โลโก้
ยูเนี่ยนพีเดีย
การสื่อสาร
ดาวน์โหลดได้จาก Google Play
ใหม่! ดาวน์โหลด ยูเนี่ยนพีเดีย บน Android ™ของคุณ!
ฟรี
เร็วกว่าเบราว์เซอร์!
 

ปราสาทเคอนิจส์แบร์ก

ดัชนี ปราสาทเคอนิจส์แบร์ก

ปราสาทเคอนิจส์แบร์ก พ.ศ. 2438 ปราสาทเคอนิจส์แบร์กฝั่งทิศตะวันออก พ.ศ. 2453 ปราสาทเคอนิจส์แบร์ก (Königsberger Schloss; Кёнигсбергский замок) คือปราสาทในเมืองเคอนิจส์แบร์ก เยอรมนี (คาลินินกราด สหพันธรัฐรัสเซีย ในปัจจุบัน) และเป็นหนึ่งในสถานที่สำคัญของเมือง ซึ่งในอดีตเคยเป็นเมืองหลวงของจังหวัดปรัสเซียตะวันออก (คาลินินกราดโอบลาสต์ ในปัจจุบัน).

25 ความสัมพันธ์: ชาวปรัสเซียเก่าพระเจ้าฟรีดริชที่ 1 แห่งปรัสเซียกองทัพแดงมหาวิหารเคอนิจส์แบร์กราชวงศ์โฮเอินโซลเลิร์นวลาดีมีร์ ปูตินสหภาพโซเวียตสารานุกรมบริตานิกาสถาปัตยกรรมกอทิกสงครามโลกครั้งที่สองห้องอำพันอัศวินทิวทอนิกอิมมานูเอล คานต์จักรพรรดิวิลเฮล์มที่ 1 แห่งเยอรมนีจักรวรรดิเยอรมันดัชชีปรัสเซียคาลีนินกราดตราอาร์มประเทศรัสเซียประเทศเยอรมนีปราสาทแคว้นคาลินินกราดโลวิส โครินธ์เลโอนิด เบรจเนฟเคอนิจส์แบร์ก

ชาวปรัสเซียเก่า

นเผ่าปรัสเซียภายในกลุ่มชนบอลติค ราว ค.ศ. 1200 บอลติคตะวันออกสีน้ำตาลและบอลติคตะวันตกสีเขียว เขตแดนที่แสดงเป็นเขตแดนโดยประมาณ ชนปรัสเซียเก่า หรือ ชนบอลติกปรัสเซีย (Old Prussians หรือ Baltic Prussians; Pruzzen or Prußen; Pruteni; Prūši; Prūsai; Prusowie) เป็นกลุ่มชาติพันธุ์ (ethnic group) ท้องถิ่นในกลุ่มชนบอลต์ (Balts) ที่ตั้งถิ่นฐานอยู่ในบริเวณปรัสเซีย ซึ่งเป็นดินแดนบริเวณทางตะวันออกเฉียงใต้ของทะเลบอลติกในบริเวณรอบ ๆ ลากูนวิตูลา (Vistula Lagoon) และ ลากูนคูโรเนียน (Curonian Lagoon) ภาษาที่พูดปัจจุบันเรียกว่าภาษาปรัสเซียเก่า ซึ่งเป็นภาษาที่ใช้ในบริเวณที่นักวิชาการเชื่อว่าเกี่ยวข้องโดยตรงกับบริเวณลิทัวเนียที่นับถือลัทธิเพกันที่นับถือพระเจ้าเช่นเพอร์กูน ระหว่างคริสต์ศตวรรษที่ 13 ชนปรัสเซียเก่าถูกพิชิตโดยอัศวินทิวทันและในที่สุดก็ค่อยๆ กลายเป็นเยอรมัน (Germanisation) ในหลายร้อยปีต่อมา อาณาจักรปรัสเซียเดิมของเยอรมนีนำชื่อนี้มาใช้เป็นชื่ออาณาจักร แม้ว่าจะมีผู้นำเป็นชาวเยอรมันผู้กลืนไปกับชนปรัสเซียเก่า ส่วนภาษาปรัสเซียเก่าก็สูญหายไปตั้งแต่คริสต์ศตวรรษที่ 17Encyclopædia Britannica entry 'Old Prussian language' ดินแดนของชนปรัสเซียเก่าเป็นดินแดนที่อยู่ราวตอนกลางและตอนใต้ของปรัสเซียตะวันออก — ปัจจุบัน Warmian-Masurian Voivodeship ของโปแลนด์ คาลินินกราด ของรัสเซีย และ ทางใต้ของ บริเวณไคลพาดา (Klaipėda Region) ของลิทัวเนี.

ใหม่!!: ปราสาทเคอนิจส์แบร์กและชาวปรัสเซียเก่า · ดูเพิ่มเติม »

พระเจ้าฟรีดริชที่ 1 แห่งปรัสเซีย

ระเจ้าฟรีดริชที่ 1 แห่งปรัสเซีย (Friedrich I; Frederick I of Prussia; 11 กรกฎาคม ค.ศ. 1657 - 25 กุมภาพันธ์ ค.ศ. 1713) หรือ ฟรีดริชที่ 3 ผู้คัดเลือกแห่งบรันเดนบูร์ก แห่งราชวงศ์โฮเฮนโซลเลิร์นเป็นเจ้านครรัฐผู้คัดเลือกของรัฐมาร์เกรฟบรันเดนบูร์กระหว่าง ค.ศ. 1688 จนถึง ค.ศ. 1713 และดยุกแห่งดัชชีปรัสเซียโดยการเป็นรัฐร่วมประมุข ตำแหน่งหลังได้รับการเลื่อนขึ้นเป็นราชอาณาจักรโดยฟรีดริชเป็นปฐมกษัตริย์ของราชอาณาจักรปรัสเซียระหว่าง ค.ศ. 1701 จนกระทั่งเสด็จสวรรคตในปี ค.ศ. 1713 สมเด็จพระเจ้าฟรีดริชที่ 1 เป็นพระโอรสองค์ที่สามของฟรีดริช วิลเฮล์มที่ 1 ผู้คัดเลือกแห่งบรันเดนบูร์ก กับพระชายาองค์แรกหลุยส์ เฮนเรียตแห่งออเรนจ์-นาซอ พระธิดาองค์โตของเฟรเดอริค เฮนรี เจ้าชายแห่งออเรนจ์ และอมาเลียแห่งโซล์มส์-บราวน์เฟลส์ พระญาติสายพระมารดาคือสมเด็จพระเจ้าวิลเลียมที่ 3 แห่งอังกฤษ เมื่อฟรีดริช วิลเฮล์มที่ 1 สวรรคตเมื่อวันที่ 29 เมษายน ค.ศ. 1688 ก็ทรงสืบทอดราชสมบัติต่อจากพระบิดาเป็น ฟรีดริชที่ 3 ผู้คัดเลือกแห่งบรันเดนบูร์ก.

ใหม่!!: ปราสาทเคอนิจส์แบร์กและพระเจ้าฟรีดริชที่ 1 แห่งปรัสเซีย · ดูเพิ่มเติม »

กองทัพแดง

accessdate.

ใหม่!!: ปราสาทเคอนิจส์แบร์กและกองทัพแดง · ดูเพิ่มเติม »

มหาวิหารเคอนิจส์แบร์ก

อาสนวิหารเคอนิจส์แบร์ก (Königsberg Cathedral) เป็นอาสนวิหารศาสนจักรออร์โธดอกซ์รัสเซียที่ตั้งอยู่ที่เมืองคาลินกราด (เดิมเคอนิจส์แบร์กในเยอรมนี) บนเกาะเพรเกิล (เพรโกลยา) ในสหพันธรัฐรัสเซีย หรือเรียกว่าคไนพ์ฮอฟในภาษาเยอรมัน.

ใหม่!!: ปราสาทเคอนิจส์แบร์กและมหาวิหารเคอนิจส์แบร์ก · ดูเพิ่มเติม »

ราชวงศ์โฮเอินโซลเลิร์น

ราชวงศ์โฮเอินโซลเลิร์น (Haus Hohenzollern) เป็นราชตระกูลเยอรมันและโรมาเนียของยุโรปที่ปกครองปรัสเซีย, เยอรมนี และ โรมาเนีย บริเวณดั้งเดิมของราชวงศ์อยู่ในบริเวณเมืองเฮ็คคิงเงิน (Hechingen) ในชวาเบินที่ก่อตั้งขึ้นในคริสต์ศตวรรษที่ 11 ชื่อราชวงศ์มาจากที่พำนักของตระกูลที่เรียกว่าปราสาทโฮเอินโซลเลิร์น (Burg Hohenzollern) คำขวัญของตระกูลคือ “Nihil Sine Deo” (ไม่มีสิ่งใดถ้าไม่มีพระเจ้า) ตราประจำตระกูลเริ่มใช้ในปี..

ใหม่!!: ปราสาทเคอนิจส์แบร์กและราชวงศ์โฮเอินโซลเลิร์น · ดูเพิ่มเติม »

วลาดีมีร์ ปูติน

วลาดีมีร์ วลาดีมีโรวิช ปูติน (Владимир Владимирович Путин; Vladimir Vladimirovich Putinr) เป็นนักการเมืองชาวรัสเซียผู้ดำรงตำแหน่ง ประธานาธิบดีรัสเซียคนที่สี่และคนปัจจุบัน เช่นเดียวกับประธานพรรคยูไนเต็ดรัสเซียและประธานสภารัฐมนตรีสหภาพรัสเซียและเบลารุส เขารักษาการตำแหน่งประธานาธิบดีเมื่อวันที่ 31 ธันวาคม..

ใหม่!!: ปราสาทเคอนิจส์แบร์กและวลาดีมีร์ ปูติน · ดูเพิ่มเติม »

สหภาพโซเวียต

หภาพสาธารณรัฐสังคมนิยมโซเวียต (Сою́з Сове́тских Социалисти́ческих Респу́блик - CCCP; Union of Soviet Socialist Republics - USSR) หรือย่อเป็น สหภาพโซเวียต (Soviet Union) เป็นประเทศอภิมหาอำนาจในอดีตบนทวีปยูเรเชีย ระหว่างปี..

ใหม่!!: ปราสาทเคอนิจส์แบร์กและสหภาพโซเวียต · ดูเพิ่มเติม »

สารานุกรมบริตานิกา

รานุกรมบริตานิกา (Encyclopædia Britannica) เป็นสารานุกรมภาษาอังกฤษ ตีพิมพ์โดยบริษัท Encyclopædia Britannica, Inc.

ใหม่!!: ปราสาทเคอนิจส์แบร์กและสารานุกรมบริตานิกา · ดูเพิ่มเติม »

สถาปัตยกรรมกอทิก

มหาวิหารน็อทร์-ดามแห่งปารีสเป็นลักษณะสถาปัตยกรรมกอทิก สถาปัตยกรรมกอทิก (Gothic architecture) เป็นลักษณะสถาปัตยกรรมที่รุ่งเรืองในช่วงกลางสมัยกลางถึงปลายสมัยกลาง โดยวิวัฒนาการมาจากสถาปัตยกรรมโรมาเนสก์และตามด้วยสถาปัตยกรรมสมัยฟื้นฟูศิลปวิทยา สถาปัตยกรรมกอทิกเกิดขึ้นระหว่างคริสต์ศตวรรษที่ 12 ถึง 16 โดยเริ่มขึ้นในประเทศฝรั่งเศสก่อนที่จะเผยแพร่ไปยังประเทศอังกฤษ และต่อไปยังทวีปยุโรปโดยทั่วไป สถาปัตยกรรมกอทิกเริ่มขึ้นในฝรั่งเศสในคริสต์ศตวรรษที่ 12 และรุ่งเรืองต่อมาจนถึงคริสต์ศตวรรษที่ 16 ในระยะแรก สถาปัตยกรรมทรงนี้เรียกกันว่า "แบบฝรั่งเศส" (Opus Francigenum) คำว่า "กอทิก" มาเริ่มใช้กันในตอนปลายยุคฟื้นฟูศิลปวิทยาในทางที่เป็นการหมิ่นลักษณะสถาปัตยกรรม ลักษณะเด่นของสถาปัตยกรรมแบบกอทิกที่เป็นที่รู้จักกันดีคือการใช้โค้งแหลม เพดานสัน และ ค้ำยันแบบปีก สถาปัตยกรรมกอทิกเป็นสถาปัตยกรรมที่นิยมใช้ในการสร้างอาสนวิหาร แอบบี และคริสต์ศาสนสถานอื่น ๆ ของยุโรป นอกจากนั้นก็ยังใช้ในกาสร้างปราสาท, วัง, ตึกเทศบาลเมือง, มหาวิทยาลัย และบางครั้งก็สำหรับที่อยู่อาศัยแต่ก็ไม่มากนัก สถาปัตยกรรมกอทิกที่ใช้ในการก่อสร้างโบสถ์และอาสนวิหาร และในสิ่งก่อสร้างบางสิ่งของฆราวาสที่เป็นการแสดงลักษณะการก่อสร้างอันมีพลัง ลักษณะรูปทรงของสิ่งก่อสร้างแบบกอทิกเป็นลักษณะที่ก่อให้เกิดความสะเทือนทางอารมณ์ ซึ่งทำให้เป็นสถาปัตยกรรมที่เป็นที่นิยมใช้ในการก่อสร้างสถาปัตยกรรมทางศาสนา และสิ่งก่อสร้างหลายแห่งก็มีคุณค่าสูงพอที่จะได้รับการมอบฐานะให้เป็นมรดกโลก ในอังกฤษในกลางคริสต์ศตวรรษที่ 18 ก็เริ่มมีการก่อสร้างสถาปัตยกรรมที่เลียนแบบสถาปัตยกรรมกอทิก ที่เรียกว่าสถาปัตยกรรมฟื้นฟูกอทิก ที่เผยแพร่ไปยังยุโรป ที่เป็นลักษณะสถาปัตยกรรมที่นิยมใช้ในการก่อสร้างคริสต์ศาสนสถานและมหาวิทยาลัย ความนิยมสถาปัตยกรรมฟื้นฟูกอทิกดำเนินต่อมาจนถึงคริสต์ศตวรรษที่ 20 สถาปัตยกรรมกอทิกพัฒนาขึ้นจากปัญหาทางโครงสร้าง โบสถ์ในสมัยนั้นได้เปลี่ยนแปลงมาใช้โครงสร้างหลังคาโค้งแหลม (point vault) แรงกดของโครงสร้างหลังคาโค้งแหลม จึงพุ่งเป็นเส้นดิ่งมากกว่าโค้งครึ่งวงกลมและถ่ายน้ำหนักจากหลังคาโค้งไปยังเสา (pier) ที่รองรับซึ่งจะสูงชะลูดและมีส่วนค้ำยันผนังเป็นครีบอยู่ภายนอกอาคาร ที่เรียกว่า ครีบยัน ซึ่งตั้งต้นจากยอดของเสาด้านในเอียงมาจดผนังครีบริมนอก ช่วยรับน้ำหนักของโค้งอีกด้วย ส่วนน้ำหนักที่พุ่งออกมาจากด้านข้างของโค้งตรงส่วนข้างของโบสถ์อาศัยผนังครีบด้านนอกรับไว้ ช่วงแต่ละช่วงจึงมีระยะห่างไม่ได้มาก ดังนั้น ส่วนสัดของช่องระหว่างเสาและรูปทรงโบสถ์สมัยกอทิกจะสูงชะลูดและแคบ และเนื่องจากไม่ได้ใช้ผนังรับน้ำหนักอีกต่อไป จึงสามารถเจาะช่องหน้าต่างซึ่งมักทำเป็นรูปวงกลมมีลวดลาย และประดับด้วยกระจกสีที่เรียกว่า หน้าต่างกุหลาบ ได้มากขึ้น ทางด้านจังหวะในงานสถาปัตยกรรม ในสมัยแรก ๆ มักใช้จังหวะตายตัวและซ้ำ ๆ กัน ภายในอาคารมักใช้เสารายเป็นแนว เพื่อดึงความสนใจไปเพียงที่แห่งเดียวคือ แท่นบูชา แต่ต่อมาก็เปลี่ยนแปลงไปจะใช้จังหวะที่เป็นอิสระมากขึ้น.

ใหม่!!: ปราสาทเคอนิจส์แบร์กและสถาปัตยกรรมกอทิก · ดูเพิ่มเติม »

สงครามโลกครั้งที่สอง

งครามโลกครั้งที่สอง (World War II หรือ Second World Warคำว่าสงครามโลกครั้งที่สองในภาษาอังกฤษนั้น ในเอกสารประวัติศาสตร์อย่างเป็นทางการของสหราชอาณาจักรและชาติตะวันตกใช้คำว่า "Second World War" ส่วนในสหรัฐใช้คำว่า "World War II" (ย่อเป็น "WWII" หรือ "WW2") ซึ่งเอกสารประวัติศาสตร์อย่างเป็นทางการในประเทศส่วนใหญ่มักจะใช้ภาษาอังกฤษว่า "Second World War" (เช่น Zweiter Weltkrieg ในภาษาเยอรมัน; Segunda Guerra mundial ในภาษาสเปน; Seconde Guerre mondiale ในภาษาฝรั่งเศส) แต่ทั้งสองคำนี้โดยทั่วไปแล้วสามารถใช้แทนกันได้; แม้ในประวัติศาสตร์การทหารอย่างเป็นทางการ คำว่า "Second World War" ถูกสร้างขึ้นโดย แฟรงก์ บี. เคลล็อก รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการต่างประเทศสหรัฐอเมริกา; ส่วนคำว่า "World War II" พบใช้เป็นครั้งแรกในนิตยสาร ไทมส์ เมื่อวันที่ 12 มิถุนายน ค.ศ. 1939 ซึ่งเป็นผู้ประดิษฐ์คำว่า "World War I" ขึ้นในอีกสามเดือนต่อมา; มักย่อเป็น WWII หรือ WW2) เป็นสงครามทั่วโลกกินเวลาตั้งแต่ปี 1939 ถึง 1945 ประเทศส่วนใหญ่ในโลกมีส่วนเกี่ยวข้อง รวมทั้งรัฐมหาอำนาจทั้งหมด แบ่งเป็นพันธมิตรทางทหารคู่สงครามสองฝ่าย คือ ฝ่ายสัมพันธมิตรและฝ่ายอักษะ เป็นสงครามที่กว้างขวางที่สุดในประวัติศาสตร์ มีทหารกว่า 100 ล้านนายจากกว่า 30 ประเทศเข้าร่วมโดยตรง สงครามนี้มีลักษณะเป็น "สงครามเบ็ดเสร็จ" คือ ประเทศผู้ร่วมสงครามหลักทุ่มขีดความสามารถทางเศรษฐกิจ อุตสาหกรรมและวิทยาศาสตร์ทั้งหมดเพื่อความพยายามของสงคราม โดยลบเส้นแบ่งระหว่างทรัพยากรของพลเรือนและทหาร ประเมินกันว่าสงครามมีมูลค่าราว 1 ล้านล้านดอลลาร์สหรัฐ ประเมินกันว่ามีผู้เสียชีวิตระหว่าง 50 ถึง 85 ล้านคน ด้วยประการทั้งปวง สงครามโลกครั้งที่สองจึงนับว่าเป็นสงครามขนาดใหญ่ที่สุด ใช้เงินทุนมากที่สุด และมีผู้เสียชีวิตสูงสุดในประวัติศาสตร์มนุษยชาติ จักรวรรดิญี่ปุ่นซึ่งมีเป้าหมายครอบงำทวีปเอเชียและแปซิฟิกและทำสงครามกับจีนมาตั้งแต่ปี 1937 แล้ว แต่โดยทั่วไปถือว่าสงครามโลกครั้งที่สองเริ่มตั้งแต่การบุกครองโปแลนด์ของเยอรมนีในวันที่ 1 กันยายน 1939 นำไปสู่การประกาศสงครามต่อเยอรมนีของประเทศฝรั่งเศสและสหราชอาณาจักร ตั้งแต่ปลายปี 1939 ถึงต้นปี 1941 ในการทัพและสนธิสัญญาต่าง ๆ ประเทศเยอรมนีพิชิตหรือควบคุมยุโรปภาคพื้นทวีปได้ส่วนใหญ่ และตั้งพันธมิตรอักษะกับอิตาลีและญี่ปุ่น ภายใต้สนธิสัญญาโมโลตอฟ–ริบเบนทรอพเมื่อเดือนสิงหาคม 1939 เยอรมนีและสหภาพโซเวียตแบ่งแลผนวกดินแดนประเทศเพื่อนบ้านยุโรปของตน ได้แก่ โปแลนด์ ฟินแลนด์ โรมาเนียและรัฐบอลติก สงครามดำเนินต่อส่วนใหญ่ระหว่างชาติฝ่ายอักษะยุโรปและแนวร่วมสหราชอาณาจักรและเครือจักรภพบริติช โดยมีการทัพอย่างการทัพแอฟริกาเหนือและแอฟริกาตะวันออก ยุทธการที่บริเตนซึ่งเป็นการสู้รบทางอากาศ การทัพทิ้งระเบิดเดอะบลิตซ์ การทัพบอลข่าน ตลอดจนยุทธการที่แอตแลนติกที่ยืดเยื้อ ในเดือนมิถุนายน 1941 ชาติอักษะยุโรปบุกครองสหภาพโซเวียต เปิดฉากเขตสงครามภาคพื้นดินที่ใหญ่ที่สุดในประวัติศาสตร์ ซึ่งทำให้กำลังทหารสำคัญของฝ่ายอักษะตกอยู่ในสงครามบั่นทอนกำลัง ในเดือนธันวาคม 1941 ญี่ปุ่นโจมตีสหรัฐและอาณานิคมยุโรปในมหาสมุทรแปซิฟิก และพิชิตมหาสมุทรแปซิฟิกตะวันตกส่วนมากได้อย่างรวดเร็ว การรุกของฝ่ายอักษะยุติลงในปี 1942 หลังญี่ปุ่นปราชัยในยุทธนาวีที่มิดเวย์ใกล้กับฮาวายที่สำคัญ และเยอรมนีปราชัยในแอฟริกาเหนือและจากนั้นที่สตาลินกราดในสหภาพโซเวียต ในปี 1943 จากความปราชัยของเยอรมนีติด ๆ กันที่เคิสก์ในยุโรปตะวันออก การบุกครองอิตาลีของฝ่ายสัมพันธมิตรซึ่งนำให้อิตาลียอมจำนน จนถึงชัยของฝ่ายสัมพันธมิตรในมหาสมุทรแปซิฟิก ฝ่ายอักษะเสียการริเริ่มและต้องล่าถอยทางยุทธศาสตร์ในทุกแนวรบ ในปี 1944 ฝ่ายสัมพันธมิตรบุกครองฝรั่งเศสในการยึดครองของเยอรมนี ขณะเดียวกันกับที่สหภาพโซเวียตยึดดินแดนที่เสียไปทั้งหมดคืนและบุกครองเยอรมนีและพันธมิตร ระหว่างปี 1944 และ 1945 ญี่ปุ่นปราชัยสำคัญในทวีปเอเชียในภาคกลางและภาคใต้ของจีนและพม่า ขณะที่ฝ่ายสัมพันธมิตรก่อความเสียหายต่อกองทัพเรือญี่ปุ่นและยึดหมู่เกาะแปซิฟิกตะวันตกที่สำคัญ สงครามในยุโรปยุติลงหลังกองทัพแดงยึดกรุงเบอร์ลินได้ และการยอมจำนนอย่างไม่มีเงื่อนไขของเยอรมนีเมื่อวันที่ 8 สิงหาคม 1945 แม้จะถูกโดดเดี่ยวและตกอยู่ในสภาพเสียเปรียบอย่างยิ่ง ญี่ปุ่นยังปฏิเสธที่จะยอมจำนน กระทั่งมีการทิ้งระเบิดนิวเคลียร์สองลูกถล่มญี่ปุ่น และการบุกครองแมนจูเรีย จึงได้นำไปสู่การยอมจำนนอย่างเป็นทางการของญี่ปุ่นเมื่อวันที่ 2 กันยายน 1945 สงครามยุติลงด้วยชัยชนะของฝ่ายสัมพันธมิตร ผลของสงครามได้เปลี่ยนแปลงการวางแนวทางการเมืองและโครงสร้างสังคมของโลก สหประชาชาติถูกสถาปนาขึ้น เพื่อส่งเสริมความร่วมมือระหว่างประเทศและเพื่อป้องกันความขัดแย้งในอนาคต สหรัฐอเมริกากับสหภาพโซเวียตก้าวเป็นอภิมหาอำนาจของโลกอันเป็นคู่ปรปักษ์กัน นำไปสู่ความขัดแย้งบนเวทีแห่งสงครามเย็น ซึ่งได้ดำเนินต่อมาอีก 46 ปีหลังสงคราม ขณะเดียวกัน การยอมรับหลักการการกำหนดการปกครองด้วยตนเอง เร่งให้เกิดการเคลื่อนไหวเพื่อเรียกร้องเอกราชในทวีปเอเชียและทวีปแอฟริกา พร้อม ๆ กับที่หลายประเทศได้มุ่งหน้าฟื้นฟูเศรษฐกิจซึ่งอุตสาหกรรมได้รับความเสียหายระหว่างสงคราม และบูรณาการทางการเมืองได้เกิดขึ้นทั่วโลกในความพยายามที่จะรักษาเสถียรภาพความสัมพันธ์หลังสงคราม.

ใหม่!!: ปราสาทเคอนิจส์แบร์กและสงครามโลกครั้งที่สอง · ดูเพิ่มเติม »

ห้องอำพัน

ห้องอำพันที่สร้างใหม่ ห้องอำพัน (Amber Room หรือ Amber Chamber, Янтарная комната Yantarnaya komnata, Bernsteinzimmer) ตั้งอยู่ภายในพระราชวังแคทเธอรีนที่หมู่บ้านซาร์สโคเยอเซโลไม่ไกลจากเซนต์ปีเตอร์สเบิร์ก เป็นห้องที่ผนังที่ทำด้วยอำพันทั้งห้องตกแต่งด้วยทองคำเปลวและกระจก ความงามของห้องนี้ทำให้บางครั้งได้รับสมญาว่าเป็น “สิ่งมหัศจรรย์ที่แปดของโลก” ห้องอำพันเดิมเป็นความร่วมมือระหว่างช่างฝีมือชาวเยอรมันและชาวรัสเซีย การก่อสร้างห้องเริ่มขึ้นในปี ค.ศ. 1701 ถึงปี ค.ศ. 1709 ในปรัสเซีย ตัวห้องออกแบบโดยประติมากรบาโรกชาวเยอรมันอันเดรียส์ ชลือเตอร์และสร้างโดยช่างอำพันชาวเดนมาร์คก็อตต์ฟรีด วูลแฟรม และตั้งอยู่ในพระราชวังชาร์ลอตเตนบวร์กมาจนกระทั่งปี ค.ศ. 1716 เมื่อพระเจ้าฟรีดริช วิลเฮล์มที่ 1 แห่งปรัสเซียถวายให้แก่ซาร์ปีเตอร์มหาราชแห่งจักรวรรดิรัสเซีย ห้องที่ได้รับการขยายและบูรณปฏิสังขรณ์หลายครั้งเมื่อไปอยู่ในรัสเซียแล้วมีขนาดกว่า 55 ตารางเมตรและใช้อำพันทั้งสิ้น 6 ตัน ห้องนี้ถูกรื้อเป็นชิ้นระหว่างสงครามโลกครั้งที่สองโดยนาซีเยอรมนีเพื่อจะทำการส่งไปยังเคอนิกสแบร์ก แต่หลังจากนั้นห้องอำพันก็สูญหายไประหว่างความยุ่งเหยิงที่เกิดขึ้นในบั้นปลายของสงคราม ชะตาของห้องยังคงเป็นเรื่องลึกลับและยังคงเป็นสิ่งที่สืบหากันอยู่ ในปี..

ใหม่!!: ปราสาทเคอนิจส์แบร์กและห้องอำพัน · ดูเพิ่มเติม »

อัศวินทิวทอนิก

ณะภราดรบ้านนักบุญมารีย์เยอรมันในเยรูซาเล็ม (Ordo domus Sanctæ Mariæ Theutonicorum Hierosolymitanorum) หรือชื่อสามัญว่า คณะทิวทอนิก (หรือ คณะเยอรมันในปัจจุบัน) เป็นคณะอัศวินสมัยกลางของเยอรมนี และในสมัยปัจจุบันกลายเป็นคณะศาสนาคาทอลิกเต็มตัว ก่อตั้งขึ้นราว ปี..

ใหม่!!: ปราสาทเคอนิจส์แบร์กและอัศวินทิวทอนิก · ดูเพิ่มเติม »

อิมมานูเอล คานต์

อิมมานูเอิล คานท์ อิมมานูเอล คานต์ (Immanuel Kant; 22 เมษายน ค.ศ. พ.ศ. 2267 - 12 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2347) เป็นนักปรัชญาชาวเยอรมัน จากแคว้นปรัสเซีย ได้รับการยกย่องโดยทั่วไปว่า เป็นนักคิดที่มีอิทธิพลมากที่สุดของยุโรป และเป็นนักปรัชญาคนสำคัญคนสุดท้ายของยุคแสงสว่าง เขาสร้างผลกระทบที่สำคัญไปถึงนักปรัชญาสายโรแมนติกและสายจิตนิยม ในสมัยคริสต์ศตวรรษที่ 19 งานของเขาเป็นจุดเริ่มของเฮเกล คานต์เป็นที่รู้จักเนื่องจากแนวคิดของเขา ที่เรียกว่าจิตนิยมอุตรวิสัย (transcendental idealism) ที่กล่าวว่ามนุษย์ใช้แนวคิดบางอย่างที่ติดตัวมาแต่กำเนิด (innate idea) ในการรับรู้ประสบการณ์ที่เกิดขึ้นรอบตัวในโลก เรารับรู้โลกโดยผ่านทางประสาทสัมผัสประกอบกับมโนภาพที่ติดตัวมานี้ ดังนั้นเราจึงไม่สามารถล่วงรู้หรือเข้าใจใน "สรรพสิ่งที่แท้" ได้ ความรู้ต่อสรรพสิ่งที่เรามีนั้นจึงเป็นได้แค่เพียงภาพปรากฏ ที่เรารับรู้ได้ผ่านทางประสาทสัมผัสเท่านั้น ญาณวิทยา (epistemology) หรือทฤษฎีความรู้ของคานต์นั้น เกิดขึ้นเพื่อแก้ความขัดแย้งระหว่างปรัชญาสายเหตุผลนิยมที่กล่าวว่า ความรู้สามารถสร้างขึ้นได้ไม่จำเป็นต้องใช้ประสบการณ์ กับปรัชญาสายประสบการณ์นิยมที่กล่าวว่า ทุกสิ่งทุกอย่างที่เรารู้มีที่มาจากประสบการณ์ คานต์ได้เชื่อมแนวคิดที่ขัดแย้งกันทั้งสอง ดังคำกล่าวที่เขาเองเปรียบเปรยว่าเป็นการปฏิวัติแบบโคเปอร์นิคัส (Copernical Revolution) โดยสรุปคร่าวๆ ได้เป็นประโยคขึ้นต้นของหนังสือ บทวิพากษ์ของการใช้เหตุผล (Critique of Pure Reason) ว่า "แม้ว่าความรู้ทั้งหมดที่เรามีจะมีจุดเริ่มต้นจากประสบการณ์ แต่นั่นมิได้หมายความว่าความรู้ทั้งหมดนั้นเกิดขึ้นมาจากประสบการณ์" ใน Critique of Pure Reason ยังได้นำเสนอเนื้อหาของหลักทางศีลธรรม (จริยศาสตร์) ที่ยังคงมีอิทธิพลต่อแนวความคิดด้านจริยธรรมของโลกตะวันตกมาจนถึงปัจจุบัน ตลอดจนอาจกล่าวได้ว่าเขาเป็นบิดาแห่งแนวคิดเรื่องสหประชาชาติ ดังที่ปรากฏในความเรียงว่าด้วยเรื่องสันติภาพถาวรของเขาได้เสนอให้มีการจัดตั้งองค์กรระหว่างประเทศขึ้นเพื่อยุติความขัดแย้งและความโหดร้ายของสงคราม กระทั่งสันนิบาตชาติและตามด้วยสหประชาชาติได้เกิดขึ้นจริงในปัจจุบัน.

ใหม่!!: ปราสาทเคอนิจส์แบร์กและอิมมานูเอล คานต์ · ดูเพิ่มเติม »

จักรพรรดิวิลเฮล์มที่ 1 แห่งเยอรมนี

วิลเฮล์ม ฟรีดริช ลุดวิจ ฟอน โฮเอินโซลเลิร์น (Wilhelm Friedrich Ludwig von Hohenzollern) เป็นกษัตริย์แห่งปรัสเซียและจักรพรรดิเยอรมันจากราชวงศ์โฮเอินโซลเลิร์น ภายใต้การปกครองของพระองค์ร่วมกับนายกรัฐมนตรีออทโท ฟอน บิสมาร์ค สามารถนำพาราชอาณาจักรปรัสเซียมีชัยเหนือสงครามฝรั่งเศส-ปรัสเซียและนำไปสู่การรวมชาติเยอรมันขึ้นเป็นจักรวรรดิเยอรมันในปี..

ใหม่!!: ปราสาทเคอนิจส์แบร์กและจักรพรรดิวิลเฮล์มที่ 1 แห่งเยอรมนี · ดูเพิ่มเติม »

จักรวรรดิเยอรมัน

ักรวรรดิเยอรมัน (Deutsches Kaiserreich) เป็นชื่ออย่างไม่เป็นทางการที่ใช้เรียกแผ่นดินของชาวเยอรมัน ตั้งแต่ที่พระเจ้าวิลเฮล์มที่ 1 แห่งปรัสเซีย ได้สถาปนาพระองค์ขึ้นเป็นจักรพรรดิเยอรมันใน..

ใหม่!!: ปราสาทเคอนิจส์แบร์กและจักรวรรดิเยอรมัน · ดูเพิ่มเติม »

ดัชชีปรัสเซีย

ัชชีปรัสเซีย หรือ ดัชชีพรอยเซิน (Herzogtum Preußen; Prusy Książęce; Prūsijos kunigaikštystė; Duchy of Prussia) เป็นดัชชีที่ตั้งอยู่ทางตะวันออกของแคว้นปรัสเซีย รุ่งเรืองระหว่าง ค.ศ. 1525 จนมาสิ้นสุดลงในปี ค.ศ. 1618 รัฐนี้เริ่มจากการเป็นดัชชีโปรเตสแตนต์ที่ประชากรส่วนใหญ่พูดภาษาเยอรมัน โปแลนด์ และ ปรัสเซีย ในปี ค.ศ. 1525 ระหว่างการปฏิรูปศาสนาฝ่ายโปรเตสแตนต์อัลเบรชท์ผู้เป็นแกรนด์มาสเตอร์แห่งคณะอัศวินทิวทอนิกก็ยุบคณะและตั้งตนเป็นอัลเบรชท์ ดยุกแห่งปรัสเซีย ดัชชีของอัลเบรชท์มีเมืองหลวงอยู่ที่เคอนิกสแบร์กก็ได้รับการก่อตั้งขึ้นภายใต้ราชบัลลังก์แห่งราชอาณาจักรโปแลนด์ (Crown of the Kingdom of Poland) ที่ต่อมาตกไปอยู่ในความครอบครองของเจ้านครรัฐผู้คัดเลือกแห่งบรันเดนบูร์กแห่งราชวงศ์โฮเฮนโซลเลิร์นในปี ค.ศ. 1618 การรวมตัวเป็นสหราชอาณาจักรครั้งนี้เรียกว่าบรันเดนบูร์ก-ปรัสเซีย ฟรีดิช วิลเฮล์มได้รับอำนาจบริหารราชอาณาจักรเต็มที่ในปี ค.ศ. 1657 สนธิสัญญาเวห์เลา (Treaty of Wehlau) ที่ได้รับการยืนยันในปี ค.ศ. 1660 ในสนธิสัญญาโอลิวา ดัชชีปรัสเซียได้รับการเลื่อนฐานะขึ้นเป็นราชอาณาจักรปรัสเซียในปี ค.ศ. 1701.

ใหม่!!: ปราสาทเคอนิจส์แบร์กและดัชชีปรัสเซีย · ดูเพิ่มเติม »

คาลีนินกราด

ลีนินกราด (p) (อดีต: เคอนิจส์แบร์ก; r; ปรัสเซียเก่า: Twangste, Kunnegsgarbs, Knigsberg; Królewiec; Karaliaučius) เป็นเมืองการปกครองหลักของแคว้นคาลีนินกราด ซื่งเป็นดินแดนส่วนแยกของประเทศรัสเซีย ระหว่าง ประเทศโปแลนด์ และ ประเทศลิทัวเนีย ใน ทะเลบอลติก.

ใหม่!!: ปราสาทเคอนิจส์แบร์กและคาลีนินกราด · ดูเพิ่มเติม »

ตราอาร์ม

ตราแผ่นดินของหลายประเทศมีลักษณะเป็นตราอาร์ม ดังเช่นภาพตราแผ่นดินของประเทศในสหภาพยุโรป ตราอาร์ม (Coat of arms, เรียกอย่างเฉพาะเจาะจงว่า armorial achievement หรือ armorial bearings, เรียกอย่างย่อว่า arms) ในธรรมเนียมของทวีปยุโรป เป็นสัญลักษณ์ซึ่งออกแบบขึ้นสำหรับบุคคลหรือคณะบุคคล อันมีการดัดแปลงใช้ในหลายลักษณะ พัฒนามาจากตราประจำตัวของอัศวินในยุโรปสมัยโบราณเพื่อจำแนกพวกของตนออกจากพวกของศัตรู สามัญชนในยุโรปภาคพื้นทวีปอาจใช้ตราอาร์มเป็นสัญลักษณ์ได้เช่นกัน แต่เรียกชื่อชนิดตราต่างออกไปว่า Burgher arms ในพจนานุกรมฉบับราชบัณฑิตยสถาน พ.ศ. 2542 ของประเทศไทย ได้ให้นิยามของคำว่า "อาร์ม" ไว้ดังนี้ ตราอาร์มนั้นต่างจากตราประทับ (seal) และตราสัญลักษณ์ (emblem) ตรงที่มีการให้คำอธิบายอย่างเป็นทางการโดยมีศัพท์เฉพาะของตนเอง ซึ่งเรียกโดยรวมในภาษาอังกฤษว่า Blazon หรือเทียบเป็นภาษาไทยว่า นิยามของตรา ในยุคคริสต์ศตวรรษที่ 21 ตราอาร์มได้มีการนำไปใช้กับสถาบันต่างๆ เช่นมหาวิทยาลัย ตราของแต่ละแห่งจะได้รับการคุ้มครองตามกฎหมายและปกป้องสิทธิการใช้งาน การใช้ตราดังว่ามานี้ยังรวมถึงการใช้เป็นเครื่องหมายราชการประจำชาติหลายประเทศ กล่าวอีกนัยหนึ่งคือใช้เป็น "ตราแผ่นดิน" นั่นเอง ศิลปะในการออกแบบ การแสดงให้ปรากฏ การอธิบาย และการบันทึกตราอาร์ม เรียกว่า heraldry อันอาจแปลเป็นภาษาไทยตามสำนวนของ ม.ร.ว.คึกฤทธิ์ ปราโมช ได้ว่า "มุทราศาสตร์".

ใหม่!!: ปราสาทเคอนิจส์แบร์กและตราอาร์ม · ดูเพิ่มเติม »

ประเทศรัสเซีย

รัสเซีย (Russia; Росси́я) มีชื่ออย่างเป็นทางการว่า สหพันธรัฐรัสเซีย (Russian Federation; a) เป็นประเทศในยูเรเชียเหนือ และเป็นประเทศใหญ่ที่สุดในโลก กว่า 10,000,000 ตารางกิโลเมตร ครอบคลุมพื้นที่ที่สามารถอยู่อาศัยของโลกถึงหนึ่งในแปด รัสเซียยังเป็นชาติมีประชากรมากที่สุดอันดับที่ 9 ของโลก โดยมีประชากร 143 ล้านคน รัสเซียปกครองด้วยระบอบสหพันธ์สาธารณรัฐกึ่งประธานาธิบดี ประกอบด้วย 83 เขตการปกครอง ไล่จากตะวันตกเฉียงเหนือถึงตะวันออกเฉียงใต้ รัสเซียมีพรมแดนติดกับนอร์เวย์ ฟินแลนด์ เอสโตเนีย ลัตเวีย ลิทัวเนีย และโปแลนด์ (ทั้งสองผ่านมณฑลคาลินินกราด) เบลารุส ยูเครน จอร์เจีย อาเซอร์ไบจาน คาซัคสถาน จีน มองโกเลียและเกาหลีเหนือ นอกจากนี้ยังมีพรมแดนทางทะเลติดกับญี่ปุ่นโดยทะเลโอฮอตสค์ และสหรัฐอเมริกาโดยช่องแคบแบริง อาณาเขตของรัสเซียกินเอเชียเหนือทั้งหมดและ 40% ของยุโรป แผ่ข้ามเก้าเขตเวลาและมีสิ่งแวดล้อมและธรณีสัณฐานหลากหลาย รัสเซียมีปริมาณทรัพยากรแร่ธาตุและพลังงานสำรองใหญ่ที่สุดของโลก และเป็นผู้ผลิตก๊าซธรรมชาติอันดับหนึ่งของโลก เช่นเดียวกับผู้ผลิตน้ำมันอันดับหนึ่งทั่วโลก รัสเซียมีป่าไม้สำรองใหญ่ที่สุดในโลกและทะเลสาบในรัสเซียบรรจุน้ำจืดประมาณหนึ่งในสี่ของโลก ประวัติศาสตร์ของชาติเริ่มขึ้นด้วยชาวสลาฟตะวันออก ผู้ถือกำเนิดขึ้นเป็นกลุ่มที่โดดเด่นได้ในยุโรประหว่างคริสต์ศตวรรษที่ 3 ถึงที่ 8 รัฐรุสในสมัยกลาง ซึ่งก่อตั้งและปกครองโดยอภิชนนักรบวารันเจียนและผู้สืบเชื้อสาย เกิดขึ้นในคริสต์ศตวรรษที่ 9 ใน..

ใหม่!!: ปราสาทเคอนิจส์แบร์กและประเทศรัสเซีย · ดูเพิ่มเติม »

ประเทศเยอรมนี

ประเทศเยอรมนี (Germany; Deutschland ดอยฺชลันฺท) หรือชื่ออย่างเป็นทางการคือ สหพันธ์สาธารณรัฐเยอรมนี (Federal Republic of Germany; Bundesrepublik Deutschland) เป็นสหพันธ์สาธารณรัฐแบบรัฐสภาในยุโรปกลาง มีรัฐองค์ประกอบ 16 รัฐ มีพื้นที่ 357,021 ตารางกิโลเมตร และมีภูมิอากาศตามฤดูกาลแบบอบอุ่นเป็นส่วนใหญ่ มีประชากรประมาณ 82 ล้านคน ซึ่งเป็นประเทศที่มีประชากรมากที่สุดในสหภาพยุโรป ประเทศเยอรมนีเป็นจุดหมายการเข้าเมืองยอดนิยมอันดับสองในโลกรองจากสหรัฐ เมืองหลวงและมหานครใหญ่สุดของประเทศคือ กรุงเบอร์ลิน ขณะที่เขตเมืองขยายใหญ่สุด คือ รูร์ โดยมีศูนย์กลางหลักดอร์ทมุนด์และเอสเซิน นครหลักอื่นของประเทศ ได้แก่ ฮัมบวร์ค มิวนิก โคโลญ แฟรงก์เฟิร์ต ชตุทท์การ์ท ดึสเซิลดอร์ฟ ไลพ์ซิจ เบรเมิน เดรสเดิน ฮันโนเฟอร์และเนือร์นแบร์ก ประเทศนี้มีระบอบการปกครองแบบประชาธิปไตยเชิงเสรีภาพและรัฐสวัสดิการ พรมแดนทางทิศเหนือติดทะเลเหนือ เดนมาร์ก และทะเลบอลติก ทิศตะวันออกติดโปแลนด์และเช็กเกีย ทิศใต้ติดออสเตรีย และสวิตเซอร์แลนด์ ทิศตะวันตกติดฝรั่งเศส ลักเซมเบิร์ก เบลเยียม และเนเธอร์แลนด์ มีเมืองหลวงและเมืองใหญ่ของประเทศคือเบอร์ลิน เยอรมนีมีประชากรประมาณ 80 ล้านคนและเป็นประเทศที่มีความหนาแน่นประชากรสูงสุดแห่งหนึ่ง อีกทั้งยังเป็นประเทศที่มีคนย้ายถิ่นมากที่สุดเป็นอันดับสามของโลก หลังจากที่สหรัฐอเมริกาเยอรมนีเป็นปลายทางการย้ายถิ่นที่สองได้รับความนิยมมากที่สุดในโลก เยอรมนีเป็นหนึ่งในสมาชิกผู้ก่อตั้งสหภาพยุโรปและยังก่อตั้งสหภาพการเงินกับสมาชิกในสหภาพยุโรปอีก 17 ประเทศ โดยใช้ชื่อว่ายูโรโซน เยอรมนีเป็นสมาชิกของกลุ่ม UNO, OECD, NATO, G7 และ G20 เยอรมนีเป็นประเทศที่มีอิทธิพลต่อประเทศอื่นๆในยุโรปและเป็นประเทศที่มีความสามารถที่จะแข่งขันในระดับโลก หากวัดจากผลผลิตมวลรวมภายในประเทศแบบปกติแล้ว เยอรมนีเป็นเศรษฐกิจที่ใหญ่ที่สุดในยุโรปและใหญ่เป็นอันดับสี่ของโลก ในปี 2012 เป็นประเทศที่มีการนำเข้าส่งออกมากที่สุดเป็นอันดับสาม ดัชนีการพัฒนามนุษย์ถือว่าสูงมาก.

ใหม่!!: ปราสาทเคอนิจส์แบร์กและประเทศเยอรมนี · ดูเพิ่มเติม »

ปราสาท

ปราสาทคาร์คาโซนในฝรั่งเศส ปราสาท คือสิ่งก่อสร้างที่ใช้ในการป้องกันข้าศึกซึ่งเป็นสัญลักษณ์หลักของสมัยกลาง ความหมายของคำว่าปราสาทยังเป็นที่ถกเถียงกันในหมู่นักวิชาการถึงความหมายที่แท้จริง แต่โดยทั่วไปแล้วปราสาทมีความหมายต่างจากคำว่า “ป้อม” (fort) และ “ป้อมปราการ” (fortress) ตรงที่ปราสาทเป็นที่ประทับหรือที่พำนักของพระมหากษัตริย์หรือขุนนางในบริเวณที่เป็นจุดที่ต้องมีการป้องกันจากข้าศึก สิ่งก่อสร้างที่เป็นที่มาของปราสาทคือป้อมโรมัน (Roman fort) และ ป้อมเนิน (Hill fort) ที่สร้างกันทั่วยุโรปที่มาจากคริสต์ศตวรรษที่ 9 ในสมัยจักรวรรดิคาโรลินเจียน แต่การวิวัฒนาการของปืนใหญ่และดินปืนในคริสต์ศตวรรษที่ 13 เป็นการเปลี่ยนลักษณะการสงครามในยุโรปและทำให้สมรรถภาพของปราสาทในการใช้เป็นสิ่งป้องกันการโจมตีจากข้าศึกลดลง และทำให้การสร้างป้อมเป็นที่นิยมกันมากขึ้น สิ่งก่อสร้างในรัสเซียที่เรียกว่า “เคร็มลิน” (Kremlin) หรือในญี่ปุ่นที่เรียกว่า “ชิโร” (Shiro) ก็ถือว่าเป็นปราสาท.

ใหม่!!: ปราสาทเคอนิจส์แบร์กและปราสาท · ดูเพิ่มเติม »

แคว้นคาลินินกราด

แคว้นคาลีนินกราด (Калинингра́дская о́бласть) เป็นเขตการปกครองของสหพันธรัฐรัสเซีย ซึ่งตั้งอยู่บริเวณชายฝั่งทะเลบอลติก.

ใหม่!!: ปราสาทเคอนิจส์แบร์กและแคว้นคาลินินกราด · ดูเพิ่มเติม »

โลวิส โครินธ์

ลวิส โครินธ์ (Lovis Corinth) (21 กรกฎาคม ค.ศ. 1858 - 17 กรกฎาคม ค.ศ. 1925) เป็นจิตรกรและช่างพิมพ์ชาวเยอรมันของการผสานระหว่างอิมเพรสชันนิสม์และลัทธิสำแดงพลังอารมณ์ (expressionism) ของคริสต์ศตวรรษที่ 19 และ 20 โครินธ์ศึกษาที่ปารีสและมิวนิค และเข้าเป็นสมาชิกของกลุ่มแยกตัวเบอร์ลิน (Berlin Secession) และต่อมาเป็นประธานของกลุ่มต่อจากแม็กซ์ ลีเบอร์มันน์ งานในช่วงต้นเป็นงานแบบธรรมชาติ และต่อต้านลัทธิสำแดงพลังอารมณ์ แต่หลังจากที่เป็นโรคหลอดเลือดสมองในปี..

ใหม่!!: ปราสาทเคอนิจส์แบร์กและโลวิส โครินธ์ · ดูเพิ่มเติม »

เลโอนิด เบรจเนฟ

ลโอนิด อิลลิช เบรจเนฟ (Леонид Ильич Брежнев; Leonid Illyich Brezhnev; 19 ธันวาคม 2449 – 10 ธันวาคม 2525) เป็นเลขาธิการพรรคคอมมิวนิสต์แห่งสหภาพโซเวียตและประธานาธิบดีโซเวียตคนที่ 8 ระหว่างสงครามเย็น.

ใหม่!!: ปราสาทเคอนิจส์แบร์กและเลโอนิด เบรจเนฟ · ดูเพิ่มเติม »

เคอนิจส์แบร์ก

ปรัสเซียตะวันออก ตั้งแต่ปี 1919 ถึงปี 1939 ตราประจำเมืองเคอนิจส์แบร์ก เคอนิจส์แบร์ก (Königsberg) เป็นอดีตชื่อเมืองของเมืองคาลินินกราด โดยเป็นอดีตเมืองของชาวปรัสเซียเก่า ในสมัย Sambian ต่อมาเมืองนี้เป็นเมืองของ อัศวินทิวทอนิก, ดัชชีปรัสเซีย, ราชอาณาจักรปรัสเซีย, จักรวรรดิรัสเซีย และ เยอรมนี จนถึงปี 1946 หลังจากที่ถูกทำลายในช่วง สงครามโลกครั้งที่สองโดยกองทัพโซเวียต เคอนิจส์แบร์กถูกผนวกโดยสหภาพโซเวียต ต่อมาเมืองเคอนิจส์แบร์กถูกเปลี่ยนชื่อเป็นเมืองคาลินินกราด ในช่วงสงครามโลกครั้งที่สอง เคอนิจส์แบร์ก ได้รับความเสียหายจากการทิ้งระเบิดโดยฝ่ายสัมพันธมิตร ในปี 1944 และในช่วงถูกล้อม ในปี 1945 เคอนิจส์แบร์กถูกยึดครองและปกครองโดยสหภาพโซเวียต ชาวเยอรมันที่อยู่ในเมืองถูกขับไล่ทั้งหมดและแทนที่ด้วยชาวรัสเซียและเชื้อชาติอื่นในสหภาพโซเวียต ตามนโยบายการแผลงเป็นรัสเซีย เคอนิจส์แบร์ก ถูกใช้ชื่อในภาษารัสเซียในชื่อ "Kyonigsberg" (Кёнигсберг) ก่อนถูกเปลี่ยนชื่อเป็นเมือง "คาลินินกราด" ในปี 1946 ซึ่งตั้งชื่อตามประมุขแห่งรัฐสหภาพโซเวียต มีฮาอิล คาลีนิน.

ใหม่!!: ปราสาทเคอนิจส์แบร์กและเคอนิจส์แบร์ก · ดูเพิ่มเติม »

เปลี่ยนเส้นทางที่นี่:

ปราสาทเคอนิกสแบร์ก

ขาออกขาเข้า
Hey! เราอยู่ใน Facebook ตอนนี้! »