โลโก้
ยูเนี่ยนพีเดีย
การสื่อสาร
ดาวน์โหลดได้จาก Google Play
ใหม่! ดาวน์โหลด ยูเนี่ยนพีเดีย บน Android ™ของคุณ!
ดาวน์โหลด
เร็วกว่าเบราว์เซอร์!
 

ปลาหมอเฟอร์ซิเฟอร์

ดัชนี ปลาหมอเฟอร์ซิเฟอร์

ปลาหมอเฟอร์ซิเฟอร์ (Featherfin cichlid) ปลาน้ำจืดชนิดหนึ่ง ในวงศ์ปลาหมอสี (Cichlidae) จัดเป็นปลาเพียงชนิดเดีัยวเท่านั้นที่อยู่ในสกุล Cyathopharynx (ขณะที่บางข้อมูลระบุว่าแบ่งออกเป็น 2 ซึ่งอีกชนิดหนึ่งนั้นคือ C. foai ซึ่งชนิดหลังนี้จะพบในระดับน้ำที่ลึกกว่าและมีความเข้มของสีลำตัวมากกว่า โดยสีจะออกไปทางโทนเข้มและจัดจ้าน บางแหล่งมีแก้มสีเหลือง โดยทั้ง 2 ชนิดนี้พบได้ในแหล่งน้ำเดียวกัน) ปลาหมอเฟอร์ซิเฟอร์ เป็นปลาที่พบได้เฉพาะในทะเลสาบแทนกันยีกา เพียงที่เดียวเท่านั้น โดยตัวผู้สามารถเติบโตได้ยาวถึง 22 เซนติเมตร และตัวเมียมีขนาดประมาณ 13-14 เซนติเมตร ส่วนปลาที่ยังมีขนาดเล็ก เช่นขนาด 1-2 นิ้ว จะยังไม่ปรากฏสีสัน มีลักษณะทั่วไปคล้ายกับปลาหมอสีในสกุล Ophthalmotilapia จนแทบจะแยกกันไม่ออก ปลาตัวผู้เมื่อเข้าสู่วัยเจริญพันธุ์ (ขนาด 2.5-4 นิ้ว อายุประมาณ 10 เดือนขึ้นไป) จะมีสีสันสวยงาม ครีบต่าง ๆ จะยาวแลดูงามสง่า ในขณะที่ตัวเ้มียมีสีออกขาวออกเงิน ปลายครีบมนกลมไม่แหลมยาวเหมือนตัวผู้ โดยปกติในธรรมชาติ จะอาศัยอยู่ในระดับความลึกประมาณ 3-50 เมตร โดยแหล่งที่อยู่อาศัยจะครอบคลุมพื้นทรายกับก้อนหิน และก้อนกรวด อันเป็นแหล่งที่มีอาหารอยู่มากที่สุด จึงอาศัยอยู่ร่วมกับปลาหมอสีชนิดและสกุลอื่น ๆ ด้วย เมื่อจะขยายพันธุ์ ตัวผู้จะทำการขุดรังเป็นปล่องคล้ายภูเขาไฟ มีเส้นผ่าศูนย์กลางประมาณ 2 ฟุต พฤติกรรมจะไม่ก้าวร้าวมากนัก แต่จะมักไล่ปลาอื่นที่เข้ัามารบกวนบริเวณรัง ปลาตัวผู้ที่พร้อมจะผสมพันธุ์จะมีสีสันสวยงาม ครีบต่าง ๆ จะยาวสลวย จะว่ายน้ำสะบัดตัวเชิญชวนตัวเมียให้เข้ามาวางไข่ที่ปล่อง การผสมพันธุ์จะกระทำกันในปล่อง ใช้เวลาประมาณ 2-3 ชั่วโมง ตัวผู้จะว่ายวนรอบตัวเมียเพื่อฉีดน้ำเชื้อให้ตัวเมียรับไปผสมกับไข่ในปาก เมื่อผสมพันธุ์เสร็จแล้ว ตัวเมียจะเป็นผู้ดูแลไข่ โดยเก็บรักษาไข่ไว้ในปากโดยไม่กินอาหารเลย ไข่ใช้เวลาฟักประมาณ 20-25 วัน จำนวนไข่มีประมาณ 10-60 ฟอง ขึ้นอยู่กับความสมบูรณ์ของแม่ปลา นิยมเลี้ยงเป็นปลาสวยงาม โดยสามารถที่จะเพาะขยายพันธุ์ในที่เลี้ยงได้ ซึ่งการขยายพันธุ์ในที่เลี้ยงนั้น ผู้เลี้ยงสามารถที่จะง้างปากแม่ปลาเพื่อนำไข่ออกมาอนุบาลเองได้ เมื่อเข้าสู่วันที่ 8 ของการอมไข่ เพื่อให้อัตราการรอดของลููกปลามีจำนวนมากขึ้นหน้า 108-115, Cyathopharynx อัญมณีสายรุ้งแห่งแทนแกนยิกา โดย ปลาบ้านโรม คอลัมน์ Cichild Corner.

11 ความสัมพันธ์: ชาลส์ เทต รีกันวงศ์ย่อยปลาหมอสีแอฟริกาวงศ์ปลาหมอสีสหภาพนานาชาติเพื่อการอนุรักษ์ธรรมชาติและทรัพยากรธรรมชาติสัตว์สัตว์มีแกนสันหลังอันดับปลากะพงทะเลสาบแทนกันยีกาปลาสวยงามปลาที่มีก้านครีบเมตร

ชาลส์ เทต รีกัน

ลส์ เทต รีกัน (Charles Tate Regan) นักมีนวิทยาชาวอังกฤษที่มีชื่อเสียง เกิดเมื่อวันที่ 1 กุมภาพันธ์ ค.ศ. 1878 ที่เมืองเชอร์บอร์น มณฑลดอร์เซต จบการศึกษาจากโรงเรียนดาร์บีและมหาวิทยาลัยเคมบริดจ์ ในปี ค.ศ. 1901 รีกันได้เข้าทำงานในพิพิธภัณฑ์ประวัติศาสตร์ธรรมชาติ และเป็นนักสัตววิทยาประจำพิพิธภัณฑ์ระหว่างปี ค.ศ. 1927-ค.ศ. 1938 ต่อมาได้รับเลือกให้เป็นสมาชิกราชสมาคมแห่งลอนดอนในปี ค.ศ. 1917 รีกัน เป็นนักมีนวิทยาที่มีชื่อเสียงอย่างยิ่งคนหนึ่ง โดยเป็นผู้ศึกษาและอนุกรมวิธานปลาชนิดต่าง ๆ มากมาย เช่น ปลาในวงศ์ปลาหมอสี (Cichlidae), การบรรยายลักษณะต่าง ๆ ของปลาในวงศ์ปลาตาเหลือกยาว (Elopidae) โดยเฉพาะอย่างยิ่งการอนุกรมวิธานปลากัดไทย หรือ ปลากัดสยาม (Betta splendens) ที่มีชื่อเสียง รีกันได้ร่วมทำงานกับนักมีนวิทยาชาวอังกฤษอีกคนที่มีชื่อเสียง คือ อีเทลเวนน์ เทรวาวาส ในพิพิธภัณฑ์ประวัติศาสตร์ธรรมชาติ ได้มีปลาจำนวนมากที่ถูกตั้งชื่อชนิดเพื่อเป็นเกียรติแก่รีกัน โดยจะใช้ชื่อว่า regani อาทิ Anadoras regani, Apistogramma regani, Julidochromis regani เป็นต้น ชาลส์ เทต รีกัน เสียชีวิตเมื่อวันที่ 12 มกราคม ค.ศ. 1943.

ใหม่!!: ปลาหมอเฟอร์ซิเฟอร์และชาลส์ เทต รีกัน · ดูเพิ่มเติม »

วงศ์ย่อยปลาหมอสีแอฟริกา

วงศ์ย่อยปลาหมอสีแอฟริกา (African cichlid) เป็นวงศ์ย่อยของปลาน้ำจืดและปลาน้ำกร่อยกระดูกแข็งในวงศ์ Cichlidae หรือปลาหมอสี ใช้ชื่อวิทยาศาสตร์ว่า Pseudocrenilabrinae เป็นปลาที่พบกระจายพันธุ์ตั้งแต่ภูมิภาคตะวันออกกลางจนถึงแอฟริกากลาง สามารถแบ่งออกได้เป็นเผ่าต่าง ๆ หลายเผ่า และหลายสกุล โดยแหล่งที่พบที่ใหญ่ที่สุด คือ ทะเลสาบมาลาวี และทะเลสาบแทนกันยีกา รวมถึงทะเลสาบวิกตอเรีย ซึ่งเป็นปลาที่ใช้รับประทานเป็นอาหารในท้องถิ่น และส่งออกไปจำหน่ายเป็นปลาเศรษฐกิจทั่วโลก รวมถึงการเลี้ยงเป็นปลาสวยงามด้วย ซึ่งปลาในวงศ์นี้ที่มีขนาดใหญ่ที่สุด คือ ปลาไจแอนท์แทนกันยีกา (Boulengerochromis microlepis) ที่มีความยาวได้ถึง 90 เซนติเมตร ก็อยู่รวมในวงศ์ย่อยนี้ด้วย ปลาที่อยู่ในวงศ์ย่อยนี้มีความหลากหลายมากมายทั้งสกุล และชนิด (คาดว่ามีประมาณ 1,900 ชนิด และ 400 ชนิด กินสิ่งมีชีวิตเล็ก ๆ และสาหร่ายหรือตะไคร่น้ำเป็นอาหาร) มีพฤติกรรมความเป็นอยู่แตกต่างกันออกไป หลายสกุล หลายชนิดวางไข่ไว้ในเปลือกหอยฝาเดียว บางชนิดก็แทะเล็มตะไคร่น้ำและสาหร่ายตามโขดหินเป็นอาหาร ด้วยฟันขนาดเล็ก ๆ แหลมคมหลายชุด ที่มีความแตกต่างกัน ซึ่งทำให้มีการกินอาหารแตกต่างกันไป เช่น กัด, ขูด, ดูด และกลืน บางชนิดก็ล่าปลาขนาดเล็กและปลาหมอสีด้วยกันเป็นอาหาร ด้วยการอยู่นิ่ง ๆ กับที่ หรือฝังตัวอยู่ใต้ทราย หรือแม้กระทั่งแกล้งทำเป็นตาย ด้วยการหยุดการทำงานของช่องเหงือกเพื่อหายใจ บางชนิดก็กินเกล็ดปลาอื่นเป็นอาหาร ขณะที่หลายชนิดมีพฤติกรรมฟักลูกปลาไว้ในปาก แต่ก็ต้องเลี้ยงลูกจำพวกอื่นไปด้วย เช่น ปลาหนังขนาดใหญ่บางชนิด โดยเฉพาะในวงศ์ปลากดคัดคู (Mochokidae) โดยที่ไม่รู้เลยว่านั่นไม่ใช่ลูกของตัว และลูกปลาหนังนั้นก็จะกินลูกปลาหมอสีขณะที่อยู่ในปากด้วยMutant Planet: African Rift Valley Lakes, "Mutant Planet".

ใหม่!!: ปลาหมอเฟอร์ซิเฟอร์และวงศ์ย่อยปลาหมอสีแอฟริกา · ดูเพิ่มเติม »

วงศ์ปลาหมอสี

วงศ์ปลาหมอสี (Cichlids) เป็นวงศ์ปลาที่มีจำนวนชนิดมากกว่า 1,000 ชนิด นับเป็นวงศ์ของปลาน้ำจืดที่มีจำนวนชนิดมากเป็นอันดับสาม รองมาจากวงศ์ปลาตะเพียน (Cyprinidae) และวงศ์ปลาบู่ (Gobiidae) ใช้ชื่อวิทยาศาสตร์ว่า Cichlidae (/ซิค-ลิด-เด/) ชื่อสามัญในภาษาไทยนิยมเรียกว่า "ปลาหมอสี" ปลาในวงศ์นี้ส่วนใหญ่จึงมักมีชื่อขึ้นต้นว่า "ปลาหมอ" ปลาในวงศ์ปลาหมอสีมีลักษณะหลายหลากแตกต่างกันไปตามสภาพแวดล้อมของถิ่นกำเนิด ปลาหมอสีส่วนใหญ่เป็นปลาน้ำจืด แต่มีบางชนิดพบในน้ำกร่อย ปลาในวงศ์นี้พบมากที่สุดในทวีปแอฟริกา และทวีปอเมริกาใต้ ซึ่งมีประมาณ 900 และ 290 ชนิดตามลำดับ นอกจากนี้ยังมีบางชนิดพบได้ในตอนล่างของทวีปอเมริกาเหนือ อีกสี่ชนิดพบในตะวันออกกลาง และอีกสามชนิดพบในอินเดีย ปลาในวงศ์ปลาหมอสีมีความสำคัญต่อมนุษย์ในหลายลักษณะ ปลาบางชนิด เช่น ปลานิล จัดเป็นปลาเศรษฐกิจที่เลี้ยงง่าย โตเร็ว ในขณะที่ปลาอีกหลายชนิดเป็นปลาตู้สวยงาม เช่น ปลาเทวดา, ปลาปอมปาดัวร์ และ ปลาออสการ์ เป็นต้น.

ใหม่!!: ปลาหมอเฟอร์ซิเฟอร์และวงศ์ปลาหมอสี · ดูเพิ่มเติม »

สหภาพนานาชาติเพื่อการอนุรักษ์ธรรมชาติและทรัพยากรธรรมชาติ

หภาพนานาชาติเพื่อการอนุรักษ์ธรรมชาติและทรัพยากรธรรมชาติ (International Union for Conservation of Nature and Natural Resources หรือ World Conservative Union: IUCN) เป็นองค์การระหว่างประเทศที่จัดตั้งขึ้นด้วยเป้าหมายเพื่อการอนุรักษ์ทรัพยากรธรรมชาติ องค์กรนี้ก่อตั้งขึ้นเมื่อ พ.ศ. 2491 (1948) มีสำนักงานใหญ่ตั้งอยู่บริเวณทะเลสาบเจนีวาในเมืองแกลนด์ ประเทศสวิตเซอร์แลนด์ องค์กรประกอบไปด้วยประเทศสมาชิก 83 ประเทศ ตัวแทนรัฐบาล 108 กลุ่ม องค์กรอิสระ 766 กลุ่ม และองค์กรระหว่างประเทศ มีนักวิทยาศาสตร์และผู้เชี่ยวชาญในสังกัดประมาณ 10,000 จากทั่วโลก.

ใหม่!!: ปลาหมอเฟอร์ซิเฟอร์และสหภาพนานาชาติเพื่อการอนุรักษ์ธรรมชาติและทรัพยากรธรรมชาติ · ดูเพิ่มเติม »

สัตว์

ัตว์ (Animal) เป็นสิ่งมีชีวิตยูแคริโอตหลายเซลล์ในอาณาจักร Animalia (หรือเรียก เมตาซัว) แผนกาย (body plan) ของพวกมันสุดท้ายคงที่เมื่อพัฒนา แม้สัตว์บางชนิดมีกระบวนการการเปลี่ยนสัณฐานภายหลังในช่วงชีวิต สัตว์ส่วนใหญ่เคลื่อนที่ได้ สัตว์ทุกชนิดต้องกินสิ่งมีชีวิตอื่นหรือผลิตภัณฑ์ของสิ่งมีชีวิตเพื่อการดำรงชีพ (สิ่งมีชีวิตสร้างอาหารเองไม่ได้) ไฟลัมสัตว์ที่รู้จักกันดีที่สุดปรากฏในบันทึกฟอสซิลเป็นสปีชีส์ภาคพื้นสมุทรระหว่างการระเบิดแคมเบรียน (Cambrian explosion) ประมาณ 542 ล้านปีก่อน สัตว์แบ่งเป็นกลุ่มย่อยหลายกลุ่ม บางกลุ่ม เช่น สัตว์มีกระดูกสันหลัง (นก สัตว์เลี้ยงลูกด้วยนม สัตว์สะเทินน้ำสะเทินบก สัตว์เลื้อยคลาน ปลา) มอลลัสกา (หอยกาบ หอยนางรม ปลาหมึก หมึกสาย หอยทาก) สัตว์ขาปล้อง (กิ้งกือ ตะขาบ แมลง แมงมุม แมงป่อง ปู ลอบสเตอร์ กุ้ง) สัตว์พวกหนอนปล้อง (ไส้เดือนดิน ปลิง) ฟองน้ำ และแมงกะพรุน.

ใหม่!!: ปลาหมอเฟอร์ซิเฟอร์และสัตว์ · ดูเพิ่มเติม »

สัตว์มีแกนสันหลัง

ัตว์มีแกนสันหลัง คือสัตว์ในไฟลัมคอร์ดาตา พวกมันจะมีแกนสันหลัง ใยประสาทส่วนหลังกลวง ช่องคอหอย หลอดเส้นประสาทกลวงส่วนหลัง และหางหลังทวารหนัก ในช่วงหนึ่งของวงจรชีวิต สัตว์มีแกนสันหลังเป็นพวกดิวเทอโรสโตม กล่าวคือในช่วงระยะตัวอ่อน ทวารหนักเกิดก่อนปาก และเป็นซีโลเมตที่มีสมมาตรด้านข้าง ในกรณีของสัตว์มีแกนสันหลังที่มีกระดูกสันหลัง แกนสันหลังจะถูกแทนที่โดยกระดูกสันหลังในช่วงเจริญเติบโต และพวกมันอาจจะมีปล้องตามร่างกาย ในอนุกรมวิธาน ตัวไฟลัมเองประกอบไปด้วยไฟลัมย่อยเวอร์เตบราตา (ซึ่งประกอบด้วย ปลา สัตว์ครึ่งบกครึ่งน้ำ สัตว์เลื้อยคลาน สัตว์ปีก และสัตว์เลี้ยงลูกด้วยนม) ทูนิคาตา (ซึ่งรวมทั้งซาล์ปและเพรียงหัวหอม) และเซฟาโลคอร์ดาตา ประกอบด้วยแหลนทะเล และยังรวมถึงบางกลุ่มที่สูญพันธุ์ไปแล้ว บางครั้งกลุ่มสัตว์มีกระดูกสันหลังถูกจัดรวมอยู่กับกลุ่มสัตว์มีกระโหลกศีรษะ สัตว์มีแกนสันหลังมีมากกว่า 65,000 สปีชีส์ที่ยังมีชีวิตอยู่ กว่าครึ่งเป็นพวกปลากระดูกแข็ง วาฬและเหยี่ยวเพเรกริน สัตว์ที่มีขนาดใหญ่ที่สุดและเคลื่อนที่เร็วที่สุดตามลำดับ เป็นสัตว์มีแกนสันหลังเช่นเดียวกันกับมนุษย์ ซากดึกดำบรรพ์ของสัตว์มีแกนสันหลังยุคแรกๆ มีอายุย้อนไปถึงในช่วงการระเบิดยุคแคมเบรียน.

ใหม่!!: ปลาหมอเฟอร์ซิเฟอร์และสัตว์มีแกนสันหลัง · ดูเพิ่มเติม »

อันดับปลากะพง

อันดับปลากะพง (อันดับ: Perciformes; Bass, Snapper, Perch, Jack, Grunter) เป็นการจำแนกอันดับของปลาจำพวกหนึ่ง ใช้ชื่อวิทยาศาสตร์ว่า Perciformes (/เพอร์-ซิ-ฟอร์-เมส/) ซึ่งเป็นปลากระดูกแข็ง คิดเป็นร้อยละ 40 ของปลากระดูกแข็งทั้งหมด ลักษณะเด่นของปลาในอันดับนี้คือ เป็นปลากินเนื้อ เกล็ดมีลักษณะสากขอบเป็นหยักแข็ง ปากยาวมีลักษณะยืดหดได้ มีก้านครีบแข็ง หรือ Spine ที่ครีบหลังตอนหน้า พบได้ทั้ง น้ำจืด, น้ำกร่อย และทะเล สำหรับวงศ์ปลาที่อยู่ในอันดับนี้มีอยู่มากมายถึง 156 วงศ์ (ดูในเนื้อหา) โดยสามารถแบ่งได้เป็นอันดับย่อยลงไปอีก (ดูในตาราง).

ใหม่!!: ปลาหมอเฟอร์ซิเฟอร์และอันดับปลากะพง · ดูเพิ่มเติม »

ทะเลสาบแทนกันยีกา

ทะเลสาบแทนกันยีกา (Lake Tanganyika) เป็นทะเลสาบน้ำจืดขนาดใหญ่ที่ตั้งอยู่ในเขตรอยต่อ 4 ประเทศด้วยกัน ได้แก่ สาธารณรัฐประชาธิปไตยคองโก (ซาอีร์เดิม), แทนซาเนีย, แซมเบีย และบุรุนดี เป็นแหล่งน้ำจืดที่สำคัญเป็นอันดับที่สองในแอฟริการองจากทะเลสาบวิกตอเรีย นอกจากนั้นยังเป็นทะเลสาบที่ใหญ่เป็นอันดับสองในทวีปแอฟริกาและลึกที่สุดในทวีปแอฟริกาอีกด้วย จุดที่มีความลึกที่สุดลึกกว่า 1,470 เมตร ทะเลสาบแทนกันยีกาเกิดจากการทรุดตัวของแผ่นเปลือกโลกและภูเขาไฟระเบิด เมื่อราว 20 ล้านปีมาแล้ว นับเป็นทะเลสาบแห่งหนึ่งที่มีอายุเก่าแก่ในทวีปแอฟริกา ซึ่งตั้งอยู่ในแนวเกรตริฟต์แวลลีย์ โดยคำว่า "แทนกันยีกา" นั้นมาจากภาษาสวาฮิลีสองคำ คือ "tangan" หมายถึง "เรือใบ" และ "nyika" หมายถึง "ป่า" หรือ "ไม่มีที่อยู่" โดยรวมอาจหมายความว่า "เรือใบที่แล่นในถิ่นทุรกันดาร" ก็ได้ ทะเลสาบแทนกันยีกา มีความยาวจัดจากเหนือจรดใต้ได้ถึง 673 กิโลเมตร แต่มีความกว้างโดยเฉลี่ยประมาณ 50 กิโลเมตร มีพื้นที่โดยรวมประมาณ 3,2892 ตารางกิโลเมตร ความยาวรอบชายฝั่งวัดรวมกันได้ 1,828 กิโลเมตร และยังเป็นทะเลสาบน้ำจืดที่มีความลึกเป็นอันดับสองของโลกรองจากทะเลสาบไบคาล ในไซบีเรีย มีดินแดนติดกับคองโกราวร้อยละ 45 และติดกับแทนซาเนียร้อยละ 41 โดยประมาณ น้ำในทะเลสาบไหลสู่แม่น้ำคองโกในตอนกลางของทวีป และจะไหลไปลงทะเลที่ตอนแอฟริกาตะวันตกที่มหาสมุทรแอตแลนติก ทะเลสาบแห่งนี้มีความโดดเด่นเรื่องของอุณหภูมิที่ค่อนข้างเสถียร เรื่องจากข้างล่างทะเลสาบยังคงมีภูเขาไฟ น้ำมีการเปลี่ยนแปลงในแนวตั้งน้อยมาก ในความลึกเกิน 300 เมตร ปริมาณออกซิเจนที่ละลายในน้ำค่อนข้างน้อย จึงมักไม่ค่อยมีสิ่งมีชีวิตอาศัยอยู่ อุณหภูมิโดยเฉลี่ยมีความเปลี่ยนแปลงต่างกันไม่เกิน 5 ฟาเรนไฮต์ โดยบริเวณผิวน้ำจะมีอุณหภูมิประมาณ 73-88 ฟาเรนไฮต์ ค่าความเป็นกรด-ด่างของน้ำอยู่ที่ประมาณ 7.5-9.3 (pH) ระบบนิเวศของทะเลสาบแทนกันยีกา แบ่งออกได้เป็นสองส่วนหลัก คือ ระบบชายฝั่งและพื้นที่นอกชายฝั่ง ซึ่งสามารถแบ่งระบบนิเวศตามสภาพแวดล้อมที่ต่างกันได้ ดังนี้.

ใหม่!!: ปลาหมอเฟอร์ซิเฟอร์และทะเลสาบแทนกันยีกา · ดูเพิ่มเติม »

ปลาสวยงาม

ตู้ ปลาสวยงาม หรือ ปลาตู้ (Ornamental fish) คือ ปลาที่มนุษย์เลี้ยงไว้เป็นสัตว์เลี้ยงเพื่อความเพลิดเพลินหรือเพื่อความสวยงาม ไม่ใช่เพื่อการบริโภค หรือสัตว์น้ำจำพวกอื่น ที่ไม่ใช่ปลาแต่มีการนำมาเลี้ยงเพื้อการเดียวกัน เช่น เครย์ฟิช นิยมเลี้ยงไว้ในสถานที่ต่าง ๆ ในบ้านพักอาศัย อาทิ ตู้ปลา, บ่อ หรือสระ ถือได้ว่าเป็นส่วนหนึ่งของการประมง ความเป็นอยู่ของปลามีความแตกต่างจากสัตว์บกหรือสัตว์เลือดอุ่นค่อนข้างมาก การเลี้ยงสัตว์บกสามารถปรับปรุงคอกเลี้ยง ทำให้สามารถทำความสะอาดกำจัดเศษอาหาร และมูลสัตว์ออกจากคอกได้อย่างง่ายดาย แต่ปลามีน้ำเป็นบ้านอย่างถาวรและจำเป็นต้องอยู่ร่วมกับสิ่งมีชีวิตต่าง ๆ อีกหลายชนิด คุณภาพน้ำอาจเปลี่ยนแปลงได้ทั้งสาเหตุจากสภาพแวดล้อมและจากตัวปลาเอง เพราะปลาก็มีการขับถ่ายอยู่ตลอดเวลา แต่ในแหล่งน้ำธรรมชาติจะเกิดการปรับปรุงหรือปรับสภาพให้น้ำมีคุณสมบัติที่เหมาะสม โดยขบวนการต่าง ๆ จากสิ่งมีชีวิตหลายชนิด เพื่อให้สิ่งมีชีวิตทั้งหลายในน้ำอยู่ร่วมกันได้อย่างสมดุล.

ใหม่!!: ปลาหมอเฟอร์ซิเฟอร์และปลาสวยงาม · ดูเพิ่มเติม »

ปลาที่มีก้านครีบ

ปลาที่มีก้านครีบ (Ray-finned fishes) เป็นชั้นย่อยของปลากระดูกแข็ง (Osteichthyes) ชั้นหนึ่ง ใช้ชื่อวิทยาศาสตร์ว่า Actinopterygii (/แอก-ติ-โน-เทอ-ริ-กิ-ไอ/) เป็นปลาที่เคลื่อนไหวโดยอาศัยครีบและกล้ามเนื้อลำตัวเป็นสำคัญ ซึ่งแบ่งออกได้เป็น ก้านครีบแข็ง และก้านครีบอ่อน ซึ่งปลาส่วนใหญ่ในปัจจุบัน จะถูกจัดอยู่ในชั้นนี้ บรรพบุรุษของปลาในชั้นนี้จะมีขนาดเล็ก มีเกราะหุ้มตัวหนา มีปอดและเหงือก ชื่อ Andreolepis hedei โดยพบเป็นฟอสซิลอยู่ในยุคปลายซิลลูเรียนเมื่อกว่า 420 ล้านปีก่อนที่รัสเซีย, สวีเดน และเอสโตเนีย ปลาชั้นนี้มีการวิวัฒนาการอยู่ 3 ขั้นตอน คือ.

ใหม่!!: ปลาหมอเฟอร์ซิเฟอร์และปลาที่มีก้านครีบ · ดูเพิ่มเติม »

เมตร

มตร อักษรย่อ ม. (mètre → metre meter The Metric Conversion Act of 1975 gives the Secretary of Commerce of the US the responsibility of interpreting or modifying the SI for use in the US., m) เป็นหน่วยฐานเอสไอของความยาวในหน่วยเอสไอ แต่เดิมนิยามว่าหนึ่งเมตรเท่ากับ 1/10,000,000 ของระยะทางจากเส้นศูนย์สูตรของโลกไปยังขั้วโลกเหนือวัดจากเส้นรอบวงที่ผ่านเมืองปารีส แต่เนื่องจากความแม่นยำทางมาตรวิทยา ที่มีมากขึ้น ตั้งแต่ปีพ.ศ. 2526 ความยาวหนึ่งเมตรจึงถูกนิยามไว้ให้เท่ากับความยาวที่แสงเดินทางได้ในสุญญากาศ ในช่วงเวลา วินาที.

ใหม่!!: ปลาหมอเฟอร์ซิเฟอร์และเมตร · ดูเพิ่มเติม »

เปลี่ยนเส้นทางที่นี่:

CyathopharynxCyathopharynx furciferFeatherfin cichlid

ขาออกขาเข้า
Hey! เราอยู่ใน Facebook ตอนนี้! »