โลโก้
ยูเนี่ยนพีเดีย
การสื่อสาร
ดาวน์โหลดได้จาก Google Play
ใหม่! ดาวน์โหลด ยูเนี่ยนพีเดีย บน Android ™ของคุณ!
ติดตั้ง
เร็วกว่าเบราว์เซอร์!
 

บังสุกุล

ดัชนี บังสุกุล

ังสุกุล แปลว่า ฝั่งแห่งฝุ่น, กองฝุ่น, คลุกฝุ่น, เปื้อนฝุ่น เป็นคำใช้เรียกผ้าที่ภิกษุชักจากศพ หรือผ้าที่ทอดไว้หน้าศพ หรือผ้าที่ทอดไว้บนด้ายสายสิญจน์ หรือผ้าภูษาโยงที่ต่อมาจากศพด้วยการพิจารณากรรมฐานว่า ผ้าบังสุกุล โดยเรียกกริยาที่พระชักผ้าหรือพิจารณาผ้าเช่นนั้นว่า ชักผ้าบังสุกุล หรือ พิจารณาผ้าบังสุกุล คำว่า "บังสุกุล" นั้น มาจากคำภาษาบาลีว่า ปํสุ (อ่านว่า ปัง-สุ) แปลว่า ฝุ่น และคำว่า กูล (อ่านว่า กู-ละ) แปลว่า เปื้อน, คลุก สมาสคำทั้งสองเข้าด้วยบทวิเคราะห์เป็น ปํสุกูล (อ่านว่า ปัง-สุ-กู-ละ) แปลว่า ผ้าที่เปื้อนฝุ่น เมื่อมาเป็นคำไทย เปลี่ยน "ปอ ปลา" เป็น "บอ ใบไม้" รัสสะ "สระ อู" ให้สั้นลง เป็น "อุ" และปรับเสียงเป็นรูปแบบภาษาไทยที่มีตัวสะกด เป็น บังสุกุล อ่านว่า บัง-สุ-กุน ดังนั้นคำว่า "บังสุกุล" จึงต้องเขียนว่า บังสุกุล เท่านั้น ไม่สามารถเขียนเป็นอย่างอื่นได้ หากเขียนเป็น บังสกุล ถือเป็นคำที่เขียนผิด อันเกิดจากการเทียบเคียงผิดกับคำว่า สกุล ที่หมายถึง ตระกูลวงศ์ ในสมัยพุทธกาลภิกษุต้องแสวงหาผ้าที่เขาทิ้งแล้วจากกองขยะหรือจากป่าช้ามาทำจีวรใช้ ผ้าเหล่านั้นส่วนใหญ่จะเปื้อนฝุ่นหรือสกปรก จึงเรียกว่าบังสุกุล.

10 ความสัมพันธ์: พระมหาโพธิวงศาจารย์ (ทองดี สุรเตโช)พุทธศักราชกรรมฐานภิกษุมาติการาชบัณฑิตวัดราชโอรสารามราชวรวิหารสายสิญจน์ผ้าป่าไตรจีวร

พระมหาโพธิวงศาจารย์ (ทองดี สุรเตโช)

ระมหาโพธิวงศาจารย์ นามเดิม ทองดี สุรเดช ฉายา สุรเตโช เป็นราชบัณฑิต พระราชาคณะเจ้าคณะรอง ชั้นหิรัญบัฏ ปัจจุบันดำรงตำแหน่งเจ้าอาวาสวัดราชโอรสารามราชวรวิหาร หัวหน้าพระธรรมทูตสายที่ 8 กรรมการผู้ทรงคุณวุฒิสภามหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลั.

ใหม่!!: บังสุกุลและพระมหาโพธิวงศาจารย์ (ทองดี สุรเตโช) · ดูเพิ่มเติม »

พุทธศักราช

ทธศักราช ย่อว.. เป็นศักราชที่เริ่มนับเมื่อพระโคตมพุทธเจ้าปรินิพพาน ในประเทศไทยเริ่มนับเมื่อปรินิพพานแล้ว 1 ปี แต่ในเช่น ในประเทศไทยเป็นปี..

ใหม่!!: บังสุกุลและพุทธศักราช · ดูเพิ่มเติม »

กรรมฐาน

กรรมฐาน (บาลี:kammaṭṭhāna, กมฺมฏฺาน) (สันสกฤต: karmasthana) หมายถึง ที่ตั้งแห่งการทำงานของจิต สิ่งที่ใช้เป็นอารมณ์ในการเจริญภาวนา อุปกรณ์ที่ใช้ในการฝึกอบรมจิต หรืออุบายหรือกลวิธีเหนี่ยวนำให้เกิดสมาธิ กรรมฐานจึงเป็นสิ่งที่เอามาให้จิตกำหนด เพื่อให้จิตสงบอยู่ได้ ไม่เที่ยวเตลิดเลื่อนลอยฟุ้งซ่าน ไปอย่างไร้จุดหมาย อย่าง อย่างไรในพระไตรปิฎกภาษาไทยฉบับหลวงแปลคำว่า กมฺมฏฺาน ว่า ฐานะแห่งการงาน มากไปกว่านั้นในพระไตรปิฎกฉบับสยามรัฐพบคำว่า กมฺมฏฺาน เฉพาะในเล่มที่ 13 ข้อที่ 711 ถึง 713 เท่านั้น.

ใหม่!!: บังสุกุลและกรรมฐาน · ดูเพิ่มเติม »

ภิกษุ

กษุ หรือ พระภิกษุ (บาลี: ภิกขุ; สันสกฤต: ภิกษุ) เป็นคำใช้เรียก "นักบวชชาย" ในพระพุทธศาสนาโดยเฉพาะ คู่กับภิกษุณี (นักบวชหญิง) คำว่า ภิกษุ เป็นศัพท์เฉพาะในพระพุทธศาสนา เป็นศัพท์บัญญัติที่ใช้เรียกนักบวชชายในพระพุทธศาสนาโดยเฉพาะ ไม่สาธารณะทั่วไปสำหรับทุกศาสนา มีความหมายว่า ผู้ขอ (ขออาหาร เป็นต้น) และสามารถแปลว่า ผู้เห็นภัยในวัฏฏสงสาร ก็ได้ ดังรูปวิเคราะห์ว่า "วฏฺฏสํสาเร ภยํ อิกฺขตีติ ภิกฺขุ" ในประเทศไทยและประเทศลาว มีคำเรียกภิกษุเถรวาทว่า "พระ" แปลว่าผู้ประเสร.

ใหม่!!: บังสุกุลและภิกษุ · ดูเพิ่มเติม »

มาติกา

มาติกา (อ่านว่า มาดติกา) แปลว่า หัวข้อ, แม่บท มาติกา หมายถึงพระบาลีที่เป็นหัวข้อ เป็นแม่บท เรียกว่า บทมาติกา เรียกการที่พระสงฆ์สวดพระบาลีเฉพาะหัวข้อธรรมในพระอภิธรรมปิฎก ซึ่งขึ้นต้นด้วยบทว่า กุสลา ธัมมา อกุสลา ธัมมา ในงานที่เกี่ยวกับศพว่า สวดมาติกา มาติกา คำนี้ในงานเผาศพจะใช้คู่กับคำว่า บังสุกุล เป็น มาติกา บังสุกุล กล่าวคือพระสงฆ์จะสวดมาติกาก่อนแล้วบังสุกุลต่อกันไป เช่นที่เขียนในบัตรเชิญงานศพว่า "14.00 น. พระสงฆ์มาติกา บังสุกุล" ธัมมะสังคิณีมาติกา กุสะลา ธัมมา อะกุสะลา ธัมมา อัพยากะตา ธัมมา ฯ สุขายะ เวทะนายะ สัมปะยุตตา ธัมมา ทุกขายะ เวทะนายะ สัมปะยุตตา ธัมมา อะทุกขะมะสุขายะ เวทะนายะ สัมปะยุตตา ธัมมา ฯ วิปากา ธัมมา วิปากะธัมมะธัมมา เนวะวิปากะนะวิปากะ ธัมมะธัมมา ฯ อุปาทินนุปาทานิยา ธัมมา อะนุปาทินนุ ปาทานิ ยา ธัมมา อะนุปาทินนานุปาทานิยา ธัมมา ฯ สังกิลิฏฐะสังกิเลสิกา ธัมมา อะสังกิลิฏฐะสังกิเลสิกา ธัมมา อะสังกิลิฏฐาสังกิเลสิกา ธัมมา ฯ สะวิตักกะสะวิจารา ธัมมา อะวิตักกะวิจาระมัตตา ธัมมา อะวิตักกาวิจารา ธัมมา ฯ ปีติ สะหะคะตา ธัมมา สุขะสะหะคะตา ธัมมา อุ เปกขา สะหะคะตา ธัมมา ฯ ทัสสะเนนะ ปะหาตัพพา ธัมมา ภาวะนายะ ปะหาตัพพา ธัมมา เนวะทัสสะเนนะ นะภาวะนายะ ปะหาตัพพา ธัมมา ฯ ทัสสะเนนะ ปะหาตั พพะเหตุกา ธัมมา ภาวะนายะ ปะหาตัพพะเหตุ กา ธัมมา เนวะทัสสะเนนะ นะภาวะนายะ ปะหาตัพพะเหตุกา ธัมมา ฯ อาจะยะคามิโน ธัมมา อะปะจะยะคามิโน ธัมมา เนวาจะยะคามิโน นาปะจะยะคามิโน ธัมมา ฯ เสกขา ธัมมา อะเสกขา ธัมมา เนวะเสกขานาเสกขา ธัมมา ฯ ปะริตตา ธัมมา มะหัคคะตา ธัมมา อัปปะมาณา ธัมมา ฯ ปะริ ตตารัมมะณา ธัมมา มะหั คคะตารัมมะณา ธัมมา อัปปะมาณารัมมะณา ธัมมา ฯ หีนา ธัมมา มัชฌิมา ธัมมา ปะณีตา ธัมมา ฯ มิจฉัตตะนิยะตา ธัมมา สัมมัตตะนิยะตา ธัมมา อะนิยะตา ธัมมา ฯ มัคคารั มมะณา ธัมมา มัคคะเหตุกา ธัมมา มัคคาธิปะติ โน ธัมมา ฯ อุปปันนา ธัมมา อะนุปปันนา ธัมมา อุปปาทิโน ธัมมา ฯ อะตีตา ธัมมา อะนาคะตา ธัมมา ปัจจุปปันนา ธัมมา ฯ อะตี ตารัมมะณา ธัมมา อะนาคะตา รัมมะณา ธัมมา ปัจจุปปันนารัมมะณา ธัมมา ฯ อัชฌัตตา ธัมมา พะหิทธา ธัมมา อัชฌัตตะพะหิทธา ธัมมา ฯ อัชฌัตตารั มมะณา ธั มมา พะหิทธารัมมะณา ธัมมา อัชฌัตตะพะหิทธารัมมะณา ธัมมา ฯ สะนิทัสสะนะสัปปะฏิฆา ธัมมา อะนิทั สสะนะสัปปะฏิฆา ธัมมา อะนิทัสสะนาปปะฏิฆา ธัมมา ฯ.

ใหม่!!: บังสุกุลและมาติกา · ดูเพิ่มเติม »

ราชบัณฑิต

ราชบัณฑิต คือ "นักปราชญ์หลวง" ที่เป็นสมาชิกขององค์การวิทยาการของรัฐคือ ราชบัณฑิตยสภาโดยต้องเป็นผู้ที่มีเกียรติประวัติดีงาม ได้รับการยอมรับและการยกย่องจากผู้รู้ในศาสตร์สาขาเดียวแห่งตนและจากคนทั่วไป มีสัญชาติไทย อายุไม่ต่ำกว่า 35 ปี ได้รับการคัดเลือกจากสภาราชบัณฑิตว่าเป็นผู้รู้ในสาขาวิชาใดสาขาหนึ่งที่มีกำหนดไว้ในราชบัณฑิตยสถาน เมื่อได้รับการคัดเลือกแล้ว พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวจึงจะทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ แต่งตั้งเป็นราชบัณฑิตและจะได้รับค่าสมนาคุณเป็นรายเดือน.

ใหม่!!: บังสุกุลและราชบัณฑิต · ดูเพิ่มเติม »

วัดราชโอรสารามราชวรวิหาร

วัดราชโอรสารามราชวรวิหาร พระอารามหลวงชั้นเอก ชนิดราชวรวิหาร เป็นวัดเก่าแก่ที่มีมาก่อนการสร้างกรุงเทพมหานคร เดิมชื่อวัดจอมทอง ต่อมาพระเจ้าลูกยาเธอ กรมหมื่นเจษฎาบดินทร์ (ต่อมาคือ พระบาทสมเด็จพระนั่งเกล้าเจ้าอยู่หัว) ทรงสถาปนาวัดจอมทองขึ้นใหม่ทั้งพระอาราม เนื่องจากเมื่อครั้งที่ทรงยกทัพไปสกัดทัพพม่าที่ด่านเจดีย์สามองค์ กาญจนบุรีใน พ.ศ. 2363 เมื่อกระบวนทัพเรือมาถึงวัดจอมทอง ฝั่งธนบุรีทรงหยุดพักและทำพิธีเบิกโขลนทวารตามตำราพิชัยสงคราม พร้อมทรงอธิษฐานขอให้การไปราชการทัพครั้งนี้ได้ชัยชนะ แต่ปรากฏว่าไม่มีทัพพม่ายกเข้ามา เมื่อยกทัพกลับ พระเจ้าลูกยาเธอ กรมหมื่นเจษฎาบดินทร์ได้ทรงบูรณปฏิสังขรณ์วัดจอมทองใหม่และถวายเป็นพระอารามหลวง ได้รับพระราชทานนามใหม่ว่าวัดราชโอรส ซึ่งหมายถึง พระราชโอรสคือ กรมหมื่นเจษฎาบดินทร์ ในปัจจุบันมี พระมหาโพธิวงศาจารย์ (ทองดี สุรเตโช) เป็นเจ้าอาว.

ใหม่!!: บังสุกุลและวัดราชโอรสารามราชวรวิหาร · ดูเพิ่มเติม »

สายสิญจน์

300px สายสิญจน์ เป็นคำใช้เรียกเส้นด้ายสีขาวยาวๆ ที่พระถือขณะประนมมือเจริญพระพุทธมนต์หรือที่วงรอบบ้านเรือนเพื่อให้เป็นสิริมงคลเวลาทำบุญที่บ้าน ในเวลาทำบุญที่บ้านนิยมใช้สายสิญจน์วงรอบบ้านโดยเวียนขวา คือวนให้อยู่ทางขวามือแล้วโยงมาวนขวาที่ฐานพระพุทธรูปอีกรอบหนึ่งหรือ 3 รอบ แล้วคลี่มาวางไว้บนพานอยู่ด้านขวามือของภิกษุรูปที่ประธานเจริญพระพุทธมนต์ ด้ายสายสิญจน์เรียกอีกอย่างหนึ่งว่า ด้ายปริตร คือด้ายศักดิ์สิทธ์ที่เกิดจากพระพุทธมนต์ที่พระท่านสวดสาธยายหรือเสกเป่าไว้ ถือกันว่าสามารถป้องกันอันตรายเช่นภูติผีปีศาจได้ และถือว่าเป็นด้ายมงคล เช่น ด้ายที่จับเป็นวงกลมสองวงสำหรับสวมศีรษะคู่บ่าวสาวซึ่งเรียกว่า มงคลแฝ.

ใหม่!!: บังสุกุลและสายสิญจน์ · ดูเพิ่มเติม »

ผ้าป่า

ต้นผ้าป่า ผ้าป่า คือผ้าที่ผู้ถวายนำไปวางพาดไว้บนกิ่งไม้เพื่อให้พระชักเอาไปเองโดยไม่กล่าวคำถวายหรือประเคนเหมือนถวายของทั่วไป กริยาที่พระหยิบผ้าไปใช้แบบนั้น เรียกว่า "ชักผ้าป่า" ส่วนการถวายผ้าป่านิยมจัดของใช้เป็นบริวารผ้าป่าเหมือนบริวารกฐินเรียกว่า "ทอดผ้าป่า".

ใหม่!!: บังสุกุลและผ้าป่า · ดูเพิ่มเติม »

ไตรจีวร

ระภิกษุในพระพุทธศาสนามีการนุ่งห่มจีวรด้วยสีต่างๆ ตามคติและวินัยในแต่ละนิกาย ไตรจีวร คือ ผ้าจีวร ๓ ผืน คนไทยเรียกสั้นๆ ว่า ผ้าไตร เป็นชื่อเรียกผ้านุ่งผ้าห่มที่พระสงฆ์ใช้สอย หมายถึงผ้า 3 ผืน ซึ่งมีทั้งผ้านุ่งและผ้าห่ม อันได้แก่ สังฆาฏิ (ผ้าพาดบ่า) อุตตราสงค์ (ผ้าจีวรสำหรับห่ม) และอันตรวาสก (ผ้าสบงสำหรับนุ่ง) แต่นิยมเรียกรวมกันว่า ไตรจีวร ไตรจีวรเป็นปัจจัยหรือบริขารของพระสงฆ์อย่างหนึ่งในจำนวน 8 อย่าง นอกจากนี้ยังมีอีกคำหนึ่งที่ใช้เรียกไตรจีวรทั้งนิกายเถรวาทและมหายานคือคำว่า กาสาวะ กาสายะ หรือ กาษายะ (kasāva kasāya กาสาว กาสาย; काषाय kāṣāya กาษาย;;;; cà-sa) ซึ่งหมายเอาตามชื่อสีที่ใช้ย้อมทำจีวรเป็นหลัก โดยผ้ากาสาวะ หมายถึงผ้าย้อมด้วยน้ำฝาด ซึ่งก็คือผ้าไตรจีวรทั้งสามผืนนั่นเอง.

ใหม่!!: บังสุกุลและไตรจีวร · ดูเพิ่มเติม »

เปลี่ยนเส้นทางที่นี่:

ผ้าบังสุกุล

ขาออกขาเข้า
Hey! เราอยู่ใน Facebook ตอนนี้! »