โลโก้
ยูเนี่ยนพีเดีย
การสื่อสาร
ดาวน์โหลดได้จาก Google Play
ใหม่! ดาวน์โหลด ยูเนี่ยนพีเดีย บน Android ™ของคุณ!
ฟรี
เร็วกว่าเบราว์เซอร์!
 

พม่าภายใต้การปกครองของสหราชอาณาจักร

ดัชนี พม่าภายใต้การปกครองของสหราชอาณาจักร

การปกครองของบริเตนในพม่า (British rule in Burma) คือช่วงที่พม่าอยู่ภายใต้การปกครองของอังกฤษระหว่าง..

37 ความสัมพันธ์: บริติชราชบะมอพระเจ้าจอร์จที่ 5 แห่งสหราชอาณาจักรพระเจ้าธีบอพระเจ้าเอ็ดเวิร์ดที่ 7 แห่งสหราชอาณาจักรภาษาพม่าภาษาอังกฤษยะไข่ย่างกุ้งรัฐพม่าราชวงศ์โกนบองศาสนาพุทธศาสนาอิสลามศาสนาฮินดูศาสนาคริสต์สมาคมเราชาวพม่าสมเด็จพระราชินีนาถวิกตอเรียแห่งสหราชอาณาจักรสมเด็จพระเจ้าจอร์จที่ 6 แห่งสหราชอาณาจักรสมเด็จพระเจ้าเอดเวิร์ดที่ 8สหรัฐไทยเดิมสงครามอังกฤษ–พม่าครั้งที่หนึ่งสงครามโลกครั้งที่สองสนธิสัญญารานตะโบอองซานอาณาจักรมเยาะอูอินโดจีนจิตตะกองตะนาวศรีประเทศสิงคโปร์ประเทศไทยปอนด์สเตอร์ลิงปักกิ่งแม่น้ำอิรวดีโกลกาตาเมาะลำเลิงเครือจักรภพแห่งอังกฤษเครื่องจักรไอน้ำ

บริติชราช

ริติชราช (British Raj; ब्रिटिश राज) หรือเรียกอย่างง่ายว่า อินเดีย หมายถึงการปกครองโดยพระมหากษัตริย์สหราชอาณาจักรในอนุทวีปอินเดียระหว่างปี..

ใหม่!!: พม่าภายใต้การปกครองของสหราชอาณาจักรและบริติชราช · ดูเพิ่มเติม »

บะมอ

มอ (Ba Maw; ဘမော်) เป็นนักชาตินิยมชาวพม่าที่มีบทบาทในพม่าก่อนสงครามโลกครั้งที่ 2 ได้เป็นนายกรัฐมนตรีคนแรกของพม่าในสมัยที่เป็นอาณานิคมของอังกฤษ และเป็นผู้นำของพม่าหลังจากถูกญี่ปุ่นยึดครอง.

ใหม่!!: พม่าภายใต้การปกครองของสหราชอาณาจักรและบะมอ · ดูเพิ่มเติม »

พระเจ้าจอร์จที่ 5 แห่งสหราชอาณาจักร

ระเจ้าจอร์จที่ 5 แห่งสหราชอาณาจักร (George V of the United Kingdom) เป็นพระมหากษัตริย์สหราชอาณาจักรในราชวงศ์วินด์เซอร์ซึ่งทรงสถาปนาขึ้นจากราชวงศ์ซัคเซิน-โคบูร์กและโกทาสายอังกฤษ ในฐานะที่ทรงเป็นประมุขสหราชอาณาจักรและเครือจักรภพแห่งอังกฤษ พระองค์เป็นสมเด็จพระจักรพรรดิแห่งอินเดียและปฐมกษัตริย์เสรีรัฐไอร์แลนด์อีกด้วย พระองค์ทรงครองสิริราชสมบัติตั้งแต่ 6 พฤษภาคม พ.ศ. 2453 ผ่านช่วงสงครามโลกครั้งที่ 1 (พ.ศ. 2457 ถึง พ.ศ. 2461) จนกระทั่งเสด็จสวรรคตในปี พ.ศ. 2479 พระองค์ทรงปฏิบัติราชการในราชนาวีอังกฤษตั้งแต่พระชนมายุ 12 พรรษา แต่หลังจากการสิ้นพระชนม์อย่างไม่คาดฝันของเจ้าชายอัลเบิร์ต วิกเตอร์ ดยุกแห่งแคลเรนซ์และแอวันเดล พระเชษฐา ทำให้ทรงกลายเป็นรัชทายาทในราชบัลลังก์และอภิเษกสมรสกับพระคู่หมั้นของพระเชษฐาคือเจ้าหญิงแมรีแห่งเทก ถึงแม้ว่าทั้งสองพระองค์จะเสด็จประพาสจักรวรรดิอังกฤษเป็นบางโอกาส แต่พระเจ้าจอร์จที่ 5 โปรดที่จะประทับที่พระตำหนักพร้อมกับการสะสมดวงตราไปรษณียากร และทรงมีชีวิตที่ต่อมานักชีวประวัติเห็นว่าไม่น่าสนใจเนื่องจากความเป็นธรรมดาและเรียบง่าย เมื่อสมเด็จพระเจ้าเอ็ดเวิร์ดที่ 7 พระราชบิดาเสด็จสวรรคตในปี..

ใหม่!!: พม่าภายใต้การปกครองของสหราชอาณาจักรและพระเจ้าจอร์จที่ 5 แห่งสหราชอาณาจักร · ดูเพิ่มเติม »

พระเจ้าธีบอ

ระเจ้าธีบอ หรือ พระเจ้าสีป่อ (ตี่บอมิง) เป็นพระมหากษัตริย์พม่าพระองค์สุดท้ายแห่งราชวงศ์อลองพญา ถูกบังคับให้สละราชสมบัติและเนรเทศไปอยู่ที่เมืองรัตนคีรีในบริติชราช หลังสิ้นสงครามอังกฤษ-พม่าครั้งที่สาม และสวรรคตเมื่อ..

ใหม่!!: พม่าภายใต้การปกครองของสหราชอาณาจักรและพระเจ้าธีบอ · ดูเพิ่มเติม »

พระเจ้าเอ็ดเวิร์ดที่ 7 แห่งสหราชอาณาจักร

ระเจ้าเอ็ดเวิร์ดที่ 7 (อัลเบิร์ต เอ็ดเวิร์ด; 9 พฤศจิกายน พ.ศ. 2384 – 6 พฤษภาคม พ.ศ. 2453) เป็นพระมหากษัตริย์สหราชอาณาจักร ประมุขแห่งเครือจักรภพแห่งอังกฤษ และสมเด็จพระจักรพรรดิแห่งอินเดีย เป็นพระราชโอรสในสมเด็จพระราชินีนาถวิกตอเรีย และเป็นพระประมุขพระองค์แรกและพระองค์เดียวของราชวงศ์ซัคเซิน-โคบูร์กและโกทา พระองค์ทรงครองราชสมบัตินับตั้งแต่วันที่ 22 มกราคม พ.ศ. 2444 จนกระทั่งเสด็จสวรรคตในวันที่ 6 พฤษภาคม พ.ศ. 2453 ก่อนการเสวยราชสมบัติ พระองค์ทรงดำรงพระอิสริยยศเป็นเจ้าชายแห่งเวลส์ และทรงมีลักษณะเด่นพิเศษที่เป็นรัชทายาทในรัชบัลลังก์ยาวนานกว่าใครในประวัติศาสตร์ของอังกฤษและสหราชอาณาจักร เป็นบันทึกสถิติที่เจ้าชายชาลส์ เจ้าชายแห่งเวลส์องค์ปัจจุบันไล่ตามมาอย่างรวดเร็ว รัชกาลของสมเด็จพระเจ้าเอ็ดเวิร์ดที่ 7 ซึ่งเรียกว่า สมัยเอ็ดเวิร์ด (Edwardian Period) ทำให้เห็นถึงการยอมรับอย่างเป็นทางการครั้งแรกในการดำรงตำแหน่งหน้าที่ของนายกรัฐมนตรีในปี พ.ศ. 2448 พระองค์เป็นพระประมุขอังกฤษพระองค์แรกที่เสด็จเยือนประเทศรัสเซียเมื่อปี พ.ศ. 2451 ถึงแม้ว่าทรงปฏิเสธที่จะเสด็จเยือนในปี พ.ศ. 2449 (เพราะว่าโปรดสภาดูมามากกว่าซาร์) พระองค์ยังทรงมีบทบาทสำคัญในการพัฒนากองทัพเรืออังกฤษให้ทันสมัยขึ้นและการปฏิรูปหน่วยการแพทย์ในกองทัพบกอังกฤษหลังจากสงครามบัวร์ครั้งที่สอง การสร้างเสริมความสัมพันธ์อันดีระหว่างอังกฤษกับนานาประเทศของทวีปยุโรป โดยเฉพาะประเทศฝรั่งเศส ของพระองค์ ซึ่งทำให้ทรงเป็นที่รู้จักอย่างกว้างขวางว่า "ผู้สร้างสันติภาพ" (Peacemaker) ได้ถูกทำให้ผิดแผกแปลกไปอย่างน่าเศร้าจากการเกิดสงครามโลกครั้งที่ 1 ในปี พ.ศ. 2457.

ใหม่!!: พม่าภายใต้การปกครองของสหราชอาณาจักรและพระเจ้าเอ็ดเวิร์ดที่ 7 แห่งสหราชอาณาจักร · ดูเพิ่มเติม »

ภาษาพม่า

ษาพม่า หรือ ภาษาเมียนมา (MLCTS: myanma bhasa) เป็นภาษาราชการของประเทศพม่า จัดอยู่ในในตระกูลภาษาย่อยทิเบต-พม่า อันเป็นสาขาย่อยของตระกูลภาษา โดยเป็นภาษาแม่ของคนประมาณ 32 ล้านคนในพม่า และเป็นภาษาที่สองของชนกลุ่มน้อยในพม่า และในประเทศอินเดีย ประเทศบังกลาเทศ ประเทศมาเลเซีย ประเทศไทย และสหรัฐอเมริกา ภาษาพม่าเป็นภาษาที่มีระดับเสียง หรือวรรณยุกต์ มีวรรณยุกต์ 4 เสียงและเขียนโดยใช้อักษรพม่า ซึ่งดัดแปลงจากอักษรมอญอีกทอดหนึ่ง และจัดเป็นสมาชิกในตระกูลอักษรพราหมี รหัส ISO 639 สำหรับภาษาพม่าคือ 'my' และรหัส SIL คือ BMS.

ใหม่!!: พม่าภายใต้การปกครองของสหราชอาณาจักรและภาษาพม่า · ดูเพิ่มเติม »

ภาษาอังกฤษ

ษาอังกฤษ หรือ ภาษาอังกฤษใหม่ เป็นภาษาในกลุ่มภาษาเจอร์แมนิกตะวันตกที่ใช้ครั้งแรกในอังกฤษสมัยต้นยุคกลาง และปัจจุบันเป็นภาษาที่ใช้กันแพร่หลายที่สุดในโลก ประชากรส่วนใหญ่ในหลายประเทศ รวมทั้ง สหราชอาณาจักร สหรัฐอเมริกา แคนาดา ออสเตรเลีย ไอร์แลนด์ นิวซีแลนด์ และประเทศในแคริบเบียน พูดภาษาอังกฤษเป็นภาษาที่หนึ่ง ภาษาอังกฤษเป็นภาษาแม่ที่มีผู้พูดมากที่สุดเป็นอันดับสามของโลก รองจากภาษาจีนกลางและภาษาสเปน มักมีผู้เรียนภาษาอังกฤษเป็นภาษาที่สองอย่างกว้างขวาง และภาษาอังกฤษเป็นภาษาราชการของสหภาพยุโรป หลายประเทศเครือจักรภพแห่งชาติ และสหประชาชาติ ตลอดจนองค์การระดับโลกหลายองค์การ ภาษาอังกฤษเจริญขึ้นในราชอาณาจักรแองโกล-แซ็กซอนอังกฤษ และบริเวณสกอตแลนด์ตะวันออกเฉียงใต้ในปัจจุบัน หลังอิทธิพลอย่างกว้างขวางของบริเตนใหญ่และสหราชอาณาจักรตั้งแต่คริสต์ศตวรรษที่ 17 จนถึงกลางคริสต์ศตวรรษที่ 20 ผ่านจักรวรรดิอังกฤษ และรวมสหรัฐอเมริกาด้วยตั้งแต่กลางคริสต์ศตวรรษที่ 20 ภาษาอังกฤษได้แพร่หลายทั่วโลก กลายเป็นภาษาชั้นนำของวจนิพนธ์ระหว่างประเทศและเป็นภาษากลางในหลายภูมิภาค ในประวัติศาสตร์ ภาษาอังกฤษกำเนิดจากการรวมภาษาถิ่นหลายภาษาที่สัมพันธ์อย่างใกล้ชิด ซึ่งปัจจุบันเรียกรวมว่า ภาษาอังกฤษเก่า ซึ่งผู้ตั้งนิคมนำมายังฝั่งตะวันออกของบริเตนใหญ่เมื่อคริสต์ศตวรรษที่ 5 คำในภาษาอังกฤษจำนวนมากสร้างขึ้นบนพื้นฐานรากศัพท์ภาษาละติน เพราะภาษาละตินบางรูปแบบเป็นภาษากลางของคริสตจักรและชีวิตปัญญาชนยุโรปDaniel Weissbort (2006).

ใหม่!!: พม่าภายใต้การปกครองของสหราชอาณาจักรและภาษาอังกฤษ · ดูเพิ่มเติม »

ยะไข่

ทความนี้เป็นบทความเกี่ยวกับชาติพันธุ์ สำหรับเขตการปกครอง ดูที่ รัฐยะไข่ สำหรับแคว้นโบราณ ดูที่ แคว้นยะไข่ ยะไข่, อะระกัน หรือ ระขึน (ရခိုင်လူမျိုး; IPA:; Rakhine) เป็นหนึ่งในกลุ่มชาติพันธุ์หลักกลุ่มหนึ่งในประเทศพม่า อาศัยในรัฐยะไข่ ชาวยะไข่ถือเป็นชาวพม่าพื้นถิ่นในรัฐยะไข่กลุ่มหนึ่ง ภาษาพูดของชาวยะไข่นั้นถือเป็นสำเนียงหนึ่งในภาษาพม่า และยังมีร่องรอยของภาษาพม่าโบราณหลงเหลืออยู่ อันมีเสียงบางเสียงซึ่งในภาษาพม่าสำเนียงย่างกุ้งไม่มีใช้แล้ว เช่น เสียง ร โดยภาษายะไข่นั้นยังรักษาเสียง ร ไว้ได้ครบแทบทุกตำแหน่ง หากต้องการสะกดคำที่มีอักษร ร จึงควรดูที่การออกเสียงของภาษายะไข่ ทั้งนี้เนื่องจากยะไข่ห่างไกลศูนย์กลางจากพม่า โดยมีเทือกเขาอาระกันโยมาขวางกั้นอยู่ อีกทั้งยะไข่เองก็เคยมีอิสรภาพในการปกครองตนเองเป็นอาณาจักรอยู่ร่วมหลายร้อยปี ภายหลังจากการมาของอังกฤษ ยะไข่ถูกมองว่าต่างจากชาวพม่าทั่วไป ดินแดนยะไข่จึงถูกกำหนดเป็นรัฐหนึ่งเฉกเช่นเดียวกับชนกลุ่มน้อยในพม.

ใหม่!!: พม่าภายใต้การปกครองของสหราชอาณาจักรและยะไข่ · ดูเพิ่มเติม »

ย่างกุ้ง

งกุ้ง หรือ ยานโกน (ရန်ကုန်, MLCTS rankun mrui, ยานโกน มโย; "อวสานสงคราม") หรือ ร่างกุ้ง (Rangoon) เป็นเมืองหลวงของเขตย่างกุ้ง ย่างกุ้งเป็นเมืองหลวงของพม่าจนถึงปี..

ใหม่!!: พม่าภายใต้การปกครองของสหราชอาณาจักรและย่างกุ้ง · ดูเพิ่มเติม »

รัฐพม่า

รัฐพม่า (State of Burma; ဗမာ)เป็นรัฐที่จัดตั้งขึ้นเมื่อ..

ใหม่!!: พม่าภายใต้การปกครองของสหราชอาณาจักรและรัฐพม่า · ดูเพิ่มเติม »

ราชวงศ์โกนบอง

ราชวงศ์โกนบอง (ကုန်းဘောင်ခေတ်,; Konbaung Dynasty) เป็นราชวงศ์ที่ 3 ในประวัติศาสตร์พม่า และเป็นราชวงศ์สุดท้ายของพม่า ก่อนที่จะตกเป็นเมืองขึ้นของสหราชอาณาจักร และสิ้นสุดการปกครองระบอบราชาธิปไตยของพม่า ราชวงศ์อลองพญานั้นได้รับการสถาปนาขึ้นโดยการเสวยราชสมบัติของพระเจ้าอลองพญาในปี..

ใหม่!!: พม่าภายใต้การปกครองของสหราชอาณาจักรและราชวงศ์โกนบอง · ดูเพิ่มเติม »

ศาสนาพุทธ

ระพุทธศาสนา หรือ ศาสนาพุทธ (buddhasāsana พุทฺธสาสนา, buddhaśāsana พุทธศาสนา) เป็นศาสนาที่มีพระพุทธเจ้าเป็นศาสดา มีพระธรรมที่พระองค์ตรัสรู้ชอบด้วยพระองค์เอง และตรัสสอนไว้เป็นหลักคำสอนสำคัญ มีพระสงฆ์ (ภิกษุ ภิกษุณี) สาวกผู้ตัดสินใจออกบวชเพื่อศึกษาปฏิบัติตนตามคำสั่งสอน ธรรม-วินัย ของพระบรมศาสดา เพื่อบรรลุสู่จุดหมายคือพระนิพพาน และสร้างสังฆะ เป็นชุมชนเพื่อสืบทอดคำสอนของพระบรมศาสดา รวมเรียกว่า พระรัตนตรัย นอกจากนี้ในพระพุทธศาสนา ยังประกอบคำสอนสำหรับการดำรงชีวิตที่ดีงาม สำหรับผู้ที่ยังไม่ออกบวช (คฤหัสถ์ - อุบาสก และอุบาสิกา) ซึ่งหากรวมประเภทบุคคลที่ที่นับถือและศึกษาปฏิบัติตนตามคำสั่งสอนของพระบรมศาสดา แล้วจะจำแนกได้เป็น 4 ประเภท คือ ภิกษุ ภิกษุณี อุบาสก อุบาสิกา หรือที่เรียกว่า พุทธบริษัท 4 ศาสนาพุทธเป็นศาสนาอเทวนิยม ปฏิเสธการมีอยู่ของพระเป็นเจ้าหรือพระผู้สร้าง และเชื่อในศักยภาพของมนุษย์ ว่าทุกคนสามารถพัฒนาจิตใจ ไปสู่ความเป็นมนุษย์ที่สมบูรณ์ได้ ด้วยความเพียรของตน กล่าวคือ ศาสนาพุทธ สอนให้มนุษย์บันดาลชีวิตของตนเอง ด้วยผลแห่งการกระทำของตน ตาม กฎแห่งกรรม มิได้มาจากการอ้อนวอนขอจากพระเป็นเจ้าและสิ่งศักดิ์สิทธิ์นอกกายพระไตรปิฎก เล่มที่ ๒๕ พระสุตตันตปิฎก เล่มที่ ๑๗ ขุททกนิกาย ขุททกปาฐะ-ธรรมบท-อุทาน-อิติวุตตกะ-สุตตนิบาต คาถาธรรมบท อัตตวรรคที่ ๑. พระไตรปิฎกฉบับสยามรั.

ใหม่!!: พม่าภายใต้การปกครองของสหราชอาณาจักรและศาสนาพุทธ · ดูเพิ่มเติม »

ศาสนาอิสลาม

นาอิสลาม (Islam) เป็นศาสนาเอกเทวนิยมและศาสนาอับราฮัม บัญญัติไว้ในคัมภีร์อัลกุรอาน คัมภีร์ศักดิ์สิทธิ์ของอิสลามซึ่งสาวกถือว่าเป็นพระวจนะคำต่อคำของพระเป็นเจ้า (อัลลอฮฺ) และสำหรับสาวกส่วนใหญ่ เป็นคำสอนและตัวอย่างเชิงบรรทัดฐาน (เรียกว่า สุนัต และประกอบด้วยหะดีษ) ของมุฮัมมัด (ประมาณ 570–8 มิถุนายน 632)เป็นศาสดา (นบี) องค์สุดท้ายของพระเป็นเจ้า สาวกของศาสนาอิสลาม เรียกว่า มุสลิม มุสลิมเชื่อว่า พระเจ้าเป็นหนึ่งและหาที่เปรียบไม่ได้ และจุดประสงค์ของการดำรงอยู่ คือ เพื่อรักและรับใช้พระเป็นเจ้า มุสลิมยังเชื่อว่า ศาสนาอิสลามเป็นบรรพศรัทธาฉบับสมบูรณ์และเป็นสากลที่สุดซึ่งได้ประจักษ์มาหลายครั้งก่อนหน้านั้น ผ่านศาสดาซึ่งรวมอาดัม โนอาห์ อับราฮัม โมเสส และพระเยซู พวกเขายึดมั่นว่า สารและวิวรณ์ถูกแปลผิดหรือเปลี่ยนแปลงบางส่วนตามกาลดู.

ใหม่!!: พม่าภายใต้การปกครองของสหราชอาณาจักรและศาสนาอิสลาม · ดูเพิ่มเติม »

ศาสนาฮินดู

ัญลักษณ์ “โอม” สัญลักษณ์ของศาสนาฮินดู หมายถึงพระตรีมูรติ เทพเจ้าผู้เป็นใหญ่ทั้ง 3 ศาสนาฮินดู (Hinduism) หรือ สนาตนธรรม เป็นศาสนาแบบพหุเทวนิยมที่พัฒนาการต่อมาจากศาสนาพราหมณ์ จึงมักเรียกรวมกันว่าศาสนาพราหมณ์-ฮินดู ไม่ปรากฏแน่ชัดว่าใครเป็นศาสดา มีพระเวทเป็นคัมภีร์หลัก มีศาสนิกชนมากเป็นอันดับที่ 3 ของโลก มีจำนวนประมาณ 900 ล้านคน ศาสนานี้นับถือเทพเจ้าหลายองค์ เรียกว่า "พหุเทวนิยม" เทพเจ้าแต่ละองค์ในแต่ละยุคสมัย มีบทบาท และตำนานต่างกันไป ในแต่ละท้องถิ่นยังมีความเชื่อเกี่ยวกับเทพเจ้าองค์หนึ่งๆ แตกต่างกันไปด้วย โดยทั่วไปถือว่าชาวฮินดูเชื่อว่ามีเทพเจ้าสูงสุด ที่ได้อวตารแยกร่างออกมาเป็น 3 องค์ เรียกว่า "ตรีมูรติ" คือ.

ใหม่!!: พม่าภายใต้การปกครองของสหราชอาณาจักรและศาสนาฮินดู · ดูเพิ่มเติม »

ศาสนาคริสต์

นาคริสต์ (Christianity) ราชบัณฑิตยสถานเรียกว่า คริสต์ศาสนาราชบัณฑิตยสถาน, พจนานุกรมศัพท์ศาสนาสากล อังกฤษ-ไทย ฉบับราชบัณฑิตยสถาน, พิมพ์ครั้งที่ 3, ราชบัณฑิตยสถาน, 2548, หน้า 156 เป็นศาสนาประเภทเอกเทวนิยม ที่มีพื้นฐานมาจากชีวิตและการสอนของพระเยซูตามที่ปรากฏในพระวรสารในสารบบ (canonical gospel) และงานเขียนพันธสัญญาใหม่อื่น ๆ ผู้นับถือศาสนาคริสต์เรียกว่าคริสต์ศาสนิกชนหรือคริสตชน คริสตชนเชื่อว่าพระเยซูเป็นพระบุตรพระเป็นเจ้า และเป็นพระเจ้าผู้มาบังเกิดเป็นมนุษย์และเป็นพระผู้ช่วยให้รอด ด้วยเหตุนี้ คริสตชนจึงมักเรียกพระเยซูว่า "พระคริสต์" หรือ "พระเมสสิยาห์" Briggs, Charles A. The fundamental Christian faith: the origin, history and interpretation of the Apostles' and Nicene creeds. C. Scribner's sons, 1913.

ใหม่!!: พม่าภายใต้การปกครองของสหราชอาณาจักรและศาสนาคริสต์ · ดูเพิ่มเติม »

สมาคมเราชาวพม่า

งของสมาคมเราชาวพม่า (พ.ศ. 2473 - 2485) ซึ่งต่อมาได้ใช้เป็นธงชาติของรัฐพม่าในช่วงสงครามโลกครั้งที่ 2http://www.myanmars.net/myanmar/myanmar-flag-emblem.htm#National_Flag สมาคมเราชาวพม่า (Dobama Asiayone หรือ We-Burman’s Association) เป็นองค์กรของนักชาตินิยมในพม่า ก่อตั้งขึ้นเมื่อ..

ใหม่!!: พม่าภายใต้การปกครองของสหราชอาณาจักรและสมาคมเราชาวพม่า · ดูเพิ่มเติม »

สมเด็จพระราชินีนาถวิกตอเรียแห่งสหราชอาณาจักร

มเด็จพระราชินีนาถวิกตอเรีย พระมหากษัตริย์สหราชอาณาจักรในช่วงระหว่าง 20 มิถุนายน..

ใหม่!!: พม่าภายใต้การปกครองของสหราชอาณาจักรและสมเด็จพระราชินีนาถวิกตอเรียแห่งสหราชอาณาจักร · ดูเพิ่มเติม »

สมเด็จพระเจ้าจอร์จที่ 6 แห่งสหราชอาณาจักร

ระเจ้าจอร์จที่ 6 (George VI of the United Kingdom; 14 ธันวาคม ค.ศ. 1895 — 6 กุมภาพันธ์ ค.ศ. 1952) เป็นพระมหากษัตริย์สหราชอาณาจักรในราชวงศ์วินด์เซอร์ และเครือจักรภพอังกฤษระหว่างปี..

ใหม่!!: พม่าภายใต้การปกครองของสหราชอาณาจักรและสมเด็จพระเจ้าจอร์จที่ 6 แห่งสหราชอาณาจักร · ดูเพิ่มเติม »

สมเด็จพระเจ้าเอดเวิร์ดที่ 8

เจ้าชายเอดเวิร์ด ดยุกแห่งวินเซอร์ หรืออดีต สมเด็จพระเจ้าเอดเวิร์ดที่ 8 (เอดเวิร์ด อัลเบิร์ต คริสเตียน จอร์จ แอนดรูว์ แพทริค เดวิด; 23 มิถุนายน พ.ศ. 2437 - 28 พฤษภาคม พ.ศ. 2515) เป็นอดีตพระมหากษัตริย์สหราชอาณาจักรบริเตนใหญ่และไอร์แลนด์ รวมถึงดินแดนของอังกฤษในโพ้นทะเลต่าง ๆ และสมเด็จพระจักรพรรดิแห่งอินเดีย ตั้งแต่การสวรรคตของสมเด็จพระเจ้าจอร์จที่ 5 พระราชบิดา เมื่อวันที่ 20 มกราคม พ.ศ. 2479 จนกระทั่งการสละราชสมบัติของพระองค์ในวันที่ 11 ธันวาคม พ.ศ. 2479 พระองค์เป็นพระประมุของค์ที่สองในราชวงศ์วินด์เซอร์ ซึ่งพระราชบิดาทรงเปลี่ยนชื่อมาจากราชวงศ์ซัคเซิน-โคบูร์กและโกทา เมื่อปี พ.ศ. 2460 ก่อนการเสด็จขึ้นครองราชสมบัติ พระองค์ทรงดำรงพระอิสริยยศเป็น เจ้าชายเอดเวิร์ดแห่งยอร์ก เจ้าชายเอดเวิร์ดแห่งยอร์กและคอร์นวอลล์ ดยุกแห่งคอร์นวอลล์ ดยุกแห่งโรธเซย์ และเจ้าชายแห่งเวลส์ (ในชั้นรอยัลไฮเนส) ขณะทรงเป็นชายแรกรุ่น พระองค์ทรงปฏิบัติราชการในสงครามโลกครั้งที่หนึ่ง โดยการเสด็จเยือนต่างประเทศแทนพระองค์พระราชบิดาและทรงข้องเกี่ยวกับหญิงสาวสูงวัยที่แต่งงานแล้วมากมาย ช่วงเวลาหลายเดือนในรัชกาล พระองค์ทรงทำให้เกิดวิกฤตการณ์ในรัฐธรรมนูญ ได้ชื่อว่าวิกฤตการณ์สละราชสมบัติด้วยการขออภิเษกสมรสกับวอลลิส ซิมป์สัน แม่ม่ายหย่าร้างชาวอเมริกัน แม้ว่าทางกฎหมายแล้วพระองค์จะอภิเษกสมรสกับนางซิมป์สันและคงเป็นกษัตริย์อยู่ได้ แต่คณะรัฐมนตรีของพระองค์ได้คัดค้านการอภิเษกสมรสโดยโต้แย้งว่าประชาชนจะไม่ยอมรับเธอเป็นพระราชินีได้เลย พระองค์ทรงทราบดีว่ารัฐบาลของสแตนเลย์ บาลด์วิน นายกรัฐมนตรีจะลาออกถ้าการอภิเษกสมรสยังคงดำเนินต่อไป อันจะทำให้ลากพระองค์ไปสู่การเลือกทั่วไปซึ่งจะเป็นการทำลายสถานะของพระมหากษัตริย์ภายใต้รัฐธรรมนูญที่ทรงเป็นกลางทางการเมืองของพระองค์อย่างไม่สามารถแก้ไขได้ แทนที่จะเลิกกับนางซิมป์สัน แต่พระองค์กลับทรงเลือกที่จะสละราชสมบัติ สมเด็จพระเจ้าเอดเวิร์ดที่ 8 เป็นพระประมุของค์เดียวของสหราชอาณาจักรที่ทรงสละราชบัลลังก์อย่างสมัครใจ นอกจากนี้ยังเป็นพระประมุขที่ทรงครองราชสมบัติสั้นที่สุดพระองค์ในประวัติศาสตร์อังกฤษ และมิได้ทรงกระทำพิธีบรมราชาภิเษกเลย หลังจากการสละราชสมบัติ พระองค์ทรงเปลี่ยนกลับไปใช้พระอิสริยยศของพระราชโอรสในพระมหากษัตริย์คือ เจ้าชายเอดเวิร์ด และทรงได้รับการเฉลิมพระอิสริยยศเป็น ดยุกแห่งวินด์เซอร์ เมื่อวันที่ 8 มีนาคม พ.ศ. 2480 ในช่วงสงครามโลกครั้งที่ 2 พระองค์ทรงได้รับมอบหมายให้ประจำการในกองกำลังทหารอังกฤษในประเทศฝรั่งเศส แต่หลังจากข้อกล่าวหาลับต่างๆ ที่ว่าพระองค์ทรงเข้าข้างฝ่ายนาซีเยอรมัน ก็ทรงถูกย้ายไปยังบาฮามาสในฐานะข้าหลวงใหญ่ และ ผู้บัญชาการทหารสูงสุด หลังจากสิ้นสุดสงคราม พระองค์ก็ไม่ทรงได้รับการแต่งตั้งทางราชการอื่นใดอีกและทรงใช้เวลาที่เหลือในพระชนม์ชีพด้วยความสันโดษ หมวดหมู่:พระมหากษัตริย์สหราชอาณาจักร หมวดหมู่:ราชวงศ์วินด์เซอร์ หมวดหมู่:บุคคลจากริชมอนด์ (ลอนดอน) หมวดหมู่:พระมหากษัตริย์ผู้ทรงสละราชบัลลังก์ หมวดหมู่:เจ้าชายแห่งเวลส์ หมวดหมู่:ผู้รอดชีวิตจากการลอบสังหาร หมวดหมู่:ไนท์ออฟเดอะการ์เตอร์.

ใหม่!!: พม่าภายใต้การปกครองของสหราชอาณาจักรและสมเด็จพระเจ้าเอดเวิร์ดที่ 8 · ดูเพิ่มเติม »

สหรัฐไทยเดิม

หรัฐไทยเดิม เดิมชื่อ แคว้นสหรัฐไทยใหญ่ คือดินแดนทางภาคเหนือของประเทศไทย มีอาณาเขตรวมดินแดนของรัฐฉาน, รัฐกะยาจนไปถึงครึ่งใต้ของเมืองมัณฑะเลย์ในประเทศพม่า เคยเป็นอดีตเขตการปกครองเสมือนจังหวัด ของประเทศไทยช่วงปี..

ใหม่!!: พม่าภายใต้การปกครองของสหราชอาณาจักรและสหรัฐไทยเดิม · ดูเพิ่มเติม »

สงครามอังกฤษ–พม่าครั้งที่หนึ่ง

งครามพม่า–อังกฤษครั้งที่หนึ่ง (First Anglo-Burmese War) เป็นสงครามระหว่างจักรวรรดิอังกฤษกับราชวงศ์อลองพญาของพม่า เป็นระยะเวลา 2 ปี ในระหว่าง..

ใหม่!!: พม่าภายใต้การปกครองของสหราชอาณาจักรและสงครามอังกฤษ–พม่าครั้งที่หนึ่ง · ดูเพิ่มเติม »

สงครามโลกครั้งที่สอง

งครามโลกครั้งที่สอง (World War II หรือ Second World Warคำว่าสงครามโลกครั้งที่สองในภาษาอังกฤษนั้น ในเอกสารประวัติศาสตร์อย่างเป็นทางการของสหราชอาณาจักรและชาติตะวันตกใช้คำว่า "Second World War" ส่วนในสหรัฐใช้คำว่า "World War II" (ย่อเป็น "WWII" หรือ "WW2") ซึ่งเอกสารประวัติศาสตร์อย่างเป็นทางการในประเทศส่วนใหญ่มักจะใช้ภาษาอังกฤษว่า "Second World War" (เช่น Zweiter Weltkrieg ในภาษาเยอรมัน; Segunda Guerra mundial ในภาษาสเปน; Seconde Guerre mondiale ในภาษาฝรั่งเศส) แต่ทั้งสองคำนี้โดยทั่วไปแล้วสามารถใช้แทนกันได้; แม้ในประวัติศาสตร์การทหารอย่างเป็นทางการ คำว่า "Second World War" ถูกสร้างขึ้นโดย แฟรงก์ บี. เคลล็อก รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการต่างประเทศสหรัฐอเมริกา; ส่วนคำว่า "World War II" พบใช้เป็นครั้งแรกในนิตยสาร ไทมส์ เมื่อวันที่ 12 มิถุนายน ค.ศ. 1939 ซึ่งเป็นผู้ประดิษฐ์คำว่า "World War I" ขึ้นในอีกสามเดือนต่อมา; มักย่อเป็น WWII หรือ WW2) เป็นสงครามทั่วโลกกินเวลาตั้งแต่ปี 1939 ถึง 1945 ประเทศส่วนใหญ่ในโลกมีส่วนเกี่ยวข้อง รวมทั้งรัฐมหาอำนาจทั้งหมด แบ่งเป็นพันธมิตรทางทหารคู่สงครามสองฝ่าย คือ ฝ่ายสัมพันธมิตรและฝ่ายอักษะ เป็นสงครามที่กว้างขวางที่สุดในประวัติศาสตร์ มีทหารกว่า 100 ล้านนายจากกว่า 30 ประเทศเข้าร่วมโดยตรง สงครามนี้มีลักษณะเป็น "สงครามเบ็ดเสร็จ" คือ ประเทศผู้ร่วมสงครามหลักทุ่มขีดความสามารถทางเศรษฐกิจ อุตสาหกรรมและวิทยาศาสตร์ทั้งหมดเพื่อความพยายามของสงคราม โดยลบเส้นแบ่งระหว่างทรัพยากรของพลเรือนและทหาร ประเมินกันว่าสงครามมีมูลค่าราว 1 ล้านล้านดอลลาร์สหรัฐ ประเมินกันว่ามีผู้เสียชีวิตระหว่าง 50 ถึง 85 ล้านคน ด้วยประการทั้งปวง สงครามโลกครั้งที่สองจึงนับว่าเป็นสงครามขนาดใหญ่ที่สุด ใช้เงินทุนมากที่สุด และมีผู้เสียชีวิตสูงสุดในประวัติศาสตร์มนุษยชาติ จักรวรรดิญี่ปุ่นซึ่งมีเป้าหมายครอบงำทวีปเอเชียและแปซิฟิกและทำสงครามกับจีนมาตั้งแต่ปี 1937 แล้ว แต่โดยทั่วไปถือว่าสงครามโลกครั้งที่สองเริ่มตั้งแต่การบุกครองโปแลนด์ของเยอรมนีในวันที่ 1 กันยายน 1939 นำไปสู่การประกาศสงครามต่อเยอรมนีของประเทศฝรั่งเศสและสหราชอาณาจักร ตั้งแต่ปลายปี 1939 ถึงต้นปี 1941 ในการทัพและสนธิสัญญาต่าง ๆ ประเทศเยอรมนีพิชิตหรือควบคุมยุโรปภาคพื้นทวีปได้ส่วนใหญ่ และตั้งพันธมิตรอักษะกับอิตาลีและญี่ปุ่น ภายใต้สนธิสัญญาโมโลตอฟ–ริบเบนทรอพเมื่อเดือนสิงหาคม 1939 เยอรมนีและสหภาพโซเวียตแบ่งแลผนวกดินแดนประเทศเพื่อนบ้านยุโรปของตน ได้แก่ โปแลนด์ ฟินแลนด์ โรมาเนียและรัฐบอลติก สงครามดำเนินต่อส่วนใหญ่ระหว่างชาติฝ่ายอักษะยุโรปและแนวร่วมสหราชอาณาจักรและเครือจักรภพบริติช โดยมีการทัพอย่างการทัพแอฟริกาเหนือและแอฟริกาตะวันออก ยุทธการที่บริเตนซึ่งเป็นการสู้รบทางอากาศ การทัพทิ้งระเบิดเดอะบลิตซ์ การทัพบอลข่าน ตลอดจนยุทธการที่แอตแลนติกที่ยืดเยื้อ ในเดือนมิถุนายน 1941 ชาติอักษะยุโรปบุกครองสหภาพโซเวียต เปิดฉากเขตสงครามภาคพื้นดินที่ใหญ่ที่สุดในประวัติศาสตร์ ซึ่งทำให้กำลังทหารสำคัญของฝ่ายอักษะตกอยู่ในสงครามบั่นทอนกำลัง ในเดือนธันวาคม 1941 ญี่ปุ่นโจมตีสหรัฐและอาณานิคมยุโรปในมหาสมุทรแปซิฟิก และพิชิตมหาสมุทรแปซิฟิกตะวันตกส่วนมากได้อย่างรวดเร็ว การรุกของฝ่ายอักษะยุติลงในปี 1942 หลังญี่ปุ่นปราชัยในยุทธนาวีที่มิดเวย์ใกล้กับฮาวายที่สำคัญ และเยอรมนีปราชัยในแอฟริกาเหนือและจากนั้นที่สตาลินกราดในสหภาพโซเวียต ในปี 1943 จากความปราชัยของเยอรมนีติด ๆ กันที่เคิสก์ในยุโรปตะวันออก การบุกครองอิตาลีของฝ่ายสัมพันธมิตรซึ่งนำให้อิตาลียอมจำนน จนถึงชัยของฝ่ายสัมพันธมิตรในมหาสมุทรแปซิฟิก ฝ่ายอักษะเสียการริเริ่มและต้องล่าถอยทางยุทธศาสตร์ในทุกแนวรบ ในปี 1944 ฝ่ายสัมพันธมิตรบุกครองฝรั่งเศสในการยึดครองของเยอรมนี ขณะเดียวกันกับที่สหภาพโซเวียตยึดดินแดนที่เสียไปทั้งหมดคืนและบุกครองเยอรมนีและพันธมิตร ระหว่างปี 1944 และ 1945 ญี่ปุ่นปราชัยสำคัญในทวีปเอเชียในภาคกลางและภาคใต้ของจีนและพม่า ขณะที่ฝ่ายสัมพันธมิตรก่อความเสียหายต่อกองทัพเรือญี่ปุ่นและยึดหมู่เกาะแปซิฟิกตะวันตกที่สำคัญ สงครามในยุโรปยุติลงหลังกองทัพแดงยึดกรุงเบอร์ลินได้ และการยอมจำนนอย่างไม่มีเงื่อนไขของเยอรมนีเมื่อวันที่ 8 สิงหาคม 1945 แม้จะถูกโดดเดี่ยวและตกอยู่ในสภาพเสียเปรียบอย่างยิ่ง ญี่ปุ่นยังปฏิเสธที่จะยอมจำนน กระทั่งมีการทิ้งระเบิดนิวเคลียร์สองลูกถล่มญี่ปุ่น และการบุกครองแมนจูเรีย จึงได้นำไปสู่การยอมจำนนอย่างเป็นทางการของญี่ปุ่นเมื่อวันที่ 2 กันยายน 1945 สงครามยุติลงด้วยชัยชนะของฝ่ายสัมพันธมิตร ผลของสงครามได้เปลี่ยนแปลงการวางแนวทางการเมืองและโครงสร้างสังคมของโลก สหประชาชาติถูกสถาปนาขึ้น เพื่อส่งเสริมความร่วมมือระหว่างประเทศและเพื่อป้องกันความขัดแย้งในอนาคต สหรัฐอเมริกากับสหภาพโซเวียตก้าวเป็นอภิมหาอำนาจของโลกอันเป็นคู่ปรปักษ์กัน นำไปสู่ความขัดแย้งบนเวทีแห่งสงครามเย็น ซึ่งได้ดำเนินต่อมาอีก 46 ปีหลังสงคราม ขณะเดียวกัน การยอมรับหลักการการกำหนดการปกครองด้วยตนเอง เร่งให้เกิดการเคลื่อนไหวเพื่อเรียกร้องเอกราชในทวีปเอเชียและทวีปแอฟริกา พร้อม ๆ กับที่หลายประเทศได้มุ่งหน้าฟื้นฟูเศรษฐกิจซึ่งอุตสาหกรรมได้รับความเสียหายระหว่างสงคราม และบูรณาการทางการเมืองได้เกิดขึ้นทั่วโลกในความพยายามที่จะรักษาเสถียรภาพความสัมพันธ์หลังสงคราม.

ใหม่!!: พม่าภายใต้การปกครองของสหราชอาณาจักรและสงครามโลกครั้งที่สอง · ดูเพิ่มเติม »

สนธิสัญญารานตะโบ

นธิสัญญารานตะโบ (Treaty of Yandabo; ရန္တပိုစာချုပ်) เป็นสนธิสัญญาระหว่างบริษัทอินเดียตะวันออกของอังกฤษกับราชวงศ์โกนบองของพม่า ลงนามในวันที่ 24 กุมภาพัน..

ใหม่!!: พม่าภายใต้การปกครองของสหราชอาณาจักรและสนธิสัญญารานตะโบ · ดูเพิ่มเติม »

อองซาน

อองซาน นายพลอองซาน (အောင်ဆန်း, Aung San) หรือ อูอองซาน (U Aung San; 13 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2458 - 19 กรกฎาคม พ.ศ. 2490) เป็นนักปฏิวัติ นายพล และนักการเมืองของประเทศพม่า ได้รับการยกย่องเป็นบิดาแห่งประเทศพม่าในยุคปัจจุบัน หรือ "วีรบุรุษเพื่ออิสรภาพของประเทศพม่า" อองซานเกิดในครอบครัวที่ต่อต้านการปกครองของสหราชอาณาจักร ซึ่งในช่วงนั้นพม่าเป็นส่วนหนึ่งของประเทศอินเดียที่เป็นอาณานิคมของสหราชอาณาจักร เข้าศึกษาที่มหาวิทยาลัยย่างกุ้ง ซึ่งได้แสดงความเคลื่อนไหวทางการเมือง และได้รับเลือกให้เป็นผู้นำนักศึกษา พ.ศ. 2484 (ค.ศ. 1941) อองซานได้รับการสนับสนุนจากประเทศญี่ปุ่น โดยได้ก่อตั้งกองกำลังปลดปล่อยพม่าที่กรุงเทพมหานคร ในช่วงสงครามโลกครั้งที่สอง ญี่ปุ่นสามารถยึดพม่าจากสหราชอาณาจักรได้และวันที่ 1 สิงหาคม พ.ศ. 2486 (ค.ศ. 1943) ญี่ปุ่นได้ประกาศว่าพม่าเป็นประเทศเอกราช และตั้งอองซานเป็นนายกรัฐมนตรี อองซานพบว่าเอกราชที่ญี่ปุ่นสัญญาไว้ไม่เป็นความจริง ในช่วงปลายสงครามโลก จึงได้กลับไปเข้าร่วมกับฝ่ายสัมพันธมิตรเพื่อขับไล่ญี่ปุ่นออกไปจากพม่า ในเดือนมิถุนายน พ.ศ. 2490 (ค.ศ. 1947) อองซานเซ็นสัญญากับสหราชอาณาจักรว่าจะมอบเอกราชให้กับพม่าภายในหนึ่งปี แต่ระหว่างการประชุมสภาเมื่อวันที่ 19 กรกฎาคม พ.ศ. 2490 อองซานถูกลอบสังหารพร้อมกับสมาชิกสภาอีก 6 คน โดยพบว่าเป็นฝีมือของ อู ซอ ซึ่งเป็นคู่แข่งทางการเมืองของอองซาน ซึ่ง อู ซอ ถูกประหารชีวิต อองซาน เสียชีวิตเมื่อมีอายุแค่เพียง 32 ปี และยังไม่ทันเห็นเอกราชของพม่าในวันที่ 4 มกราคม พ.ศ. 2491 (ค.ศ. 1948) ปัจจุบัน นางอองซาน ซูจี บุตรสาวของอองซานเป็นผู้นำที่มีบทบาทสำคัญในรัฐบาลพลเรือนของพม.

ใหม่!!: พม่าภายใต้การปกครองของสหราชอาณาจักรและอองซาน · ดูเพิ่มเติม »

อาณาจักรมเยาะอู

อาณาจักรมเยาะอู (Kingdom of Mrauk-U) เป็นอาณาจักรที่มีเมืองหลวงที่เมืองมเยาะอู ใกล้กับชายฝั่งตะวันออกของอ่าวเบงกอล ปัจจุบันเป็นส่วนหนึ่งของบังกลาเทศและรัฐยะไข่ในประเทศพม่า ปกครองตนเองเป็นอิสระระหว่าง..

ใหม่!!: พม่าภายใต้การปกครองของสหราชอาณาจักรและอาณาจักรมเยาะอู · ดูเพิ่มเติม »

อินโดจีน

มุทรอินโดจีน เมื่อปี ค.ศ. 1886 '''อินโดจีน''': สีเขียวเข้ม: นับรวมเสมอ, สีเขียวอ่อน: นับรวมเป็นส่วนใหญ่, สีแดง: นับรวมเป็นบางครั้ง'''ภูมิภาคอินโดจีน''' (ชีววิทยา): สีเขียวเข้มและอ่อน อินโดจีน (Indochina) หรือ คาบสมุทรอินโดจีน (Indochinese Peninsula) เป็นคาบสมุทรที่ยื่นออกมาจากแผ่นดินใหญ่ของทวีปเอเชีย และเป็นส่วนหนึ่งของภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ ที่มาของชื่อว่าอินโดจีนนั้น ก็เพราะว่าคาบสมุทรนี้ตั้งอยู่ทางใต้ของสาธารณรัฐประชาชนจีน และทางตะวันออกของประเทศอินเดีย คำว่า "Indochina" มีที่มาจากคำว่า Indochine ในภาษาฝรั่งเศส และถูกใช้ในระหว่างยุคล่าอาณานิคม ในทางประวัติศาสตร์แล้ว ประเทศในอินโดจีนส่วนใหญ่ได้รับอิทธิพลทางวัฒนธรรมจากอินเดียและจีน ซึ่งแต่ละประเทศต่างก็รับเอาวัฒนธรรมจากทั้งสองชาตินี้เข้ามาระดับที่แตกต่างกัน อย่างเช่น ไทยและลาวได้รับอิทธิพลทางวัฒนธรรมจากอินเดียเป็นส่วนใหญ่ ส่วนเวียดนามได้รับอิทธิพลทางวัฒนธรรมจากจีนเป็นส่วนใหญ่ ต่อมาในยุคล่าอาณานิคมของชาติตะวันตก ชาติส่วนใหญ่ในอินโดจีนก็รับเอาวัฒนธรรมตะวันตกเข้ามาเช่นกัน.

ใหม่!!: พม่าภายใต้การปกครองของสหราชอาณาจักรและอินโดจีน · ดูเพิ่มเติม »

จิตตะกอง

ตตะกอง (จิตตะกอง, চট্টগ্রাম, Chôţţogram, Chittagong) เป็นเมืองศูนย์กลางการค้า อุตสาหกรรม และเมืองท่า ทางตะวันออกเฉียงใต้ของประเทศบังกลาเทศ เป็นเมืองหลวงของแคว้นชื่อเดียวกัน เป็นเมืองท่าทางทะเลที่คับคั่งที่สุดในบังกลาเทศ มีประชากรมากกว่า 5.5 ล้านคน เป็นเมืองใหญ่เป็นอันดับ 2 ของประเทศ จิตตะกองเป็นเมืองที่มีมรดกที่หลากหลายทางวัฒนธรรม ทั้งอิสลาม ฮินดู และพุทธ เป็นที่รู้จักของนักเดินเรือชาวโปรตุเกสเข้าครอบครองโดยสุลต่านเบงกอลใน..

ใหม่!!: พม่าภายใต้การปกครองของสหราชอาณาจักรและจิตตะกอง · ดูเพิ่มเติม »

ตะนาวศรี

ตะนาวศรี (တနင်္သာရီ, ตะนี้นตายี; สำเนียงมอญ: ตะเนิงซอย; Tanintharyi, Taninthayi) เดิมใช้ชื่อเป็นภาษาอังกฤษว่า เทนัสเซริม (Tenasserim) เป็นเมืองเล็ก ๆ แห่งหนึ่งในภูมิภาคตะนาวศรี ทางตอนใต้ของประเทศพม.

ใหม่!!: พม่าภายใต้การปกครองของสหราชอาณาจักรและตะนาวศรี · ดูเพิ่มเติม »

ประเทศสิงคโปร์

ประเทศสิงคโปร์ มีชื่ออย่างเป็นทางการว่า สาธารณรัฐสิงคโปร์ เป็นนครรัฐสมัยใหม่และประเทศเกาะที่มีขนาดเล็กที่สุดในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ ตั้งอยู่นอกปลายทิศใต้ของคาบสมุทรมลายูและอยู่เหนือเส้นศูนย์สูตร 137 กิโลเมตร ดินแดนของประเทศประกอบด้วยเกาะหลักรูปสี่เหลี่ยมขนมเปียกปูน ซึ่งมักเรียกว่าเกาะสิงคโปร์ในภาษาอังกฤษ และเกาะอูจง (Pulau Ujong) ในภาษามลายู และเกาะที่เล็กกว่ามากอีกกว่า 60 เกาะ ประเทศสิงคโปร์แยกจากคาบสมุทรมลายูโดยช่องแคบยะฮอร์ทางทิศเหนือ และจากหมู่เกาะเรียวของประเทศอินโดนีเซียโดยช่องแคบสิงคโปร์ทางทิศใต้ ประเทศมีลักษณะแบบเมืองอย่างสูง และคงเหลือพืชพรรณดั้งเดิมเล็กน้อย ดินแดนของประเทศขยายอย่างต่อเนื่องโดยการแปรสภาพที่ดิน หมู่เกาะมีการตั้งถิ่นฐานในคริสต์ศตวรรษที่ 2 และต่อมาเป็นของจักรวรรดิท้องถิ่นต่าง ๆ สิงคโปร์สมัยใหม่ก่อตั้งใน..

ใหม่!!: พม่าภายใต้การปกครองของสหราชอาณาจักรและประเทศสิงคโปร์ · ดูเพิ่มเติม »

ประเทศไทย

ประเทศไทย มีชื่ออย่างเป็นทางราชการว่า ราชอาณาจักรไทย เป็นรัฐชาติอันตั้งอยู่ในภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ เดิมมีชื่อว่า "สยาม" รัฐบาลประกาศเปลี่ยนชื่อเป็นประเทศไทยอย่างเป็นทางการตั้งแต่ปี 2482 ประเทศไทยมีขนาดใหญ่เป็นอันดับที่ 50 ของโลก มีเนื้อที่ 513,115 ตารางกิโลเมตร และมีประชากรมากเป็นอันดับที่ 20 ของโลก คือ ประมาณ 66 ล้านคน กรุงเทพมหานครเป็นศูนย์กลางการบริหารราชการแผ่นดินและนครใหญ่สุดของประเทศ และการปกครองส่วนภูมิภาค จัดระเบียบเป็น 76 จังหวัด แม้จะมีการสถาปนาระบอบราชาธิปไตยภายใต้รัฐธรรมนูญและประชาธิปไตยระบบรัฐสภาในปี 2475 แต่กองทัพยังมีบทบาทในการเมืองไทยสูง ล่าสุด เกิดรัฐประหารเมื่อวันที่ 22 พฤษภาคม 2557 และมีการปกครองแบบเผด็จการทหารนับแต่นั้น พบหลักฐานการอยู่อาศัยอย่างต่อเนื่องในอาณาเขตประเทศไทยปัจจุบันตั้งแต่ 20,000 ปีก่อนคริสตกาล ชาวไทเริ่มอพยพเข้าสู่บริเวณนี้ในคริสต์ศตวรรษที่ 11 แล้วเข้ามาตั้งแว่นแคว้นต่าง ๆ ที่สำคัญได้แก่ อาณาจักรสุโขทัย อาณาจักรล้านนาและอาณาจักรอยุธยา นักประวัติศาสตร์มักถือว่าอาณาจักรสุโขทัยเป็นจุดเริ่มต้นของประวัติศาสตร์ไทย ต่อมาอาณาจักรอยุธยาค่อย ๆ เรืองอำนาจมากขึ้นจนเป็นมหาอำนาจในภูมิภาคในปลายคริสต์ศตวรรษที่ 14 การติดต่อกับชาติตะวันตกเริ่มด้วยผู้แทนทางทูตชาวโปรตุเกสในปี 2054 อาณาจักรรุ่งเรืองอย่างมากในรัชกาลสมเด็จพระนารายณ์มหาราช (ครองราชย์ปี 2199–2231) แต่หลังจากนั้นค่อย ๆ เสื่อมอำนาจโดยมีสาเหตุส่วนหนึ่งจากการผลัดแผ่นดินที่มีการนองเลือดหลายรัชกาล จนสุดท้ายกรุงศรีอยุธยาถูกทำลายสิ้นเชิงในปี 2310 สมเด็จพระเจ้ากรุงธนบุรีทรงรวบรวมแผ่นดินที่แตกออกเป็นก๊กต่าง ๆ และสถาปนาอาณาจักรธนบุรีที่มีอายุ 15 ปี ความวุ่นวายในช่วงปลายอาณาจักรนำไปสู่การสำเร็จโทษพระองค์โดยพระบาทสมเด็จพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลกมหาราช ปฐมราชวงศ์จักรีแห่งกรุงรัตนโกสินทร์ ช่วงต้นกรุงรัตนโกสินทร์ ประเทศเผชิญภัยคุกคามจากชาติใกล้เคียง แต่หลังรัชกาลพระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวเป็นต้นมา ชาติตะวันตกเริ่มมีอิทธิพลในภูมิภาคเป็นอย่างมาก นำไปสู่การเข้าเป็นภาคีแห่งสนธิสัญญาไม่เป็นธรรมหลายฉบับ กระนั้น สยามไม่ตกเป็นอาณานิคมของตะวันตกชาติใด มีการปรับให้สยามทันสมัยและรวมอำนาจปกครองในรัชกาลพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว (ครองราชย์ปี 2411–53) สยามเข้าร่วมกับฝ่ายสัมพันธมิตรในสงครามโลกครั้งที่หนึ่งในปี 2460; ในปี 2475 เกิดการปฏิวัติเปลี่ยนแปลงการปกครองสู่ระบอบราชาธิปไตยภายใต้รัฐธรรมนูญโดยไม่เสียเลือดเนื้อ คณะราษฎรมีบทบาทนำทางการเมือง และในพุทธทศวรรษ 2480 นายกรัฐมนตรี จอมพล แปลก พิบูลสงคราม ดำเนินนโยบายชาตินิยมเข้มข้น ระหว่างสงครามโลกครั้งที่สอง ไทยเข้ากับฝ่ายอักษะ แต่ฝ่ายสัมพันธมิตรส่วนใหญ่ไม่ยอมรับการประกาศสงคราม ในช่วงสงครามเย็น ประเทศไทยเป็นพันธมิตรกับสหรัฐซึ่งสนับสนุนรัฐบาลทหารมาก รัฐประหารที่มีจอมพล สฤษดิ์ ธนะรัชต์เป็นหัวหน้าคณะในปี 2500 ทำให้คณะราษฎรหมดอำนาจ รัฐบาลฟื้นฟูพระราชอำนาจและมีมาตรการต่อต้านคอมมิวนิสต์ในภูมิภาค ผลของเหตุการณ์ 14 ตุลา 2516 ทำให้เกิดประชาธิปไตยระบบรัฐสภาช่วงสั้น ๆ ประเทศไทยมีนายกรัฐมนตรีจากการเลือกตั้งครั้งแรกในปี 2531 หลังพุทธทศวรรษ 2540 มีวิกฤตการเมืองระหว่างฝ่ายที่สนับสนุนและต่อต้านอดีตนายกรัฐมนตรีทักษิณ ชินวัตรมาจนปัจจุบัน รวมทั้งเกิดรัฐประหารสองครั้ง โดยครั้งล่าสุดเกิดในปี 2557 รัฐธรรมนูญฉบับปัจจุบันเป็นฉบับที่ 20 ประกาศใช้เมื่อวันที่ 6 เมษายน 2560 หลังมีการลงประชามติรับร่างเมื่อหนึ่งปีก่อน ประเทศไทยเป็นสมาชิกสหประชาชาติ เอเปก อีกทั้งเป็นร่วมผู้ก่อตั้งอาเซียน ประเทศไทยเป็นพันธมิตรของสหรัฐตั้งแต่สนธิสัญญาซีโต้ในปี 2497 ถือเป็นประเทศอำนาจนำภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้และประเทศอำนาจปานกลางในเวทีโลก ประเทศไทยเป็นประเทศที่มีรายได้ปานกลาง-สูงและประเทศอุตสาหกรรมใหม่ มีรายได้หลักจากภาคอุตสาหกรรมและบริการ การเปลี่ยนแปลงทางเศรษฐกิจทำให้มีการอพยพเข้าสู่เมืองในคริสต์ศตวรรษที่ 20 ตามประมาณการในปี 2560 จีดีพีของประเทศไทยมีมูลค่าราว 432,898 ล้านดอลลาร์สหรัฐ นับว่าเศรษฐกิจไทยเป็นเศรษฐกิจใหญ่สุดเป็นอันดับ 2 ในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้และใหญ่เป็นอันดับที่ 26 ของโลก.

ใหม่!!: พม่าภายใต้การปกครองของสหราชอาณาจักรและประเทศไทย · ดูเพิ่มเติม »

ปอนด์สเตอร์ลิง

ปอนด์สเตอร์ลิง (pound sterling) คือ มาตราเงินของอังกฤษ.

ใหม่!!: พม่าภายใต้การปกครองของสหราชอาณาจักรและปอนด์สเตอร์ลิง · ดูเพิ่มเติม »

ปักกิ่ง

ปักกิ่ง หรือ เป่ย์จิง (จีน:, พินอิน: Běijīng) เป็นเมืองหลวงของสาธารณรัฐประชาชนจีน มีชื่อย่อว่า จิง ตั้งอยู่ที่ภาคตะวันออกเฉียงเหนือของ ที่ราบหวาเป่ย์ ชื่อเดิมคือ จี่ (冀) สมัยวสันตสารท (春秋)และสมัยรณรัฐ (战国)เป็นเมืองหลวงของแคว้นเยียน สมัยราชวงศ์เหลียว เป็นเมืองหลวงรอง ชื่อ เยียนจิง เป็นเมืองหลวงของจีนตั้งแต่สมัยราชวงศ์จิน หยวน หมิง ชิงจนถึง สาธารณรัฐจีน เคยใช้ชื่อจงตู ต้าตู เป่ย์ผิงและเป่ย์จิง โดยมีชื่อเรียกทั้งหมดกว่า 60 ชื่อ เริ่มตั้งเป็นเมืองตั้งแต่ปี 1928 ปัจจุบัน แบ่งเป็น 16 เขตและ 2 อำเภอ เป็นนครที่ขึ้นตรงต่อส่วนกลาง พื้นที่ทั่วกรุงปักกิ่งมีถึง 16,800 ตารางกิโลเมตร ถึงสิ้นปี..

ใหม่!!: พม่าภายใต้การปกครองของสหราชอาณาจักรและปักกิ่ง · ดูเพิ่มเติม »

แม่น้ำอิรวดี

แม่น้ำอิรวดี (ออกเสียง เอยาวะดี) เป็นแม่น้ำที่ไหลจากเหนือจรดใต้ผ่านประเทศพม่า เป็นแม่น้ำที่ใหญ่สุดในประเทศและเป็นเส้นทางการค้าที่สำคัญที่สุด ชื่ออิรวดีในพม่ามาจาก ภาษาบาลี Irāvatī Airavati Erāvatī เป็นชื่อบาลีของช้างเอราวัณพาหนะของพระอินทร์ ช้างมักถูกใช้เป็นสัญลักษณ์สำหรับน้ำ และถูกนำมาใช้เป็นชื่อของแม่น้ำอื่น ๆ ในหลายภูมิภาคเช่น แม่น้ำอจิรวดี ในอินเดีย แม่น้ำอิรวดีมีต้นกำเนิดจากจุดบรรจบกันของ แม่น้ำมะลิขา และ แม่น้ำเมขา ที่ไหลลงมาจากธารน้ำแข็งบริเวณเทือกเขาหิมาลัยทางตอนเหนือของปูตาโอในพม่าตอนบน แม่น้ำค่อนข้างไหลเป็นเส้นตรงไปทางทิศตะวันตกเฉียงใต้ ผ่านดินดอนสามเหลี่ยมปากแม่น้ำอิรวดี และไหลลงสู่ทะเลอันดามัน แม่น้ำอิรวดีมีพื้นที่ลุ่มน้ำ 404,200 ตารางกิโลเมตร (156,026 ตารางไมล์) ครอบคลุมพื้นที่ส่วนใหญ่ของประเทศพม่า นักกวีชาวอังกฤษ รัดยาร์ด คิปลิง มีการบรรยายถึงแม่น้ำอิรวดีในบทกวีที่เขาแต่งเรื่อง 'ถนนสู่มัณฑะเลย์' กว่าหกศตวรรษที่แม่น้ำถูกใช้สำหรับการค้าขายและการขนส่ง แม่น้ำมีความสำคัญต่อจักรวรรดิอังกฤษหลังได้พม่าเข้ามาอยู่ในอาณานิคมได้มีการพัฒนาเครือข่ายคลองชลประทาน แม่น้ำยังคงมีความสำคัญในปัจจุบันเนื่องจากเป็นเส้นทางการจราจรและเป็นเส้นทางของสินค้าส่งออกจำนวนมาก ข้าวมีการผลิตในเขตดินดอนสามเหลี่ยมปากแม่น้ำอิรวดีซึ่งมีการใช้น้ำจากแม่น้ำ ในปี..

ใหม่!!: พม่าภายใต้การปกครองของสหราชอาณาจักรและแม่น้ำอิรวดี · ดูเพิ่มเติม »

โกลกาตา

นนสายหนึ่งในเมืองโกลกาตา หอสมุดแห่งชาติในเมืองโกลกาตา โกลกาตา (Kolkata; কলকাতা) หรือชื่อเดิม กัลกัตตา (Calcutta) เป็นเมืองหลวงของรัฐเบงกอลตะวันตก ประเทศอินเดีย ตั้งอยู่ริมฝั่งตะวันออกของแม่น้ำฮูคลี ทางภาคตะวันออกเฉียงเหนือของประเทศ เมืองนี้มีจำนวนประชากร 4,580,544 คน (พ.ศ. 2544) ซึ่งหากนับรวมในเขตเมืองรอบนอกด้วยก็จะมีจำนวนมากกว่า 14 ล้านคน ทำให้เมืองนี้เป็นกลุ่มเมืองที่ใหญ่ที่สุดเป็นอันดับที่ 3 และเป็นเมืองที่ใหญ่ที่สุดเป็นอันดับที่ 4 ของประเทศ โกลกาตาเคยเป็นเมืองหลวงของอินเดียในสมัยการปกครองของอังกฤษ จึงทำให้เมืองนี้เป็นศูนย์กลางการศึกษาสมัยใหม่ วิทยาศาสตร์ วัฒนธรรม และการเมือง (จนกระทั่งในปี พ.ศ. 2454 ได้มีการย้ายเมืองหลวงไปนิวเดลี) โดยถือเป็นเมืองหนึ่งที่มีระบบระบายน้ำเก่าแก่ที่สุดในโลก ด้วยมีอายุกว่า 150 ปี อย่างไรก็ตาม โกลกาตาประสบกับภาวะชะงักงันทางเศรษฐกิจเป็นเวลานานติดต่อกันหลายปีหลังจากอินเดียได้รับเอกราชในปี พ.ศ. 2490 ตั้งแต่ปี พ.ศ. 2543 เป็นต้นมา การฟื้นฟูและการกระตุ้นเศรษฐกิจก็ได้นำไปสู่ความเจริญเติบโตของเมืองอย่างเต็มที่ แต่ก็เช่นเดียวกับเมืองใหญ่แห่งอื่น ๆ ในอินเดีย โกลกาตาต้องเผชิญกับปัญหาเมืองต่าง ๆ ไม่ว่าจะเป็นปัญหาความยากจน ปัญหามลภาวะ ปัญหาการจราจรติดขัด เป็นต้น นอกจากนี้ โกลกาตายังมีชื่อเสียงด้านประวัติศาสตร์การปฏิวัติ ตั้งแต่การเรียกร้องเอกราชของอินเดีย ไปจนถึงขบวนการฝ่ายซ้ายและสหภาพการค้าต่าง ๆ อีกด้วย เป็นไปได้ว่าชื่อโกลกาตาและ "กัลกัตตา" นั้นอาจจะมาจาก กาลิกาตา ซึ่งเป็นหนึ่งในหมู่บ้านสามแห่ง (กาลิกาตา สุตนุติ และโคพินทปุระ) ในพื้นที่แถบนี้ก่อนการเข้ามาของอังกฤษ ซึ่งสันนิษฐานว่า "กาลิกาตา" นั้นเป็นรูปในภาษาอังกฤษของคำว่า กาลีเกษตร ("ดินแดนของพระแม่กาลี") หรือมาจากคำในภาษาเบงกาลีว่า กิกิลา ("ที่ราบ") หรืออาจมีต้นกำเนิดจากคำพื้นเมืองที่ใช้เรียกชื่อคลองธรรมชาติสายหนึ่ง คือ คาล ตามด้วย กัตตา แม้ว่าในภาษาเบงกาลีซึ่งเป็นภาษาของท้องถิ่นจะเรียกชื่อเมืองนี้ว่า "โกลกาตา" มาตลอด แต่ชื่อภาษาอังกฤษของเมืองก็เพิ่งถูกเปลี่ยนจาก "กัลกัตตา" เป็น "โกลกาตา" ตามการออกเสียงในภาษาดังกล่าวเมื่อปี พ.ศ. 2544 นี้เอง บางคนมองว่านี่เป็นหนึ่งในการเคลื่อนไหวเพื่อลบล้างสิ่งที่เป็นมรดกตกทอดจากการปกครองของอังกฤษ.

ใหม่!!: พม่าภายใต้การปกครองของสหราชอาณาจักรและโกลกาตา · ดูเพิ่มเติม »

เมาะลำเลิง

มาะลำเลิง หรือ มะละแหม่ง (မော်လမြိုင်) ในเอกสารเก่าของไทยเรียก เมืองพัน เป็นเมืองหลวงของรัฐมอญและเป็นเมืองใหญ่เป็นอันดับที่สี่ของประเทศพม.

ใหม่!!: พม่าภายใต้การปกครองของสหราชอาณาจักรและเมาะลำเลิง · ดูเพิ่มเติม »

เครือจักรภพแห่งอังกฤษ

รือจักรภพแห่งอังกฤษ (Commonwealth of England) คือรัฐบาลสาธารณรัฐที่ปกครองอังกฤษ รวมทั้งเวลส์ ไอร์แลนด์ และสกอตแลนด์ ระหว่างปี ค.ศ. 1649 ถึง ค.ศ. 1660 หลังจากการสำเร็จโทษของพระเจ้าชาร์ลส์ที่ 1 เมื่อวันที่ 30 มกราคม ค.ศ. 1649 เครือจักรภพอังกฤษกำเนิดขึ้นจากพระราชบัญญัติประกาศอังกฤษเป็นเครือจักรภพโดยรัฐสภารัมพ์ (Rump Parliament) เมื่อวันที่ 19 พฤษภาคม..

ใหม่!!: พม่าภายใต้การปกครองของสหราชอาณาจักรและเครือจักรภพแห่งอังกฤษ · ดูเพิ่มเติม »

เครื่องจักรไอน้ำ

รื่องจักรไอน้ำ เครื่องจักรไอน้ำ (Steam engine) ประดิษฐ์โดย โทมัส นิวโคเมน (Thomas Newcomen) เมื่อ พ.ศ. 2248 (ค.ศ. 1705) ต่อมา เจมส์ วัตต์ ได้พัฒนาเครื่องจักรไอน้ำขึ้น ซึ่งหลังจากนั้น ได้มีการนำเอาชื่อท่านมาตั้งเป็นหน่วยของกำลังไฟฟ้า เช่น กำลังไฟฟ้า 400 วัตต์ เป็นต้น เครื่องจักรไอน้ำเป็นเครื่องจักรแรกๆ ที่มนุษย์สร้างขึ้น เช่น รถจักรไอน้ำ เรือกลไฟ ฯลฯ เครื่องจักรไอน้ำ เป็นเครื่องจักรประเภท สันดาปภายนอก ที่ให้ความร้อนผ่านของเหลว (น้ำ) และทำการเปลี่ยนไอของของเหลวเป็นพลังงานกล ซึ่งสามารถนำมาเปลี่ยนเป็นพลังงานไฟฟ้าได้ โดยการนำไอน้ำมาหมุนกังหันของ เครื่องปั่นไฟ (ไดนาโม) เครื่องจักรไอน้ำต้องมีหม้อต้มในการต้มน้ำในการทำให้เกิดไอน้ำ ไอน้ำที่ได้จากการต้ม จะนำไปเป็นแรงในการดันกระบอกสูบหรือกังหัน ข้อดีของเครื่องจักรไอน้ำประการหนึ่งคือการที่สามารถใช้แหล่งความร้อนจากอะไรก็ได้ เช่น ถ่านหิน, ฟืน, น้ำมันปิโตรเลียม หรือกระทั่ง นิวเคลียร์ และแม้แต่ในปัจจุบัน เครื่องจักรไอน้ำหรือกลไกที่ถูกพัฒนาขึ้นจากเครื่องจักรไอน้ำยังคงปรากฏซ่อนอยู่ในเครื่องจักรเครื่องกลแทบทุกประเภท เช่น โรงไฟฟ้าพลังงานความร้อน จนถึง กระบอกสูบในรถยนต์ หรือในเครื่องบินในปัจจุบันนั้นมีการค้นพบรูปแบบใหม่ๆในการนำเครื่องจักรไอน้ำไปใช้งาน การค้นพบครั้งล่าสุดถูกค้นพอโดนลูกชายของโทมัส นิวโครแมน โดยชื่อที่ใช้ในการค้นพบคือ อเล็กซ์ซี่ นิวโครแมน ซึ่งถูกค้นพบเมื่อวันที่ 13 ธันวาคม..

ใหม่!!: พม่าภายใต้การปกครองของสหราชอาณาจักรและเครื่องจักรไอน้ำ · ดูเพิ่มเติม »

เปลี่ยนเส้นทางที่นี่:

บริติชพม่าพม่าภายใต้การปกครองของอังกฤษพม่าภายใต้การปกครองของบริเตนพม่าของอังกฤษพม่าของบริเตน

ขาออกขาเข้า
Hey! เราอยู่ใน Facebook ตอนนี้! »