โลโก้
ยูเนี่ยนพีเดีย
การสื่อสาร
ดาวน์โหลดได้จาก Google Play
ใหม่! ดาวน์โหลด ยูเนี่ยนพีเดีย บน Android ™ของคุณ!
ดาวน์โหลด
เร็วกว่าเบราว์เซอร์!
 

วาทยกร

ดัชนี วาทยกร

วาทยกร (conductor) หรือผู้อำนวยเพลง คือคนที่ตีความหมายของบทเพลง โดยเห็นภาพรวมทั้งหมดของวงดนตรี มีหน้าที่ดึงความสัมพันธ์ของเครื่องดนตรีแต่ละชิ้นออกมาเพื่อสอดผสานรวมเป็นหนึ่งเดียวกัน อาจกล่าวอีกนัยได้ว่า วาทยกรเป็นผู้ที่สื่อสารกับนักดนตรีด้วยภาษามือ เป็นเหมือนภาษาใบ้ที่ใช้กับดนตรี พร้อมกันนี้วาทยกรต้องมีความเป็นผู้นำที่สามารถให้ความเชื่อมั่นแก่นักดนตรีด้วย เสมือนผู้กำกับ วาทยกรควบคุมวงดนตรีโดยการใช้รหัสหรือสัญญาณมือ มักถือไม้บาตอง (Baton) ที่มือขวาสำหรับให้จังหวะ ส่วนมือซ้ายจะควบคุมในด้านอื่น เช่น ให้นักดนตรีเล่นเสียงดังหรือค่อย หรือเป็นการแสดงออกด้านอารมณ์อื่น ๆ ที่วาทยกรต้องการสื่อสารกับนักดนตรีในวง วาทยากรจะพบในการแสดงดนตรีที่ใช้นักดนตรีจำนวนมาก เช่นในวง ออร์เคสตร้า วงประสานเสียง ส่วนการบรรเลงดนตรีในวงดุริยางค์ของกองทัพ อาจเรียกว่า หัวหน้าวงดุริยางค์ วาทยกรผู้เป็นสมาชิกของวงออร์เคสตร้าจะเป็นคนที่กำหนดทิศทางของวง ซึ่งบางครั้งเรียกว่า ผู้กำกับดนตรี หรือเรียกว่า คาเปลไมสเตอร์ (Kapellmeister) ในภาษาเยอรมันซึ่งหมายความถึง หัวหน้าวาทยากรในวงออร์เคสตร้าเยอรมัน สำหรับวาทยกรของวงประสานเสียง จะเรียก ผู้ควบคุมวงประสานเสียง ส่วนวาทยากรอาวุโสจะเรียกว่า มาเอสโตร (maestro - นาย) ในภาษาอิตาเลียน แต่ความสำคัญของวาทยกรนั้น ไม่ได้อยู่แค่ที่การกำกับวงออกแสดงเท่านั้น กลับอยู่ที่การฝึกซ้อมนักดนตรีให้เล่นคีตนิพนธ์ต่าง ๆ ตามการตีความของวาทยกรแต่ละคน การนำวงดุริยางค์ออกแสดงเป็นแต่เพียงช่วงเวลาสั้น ๆ ของการเล่นและการตีความคีตนิพนธ์นั้น ๆ เพราะการฝึกซ้อมต้องใช้เวลาที่ยาวนานกว่าการออกแสดงแต่ละครั้ง ทั้งนี้วาทยกรยังต้องเป็นผู้ที่สามารถแนะนำหรือแก้ไขเทคนิคต่าง ๆ ให้แก่นักดนตรีได้ วาทยกรที่ดีจึงมักจะเป็นนักดนตรีที่ดีมาก่อนด้วย จึงจะสามารถเข้าใจปัญหาของวงได้เป็นอย่างดี และรู้ความสามารถและขีดจำกัดของเครื่องดนตรีแต่ละชนิด วาทยกรที่ดีเป็นแบบใดนั้น เป็นเรื่องที่ให้คำจำกัดความได้ยาก เพราะวาทยกรบางคนให้จังหวะแก่นักดนตรีได้อย่างแม่นยำ แต่วาทยกรบางคนก็ดูประหนึ่งว่าไม่ค่อยให้จังหวะแก่นักดนตรี หรือที่นักดนตรีเรียกว่า "ให้คิว" แต่กลับสื่อสารกับนักดนตรีได้อย่างสมบูรณ์แบบ ดังนั้น คุณค่าของวาทยกรจึงไม่ได้อยู่ที่ลีลาการกำกับวงเมื่อออกแสดง แต่อยู่ที่การฝึกซ้อมและการสื่อสารกับนักดนตรีให้เข้าใจ วาทยกรใหญ่หลายต่อหลายคนออกท่าทางน้อยมาก เช่น อิกอร์ มาร์เควิช (Igor Markevitch) หรือบางคนอาจดูเหมือนให้จังหวะที่สับสน เช่น วิลเฮ็ล์ม ฟวร์ตแวงเลอร์ (Wilhelm Furtwangler) แต่บทเพลงภายใต้การกำกับวงของเขาเป็นที่ยอมรับกันทั่วไปว่าเต็มเปี่ยมไปด้วยความล้ำลึก คุณค่าของวาทยกรจึงมิได้วัดด้วยสายตา แต่ต้องวัดจากการฟังของผู้ฟัง หมวดหมู่:อาชีพ.

6 ความสัมพันธ์: บาตองกองทัพภาษาอิตาลีภาษาเยอรมันออร์เคสตราคายกคณะ

บาตอง

บาตอง (Baton) เป็นคำทับศัพท์จากภาษาฝรั่งเศส แปลว่า "แท่ง" หรือ "ก้าน" หมายถึงอุปกรณ์รูปทรงกระบอก หรือแบน ทำจากวัสดุหลายรูปแบบ (เช่น ไม้หรือเหล็ก) โดยมากมักหมายถึงอุปกรณ์น้ำหนักเบาสำหรับวาทยกรในการควบคุมวงออร์เคสตร้า วงประสานเสียง หรือ การแสดงร่วม หมวดหมู่:อุปกรณ์ดนตรี.

ใหม่!!: วาทยกรและบาตอง · ดูเพิ่มเติม »

กองทัพ

กองทัพ คือ การป้องกัน องค์การและกำลังรบที่ได้รับการสนับสนุนจากรัฐบาลของประเทศนั้น ๆ กองทัพมีเพื่อส่งเสริมนโยบายต่างประเทศและในประเทศของรัฐบาล และเพื่อพิทักษ์รัฐบาลและชาติอันเป็นตัวแทนจากการรุกรานทั้งภายนอกและภายใน ในการใช้อย่างกว้าง คำว่า "กองทัพ" และ "ทหาร" (military) มักถือเป็นไวพจน์ แม้ในการใช้ในทางเทคนิค อาจมีความแตกต่างกันเมื่อกองทัพของประเทศรวมทั้งทหารและกำลังกึ่งทหารอื่นเข้าไปด้วย หมวดหมู่:การทหาร.

ใหม่!!: วาทยกรและกองทัพ · ดูเพิ่มเติม »

ภาษาอิตาลี

ษาอิตาลี (Italiano หรือ lingua italiana; Italian) เป็นภาษาในกลุ่มภาษาโรมานซ์,โดยส่วนใหญ่ภาษาอิตาลีเป็นภาษาที่ใกล้เคียงกับภาษาละตินมากที่สุดในภาษากลุ่มโรมานซ์ด้วยกัน, ภาษาอิตาลีเป็นภาษาทางการในอิตาลี, สวิตเซอร์แลนด์, ซานมารีโน, นครรัฐวาติกัน และอิสเตรียตะวันตก (ในสโลวีเนียและโครเอเชีย), เคยมีสถานะเป็นภาษาทางการของแอลเบเนีย, มอลตา และ โมนาโก ซึ่งมีการพูดภาษานี้กันอย่างกว้างขวางรวมทั้งอดีตแอฟริกาตะวันออกของอิตาลีและแอฟริกาเหนือของอิตาลี (ปัจจุบันคือประเทศลิเบีย), มีการพูดภาษาอิตาลีในกลุ่มผู้อพยพชาวอิตาเลียนขนาดใหญ่ในอเมริกาและออสเตรเลีย, มีสถานะเป็นภาษาทางการของชนกลุ่มน้อยในบอสเนียและเฮอร์เซโกวีนา, สโลวีเนีย, โครเอเชีย และ โรมาเนีย left.

ใหม่!!: วาทยกรและภาษาอิตาลี · ดูเพิ่มเติม »

ภาษาเยอรมัน

ษาเยอรมัน (German; Deutsch) เป็นภาษากลุ่มเจอร์แมนิกด้านตะวันตก และเป็นภาษาที่มีคนพูดเป็นภาษาแม่มากที่สุดในสหภาพยุโรป ส่วนใหญ่พูดในประเทศเยอรมนี ออสเตรีย ลิกเตนสไตน์ ส่วนมากของสวิตเซอร์แลนด์ ลักเซมเบิร์ก แคว้นปกครองตนเองเตรนตีโน-อัลโตอาดีเจในอิตาลี แคว้นทางตะวันออกของเบลเยียม บางส่วนของโรมาเนีย แคว้นอาลซัสและบางส่วนของแคว้นลอแรนในฝรั่งเศส นอกจากนี้ อาณานิคมเดิมของประเทศเหล่านี้ เช่น นามิเบีย มีประชากรที่พูดภาษาเยอรมันได้พอประมาณ และยังมีชนกลุ่มน้อยที่พูดภาษาเยอรมันในหลายประเทศทางยุโรปตะวันออก เช่น รัสเซีย ฮังการี และสโลวีเนีย รวมถึงอเมริกาเหนือ (โดยเฉพาะสหรัฐอเมริกา) รวมถึงบางประเทศในละตินอเมริกา เช่น อาร์เจนตินา และในบราซิล โดยเฉพาะในรัฐ รีโอกรันดีโดซูล ซันตากาตารีนา ปารานา และเอสปีรีตูซันตู ชาวอามิช รวมถึงชาวเมนโนไนต์บางคนก็เป็นภาษาเยอรมันอย่างหนึ่ง ประมาณ 120 ล้านคน คือ 1/4 ของชาวยุโรปทั้งหมด พูดภาษาเยอรมัน ภาษาเยอรมันเป็นภาษาต่างประเทศที่สอนทั่วโลกมาเป็นอันดับ 3 และเป็นภาษาต่างประเทศที่สอนมากที่สุดเป็นอันดับ 2 ในยุโรป (เป็นรองภาษาอังกฤษ) สหรัฐอเมริกา และเอเชียตะวันออก (ประเทศญี่ปุ่น) เป็นหนึ่งในภาษาราชการของสหภาพยุโรป ผู้รู้ภาษาเยอรมันในกลุ่มประเทศสหภาพยุโรป.

ใหม่!!: วาทยกรและภาษาเยอรมัน · ดูเพิ่มเติม »

ออร์เคสตรา

วง '''เมลเบิร์น ซิมโฟนี ออร์เคสตรา''' ออร์เคสตรา (orchestra) หรือ วงดุริยางค์ ในภาษาไทย เป็นคำศัพท์เกี่ยวกับดนตรี มีประวัติมาช้านาน และมีการเปลี่ยนแปลงรูปแบบไปตามยุคสมัย เพื่อสนองความต้องการของผู้ประพันธ์ในการถ่ายทอดความรู้สึกของดนตรีในแต่ละยุค วงออร์เคสตราเป็นวงดนตรีที่มีวิวัฒนาการเริ่มขึ้นราว..1600 ลักษณะที่สำคัญของวงออร์เคสตราคือ เป็นกลุ่มของนักดนตรี ที่เล่นเครื่องดนตรีหลักทั้ง 4 ประเภท ได้แก่ เครื่องดนตรีประเภทเครื่องสาย เครื่องเป่าลมไม้ เครื่องลมทองเหลือง และเครื่องกระทบ โดยบรรเลงภายใต้การควบคุมของผู้อำนวยเพลง.

ใหม่!!: วาทยกรและออร์เคสตรา · ดูเพิ่มเติม »

คายกคณะ

กคณะ หรือ นักร้องหมู่ (choir หรือ chorus) เป็นพวกขับร้อง พบมากในโบสถ์เพื่อขับเพลงทางศาสนา แต่ต่อมาก็เริ่มมีความนิยมและนำมาใช้กันทั่วไป คายกคณะแบ่งระดับเสียงของคายกที่อยู่ในวงตามเสียงสูง-ต่ำของนักร้องแต่ละคน โดยมีชื่อเรียกต่าง ๆ กันไปในแต่ละระดับเสียง เพลงที่ใช้ร้องมีหลายแนวทำนองสอดประสานกันไป.

ใหม่!!: วาทยกรและคายกคณะ · ดูเพิ่มเติม »

เปลี่ยนเส้นทางที่นี่:

Conductorวาทยากรผู้อำนวยเพลง

ขาออกขาเข้า
Hey! เราอยู่ใน Facebook ตอนนี้! »