โลโก้
ยูเนี่ยนพีเดีย
การสื่อสาร
ดาวน์โหลดได้จาก Google Play
ใหม่! ดาวน์โหลด ยูเนี่ยนพีเดีย บน Android ™ของคุณ!
ดาวน์โหลด
เร็วกว่าเบราว์เซอร์!
 

ปลามีเกราะ

ดัชนี ปลามีเกราะ

ปลามีเกราะ หรือ ปลาหุ้มเกราะ (Armored fish) เป็นปลายุคก่อนประวัติศาสตร์ในชั้น Placodermi หรือ Placoderm ซึ่งปัจจุบันสูญพันธุ์ไปหมดแล้ว บรรพบุรุษของปลาถือกำเนิดขึ้นมาในยุคออร์โดวิเชียน (500 ล้านปีก่อน) โดยวิวัฒนาการมาจากสิ่งมีชีวิตที่เรียกว่า แอมฟิออกซัส ที่มีกระดูกอ่อนเป็นกระดูกแกนหลักในร่างกาย และกลายมาเป็นปลาปากกลมที่ไม่มีขากรรไกร หลังจากนั้นก็กลายมาเป็นปลาที่มีเกล็ดแข็งเหมือนเกราะหนาหุ้มตัว จากนั้นในยุคดีโวเนียน (360 ล้านปีก่อน) จึงเป็นปลาที่มีเกล็ดหุ้มร่างกายอย่างหนาแน่นคล้ายชุดเกราะ มีขากรรไกร ก็คือ ปลามีเกราะปรากฏขึ้นมา โดยแบ่งออกเป็นสองส่วนใหญ่ ๆ คือ เกราะบริเวณส่วนหัว และเกราะบริเวณลำตัว ปลามีเกราะมีกระจายพันธุ์แพร่หลายทั้งในน้ำจืดและทะเล แบ่งออกได้เป็นอันดับต่าง ๆ ถึง 10 อันดับ (ดูในตาราง) ปลามีเกราะแพร่พันธุ์ด้วยการแพร่พันธุ์แบบอาศัยเพศ โดยออกเป็นไข่ แต่ก็มีบางจำพวกที่ค้นพบว่าคลอดลูกเป็นตัวด้วย โดยปลามีเกราะขนาดใหญ่ที่สุด คือ ดังเคิลออสเตียส ที่มีส่วนหัวและริมฝีปากที่แหลมคมขนาดใหญ่ใช้แทนฟัน มีความยาวเต็มที่ได้ถึง 10 เมตร มีน้ำหนักได้ถึง 3.6-4 ตัน.

28 ความสัมพันธ์: ฟันพ.ศ. 2391กระดูกอ่อนกะโหลกศีรษะการสืบพันธุ์การสืบพันธุ์แบบอาศัยเพศการสูญพันธุ์การจำแนกชั้นทางวิทยาศาสตร์ยุคออร์โดวิเชียนยุคดีโวเนียนยุคไซลูเรียนวิวัฒนาการสัตว์สัตว์มีกระดูกสันหลังสัตว์มีแกนสันหลังสิ่งมีชีวิตออสตราโคเดิร์มทะเลดังเคิลออสเตียสตันปลามีเกราะปลาไม่มีขากรรไกรน้ำหนักน้ำจืดไข่เกราะญี่ปุ่นเกล็ดปลาเมตร

ฟัน

แสดงโครงสร้างของเหงือกและฟัน ฟัน เป็นอวัยวะที่อยู่ภายในช่องปากของคนและสัตว์ มีส่วนรากติดอยู่กับขากรรไกรและมีตัวฟันโผล่พ้นเหงือกออกมา ฟันเป็นอวัยวะที่เจริญมาจากเนื้อเยื้อชั้นนอก (Ectoderm) เช่นเดียวกับผิวหนังหรือเกล็ดปลา ฟันเป็นอวัยวะส่วนหนึ่งในระบบย่อยอาหาร หน้าที่หลักของฟันคือ ฉีก บด อาหารให้คลุกเคล้ากับน้ำลาย และนอกจากนี้ยังมีส่วนสำคัญในการพูดออกเสียงด้วย ลักษณะของฟันมีส่วนเกี่ยวข้องกับลักษณะอาหารของสัตว์แต่ละประเภทเช่นเดียวกับวิวัฒนาการ ตัวอย่างเช่น พืชนั้นยากที่จะย่อยดังนั้น สัตว์กินพืช (Herbivore) จึงต้องมีฟันกรามหลายซี่เพื่อใช้ในการเคี้ยว ส่วนสัตว์กินเนื้อ (Carnivore) ต้องมีฟันเขี้ยวเพื่อฆ่าและฉีกเหยื่อและเนื้อนั้นให้ย่อยง่าย พวกมันจึงกลืนได้โดยที่ไม่ต้องใช้ฟันกรามเคี้ยวมากนัก.

ใหม่!!: ปลามีเกราะและฟัน · ดูเพิ่มเติม »

พ.ศ. 2391

ทธศักราช 2391 ใกล้เคียงกั.

ใหม่!!: ปลามีเกราะและพ.ศ. 2391 · ดูเพิ่มเติม »

กระดูกอ่อน

กระดูกอ่อนเมื่อดูใต้กล้องจุลทรรศน์ กระดูกอ่อน (Cartilage) เป็นเนื้อเยื่อเกี่ยวพันชนิดหนึ่งพบได้ทั่วร่างกายมนุษย์และสัตว์อื่นๆ โดยเฉพาะบริเวณข้อต่อต่างๆ ซี่โครง หู จมูก หลอดลม และ กระดูกข้อต่อสันหลังประกอบไปด้วย เยื่อใยคอลลาเจน และ/ หรือ เยื่อใยอีลาสติน และเซลล์ที่เรียกว่า คอนโดรไซต์ซึ่งจะหลั่งสารออกมาห่อหุ้มเซลล์ที่มีคอลลาเจนเป็นองค์ประกอบ โดยองค์ประกอบที่อยู่ภายในจะมีลักษณะ คล้ายเจล เรียกว่า แมททริกซ์ กระดูกอ่อนจะไม่มีหลอดเลือดมาเลี้ยง คอนโดรไซต์จะแลกเปลี่ยนสารอาหารโดยแพร่ผ่านคอลลาเจนมาสู่เส้นเลือดด้านนอก เมตาบอลิซึมของเซลล์เหล่านี้ต่ำ ถ้าถูกทำลายจะซ่อมแซมตัวเองได้แต่ช้า กระดูกอ่อนมีหน้าที่หลายอย่าง ประกอบไปด้วย การเตรียมโครงร่างของการสะสมการสร้างกระดูก และช่วยสร้างพื้นที่หน้าเรียบสำหรับรองรับการเคลื่อนไหวของกระดูกข้อต่อ เป็นกระดูกที่เกิดขึ้นก่อนในระยะเอ็มบริโอก่อนที่จะถูกแทนที่ด้วยกระดูกแข็ง เป็นโครงสร้างของกล่องเสียง หลอดลมในระบบหายใจ เป็นองค์ประกอบของข้อต่อตามหัวเข่าและข้อศอก กระดูกอ่อนแบ่งตามองค์ประกอบได้ 3 ชนิด ดังนี้ ไฮยาลินคาร์ทีเลจ (hyaline cartilage) อีลาสติกคาร์ทีเลจ (elastic cartilage) ไฟโบรคาร์ทีเลจ (fibrocartilage).

ใหม่!!: ปลามีเกราะและกระดูกอ่อน · ดูเพิ่มเติม »

กะโหลกศีรษะ

วาดแสดงมุมมองจากทางด้านหน้าของกะโหลกศีรษะของมนุษย์ กะโหลกศีรษะ เป็นโครงสร้างของกระดูกที่ประกอบขึ้นเป็นโครงร่างที่สำคัญของส่วนศีรษะในสัตว์ในกลุ่มเครนิเอต (Craniate) หรือสัตว์ที่มีกะโหลกศีรษะ ซึ่งรวมทั้งสัตว์มีกระดูกสันหลังทุกชนิด กะโหลกศีรษะทำหน้าที่ปกป้องสมองซึ่งเป็นศูนย์กลางของระบบประสาท รวมทั้งเป็นโครงร่างที่ค้ำจุนอวัยวะรับสัมผัสต่างๆ ทั้งตา หู จมูก และลิ้น และยังทำหน้าที่เป็นทางเข้าของทางเดินอาหารและทางเดินหายใจ การศึกษาเกี่ยวกับกะโหลกศีรษะมีประโยชน์อย่างมากหลายประการ โดยเฉพาะการศึกษาในเชิงกายวิภาคศาสตร์เปรียบเทียบระหว่างสัตว์ชนิดต่างๆ ซึ่งเป็นประโยชน์ด้านบรรพชีวินวิทยาและความเข้าใจถึงลำดับทางวิวัฒนาการ นอกจากนี้การศึกษาลงไปเฉพาะกะโหลกศีรษะมนุษย์ก็มีประโยชน์อย่างมากในการศึกษาด้านนิติเวชศาสตร์ ทันตแพทยศาสตร์ รวมทั้งมานุษยวิทยาและโบราณคดี.

ใหม่!!: ปลามีเกราะและกะโหลกศีรษะ · ดูเพิ่มเติม »

การสืบพันธุ์

การขยายพันธุ์ของคว่ำตายหงายเป็น การสืบพันธุ์ หรือ การขยายพันธุ์ (Reproduction) หมายถึง การเพิ่มจำนวนลูกหลานที่มีลักษณะเหมือนเดิมของสิ่งมีชีวิต โดยที่สิ่งมีชีวิตรุ่นใหม่ที่เกิดขึ้นนี้จะทดแทนสิ่งมีชีวิตรุ่นเก่าที่ล้มหายตายจากไป ทำให้สิ่งมีชีวิตเหลือรอดอยู่ในโลกได้โดยไม่สูญพันธุ์ไป.

ใหม่!!: ปลามีเกราะและการสืบพันธุ์ · ดูเพิ่มเติม »

การสืบพันธุ์แบบอาศัยเพศ

การสืบพันธุ์แบบอาศัยเพศ (Sexual reproduction) คือการสืบพันธุ์ที่ต้องมีการรวมกันของเซลล์สืบพันธุ์เพศผู้ (สเปิร์ม) และเซลล์สืบพันธุ์เพศเมีย (ไข่) แล้วเกิดออกมาเป็นไซโกตและเจริญมาเป็นเอมบริโอในเวลาต่อม.

ใหม่!!: ปลามีเกราะและการสืบพันธุ์แบบอาศัยเพศ · ดูเพิ่มเติม »

การสูญพันธุ์

ียน นกโดโด้ ตัวอย่างของการสูญพันธุ์ยุคใกล้ การสูญพันธุ์ (Extinction) ในทางชีววิทยาและนิเวศวิทยา คือการสิ้นสุดของการดำรงอยู่ของสปีชีส์หรือของสิ่งมีชีวิต ซึ่งทำให้ความหลากหลายทางชีวภาพลดลง โดยทั่วไปแล้ว ถือว่าชั่วขณะของการสูญพันธุ์คือชั่วขณะความตายของสิ่งมีชีวิตตัวสุดท้ายในสปีชีส์นั้น แม้ว่าความสามารถในการผสมพันธุ์และฟื้นตัวอาจจะสูญเสียไปแล้วก่อนหน้านั้นก็ตาม.

ใหม่!!: ปลามีเกราะและการสูญพันธุ์ · ดูเพิ่มเติม »

การจำแนกชั้นทางวิทยาศาสตร์

การจำแนกชั้นทางวิทยาศาสตร์ หรือ การจำแนกชั้นทางชีววิทยา (Systematics) หมายถึงการจัดกลุ่มและหมวดหมู่สปีชีส์ของสิ่งมีชีวิต ทั้งที่มีอยู่ในปัจจุบันและที่สูญพันธุ์ไปแล้ว การจำแนกในยุคปัจจุบันอาศัยรากฐานจากระบบการจำแนกของ คาโรลัส ลินเนียส นักพฤกษศาสตร์ผู้จัดกลุ่มสปีชีส์ต่าง ๆ โดยดูจากลักษณะเฉพาะทางกายภาพ การจัดกลุ่มแบบนี้ได้มีการปรับปรุงอยู่เสมอเพื่อให้สอดคล้องกับหลักดาร์วิน ส่วนมากเป็นผลมาจากการศึกษาอนุกรมวิธานระดับโมเลกุลด้วยการวิเคราะห์จีโนม ในการแบ่งอย่างกว้างๆจะแบ่งได้ 2 ระดับ คือ ลำดับขั้นสูง และ ลำดับขั้นต่ำ.

ใหม่!!: ปลามีเกราะและการจำแนกชั้นทางวิทยาศาสตร์ · ดูเพิ่มเติม »

ยุคออร์โดวิเชียน

แคมเบรียน←ยุคออร์โดวิเชียน→ยุคไซลูเรียน ยุคออร์โดวิเชียน (Ordovician) เป็นธรณีกาลยุคที่สองของมหายุคพาลีโอโซอิก อยู่ระหว่าง 488.3±1.7 ล้านปีมาแล้ว ถึง 443.7±1.5 ล้านปีมาแล้ว และอยู่ระหว่างยุคแคมเบรียนและยุคไซลูเรียน.

ใหม่!!: ปลามีเกราะและยุคออร์โดวิเชียน · ดูเพิ่มเติม »

ยุคดีโวเนียน

ีโวเนียน (Devonian) เป็นยุคที่สี่ของมหายุคพาลีโอโซอิก ยุคนี้เริ่มนับตั้งแต่จุดสิ้นสุดของยุคไซลูเรียน เมื่อประมาณ 419.2±3.2 ล้านปีก่อน และสิ้นสุดลงเมื่อก่อนเริ่มยุคคาร์บอนิเฟอรัส ประมาณ 358.9±0.4 ล้านปีก่อน ยุคนี้ตั้งชื่อตามเดวอน ประเทศอังกฤษ ซึ่งเป็นสถานที่แห่งแรกที่มีการศึกษาหินของยุคนี้ นักธรณีวิทยาจัดว่ายุคดีโวเนียนนี้เป็นยุคแรกที่มีสิ่งมีชีวิตบนบก และพืชบกเริ่มกระจายเข้าสู่แผ่นดินส่วนใน ทำให้เริ่มมีการก่อตัวเป็นป่าซึ่งจะค่อยๆปกคลุมทวีป ช่วงกลางยุคดีโวเนียน พืชบางชนิดจะเริ่มวิวัฒนาการเป็นพืชมีใบและมีรากที่มั่นคง และปลาได้วิวัฒนาการมามากกว่าออสทราโคเดิร์มแล้ว และยุคนี้มีปลาชุกชุมจึงถูกเรียกว่า ยุคแห่งปลา (Age of Fish) ปลาหลายชนิดได้เริ่มวิวัฒนาการขึ้น ซึ่งภายหลังพวกมันเป็นต้นตระกูลของปลาขนาดใหญ่หลายชนิด ขณะที่ปลามีเกราะได้เริ่มลงจำนวนลงในแหล่งน้ำทุกๆ แห่ง บรรพบุรุษของสัตว์สี่ขาได้เริ่มขึ้นมาเดินอยู่บนบก ครีบของพวกมันได้วิวัฒนาการมาเป็นขา ส่วนในทะเล ฉลามดึกดำบรรพ์มีจำนวนมากขึ้นกว่าที่มีในยุคไซลูเรียนและปลายยุคออร์โดวิเชียน ปลายยุคดีโวเนียนได้เกิดการสูญพันธุ์ขึ้น เมื่อประมาณ 375 ล้านปีก่อน การสูญพันธุ์นี้ส่งผลกระทบกับสัตว์น้ำ ปลามีเกราะและไทรโลไบต์ทั้งหมดสูญพันธุ์ ทวีปในยุคนี้แบ่งเป็นมหาทวีปกอนด์วานา ทางตอนใต้ ทวีปไซบีเรีย ทางตอนเหนือ และเริ่มมีการก่อตัวของทวีปขนาดเล็กที่มีชื่อว่า ยูราเมริกา ในตำแหน่งระหว่างกลางของกอนด์วานาและไซบีเรี.

ใหม่!!: ปลามีเกราะและยุคดีโวเนียน · ดูเพิ่มเติม »

ยุคไซลูเรียน

ออร์โดวิเชียน←ยุคไซลูเรียน→ยุคดีโวเนียน ยุคไซลูเรียน (Silurian) เป็นยุคที่สามของมหายุคพาลีโอโซอิกในธรณีกาล ยุคนี้เริ่มขึ้นหลังจากจุดสิ้นสุดของยุคออร์โดวิเชียน ประมาณ 443.8 ± 1.5 ล้านปีก่อน และสิ้นสุดในช่วงก่อนเริ่มยุคดีโวเนียน ประมาณ 419.2 ± 0.2 ล้านปีก่อน นักธรณีวิทยาได้ใช้การสูญพันธุ์ครั้งใหญ่ในยุคออร์โดวิเชียน-ไซลูเรียน เป็นตัวแบ่งยุคไซลูเรียนกับออร์โดวิเชียน ซึ่งจากการสูญพันธุ์นั้น ทำให้สิ่งมีชีวิตใต้ทะเลกว่า 60 % หายไป ในยุคนี้พืชน้ำและสาหร่าย ได้ปรับตัวเพื่อไม่ให้เกิดการสูญพันธุ์ โดยวิวัฒนาการมาเป็นพืชบก แต่พืชบกนี้พบได้แค่ตามชายทะเลเท่านั้น ในปลายยุคไซลูเรียนมีสัตว์บกเป็นครั้งแรก ซึ่งเป็นสัตว์ขาปล้องขนาดเล็ก แต่มันก็ยังมีจำนวนไม่มากและยังไม่ได้ขึ้นมาอาศัยบนบกทั้งหมด จนกระทั่งถึงยุคดีโวเนียน.

ใหม่!!: ปลามีเกราะและยุคไซลูเรียน · ดูเพิ่มเติม »

วิวัฒนาการ

ในด้านชีววิทยา วิวัฒนาการ (Evolution) คือการเปลี่ยนแปลงทางพันธุกรรมในประชากรของสิ่งมีชีวิต จากรุ่นหนึ่งสู่อีกรุ่นหนึ่ง วิวัฒนาการเกิดจากกระบวนการหลัก 3 กระบวนการ ได้แก่ ความแปรผัน การสืบพันธุ์ และการคัดเลือก โดยอาศัยยีนเป็นตัวกลางในการส่งผ่านลักษณะทางพันธุกรรม อันเป็นพื้นฐานของการเกิดวิวัฒนาการ ลักษณะเช่นนี้เกิดขึ้นในประชากรเพื่อให้เกิดความแปรผันทางพันธุกรรมเมื่อสิ่งมีชีวิตให้กำเนิดลูกหลานย่อมเกิดลักษณะใหม่ หรือเปลี่ยนแปลงลักษณะเดิม โดยลักษณะใหม่ที่เกิดขึ้นนี้มีสาเหตุสำคัญ 2 ประการ ประการหนึ่ง เกิดจากกระบวนการกลายพันธุ์ของยีน และอีกประการหนึ่ง เกิดจากการแลกเปลี่ยนยีนระหว่างประชากร และระหว่างสปีชีส์ ในสิ่งมีชีวิตที่มีการสืบพันธุ์แบบอาศัยเพศ สิ่งมีชีวิตใหม่ที่เกิดขึ้นจะผ่านกระบวนการแลกเปลี่ยนยีน อันก่อให้เกิดความแปรผันทางพันธุกรรมที่หลากหลายในสิ่งมีชีวิต วิวัฒนาการเกิดขึ้นเมื่อความแตกต่างทางพันธุกรรมเกิดขึ้น จนเกิดความแตกต่างมากขึ้นเรื่อยๆ จนกลายเป็นลักษณะที่แตกต่างกัน กลไกในการเกิดวิวัฒนาการแบ่งได้ 2 กลไก กลไกหนึ่งคือการคัดเลือกโดยธรรมชาติ (natural selection) อันเป็นกระบวนการคัดเลือกสิ่งมีชีวิตที่มีลักษณะเหมาะสมที่จะอยู่รอด และสืบพันธุ์จนได้ลักษณะที่เหมาะสมที่สุด และลักษณะที่ไม่เหมาะสมจะเหลือน้อยลง กลไกนี้เกิดขึ้นเพื่อคัดเลือกลักษณะของประชากรที่เกิดประโยชน์ในการสืบพันธุ์สูงสุด เมื่อสิ่งมีชีวิตหลายรุ่นได้ผ่านพ้นไป ก็จะเกิดกระบวนการปรับตัวของสิ่งมีชีวิต เพื่อให้อยู่ในสิ่งแวดล้อมได้อย่างเหมาะสม กลไกที่สองในการขับเคลื่อนกระบวนการวิวัฒนาการคือการแปรผันทางพันธุกรรม (genetic drift) อันเป็นกระบวนการอิสระจากการคัดเลือกความถี่ของยีนประชากรแบบสุ่ม การแปรผันทางพันธุกรรมเป็นผลมาจากการอยู่รอด และการสืบพันธุ์ของสิ่งมีชีวิต แม้ว่าการแปรผันทางพันธุกรรมในแต่ละรุ่นนั้นจะเปลี่ยนแปลงเพียงเล็กน้อย แต่ลักษณะเหล่านี้จะสะสมจากรุ่นสู่รุ่น เกิดการเปลี่ยนแปลงทีละเล็กละน้อยในสิ่งมีชีวิต จนกระทั่งเวลาผ่านไปเป็นระยะเวลานาน จะทำให้เกิดการเปลี่ยนแปลงขึ้นในลักษณะของสิ่งมีชีวิต กระบวนการดังกล่าวเมื่อถึงจุดสูงสุดจะทำให้กำเนิดสปีชีส์ชนิดใหม่ แม้กระนั้น ความคล้ายคลึงกันระหว่างสิ่งมีชีวิตมีข้อเสนอที่เป็นที่รู้จักกันดีคือการสืบเชื้อสายจากบรรพบุรุษ (หรือยีนพูลของบรรพบุรุษ) เมื่อผ่านกระบวนการนี้จะก่อให้เกิดความหลากหลายมากขึ้นทีละเล็กละน้อย เอกสารหลักฐานทางชีววิทยาวิวัฒนาการชี้ให้เห็นว่ากระบวนการวิวิฒนาการเป็นสิ่งที่เกิดขึ้นจริง ทฤษฎีอยู่ในช่วงของการทดลอง และพัฒนาในสาเหตดังกล่าว การศึกษาซากฟอสซิล และความหลากหลายทางชีวภาพของสิ่งมีชีวิตทำให้นักวิทยาศาสตร์ช่วงกลางคริสศตวรรษที่ 19 ส่วนใหญ่เชื่อว่าสปีชีส์มีการเปลี่ยนแปลงมาตลอดในระยะเวลาที่ผ่านมา อย่างไรก็ตาม กระบวนการที่ขับเคลื่อนการเปลี่ยนแปลงนี้เป็นปริศนาต่อนักวิทยาศาสตร์ทั่วไป จนกระทั่งปี พ.ศ. 2402 ชาร์ล ดาวิน ตีพิมพ์หนังสือ กำเนิดสปีชีส์ ซึ่งได้อธิบายทฤษฎีวิวัฒนาการโดยกระบวนการคัดเลือกโดยธรรมชาต.

ใหม่!!: ปลามีเกราะและวิวัฒนาการ · ดูเพิ่มเติม »

สัตว์

ัตว์ (Animal) เป็นสิ่งมีชีวิตยูแคริโอตหลายเซลล์ในอาณาจักร Animalia (หรือเรียก เมตาซัว) แผนกาย (body plan) ของพวกมันสุดท้ายคงที่เมื่อพัฒนา แม้สัตว์บางชนิดมีกระบวนการการเปลี่ยนสัณฐานภายหลังในช่วงชีวิต สัตว์ส่วนใหญ่เคลื่อนที่ได้ สัตว์ทุกชนิดต้องกินสิ่งมีชีวิตอื่นหรือผลิตภัณฑ์ของสิ่งมีชีวิตเพื่อการดำรงชีพ (สิ่งมีชีวิตสร้างอาหารเองไม่ได้) ไฟลัมสัตว์ที่รู้จักกันดีที่สุดปรากฏในบันทึกฟอสซิลเป็นสปีชีส์ภาคพื้นสมุทรระหว่างการระเบิดแคมเบรียน (Cambrian explosion) ประมาณ 542 ล้านปีก่อน สัตว์แบ่งเป็นกลุ่มย่อยหลายกลุ่ม บางกลุ่ม เช่น สัตว์มีกระดูกสันหลัง (นก สัตว์เลี้ยงลูกด้วยนม สัตว์สะเทินน้ำสะเทินบก สัตว์เลื้อยคลาน ปลา) มอลลัสกา (หอยกาบ หอยนางรม ปลาหมึก หมึกสาย หอยทาก) สัตว์ขาปล้อง (กิ้งกือ ตะขาบ แมลง แมงมุม แมงป่อง ปู ลอบสเตอร์ กุ้ง) สัตว์พวกหนอนปล้อง (ไส้เดือนดิน ปลิง) ฟองน้ำ และแมงกะพรุน.

ใหม่!!: ปลามีเกราะและสัตว์ · ดูเพิ่มเติม »

สัตว์มีกระดูกสันหลัง

ัตว์มีกระดูกสันหลัง (Vertebrate) สิ่งมีชีวิตประเภทนี้มีกระดูกสันหลังหรือไขสันหลัง สิ่งมีชีวิตที่มีกระดูกสันหลังเริ่มมีวิวัฒนาการมาเป็นเวลาประมาณ 505 ล้านปี ในยุคแคมเบรียนกลาง ซึ่งเป็นส่วนหนึ่งของช่วงยุคแคมเบรียน โครงกระดูกของไขสันหลัง ถูกเรียกว่ากระดูกสันหลัง Vertebrate เป็นไฟลัมย่อยที่ใหญ่ที่สุดใน Chordates รวมทั้งยังมีสัตว์ที่คนรู้จักมากที่สุดอีกด้วย (ยกเว้นแมลง) ปลา สัตว์สะเทินน้ำสะเทินบก สัตว์เลื้อยคลาน นก และสัตว์เลี้ยงลูกด้วยนม (รวมทั้งมนุษย์) เป็นสิ่งมีชีวิตที่มีกระดูกสันหลังทั้งสิ้น ลักษณะเฉพาะของไฟลัมย่อยนี้คือระบบของกล้ามเนื้อจำนวนมาก เช่นเดียวกับระบบประสาทส่วนกลางที่ถูกวางในกระดูกสันหลังเป็นส่วน ๆ สัตว์มีกระดูกสันหลัง คือกระดูกสันหลังจะอยู่เป็นแนวยาวไปตามด้านหลังของสัตว์ กระดูกสันหลังจะต่อกันเป็นข้อๆ ยืดหยุ่น เคลื่อนไหวได้มีหน้าที่ช่วยพยุงร่างกายให้เป็นรูปร่างทรวดทรงอยู่ได้และยังช่วยป้องกันเส้นประสาทอีกด้วย สัตว์พวกมีกระดูกสันหลัง นักวิทยาศาสตร์ยังแบ่งออกเป็น 5 พวกคือ.

ใหม่!!: ปลามีเกราะและสัตว์มีกระดูกสันหลัง · ดูเพิ่มเติม »

สัตว์มีแกนสันหลัง

ัตว์มีแกนสันหลัง คือสัตว์ในไฟลัมคอร์ดาตา พวกมันจะมีแกนสันหลัง ใยประสาทส่วนหลังกลวง ช่องคอหอย หลอดเส้นประสาทกลวงส่วนหลัง และหางหลังทวารหนัก ในช่วงหนึ่งของวงจรชีวิต สัตว์มีแกนสันหลังเป็นพวกดิวเทอโรสโตม กล่าวคือในช่วงระยะตัวอ่อน ทวารหนักเกิดก่อนปาก และเป็นซีโลเมตที่มีสมมาตรด้านข้าง ในกรณีของสัตว์มีแกนสันหลังที่มีกระดูกสันหลัง แกนสันหลังจะถูกแทนที่โดยกระดูกสันหลังในช่วงเจริญเติบโต และพวกมันอาจจะมีปล้องตามร่างกาย ในอนุกรมวิธาน ตัวไฟลัมเองประกอบไปด้วยไฟลัมย่อยเวอร์เตบราตา (ซึ่งประกอบด้วย ปลา สัตว์ครึ่งบกครึ่งน้ำ สัตว์เลื้อยคลาน สัตว์ปีก และสัตว์เลี้ยงลูกด้วยนม) ทูนิคาตา (ซึ่งรวมทั้งซาล์ปและเพรียงหัวหอม) และเซฟาโลคอร์ดาตา ประกอบด้วยแหลนทะเล และยังรวมถึงบางกลุ่มที่สูญพันธุ์ไปแล้ว บางครั้งกลุ่มสัตว์มีกระดูกสันหลังถูกจัดรวมอยู่กับกลุ่มสัตว์มีกระโหลกศีรษะ สัตว์มีแกนสันหลังมีมากกว่า 65,000 สปีชีส์ที่ยังมีชีวิตอยู่ กว่าครึ่งเป็นพวกปลากระดูกแข็ง วาฬและเหยี่ยวเพเรกริน สัตว์ที่มีขนาดใหญ่ที่สุดและเคลื่อนที่เร็วที่สุดตามลำดับ เป็นสัตว์มีแกนสันหลังเช่นเดียวกันกับมนุษย์ ซากดึกดำบรรพ์ของสัตว์มีแกนสันหลังยุคแรกๆ มีอายุย้อนไปถึงในช่วงการระเบิดยุคแคมเบรียน.

ใหม่!!: ปลามีเกราะและสัตว์มีแกนสันหลัง · ดูเพิ่มเติม »

สิ่งมีชีวิต

งมีชีวิต จะมีคุณลักษณะ (properties) ที่ไม่พบในสิ่งไม่มีชีวิต อันได้แก่ความสามารถในการใช้สสารและพลังงานเป็นสำคัญ ซึ่งได้รับถ่ายทอดจากบรรพบุรุษของสิ่งมีชีวิตแรกเริ่ม อย่างไรก็ตามสิ่งมีชีวิตเริ่มแรกหรือบรรพบุรุษของสิ่งมีชีวิตซึ่งถือกำเนิดมาบนโลกกว่า 4 พันล้านปี เมื่อผ่านการวิวัฒนาการและการปรับตัวให้เข้ากับสิ่งแวดล้อมในแต่ละช่วงเวลา ก่อให้เกิดความหลากหลายทางชีวภาพของสิ่งมีชีวิตเป็นจำนวนมากดังที่ปรากฏในปัจจุบัน.

ใหม่!!: ปลามีเกราะและสิ่งมีชีวิต · ดูเพิ่มเติม »

ออสตราโคเดิร์ม

ภาพวาดของออสตราโคเดิร์ม (เฉพาะรูปด้านบนเท่านั้น รูปด้านล่างเป็นภาพวาดของปลามีเกราะหรือพลาโคเดิร์ม ซึ่งไม่ใช่ออสตราโคเดิร์ม) ออสตราโคเดิร์ม (Ostracoderm) เป็นปลาโบราณที่สูญพันธุ์ไปแล้ว เป็นสัตว์มีกระดูกสันหลังที่เกิดขึ้นเป็นกลุ่มแรกๆ พบเป็นซากฟอสซิลอายุระหว่างยุคออร์โดวิเชียนจนถึงยุคดีโวเนียน ในทวีปอเมริกาเหนือและยุโรป ถือเป็นสัตว์มีกระดูกสันหลังที่เกิดก่อนสัตว์กลุ่มอื่นๆ ความยาวไม่เกิน 30 ซม..

ใหม่!!: ปลามีเกราะและออสตราโคเดิร์ม · ดูเพิ่มเติม »

ทะเล

ทะเลโบฟอร์ต ทะเล เป็นแหล่งน้ำเค็มขนาดใหญ่ที่ล้อมรอบด้วยพื้นดินทั้งหมดหรือบางส่วน.

ใหม่!!: ปลามีเกราะและทะเล · ดูเพิ่มเติม »

ดังเคิลออสเตียส

ังเคิลออสเตียส (Dunkleosteus) เป็นสกุลของปลาในยุคก่อนประวัติศาสตร์ที่ปัจจุบันนี้สูญพันธุ์ไปแล้วสกุลหนึ่ง ใช้ชื่อสกุลว่า Dunkleosteus (มาจาก "(เดวิด) Dunkle" + osteus (οστεος, ภาษากรีก: กระดูก); หมายถึง "กระดูกของดังเคิล" ซึ่งตั้งเพื่อเป็นเกียรติแก่ เดวิด ดังเคิล ภัณฑารักษ์แห่งพิพิธภัณฑ์ธรรมชาติวิทยาคลีฟแลนด์) ดังเคิลออสเตียส เป็นปลาทะเลขนาดใหญ่อาศัยอยู่ในปลายยุคดีโวเนียน (380-360 ล้านปีมาแล้ว) จัดเป็นปลาที่มีขากรรไกรที่เป็นปลานักล่ากินเนื้อขนาดใหญ่ที่เป็นเสมือนคู่แข่งตัวฉกาจของปลาฉลามในยุคต้นของการวิวัฒนาการเลยทีเดียว ดังเคิลออสเตียส ถือเป็นสกุลของปลาที่มีขนาดใหญ่ที่สุดที่อยู่ในอันดับ Arthrodira รูปลักษณ์ภายนอกของปลาสกุลนี้แลดูดุดันน่ากลัวมาก ที่เห็นเด่นชัดสุดคงเป็นแผ่นขากรรไกรแข็งแรง ยืดหยุ่นได้ดี ไม่มีฟันแต่ที่ขอบปากมีลักษณะแหลมคล้ายเขี้ยวทั้งด้านบนและล่าง ทำให้เป็นเหมือนจะงอยปากไว้งับเหยื่อโดยไม่ต้องใช้ฟัน ในขณะที่มีลำตัวตัวยาว 3-9 เมตร และหนักได้ถึง 3.6-4 ตัน และมีโครงสร้างประกอบด้วยเกล็ดอย่างหนาและแข็งเสมือนชุดเกราะ มีทั้งหมด 7 ชนิด และเป็นชนิดที่เพิ่งได้รับการอนุกรมวิธานไปเมื่อปี ค.ศ. 2010 2 ชนิด (ดูในตาราง) ที่ผ่านมานักวิทยาศาสตร์พบฟอสซิลจำนวนมากของดังเคิลออสเตียสในทวีปอเมริกาเหนือ, โปแลนด์, เบลเยียม และโมร็อกโก แต่มักเป็นฟอสซิลส่วนหัว ทำให้ไม่เป็นที่ชัดเจนว่าท่อนล่างของลำตัวเป็นอย่างไร จากโครงสร้างเสมือนเกราะแข็งหนักของดังเคิลออสเตียสทำให้เชื่อว่าเป็นปลาที่ว่ายน้ำได้ไม่คล่องแคล่วว่องไวเหมือนปลาชนิดอื่น และชอบอาศัยอยู่ใกล้ชายฝั่งมากกว่า นักวิทยาศาสตร์ของพิพิธภัณฑ์ฟิล์ด มิวเซียม และมหาวิทยาลัยชิคาโก ศึกษาโครงสร้างขากรรไกรของดังเคิลออสเตียสแล้วมีความเห็นว่าต้องเป็นปลาที่มีพลังในการกัดมหาศาลเหนือกว่าปลาชนิดอื่นใด และเหนือกว่าปลาฉลามทั่วไป และแม้แต่ปลาฉลามขาว โดยมีแรงกดทับสูงถึง 8,000 ปอนด์ต่อตารางนิ้ว ซึ่งความร้ายกาจอันนี้จึงมักจะถูกนำไปเปรียบเทียบกับไดโนเสาร์กินเนื้อเช่น ไทรันโนซอรัส และจระเข้สมัยใหม่เสียมากกว่า นอกจากนี้ยังอ้าปากได้เร็วมากในอัตรา 1 ใน 50 ส่วนของวินาที ซึ่งทำให้มีพลังมหาศาลในการดูดเหยื่อเข้าไป ซึ่งลักษณะพิเศษเช่นนี้นี้ยังพบได้ในปลากระดูกแข็งสมัยใหม่ที่มีพัฒนาการก้าวหน้าโดยส่วนใหญ่ แต่ปลาในอันดับ Arthrodira นี้มีชีวิตอยู่บนโลกสั้นมาก กล่าวคือ อยู่ได้เพียงประมาณ 50 ล้านปีก็สูญพันธุ์ไปอย่างรวดเร็วในช่วงปลายยุคดีโวเนียน โดยปัจจุบันตามพิพิธภัณฑ์ธรรมชาติวิทยาต่าง ๆ ยังมีซากฟอสซิลดังเคิลออสเตียสเก็บแสดงอยู่ โดยที่ที่มีชื่อเสียงที่สุด คือ พิพิธภัณฑ์ธรรมชาติวิทยาคลีฟแลนด์ในสหรัฐอเมริกา และพิพิธภัณฑ์ควีนส์แลนด์ในออสเตรเลี.

ใหม่!!: ปลามีเกราะและดังเคิลออสเตียส · ดูเพิ่มเติม »

ตัน

ตัน เป็นหน่วยวัดมวล มีความหมายได้ 2 แบบ คือ.

ใหม่!!: ปลามีเกราะและตัน · ดูเพิ่มเติม »

ปลามีเกราะ

ปลามีเกราะ หรือ ปลาหุ้มเกราะ (Armored fish) เป็นปลายุคก่อนประวัติศาสตร์ในชั้น Placodermi หรือ Placoderm ซึ่งปัจจุบันสูญพันธุ์ไปหมดแล้ว บรรพบุรุษของปลาถือกำเนิดขึ้นมาในยุคออร์โดวิเชียน (500 ล้านปีก่อน) โดยวิวัฒนาการมาจากสิ่งมีชีวิตที่เรียกว่า แอมฟิออกซัส ที่มีกระดูกอ่อนเป็นกระดูกแกนหลักในร่างกาย และกลายมาเป็นปลาปากกลมที่ไม่มีขากรรไกร หลังจากนั้นก็กลายมาเป็นปลาที่มีเกล็ดแข็งเหมือนเกราะหนาหุ้มตัว จากนั้นในยุคดีโวเนียน (360 ล้านปีก่อน) จึงเป็นปลาที่มีเกล็ดหุ้มร่างกายอย่างหนาแน่นคล้ายชุดเกราะ มีขากรรไกร ก็คือ ปลามีเกราะปรากฏขึ้นมา โดยแบ่งออกเป็นสองส่วนใหญ่ ๆ คือ เกราะบริเวณส่วนหัว และเกราะบริเวณลำตัว ปลามีเกราะมีกระจายพันธุ์แพร่หลายทั้งในน้ำจืดและทะเล แบ่งออกได้เป็นอันดับต่าง ๆ ถึง 10 อันดับ (ดูในตาราง) ปลามีเกราะแพร่พันธุ์ด้วยการแพร่พันธุ์แบบอาศัยเพศ โดยออกเป็นไข่ แต่ก็มีบางจำพวกที่ค้นพบว่าคลอดลูกเป็นตัวด้วย โดยปลามีเกราะขนาดใหญ่ที่สุด คือ ดังเคิลออสเตียส ที่มีส่วนหัวและริมฝีปากที่แหลมคมขนาดใหญ่ใช้แทนฟัน มีความยาวเต็มที่ได้ถึง 10 เมตร มีน้ำหนักได้ถึง 3.6-4 ตัน.

ใหม่!!: ปลามีเกราะและปลามีเกราะ · ดูเพิ่มเติม »

ปลาไม่มีขากรรไกร

ปลาไม่มีขากรรไกร (Jawless fish) เป็นปลาที่อยู่ในชั้นใหญ่ Agnatha (กรีก: ไม่มีขากรรไกร) เป็นปลาในชั้นหนึ่ง ที่แตกต่างไปจากปลากระดูกแข็ง หรือ ปลากระดูกอ่อน ซึ่งเป็นปลาส่วนใหญ่ที่พบได้ทั่วไปและเป็นที่รู้จักกันเป็นอย่างดี โดยปลาในชั้นนี้จะไม่มีกรามหรือขากรรไกร แต่จะมีปากแบบวงกลมและมีฟันแหลมคมจำนวนมากอยู่รอบ ๆ ใช้สำหรับดูดเลือดและเนื้อเยื่อของปลาชนิดอื่นกินเป็นอาหาร มีลำตัวยาวเหมือนปลาไหล มีโครงสร้างของกระดูกเป็นกระดูกอ่อน พบได้ทั้งน้ำจืดและทะเล บรรพบุรุษของปลาไม่มีขากรรไกร วิวัฒนาการมาจากปลาในชั้นออสตราโคเดิร์มซึ่งสูญพันธ์ไปแล้ว ฟอสซิลที่ถูกค้นพบครั้งล่าสุด พบว่า มีอายุกว่า 500 ล้านปีมาแล้ว และฟอสซิลที่ถูกค้นพบนั้นมีความสลับซับซ้อนมาก จึงเป็นที่น่าคาดการได้ว่า ออสตราโคเดิร์ม เก่าแก่มาก และน่าจะสูญพันธุ์ไปหมดแล้ว ปลาไม่มีขากรรไกร สามารถแบ่งออกได้เป็น 2 กลุ่ม คือ Petromyzontida และ Myxini ซึ่งในปัจจุบัน กลุ่ม Petromyzontida มีเหลืออยู่เพียงประเภทเดียว คือ ปลาแลมป์เพรย์ ส่วน Myxini ก็เหลือเพียงประเภทเดียวเช่นกัน คือ แฮคฟ.

ใหม่!!: ปลามีเกราะและปลาไม่มีขากรรไกร · ดูเพิ่มเติม »

น้ำหนัก

เครื่องชั่งสปริงเป็นเครื่องมือชนิดหนึ่งที่ใช้วัดขนาดของน้ำหนัก ในทางวิทยาศาสตร์และวิศวกรรมศาสตร์ น้ำหนัก หมายถึงแรงบนวัตถุอันเนื่องมาจากความโน้มถ่วง ขนาดของน้ำหนักในปริมาณสเกลาร์ มักเขียนแทนด้วย W แบบตัวเอน คือผลคูณของมวลของวัตถุ m กับขนาดของความเร่งเนื่องจากความโน้มถ่วง g นั่นคือ ถ้าหากพิจารณาน้ำหนักว่าเป็นเวกเตอร์ จะเขียนแทนด้วย W แบบตัวหนา หน่วยวัดของน้ำหนักใช้อย่างเดียวกันกับหน่วยวัดของแรง ซึ่งหน่วยเอสไอก็คือนิวตัน ยกตัวอย่าง วัตถุหนึ่งมีมวลเท่ากับ 1 กิโลกรัม มีน้ำหนักประมาณ 9.8 นิวตันบนพื้นผิวโลก มีน้ำหนักประมาณหนึ่งในหกเท่าบนพื้นผิวดวงจันทร์ และมีน้ำหนักที่เกือบจะเป็นศูนย์ในห้วงอวกาศที่ไกลออกไปจากเทหวัตถุอันจะส่งผลให้เกิดความโน้มถ่วง ในทางนิติศาสตร์และการพาณิชย์ น้ำหนัก มีความหมายเดียวกันกับมวล The National Standard of Canada, CAN/CSA-Z234.1-89 Canadian Metric Practice Guide, January 1989.

ใหม่!!: ปลามีเกราะและน้ำหนัก · ดูเพิ่มเติม »

น้ำจืด

น้ำจืดในลำธาร น้ำจืด หมายถึงน้ำในแหล่งน้ำทั่วไปอาทิ บ่อน้ำ ทะเลสาบ แม่น้ำ ลำธาร เป็นต้น ที่ซึ่งมีเกลือและของแข็งอื่นละลายอยู่ในระดับต่ำ มีความหนาแน่นน้อย นั่นคือน้ำจืดไม่ได้เป็นน้ำเค็มและน้ำกร่อย น้ำจืดสามารถเป็นผลผลิตของน้ำทะเลที่เอาเกลือออกแล้วได้ น้ำจืดเป็นทรัพยากรหมุนเวียนที่สำคัญต่อสิ่งมีชีวิตบนบกเป็นส่วนใหญ่ และเป็นที่จำเป็นต่อมนุษย์สำหรับน้ำดื่ม และใช้ในเกษตรกรรม เป็นต้น องค์การสหประชาชาติได้คาดการณ์ไว้ว่า ประชากรโลกประมาณร้อยละ 18 ขาดแคลนน้ำดื่มที่ปลอดภั.

ใหม่!!: ปลามีเกราะและน้ำจืด · ดูเพิ่มเติม »

ไข่

อาจหมายถึง.

ใหม่!!: ปลามีเกราะและไข่ · ดูเพิ่มเติม »

เกราะญี่ปุ่น

''เกราะญี่ปุ่นของซามูไรในสมัยโบราณ'' เกราะญี่ปุ่น คือเครื่องสวมใส่สำหรับป้องกันอันตรายจากอาวุธ ของนักรบซามูไรในสมัยโบราณและทหารเดินเท้า เป็นสิ่งสำคัญสำหรับนักรบ ซามูไร ในการต่อสู้ ถูกเรียกว่า จิตวิญญาณแห่งเหล็กกล้า เกราะญี่ปุ่น สามารถแบ่งออกเป็น 2 รูปประเภท คือ โยะโรย และ โดะมะรุ ซึ่ง โยะโรย คือเกราะสำหรับซามูไรขี่ม้า หรือแม่ทัพและไดเมียว ซึ่งลักษณะของเกราะจะมีน้ำหนักมากและมีแผงกำบังไหล่ สีสันฉูดฉาดสะดุดตา ส่วน โดะมะรุ คือเกราะสำหรับซามูไรเดินเท้า จะแตกต่างกับ โยะโรย ตรงที่เกราะจะมีน้ำหนักเบาและสวมพอดีตัวกับผู้สวมใส่ และสีสันค่อนข้างทึ.

ใหม่!!: ปลามีเกราะและเกราะญี่ปุ่น · ดูเพิ่มเติม »

เกล็ดปลา

กล็ดแบบกลมที่ปกคลุมปลายี่สกเทศ ผิวหนังของปลาส่วนใหญ่ปกคลุมด้วยเกล็ด เกล็ดปลาแต่ละชนิดนั้นมีความแตกต่างกันทั้งด้านขนาด รูปทรง โครงสร้างและขอบเขต โดยมีตั้งแต่แผ่นเกราะแข็งแรงทื่อในปลาอย่างปลามีดโกนและปลาปักเป้ากล่อง ไปจนถึงมีขนาดเล็กจนมองไม่เห็นด้วยตาเปล่าหรือไม่มีเลยในปลาอย่างปลาไหลและปลาตกเบ็ด สามารถใช้กายสัณฐานของเกล็ดในการระบุชนิดของปลาได้ ปลากระดูกอ่อน (เช่น ปลาฉลามและปลากระเบน) มีเกล็ดแบนราบ (placoid) ปกคลุม ส่วนปลากระดูกแข็งส่วนใหญ่มีเกล็ดทรงกลม (cycloid) อย่างปลาแซลมอนและปลาคาร์พ หรือเกล็ดแบบซี่ (ctenoid) อย่างปลาเพิร์ช หรือเกล็ดกระดูกแข็ง (ganoid) อย่างปลาสเตอร์เจียนและปลาการ์ บางชนิดมีสคิวต์ (scute) ปกคลุม และบางชนิดไม่มีสิ่งปกคลุมผิวหนัง เกล็ดปลาเป็นส่วนหนึ่งของระบบส่วนห่อหุ้มของปลา และผลิตจากชั้นเมโซเดิร์ม (mesoderm) ของหนังแท้ ซึ่งทำให้เกล็ดปลาแตกต่างจากเกล็ดสัตว์เลื้อยคลาน การเจริญของเกล็ดอาศัยยีนเดียวกับที่เกี่ยวข้องกับการเจริญของฟันและขนในสัตว์เลี้ยงลูกด้วยนม เกล็ดแบนราบของปลากระดูกอ่อนยังเรียก เด็นทิเคิลหนังแท้ (dermal denticle) และสมนัยเชิงโครงสร้างกับฟันของสัตว์มีกระดูกสันหลัง มีการเสนอว่า เกล็ดของปลากระดูกแข็งมีโครงสร้างเหมือนกับฟัน แต่อาจกำเนิดจากเนื้อเยื่อคนละชนิดกัน ปลาส่วนใหญ่มีชั้นเมือกป้องกันปกคลุมอยู.

ใหม่!!: ปลามีเกราะและเกล็ดปลา · ดูเพิ่มเติม »

เมตร

มตร อักษรย่อ ม. (mètre → metre meter The Metric Conversion Act of 1975 gives the Secretary of Commerce of the US the responsibility of interpreting or modifying the SI for use in the US., m) เป็นหน่วยฐานเอสไอของความยาวในหน่วยเอสไอ แต่เดิมนิยามว่าหนึ่งเมตรเท่ากับ 1/10,000,000 ของระยะทางจากเส้นศูนย์สูตรของโลกไปยังขั้วโลกเหนือวัดจากเส้นรอบวงที่ผ่านเมืองปารีส แต่เนื่องจากความแม่นยำทางมาตรวิทยา ที่มีมากขึ้น ตั้งแต่ปีพ.ศ. 2526 ความยาวหนึ่งเมตรจึงถูกนิยามไว้ให้เท่ากับความยาวที่แสงเดินทางได้ในสุญญากาศ ในช่วงเวลา วินาที.

ใหม่!!: ปลามีเกราะและเมตร · ดูเพิ่มเติม »

เปลี่ยนเส้นทางที่นี่:

PlacodermPlacodermiปลาหุ้มเกราะ

ขาออกขาเข้า
Hey! เราอยู่ใน Facebook ตอนนี้! »