โลโก้
ยูเนี่ยนพีเดีย
การสื่อสาร
ดาวน์โหลดได้จาก Google Play
ใหม่! ดาวน์โหลด ยูเนี่ยนพีเดีย บน Android ™ของคุณ!
ฟรี
เร็วกว่าเบราว์เซอร์!
 

ปีพิธีกรรม

ดัชนี ปีพิธีกรรม

วันสำคัญในศาสนาคริสต์ (Liturgical year) ส่วนใหญ่กำหนดตามปฏิทินสุริยคติแบบเกรกอเรียน มีบ้างที่กำหนดโดยอิงปฏิทินจันทรคติ สำหรับวันสำคัญที่มีมาแต่ศาสนายูดาห.

84 ความสัมพันธ์: พระกุมารเยซูพระมารดาพระเจ้าพระวิญญาณบริสุทธิ์พระวจนะทรงรับเป็นมนุษย์พระหฤทัยของพระเยซูพระทรมานของพระเยซูพระคริสตราชาพระเมตตาของพระเยซูพระเยซูทรงรับบัพติศมาพระเยซูเสด็จขึ้นสู่สวรรค์พิธีมหาสนิทศักดิ์สิทธิ์พิธีรับเข้าเป็นคริสต์ศาสนิกชนการหนีไปอียิปต์การคืนพระชนม์ของพระเยซูการตรึงพระเยซูที่กางเขนการประสูติของพระเยซูการประหารทารกผู้วิมลการเสด็จเยี่ยมกาเบรียลยอห์นผู้ให้บัพติศมารายชื่อวันสำคัญวันพุธรับเถ้าวันศุกร์ประเสริฐวันสมโภชพระคริสต์แสดงองค์วันสมโภชนักบุญทั้งหลายวันอาทิตย์วันอาทิตย์ใบลานวันขอบคุณพระเจ้าศาสนายูดาห์ศาสนาคริสต์ศีลอนุกรมสะบาโตอัครทูตสวรรค์อัครทูตสวรรค์มีคาเอลอัครทูตสวรรค์ราฟาเอลอาหารค่ำมื้อสุดท้ายอีสเทิร์นออร์ทอดอกซ์อีสเตอร์ทูตสวรรค์ครอบครัวศักดิ์สิทธิ์คริสต์มาสตรีเอกภาพซีโมนเปโตรปฏิทินเกรโกเรียนปัสคานักบุญโยเซฟแม่พระบังเกิดแม่พระรับสารแม่พระรับเกียรติยกขึ้นสวรรค์แม่พระปฏิสนธินิรมล...โบสถ์คริสต์เทศกาลมหาพรตเทศกาลเพนเทคอสต์เซนต์เปาโลอัครทูต1 พฤศจิกายน1 มกราคม11 กุมภาพันธ์12 กันยายน12 ธันวาคม13 พฤษภาคม14 กันยายน15 สิงหาคม19 มีนาคม2 พฤศจิกายน2 กุมภาพันธ์21 พฤศจิกายน21 มีนาคม22 สิงหาคม25 มีนาคม25 ธันวาคม25 เมษายน28 ธันวาคม29 กันยายน29 มิถุนายน3 มกราคม31 พฤษภาคม31 ธันวาคม4 เมษายน7 ธันวาคม7 ตุลาคม8 พฤษภาคม8 กันยายน8 ธันวาคม ขยายดัชนี (34 มากกว่า) »

พระกุมารเยซู

“แม่พระและพระกุมาร” โดย ฟีลิปโป ลิปปี พระกุมารเยซู (Child Jesus; Infant Jesus; Baby Jesus) คือพระเยซูปางกุมารในช่วงอายุตั้งแต่แรกประสูติจนถึงมีอายุได้ 12 ปี เพราะตามธรรมเนียมยิวสมัยนั้นถือว่าอายุ 13 ปี ขึ้นไปจัดเป็นวัยผู้ใหญ.

ใหม่!!: ปีพิธีกรรมและพระกุมารเยซู · ดูเพิ่มเติม »

พระมารดาพระเจ้า

''แม่พระแห่งคาซัน'' พระมารดาพระเจ้า (Máter Déi; มาแตร์เดอี; มาเทอร์เดอี) หรือ พระชนนีพระเจ้า (Θεοτόκος เธโอโตกอส) เรียกโดยย่อว่าแม่พระ เป็นสมัญญาที่คริสต์ศาสนิกชนนิกายโรมันคาทอลิก อีสเทิร์นออร์ทอดอกซ์ ออเรียนทัลออร์ทอดอกซ์ และอีสเทิร์นคาทอลิก ใช้หมายถึงพระนางมารีย์พรหมจารี ตามมติของสภาสังคายนาแห่งเอเฟซัสที่ประกาศว่าพระเยซูทรงเป็นพระเจ้าโดยสมบูรณ์ ดังนั้นมารดาพระเยซูจึงถือเป็นพระมารดาพระเจ้าด้วยMary, Mother of God by Carl E. Braaten and Robert W. Jenson 2004 ISBN 0802822665 page 84.

ใหม่!!: ปีพิธีกรรมและพระมารดาพระเจ้า · ดูเพิ่มเติม »

พระวิญญาณบริสุทธิ์

ระวิญญาณบริสุทธิ์ในรูปนกพิราบล้อมรอบด้วยบรรดาทูตสวรรค์ วาดโดยกอร์ราโด จีอากวินโต ราวคริสต์ทศวรรษ 1750 พระวิญญาณบริสุทธิ์ (ศัพท์โปรเตสแตนต์) หรือ พระจิต (ศัพท์คาทอลิกและออร์ทอดอกซ์) (Holy Spirit; Holy Ghost) เป็นวิญญาณชนิดหนึ่งตามความเชื่อในศาสนาอับราฮัม อันได้แก่ ศาสนายูดาห์ ศาสนาคริสต์ และศาสนาอิสลาม แต่แต่ละศาสนาก็มีความเชื่อเกี่ยวกับพระวิญญาณบริสุทธิ์แตกต่างกัน บุคคลผู้ที่ได้รับพระวิญญาณบริสุทธิ์ จะมีความคิดความอ่านไปในวิถีทางเดียวกับพระเจ้า คริสต์ศาสนิกชนส่วนใหญ่ (นิกายโรมันคาทอลิก อีสเทิร์นออร์ทอดอกซ์ และโปรเตสแตนต์) เชื่อเรื่องตรีเอกภาพ โดยถือว่าพระเจ้าพระองค์เดียวนั้นทรงมีสามพระบุคคลแตกต่างกัน คือ พระบิดา พระบุตร และพระวิญญาณบริสุทธิ์ ดังนั้นจึงถือพระวิญญาณบริสุทธิ์เป็นพระเจ้าด้วย แต่คริสต์ศาสนิกชนอีกหลายนิกาย (เช่น พยานพระยะโฮวา) รวมทั้งศาสนาอับราฮัมอื่น ๆ (คือชาวยิวและชาวมุสลิม) ก็ไม่ยอมรับความเชื่อนี้.

ใหม่!!: ปีพิธีกรรมและพระวิญญาณบริสุทธิ์ · ดูเพิ่มเติม »

พระวจนะทรงรับเป็นมนุษย์

"''การรับเป็นมนุษย์''" เป็นส่วนหนึ่งของวัฏจักรชีวิตของพระเยซู โดยมีพระตรีเอกภาพอยู่ตรงกลางภาพ ฟรีโดลิน ไลเบอร์ วาดไว้ราวคริสต์ศตวรรษที่ 19 พระวจนะทรงรับเป็นมนุษย์ (ศัพท์ราชบัณฑิตยสถาน) หรือ พระวจนาตถ์ทรงรับสภาพมนุษย์ (ศัพท์โรมันคาทอลิก) หรือ พระวาทะทรงเกิดเป็นมนุษย์ (ศัพท์โปรเตสแตนต์) (Incarnation of the Word) ในศาสนาคริสต์หมายถึงการที่พระเยซูซึ่งเชื่อว่าเป็นพระเจ้าพระบุตรหรือพระวจนะ ได้เสด็จลงมาบนโลกเพื่อรับสภาพมนุษย์ผ่านทางครรภ์ของนางมารีย์ (บางคริสตจักร เช่น โรมันคาทอลิก อีสเทิร์นออร์ทอดอกซ์ จึงยกย่องพระนางมารีย์พรหมจารีเป็นพระมารดาพระเจ้าด้วย) เรื่องพระเจ้ามารับสภาพมนุษย์ถือเป็นหลักคำสอนทางเทววิทยาที่หลักข้อเชื่อไนซีนให้การรับรอง โดยถือว่าพระเยซูเป็นพระบุคคลที่สองในพระเป็นเจ้าซึ่งเป็นตรีเอกภาพ ได้มารับสภาพมนุษย์โดยที่ธรรมชาติพระเป็นเจ้าเดิมยังดำรงอยู่ในตัว หลักข้อเชื่อนี้จึงถือว่าพระเยซูทรงเป็นทั้งมนุษย์และพระเป็นเจ้าโดยสมบูรณ์ ดังที่พระวรสารนักบุญยอห์นระบุว่า "พระวจนะเป็นพระเจ้...

ใหม่!!: ปีพิธีกรรมและพระวจนะทรงรับเป็นมนุษย์ · ดูเพิ่มเติม »

พระหฤทัยของพระเยซู

'''พระหฤทัยของพระเยซู''' ความศรัทธาต่อพระหฤทัยของพระเยซู (the Sacred Heart of Jesus) เป็นการอุทิศตนรูปแบบหนึ่งของคริสต์ศาสนิกชนโรมันคาทอลิกต่อพระหฤทัยของพระเยซู เพราะเชื่อว่าพระหฤทัยเป็นสัญลักษณ์ของความรักที่พระเจ้ามีต่อมนุษยชาติ การอุทิศตนรูปแบบนี้พบทั้งในกลุ่มชาวโรมันคาทอลิก ชาวแองกลิคันไฮเชิร์ช และชาวลูเทอแรน โดยเน้นถึงการที่พระหฤทัยของพระเยซูได้ทรงเมตตากรุณาและทนทุกข์ทรมานเพื่อมวลมนุษย์ เชื่อกันว่ามีผู้อุทิศตนรูปแบบนี้มาตั้งแต่สมัยกลาง เพราะเป็นช่วงที่รหัสยลัทธิในศาสนาคริสต์กำลังเป็นที่นิยม แต่รูปแบบที่แพร่หลายในปัจจุบันถือว่ามาจากการเผยแพร่ของนักบุญมาร์เกอริต-มารี อาลาก็อก นักพรตหญิงคณะแม่พระเสด็จเยี่ยม ผู้ได้เห็นนิมิตพระเยซูมาสอนให้อุทิศตนต่อพระหฤทัยของพระองค์ ในคริสตจักรโรมันคาทอลิก พระหฤทัยของพระเยซูเป็นแนวความเชื่อที่ใกล้เคียงกับกิจการชดใช้ต่อพระเยซูคริสต์ สมเด็จพระสันตะปาปาปิอุสที่ 11 กล่าวไว้ในพระสมณสาสน์ Miserentissimus Redemptor ว่า "เจตนามณ์ของการชดใช้บาปที่สำคัญที่สุดเป็นอันดับหนึ่งอยู่ที่คารวกิจต่อพระหฤทัยศักดิ์สิทธิ์ของพระเยซู"Miserentissimus Redemptor พระสมณสาสน์ในสมเด็จพระสันตะปาปาปิอุสที่ 11 http://www.vatican.va/holy_father/pius_xi/encyclicals/documents/hf_p-xi_enc_08051928_miserentissimus-redemptor_en.html แม้แต่บทภาวนาต่อพระพักตร์อันศักดิ์สิทธิ์ที่แพร่หลายในคริสตจักรก็อ้างอิงความศักดิ์สิทธิ์ของพระหฤทัยของพระเยซูเช่นกัน ในงานศิลปะมักแสดงรูปพระหฤทัยของพระเยซูในรูปของหัวใจที่มีไฟลุกและมีรัศมีส่องสว่างออกมา มีมงกุฎหนามล้อม มีไม้กางเขนตั้งอยู่และพระโลหิตไหนออกมา บางรูปเป็นพระหฤทัยส่องสว่างออกมาจากพระอุระของพระเยซู โดยมีพระหัตถ์ที่มีรอยแผลชี้ไปที่พระหฤทัยนั้น บาดแผลและมงกฎหนามแสดงถึงการตรึงพระเยซูที่กางเขนจนสิ้นพระชนม์ ไฟและรัศมีแสดงถึงพลังความรักของพระเจ้า ตามปฏิทินพิธีกรรมของคริสตจักรโรมันคาทอลิก วันสมโภชพระหฤทัยของพระเยซูเจ้าจะจัดขึ้นในวันที่ 19 หลังจากเทศกาลเพนเทคอสต์ เพนเทคอสต์ตรงกับวันอาทิตย์การสมโภชพระหฤทัยจึงตรงกับวันศุกร์เสมอ.

ใหม่!!: ปีพิธีกรรมและพระหฤทัยของพระเยซู · ดูเพิ่มเติม »

พระทรมานของพระเยซู

“การตรึงพระเยซูที่กางเขน” โดย ลูคัส ครานาค ราว ค.ศ. 1538 พระทรมานของพระเยซู (Passion of Jesus) เป็นศัพท์ทางเทววิทยาคริสเตียนที่บรรยายเหตุการณ์ความทุกข์ทรมานทั้งทางร่างกายและทางจิตใจของพระเยซูในช่วงเวลาก่อนที่จะทรงถูกพิจารณาคดี และถูกตัดสินให้ถูกประหารชีวิตโดยการตรึงกางเขน การตรึงพระเยซูที่กางเขนถือเป็นเหตุการณ์สำคัญที่เป็นหัวใจของความเชื่อในคริสต์ศาสนา รากศัพท์ของคำว่า “Passion” มาจากภาษาละติน “passus” (ซึ่งมีรากมาจาก “pati, patior” ที่แปลว่า “ความทรมาน” ที่เกิดจากภายนอก), เป็นคำที่เริ่มใช้ครั้งแรกในข้อเขียนทางคริสต์ศาสนาในคริสต์ศตวรรษที่ 2 ที่บรรยายความทุกข์ทรมานของพระเยซู แต่คำว่า “Passion” มามีความหมายกว้างขึ้นในสมัยต่อมา ส่วนวลี “ความระทมของพระเยซู” (“Agony of Jesus”) มีความหมายเฉพาะเหตุการณ์ที่เกิดขึ้นในสวนเกทเสมนี -- “พระเยซูในสวนเกทเสมนี” ที่ทรงอธิษฐานสวดภาวนาในสวนก่อนที่จะทรงถูกจับ “ความระทม” จึงหมายถึงสภาวะทางจิตใจ ข้อเขียนในพระวรสารในสารบบที่บรรยายถึงพระมหาทรมานเรียกว่า “Passion” หรือ “พระทรมานของพระเยซู” พระวรสารอื่นที่บรรยายเหตุการณ์นี้ก็ได้แก่พระวรสารนักบุญเปโตร.

ใหม่!!: ปีพิธีกรรมและพระทรมานของพระเยซู · ดูเพิ่มเติม »

พระคริสตราชา

"พระคริสตราชา" ผลงานของยัน ฟัน ไอก์ พระคริสตราชา (Christ the King) เป็นสมัญญาที่คริสต์ศาสนิกชนถวายแด่พระเยซู ในฐานะที่ทรงเป็นพระคริสต์และเป็นกษัตริย์แห่งกษัตริย์ทั้งหล.

ใหม่!!: ปีพิธีกรรมและพระคริสตราชา · ดูเพิ่มเติม »

พระเมตตาของพระเยซู

ระเมตตาของพระเยซูเจ้า พระเมตตาของพระเยซูเจ้า (อังกฤษ:divine mercy) เป็นรูปภาพของพระเยซูเจ้าที่เกิดจากการประจักษ์ของพระเยซูเจ้าที่มีแก่นักบุญโฟสตินา โควัลสกา โดยรูปภาพนี้จะมีลักษณะเฉพาะคือ มีรูปพระเยซูเจ้ายืนอยู่ พระหัตถ์ขวาอยู่ในท่าทีอวยพระพร พระหัตถ์ซ้ายจับที่พระหฤทัยและมีแสงสีขาวและสีแดงออกมาจากพระหฤทัย และใต้รูปนั้นมีคำว่า พระเยซูเจ้าข้า ลูกวางใจในพระองค์ ภาพนี้เป็นภาพที่สำคัญของศาสนาคริสต์นิกายโรมันคาทอลิก.

ใหม่!!: ปีพิธีกรรมและพระเมตตาของพระเยซู · ดูเพิ่มเติม »

พระเยซูทรงรับบัพติศมา

''พระคริสต์ทรงรับพิธีล้าง'' ของฟรันเชสโก อัลบานีสมัยคริสต์ศตวรรษที่ 17''Medieval art: a topical dictionary'' by Leslie Ross 1996 ISBN 978-0-313-29329-0 page 30 เหตุการณ์พระเยซูทรงรับบัพติศมา (โปรเตสแตนต์) หรือ พระเยซูทรงรับพิธีล้าง (คาทอลิก) (Baptism of Jesus) ถือเป็นจุดเริ่มต้นการปฏิบัติพระภารกิจของพระเยซู เหตุการณ์นี้ถูกบันทึกในพระวรสารทั้ง 4 ฉบับ คือ มัทธิว มาระโก ลูกา และยอห์น และถือเป็นหนึ่งในห้าเหตุการณ์สำคัญในชีวิตของพระเยซู อีกสี่เหตุการณ์ที่เหลือ ได้แก่ การจำแลงพระกาย การถูกตรึงที่กางเขน การกลับคืนพระชนม์ และการเสด็จขึ้นสวรรค์Essays in New Testament interpretation by Charles Francis Digby Moule 1982 ISBN 0-521-23783-1 page 63 ยอห์นผู้ให้บัพติศมาประกาศพิธีบัพติศมาด้วยน้ำเพื่อแสดงการกลับใจและขอรับการอภัยบาปจากพระเจ้า ท่านกล่าวว่าจะมีผู้หนึ่งมาภายหลัง ผู้นั้นจะให้บัพติศมาด้วยพระวิญญาณบริสุทธิ์และไฟ ท่านจึงได้เตรียมหนทางขององค์พระผู้เป็นเจ้าพระองค์นั้น พระเยซูได้เสด็จไปแม่น้ำจอร์แดนและรับบัพติศมาจากยอห์นด้วย พระวรสารยังบรรยายเหตุการณ์ขณะนั้นว่าฟ้าสวรรค์ได้เปิดออก พระวิญญาณบริสุทธิ์ปรากฏรูปเหมือนนกพิราบบินลงมาเหนือพระเยซู พร้อมกับมีเสียงจากสวรรค์ประกาศว่า "ท่านเป็นบุตรที่รักของเรา เราชอบใจท่านมาก" คริสต์ศาสนิกชนส่วนมากถือว่าเหตุการณ์นี้เป็นเหตุการณ์สำคัญ และเป็นต้นกำเนิดของพิธีบัพติศมาซึ่งเป็นพิธีศักดิ์สิทธิ์ในศาสนาคริสต์ แนวคิดบุตรบุญธรรมนิยมซึ่งศาสนาคริสต์ยุคแรกประณามว่าเป็นความเชื่อนอกรีตก็เกิดขึ้นเพราะให้ความสำคัญกับเหตุการณ์นี้ ศาสนาคริสต์ตะวันออกจัดฉลองพระเยซูทรงรับบัพติศมาในวันที่ 6 มกราคม ส่วนคริสตจักรโรมันคาทอลิก แองกลิคันคอมมิวเนียน และบางนิกายจัดการฉลองในสัปดาห์ถัดมาเรียกว่าวันฉลององค์พระผู้เป็นเจ้าทรงรับพิธีล้าง.

ใหม่!!: ปีพิธีกรรมและพระเยซูทรงรับบัพติศมา · ดูเพิ่มเติม »

พระเยซูเสด็จขึ้นสู่สวรรค์

จุลจิตรกรรม "พระเยซูเสด็จขึ้นสู่สวรรค์" จากพระวรสารรับบิวลาจากคริสต์ศตวรรษที่ 6 พิพิธภัณฑ์ศิลปะเมโทรโพลิทัน พระเยซูเสด็จขึ้นสู่สวรรค์ (Ascension of Jesus) เป็นเหตุการณ์ที่พระเยซูลอยขึ้นสวรรค์ต่อหน้าอัครทูตของพระองค์หลังจากที่ทรงกลับคืนพระชนม์ได้ 40 วัน และมีทูตสวรรค์องค์หนึ่งกล่าวขึ้นในขณะนั้นว่าเมื่อพระเยซูกลับมา ก็จะมีลักษณะเดียวกัน เมื่อพระเยซูขึ้นสวรรค์แล้วก็ไปประทับอยู่ทางขวาของพระบิดา พระวรสารในสารบบที่กล่าวถึงเหตุการณ์นี้คือพระวรสารนักบุญลูกาบทที่ 24 และพระวรสารนักบุญมาระโกบทที่ 16 และยังปรากฏในหนังสือกิจการของอัครทูตบทที่ 1 ด้วย เหตุการณ์นี้ยังได้รับการยอมรับให้เป็นส่วนหนึ่งของหลักข้อเชื่อของอัครทูตและหลักข้อเชื่อไนซีน คริสต์ศาสนิกชนจัดการเฉลิมฉลองถึงเหตุการณ์นี้ในวันที่ 40 หลังวันอีสเตอร์ในแต่ละปี (จึงตรงกับวันพฤหัสบดีเสมอ) พิธีนี้มีมาตั้งแต่คริสต์ศตวรรษที่ 4 และถือเป็นหนึ่งในห้าเหตุการณ์สำคัญในชีวิตของพระเยซู (อีก 4 เหตุกาณ์ที่เหลือ คือ รับบัพติศมา จำแลงพระกาย ถูกตรึงกางเขน และคืนพระชนม์)Essays in New Testament interpretation by Charles Francis Digby Moule 1982 ISBN 0-521-23783-1 page 63 จดหมายของนักบุญเปาโล (ราว ค.ศ. 56-ค.ศ. 57) ได้กล่าวถึงพระเยซูบนสวรรค์และการเสด็จสู่แดนผู้ตายซึ่งเป็นการอ้างอิงถึงการขึ้นสวรรค์ของพระเยซูเป็นครั้งแรก แต่การอ้างอิงที่มีอิทธิพลที่สุดตามการกล่าวอ้างของโรเบิร์ต ดับเบิลยู ฟังค์ (Robert W. Funk) มาจาก คือพระเยซูขึ้นสวรรค์หลังจากที่มีพระบัญชาเอก (Great Commission) คือสี่สิบวันหลังจากที่คืนพระชนม์โดยมีอัครทูตเป็นพยาน ในพระวรสารนักบุญลูกา "การเสด็จขึ้นสวรรค์" เกิดขึ้นในค่ำวันอีสเตอร์Robert W. Funk and the Jesus Seminar.

ใหม่!!: ปีพิธีกรรมและพระเยซูเสด็จขึ้นสู่สวรรค์ · ดูเพิ่มเติม »

พิธีมหาสนิทศักดิ์สิทธิ์

ีมหาสนิทศักดิ์สิทธิ์ราชบัณฑิตยสถาน, พจนานุกรมศัพท์ศาสนาสากล อังกฤษ-ไทย ฉบับราชบัณฑิตยสถาน, พิมพ์ครั้งที่ 3, ราชบัณฑิตยสถาน, 2552, หน้า 248 หรือพิธีมหาสนิท(Eucharist; Holy Communion) คริสต์ศาสนิกชนโรมันคาทอลิก, อีสเทิร์นออร์ทอดอกซ์ และโปรเตสแตนต์บางคณะเรียกว่าศีลมหาสนิท เป็นพิธีศักดิ์สิทธิ์ในศาสนาคริสต์ เพื่อแสดงถึงการร่วมสนิทกับพระเยซู โดยการรับประทานขนมปัง (สัญลักษณ์แทนพระกายของพระองค์) และไวน์ (สัญลักษณ์แทนพระโลหิต) การประกอบพิธีมหาสนิท เพื่อให้ชาวคริสต์ระลึกถึงคุณของพระเป็นเจ้า เพื่อการประกาศยอมรับว่าพระเจ้าได้สถิตอยู่ในกายตน เพื่อแนบแน่นเป็นหนึ่งเดียวกับพระองค์ และเพื่ออยู่ร่วมกันด้วยความรักในประชาคมเดียวกัน ในนิกายโปรเตสแตนต์ กล่าวคำที่ใช้ในพิธีมหาสนิทตามพระวรสารนักบุญลูกา ส่วนนิกายโรมันคาทอลิก กล่าวคำที่ใช้ในพิธีมหาสนิทเฉพาะตามที่พระศาสนจักรคาทอลิกกำหน.

ใหม่!!: ปีพิธีกรรมและพิธีมหาสนิทศักดิ์สิทธิ์ · ดูเพิ่มเติม »

พิธีรับเข้าเป็นคริสต์ศาสนิกชน

การให้บัพติศมาแก่ Neophytes วาดโดยมาซัชโช เมื่อคริสต์ศตวรรษที่ 15 ปัจจุบันเก็บอยู่ที่ฟลอเรนซ์ พิธีรับเข้าเป็นคริสต์ศาสนิกชน (ศัพท์ประชากรศาสตร์) พิธีบัพติศมาราชบัณฑิตยสถาน, พจนานุกรมศัพท์ศาสนาสากล อังกฤษ-ไทย ฉบับราชบัณฑิตยสถาน, พิมพ์ครั้งที่ 3, ราชบัณฑิตยสถาน, 2552, หน้า 88 (ศัพท์โปรเตสแตนต์) หรือ ศีลล้างบาป (ศัพท์คาทอลิก) (Baptism มาจากภาษากรีก baptismos แปลว่า การล้าง) เป็นพิธีศักดิ์สิทธิ์ในศาสนาคริสต์ ทำขึ้นเพื่อรับ "ผู้ที่เพิ่งรับเชื่อ" เข้าเป็นสมาชิกใหม่ของคริสตจักร คัมภีร์ไบเบิลภาคพันธสัญญาใหม่ระบุว่ายอห์นผู้ให้บัพติศมาเริ่มประกอบพิธีนี้ให้สาวกของตน โดยให้ผู้รับจุ่มตัวลงในแม่น้ำลึก ถือเป็นสัญลักษณ์ของการกลับใจและรอคอยอาณาจักรสวรรค์ซึ่งกำลังจะมาถึง พระเยซูทรงรับบัพติศมาจากยอห์นในครั้งนั้นด้วย จากนั้นจึงเริ่มปฏิบัติพระภารกิจของพระองค์ ต่อมาในศาสนาคริสต์ยุคแรก ผู้ให้บัพติศมาจะให้ผู้รับเปลือยกายลงแช่ในแม่น้ำ ซึ่งมีทั้งแบบให้จุ่มทั้งตัว ยืน หรือคุกเข่าในน้ำ แล้ว "ผู้ให้บัพติศมา" จะตักน้ำรดลงบน "ผู้รับบัพติศมา" ในปัจจุบันบางคริสตจักรยังรักษาวิธีการแบบเดิม บางคริสตจักรก็ใช้วิธีเทน้ำรดลงบนหน้าผากของผู้รับสามครั้ง การเป็นมรณสักขีในศาสนาคริสต์ก็ถือว่าเป็นการรับบัพติศมาด้วย เรียกว่า "พิธีบัพติศมาด้วยเลือด" เชื่อว่ามรณสักขีนั้นได้รับความรอดแล้วแม้จะยังไม่ได้รับบัพติศมาด้วยน้ำก็ตาม คริสตจักรโรมันคาทอลิกปัจจุบันรับรอง "พิธีบัพติศมาแห่งความปรารถนา" ซึ่งหมายถึงความตั้งใจจะรับบัพติศมาแต่เสียชีวิตเสียก่อนเข้าพิธี ก็ถือว่าได้รับความรอดแล้ว คริสต์ศาสนิกชนบางนิกายประกอบพิธีบัพติศมาแก่ทารกด้วย เพราะเชื่อว่าบัพติศมาเป็นทางแห่งความรอด จนเมื่อฮุลดริช ซวิงลี นักเทววิทยาศาสนาคริสต์สมัยคริสต์ศตวรรษที่ 16 กล่าวว่าพิธีนี้ไม่จำเป็น คริสตจักรแบปทิสต์จึงประกอบพิธีบัพติศมาแก่ผู้เชื่อเองเท่านั้น ทุกวันนี้คริสต์ศาสนิกชนหลายกลุ่ม โดยเฉพาะเควเกอร์และแซลเวชันอาร์มีถือว่าพิธีนี้ไม่จำเป็นและไม่ประกอบพิธีนี้เลย แต่กลุ่มที่ยังมีพิธีนี้อยู่ก็มีรูปแบบพิธีแตกต่างกันไป ส่วนมากรับบัพติศมา "ในพระนามของพระบิดา พระบุตร และพระวิญญาณบริสุทธิ์" (โปรเตสแตนต์) หรือ "เดชะพระนามพระบิดา พระบุตร และพระจิต" (คาทอลิก) โดยถือตามพระมหาบัญชาก่อนการเสด็จขึ้นสวรรค์ของพระเยซู.

ใหม่!!: ปีพิธีกรรมและพิธีรับเข้าเป็นคริสต์ศาสนิกชน · ดูเพิ่มเติม »

การหนีไปอียิปต์

ระเยซูหนีไปอียิปต์ (Flight into Egypt) เป็นเหตุการณ์ในพระคัมภีร์ไบเบิลที่บรรยายในพระวรสารนักบุญแม็ทธิว (แม็ทธิว) เมื่อนักบุญโจเซฟหนีไปอียิปต์พร้อมกับพระแม่มารีและพระบุตรหลังจากการมาถวายของขวัญของแมไจ เมื่อได้ข่าวว่าพระเจ้าแฮรอด (Herod Antipas) มีคำสั่งให้สังหารเด็กทารกในอาณาจักร เหตุการณ์นี้เป็นหัวเรื่องที่จิตรกรนิยมวาดกันมากฉากหนึ่งและเป็นฉากสุดท้ายในภาพชุด “การประสูติของพระเยซู” และในชุด “ชีวิตของพระแม่มารี” และ “ชีวิตของพระเยซู”.

ใหม่!!: ปีพิธีกรรมและการหนีไปอียิปต์ · ดูเพิ่มเติม »

การคืนพระชนม์ของพระเยซู

การคืนพระชนม์ของพระเยซู (Resurrection of Jesus) หมายถึง เหตุการณ์สองเหตุการณ์ที่มีความสำคัญที่สุดในความเชื่อทางคริสต์ศาสนาที่เป็นพื้นฐานของปรัชญาและหลักการทางคริสต์ศาสนวิทยา ตามพันธสัญญาใหม่พระเยซูผู้เป็นหัวใจของคริสต์ศาสนาถูกตรึงกางเขน, สิ้นพระชนม์, ถูกนำไปไว้ในที่เก็บศพ, และทรงคืนพระชนม์สามวันหลังจากนั้น (ยอห์น, มาระโก, มาระโก). พันธสัญญาใหม่ยังกล่าวถึงการคืนพระชนม์และการสำแดงพระองค์ของพระเยซูคริสต์อีกหลายครั้งต่ออัครสาวกสิบสององค์ และสาวกคนอื่นๆ รวมทั้ง “พี่น้องอีกห้าร้อยคนพร้อมกัน” () ก่อนที่จะเสด็จขึ้นสวรรค์ เหตุการณ์สำคัญสองเหตุการณ์นี้ฉลองกันระหว่างวันศุกร์ศักดิ์สิทธิ์ และ อีสเตอร์ ชนกลุ่มอื่นๆ เช่น ชาวยิว มุสลิม บาไฮ และนิกายหรือลัทธิบางลัทธิของคริสต์ศาสนาไม่เห็นด้วยหรือไม่เชื่อว่าพระเยซูทรงคืนพระชนม์จริงหรือไม.

ใหม่!!: ปีพิธีกรรมและการคืนพระชนม์ของพระเยซู · ดูเพิ่มเติม »

การตรึงพระเยซูที่กางเขน

“การตรึงพระเยซูที่กางเขน” โดยซิโมน วูเอท์ (Simon Vouet) ที่ เจนัว (ค.ศ. 1622) การตรึงพระเยซูที่กางเขน (Crucifixion of Jesus) เป็นเหตุการณ์ในชีวิตของพระเยซูที่ถูกบันทึกในพระวรสารทั้งสี่ฉบับ เป็นเหตุการณ์ที่เกิดขึ้นทันทีหลังจากที่พระเยซูถูกจับและถูกพิพากษา ในทางเทววิทยาศาสนาคริสต์ การสิ้นพระชนม์ของพระองค์เป็นเหตุการณ์หัวใจสำคัญ ส่งอิทธิพลให้เกิดเหตุการณ์อื่น ๆ ต่อเนื่องมา นอกจากนั้นการสิ้นพระชนม์ของพระองค์ก็เป็นสัญลักษณ์สำคัญทางปรัชญาความเชื่อ เป็นการเสียชีวิตของผู้ที่มาช่วยโลก เห็นได้จากการรับทรมานและความตายของพระเมสสิยาห์เพื่อไถ่บาปให้มวลมนุษย์ ตามด้วยพันธสัญญาใหม่ที่กล่าวถึง การคืนชีพในสามวันหลังจากสิ้นพระชนม์ และทรงปรากฏพระกายต่ออัครทูตก่อนพระเยซูเสด็จขึ้นสู่สวรรค์ การทรมานและการเสียชีวิตของพระเยซูบนกางเขนมักจะเรียกกันว่า “พระทรมานของพระเยซู” (Passion) เทววิทยาศาสนาคริสต์ถือว่าพระเยซูพลีชีพเพื่อเป็นการไถ่บาปให้มวลมนุษย์ ดังปรากฏในพระธรรมที่รู้จักกันในนาม “พิธีทดแทนบาป” (Substitutionary atonement) กล่าวกันว่าความตายของพระองค์ถูกทำนายไว้ล่วงหน้าในพันธสัญญาเดิม เช่น เพลงของอิสยาห์ที่กล่าวถึง การทรมานของผู้รับใช้พระเจ้.

ใหม่!!: ปีพิธีกรรมและการตรึงพระเยซูที่กางเขน · ดูเพิ่มเติม »

การประสูติของพระเยซู

“การประสูติ” โดยเปตรุส คริสตุส (Petrus Christus) ราว ค.ศ. 1445 การประสูติของพระเยซู (The Nativity of Jesus; the Nativity) หรือพระคริสตสมภพ ถูกกล่าวถึงในพระวรสารนักบุญมัทธิวและพระวรสารนักบุญลูกาซึ่งเป็นส่วนหนึ่งของคัมภีร์ไบเบิลภาคพันธสัญญาใหม่ ส่วนพระวรสารนักบุญมาระโกและพระวรสารนักบุญยอห์นมิได้กล่าวถึงการประสูติของพระเยซูไว้ แหล่งข้อมูลอื่นเกี่ยวกับเหตุการณ์นี้ก็มีแต่มิได้รวมอยู่ในสารบบคัมภีร์ไบเบิล คำบรรยายของพระวรสารนักบุญมัทธิวและพระวรสารนักบุญลูกากล่าวว่าพระเยซูชาวนาซาเร็ธเป็นบุตรของนางมารีย์ ขณะมีตั้งครรภ์ได้หมั้นอยู่กับโยเซฟจากตระกูลเดวิด เรื่องนี้คริสตชนเชื่อว่าพระเยซูประสูติจากหญิงพรหมจารีเพราะเป็นการกำเนิดโดยอำนาจของพระวิญญาณบริสุทธิ์โดยมารดามิได้ร่วมประเวณีกับโยเซฟเลย คริสตชนจึงถือว่าโยเซฟเป็นเพียงบิดาบุญธรรม ทูตสวรรค์ได้ประกาศถึงการประสูติพระเยซูต่อคนเลี้ยงแกะ โหราจารย์สามคนก็ทราบเพราะได้เห็นดวงดาว พระวรสารกล่าวว่าการกำเนิดของพระเยซูเป็นไปตามคำพยากรณ์ของเหล่าผู้เผยพระวจนะชาวอิสราเอล การระลึกถึง การแสดง หรือการสร้างสัญลักษณ์เกี่ยวกับการกำเนิดของพระเยซูถือเป็นหัวใจของการฉลองเทศกาลคริสต์มาส เพื่อแสดงความเชื่อว่าพระเยซูชาวนาซาเรธเป็น “พระคริสต์” หรือ “พระเมสสิยาห์” ตามที่ทำนายไว้คัมภีร์ไบเบิลภาคพันธสัญญาเดิม ในบางคริสตจักร เช่น โรมันคาทอลิก ถือว่าจุดยอดของการฉลองอยู่ที่พิธีมิสซาเที่ยงคืน หรือเช้าวันคริสต์มาสซึ่งจะเป็นวันที่ 25 ธันวาคมเสมอ ทางอีสเทิร์นออร์ทอดอกซ์จะอดอาหารก่อนวันคริสต์มาส 40 วัน และวันอาทิตย์สี่วันก่อนคริสต์มาสคริสต์ศาสนิกชนทั้งนิกายโรมันคาทอลิกและแองกลิคันก็จะฉลองเทศกาลเตรียมรับเสด็จพระเยซู เพื่อเป็นการเตรียมตัวทางใจเพื่อความพร้อมที่จะฉลองวันประสูติของพระเยซู.

ใหม่!!: ปีพิธีกรรมและการประสูติของพระเยซู · ดูเพิ่มเติม »

การประหารทารกผู้วิมล

ตรกรรม “ทารกผู้วิมล” (the Holy Innocents) โดยแมตเทโอ ดี จีโอวานนี (Matteo di Giovanni) ค.ศ. 1482 (พ.ศ. 2024) การประหารทารกผู้วิมล (Massacre of the Innocents) เป็นมหาทารกฆาตอันกษัตริย์เฮโรด พระเจ้ากรุงเยรูซาเลม รับสั่งให้ประหารทารกเพศชายผู้ไร้มลทินทั้งนครเบธเลเฮม ในวาระที่พระเยซูประสูติ เพื่อกันมิให้พระองค์ต้องทรงเสียพระราชบัลลังก์ไปให้แก่พระเยซูผู้ทรงได้ชื่อว่าเป็น “กษัตริย์ของชาวยิว” เหตุการณ์นี้มีบันทึกในพระวรสารนักบุญมัทธิว (Gospel of Matthew) บทที่ 2 ข้อ 13-16 ซึ่งเชื่อว่าเป็นผลงานการประพันธ์ของนักบุญมัทธิว ผู้ประกาศข่าวประเสริฐ (Matthew the Evangelist) และพระวรสารนักบุญเจมส์เมื่อคริสต์ศตวรรษที่ 2Protoevangelium of James: Online.

ใหม่!!: ปีพิธีกรรมและการประหารทารกผู้วิมล · ดูเพิ่มเติม »

การเสด็จเยี่ยม

“การเสด็จเยี่ยม” จาก “ฉากแท่นบูชาพระแม่มารี” (St Vaast Altarpiece) โดยฌาคส์ ดาเรท์ (Jacques Daret) ราว ค.ศ. 1435 เบอร์ลิน พระนางมารีย์เสด็จเยี่ยม (Visitation of Mary) หรือเรียกโดยย่อว่าการเสด็จเยี่ยม (Visitation) เป็นเหตุการณ์ที่พระแม่มารีย์เสด็จมาเยี่ยมนักบุญเอลิซาเบธ ซึ่งบันทึกไว้ในพระวรสารนักบุญลูกา สำหรับศาสนาคริสต์ตะวันตกจะจัดการฉลอง (feast) เพื่อฉลองการเสด็จเยี่ยมในวันที่ 31 พฤษภาคม ของทุกปี และในศาสนาคริสต์ตะวันออกตรงกับวันที่ 2 กรกฎาคม ของทุกปี ในปฏิทินระหว่างปี..

ใหม่!!: ปีพิธีกรรมและการเสด็จเยี่ยม · ดูเพิ่มเติม »

กาเบรียล

กาเบรียล เป็นทูตสวรรค์ในศาสนาอับราฮัม โดยชาวยิวและชาวคริสต์เรียกว่ากาเบรียล ส่วนชาวมุสลิมเรียกว่าญิบรีล (גַּבְרִיאֵל, ภาษาฮีบรูมาตรฐาน: “Gavriʼel”, Gabrielus, Γαβριήλ, ภาษาฮิบรูไทบีเรียน: “Gaḇrîʼēl”, جبريل “Jibrīl” หรือ “Jibrail”) แปลตรงตัวว่า 'พละกำลังของพระเจ้า' เชื่อว่าเป็นอัครทูตสวรรค์ผู้นำสารมาจากพระเป็นเจ้.

ใหม่!!: ปีพิธีกรรมและกาเบรียล · ดูเพิ่มเติม »

ยอห์นผู้ให้บัพติศมา

อห์นผู้ให้บัพติศมา (โปรเตสแตนต์เดิมเรียกว่ายอห์นผู้ให้รับบัพติศมา) ยอห์นผู้ทำพิธีล้าง(คาทอลิก) หรือนักบุญยอห์น แบปติสต์(คาทอลิก) (John the Baptist; John the Baptizer) เป็นนักเทศน์ชาวยิวในคริสศตวรรษที่ 1 ถือว่าเป็นผู้เผยพระวจนะในสี่ศาสนาคือ ศาสนาคริสต์ ศาสนาอิสลาม ศาสนาบาไฮ และ “Mandaeanism” ท่านถูกกล่าวถึงในพระวรสาร คัมภีร์อัลกุรอาน และคัมภีร์ของศาสนาบาไฮ นักบุญยอห์นแบปติสต์บางทีก็รู้จักกันในชื่อ “ยอห์นผู้มาก่อน” (John the Forerunner) เพราะถือกันว่านักบุญยอห์นเป็นผู้มาล่วงหน้าก่อนพระเยซู.

ใหม่!!: ปีพิธีกรรมและยอห์นผู้ให้บัพติศมา · ดูเพิ่มเติม »

รายชื่อวันสำคัญ

วันสำคัญ คือ วันที่มีความสำคัญหรือมีความพิเศษในด้านใดด้านหนึ่ง โดยมีประเพณีหรืองานฉลองในวันสำคัญแต่ละวันแตกต่างกันไป.

ใหม่!!: ปีพิธีกรรมและรายชื่อวันสำคัญ · ดูเพิ่มเติม »

วันพุธรับเถ้า

รื่องหมายกางเขนที่ใช้เถ้า วันพุธรับเถ้า (Ash Wednesday) เป็นวันสำคัญวันหนึ่งของศาสนาคริสต์ โดยเป็นวันเริ่มต้นของเทศกาลมหาพรต ซึ่งจะมีระยะเวลา 46 วันก่อนวันปัสกา แต่ละปีวันที่จะเปลี่ยนไปเพราะยึดตามวันปัสกาเป็นหลัก ชื่อวันมาจากการที่บาทหลวงจะใช้นิ้วหัวแม่มือแตะเถ้าและทำเครื่องหมายกางเขนบนหน้าผากของชาวคริสต์ หรืออาจจะโรยเถ้าบนศีรษะ ซึ่งสื่อความหมายถึงความสุภาพถ่อมตนต่อพระเจ้า สำนึกถึงความต้อยต่ำของตนเอง เนื่องจากในสมัยพระคัมภีร์เถ้าเป็นสัญลักษณ์ของการไว้อาลัย ชาวคริสต์เกือบทุกนิกายจะมีพิธีนี้ ทั้งคาทอลิก โปรเตสแตนต์ และแองกลิคัน.

ใหม่!!: ปีพิธีกรรมและวันพุธรับเถ้า · ดูเพิ่มเติม »

วันศุกร์ประเสริฐ

วันศุกร์ประเสริฐราชบัณฑิตยสถาน, พจนานุกรมศัพท์ศาสนาสากล อังกฤษ-ไทย ฉบับราชบัณฑิตยสถาน, ราชบัณฑิตยสถาน, 2548, หน้า 221-2 (Good Friday) หรือวันศุกร์ศักดิ์สิทธิ์ (Holy Friday) เป็นวันสำคัญทางศาสนาคริสต์ ซึ่งตรงกับวันศุกร์ในตรีวารปัสคา (ก่อนวันอีสเตอร์) ของสัปดาห์ศักดิ์สิทธิ์ มีจุดมุ่งหมายเพื่อระลึกถึงการตรึงพระเยซูที่กางเขน พระวรสารในสารบบระบุว่าพระเยซูทรงถูกตรึงกางเขนในวันเตรียมวันสะบาโตซึ่งตรงกับวันศุกร์ และกลับคืนพระชนม์ในเช้าวันอาทิตย์หลังจากนั้น.

ใหม่!!: ปีพิธีกรรมและวันศุกร์ประเสริฐ · ดูเพิ่มเติม »

วันสมโภชพระคริสต์แสดงองค์

นาคริสต์ตะวันออกถือว่า "พระคริสต์แสดงองค์" หมายถึง เหตุการณ์ที่พระกุมารเยซูทรงรับการนมัสการของโหราจารย์ ภาพวาดโดย บาร์โตโลเม เอสเตบัน มูรีโย วันสมโภชพระคริสต์แสดงองค์ (Epiphany of the Lord) หมายถึง วันสมโภชที่กำหนดขึ้นเพื่อระลึกถึงเหตุการณ์ที่พระเยซู (ซึ่งคริสต์ศาสนิกชนเชื่อว่าเป็นพระเป็นเจ้า) ได้มาปรากฏพระองค์ต่อมนุษย์ คริสตจักรต่าง ๆ ตีความเหตุการณ์นี้แตกต่างกันไป โดยศาสนาคริสต์ตะวันออกในสมัยแรกถือว่า “พระคริสต์แสดงองค์” หมายถึงสองเหตุการณ์คือการประสูติของพระเยซูและการที่พระเยซูทรงรับบัพติศมา ต่อมาในคริสต์ศตวรรษที่ 4 ได้เปลี่ยนมาถือการสมโภชพระเยซูทรงรับบัพติศมาอย่างเดียว เพราะถือว่าพระเยซูแสดงองค์เป็นพระบุตรพระเป็นเจ้าอย่างเป็นทางการในพิธีบัพติศมานี้ ขณะที่ศาสนาคริสต์ตะวันตก “พระคริสต์แสดงองค์” หมายถึง เหตุการณ์ที่พระกุมารเยซูทรงรับการนมัสการของโหราจารย์ทั้ง 3 คนที่มาจากตะวันออก เพราะถือว่าเป็นเหตุการณ์ที่พระเป็นเจ้าได้แสดงองค์ต่อคนต่างชาติเป็นครั้งแรก โดยทั่วไปคริสตจักรจะจัดพิธีสมโภชพระคริสต์แสดงองค์ในวันที่ 6 มกราคม แต่เนื่องจากคริสตจักรตะวันออกใช้ปฏิทินจูเลียน ซึ่งวันจะคลาดเคลื่อนจากปฏิทินเกรกอเรียนที่คริสตจักรตะวันตกใช้ไป 13 วัน ดังนั้นวันที่ 6 มกราคม ของคริสตจักรตะวันออกจึงตรงกับวันที่ 19 มกราคมในคริสตจักรตะวันตก ปัจจุบันคริสตจักรแห่งอังกฤษและคริสตจักรโรมันคาทอลิกในบางประเทศ เช่น ประเทศไทย ไม่ได้ยึดถือวันที่ 6 มกราคม เป็นวันสมโภชพระคริสต์แสดงองค์ แต่เลื่อนไปเป็นวันอาทิตย์แรกหลังวันที่ 1 มกราคมแทน.

ใหม่!!: ปีพิธีกรรมและวันสมโภชพระคริสต์แสดงองค์ · ดูเพิ่มเติม »

วันสมโภชนักบุญทั้งหลาย

วันสมโภชนักบุญทั้งหลาย (All Saints' Day; All Hallows) เป็นวันสมโภชในศาสนาคริสต์ ที่จัดขึ้นเพื่อแสดงความเคารพและระลึกถึงนักบุญทั้งหลายที่สถิตอยู่บนสวรร.

ใหม่!!: ปีพิธีกรรมและวันสมโภชนักบุญทั้งหลาย · ดูเพิ่มเติม »

วันอาทิตย์

วันอาทิตย์ เป็นวันในสัปดาห์ที่อยู่ระหว่างวันเสาร์กับวันจันทร์ ตามวัฒนธรรมดั้งเดิมของจูเดโอ-คริสเตียน วันอาทิตย์ถือเป็นวันแรกของสัปดาห์ แต่ต่อมาในช่วงกลางคริสต์ศตวรรษที่ 20 ก็มีการนับให้วันอาทิตย์เป็นวันที่ 7 ของสัปดาห์ (และให้วันจันทร์เป็นวันที่หนึ่งแทน) ตามที่ระบุไว้ใน ISO 8601 อย่างไรก็ตามในบางวัฒนธรรมยังกำหนดให้วันอาทิตย์เป็นวันแรกของสัปดาห์อยู.

ใหม่!!: ปีพิธีกรรมและวันอาทิตย์ · ดูเพิ่มเติม »

วันอาทิตย์ใบลาน

“พระเยซูเข้ากรุงเยรูซาเลม” ภาพวาดบนการ์ดไบเบิลสมัยต้นศตวรรษที่ 20 วันอาทิตย์ใบลาน (คาทอลิก), อัครสังฆมณฑลกรุงเทพฯ หรือ วันอาทิตย์ทางตาล (โปรเตสแตนต์), กรมการศาสนา หรือ วันอาทิตย์ใบปาล์ม (อีสเทิร์นออร์โธด็อกซ์) (Palm Sunday) เป็นวันสมโภชสำคัญวันหนึ่งในศาสนาคริสต์ซึ่งตรงกับวันอาทิตย์ก่อนอีสเตอร์ เป็นวันฉลองเหตุการณ์ที่ระบุบันทึกในพระวรสารทั้งสี่ฉบับ ในโอกาสที่พระเยซูเสด็จเข้ากรุงเยรูซาเลมก่อนรับพระทรมาน โบสถ์คาทอลิกจะแจกใบลานที่ผูกกับกางเขนในโอกาสนี้แต่ในบางท้องถิ่นที่ไม่มีใบปาล์มก็จะแจกใบไม้อย่างอื่นที่มีในท้องถิ่น ถ้าเช่นนั้นก็จะเรียกตามใบไม้ที่แจกเช่น “วันอาทิตย์ช่อยู" สำหรับที่ที่แจกช่อยูเป็นต้น หรือเรียกอย่างกว้างๆ ว่า “วันอาทิตย์กิ่งไม้” (Branch Sunday).

ใหม่!!: ปีพิธีกรรมและวันอาทิตย์ใบลาน · ดูเพิ่มเติม »

วันขอบคุณพระเจ้า

วาดของ ประเพณีขอบคุณพระเจ้า วันขอบคุณพระเจ้า (Thanksgiving) เป็นวันฉลองการเก็บเกี่ยวที่เดิมเป็นการแสดงความขอบคุณต่อพระเจ้าเมื่อสิ้นฤดูเก็บเกี่ยว วันขอบคุณพระเจ้านี้เดิมมาจากเทศกาลที่เกี่ยวกับคริสต์ศาสนาแต่ในปัจจุบันวันขอบคุณพระเจ้าเป็นเพียงวันหยุดที่ไม่เกี่ยวข้องกับศาสนาที่ฉลองกันในสหรัฐอเมริกาและประเทศแคนาดา ในสหรัฐอเมริกา วันขอบคุณพระเจ้าจะตรงกับวันพฤหัสบดีที่สี่ของเดือนพฤศจิกายนของทุกปี ในขณะที่ในประเทศแคนาดาจะตรงกับวันจันทร์ที่สองของเดือนตุลาคม ประเพณีนี้เกิดขึ้นภายหลังจากการอพยพของชาวยุโรปมาที่ทวีปอเมริกาเหนือ ถึงแม้ว่าประเพณีนี้เป็นประเพณีหนึ่งที่เกี่ยวข้องกับศาสนาคริสต์ที่ฉลองกันโดยบุคคลในทวีปอเมริกาทั้งที่เป็นคริสต์ศาสนิกชนและอื่นๆ แต่เป็นการฉลองที่มีที่มาที่เกี่ยวกับประวัติศาสตร์ของการตั้งถิ่นฐานในทวีปอเมริกาเหนือ ฉะนั้นเทศกาลนี้จึงไม่มีการฉลองกันในทวีปยุโรปหรือประเทศที่นับถือศาสนาคริสต์อื่นๆ ในวันขอบคุณพระเจ้านี้ชาวอเมริกันจะใช้เวลาอยู่ร่วมกับครอบครัวและรับประทานอาหารมื้อใหญ่ด้วยกัน โดยอาหารที่นิยมรับประทานจนเป็นประเพณีคือไก่งวง และนอกจากนี้ในนครนิวยอร์กจะมีขบวนพาเหรดที่มีชื่อเสียงจัดโดยห้างสรรพสินค้า เมซีส์ ในชื่อ เมซีส์เดย์พาเหรด (Macy's Day Parade) ภาพ:Macys-parade-1979.jpg|บอลลูนในเมซีส์เดย์พาเหรด ภาพ:Thanksgiving Turkey.jpg|ไก่งวงอาหารประจำวันขอบคุณพระเจ้า ภาพ:Thanksgiving oven.jpg|อาหารที่นิยมรับประทานในวันขอบคุณพระเจ้า ฟักทอง.

ใหม่!!: ปีพิธีกรรมและวันขอบคุณพระเจ้า · ดูเพิ่มเติม »

ศาสนายูดาห์

นายูดาห์ราชบัณฑิตยสถาน, พจนานุกรมศัพท์ศาสนาสากล ฉบับราชบัณฑิตยสถาน, พิมพ์ครั้งที่ 3, ราชบัณฑิตยสถาน, 2552, หน้า 281 หรือศาสนายิว (Judaism; יהדות) คือวิถีชีวิต ปรัชญา และศาสนาประเภทเอกเทวนิยม ตามความเชื่อของชาวยิวLewis (1984), pp.10, 20 มีต้นกำเนิดในคัมภีร์ฮีบรู (หรือคัมภีร์ทานัค) รวมถึงคัมภีร์ชั้นหลัง เช่น คัมภีร์ทาลมุด ศาสนิกชนยูดาห์ถือว่าวิถีนี้ เป็นพันธสัญญาระหว่างพระยาห์เวห์กับวงศ์วานอิสราเอล ศาสนายูดาห์แบบรับบีถือว่าพระยาห์เวห์ได้ประทานธรรมบัญญัติที่เรียกว่าคัมภีร์โทราห์แก่โมเสสที่ภูเขาซีนาย ศาสนายูดาห์มีพระเจ้าสูงสุด คือ พระยาห์เวห์ โดยชาวยิวมีความเชื่อว่าพระเจ้าทรงสร้างโลกและมนุษย์คู่แรกเมื่อประมาณ 4,000 ปีก่อนคริสตกาล และถือว่าโมเสสคือศาสดา ให้กำเนิดศาสนายูดาห์เมื่อประมาณ 2,000 ปีก่อนคริสตกาล และยังมีบุคคลสำคัญ เช่น อับราฮัม อิสอัค ยาโคบ ยูดาห์ ผู้เผยพระวจนะท่านอื่น ๆ อีกจำนวนมาก ฯลฯ เป็นต้น ศาสนายูดาห์มีความเป็นมายาวนานกว่าสี่พันปี (นับจากสมัยอับราฮัม) จึงถือเป็นศาสนาเอกเทวนิยมที่เก่าแก่ที่สุดที่ยังดำรงอยู่ในปัจจุบัน ในคัมภีร์ทานัคที่เขียนขึ้นในยุคหลัง เช่น หนังสือเอสเธอร์ เรียกชาวฮีบรูหรือวงศ์วานอิสราเอลว่าชาวยิว คัมภีร์ของศาสนายูดาห์ยังมีอิทธิพลอย่างมากต่อกลุ่มศาสนาอับราฮัมยุคหลังด้วย คือ ศาสนาคริสต์ ศาสนาอิสลาม และศาสนาบาไฮ รวมทั้งมีอิทธิพลต่อจริยธรรมและระบบซีวิลลอว์ตะวันตกทั้งทางตรงและทางอ้อม ชาวยิวเป็นกลุ่มชาติพันธุ์ศาสนา ซึ่งหมายรวมทั้งที่เป็นชาวยิวโดยกำเนิดและและคนที่เข้ารีตยิว ในปี..

ใหม่!!: ปีพิธีกรรมและศาสนายูดาห์ · ดูเพิ่มเติม »

ศาสนาคริสต์

นาคริสต์ (Christianity) ราชบัณฑิตยสถานเรียกว่า คริสต์ศาสนาราชบัณฑิตยสถาน, พจนานุกรมศัพท์ศาสนาสากล อังกฤษ-ไทย ฉบับราชบัณฑิตยสถาน, พิมพ์ครั้งที่ 3, ราชบัณฑิตยสถาน, 2548, หน้า 156 เป็นศาสนาประเภทเอกเทวนิยม ที่มีพื้นฐานมาจากชีวิตและการสอนของพระเยซูตามที่ปรากฏในพระวรสารในสารบบ (canonical gospel) และงานเขียนพันธสัญญาใหม่อื่น ๆ ผู้นับถือศาสนาคริสต์เรียกว่าคริสต์ศาสนิกชนหรือคริสตชน คริสตชนเชื่อว่าพระเยซูเป็นพระบุตรพระเป็นเจ้า และเป็นพระเจ้าผู้มาบังเกิดเป็นมนุษย์และเป็นพระผู้ช่วยให้รอด ด้วยเหตุนี้ คริสตชนจึงมักเรียกพระเยซูว่า "พระคริสต์" หรือ "พระเมสสิยาห์" Briggs, Charles A. The fundamental Christian faith: the origin, history and interpretation of the Apostles' and Nicene creeds. C. Scribner's sons, 1913.

ใหม่!!: ปีพิธีกรรมและศาสนาคริสต์ · ดูเพิ่มเติม »

ศีลอนุกรม

อัครมุขนายกเกรียงศักดิ์ โกวิทวาณิช ปกมือเหนือศีรษะผู้ขอบวชเพื่อโปรดศีลบวชเป็นบาทหลวงโรมันคาทอลิก เมื่อวันอาทิตย์ที่ 12 มิถุนายน พ.ศ. 2554 ณ เซมินารีนักบุญยอแซฟ สามพราน ศีลอนุกรม (Holy Orders) หรือศีลบวช บางตำราเรียกว่าศีลบรรพชา เป็นศีลศักดิ์สิทธิ์ในหลายคริสตจักร ได้แก่ โรมันคาทอลิก อีสเทิร์นคาทอลิก อีสเทิร์นออร์ทอดอกซ์ ออเรียนทัลออร์ทอดอกซ์ แองกลิคัน คริสตจักรอัสซีเรียนแห่งตะวันออก คาทอลิกเก่า อินดิเพนเดนต์คาทอลิก และบางส่วนของลูเทอแรน.

ใหม่!!: ปีพิธีกรรมและศีลอนุกรม · ดูเพิ่มเติม »

สะบาโต

วันสะบาโต (Sabbath Day; שומרי השבת) เป็นวันสำคัญทางศาสนายูดาห์และศาสนาคริสต์ สะบาโต มาจากภาษาฮีบรู "ซับบาธ" แปลว่า "พัก" พระเจ้าทรงสร้างโลก 6 วัน และทรงพักในวันที่ 7 เพื่อให้มนุษย์ได้ปฏิบัติเป็นแบบอย่าง ถือเป็นวันบริสุทธิ์ห้ามทำกิจกรรมใด ๆ ได้ถือว่าวันนี้เป็นวันพักผ่อน เป็นวันหยุดสุดสัปดาห์ ให้ทำกิจกรรมที่ถวายแด่พระเจ้า เช่น การอธิษฐาน การอ่านพระคัมภีร์ และการขอบคุณพระเจ้.

ใหม่!!: ปีพิธีกรรมและสะบาโต · ดูเพิ่มเติม »

อัครทูตสวรรค์

อัครทูตสวรรค์ทั้งสามในศาสนาคริสต์นิกายโรมันคาทอลิก อัครทูตสวรรค์ (Archangel) ในนิกายโรมันคาทอลิก หรือ หัวหน้าทูตสวรรค์ ในนิกายโปรเตสแตนต์ หมายถึงทูตสวรรค์ระดับสูง มีที่มาจากคำในภาษากรีก αρχάγγελος (arch- + angel) พบในความเชื่อของหลายศาสนาทั้งศาสนายูดาห์ ศาสนาคริสต์ และศาสนาอิสลาม ในศาสนายูดาห์และศาสนาคริสต์ส่วนมากถือเหมือนกันว่า อัครทูตสวรรค์ประกอบด้วย มีคาเอล และ กาเบรียล ส่วนหนังสือโทบิตได้นับรวม ราฟาเอล เป็นอัครทูตสวรรค์ด้วย แต่หนังสือเล่มนี้เป็นที่ยอมรับเข้าในสารบบคัมภีร์ไบเบิลเฉพาะในคริสตจักรโรมันคาทอลิกและออร์ทอดอกซ์เท่านั้น ส่วนคริสตจักรในนิกายโปรเตสแตนต์ไม่ยอมรับ ชาวโรมันคาทอลิกนิยมฉลองอัครทูตสวรรค์ทั้งมีคาเอล, กาเบรียล และราฟาเอล ในวันที่ 29 กันยายน (ในอดีตวันฉลองทูตสวรรค์กาเบรียลเป็นวันที่ 24 มีนาคม และฉลองทูตสวรรค์ราฟาเอลในวันที่ 24 ตุลาคม) อัครทูตสวรรค์ที่เป็นที่รู้จักในศาสนาอิสลาม คือ กาเบรียล, มีคาเอล, ราฟาเอล และอิสรออีล ส่วนจารีตอื่น ๆ ถือว่าอัครทูตสวรรค์มี 7 องค์ โดยนามจะแตกต่างกันไปตามแหล่งที่ม.

ใหม่!!: ปีพิธีกรรมและอัครทูตสวรรค์ · ดูเพิ่มเติม »

อัครทูตสวรรค์มีคาเอล

อัครทูตสวรรค์มีคาเอลพระคัมภีร์คาทอลิก ฉบับสมบูรณ์, หน้า 2428 (Αρχάγγελος Μιχαήλ) หรือ มีคาเอลหัวหน้าทูตสวรรค์ (Michael the archangel) เป็นอัครทูตสวรรค์องค์หนึ่งตามความเชื่อในศาสนายูดาห์ ศาสนาคริสต์ และศาสนาอิสลาม เชื่อกันว่าท่านเป็นผู้บัญชาการกองทัพของพระเป็นเจ้า ในหนังสือดาเนียล จดหมายของนักบุญยูดา และหนังสือวิวรณ์กล่าวว่าท่านเป็นผู้นำกองทัพพระเจ้าต่อสู้กับทัพของซาตานตอนที่ซาตานก่อกบฏ หนังสือดาเนียลระบุว่ามีคาเอลเป็นเจ้าผู้พิทักษ์ชั้นหัวหน้า ซึ่งปรากฏในนิมิตของดาเนียลผู้เผยพระวจนะว่าได้เข้าไปช่วยกาเบรียลต่อสู้กับทูตสวรรค์ผู้พิทักษ์จักรวรรดิเปอร์เซียที่มีนามว่าโดเบียล นอกจากนี้คัมภีร์ยังระบุว่าท่านเป็นองค์อุปถัมภ์วงศ์วานอิสราเอลและเจ้าผู้พิทักษ์ชั้นหัวหน้าผู้ปกป้องลูกหลานประชาชนของดาเนียล ในภาษาฮีบรู คำว่า มีคาเอล (Michael) แปลว่า "ผู้เหมือนพระเจ้า" (mi ผู้ใด, ke คือ/เป็น, El-พระเจ้า) ซึ่งมาจากสำนวนคำถามในคัมภีร์ทาลมุดที่ว่า “ผู้ใดจะเหมือนพระเจ้า?” (ตัวคำถามสื่อคำตอบในทางปฏิเสธว่าไม่มี) เพื่อที่จะบอกว่าไม่มีผู้ใดเสมอเหมือนพระเจ้า มีคาเอลจึงถือเป็นสัญลักษณ์ของความถ่อมตนต่อพระเจ้า ชาวโรมันคาทอลิก แองกลิคัน และลูเทอแรน เรียกท่านว่า”นักบุญมีคาเอลอัครทูตสวรรค์” หรือเรียกง่าย ๆ ว่านักบุญมีคาเอล ชาวออร์ทอดอกซ์เรียกท่านว่า “ทักสิอาร์คอัครทูตสวรรค์มีคาเอล” หรืออัครทูตสวรรค์มีคาเอล กลุ่มพยานพระยะโฮวา เซเวนเดย์แอดเวนทิสต์ และนิกายใหม่ ๆ บางนิกายในคริสต์ศาสนามองว่ามีคาเอลคือ “พระคริสต์มีคาเอล” ซึ่งหมายถึงพระคริสต์ในสภาพก่อนที่จะมาเกิดเป็นมนุษย์ ศาสนจักรของพระเยซูคริสต์แห่งวิสุทธิชนยุคสุดท้ายสอนว่ามีคาเอลที่จริงก็คืออาดัมตามหนังสือปฐมกาลนั่นเองที่ไปเกิดบนสวรรค์ และว่ามีคาเอลคือผู้ช่วยพระเยโฮวาห์ (ซึ่งอ้างว่าคือพระเยซูตอนอยู่บนสวรรค์) สร้างโลกตามการชี้นำของพระเจ้.

ใหม่!!: ปีพิธีกรรมและอัครทูตสวรรค์มีคาเอล · ดูเพิ่มเติม »

อัครทูตสวรรค์ราฟาเอล

ราฟาเอล หรืออิสรอฟีล (רָפָאֵל, Rāfāʾēl, "พระเจ้าเป็นผู้ทรงรักษา" "พระเจ้าทรงรักษา" "พระเจ้าได้โปรดรักษา", اسرافيل‎, Isrāfīl) เป็นอัครทูตสวรรค์ตามความเชื่อในศาสนายูดาห์ ศาสนาคริสต์ และศาสนาอิสลาม เชื่อกันว่าเป็นผู้ทำหน้าที่รักษาโร.

ใหม่!!: ปีพิธีกรรมและอัครทูตสวรรค์ราฟาเอล · ดูเพิ่มเติม »

อาหารค่ำมื้อสุดท้าย

“อาหารค่ำมื้อสุดท้าย” โดย ไซมอน อูชาคอฟ (Simon Ushakov) ราว ค.ศ. 1685 อาหารค่ำมื้อสุดท้าย (Last Supper, Lord's Supper, Mystical Supper) ตามความเชื่อของคริสต์ศาสนิกชนคืออาหารมื้อสุดท้ายที่พระเยซูเสวยร่วมกับสาวกของพระองค์ ก่อนจะมีการตรึงพระเยซูที่กางเขน “อาหารค่ำมื้อสุดท้าย” เป็นหัวเรื่องที่นิยมกันในการสร้างงานจิตรกรรม ภาพที่มีชื่อเสียงที่สุดคือภาพที่เขียนโดยเลโอนาร์โด ดา วินชี ตามคำกล่าวของนักบุญเปาโลอัครทูตในหนังสือโครินธ์ ระหว่างเสวยพระกระหารที่มีขนมปังและเหล้าองุ่น พระเยซูตรัสต่อสาวกว่า “จงดื่มเป็นที่ระลึกถึงเรา” เหตุการณ์อื่นและบทสนทนาบันทึกในพระวรสารสหทรรศน์และพระวรสารนักบุญยอห์น คริสต์ศาสนิกชนบางคนถือว่าเป็นรากฐานของศีลมหาสนิท ถ้วยที่ใช้ใส่ไวน์บางทีก็เรียกว่าจอกศักดิ์สิทธิ์ (Holy Chalice) และเป็นหนึ่งในวรรณกรรมเกี่ยวกับเรื่องถ้วยศักดิ์สิทธิ์ (Holy Grail) ในปรัมปราวิทยาในศาสนาคริสต.

ใหม่!!: ปีพิธีกรรมและอาหารค่ำมื้อสุดท้าย · ดูเพิ่มเติม »

อีสเทิร์นออร์ทอดอกซ์

อาสนวิหารพระโลหิตของพระผู้ช่วยให้รอด เซนต์ปีเตอร์สเบิร์ก ประเทศรัสเซีย คริสตจักรอีสเทิร์นออร์ทอดอกซ์ (Eastern Orthodox Church) เรียกโดยย่อว่าคริสตจักรออร์ทอดอกซ์ (The Orthodox Church) หรือคริสตจักรไบแซนไทน์ (The Byzantine Church) เป็นคริสตจักรที่ใหญ่เป็นอันดับสองในโลก คริสตจักรนี้ปฏิบัติตามหลักการทางเทววิทยาอย่างไม่มีการเปลี่ยนแปลงมาตั้งแต่สมัยศาสนาคริสต์ยุคแรก ศาสนจักรนี้เชื่อว่าคริสตจักรออร์โธด็อกซ์เป็นคริสตจักรแท้จริงเพียงหนึ่งเดียวที่ก่อตั้งโดยพระผู้เป็นเจ้า โดยสืบเนื่องมาจากอัครทูตของพระเยซูคริสต์ ออร์ทอดอกซ์ (Orthodox) หมายความว่า หลักคำสอนที่ถูกต้อง ซึ่งมาจากภาษากรีกคือ orthos แปลว่าถูกต้อง และ doxa แปลว่าคำสอน เมื่อในช่วงศาสนาคริสต์ยุคแรก ได้มีการเผยแพร่หลักคำสอนที่ผิด ซึ่งจะทำให้เกิดความผิดเพี้ยนของศาสนาจักร ซึ่งทางศาสนจักรออร์ทอดอกซ์ จึงได้เรียกตนเองว่าออร์ทอดอกซ์ เพื่อความเป็นศาสนจักรดั้งเดิม และต่อต้านหลักคำสอนนอกรีต อาจจะทำให้เกิดความแตกแยก ชาวออร์โธดอกซ์ถือว่าศาสนจักรออร์โธดอกซ์เป็นคริสตจักรแท้จริง ดั้งเดิม ศักดิ์สิทธิ์ สากล มีหลักคำสอนที่แท้จริงและดั้งเดิม มาตั้งแต่ศาสนาคริสต์ยุคแรกโดยไม่เคยเปลี่ยนหลักคำสอนใดๆ คริสตจักรออร์ทอดอกซ์แบ่งเป็นคริสตจักรย่อย ๆ แต่ละคริสตจักรมีอัครบิดร (หรือชาวอีสเทิร์นออร์ทอดอกซ์ในประเทศไทยเรียกว่า พระสังฆราช) เป็นประมุข ผู้มีหน้าที่เป็นผู้พิทักษ์ประเพณีของศาสนจักร และสามารถสืบสายกลับไปได้ถึงอัครทูตของพระเยซูโดยเฉพาะนักบุญอันดรูว์ คริสตจักรในกลุ่มอีสเทิร์นออร์ทอดอกซ์มักจะไม่เรียกตนเองว่า “อีสเทิร์นออร์ทอดอกซ์” แต่จะใช้ชื่อเฉพาะของกลุ่มที่บอกที่ตั้งของกลุ่มเช่น “คริสตจักรรัสเซียนออร์ทอดอกซ์” หรือ “คริสตจักรกรีกออร์ทอดอกซ์” "คริสตจักรเซอเบียร์ออร์ทอดอกซ์ หรือชาติอื่น ๆ คริสตจักรยุโรปตะวันออก เอเชียตะวันตก และทวีปแอฟริกาเหนือก็ใช้คำว่า “ออร์ทอดอกซ์” แต่ทางปฏิบัติจะแตกต่างกับ อีสเทิร์นออร์ทอดอกซ์ และจะเรียกตัวเองว่า ออเรียนทัลออร์ทอดอกซ.

ใหม่!!: ปีพิธีกรรมและอีสเทิร์นออร์ทอดอกซ์ · ดูเพิ่มเติม »

อีสเตอร์

นางมารีย์ชาวมักดาลากับพระเยซูที่ฟื้นคีนพระชนม์แล้ว อีสเตอร์ หรือ วันพระเยซูคริสต์ทรงคืนพระชนม์ (Easter; Ēostre หรือ date; Pascha ปัสคา; Πάσχα, Paskha; פַּסחא Pasḥa; มาจาก פֶּסַח Pesaḥ) คริสต์ศาสนิกชนนิกายโรมันคาทอลิกในประเทศไทยเรียกว่า วันสมโภชปัสกาพระเยซูเจ้าทรงกลับคืนพระชนมชีพ เป็นหนึ่งในเทศกาลที่สำคัญมากที่สุดในศาสนาคริสต์ จัดขึ้นเพื่อเฉลิมฉลองการคืนพระชนม์ของพระเยซูหลังจากที่ทรงถูกตรึงกางเขนและสิ้นพระชนม์ไปแล้วสามวัน โดยวันที่จะเปลี่ยนไปในแต่ละปีแต่กำหนดให้ทุกปีต้องจัดขึ้นในวันอาทิตย์ (เพราะเป็นวันที่ทรงถูกตรึงกางเขนตามพระคัมภีร์) เรียก วันอีสเตอร์ นอกจากนี้วันอีสเตอร์ถือเป็นวันสิ้นสุดเทศกาลมหาพรตซึ่งเป็นช่วงเวลา 40 วันที่คริสต์ศาสนิกชนถือศีลอดและสวดภาวนาเป็นพิเศษ สัปดาห์สุดท้ายของเทศกาลมหาพรตเรียกว่าสัปดาห์ศักดิ์สิทธิ์ วันศุกร์ของสัปดาห์ศักดิ์สิทธิ์เรียกวันศุกร์ศักดิ์สิทธิ์ (หรือที่ชาวโปรเตสแตนต์เรียกวันศุกร์ประเสริฐ) เป็นวันที่พระเยซูโดนตรึงกางเขน หลังจากวันอีสเตอร์เป็นเทศกาลปัสกา (Eastertide) 50 วัน และจบเทศกาลในวันอาทิตย์สมโภชพระจิตเจ้า ประเพณีในการเฉลิมฉลองแตกต่างกันทั่วโลก แต่การตกแต่งไข่อีสเตอร์และกิจกรรมค้นหาไข่เป็นที่นิยมกันมากที่สุดในหมู่เด็ก.

ใหม่!!: ปีพิธีกรรมและอีสเตอร์ · ดูเพิ่มเติม »

ทูตสวรรค์

''บทเพลงของทูตสวรรค์'' โดย บูเกอโร, 1825–1905. ทูตสวรรค์ หรือ เทวทูต (angel) คือชาวสวรรค์จำพวกหนึ่งตามความเชื่อทางศาสนาและในเทพปกรณัมต่าง ๆ โดยมีหน้าที่เป็นผู้แจ้งข่าวสารจากสวรรค์มายังโลก บ้างก็ทำหน้าที่อารักขา แนะนำ หรือมอบหมายภารกิจแก่มนุษย์ คำนี้แปลมาจากคำว่า ἄγγελος ในภาษากรีก ซึ่งตรงกับคำว่า מלאך (มลัก) ในคัมภีร์ฮีบรู (ทานัค) และเป็นคำเดียวกับคำว่า ملائكة (มลาอิกะฮ์) ที่ปรากฏในคัมภีร์อัลกุรอาน ศัพท์เดิมในภาษาฮีบรูและภาษากรีกนี้แปลว่า ผู้แจ้งข่าว ซึ่งอาจเป็นมนุษย์ (ทั้งผู้เผยพระวจนะ ปุโรหิต และคนสามัญ) หรืออมนุษย์ก็ได้แล้วแต่บริบทในคัมภีร์ ที่เป็นอมนุษย์นั้นเป็นได้ทั้ง ผู้แจ้งข่าวจากพระเจ้า ลักษณะเฉพาะด้านของพระเจ้า (เช่น กฎจักรวาล) หรือแม้แต่พระเป็นเจ้าเองที่ทรงเป็นผู้แจ้งข่าว (theophanic angel) คำว่า "ทูตสวรรค์" ยังถูกใช้หมายถึงวิญญาณในศาสนาอื่น ๆ ด้วย นอกจากการแจ้งข่าวแล้ว ทูตสวรรค์ยังมีหน้าที่ปกป้องและนำทางมนุษย์ รวมถึงปฏิบัติหน้าที่ตามที่พระเจ้ามอบหมายให้สำเร็จลุล่วง เทววิทยาที่ศึกษาเกี่ยวกับทูตสวรรค์เรียกว่า “วิทยาการทูตสวรรค์” (angelology) ในงานศิลปะทูตสวรรค์มักปรากฏภาพเป็นชายมีปีก ซึ่งอาจมาจากหนังสือวิวรณ์เรื่องสัตว์สี่ตัว (4:6-8) และคัมภีร์ฮีบรูเรื่องเครูบและเสราฟิม แต่คัมภีร์ไบเบิลระบุว่าเครูบและเสราฟิมมีปีก ไม่เคยกล่าวถึงทูตสวรรค์ว่ามีปีกด้ว.

ใหม่!!: ปีพิธีกรรมและทูตสวรรค์ · ดูเพิ่มเติม »

ครอบครัวศักดิ์สิทธิ์

ในศาสนาคริสต์ ครอบครัวศักดิ์สิทธิ์ หรือ พระวิสุทธิวงศ์ (Holy Family) ประกอบด้วยพระกุมารเยซู พระนางมารีย์พรหมจารี และนักบุญโยเซฟ.

ใหม่!!: ปีพิธีกรรมและครอบครัวศักดิ์สิทธิ์ · ดูเพิ่มเติม »

คริสต์มาส

ริสต์มาส (Christmas; Crīstesmæsse, หมายถึง "พิธีมิสซาของพระคริสต์") หรือ วันสมโภชพระสมภพ (Feast of the Nativity) จัดขึ้นเป็นประจำทุกปีเพื่อเฉลิมฉลองการประสูติของพระเยซู, The Catholic Encyclopedia, 1913.

ใหม่!!: ปีพิธีกรรมและคริสต์มาส · ดูเพิ่มเติม »

ตรีเอกภาพ

จิตรกรรมฝาผนัง “ตรึเอกภาพ” โดยลูคา โรสเซ็ทที (Luca Rossetti) แสดงให้เห็นพระเจ้าพระบิดา (พระยาห์เวห์) พระเจ้าพระบุตร (พระเยซู) และพระวิญญาณบริสุทธิ์ ในรูปของนกพิราบ (ค.ศ. 1738-ค.ศ. 1739) ที่โบสถ์เซนต์กอเซนซิโอ ที่เมื่องอิฟเรีย ใกล้ตูริน ตรีเอกภาพ (ศัพท์โรมันคาทอลิกและอีสเทิร์นออร์ทอดอกซ์) หรือ ตรีเอกานุภาพ (ศัพท์โปรเตสแตนต์) (Trinity) คือภาวะที่พระเป็นเจ้าพระองค์เดียวเป็นเอกภาพ แต่ปรากฏเป็นสามพระบุคคล คือ พระบิดา พระบุตร (เชื่อว่ามาเกิดเป็นพระเยซู) และพระวิญญาณบริสุทธิ์ ตั้งแต่คริสต์ศตวรรษที่ 4 เทววิทยาศาสนาคริสต์ทั้งทางตะวันออกและตะวันตกยอมรับว่า “ในพระเจ้าเดียว มีสามพระบุคคล” สามสิ่งนี้ต่างบุคคลกันแต่มีธรรมชาติเดียวคือความเป็นพระเจ้า ทางปรัชญายังกล่าวต่อไปว่าพระบุตรหรือพระเยซูมีสองธรรมชาติรวมอยู่ในบุคคลเดียวกัน คือความเป็นพระเจ้าและขณะเดียวกันก็เป็นมนุษย์ (hypostatic union) ความเชื่อเรื่อง “ตรีเอกภาพ” เรียกว่า “ตรีเอกภาพนิยม” คริสตจักรเกือบทุกคริสตจักรในคริสต์ศาสนามีความเชื่อแบบ “ตรีเอกภาพนิยม” และถือว่าเป็นรากฐานของคำสอนของคริสต์ศาสนาHarris, Stephen L. (1985) Understanding the Bible Palo Alto: Mayfield.

ใหม่!!: ปีพิธีกรรมและตรีเอกภาพ · ดูเพิ่มเติม »

ซีโมนเปโตร

ซีโมนเปโตร (Σιμων Πέτρος ซีมอน เปโตฺรส) หรืออัครทูตเปโตร (Απόστολος Πέτρος อะโปสโตโลส เปโตฺรส) ชาวคาทอลิกเรียกว่านักบุญเปโตร (Saint Peter) เดิมชื่อซีโมน เป็นชาวประมงคนหนึ่งของตำบลเบทไซดา (ลก. 5:3;ยน.1:44) แต่ว่าต่อมาได้ย้ายมาตั้งหลักแหล่งที่เมืองคาร์เปอร์นาอุม (มก. 1: 21.29) นักบุญอันดรูว์ น้องชายของท่านได้เป็นคนแนะนำให้ท่านติดตามพระเยซู (ยน. 1:42) และอาจเป็นนักบุญยอห์นผู้ให้บัพติศมาที่ได้เป็นผู้ตระเตรียมจิตใจของท่านสำหรับการพบปะครั้งสำคัญของท่านกับพระเยซู พระเยซูทรงได้เปลี่ยนชื่อท่านใหม่ว่าเปโตร ซึ่งแปลว่า "ศิลา" (มธ. 16: 17-19) ครั้งหนึ่งพระเยซูตรัสถามท่านว่า "ท่านคิดว่าเราเป็นใคร" และเปโตรได้ทูลว่า "พระองค์คือพระคริสต์ พระบุตรพระเป็นเจ้า" พระเยซูจึงตรัสว่า "เราจะตั้งเราเป็นหัวหน้าแทนท่าน ทั้งจะมอบกุญแจอาณาจักรสวรรค์" (มธ. 16: 15-19) สัญลักษณ์ที่เห็นเด่นชัดในภาพคือ มือของท่านมีลูกกุญแจ เปโตรเป็นพยานบุคคลผู้หนึ่งที่ได้แลเห็นพระคูหาว่างเปล่าของพระอาจารย์ (ยน. 20:6) และได้เห็นการคืนพระชนม์ของพระเยซู (ลก. 23:34) หลังจากที่พระเยซูเสด็จขึ้นสู่สวรรค์แล้ว ท่านก็ทำหน้าที่เป็นผู้นำบรรดาคริสตชน (กจ. 1: 15; 15:7) ได้กล่าวสรุปข่าวดี (พระวรสาร) (กจ. 2:14-41) และท่านเองเป็นคนแรกที่เห็นความจำเป็นที่จะต้องเปิดคริสตจักรไปสู่พวกคนต่างชาติ (กจ.10-11) เปโตรเขียนจดหมาย 2 ฉบับที่ทรงคุณค่าอย่างมากคือ 1 และ 2 เปโตร ท้ายที่สุดเปโตรได้เสียสละชีวิตเพื่อพระเยซูตามคำทำนายของพระองค์ (ยน 21.18-19) ภารกิจด้านวิญญาณที่ได้รับมอบหมายมิใช่ว่าจะช่วยให้ท่านหมดจากสภาพของความเป็นคนหรือจากข้อบกพร่องต่าง ๆ ทางอารมณ์ก็หาไม่ (มธ.10: 41; 14:26,66-72; ยน. 13: 6;18:10; มธ. 14: 29-31) เปาโลอัครทูตเองก็มิได้ลังเลใจแต่อย่างใดที่จะพูดจาต่อว่าท่านเวลาที่พบกันที่เมืองแอนติออก (กจ.15; กท. 2:11-14) เพื่อเชิญชวนท่านว่าไม่ต้องปฏิบัติตามแบบของพวกยิว ในเรื่องนี้รู้สึกว่าเปโตร ยังตัดสินใจช้าและยังถือว่ากลุ่มคริสตชนซึ่งเดิมทีเป็นคนต่างศาสนาก็ยังด้อยกว่าหรือเป็นรองกลุ่มคริสตชนที่เดิมทีเป็นชาวยิว (กจ. 6: 1-2) ต่อเมื่อเปโตรได้มาที่กรุงโรม เมื่อนั้นแหละท่านจึงจะได้กลายเป็นอัครทูตของทุก ๆ คน และได้ทำหน้าที่ของท่านอย่างครบถ้วนคือเป็น "ศิลาหัวมุม" ของคริสตจักรของพระเยซูโดยรวมชาวยิวและคนต่างศาสนาให้เข้ามาอยู่ภายในอาคารเดียวกัน และท่านได้ประทับตราภารกิจหน้าที่นี้ด้วยการหลั่งโลหิตของท่านตามแบบพระอาจารย์ คริสตจักรโรมันคาทอลิกถือว่าท่านเป็นพระสันตะปาปาองค์แรก ท่านถูกจับตรึงกางเขน และได้ขอร้องให้หันศีรษะท่านลง เพราะคิดว่าไม่สมควรที่จะตายในลักษณะเดียวกับพระเยซูผู้เป็นพระอาจาร.

ใหม่!!: ปีพิธีกรรมและซีโมนเปโตร · ดูเพิ่มเติม »

ปฏิทินเกรโกเรียน

ปฏิทินเกรโกเรียน (Gregorian Calendar) เป็นปฏิทินที่ดัดแปลงมาจากปฏิทินจูเลียน ใช้กันแพร่หลายในประเทศตะวันตก ประกาศใช้ครั้งแรกโดยสมเด็จพระสันตะปาปาเกรโกรีที่ 13 เมื่อ 24 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2125 (ค.ศ. 1582) เหตุที่มีการคิดค้นปฏิทินเกรกอเรียนขึ้นใช้แทน เนื่องจากปีในปฏิทินจูเลียน ซึ่งยาวนาน 365.25 วันนั้น มีนานกว่าปีฤดูกาลจริง (365.2425 วัน) อยู่เล็กน้อย ทำให้วันวสันตวิษุวัตของแต่ละปี ขยับเร็วขึ้นทีละน้อย เพื่อที่จะให้วันอีสเตอร์ตรงกับวันที่ 21 มีนาคม (วันวสันตวิษุวัต) จึงจำเป็นต้องปฏิรูปปฏิทิน เนื่องจากสมเด็จพระสันตะปาปาทรงปรับปรุงปฏิทินโดยมีผลย้อนหลัง กำหนดให้ถัดจากวันที่ 4 ตุลาคม..

ใหม่!!: ปีพิธีกรรมและปฏิทินเกรโกเรียน · ดูเพิ่มเติม »

ปัสคา

อาหารที่ชาวยิวรับประทานในเทศกาลปัสกา ปัสคา หรือ ปัสกา (פֶּסַח, Pesach; Passover - แปลว่า ผ่านเว้น) เป็นเทศกาลที่ชาวยิวระลึกถึงการที่พระยาห์เวห์ทรงนำพวกเขาออกจากการเป็นทาสในอียิปต์ ในช่วงประมาณ 1,500 ปีก่อนคริสตกาล โดยในคืนก่อนที่ฟาโรห์จะยอมปล่อยวงศ์วานอิสราเอลให้ออกเดินทาง พระยาห์เวห์ทรงสำแดงปาฏิหาริย์ให้เกิดภัยพิบัติประการที่ 10 หลังจากที่ฟาโรห์ปฏิเสธที่ปล่อยพวกอิสราเอล ตามคำบัญชาของพระเจ้ามาแล้ว 9 ครั้ง ภัยพิบัติประการที่ 10 คือ ทูตมรณะจะเข้าไปในทุกครัวเรือนของชาวอียิปต์ เพื่อปลิดชีพของบุตรหัวปีของทุกครอบครัว ยกเว้นแต่ครอบครัวที่เชื่อฟังพระยาห์เวห์ โดยการนำเอาโลหิตของลูกแกะปัสคา มาทาไว้ที่ประตูบ้านของตน บ้านใดได้กระทำตามที่พระยาห์เวห์ทรงบัญชา ทูตมรณะก็จะไม่เข้าไปในบ้าน แต่จะ "ผ่านไป" (ซึ่งเป็นที่มาของชื่อ Passover) และบุตรหัวปีของครอบครัวนั้นก็จะรอดต.

ใหม่!!: ปีพิธีกรรมและปัสคา · ดูเพิ่มเติม »

นักบุญโยเซฟ

ซฟ (יוֹסֵף Yosef) ชาวคาทอลิกเรียกว่านักบุญยอแซฟ เป็นนักบุญในศาสนาคริสต์ เกิดเมื่อประมาณคริสต์ศตวรรษที่ 1 และเสียชีวิตในคริสต์ศตวรรษเดียวกัน ที่เมืองนาซาเร็ธในประเทศอิสราเอลปัจจุบัน นักบุญโยเซฟสืบสายมาจากตระกูลกษัตริย์ดาวิด คัมภีร์พันธสัญญาใหม่ระบุว่าเป็นสามีของนางมารีย์ (มารดาพระเยซู) นักบุญโยเซฟมิใช่บิดาตามเชึ้อสายของพระเยซูแต่ก็ถือกันว่าเป็นบิดาบุญธรรมและเป็นหัวหน้าของ “ครอบครัวศักดิ์สิทธิ์” หรือ “ครอบครัวพระเยซู” (Holy Family) เชี้อสายตามหลักฐานของพระวรสารนักบุญมัทธิว กล่าวว่าพ่อของนักบุญโยเซฟชื่อยาโคบ แต่ตามหลักฐานของพระวรสารนักบุญลูกา กล่าวว่าพ่อของนักบุญโยเซฟชื่อเฮลี พระวรสารในสารบบไม่ได้ระบุวันและสถานที่เกิดและตายของโยเซฟ เท่าที่ทราบโยเซฟอยู่ที่เมืองนาซาเรธ ใน กาลิลี อยู่ที่เบธเลเฮม ในแคว้นยูเดียเป็นเวลาอีกสองปี และถูกบังคับให้ไปลี้ภัยไปอยู่อียิปต์อีกระยะหนึ่ง แม้ว่า “พระวรสารสหทรรศน์” จะไม่ได้กล่าวถึงอายุของโยเซฟแต่จากเอกสารอื่น ๆ โยเซฟเป็นพ่อหม้ายลูกติดเมื่อแต่งงานกับมารีย์ และมารีย์เป็นหม้ายเมื่อพระเยซูออกเทศนาและเมื่อพระเยซูทรงรับพระทรมาน ฉะนั้นจึงสันนิษฐานว่าโยเซฟเสียชีวิตก่อนที่พระเยซูสิ้นพระชนม์ อาชีพของโยเซฟตามที่บรรยายในพระวรสารว่าเป็น τεκτων, ภาษากรีกหมายถึงช่างแต่ในศาสนาคริสต์ถือกันว่าโยเซฟเป็นผู้ทำงานกับไม้หรือช่างไม้ แต่ในภาษาอังกฤษปัจจุบันใช้คำว่า “joiner” หรือ “cabinet-maker” หรือช่างทำเฟอร์นิเจอร์ซึ่งเหมาะกับความหมายในภาษากรีกมากกว่า นอกจากนั้นแล้วพระวรสารก็มิได้กล่าวถึงโยเซฟ และไม่มีบทพูด มิได้บอกสถานที่เกิดและสถานที่เสียชีวิต และเวลาต่างที่เกี่ยวกับโยเซฟก็แตกต่างกัน บางครั้งก็จะกล่าวว่าอายุมากกว่ามารีมาก และบางครั้งก็เพียงไม่กี่ปี บางวรสารกล่าวว่าโยเซฟเป็นพ่อหม้ายลูกติดเมื่อแต่งงานกับมารีย์ ในพระวรสารกล่าวถึงโยเซฟเมื่อพระเยซูไปเยรูซาเลมเมื่ออายุสิบสองปี แต่ไม่มีอะไรที่กล่าวถึงโยเซฟหลังจากนั้น เอกสารเกี่ยวกับเวลาเสียชีวิตไม่ชัดเจนแต่เมื่อพระเยซูออกเทศนามารีย์ก็เป็นหม้ายแล้ว ในนิกายโรมันคาทอลิกถือว่านักบุญโยเซฟเป็นนักบุญองค์อุปถัมภ์กรรกรและมีวันสมโภชหลายวัน และในปี..

ใหม่!!: ปีพิธีกรรมและนักบุญโยเซฟ · ดูเพิ่มเติม »

แม่พระบังเกิด

แม่พระบังเกิด (Nativity of Mary) หมายถึง วันเกิดหรือการเกิดของพระนางมารีย์พรหมจารี เหตุการณ์นี้ไม่ปรากฏในคัมภีร์ไบเบิล แต่ปรากฏในพระวรสารนักบุญยากอบซึ่งเป็นพระวรสารนอกสารบบที่เขียนขึ้นในคริสต์ศตวรรษที่ 2 พระวรสารนี้ระบุด้วยว่าบิดามารดาของพระแม่มารีย์คือนักบุญโยอาคิมและนักบุญอันนา วันฉลองแม่พระบังเกิดในคริสตจักรโรมันคาทอลิกและแองกลิคันคอมมิวเนียนตรงกับวันที่ 8 กันยายน โดยนับจากวันสมโภชพระนางมารีย์ผู้ปฏิสนธินิรมล (8 ธันวาคม) ไป 9 เดือน.

ใหม่!!: ปีพิธีกรรมและแม่พระบังเกิด · ดูเพิ่มเติม »

แม่พระรับสาร

“แม่พระรับสาร” รูปเคารพจากมาเซโดเนีย แม่พระรับสาร (Annunciation, Annunciation of Mary, Annunciation of the Lady หรือ Annunciation of the Blessed Virgin Mary) หมายถึง เหตุการณ์ที่ที่พระแม่มารีย์รับสารจากทูตสวรรค์กาเบรียลว่านางจะตั้งครรภ์พระบุตรพระเป็นเจ้า เหตุการณ์แม่พระรับสารเกิดเมื่อไร ไม่ทราบได้ แต่เมื่อมีการฉลองวันการประสูติของพระเยซูในวันที่ 25 ธันวาคมของทุกปี ก็มีผู้ริเริ่มจัดการฉลองเหตุการณ์แม่พระรับสารนี้ขึ้นในวันที่ 25 มีนาคมของทุกปี เรียกว่า "วันแม่พระรับสาร" (Annunciation of the Lady's Day) โดยนับถอยหลังจากวันคริสต์มาสขึ้นไปเก้าเดือน นอกจากนี้ เหตุการณ์แม่พระรับสารเกิดที่ไหนก็ไม่มีใครทราบได้ ทว่าฝ่ายออร์ทอดอกซ์เชื่อว่าเกิดที่เมืองนาซาเรธ ประเทศอิสราเอล ที่ "โบสถ์ออร์ทอดอกซ์แม่พระรับสาร" (Orthodox Church of the Annunciation) ส่วนฝ่ายโรมันคาทอลิกก็เชื่อว่าเกิดที่เมืองนาซาเรธนั้น และเกิดที่ "โบสถ์แม่พระรับสาร" (Church of the Annunciation).

ใหม่!!: ปีพิธีกรรมและแม่พระรับสาร · ดูเพิ่มเติม »

แม่พระรับเกียรติยกขึ้นสวรรค์

วาดบรรยายเหตุการณ์เมื่อพระนางมารีย์พรหมจารีถูกรับขึ้นสวรรค์ทั้งร่างกายและวิญญาณ พระนางมารีย์รับเกียรติเข้าสู่สวรรค์ หรือ แม่พระรับเกียรติยกขึ้นสวรร.

ใหม่!!: ปีพิธีกรรมและแม่พระรับเกียรติยกขึ้นสวรรค์ · ดูเพิ่มเติม »

แม่พระปฏิสนธินิรมล

''La Purisima Inmaculada Concepcion'' วาดโดยบาร์โตโลเม เอสเตบัน มูรีโย ปี 1678 ปัจจุบันอยู่ที่ มูเซโอเดลปราโด ประเทศสเปน พระนางมารีย์ผู้ปฏิสนธินิรมล หรือ แม่พระปฏิสนธินิรมล.

ใหม่!!: ปีพิธีกรรมและแม่พระปฏิสนธินิรมล · ดูเพิ่มเติม »

โบสถ์คริสต์

อารามเอททัล โบสถ์แบบฟื้นฟูคลาสสิกเซนต์นิโคโลที่เมืองมองทู โรโร ประเทศอิตาลี มหาวิหารแฮรฟอร์ด, อังกฤษ ด้านหน้ามหาวิหารปิซา, อิตาลี โบสถ์น้อยที่ Malsch ประเทศเยอรมนี แท่นบูชาภายในคูหาสวดมนต์ มหาวิหารอาเคิน ประเทศเยอรมนี ภายในโบสถ์น้อยแม่พระในมหาวิหารกลอสเตอร์, อังกฤษ อนุสาวรีย์พระตรีเอกภาพที่ประเทศสโลเวเนีย หอล้างบาปที่ปิซา อิตาลี สักการสถานริมทางในประเทศโปแลนด์ โบสถ์คริสต์ หมายถึง ศาสนสถานที่ใช้ประกอบพิธีกรรมในศาสนาคริสต.

ใหม่!!: ปีพิธีกรรมและโบสถ์คริสต์ · ดูเพิ่มเติม »

เทศกาลมหาพรต

ผ้าคลุมไม้กางเขนที่โบสถ์แห่งหนึ่งในประเทศเยอรมนี เทศกาลมหาพรต (คาทอลิก) หรือเทศกาลเข้าสู่ธรรม (โปรเตสแตนต์) ราชบัณฑิตยสถาน, พจนานุกรมศัพท์ศาสนาสากล ฉบับราชบัณฑิตยสถาน, พิมพ์ครั้งที่ 3, ราชบัณฑิตยสถาน, 2552, หน้า 314-5 (Lent; Quadragesima แปลว่า ที่สี่สิบ เว็บไซต์อัครสังฆมณฑลกรุงเทพฯ) เป็นหนึ่งในเทศกาลสำคัญของศาสนาคริสต์ เริ่มต้นจากวันพุธรับเถ้าและสิ้นสุดวันอีสเตอร์ รวม 40 วัน โดยเทศกาลนี้มีไว้เพื่อระลึกถึงพระทรมานและการคืนพระชนม์ของพระเยซูคริสต์ โดยกิจที่คริสต์ศาสนิกชนปฏิบัติในช่วงนี้คือการอธิษฐาน การบริจาคสิ่งของ การอดอาหาร และการไม่ฟุ่มเฟือย ทั้งนี้ระยะเวลา 40 วันมีความสำคัญเนื่องจากเรื่องราวในคัมภีร์ไบเบิลมีความเกี่ยวข้องกับตัวเลข 40 ไม่ว่าจะเป็น การบำเพ็ญเพียรอดอาหารของพระเยซูเป็นเวลา 40 วัน โมเสสอยู่บนเขากับพระเจ้า 40 วัน เกิดน้ำท่วมโลกในสมัยโนอาห์ 40 วัน และการอพยพของชาวยิวเข้าสู่ดินแดนแห่งพันธสัญญาก็ใช้เวลายาวนานถึง 40 ปี อย่างไรก็ดีเมื่อนับวันจริง ๆ แล้วจะเป็น 46 วัน เนื่องจากชาวคริสต์จะไม่จำศีลอดอาหารในวันอาทิตย์ จึงเหลือเพียง 36 วันและต้องเพิ่มวันจำศีลอีก 4 วันให้ครบ 40 วัน เทศกาลมหาพรตจึงเลื่อนมาเริ่มในวันพุธ (วันพุธรับเถ้า) ต่างกับเทศกาลอื่น ๆ ที่เริ่มจากวันอาทิตย์แรกธรรมเนียมนี้ปฏิบัติกันในเฉพาะฝั่งศาสนาคริสต์ตะวันตก ส่วนในศาสนาคริสต์ตะวันออกจะเริ่มต้นวันจันทร์ เรียกว่า "วันจันทร์สะอาด" (Clean Monday) เว็บไซต์คริสตจักรวัฒนา ชาวคริสต์หมู่มากฉลองเทศกาลนี้ (เช่น โรมันคาทอลิก โปรเตสแตนต์ และแองกลิคัน) ขณะที่บางกลุ่มเริ่มให้ความสำคัญกับเทศกาลนี้มากขึ้น (เช่น คริสตจักรแบปทิสต์).

ใหม่!!: ปีพิธีกรรมและเทศกาลมหาพรต · ดูเพิ่มเติม »

เทศกาลเพนเทคอสต์

ทศกาลเพนเทคอสต์ราชบัณฑิตยสถาน, พจนานุกรมศัพท์ศาสนาสากล อังกฤษ-ไทย ฉบับราชบัณฑิตยสถาน, ราชบัณฑิตยสถาน, 2548, หน้า 420-1 (ราชบัณฑิตยสถาน) หรือ วันเปนเตกอสเต (โรมันคาทอลิก) มาจากคำว่า Πεντηκοστή ในภาษากรีก ซึ่งแปลว่า "(วัน) ที่ 50" เพราะเป็นวันที่ 50 นับจากวันสมโภชปัสคา วงศ์วานอิสราเอลจัดเทศกาลนี้ขึ้นเพื่อเป็นการระลึกถึงการที่พระยาห์เวห์ได้ประทานธรรมบัญญัติแก่โมเสสที่ภูเขาซีนาย ส่วนคริสต์ศาสนิกชนถือวันนี้เป็นการเฉลิมฉลองเหตุการณ์ที่พระวิญญาณบริสุทธิ์ได้ลงมาประทับบนอัครทูตเพื่อเป็นกำลังในการประกาศข่าวดีต่อมวลมนุษย์ คริสตจักรโรมันคาทอลิกจึงถือวันนี้เป็นวันสมโภชพระจิตเจ้า และนับเป็นวันเกิดของคริสตจักรด้ว.

ใหม่!!: ปีพิธีกรรมและเทศกาลเพนเทคอสต์ · ดูเพิ่มเติม »

เซนต์

"นักบุญทั้งหลาย" วาดโดยฟราอันเจลีโก เซนต์ (Saint) ชาวคาทอลิกและชาวออร์ทอดอกซ์ เรียกว่านักบุญ หมายถึง ผู้ศักดิ์สิทธิ์Wycliffe Bible Encyclopedia, "saint", ISBN 0-8024-9697-0, "Christians in general are 'saints' in NT usage, and the term is common in reference to the inclusive membership of a local church.

ใหม่!!: ปีพิธีกรรมและเซนต์ · ดูเพิ่มเติม »

เปาโลอัครทูต

นักบุญเปาโลอัครทูต (St.) หรือนักบุญเปาโลแห่งทาร์ซัส (St.; San Paolo di Tarso) หรือนักบุญเปาโล มาจาก ภาษากรีก “Šaʾul HaTarsi” หมายถึง “เซาโลแห่งทาร์ซัส” มาจาก “Σαουλ” “Saul” หรือ “Σαῦλος” “Saulos” หรือ “Παῦλος” “Paulos” เป็น “อัครทูตถึงชนต่างชาติ” (Apostle to the Gentiles) พร้อมกับนักบุญเปโตรและนักบุญยากอบผู้ชอบธรรม (James the Just), เป็นมิชชันนารีที่สำคัญที่สุดในศาสนาคริสต์ยุคแรก แต่ไม่เคยพบพระเยซูดังเช่นอัครทูตท่านอื่นๆ ไม่มีหลักฐานใดที่กล่าวว่านักบุญเปาโลเคยพบพระองค์ด้วยตนเองก่อนที่จะถูกตรึงกางเขนตามที่กล่าวใน “กิจการของอัครทูต” นักบุญเปาโลมานับถือศาสนาคริสต์ระหว่างที่เดินทางไป ดามัสกัส จากการที่ได้เห็นพระเยซูผู้ฟื้นคืนพระชนม.

ใหม่!!: ปีพิธีกรรมและเปาโลอัครทูต · ดูเพิ่มเติม »

1 พฤศจิกายน

วันที่ 1 พฤศจิกายน เป็นวันที่ 305 ของปี (วันที่ 306 ในปีอธิกสุรทิน) ตามปฏิทินสุริยคติแบบเกรกอเรียน เมื่อถึงวันนี้จะยังเหลือวันอีก 60 วันในปีนั้น.

ใหม่!!: ปีพิธีกรรมและ1 พฤศจิกายน · ดูเพิ่มเติม »

1 มกราคม

วันที่ 1 มกราคม เป็นวันแรกของปี ตามปฏิทินสุริยคติแบบเกรกอเรียน เมื่อถึงวันนี้จะยังเหลือวันอีก 364 วันในปีนั้น (365 วันในปีอธิกสุรทิน).

ใหม่!!: ปีพิธีกรรมและ1 มกราคม · ดูเพิ่มเติม »

11 กุมภาพันธ์

วันที่ 11 กุมภาพันธ์ เป็นวันที่ 42 ของปี ตามปฏิทินสุริยคติแบบเกรกอเรียน เมื่อถึงวันนี้จะยังเหลือวันอีก 323 วันในปีนั้น (324 วันในปีอธิกสุรทิน).

ใหม่!!: ปีพิธีกรรมและ11 กุมภาพันธ์ · ดูเพิ่มเติม »

12 กันยายน

วันที่ 12 กันยายน เป็นวันที่ 255 ของปี (วันที่ 256 ในปีอธิกสุรทิน) ตามปฏิทินสุริยคติแบบเกรกอเรียน เมื่อถึงวันนี้จะยังเหลือวันอีก 110 วันในปีนั้น.

ใหม่!!: ปีพิธีกรรมและ12 กันยายน · ดูเพิ่มเติม »

12 ธันวาคม

วันที่ 12 ธันวาคม เป็นวันที่ 346 ของปี (วันที่ 347 ในปีอธิกสุรทิน) ตามปฏิทินสุริยคติแบบเกรกอเรียน เมื่อถึงวันนี้จะยังเหลือวันอีก 19 วันในปีนั้น.

ใหม่!!: ปีพิธีกรรมและ12 ธันวาคม · ดูเพิ่มเติม »

13 พฤษภาคม

วันที่ 13 พฤษภาคม เป็นวันที่ 133 ของปี (วันที่ 134 ในปีอธิกสุรทิน) ตามปฏิทินสุริยคติแบบเกรกอเรียน เมื่อถึงวันนี้จะยังเหลือวันอีก 232 วันในปีนั้น.

ใหม่!!: ปีพิธีกรรมและ13 พฤษภาคม · ดูเพิ่มเติม »

14 กันยายน

วันที่ 14 กันยายน เป็นวันที่ 257 ของปี (วันที่ 258 ในปีอธิกสุรทิน) ตามปฏิทินสุริยคติแบบเกรกอเรียน เมื่อถึงวันนี้จะยังเหลือวันอีก 108 วันในปีนั้น.

ใหม่!!: ปีพิธีกรรมและ14 กันยายน · ดูเพิ่มเติม »

15 สิงหาคม

วันที่ 15 สิงหาคม เป็นวันที่ 227 ของปี (วันที่ 228 ในปีอธิกสุรทิน) ตามปฏิทินสุริยคติแบบเกรกอเรียน เมื่อถึงวันนี้จะยังเหลือวันอีก 138 วันในปีนั้น.

ใหม่!!: ปีพิธีกรรมและ15 สิงหาคม · ดูเพิ่มเติม »

19 มีนาคม

วันที่ 19 มีนาคม เป็นวันที่ 78 ของปี (วันที่ 79 ในปีอธิกสุรทิน) ตามปฏิทินสุริยคติแบบเกรกอเรียน เมื่อถึงวันนี้จะยังเหลือวันอีก 287 วันในปีนั้น.

ใหม่!!: ปีพิธีกรรมและ19 มีนาคม · ดูเพิ่มเติม »

2 พฤศจิกายน

วันที่ 2 พฤศจิกายน เป็นวันที่ 306 ของปี (วันที่ 307 ในปีอธิกสุรทิน) ตามปฏิทินสุริยคติแบบเกรกอเรียน เมื่อถึงวันนี้จะยังเหลือวันอีก 59 วันในปีนั้น.

ใหม่!!: ปีพิธีกรรมและ2 พฤศจิกายน · ดูเพิ่มเติม »

2 กุมภาพันธ์

วันที่ 2 กุมภาพันธ์ เป็นวันที่ 33 ของปี ตามปฏิทินสุริยคติแบบเกรกอเรียน เมื่อถึงวันนี้จะยังเหลือวันอีก 332 วันในปีนั้น (333 วันในปีอธิกสุรทิน).

ใหม่!!: ปีพิธีกรรมและ2 กุมภาพันธ์ · ดูเพิ่มเติม »

21 พฤศจิกายน

วันที่ 21 พฤศจิกายน เป็นวันที่ 325 ของปี (วันที่ 326 ในปีอธิกสุรทิน) ตามปฏิทินสุริยคติแบบเกรกอเรียน เมื่อถึงวันนี้จะยังเหลือวันอีก 40 วันในปีนั้น.

ใหม่!!: ปีพิธีกรรมและ21 พฤศจิกายน · ดูเพิ่มเติม »

21 มีนาคม

วันที่ 21 มีนาคม เป็นวันที่ 80 ของปี (วันที่ 81 ในปีอธิกสุรทิน) ตามปฏิทินสุริยคติแบบเกรกอเรียน เมื่อถึงวันนี้จะยังเหลือวันอีก 285 วันในปีนั้น.

ใหม่!!: ปีพิธีกรรมและ21 มีนาคม · ดูเพิ่มเติม »

22 สิงหาคม

วันที่ 22 สิงหาคม เป็นวันที่ 234 ของปี (วันที่ 235 ในปีอธิกสุรทิน) ตามปฏิทินสุริยคติแบบเกรกอเรียน เมื่อถึงวันนี้จะยังเหลือวันอีก 131 วันในปีนั้น.

ใหม่!!: ปีพิธีกรรมและ22 สิงหาคม · ดูเพิ่มเติม »

25 มีนาคม

วันที่ 25 มีนาคม เป็นวันที่ 84 ของปี (วันที่ 85 ในปีอธิกสุรทิน) ตามปฏิทินสุริยคติแบบเกรกอเรียน เมื่อถึงวันนี้จะยังเหลือวันอีก 281 วันในปีนั้น.

ใหม่!!: ปีพิธีกรรมและ25 มีนาคม · ดูเพิ่มเติม »

25 ธันวาคม

วันที่ 25 ธันวาคม เป็นวันที่ 359 ของปี (วันที่ 360 ในปีอธิกสุรทิน) ตามปฏิทินสุริยคติแบบเกรกอเรียน เมื่อถึงวันนี้จะยังเหลือวันอีก 6 วันในปีนั้น.

ใหม่!!: ปีพิธีกรรมและ25 ธันวาคม · ดูเพิ่มเติม »

25 เมษายน

วันที่ 25 เมษายน เป็นวันที่ 115 ของปี (วันที่ 116 ในปีอธิกสุรทิน) ตามปฏิทินสุริยคติแบบเกรกอเรียน เมื่อถึงวันนี้จะยังเหลือวันอีก 250 วันในปีนั้น.

ใหม่!!: ปีพิธีกรรมและ25 เมษายน · ดูเพิ่มเติม »

28 ธันวาคม

วันที่ 28 ธันวาคม เป็นวันที่ 362 ของปี (วันที่ 363 ในปีอธิกสุรทิน) ตามปฏิทินสุริยคติแบบเกรกอเรียน เมื่อถึงวันนี้จะยังเหลือวันอีก 3 วันในปีนั้น.

ใหม่!!: ปีพิธีกรรมและ28 ธันวาคม · ดูเพิ่มเติม »

29 กันยายน

วันที่ 29 กันยายน เป็นวันที่ 272 ของปี (วันที่ 273 ในปีอธิกสุรทิน) ตามปฏิทินสุริยคติแบบเกรกอเรียน เมื่อถึงวันนี้จะยังเหลือวันอีก 93 วันในปีนั้น.

ใหม่!!: ปีพิธีกรรมและ29 กันยายน · ดูเพิ่มเติม »

29 มิถุนายน

วันที่ 29 มิถุนายน เป็นวันที่ 180 ของปีปกติสุรทินที่วันแรกเป็นวันเสาร์ (วันที่ 181 ในปีอธิกสุรทิน) ตามปฏิทินสุริยคติแบบเกรกอเรียน เมื่อถึงวันนี้จะยังเหลือวันอีก 185 วันในปีนั้น.

ใหม่!!: ปีพิธีกรรมและ29 มิถุนายน · ดูเพิ่มเติม »

3 มกราคม

วันที่ 3 มกราคม เป็นวันที่ 3 ของปี ตามปฏิทินสุริยคติแบบเกรกอเรียน เมื่อถึงวันนี้จะยังเหลือวันอีก 362 วันในปีนั้น (363 วันในปีอธิกสุรทิน).

ใหม่!!: ปีพิธีกรรมและ3 มกราคม · ดูเพิ่มเติม »

31 พฤษภาคม

วันที่ 31 พฤษภาคม เป็นวันที่ 151 ของปี (วันที่ 152 ในปีอธิกสุรทิน) ตามปฏิทินสุริยคติแบบเกรกอเรียน เมื่อถึงวันนี้จะยังเหลือวันอีก 214 วันในปีนั้น.

ใหม่!!: ปีพิธีกรรมและ31 พฤษภาคม · ดูเพิ่มเติม »

31 ธันวาคม

วันที่ 31 ธันวาคม เป็นวันที่ 365 ของปี (วันที่ 366 ในปีอธิกสุรทิน) ตามปฏิทินสุริยคติแบบเกรกอเรียน เป็น "วันสิ้นปี" ก่อนวันขึ้นปีใหม่ เป็นวันสุดท้ายของปี โดยวันรุ่งขึ้นเป็นวันที่ 1 มกราคม ของปีถัดไป.

ใหม่!!: ปีพิธีกรรมและ31 ธันวาคม · ดูเพิ่มเติม »

4 เมษายน

วันที่ 4 เมษายน เป็นวันที่ 94 ของปี (วันที่ 95 ในปีอธิกสุรทิน) ตามปฏิทินสุริยคติแบบเกรกอเรียน เมื่อถึงวันนี้จะยังเหลือวันอีก 271 วันในปีนั้น.

ใหม่!!: ปีพิธีกรรมและ4 เมษายน · ดูเพิ่มเติม »

7 ธันวาคม

วันที่ 7 ธันวาคม เป็นวันที่ 341 ของปี (วันที่ 342 ในปีอธิกสุรทิน) ตามปฏิทินสุริยคติแบบเกรกอเรียน เมื่อถึงวันนี้จะยังเหลือวันอีก 24 วันในปีนั้น.

ใหม่!!: ปีพิธีกรรมและ7 ธันวาคม · ดูเพิ่มเติม »

7 ตุลาคม

วันที่ 7 ตุลาคม เป็นวันที่ 280 ของปี (วันที่ 281 ในปีอธิกสุรทิน) ตามปฏิทินสุริยคติแบบเกรกอเรียน เมื่อถึงวันนี้จะยังเหลือวันอีก 85 วันในปีนั้น.

ใหม่!!: ปีพิธีกรรมและ7 ตุลาคม · ดูเพิ่มเติม »

8 พฤษภาคม

วันที่ 8 พฤษภาคม เป็นวันที่ 128 ของปี (วันที่ 129 ในปีอธิกสุรทิน) ตามปฏิทินสุริยคติแบบเกรกอเรียน เมื่อถึงวันนี้จะยังเหลือวันอีก 237 วันในปีนั้น.

ใหม่!!: ปีพิธีกรรมและ8 พฤษภาคม · ดูเพิ่มเติม »

8 กันยายน

วันที่ 8 กันยายน เป็นวันที่ 251 ของปี (วันที่ 252 ในปีอธิกสุรทิน) ตามปฏิทินสุริยคติแบบเกรกอเรียน เมื่อถึงวันนี้จะยังเหลือวันอีก 114 วันในปีนั้น.

ใหม่!!: ปีพิธีกรรมและ8 กันยายน · ดูเพิ่มเติม »

8 ธันวาคม

วันที่ 8 ธันวาคม เป็นวันที่ 342 ของปี (วันที่ 343 ในปีอธิกสุรทิน) ตามปฏิทินสุริยคติแบบเกรกอเรียน เมื่อถึงวันนี้จะยังเหลือวันอีก 23 วันในปีนั้น.

ใหม่!!: ปีพิธีกรรมและ8 ธันวาคม · ดูเพิ่มเติม »

เปลี่ยนเส้นทางที่นี่:

รายการวันสำคัญทางศาสนาคริสต์รายชื่อวันสำคัญทางศาสนาคริสต์วันหยุดในศาสนาคริสต์

ขาออกขาเข้า
Hey! เราอยู่ใน Facebook ตอนนี้! »