โลโก้
ยูเนี่ยนพีเดีย
การสื่อสาร
ดาวน์โหลดได้จาก Google Play
ใหม่! ดาวน์โหลด ยูเนี่ยนพีเดีย บน Android ™ของคุณ!
ดาวน์โหลด
เร็วกว่าเบราว์เซอร์!
 

ผู้เผด็จการโรมัน

ดัชนี ผู้เผด็จการโรมัน

ในสาธารณรัฐโรมัน ผู้เผด็จการ คือ "แมจิสเทรตวิสามัญ" (magistratus extraordinarius) โดยมีอำนาจเด็ดขาดในการดำเนินภาระนอกเหนือจากแมจิสเทรตสามัญ (magistratus ordinarius) ตำแหน่งผู้เผด็จการเป็นการประดิษฐ์กฎหมายที่เดิมชื่อ Magister Populi (นายประชาชน) คือ นายแห่งกองทัพพลเมือง คำนี้มาจากคำว่า dicto หมายถึง สั่งการ วุฒิสภาโรมันผ่านกฤษฎีกาวุฒิสภา (senatus consultum) อนุญาตกงสุลให้เสนอชื่อผู้เผด็จการ ซึ่งเป็นข้อยกเว้นเดียวของหลักมีผู้ดำรงตำแหน่งเดียวกันหลายคน (collegiality) และความรับผิดชอบ (ความรับผิดทางกฎหมายสำหรับการกระทำในตำแหน่ง) ตามกฎหมายโรมัน มีผู้ได้รับแต่งตั้งคนเดียว และเป็นแมจิสเทรตสูงสุด ไม่มีความรับผิดทางกฎหมายสำหรับการกระทำในตำแหน่ง มีลิกเตอร์ (องครักษ์) 24 คนรับใช้ อนุญาตให้มีผู้เผด็จการได้คนเดียว เนื่องจากมีอำนาจสิทธิ์ขาดใหญ่ (imperium magnum) ซึ่งสามารถลบล้าง ปลดหรือประหารชีวิตคุรูเลแมจิสเทรต (curule magistrate) ซึ่งถืออำนาจสิทธิ์ขาดได้ มีผู้เผด็จการหลายแบบแตกต่างกันตามสาเหตุการสถาปนา รูปแบบที่พบบ่อยที่สุด และที่สัมพัน์กับผู้เผด็จการโรมันมากที่สุด คือ rei gerundae causa "เพื่อจัดการปัญหา" ซึ่งแทบทุกครั้งเกี่ยวข้องกับการนำกองทัพเข้าสู่สมรภูมิและเจาะจงข้าศึกให้รบ มีผู้เผด็จการอย่างน้อยหนึ่งคนได้รับกำหนดให้เป็น seditionis sedandae et rei gerundae causa "เพื่อกำราบการกบฏและจัดการปัญหา" ผู้เผด็จการยังได้รับแต่งตั้งให้ทำหน้าที่ปกครองหรือทางศาสนา เช่น จัดการเลือกตั้ง (omitiorum habendorum causa เป็นรูปแบบผู้เผด็จการที่พบบ่อยที่สุดเป็นอันดับสอง) หรือการตอกตะปูเข้าเทวสถานจูปิเตอร์อ็อปติมัสแม็กซิมัสเพื่อยุติโรคติดต่อร้ายแรง (clavi figendi causa) โรมันเลิกตั้งผู้เผด็จการหลังยุคสงครามพิวนิกครั้งที่สอง มีการฟื้นฟูตำแหน่งระหว่างสงครามกลางเมืองโรมันโดยลูเซียส คอร์นีเลียส ซุลลา เฟลิกซ์ จูเลียส ซีซาร์ยังได้รับแต่งตั้งเป็นผู้เผด็จการในหลายโอกาส จักรพรรดิโรมันเลี่ยงการใช้ยศดังกล่าวเพื่อเลี่ยงคำตำหนิที่ตามมาซึ่งเป็นผลของผู้เผด็จการสองคนหลังสุดนี้.

5 ความสัมพันธ์: ลิวีวุฒิสภาโรมันสาธารณรัฐโรมันสงครามพิวนิกครั้งที่สองจูเลียส ซีซาร์

ลิวี

ติตุส ลีวิอุส (Titvs Livivs) หรือที่รู้จักกันทั่วไปว่า ลิวี (Livy; 59 ปีก่อนคริสต์ศักราช - ค.ศ. 17) เป็นนักประวัติศาสตร์ชาวโรมัน ผู้เขียน หนังสือหลังจากการก่อตั้งนคร (Ab Vrbe Condita Libri) ซึ่งเป็นบันทึกประวัติศาสตร์ของโรมและเรื่องราวของชาวโรมัน ครอบคลุมช่วงเวลาตั้งแต่ยุคตำนานเริ่มแรกของโรมก่อนการก่อตั้งจริงเมื่อ 753 ปีก่อนคริสต์ศักราช ไปจนถึงสมัยจักรพรรดิเอากุสตุสอันเป็นยุคของลิวีเอง เขาสนิทสนมกับตระกูลยูลิอุส-เกลาดิอุสและเป็นผู้แนะนำเกลาดิอุส (หลานเอากุสตุสซึ่งจะขึ้นเป็นจักรพรรดิในอนาคต) ให้หัดเขียนประวัติศาสตร์ ลิวีกับลีวิอา (ภริยาของเอากุสตุส) มาจากตระกูลเดียวกัน แม้จะมิได้เป็นญาติร่วมสายเลือดใกล้.

ใหม่!!: ผู้เผด็จการโรมันและลิวี · ดูเพิ่มเติม »

วุฒิสภาโรมัน

“Senatus Populusque Romanus”(วุฒิสภาและประชาชนโรมัน) วุฒิสภาโรมัน (Senatvs Romanvs) เป็นสถาบันทางการเมืองของโรมันโบราณที่ก่อตั้งก่อนที่พระมหากษัตริย์แห่งโรมพระองค์แรกจะขึ้นครองราชย์ (ที่กล่าวกันว่าเป็นเวลา 753 ปีก่อนคริสต์ศักราช) ระบบนี้รอดการล่มสลายของราชอาณาจักรโรมันเมื่อ 509 ปีก่อนคริสต์ศักราช, การล่มสลายของสาธารณรัฐโรมันเมื่อ 27 ปีก่อนคริสต์ศักราช และการล่มสลายของจักรวรรดิโรมันตะวันตกในปี..

ใหม่!!: ผู้เผด็จการโรมันและวุฒิสภาโรมัน · ดูเพิ่มเติม »

สาธารณรัฐโรมัน

รณรัฐโรมัน (Res pvblica Romana) (อังกฤษ: Roman Republic)เป็นยุคสมัยของอารยธรรมโรมันโบราณขณะมีรัฐบาลเป็นสาธารณรัฐ เริ่มต้นจากการโค่นล้มราชาธิปไตยโรมัน ซึ่งมักถือว่าเมื่อราว 509 ปีก่อน..

ใหม่!!: ผู้เผด็จการโรมันและสาธารณรัฐโรมัน · ดูเพิ่มเติม »

สงครามพิวนิกครั้งที่สอง

งครามพิวนิกครั้งที่สอง หรือบ้างเรียกว่า สงครามฮันนิบาล หรือ สงครามต่อต้านฮันนิบาล (สำหรับชาวโรมัน) กินเวลาตั้งแต่ปีที่ 218 ก่อนคริสตกาลจนถึงปีที่ 202 ก่อนคริสตกาล ประกอบด้วยการรบย่อยๆ จำนวนมากทั้งทางฟากตะวันตกและตะวันออกของทะเลเมดิเตอร์เรเนียน สงครามนี้จัดว่าเป็นสงครามใหญ่ครั้งที่ 2 ระหว่างคาร์เทจกับสาธารณรัฐโรมัน โดยมีชาวเบอร์เบอร์เข้าร่วมด้วยในฝั่งของคาร์เทจ รัฐทั้งสองนี้มีสงครามใหญ่กันทั้งสิ้น 3 ครั้งตลอดช่วงเวลาที่ทั้ง 2 รัฐดำรงอยู่ เรียกชื่อว่า "สงครามพิวนิก" เนื่องจากชื่อของอาณาจักรโรมในภาษาคาร์เทจนั้นเรียกว่า "พิวนิชี" ตามภาษาฟีนีเชียนของบรรพบุรุษ สงครามนี้นบว่าเริ่มต้นขึ้นเมื่อฮันนิบาลเดินทางข้ามเทือกเขาแอลป์ไปบุกจู่โจมโรมโดยไม่ทันตั้งตัว ตามด้วยทัพพันธมิตรของชาวกอลที่ร่วมเข้าบดขยี้กองทัพโรมันในยุทธการทรีเบีย และการซุ่มโจมตีครั้งใหญ่ในยุทธการทราซิมีน ฝ่ายโรมันพ่ายแพ้ครั้งใหญ่ในยุทธการคันนาย หลังจากนั้น พันธมิตรของโรมันหลายเมืองยกทัพไปโจมตีคาร์เทจ และทำให้การรบในอิตาลียืดเยื้ออยู่นับทศวรรษ ซึ่งเป็นช่วงเวลาที่กองทัพโรมันถูกทำลายไปเป็นจำนวนมาก อย่างไรก็ดี กองทัพโรมันสามารถเข้ายึดเมืองใหญ่หลายเมืองที่เข้ากับฝ่ายศัตรู และทำลายทัพคาร์เทจที่จะยกไปช่วยฮันนิบาลลงได้ในยุทธการเมเทารัส สกิปิโอ อัฟริกานุส นายพลชาวแอฟริกันซึ่งเป็นแม่ทัพโรมันสามารถเข้ายึดอาณาจักรคาร์เทจใหม่บนแผ่นดินสเปนได้ และเข้าครอบครองไอบีเรียในยุทธการอิลิปา สงครามสิ้นสุดลงในยุทธการซามา เมื่อสกิปิโอ อัฟริกานุส ประจันหน้ากับฮันนิบาลในแอฟริกา และฝ่ายหลังพ่ายแพ้ยับเยิน คาร์เทจยอมจำนนและตกเป็นรัฐอารักขาของโรมัน.

ใหม่!!: ผู้เผด็จการโรมันและสงครามพิวนิกครั้งที่สอง · ดูเพิ่มเติม »

จูเลียส ซีซาร์

กาอิอุส ยูลิอุส ไกซาร์ (Caivs/Gaivs Ivlivs Caesar) หรือ จูเลียส ซีซาร์ (Julius Caesar; กรกฎาคม 100 ปีก่อน ค.ศ. – 15 มีนาคม 44 ปีก่อน ค.ศ.) เป็นรัฐบุรุษ แม่ทัพ และผู้ประพันธ์ร้อยแก้วอันเลื่องชื่อชาวโรมัน เขามีบทบาทสำคัญในเหตุการณ์อันนำไปสู่การสิ้นสุดสาธารณรัฐโรมันและความเจริญของจักรวรรดิโรมัน ใน 60 ปีก่อน..

ใหม่!!: ผู้เผด็จการโรมันและจูเลียส ซีซาร์ · ดูเพิ่มเติม »

ขาออกขาเข้า
Hey! เราอยู่ใน Facebook ตอนนี้! »