โลโก้
ยูเนี่ยนพีเดีย
การสื่อสาร
ดาวน์โหลดได้จาก Google Play
ใหม่! ดาวน์โหลด ยูเนี่ยนพีเดีย บน Android ™ของคุณ!
ติดตั้ง
เร็วกว่าเบราว์เซอร์!
 

Priming

ดัชนี Priming

Priming (หมายความว่า การเตรียมการรับรู้) เป็นปรากฏการณ์เกี่ยวกับความจำโดยปริยายที่การเปิดรับเอาสิ่งเร้าอย่างหนึ่งมีผลต่อการตอบสนองต่อสิ่งเร้าอีกอย่างหนึ่ง ผลการทดลองที่มีอิทธิพลของเดวิด ไมเออร์ และรอเจอร์ ชวาเนเวลด์ท ในต้นคริสต์ทศวรรษ 1970 มีผลให้เกิดงานวิจัยต่าง ๆ มากมายเกี่ยวกับ priming ผลงานดั้งเดิมของพวกเขาแสดงว่า เราตัดสินใจได้เร็วกว่าว่า อักษรติด ๆ กันนั้นเป็นคำ ๆ หนึ่ง ถ้าคำนั้นตามหลังคำที่เกี่ยวข้องกันโดยความหมายหรือโดยความสัมพันธ์ ยกตัวอย่างเช่น เราสามารถกำหนดคำว่า "นางพยาบาล" ถ้าตามคำว่า "นายแพทย์" ได้เร็วกว่าถ้าตามคำว่า "ขนมปัง" งานการทดลองหลายงาน สนับสนุนทฤษฎีว่า การเกิดการทำงานทางประสาทที่กระจายไปเกี่ยวกับคำที่มีความเกี่ยวข้องกัน เป็นคำอธิบายที่ดีที่สุดสำหรับความง่ายขึ้นที่เห็นในแบบการทดลองที่ให้กำหนดว่าเป็นศัพท์หรือไม่เป็นศัพท์ (lexical decision task).

4 ความสัมพันธ์: วากยสัมพันธ์ความจำโดยปริยายตัวกระตุ้นประสาทสัมผัส

วากยสัมพันธ์

ในทางภาษาศาสตร์ วากยสัมพันธ์ (อังกฤษ: syntax) หมายถึง การศึกษาว่าด้วยกฎของความสัมพันธ์ของแบบแผนองค์ประกอบของประโยคในภาษา อันเป็นส่วนหนึ่งของหลักไวยกรณ์ของภาษา ในภาษาไทย "วากยสัมพันธ์" เป็นส่วนหนึ่งของหลักไวยกรณ์ไทยที่กำหนดขึ้นเป็นหนึ่งในแบบแผนหรือไวยกรณ์ของภาษาไทย ซึ่งประกอบด้วย 4 แบบแผนหลัก ได้แก่ อักขรวิธี ซึ่งศึกษาว่าด้วยอักษร, วจีวิภาค ศึกษาว่าด้วยคำ, วากยสัมพันธ์ ศึกษาว่าด้วยความสัมพันธ์ของคำในประโยค, และ ฉันทลักษณ์ คือ กฎเกณฑ์ของการเขียนภาษาในรูปแบบต่างๆ วากยสัมพันธ์ ยังเป็นชื่อตำราไวยากรณ์ไทยว่าด้วยประโยค และความเกี่ยวข้องของส่วนต่างๆ ในประโยค การศึกษากฎหรือความสัมพันธ์ของภาษาอย่างเป็นแบบแผน ที่ควบคุมการเรียงคำเป็นวลี และวลีเป็นปร.

ใหม่!!: Primingและวากยสัมพันธ์ · ดูเพิ่มเติม »

ความจำโดยปริยาย

ประเภทและกิจหน้าที่ของความจำในวิทยาศาสตร์สาขาต่าง ๆ ความจำโดยปริยาย"ศัพท์บัญญัติอังกฤษ-ไทย, ไทย-อังกฤษ ฉบับราชบัณฑิตยสถาน (คอมพิวเตอร์) รุ่น ๑.๑" (Implicit memory) เป็นความจำประเภทหนึ่งที่ประสบการณ์ในอดีตช่วยเพิ่มประสิทธิภาพการทำงานอย่างใดอย่างหนึ่งโดยที่ไม่ต้องมีการระลึกรู้ใต้อำนาจจิตใจถึงประสบการณ์ในอดีตนั้นSchacter, D. L. (1987).

ใหม่!!: Primingและความจำโดยปริยาย · ดูเพิ่มเติม »

ตัวกระตุ้น

ในสรีรวิทยา ตัวกระตุ้น"ศัพท์บัญญัติอังกฤษ-ไทย, ไทย-อังกฤษ ฉบับราชบัณฑิตยสถาน (คอมพิวเตอร์) รุ่น ๑.๑", ให้ความหมายของ stimulus ว่า "ตัวกระตุ้น" หรือ "สิ่งเร้า" หรือ ตัวเร้า หรือ สิ่งเร้า หรือ สิ่งกระตุ้น (stimulus, พหูพจน์ stimuli) เป็นความเปลี่ยนแปลงของสิ่งแวดล้อมที่ตรวจจับได้โดยสิ่งมีชีวิตหรืออวัยวะรับรู้ความรู้สึก โดยปกติ เมื่อตัวกระตุ้นปรากฏกับตัวรับความรู้สึก (sensory receptor) ก็จะก่อให้เกิด หรือมีอิทธิพลต่อปฏิกิริยารีเฟล็กซ์ของเซลล์ ผ่านกระบวนการถ่ายโอนความรู้สึก (transduction) ตัวรับความรู้สึกเหล่านี้สามารถรับข้อมูลทั้งจากภายนอกร่างกาย เช่นตัวรับสัมผัส (touch receptor) ในผิวหนัง หรือตัวรับแสงในตา และทั้งจากภายในร่างกาย เช่น ตัวรับสารเคมี (chemoreceptors) และตัวรับแรงกล (mechanoreceptors) ตัวกระตุ้นภายในมักจะเป็นองค์ประกอบของระบบการธำรงดุล (homeostaticภาวะธำรงดุล (Homeostasis) เป็นคุณสมบัติของระบบหนึ่ง ๆ ที่ควบคุมสิ่งแวดล้อมภายในของระบบ และมักจะดำรงสภาวะที่สม่ำเสมอและค่อนข้างจะคงที่ขององค์ประกอบต่าง ๆ เช่นอุณหภูมิและค่าความเป็นกรด control system) ของร่างกาย ส่วนตัวกระตุ้นภายนอกสามารถก่อให้เกิดการตอบสนองแบบทั่วระบบของร่างกาย เช่นการตอบสนองโดยสู้หรือหนี (fight-or-flight response) การจะตรวจพบตัวกระตุ้นได้นั้นขึ้นอยู่กับระดับของตัวกระตุ้น คือต้องเกินระดับกระตุ้นขีดเริ่มเปลี่ยน (absolute thresholdในประสาทวิทยาและจิตฟิสิกส์ ระดับขีดเริ่มเปลี่ยนสัมบูรณ์ (absolute threshold) เป็นระดับที่ต่ำสุดของตัวกระตุ้นที่จะตรวจพบได้ แต่ว่า ในระดับนี้ สัตว์ทดลองบางครั้งก็ตรวจพบตัวกระตุ้น บางครั้งก็ไม่พบ ดังนั้น การจำกัดความอีกอย่างหนึ่งก็คือ ระดับของตัวกระตุ้นที่ต่ำที่สุดที่สามารถตรวจพบได้ 50% ในโอกาสทั้งหมดที่ตรวจ) ถ้าสัญญาณนั้นถึงระดับกระตุ้นขีดเริ่มเปลี่ยน ก็จะมีการส่งสัญญาณนั้นไปยังระบบประสาทกลาง ซึ่งเป็นระบบที่รวบรวมสัญญาณต่าง ๆ และตัดสินใจว่าจะตอบสนองต่อตัวกระตุ้นอย่างไร แม้ว่าร่างกายโดยสามัญจะตอบสนองต่อตัวกระตุ้น แต่จริง ๆ แล้ว ระบบประสาทกลางเป็นผู้ตัดสินใจในที่สุดว่า จะตอบสนองต่อตัวกระตุ้นนั้นหรือไม.

ใหม่!!: Primingและตัวกระตุ้น · ดูเพิ่มเติม »

ประสาทสัมผัส

ประสาทสัมผัส (Sense)"ศัพท์บัญญัติอังกฤษ-ไทย, ไทย-อังกฤษ ฉบับราชบัณฑิตยสถาน (คอมพิวเตอร์) รุ่น ๑.๑" ให้ความหมายของ sense ว่า ความรู้สึก, การรับรู้, การกำหนดรู้, ประสาทสัมผัส เป็นสมรรถภาพในสรีระของสิ่งมีชีวิตที่ให้ข้อมูลเพื่อให้เกิดการรับรู้ (perception) มีการศึกษาประเด็นเกี่ยวกับการทำงาน การจำแนกประเภท และทฤษฎีของประสาทสัมผัส ในวิชาหลายสาขา โดยเฉพาะในวิทยาศาสตร์ประสาท จิตวิทยาปริชาน (หรือประชานศาสตร์) และปรัชญาแห่งการรับรู้ (philosophy of perception) ระบบประสาทของสัตว์นั้นมีระบบรับความรู้สึกหรืออวัยวะรับความรู้สึก สำหรับความรู้สึกแต่ละอย่าง มนุษย์เองก็มีประสาทสัมผัสหลายอย่าง การเห็น การได้ยิน การลิ้มรส การได้กลิ่น การถูกต้องสัมผัส เป็นประสาทสัมผัสห้าทางที่รู้จักกันมาตั้งแต่โบราณ แต่ว่า ความสามารถในการตรวจจับตัวกระตุ้นอื่น ๆ นอกเหนือจากนั้นก็ยังมีอยู่ รวมทั้ง อุณหภูมิ ความรู้สึกเกี่ยวกับเคลื่อนไหว (proprioception) ความเจ็บปวด (nociception) ความรู้สึกเกี่ยวกับการทรงตัว และความรู้สึกเกี่ยวกับตัวกระตุ้นภายในต่าง ๆ (เช่นมีเซลล์รับความรู้สึกเชิงเคมี คือ chemoreceptor ที่ตรวจจับระดับความเข้มข้นของเกลือและคาร์บอนไดออกไซด์ ที่อยู่ในเลือด) และความสามารถต่าง ๆ เหล่านี้สามารถเรียกว่าเป็นประสาทสัมผัสโดยต่างหากได้เพียงไม่กี่อย่าง เพราะว่า ประเด็นว่า อะไรเรียกว่า ประสาทสัมผัส (sense) ยังเป็นที่ถกเถียงกันอยู่ ทำให้ยากที่จะนิยามความหมายของคำว่า ประสาทสัมผัส อย่างแม่นยำ สัตว์ต่าง ๆ มีตัวรับความรู้สึกเพื่อที่จะสัมผัสโลกรอบ ๆ ตัว มีระดับความสามารถที่ต่าง ๆ กันไปแล้วแต่สปีชีส์ เมื่อเทียบกันแล้ว มนุษย์มีประสาทสัมผัสทางจมูกที่ไม่ดี และสัตว์เหล่าอื่นก็อาจจะไม่มีประสาทสัมผัส 5 ทางที่กล่าวถึงไปแล้วอย่างใดอย่างหนึ่ง สัตว์บางอย่างอาจจะรับข้อมูลเกี่ยวกับตัวกระตุ้นและแปลผลข้อมูลเหล่านั้นต่างไปจากมนุษย์ และสัตว์บางชนิดก็สามารถสัมผัสโลกโดยวิธีที่มนุษย์ไม่สามารถ เช่นมีสัตว์บางชนิดสามารถสัมผัสสนามไฟฟ้าและสนามแม่เหล็ก สามารถสัมผัสแรงดันน้ำและกระแสน้ำ.

ใหม่!!: Primingและประสาทสัมผัส · ดูเพิ่มเติม »

เปลี่ยนเส้นทางที่นี่:

กระบวนการเตรียมการรับรู้การเตรียมการรับรู้ผลของการเตรียมการรับรู้ปรากฏการณ์เตรียมการรับรู้

ขาออกขาเข้า
Hey! เราอยู่ใน Facebook ตอนนี้! »