โลโก้
ยูเนี่ยนพีเดีย
การสื่อสาร
ดาวน์โหลดได้จาก Google Play
ใหม่! ดาวน์โหลด ยูเนี่ยนพีเดีย บน Android ™ของคุณ!
ฟรี
เร็วกว่าเบราว์เซอร์!
 

ผดุง ไกรศรี

ดัชนี ผดุง ไกรศรี

ผดุง ไกรศรี หรือ เอ๊าะ เป็นนักเขียนการ์ตูนในสังกัดสำนักพิมพ์บรรลือสาส์น เจ้าของผลงานการ์ตูนชุด หนูหิ่น อินเตอร์ ซึ่งได้รับความนิยมอย่างสูงจนได้รับการสร้างเป็นภาพยนตร์ในปี พ.ศ. 2549.

17 ความสัมพันธ์: พ.ศ. 2535พ.ศ. 2538พ.ศ. 2549ภักดี แสนทวีสุขมหาสนุกวิทยาลัยเพาะช่าง มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลรัตนโกสินทร์สำนักพิมพ์บรรลือสาส์นหนูหิ่น อินเตอร์อำเภอศรีเมืองใหม่จังหวัดอุบลราชธานีขายหัวเราะซน แสบ ใส แต่ใจเดียวกันประเทศไทยนักเขียนการ์ตูนนิพนธ์ เสงี่ยมศักดิ์แอโฟรเหรียญดุษฎีมาลา

พ.ศ. 2535

ทธศักราช 2535 ตรงกับปีคริสต์ศักราช 1992 เป็นปีอธิกสุรทินที่วันแรกเป็นวันพุธตามปฏิทินเกรกอเรียน.

ใหม่!!: ผดุง ไกรศรีและพ.ศ. 2535 · ดูเพิ่มเติม »

พ.ศ. 2538

ทธศักราช 2538 ตรงกับปีคริสต์ศักราช 1995 เป็นปีปกติสุรทินที่วันแรกเป็นวันอาทิตย์ตามปฏิทินเกรกอเรียน.

ใหม่!!: ผดุง ไกรศรีและพ.ศ. 2538 · ดูเพิ่มเติม »

พ.ศ. 2549

ทธศักราช 2549 ตรงกับปีคริสต์ศักราช 2006 เป็นปีปกติสุรทินที่วันแรกเป็นวันอาทิตย์ตามปฏิทินเกรกอเรียน และเป็น.

ใหม่!!: ผดุง ไกรศรีและพ.ศ. 2549 · ดูเพิ่มเติม »

ภักดี แสนทวีสุข

ักดี แสนทวีสุข หรือ '''ต่าย ขายหัวเราะ''' ตัวละครของภักดี แสนทวีสุข (วาดโดยตนเอง) ภักดี แสนทวีสุข หรือ ต่าย ขายหัวเราะ นักเขียนการ์ตูนไทยสังกัดสำนักพิมพ์บรรลือสาส์น ผู้เป็นส่วนหนึ่งในการบุกเบิกหนังสือการ์ตูนขายหัวเราะและมหาสนุก และเป็นเจ้าของผลงานชุด "ปังปอนด์" ในปัจจุบันออกแบบประเทศไท.

ใหม่!!: ผดุง ไกรศรีและภักดี แสนทวีสุข · ดูเพิ่มเติม »

มหาสนุก

ปกนิตยสารมหาสนุก ฉบับที่ 929 ประจำวันที่ 14-21 มกราคม พ.ศ. 2552 ภาพปกโดย สุพล เมนาคม (ต้อม) มหาสนุก เป็นนิตยสารการ์ตูนรายสัปดาห์ซึ่งได้รับความนิยมอย่างสูงเล่มหนึ่งในประเทศไทย จัดพิมพ์และจัดจำหน่ายโดยสำนักพิมพ์บรรลือสาส์น เริ่มตีพิมพ์ฉบับแรกในปี พ.ศ. 2518 หลังจากที่ก่อนหน้านั้นบรรลือสาส์นได้ออกนิตยสารขายหัวเราะในปี พ.ศ. 2516 และได้ประสบความสำเร็จอย่างสูง โดยมีวิธิต อุตสาหจิต เป็นบรรณาธิการ รูปแบบและเนื้อหาของนิตยสารมหาสนุกนั้นคล้ายคลึงกับนิตยสารขายหัวเราะ กล่าวคือ เน้นการตีพิมพ์การ์ตูนแก๊กเป็นหลัก (โดยทีมงานนักเขียนการ์ตูนในนิตยสารเล่มนี้ใช้ทีมเดียวกับที่เขียนในขายหัวเราะ) เนื้อหาอาจเป็นได้ทั้งเรื่องราวในชีวิตประจำวัน เศรษฐกิจ การเมือง หรือกระแสความนิยมต่างๆ ในสังคมไทยและต่างประเทศ มีการตีพิมพ์ขำขัน ภาพตลกจากต่างประเทศ สาระน่ารู้ต่างๆ แต่ส่วนที่ต่างไปจากขายหัวเราะคือ การตีพิมพ์เรื่องสั้นในมหาสนุกนั้นจะตีพิมพ์เพียงเรื่องเดียวต่อฉบับ และมีการ์ตูนเรื่องสั้นหรือนิยายภาพชุดต่างๆ จากฝีมือของนักเขียนการ์ตูนบรรลือสาส์นลงพิมพ์ฉบับละ 2 เรื่อง ในท้ายเล่มยังมีเกมชิงรางวัลรูปแบบต่างๆ และการตอบจดหมายของผู้อ่านโดยนักเขียนการ์ตูน (ปัจจุบันได้มีการเลิกตีพิมพ์หน้าตอบจดหมายแล้ว) จากนั้นได้เพิ่มอีก 3 เกม อย่างเช่น "คิดดีๆ มีรางวัล" "ตาไวๆ ได้รางวัล" และ "ปริศนาอักษรไขว์" เฉพาะการ์ตูนเรื่องสั้นซึ่งตีพิมพ์ในนิตยสารมหาสนุกนั้น การ์ตูนชุดใดที่ได้รับความนิยมจากผู้อ่านมากก็จะได้รับการตีพิมพ์เป็นนิตยสารรวมเล่มในชื่อชุด "มหกรรมมินิซีรีส์" เริ่มพิมพ์เมื่อ พ.ศ. 2535 ซึ่งการ์ตูนบางชุดก็ยังคงได้รับความนิยมจากผู้อ่านมาอย่างต่อเนื่องและมีการตีพิมพ์ต่อเนื่องมาจนถึงปัจจุบัน เช่น การ์ตูนชุด "ไอ้ตัวเล็ก" ของภักดี แสนทวีสุข การ์ตูนชุด "บ้าครบสูตร" และ "สาวดอกไม้กะนายกล้วยไข่" ของอารีเฟน ฮะซานี เป็นต้น แม้ว่าผู้เขียนจะไม่ได้นำการ์ตูนเรื่องสั้นชุดของตนเองลงพิมพ์ในนิตยสารมหาสนุกแล้วก็ตาม ส่วนขนาดรูปเล่มของมหาสนุก ในสมัยเริ่มแรกมีรูปเล่มขนาดใหญ่เท่ากระดาษ A4 เช่นเดียวกับขายหัวเราะ ต่อมาในเดือนมกราคม ปี พ.ศ. 2532 จึงได้เริ่มปรับขนาดหนังสือให้เล็กลง โดยใช้ชื่อหนังสือเล่มเล็กว่า "มหาสนุกฉบับกระเป๋า" มีขนาดเท่ากระดาษ B5 ซึ่งเป็นขนาดของหนังสือมหาสนุกในปัจจุบัน ส่วนมหาสนุกเล่มใหญ่ยังคงทยอยออกมาอีกระยะหนึ่งจึงเลิกจัดพิมพ์ กำหนดการออกนิตยสารนั้นเดิมกำหนดออกเป็นรายปักษ์ (ราย 15 วัน) ภายหลังจึงปรับให้ออกเป็นรายสิบวัน และรายสัปดาห์ตามลำดับพร้อมกับขายหัวเราะ โดยขายหัวเราะมีกำหนดออกในวันอังคาร ส่วนมหาสนุกออกจำหน่ายในวันศุกร์ ต่อมาจึงปรับกำหนดออกอีกครั้งให้เป็นวันพุธทั้งสองฉบับ และปรับราคาจำหน่ายของมหาสนุกในปี (พ.ศ. 2552) อยู่ที่เล่มละ 15 บาท ปัจจุบัน (พ.ศ. 2560) มหาสนุก ได้ปรับการวางแผงเป็นรายเดือน และปรับราคาอยู่ที่ เล่มละ 20 บาท.

ใหม่!!: ผดุง ไกรศรีและมหาสนุก · ดูเพิ่มเติม »

วิทยาลัยเพาะช่าง มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลรัตนโกสินทร์

วิทยาลัยเพาะช่าง มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลรัตนโกสินทร์ (Poh-Chang Academy of Arts, Rajamangala University of Technology Rattanakosin) เดิมคือ โรงเรียนเพาะช่าง ตั้งอยู่ที่ถนนตรีเพชร แขวงวังบูรพาภิรมย์ เขตพระนคร กรุงเทพมหานคร มีสีแดง–สีดำ เป็นสัญลักษณ์ของสถาบัน เพาะช่างเป็นสถาบันศิลปะการช่าง ก่อตั้งขึ้นในรัชสมัยพระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัว โดยถือเอาวันที่ 7 มกราคม..

ใหม่!!: ผดุง ไกรศรีและวิทยาลัยเพาะช่าง มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลรัตนโกสินทร์ · ดูเพิ่มเติม »

สำนักพิมพ์บรรลือสาส์น

หัวเราะ หนึ่งในนิตยสารการ์ตูนที่มีชื่อเสียงของบรรลือสาส์น วิธิต อุตสาหจิต สำนักพิมพ์บรรลือสาส์น เป็นสำนักพิมพ์ที่มีบทบาทในด้านการ์ตูนไทย จากการจัดพิมพ์นิยายชุดและหนังสือการ์ตูนยอดนิยมหลายชุดทั้งในอดีตและปัจจุบัน เช่น หัสนิยายชุด พล นิกร กิมหงวน ขายหัวเราะ มหาสนุก ปังปอนด์ หนูหิ่นอินเตอร์ เป็นต้น และเป็นผู้บุกเบิกการทำภาพยนตร์แอนิเมชั่น 3 มิติ เป็นรายแรกของประเทศไท.

ใหม่!!: ผดุง ไกรศรีและสำนักพิมพ์บรรลือสาส์น · ดูเพิ่มเติม »

หนูหิ่น อินเตอร์

หนูหิ่น...อินเตอร์ เป็นผลงานชุดการ์ตูนเรื่องสั้นของ ผดุง ไกรศรี หรือ "เอ๊าะ" ตีพิมพ์ตอนแรกลงในหนังสือการ์ตูน มหาสนุก ฉบับที่ 156 (ฉบับกระเป๋าในช่วงต้นปี พ.ศ. 2538) ต่อมาได้มีการตีพิมพ์รวมเล่มเมื่อ พ.ศ. 2539 โดยออกเป็นนิตยสารรายสะดวกในช่วงแรกและออกรายเดือนตั้งแต่ฉบับที่ 21 เป็นต้นมา ต่อมาได้นำกลับมารวมเล่มในชื่อ หนูหิ่นสเปเชียล วางแผงเป็นรายสะดวก ปัจจุบันมีออกมาทั้งสิ้น 4 เล่ม ภายหลังทางสำนักพิมพ์ได้รวมเล่มออกมาอีกครั้งในชื่อ หนูหิ่น in the city ประกอบไปด้วยหนูหิ่น 4 ตอนที่เคยลงในหนูหิ่น...อินเตอร์นำมาพิมพ์ 4 สีทั้งเล่ม นอกจากนี้ยังได้มีการรวมเล่มการ์ตูน หนูหิ่นอินโนนหินแห่ ซึ่งเป็นเรื่องราวของหนูหิ่นในวัยเด็กอีกด้วย การ์ตูนชุดหนูหิ่นที่กล่าวไปได้รับความนิยม โดยเฉพาะชาวกรุงเทพและชาวอีสานที่ตั้งถิ่นฐานตามที่ต่างๆ ทั่วประเทศ จนมีการนำไปสร้างเป็นภาพยนตร์ หนูหิ่น เดอะ มูฟวี่ ใน พ.ศ. 2549 ปัจจุบันหนูหิ่น...อินเตอร์ ได้วางจำหน่ายฉบับเป็นเดือนเว้นเดือน.

ใหม่!!: ผดุง ไกรศรีและหนูหิ่น อินเตอร์ · ดูเพิ่มเติม »

อำเภอศรีเมืองใหม่

รีเมืองใหม่ เป็นอำเภอหนึ่งของจังหวัดอุบลราชธานี โดยมีชื่อเดิมว่า อำเภอโขงเจียม.

ใหม่!!: ผดุง ไกรศรีและอำเภอศรีเมืองใหม่ · ดูเพิ่มเติม »

จังหวัดอุบลราชธานี

อุบลราชธานี เป็นจังหวัดขนาดใหญ่ในภาคตะวันออกเฉียงเหนือตอนล่างซึ่งตั้งอยู่ทางตะวันออกสุดของภาคตะวันออกเฉียงเหนือและของประเทศไทย ทั้งยังเป็นตำบลที่ตั้งของเส้นเวลาหลักของประเทศ ที่เส้นแวง 105 องศาตะวันออก โดยเป็นจังหวัดแรกที่ได้เห็นดวงอาทิตย์ก่อนพื้นที่อื่น ๆ ทั่วประเทศ จังหวัดอุบลราชธานีเป็นเมืองใหญ่ริมฝั่งแม่น้ำมูลที่มีประวัติศาสตร์ที่ยาวนานมากว่า 200 ปี มีพื้นที่กว้างใหญ่ ภายหลังถูกแบ่งออกเป็นจังหวัดใหม่คือจังหวัดยโสธรในปี พ.ศ. 2515 และจังหวัดอำนาจเจริญในปี พ.ศ. 2536 ซึ่งถ้ารวมพื้นที่อีกสองจังหวัดที่แยกออกไป จังหวัดอุบลราชธานีจะมีพื้นที่เป็นอันดับ 1 ของประเทศไท.

ใหม่!!: ผดุง ไกรศรีและจังหวัดอุบลราชธานี · ดูเพิ่มเติม »

ขายหัวเราะ

ปกหนังสือขายหัวเราะ สมัยราคา 12 บาท ผลงานของวัฒนา เพ็ชรสุวรรณ ขายหัวเราะ เป็นชื่อของนิตยสารการ์ตูนไทยรายสัปดาห์ จัดพิมพ์โดยสำนักพิมพ์บรรลือสาส์น ภายใต้การบริหารงานของ วิธิต อุตสาหจิต และเป็นหนังสือการ์ตูนที่ได้รับความนิยมมากที่สุดเล่มหนึ่งในประเทศไทย ควบคู่ไปกับนิตยสารมหาสนุก ซึ่งจัดพิมพ์โดยบรรลือสาส์นเช่นกัน เริ่มตีพิมพ์ฉบับแรกเมื่อ พ.ศ. 2516 ในเวลาต่อมา ทางบันลือกรุ๊ป ได้ใช้งบ 10 ล้านบาทสำหรับการจัดทำขายหัวเราะในรูปแบบอีแม็กกาซีน โดยเวอร์ชันทดลองแรกเริ่ม มียอดดาวน์โหลดกว่า 2 หมื่นครั้ง ภายในช่วงระยะเวลา 4 วัน นอกจากนี้ ขายหัวเราะยังจัดเป็นนิตยสารการ์ตูนไทยที่สามารถทำยอดขายได้กว่าล้านเล่มของแต่ละเดือนสามทหาร.

ใหม่!!: ผดุง ไกรศรีและขายหัวเราะ · ดูเพิ่มเติม »

ซน แสบ ใส แต่ใจเดียวกัน

ซน แสบ ใส แต่ใจเดียวกัน เป็นการ์ตูนไทยผลงานของ ผดุง ไกรศรี หรือ "เอ๊าะ" เริ่มจากเขียนครั้งแรกลงในนิตยสารหนูจ๋า ปีที่ 19 ฉบับที่ 1 เดือนมกราคม พ.ศ. 2535 จากนั้นได้ตีพิมพ์ลงในหนังสือมหาสนุกประจำวันพุธที่ 4 - 10 มกราคม พ.ศ. 2543 ต่อมาย้ายตีพิมพ์ลงในหนังสือ "หนูหิ่น อินเตอร์" ฉบับเดือนมีนาคม พ.ศ. 2545 การ์ตูนชุดซนแสบใสได้เป็นฉบับรวมเล่มครั้งแรกเดือนกุมภาพัน..

ใหม่!!: ผดุง ไกรศรีและซน แสบ ใส แต่ใจเดียวกัน · ดูเพิ่มเติม »

ประเทศไทย

ประเทศไทย มีชื่ออย่างเป็นทางราชการว่า ราชอาณาจักรไทย เป็นรัฐชาติอันตั้งอยู่ในภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ เดิมมีชื่อว่า "สยาม" รัฐบาลประกาศเปลี่ยนชื่อเป็นประเทศไทยอย่างเป็นทางการตั้งแต่ปี 2482 ประเทศไทยมีขนาดใหญ่เป็นอันดับที่ 50 ของโลก มีเนื้อที่ 513,115 ตารางกิโลเมตร และมีประชากรมากเป็นอันดับที่ 20 ของโลก คือ ประมาณ 66 ล้านคน กรุงเทพมหานครเป็นศูนย์กลางการบริหารราชการแผ่นดินและนครใหญ่สุดของประเทศ และการปกครองส่วนภูมิภาค จัดระเบียบเป็น 76 จังหวัด แม้จะมีการสถาปนาระบอบราชาธิปไตยภายใต้รัฐธรรมนูญและประชาธิปไตยระบบรัฐสภาในปี 2475 แต่กองทัพยังมีบทบาทในการเมืองไทยสูง ล่าสุด เกิดรัฐประหารเมื่อวันที่ 22 พฤษภาคม 2557 และมีการปกครองแบบเผด็จการทหารนับแต่นั้น พบหลักฐานการอยู่อาศัยอย่างต่อเนื่องในอาณาเขตประเทศไทยปัจจุบันตั้งแต่ 20,000 ปีก่อนคริสตกาล ชาวไทเริ่มอพยพเข้าสู่บริเวณนี้ในคริสต์ศตวรรษที่ 11 แล้วเข้ามาตั้งแว่นแคว้นต่าง ๆ ที่สำคัญได้แก่ อาณาจักรสุโขทัย อาณาจักรล้านนาและอาณาจักรอยุธยา นักประวัติศาสตร์มักถือว่าอาณาจักรสุโขทัยเป็นจุดเริ่มต้นของประวัติศาสตร์ไทย ต่อมาอาณาจักรอยุธยาค่อย ๆ เรืองอำนาจมากขึ้นจนเป็นมหาอำนาจในภูมิภาคในปลายคริสต์ศตวรรษที่ 14 การติดต่อกับชาติตะวันตกเริ่มด้วยผู้แทนทางทูตชาวโปรตุเกสในปี 2054 อาณาจักรรุ่งเรืองอย่างมากในรัชกาลสมเด็จพระนารายณ์มหาราช (ครองราชย์ปี 2199–2231) แต่หลังจากนั้นค่อย ๆ เสื่อมอำนาจโดยมีสาเหตุส่วนหนึ่งจากการผลัดแผ่นดินที่มีการนองเลือดหลายรัชกาล จนสุดท้ายกรุงศรีอยุธยาถูกทำลายสิ้นเชิงในปี 2310 สมเด็จพระเจ้ากรุงธนบุรีทรงรวบรวมแผ่นดินที่แตกออกเป็นก๊กต่าง ๆ และสถาปนาอาณาจักรธนบุรีที่มีอายุ 15 ปี ความวุ่นวายในช่วงปลายอาณาจักรนำไปสู่การสำเร็จโทษพระองค์โดยพระบาทสมเด็จพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลกมหาราช ปฐมราชวงศ์จักรีแห่งกรุงรัตนโกสินทร์ ช่วงต้นกรุงรัตนโกสินทร์ ประเทศเผชิญภัยคุกคามจากชาติใกล้เคียง แต่หลังรัชกาลพระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวเป็นต้นมา ชาติตะวันตกเริ่มมีอิทธิพลในภูมิภาคเป็นอย่างมาก นำไปสู่การเข้าเป็นภาคีแห่งสนธิสัญญาไม่เป็นธรรมหลายฉบับ กระนั้น สยามไม่ตกเป็นอาณานิคมของตะวันตกชาติใด มีการปรับให้สยามทันสมัยและรวมอำนาจปกครองในรัชกาลพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว (ครองราชย์ปี 2411–53) สยามเข้าร่วมกับฝ่ายสัมพันธมิตรในสงครามโลกครั้งที่หนึ่งในปี 2460; ในปี 2475 เกิดการปฏิวัติเปลี่ยนแปลงการปกครองสู่ระบอบราชาธิปไตยภายใต้รัฐธรรมนูญโดยไม่เสียเลือดเนื้อ คณะราษฎรมีบทบาทนำทางการเมือง และในพุทธทศวรรษ 2480 นายกรัฐมนตรี จอมพล แปลก พิบูลสงคราม ดำเนินนโยบายชาตินิยมเข้มข้น ระหว่างสงครามโลกครั้งที่สอง ไทยเข้ากับฝ่ายอักษะ แต่ฝ่ายสัมพันธมิตรส่วนใหญ่ไม่ยอมรับการประกาศสงคราม ในช่วงสงครามเย็น ประเทศไทยเป็นพันธมิตรกับสหรัฐซึ่งสนับสนุนรัฐบาลทหารมาก รัฐประหารที่มีจอมพล สฤษดิ์ ธนะรัชต์เป็นหัวหน้าคณะในปี 2500 ทำให้คณะราษฎรหมดอำนาจ รัฐบาลฟื้นฟูพระราชอำนาจและมีมาตรการต่อต้านคอมมิวนิสต์ในภูมิภาค ผลของเหตุการณ์ 14 ตุลา 2516 ทำให้เกิดประชาธิปไตยระบบรัฐสภาช่วงสั้น ๆ ประเทศไทยมีนายกรัฐมนตรีจากการเลือกตั้งครั้งแรกในปี 2531 หลังพุทธทศวรรษ 2540 มีวิกฤตการเมืองระหว่างฝ่ายที่สนับสนุนและต่อต้านอดีตนายกรัฐมนตรีทักษิณ ชินวัตรมาจนปัจจุบัน รวมทั้งเกิดรัฐประหารสองครั้ง โดยครั้งล่าสุดเกิดในปี 2557 รัฐธรรมนูญฉบับปัจจุบันเป็นฉบับที่ 20 ประกาศใช้เมื่อวันที่ 6 เมษายน 2560 หลังมีการลงประชามติรับร่างเมื่อหนึ่งปีก่อน ประเทศไทยเป็นสมาชิกสหประชาชาติ เอเปก อีกทั้งเป็นร่วมผู้ก่อตั้งอาเซียน ประเทศไทยเป็นพันธมิตรของสหรัฐตั้งแต่สนธิสัญญาซีโต้ในปี 2497 ถือเป็นประเทศอำนาจนำภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้และประเทศอำนาจปานกลางในเวทีโลก ประเทศไทยเป็นประเทศที่มีรายได้ปานกลาง-สูงและประเทศอุตสาหกรรมใหม่ มีรายได้หลักจากภาคอุตสาหกรรมและบริการ การเปลี่ยนแปลงทางเศรษฐกิจทำให้มีการอพยพเข้าสู่เมืองในคริสต์ศตวรรษที่ 20 ตามประมาณการในปี 2560 จีดีพีของประเทศไทยมีมูลค่าราว 432,898 ล้านดอลลาร์สหรัฐ นับว่าเศรษฐกิจไทยเป็นเศรษฐกิจใหญ่สุดเป็นอันดับ 2 ในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้และใหญ่เป็นอันดับที่ 26 ของโลก.

ใหม่!!: ผดุง ไกรศรีและประเทศไทย · ดูเพิ่มเติม »

นักเขียนการ์ตูน

นักวาดการ์ตูน (Cartoonist) คือบุคคลผู้มีความเชี่ยวชาญเป็นพิเศษในการเขียนการตูน ตามธรรมเนียมแล้วงานเขียนของนักเขียนการ์ตูนส่วนใหญ่จะเป็นแนวการ์ตูนขำขัน (ซึ่งปัจจุบันก็ยังคงเป็นเช่นนั้น) และมีจุดมุ่งหมายในการนำเสนอเบื้องต้นคือเพื่อความบันเทิง งานเขียนดังกล่าวมีเนื้อหาที่หลากหลาย นำเสนอในรูปแบบการ์ตูนช่องเดียวจบ และตีพิมพ์ในสื่อชนิดต่างๆ เช่น ในนิตยสารหรือในหนังสือพิมพ์รายวัน เป็นต้น คำว่านักเขียนการ์ตูนนี้ยังมีการประยุกต์ใช้ หมายถึงนักเขียนที่เขียนการ์ตูนประเภทหลายช่องจบ (comic strips) การ์ตูนคอมมิค (comic books) และการ์ตูนเรื่องยาวหรือนิยายภาพ (graphic novels) ด้ว.

ใหม่!!: ผดุง ไกรศรีและนักเขียนการ์ตูน · ดูเพิ่มเติม »

นิพนธ์ เสงี่ยมศักดิ์

นิพนธ์ เสงี่ยมศักดิ์ เกิดวันที่ 4 มกราคม พ.ศ. 2499 ที่ จังหวัดนครราชสีมา รู้จักกันดีในชื่อ "นิค ขายหัวเราะ" นักเขียนการ์ตูนไทยชื่อดังในสังกัดสำนักพิมพ์บรรลือสาส์น มีผลงานการ์ตูนประจำอยู่ในนิตยสารขายหัวเราะและมหาสนุกตั้งแต่ยุคบุกเบิกจนถึงปัจจุบันเป็นเวลานานกว่า 25 ปี คาแรคเตอร์ของนิพนธ์ เสงี่ยมศักดิ์ในการ์ตูน มีลักษณะคล้ายเค้าหน้าจริง ผมยาวกึ่งสั้น และอ้วนลงพุง มักปรากฏเป็นตัวเดินเรื่องในการ์ตูนแก๊กทั้งแบบช่องเดียวจบและสามช่องจบทั้งนี้ นิพนธ์ยังได้ใช้คาแรคเตอร์ของเขาเองเป็นตัวละครหลักในการ์ตูนเรื่องสั้นของเขาเองด้วย ได้แก่ การ์ตูนชุด "คนอลเวง" และ "พีพีไอ้ตี๋ซ่า" ในการ์ตูนแก๊กต่างๆ ของนิค และการ์ตูนเรื่องสั้นบางชุด นิพนธ์จะเขียนตัวการ์ตูนของเขาเป็นตัวเดินเรื่องหรือแทรกเป็นตัวประกอบอยู่ในการ์ตูนของเขาเสมอ โดยมีลักษณะคล้ายเค้าหน้าจริงและอ้วนลงพุง เขาได้เปิดเผยว่าได้รับแนวคิดในการเขียนการ์ตูนต่างๆมาจากการดูโทรทัศน์ แล้วประมวลผลออกมาเป็นผลงานในแบบของตัวเอง รวมถึงในปัจจุบัน เขายังได้รับไอเดียจากอินเทอร์เน็ตมาประกอบการเขียนด้วยเช่นกัน.

ใหม่!!: ผดุง ไกรศรีและนิพนธ์ เสงี่ยมศักดิ์ · ดูเพิ่มเติม »

แอโฟร

ผมทรงแอโฟร แอโฟร (Afro) เป็นชื่อทรงผมที่มีลักษณะเหมือนต้นไม้หรือก้อนเมฆ ลักษณะผมต้องการผมที่มีลักษณะหยิกและผมเส้นใหญ่ ซึ่งเป็นลักษณะเด่นของคนแอฟริกา และเป็นที่มาของชื่อ โดยปกติบุคคลทั่วไปสามารถทำทรงผมแอโฟรได้ โดยการจัดแต่งทรงผมโดยใช้การดัดหรือการใช้เจลใส่ผม ในปัจจุบันผมทรงแอโฟรเป็นที่นิยมในวัฒนธรรมสมัยนิยมสำหรับการสร้างมุกตลก โดยมุกตลกมักจะเป็นการซ่อนของไว้ในทรงผม หมวดหมู่:ทรงผม หมวดหมู่:วัฒนธรรมสมัยนิยม.

ใหม่!!: ผดุง ไกรศรีและแอโฟร · ดูเพิ่มเติม »

เหรียญดุษฎีมาลา

หรียญดุษฎีมาลา เป็นเหรียญราชอิสริยาภรณ์สำหรับพระราชทานเป็นที่ระลึก เรียกอย่างไม่เป็นทางการว่า เหรียญแพรแถบ เป็นเหรียญบำเหน็จความชอบในราชการ ซึ่งพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวทรงพระกรุณาโปรดเกล้าโปรดกระหม่อมให้สร้างขึ้นในปี..

ใหม่!!: ผดุง ไกรศรีและเหรียญดุษฎีมาลา · ดูเพิ่มเติม »

เปลี่ยนเส้นทางที่นี่:

เอ๊าะ

ขาออกขาเข้า
Hey! เราอยู่ใน Facebook ตอนนี้! »