประชากรกว่า 14.8 ล้านคน กัมพูชาเป็นประเทศที่มีประชากรมากที่สุดอันดับที่ 66 ของโลก ศาสนาพุทธนิกายเถรวาทเป็นศาสนาประจำชาติ ซึ่งประชากรกัมพูชานับถือประมาณ 95% ชนกลุ่มน้อยในประเทศมีชาวเวียดนาม ชาวจีน ชาวจาม และชาวเขากว่า 30 เผ่า เมืองหลวงและเมืองใหญ่สุด คือ พนมเปญ ซึ่งเป็นศูนย์กลางการเมือง เศรษฐกิจและวัฒนธรรมของกัมพูชา ราชอาณาจักรกัมพูชาปกครองแบบราชาธิปไตยภายใต้รัฐธรรมนูญ มีพระบาทสมเด็จพระบรมนาถ นโรดม สีหมุนี มาจากการเลือกตั้งโดยราชสภาเพื่อราชบัลลังก์ เป็นประมุขแห่งรัฐ ประมุขรัฐบาล คือ สมเด็จอัครมหาเสนาบดีเดโช ฮุน เซน ผู้ซึ่งปัจจุบันเป็นผู้นำที่ดำรงตำแหน่งนานที่สุดในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ โดยได้ปกครองกัมพูชามาเป็นระยะเวลากว่า 25 ปี ใน..

ใหม่!!: เมืองพระนครและประเทศกัมพูชา · ดูเพิ่มเติม »

ปราสาทบันทายศรี

ลักบนหน้าบันสลักของสถาปัตยกรรมขอม ปรากฏครั้งแรกที่ปราสาทบันทายศรีแห่งนี้ กลุ่มอาคารปราสาทบันทายศรี รูปสลักหินทรายสีชมพูรูปพญานาค ที่มีความคมชัดกว่ารูปสลักที่อื่นๆ ความละเอียดของงานแกะสลัก แผนผังปราสาท ปราสาทบันทายศรี (ប្រាសាទបន្ទាយស្រី ปราสาทบนฺทายศฺรี) เป็นปราสาทหินที่ถือได้ว่างดงามที่สุดในประเทศกัมพูชา มีความกลมกลืนอย่างสมบูรณ์ และเป็นปราสาทแห่งเดียวที่สร้างเสร็จแล้วกว่า 1000 ปี แต่ลวดลายก็ยังมีความคมชัด เหมือนกับสร้างเสร็จใหม่ ๆ ปราสาทบันทายศรีหรือเรียกตามสำเนียงเขมรว่า บันเตียไสร หมายถึง ปราสาทสตรีหรือป้อมสตรี อยู่ห่างจากตัวเมืองเสียมราฐไปทางทิศตะวันออกเฉียงเหนือประมาณ 30 กิโลเมตร ใกล้กับแม่น้ำเสียมราฐในบริเวณที่เรียกว่า อิศวรปุระ หรือเมืองของพระอิศวร.

ใหม่!!: เมืองพระนครและปราสาทบันทายศรี · ดูเพิ่มเติม »

ปราสาทบันทายสำเหร่

ปราสาทบันทายสำเหร่ ปราสาทบันทายสำเหร่ (ប្រាសាទបន្ទាយសំរែ บอนตีย์สำแร) ปราสาทนี้ได้รับการบูรณะโดยช่างชาวฝรั่งเศสด้วยวิธี Anastylose เสนีย์ เกษมวัฒนากุล, บริษัทอมรินทร์ พริ้นติ้ง แอนด์ พับลิชชิ่ง จำกัด (มหาชน), 2539, หน้า 69 ซึ่งเป็นวิธีซ่อมแซมโดยคงสภาพเดิมของปราสาทไว้ให้มากที่สุด จะไม่มีการต่อเติมหรือเพิ่มลวดลายขึ้นมาใหม่ โดยมีขั้นตอนดังนี้ ช่างจะทำแผนผังส่วนประกอบต่าง ๆ ของปราสาทไว้ทั้งหมด จากนั้นก็ค่อยๆ รื้อชิ้นส่วนต่าง ๆ ลงมา โดยจะทำเครื่องหมายและถ่ายภาพชิ้นส่วนทุกชิ้น จากนั้นก็ทำการปรับพื้นฐานล่างของปราสาทให้มั่นคงแข็งแรง แล้วสุดท้ายจึงประกอบชิ้นส่วนทั้งหมดกลับเข้าไปเหมือนเดิม การบูรณะปราสาทด้วยวิธีนี้ช่างฮอลันดาเป็นผู้คิดค้นขึ้นและใช้ครั้งแรกที่ประเทศอินโดนีเซีย สำหรับในประเทศไทยเคยใช้กับการบูรณะปราสาทหินพิมายและปราสาทหินเขาพนมรุ้ง ปราสาทบันทายสำเหร่ตั้งอยู่นอกเมืองพระนครไปทางตะวันออก นักวิชาการสันนิษฐานว่าสร้างในสมัยพระเจ้าสุริยวรมันที่ 2 หรืออาจจะเป็นสมัยพระเจ้ายโศวรมันที่ 2 เป็นเทวสถานฮินดู ศิลปะแบบนครวัด ภาพสลักส่วนใหญ่แสดงเรื่องราวเกี่ยวกับเรื่องรามเกียรติ์ มีการแกะลายที่ชัดเจน ลึกและหนักแน่น.

ใหม่!!: เมืองพระนครและปราสาทบันทายสำเหร่ · ดูเพิ่มเติม »

ปราสาทบากอง

ปราสาทบากอง ปราสาทบากอง (ប្រាសាទបាគង) เป็นปราสาทหินในกลุ่มปราสาทโลเลย นับเป็นปราสาทในยุคแรกๆ ของอาณาจักรขอม เป็นวัดประจำรัชกาลของพระเจ้าอินทรวรมันที่ 1 บากองเป็นวัดบนเขาแห่งแรกๆที่สำคัญ ลักษณะทางสถาปัตยกรรม มีโครงสร้างหลักเป็นศิลาแลง และตกแต่งด้วยหินทราย ยอดทรงปิรามิด 5 ชั้น จำลองรูปเขาพระสุเมรุ เพื่อสักการะพระศิวะ มีขนาดกว้างราว 700 ม. ยาว 900 ม. ล้อมด้วยคูชั้นนอกลึก 3 ม. ล้อมพื้นที่ราว 15 เฮกเตอร์ และคูชั้นใน ขนาดกว้าง 300 ม. ยาว 400 ม. ซึ่งปัจจุบันตื้นเขิน คงเหลือเพียงขั้นบันได ศูนย์กลางของปราสาทเป็นปิรามิด ขนาด 120 ม. ยาว 160 ม. ประติมากรรมที่สำคัญในปราสาทนี้คือสิงโตที่เฝ้าบันไดทางขึ้น, ประติมากรรมช้าง ที่หันหน้าออกไปยังปราสาทแม่บุญตะวันออก, รูปสลักนูนต่ำรูปอสูร และรูปสลักเทวทัศลอยตัวที่มุม.

ใหม่!!: เมืองพระนครและปราสาทบากอง · ดูเพิ่มเติม »

ปราสาทบายน

หอสูง รูปหน้าบริเวณศูนย์กลางของปราสาทหินบายน หอใจกลางปราสาทบายนที่มีจำนวนหน้ามากกว่าบริเวณอื่น รูปสลักนูนต่ำหินทราย นางอัปสรร่ายรำ ปราสาทบายน (ប្រាសាទបាយ័ន) เป็นปราสาทหินของอาณาจักรเขมร อยู่ในบริเวณของใจกลางนครธม สร้างขึ้นเป็นวัดประจำสมัยของพระเจ้าชัยวรมันที่ 7 ก่อสร้างในราวปี พ.ศ. 1724-พ.ศ. 1763 หลังจากที่พระเจ้าชัยวรมันที่ 7ทรงได้ชัยชนะจากการขับไล่กองทัพอาณาจักรจามปา นับเป็นศาสนสถานที่ยิ่งใหญ่ที่สุดแห่งหนึ่งของโลก มีความซับซ้อนทั้งในแง่โครงสร้างและความหมาย เนื่องจากผ่านความเปลี่ยนแปลงด้านศาสนาและความเชื่อมาตั้งแต่คราวนับถือเทพเจ้าฮินดู และพุทธศาสนา อาคารมีลักษณะพิเศษ เนื่องจากส่วนของหอเป็นรูปหน้าหันสี่ทิศ จำนวน 49 หอ ปัจจุบันคงเหลือเพียง 37 หอ ลักษณะโดยทั่วไปจะมี 4 หน้า 4 ทิศ แต่บางหออาจมี 3 หรือ 2 แต่บริเวณศูนย์กลางของกลุ่มอาคาร จะมีหลายหน้า ซึ่งนักท่องเที่ยวมักจะพยายามนับว่ามีกี่หน้า ลักษณทางสถาปัตยกรรมของบายนก็เช่นเดียวกับเรื่องความเชื่อ เนื่องจากมีการเปลี่ยนแปลงมาในหลาย ๆ สมัย กษัตริย์ในยุคหลัง ๆ พบว่าเป็นการง่ายกว่าที่จะปรับปรุงวัดแห่งนี้ แทนที่จะรื้อสร้างใหม่เช่นที่ทำกัน และใช้เป็นวัดประจำสมัยต่อเนื่องกันม.

ใหม่!!: เมืองพระนครและปราสาทบายน · ดูเพิ่มเติม »

ปราสาทพระกาฬ

ปราสาทพระกาฬ ปราสาทพระกาฬ () ตั้งอยู่ที่ เมืองพระนคร ประเทศกัมพูชา เป็นวัดในพุทธศาสนา สร้างขึ้นในตอนปลายคริสต์ศตวรรษที่ 12 ภายใต้การปกครองของ พระเจ้าชัยวรมันที่ 7 อยู่ทางทิศตะวันตกเฉียงเหนือของ ปราสาทนาคพัน.

ใหม่!!: เมืองพระนครและปราสาทพระกาฬ · ดูเพิ่มเติม »

ปราสาทตาพรหม

้านหน้าปราสาทตาพรหม ต้นสมพงขนาดใหญ่ ที่ขึ้นคลุมปราสาทตาพรหม ปราสาทตาพรหม (ប្រាសាទតាព្រហ្ម) สร้างขึ้นในปี พ.ศ. 1729 เป็นปราสาทหินในยุคท้ายๆ ของอาณาจักรเขมร ปราสาทเหล่านี้ถือว่าเป็นสถานที่ของพระพุทธศาสนาที่สมัยนั้นมีความเจริญรุ่งเรืองอย่างมาก เพราะสมัยนั้นกษัตริย์ที่สนับสนุนให้มีการสร้างปราสาทนี้เป็นวัดในศาสนาพุทธ การดูแลปราสาทต่างๆนั้นรัฐบาลได้ทำการตัดต้นไม้ออกจากปราสาทอื่นๆ เพราะกลัวว่าประสาทจะล้มลงหากต้นไม้ใหญ่โตมากๆ แต่สำหรับปราสาทตาพรมนั้น รัฐบาลมีแนวคิดที่จะคงต้นไม้ไว้เหมือนโบราณที่มีต้นไม้ขึ้นบนปราสาทแทบทุกปราสาทจึงกลายเป็น ลักษณะเด่นของปราสาทตาพรหมคือมีต้นไม้ใหญ่ขึ้นคลุมตัวปราสาทเป็นจำนวนมาก ไปในตอนหลัง ปราสาทตาพรมนั้น ในรัชกาลที่กษัตย์นิยมฮินดูได้อำนาจคือจากกษัตริย์นับถือพุทธ จึงให้มีการทำลาย และมีร่องรอยการทำลายมากที่สุด เพราะความต่างของการนับถือศาสนา ปราสาทตาพรมจึงไม่หลงเหลือศิลปะให้พวกเราได้เห็นมากนัก และเนื่องจากใช้ถ่ายทำหนังหลายเรื่อง เช่น ทูมไรเดอร์ เจมส์บอนด์ ฯลฯ นักท่องเที่ยวจึงเข้าคิวเพื่อถ่ายรูปกับรากไม้มากกว่าซาบซึ้งในศิลปกรรม.

ใหม่!!: เมืองพระนครและปราสาทตาพรหม · ดูเพิ่มเติม »

ปราสาทนาคพันธ์

ระน้ำตรงกลางของปราสาทนาคพันธ์ ถนนไปที่วัด ปราสาทนาคพันธ์ (ប្រាសាទនាគព័ន្ធ บฺราสาทนาคพันฺธ; Neak Pean / Neak Poan) เป็นปราสาทขนาดเล็ก ตั้งอยู่บนฐานกลมที่มีลักษณะซ้อนลดหลั่นกันลงไปเป็นชั้น ๆ ชั้นสุดท้ายเป็นรูปพญานาค 7 เศียร 2 ตัว โอบล้อมฐานของปราสาทโดยหันส่วนหัวไปทางทิศตะวันออก และส่วนหาง วนอ้อมฐานมาบรรจบกันทางทิศตะวันตก ที่ฐานของปราสาทจำหลักรูปดอกบัวรองรับตัวปราสาท และมีรูปพระโพธิสัตว์อวโลกิเตศวรประดิษฐานอยู่ที่ปราสาททั้ง 4 ทิศ ปราสาทนาคพันธ์ สร้างอยู่กลางสระสี่เหลี่ยมจตุรัสขนาดใหญ่ มีบ่อน้ำขนาดเล็กตั้งอยู่โดยรอบทั้ง 4 ทิศ แต่ละบ่อมีส่วนที่เชื่อมต่อกับสระใหญ่ตรงกลางเพื่อให้น้ำจากสระใหญ่สามารถไหลไปสู่บ่อเล็กได้ การก่อสร้างปราสาทนาคพันธ์น่าจะเกี่ยวข้องกับคติความเชื่อทางศาสนา ผังของปราสาทเป็นลักษณะการจำลองของสระอโนดาต สระอโนดาตเป็นสระน้ำบนสวรรค์มีน้ำที่ใสสะอาดและเต็มเปี่ยมอยู่ตลอดเวลา มีท่าน้ำอยู่ 4 ท่า น้ำในสระอโนดาตจะไหลออกตามช่องภูเขาที่ตั้งอยู่ทั้ง 4 ทิศของสระ ซึ่งปากช่องของภูเขาแต่ละลูกจะเป็นรูปหน้าของสัตว์ 4 ชนิด คือ สิงห์ ช้าง ม้า และวัว ใน "ย้อนรอยอารยะเมืองพระนคร" ซึ่งเขียนโดย ชากส์ คูมาร์เชย์ และแปลโดยอาจารย์วีระ ธีรภัทร ได้กล่าวถึงรูปจำหลักในทิศทั้ง 4 ของปราสาทนาคพันธ์ว่า ที่สระน้ำทางทิศตะวันตกมีหินสลักเป็นรูปหัวมนุษย์ สระน้ำทางทิศเหนือมีหินสลักเป็นรูปหัวช้าง สระน้ำทางทิศตะวันออกมีหินสลักเป็นรูปหัวม้า และสระน้ำทางทิศใต้มีหินสลักเป็นรูปหัวสิงห์ จะเห็นว่าช่างขอมจำหลักรูปหน้าสัตว์ประจำทิศในแต่ละทิศตามคติความเชื่อเรื่องสระอโนดาต แต่ในทิศตะวันตกกลับจำหลักรูปหน้าคนแทนหน้าวัว คติความเชื่อที่เกี่ยวข้องกับการสร้างปราสาทนาคพันธ์มีทั้งความเชื่อทางพุทธศาสนาและศาสนาฮินดูปะปนกัน ตัวปราสาทกลางสระสร้างตามความเชื่อทางศาสนาพุทธ แต่ไม่ปรากฏรูปพระพุทธเจ้ากลับมีรูปสลักของพระโพธิสัตว์อวโลกิเตศวรแทน.

ใหม่!!: เมืองพระนครและปราสาทนาคพันธ์ · ดูเพิ่มเติม »

ปราสาทนครหลวง

ปราสาทนครหลวง ปราสาทนครหลวง หรือ พระนครหลวง ตั้งอยู่หมู่ที่ 1 ตำบลนครหลวง อำเภอนครหลวง จังหวัดพระนครศรีอยุธยา ได้รับการขึ้นทะเบียนโบราณสถานและประกาศในราชกิจจานุเบกษา เล่ม 52 ตอนที่ 75 วันที่ 8 มีนาคม 2478 ลักษณะของสถาปัตยกรรมเป็นองค์ปราสาท เป็นพุทธสถานจตุรมุขทรงสี่เหลี่ยมผืนผ้า มี 3 ชั้น ชั้นที่ 2 เป็นซุ้มระเบียงล้อมรอบ ชั้นบนมีมณฑปประดิษฐานพระพุทธบาทสี่รอย สร้างในสมัยสมเด็จพระเจ้าปราสาททอง (ประมาณ พ.ศ. 2174).

ใหม่!!: เมืองพระนครและปราสาทนครหลวง · ดูเพิ่มเติม »

ปราสาทโลเลย

ศิลาจารึกอักษรขอมโบราณ ที่เสาในปราสาทโลเลย ทับหลังหินทรายแกะสลัก ที่ปราสาทโลเลย ปราสาทโลเลย (ប្រាសាទលលៃ บฺราสาทลอเลย) เป็นปราสาทหินอยู่ทางเหนือสุดในปราสาทกลุ่มโลเลย ในอาณาจักรขอมของกัมพูชา สร้างขึ้นในราว พ.ศ. 1435 ในสมัยพระเจ้าอินทรวรมันที่ 1 เสร็จในสมัยพระเจ้ายโศวรมันที่ 1 โอรสของพระเจ้าอินทวรมัน นับเป็นปราสาทที่มีลักษณะเหมือนเกาะ อยู่ทางเหนือของใจกลางของบาราย ขนาดกว้าง 800 ม. ยาว 3,800 ม. ปัจจุบันบารายแห้งไม่มีน้ำแล้ว ตัวปราสาทตั้งอยู่กึ่งกลางแกนด้านยาว (ตะวันออก-ตะวันตก) ของบาราย เดิมสันนิษฐานว่าพระเจ้าอินทรวรมันตั้งใจจะสร้างบารายให้กว้างกว่านี้ แต่พระเจ้ายโสวรมันต้องการจะย้ายเมืองหลวงไปนครวัด จึงได้ยุติการขุดสระบารายลงเท่าที่เป็นอยู่ ลักษณะสถาปัตยกรรม เป็นหอ 4 หอ ที่ไม่สมมาตร คือจะให้สำคัญหอ 2 หอด้านตะวันออกกว่า หอด้านตะวันออกเฉียงเหนือค่อนข้างทรุดโทรม ในขณะที่หอด้านตะวันออกเฉียงใต้ได้พังลงเมื่อปี พ.ศ. 2511 โครงสร้างหลักเป็นหินทราย ตกแต่งด้วยอิฐที่ยาด้วยปูน ซึ่งภายหลังแม้จะหลุดล่อนไปตามกาลเวลาแต่ก็ยังพอมีหลงเหลืออยู่บ้าง ส่วนทับหลังแกะสลักหินทรายนั้นยังมีหลายชิ้นที่คงสภาพดีจนถึงทุกวันนี้ ลเลย หมวดหมู่:สิ่งก่อสร้างในพุทธศตวรรษที่ 15 หมวดหมู่:ปราสาทขอม หมวดหมู่:สิ่งก่อสร้างในคริสต์ศตวรรษที่ 9.

ใหม่!!: เมืองพระนครและปราสาทโลเลย · ดูเพิ่มเติม »

นครวัด

นครวัด (អង្គរវត្ត) เป็นหมู่ปราสาทในประเทศกัมพูชาและเป็นศาสนสถานที่ใหญ่ที่สุดในโลก ด้วยพื้นที่รวมกว่า 162.6 เฮกเตอร์ (1.6 ล้านตารางเมตร ซึ่งเท่ากับ 402 เอเคอร์) แรกเริ่มนั้นสร้างขึ้นเป็นเทวลัยในศาสนาฮินดูเพื่ออุทิศแด่พระวิษณุ ก่อนจะค่อยๆเปลี่ยนแปลงกลายเป็นวัดในศาสนาพุทธในช่วงปลายคริสต์ศตวรรษที่ 12 นครวัดสร้างขึ้นในช่วงต้นของคริสศตวรรษที่ 12 โดยพระเจ้าสูรยวรรมันที่ 2 แห่งเมืองยโสธรปุระ (ในปัจจุบันคือเมืองพระนคร) ซึ่งเป็นเมืองหลวงของจักรวรรดิเขมร สร้างขึ้นเพื่อให้เป็นเทวลัยประจำรัฐและเป็นสุสานฝังพระศพ ถือเป็นการเปลี่ยนแปลงการนับถือในลัทธิไศวนิกายของกษัตริย์องค์ก่อนๆ เหตุเพราะนครวัดนั้นสร้างขึ้นเพื่ออุทิศแด่พระวิษณุแทนที่จะเป็นพระศิวะ และเนื่องจากเป็นปราสาทที่ได้รับการอนุรักษ์ดีที่สุดในบริเวณที่ตั้งโดยรอบ นครวัดจึงเป็นปราสาทเพียงแห่งเดียวที่ยังคงความเป็นศูนย์กลางทางศาสนาที่มีความสำคัญมาตั้งแต่เริ่มก่อสร้าง โดยนครวัดถือจุดสูงสุดของรูปแบบการสร้างสถาปัตยกรรมเขมรแบบดั้งเดิม และได้กลายเป็นสัญลักษณ์ของประเทศกัมพูชา มีการปรากฏอยู่บนธงชาติ และได้เป็นสถานที่ท่องเที่ยวของประเทศกัมพูชาที่มีความสำคัญที่สุดในหมู่นักท่องเที่ยว นครวัดได้รวมเอาการวางผังพื้นฐานในสถาปัตยกรรมเขมรสองแบบมาใช้ประกอบเข้าด้วยกัน ซึ่งก็ได้แก่ ผังการสร้างปราสาทให้เสมือนภูเขา (ปราสาทบนฐานชั้น) และการสร้างปราสาทแบบมีระเบียงคดที่มีภาพสลัก การสร้างปราสาทรูปแบบนี้ได้สื่อถึงเขาพระสุเมรุ ซึ่งเป็นสถานที่ที่สถิตของเทพเทวัญในปกรณัมของศาสนาฮินดู ด้านนอกมีคูน้ำและกำแพงล้อม ความยาวรวมกว่า 3.6 กิโลเมตร โดยตัวปราสาทประกอบด้วยระเบียงคดสี่เหลี่ยมที่มีภาพสลักทั้งหมดสามชั้น แต่ละชั้นตั้งอยู่สูงกว่าชั้นล่าง ตรงกลางของปราสาทคือพระปรางค์ที่มีทั้งหมด 5 ยอด นครวัดมีความแตกต่างจากปราสาทในพระนครปราสาทอื่นๆ เนื่องจากมีการหันหน้าไปทางทิศตะวันตก ซึ่งนักวิชาการต่างก็มีความเห็นที่แตกต่างออกไปในเรื่องนัยยะของการสร้างในลักษณะนี้ นครวัดยังได้รับการยกย่องในด้านความงามและความกลมกลืนของตัวสถาปัตยกรรม อาทิ ภาพสลักนูนต่ำที่ใหญ่โต รวมถึงภาพเทวดาที่มีการตกแต่งตามผนังเป็นจำนวนมาก.

ใหม่!!: เมืองพระนครและนครวัด · ดูเพิ่มเติม »

นครธม

อวโลกิเตศวร ที่ประตูด้านใต้ ประตูทางเข้านครธมด้านใต้ นครธม (អង្គរធំ) เป็นเมืองหลวงแห่งสุดท้ายและเมืองที่เข้มแข็งที่สุดของอาณาจักรขะแมร์ สถาปนาขึ้นในปลายคริสต์ศวรรษที่ 12 โดยพระเจ้าชัยวรมันที่ 7 มีอาณาเขตครอบคลุมพื้นที่ 9 ตารางกิโลเมตร อยู่ทางทิศเหนือของ นครวัด ภายในเมืองมีสิ่งก่อสร้างมากมายนับแต่สมัยแรกๆ และที่สร้างโดยพระเจ้าชัยวรมันที่ 7 และรัชทายาท ใจกลางพระนครเป็นปราสาทหลักของพระเจ้าชัยวรมัน เรียกว่า ปราสาทบายน และมีพื้นที่สำคัญอื่นๆ รายล้อมพื้นที่ชัยภูมิถัดไปทางเหนือ จุดเด่นที่สุดคือทางเข้าด้านใต้ ที่มีลักษณะเป็นหน้า 4 หน้า ก่อนจะเข้าสู่บริเวณนี้ จะเป็นแถวของยักษ์ (อสูร) ทางด้านขวา และเทวดาทางด้านซ้าย เรียงรายแบกพญานาคอยู่สองข้างสะพาน เมื่อเข้าสู่ใจกลางนครธมจะพบสิ่งก่อสร้างต่างๆ บริเวณประตูด้านใต้นี้ได้รับการอนุรักษ์ฟื้นฟูไว้ได้ดีกว่าบริเวณอื่นๆ อีก 3 ด้าน.

ใหม่!!: เมืองพระนครและนครธม · ดูเพิ่มเติม »

โตนเลสาบ

ทะเลสาบเขมร หรือ โตนเลสาบ (បឹងទន្លេសាប บึงทนฺเลสาบ) เป็นทะเลสาบน้ำจืดที่ใหญ่ที่สุดในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ ตั้งอยู่บริเวณตรงกลางของประเทศกัมพูชา มีพื้นที่ ประมาณ 7,500 ตารางกิโลเมตร หรือใหญ่กว่ากรุงเทพฯ ประมาณ 7 เท่า ความลึกโดยเฉลี่ย อยู่ที่ 10 เมตร และเมื่อถึงฤดูน้ำหลาก น้ำจะท่วมพื้นที่บริเวณรอบ ๆ ทำให้โตนเลสาบขยายตัวออกกว้างมากถึง 6 เท่า ทะเลสาบเขมรเกิดจากแม่น้ำโขง ซึ่งแม่น้ำโขงไหลผ่านมีความยาวถึง 500 กิโลเมตร ครอบคลุมพื้นที่ 5 จังหวัดของกัมพูชา ได้แก่ กำปงธม กำปงชนัง โพธิสัตว์ พระตะบอง และเสียมราฐ เป็นทะเลสาบที่มีปลาน้ำจืดชุกชุมมากแห่งหนึ่งประมาณ 300 ชนิด จึงมีชาวกัมพูชาเป็นจำนวนมากที่ประกอบอาชีพประมงในบริเวณทะเลสาบแห่งนี้ ทะเลสาบเขมรยังเป็นที่ที่ค้นพบหนึ่งในราชกกุธภัณฑ์ พระแสงขรรค์ชัยศรี อีกด้ว.

ใหม่!!: เมืองพระนครและโตนเลสาบ · ดูเพิ่มเติม »

เสียมราฐ (เมือง)

ียมราฐ หรือชื่อท้องถิ่นว่า เสียมเรียบ (សៀមរាប) เป็นเมืองในประเทศกัมพูชา มีฐานะเป็นเมืองเอกของจังหวัดเสียมราฐ (เทียบได้กับอำเภอเมืองของจังหวัดในประเทศไทย) มีประชากรประมาณ 171,800 คน เมืองเสียมราฐเป็นที่รู้จักกันดีเนื่องจากตั้งอยู่ใกล้นครวัด นครธม และปราสาทขอมอื่น ๆ ที่เป็นส่วนหนึ่งของเมืองพระนคร แหล่งมรดกโลกของกัมพู.

ใหม่!!: เมืองพระนครและเสียมราฐ (เมือง) · ดูเพิ่มเติม »

เปลี่ยนเส้นทางที่นี่:

พระนคร (ขอม)พระนคร(ขอม)โบราณสถานเมืองพระนคร

ขาออกขาเข้า
Hey! เราอยู่ใน Facebook ตอนนี้! »