โลโก้
ยูเนี่ยนพีเดีย
การสื่อสาร
ดาวน์โหลดได้จาก Google Play
ใหม่! ดาวน์โหลด ยูเนี่ยนพีเดีย บน Android ™ของคุณ!
ฟรี
เร็วกว่าเบราว์เซอร์!
 

อุทยานประวัติศาสตร์พนมรุ้ง

ดัชนี อุทยานประวัติศาสตร์พนมรุ้ง

ปราสาทพนมรุ้ง เมื่อมองจากทางขึ้นด้านหน้า ทับหลังนารายณ์บรรทมสินธุ์ อุทยานประวัติศาสตร์พนมรุ้ง หรือ ปราสาทหินพนมรุ้ง เป็นหนึ่งในปราสาทหินในกลุ่มราชมรรคา ตั้งอยู่ที่หมู่ที่ 2 (บ้านดอนหนองแหน) ตำบลตาเป๊ก อำเภอเฉลิมพระเกียรติ ห่างจากตัวเมืองบุรีรัมย์ลงมาทางทิศใต้ประมาณ 77 กิโลเมตร ประกอบไปด้วยโบราณสถานสำคัญ ซึ่งตั้งอยู่บนยอดภูเขาไฟที่ดับสนิทแล้ว สูงประมาณ 200 เมตรจากพื้นราบ (ประมาณ 350 เมตรจากระดับน้ำทะเลปานกลาง) คำว่า พนมรุ้ง นั้น มาจากภาษาเขมร คำว่า วนํรุง แปลว่า ภูเขาใหญ่ ปัจจุบัน ปราสาทหินพนมรุ้งกำลังอยู่ในเกณฑ์กำลังพิจารณาเป็นมรดกโลก เช่นเดียวกับ ปราสาทหินในกลุ่มราชมรรคา ปราสาทหินพนมรุ้งเป็นหนึ่งในปราสาทหินขอมของไทยที่มีชื่อเสียงมากที่สุด เป็นสถานที่ท่องเที่ยวที่สำคัญที่สุดแห่งหนึ่งของจังหวัดบุรีรัมย์ และถือเป็นสัญลักษณ์ที่สำคัญของจังหวัดบุรีรัมย์ รวมถึงเป็นภาพพื้นหลังตราสัญลักษณ์ของสโมสรฟุตบอลบุรีรัมย์ ยูไนเต็ดอีกด้วย ตัวปราสาทหินพนมรุ้ง ความสวยงามของปราสาท.

42 ความสัมพันธ์: บารายพ.ศ. 2503พ.ศ. 2514พ.ศ. 2531พระกฤษณะพระรามพระศิวะพระเจ้าชัยวรมันที่ 7พระเจ้าสูรยวรรมันที่ 2กรมศิลปากรภาษาเขมรภูเขาไฟมหายานมณฑปยางพาราระดับน้ำทะเลราชกิจจานุเบกษาราชมรรคารามเกียรติ์ลัทธิไศวะวัดวันอนุรักษ์มรดกไทยวิหารคดศาสนาฮินดูศิวลึงค์ศิวนาฏราชสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารีสโมสรฟุตบอลบุรีรัมย์ ยูไนเต็ดอำเภอเมืองบุรีรัมย์อำเภอเฉลิมพระเกียรติ (จังหวัดบุรีรัมย์)อุสุภราชจังหวัดบุรีรัมย์ทับหลังนารายณ์บรรทมสินธุ์ทางหลวงแผ่นดินหมายเลข 24ขุยมะพร้าวปราสาทขอมปูนปลาสเตอร์นครวัดโบสถ์พราหมณ์เทวสถานเขาไกรลาส21 พฤษภาคม

บาราย

บาราย (បារាយ; Baray) เป็นแหล่งเก็บน้ำที่ถูกสร้างขึ้นในรูปแบบของอาณาจักรขอมในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ บารายที่ใหญ่ที่สุด มีอยู่สองแห่งคือ บารายตะวันออก และ บารายตะวันตก ในเมืองพระนคร ประเทศกัมพูชา บารายมีลักษณะเป็นรูปสี่เหลี่ยมผืนผ้า นักประวัติศาสตร์ต่างสันนิษฐานต่าง ๆ เกี่ยวกับความหมายและการทำงานของบาราย บางท่านเชื่อว่า บารายเหล่านี้ถูกสร้างขึ้นมาโดยมีจุดประสงค์ทางมโนมัย ซึ่งแสดงความหมายถึงทะเลที่อยู่ล้อมรอบเขาพระสุเมรุ ท่านอื่น ๆ มีทฤษฎีเกี่ยวกับการใช้บารายเป็นแหล่งเก็บน้ำ สำหรับการชลประทานของไร่นาต่าง ๆ ทฤษฎีต่าง ๆ เหล่านี้อาจจะเป็นไปได้ว่า บารายได้ถูกสร้างขึ้นมาด้วยทั้งสองเหตุผล หรือเหตุผลอื่น ๆ อีก หมวดหมู่:สิ่งก่อสร้าง หมวดหมู่:เมืองพระนคร หมวดหมู่:ปราสาทขอม.

ใหม่!!: อุทยานประวัติศาสตร์พนมรุ้งและบาราย · ดูเพิ่มเติม »

พ.ศ. 2503

ทธศักราช 2503 ตรงกับปีคริสต์ศักราช 1960 เป็นปีอธิกสุรทินที่วันแรกเป็นวันศุกร์ ตามปฏิทินเกรกอเรียน.

ใหม่!!: อุทยานประวัติศาสตร์พนมรุ้งและพ.ศ. 2503 · ดูเพิ่มเติม »

พ.ศ. 2514

ทธศักราช 2514 ตรงกับปีคริสต์ศักราช 1971 เป็นปีปกติสุรทินที่วันแรกเป็นวันศุกร์ตามปฏิทินเกรกอเรียน.

ใหม่!!: อุทยานประวัติศาสตร์พนมรุ้งและพ.ศ. 2514 · ดูเพิ่มเติม »

พ.ศ. 2531

ทธศักราช 2531 ตรงกับปีคริสต์ศักราช 1988 เป็นปีอธิกสุรทินที่วันแรกเป็นวันศุกร์ (ลิงก์ไปยังปฏิทิน) ตามปฏิทินเกรกอเรียน และเป็น.

ใหม่!!: อุทยานประวัติศาสตร์พนมรุ้งและพ.ศ. 2531 · ดูเพิ่มเติม »

พระกฤษณะ

ลปะโจฬะที่พิพิธภัณฑสถานแห่งชาตินิวเดลี ประเทศอินเดีย วัดพระศรีมหามาริอัมมันที่ประเทศสิงคโปร์ทั้งองค์ พระกฤษณะ (कृष्णLord Krishna) เป็นเทวะองค์หนึ่งในศาสนาพราหมณ์-ศาสนาฮินดูโดยถือว่ารูปแบบอวตารของพระวิษณุ และเป็นตัวดำเนินเรื่องสำคัญในมหากาพย์เรื่อง "มหาภารตะ" มหากาพย์ที่ยิ่งใหญ่ของประเทศอินเดียและยังทรงเป็นต้นกำเนิดของคัมภีร์ภควัทคีตาหนึ่งในคัมภีร์สำคัญของคัมภีร์พระเวททั้งเป็นพระเจ้าสูงสุดของนิกายฮเรกฤษณ.

ใหม่!!: อุทยานประวัติศาสตร์พนมรุ้งและพระกฤษณะ · ดูเพิ่มเติม »

พระราม

ระราม (राम รามะ) เป็นตัวละครเอกในเรื่องรามเกียรติ์ ซึ่งชาวฮินดูเชื่อว่าเป็นร่างอวตารปางที่ 7 ของพระวิษณุ อวตารลงมาเป็นโอรสท้าวทศรถและนางเกาสุริยา มีพระวรกายเป็นสีเขียว ทรงธนูเป็นอาวุธ มีศรวิเศษสามเล่มคือ ศรพรหมมาตร ศรอัคนิวาต และศรพลายวาต เวลาสำแดงอิทธิฤทธิ์จะปรากฏเป็น 4 มือ ทรงเทพอาวุธ ตรี คฑา จักร สังข์ พระรามมีพระอนุชาร่วมพระบิดา 3 พระองค์ ได้แก่ พระพรต พระลักษมณ์ และพระสัตร.

ใหม่!!: อุทยานประวัติศาสตร์พนมรุ้งและพระราม · ดูเพิ่มเติม »

พระศิวะ

ระศิวะ หรือ พระอิศวร (शिव; Shiva) หนึ่งในตรีมูรติ หรือเทพเจ้าสูงสุดสามพระองค์ตามความเชื่อในศาสนาฮินดู (อีกสององค์ ได้แก่ พระพรหม และพระวิษณุ) พระแม่อุมาเทวีประดับโปุรัม ประเทศอินเดีย. พระแม่อุมาเทวีประดับโปุรัม ประเทศอินเดีย. พระศิวะ มีรูปกายเป็นชายหนุ่มร่างกำยำ วรรณะขาว (สีผิวขาว) นุ่งห่มหนังเสือเหมือนฤๅษี มีสังวาล์เป็นลูกประคำหรือกะโหลกมนุษย์ มีงูเห่าคล้องพระศอ ไว้พระเกศายาว ซึ่งจะม้วนเป็นจุฑา (มวยผม) มีพระจันทร์เป็นปิ่น มีคงคาอยู่บนยอดจุฑา ซึ่งพ่นน้ำมาตลอด และมีดวงพระเนตร (ตาที่ 3) กลางพระนลาฏ (หน้าผาก) ซึ่งโดยปกติจะปิดอยู่เสมอ เชื่อว่าหากเปิดขึ้นเมื่อไหร่ ไฟบรรลัยกัลป์จะเผาผลาญล้างโลก (บ้างว่าเป็นพระพรหม) ถือว่าเป็นการสิ้นสุดกัปหนึ่ง ก่อนที่พระพรหมจะสร้างโลกขึ้นมาใหม่ มีพาหนะ คือ โคอุศุภราช (วัวเพศผู้สีขาวล้วน) มีชายา คือ พระอุมา เทพีแห่งความกล้าหาญ มีโอรสสององค์ คือ พระขันทกุมารและพระพิฆเนศ ประทับอยู่ ณ เขาไกรลาส อันเป็นศูนย์กลางแห่งจักรวาล ชายาอีกองค์คือพระแม่คงคา มีธิดาคือพระแม่มนสาเทวีหรือพระยามี พระศิวะเป็นเทพที่จะคอยขับไล่สิ่งชั่วร้ายให้ห่างไกล และทำให้เกิดความดีงามเป็นศิริมงคลเกิดขึ้น ผู้ที่มีความทุกข์ไม่ว่าจะเป็นในทางใด หากบวงสรวงบูชา ขอพรให้พ้นทุกข์ พระศิวะก็จะประทานพรให้ผู้นั้นได้พ้นจากห้วงแห่งความทุกข์ พระศิวะมีท่าร่ายรำอันเป็นการร่ายรำของเทพเจ้า เรียกว่า "ปางนาฏราช" เมื่อแปลงกายลงไปปราบฤๅษีที่ไม่ประพฤติตนอยู่ในเพศดาบส ซึ่งต่อมาชาวฮินดูได้ถือเอาท่าร่ายรำนี้เป็นต้นแบบของการร่ายรำต่าง ๆ มาตราบจนปัจจุบัน นอกจากนี้แล้ว พระศิวะยังถือว่าเป็นเจ้าแห่งผีหรือปีศาจอีกด้วย โดยมีพระนามเรียกว่า "ปีศาจบดี" หรือ "ภูเตศวร" นอกจากนี้แล้วพระอิศวร ยังมีพระนามอื่นอีก เช่น "รุทร", "ศังกร", "ศุลี", "นิลกัณฐ์", "หระ" หรือ "อีสาน" และยังเป็นเทพประจำทิศตะวันออกเฉียงเหนือ หรือ อีสาน อีกด้วย นอกจากนี้แล้ว ยังเชื่อว่าพระศอของพระศิวะมีสีดำ ทั้งนี้เนื่องจากพระองค์ได้ยาพิษของพญานาคไว้เมื่อครั้งกวนเกษียรสมุทรทำน้ำอมฤตเพื่อช่วยโลก ซึ่งบทหนึ่งในกามนิต-วาสิฏฐี วรรณกรรมอิงพุทธศาสนาได้อ้างถึง สีของความรักว่าเป็นสีดำ เสมือนสีคอพระศิวะ พระศิวะ ที่ประเทศศรีลังกา อันเป็นประเทศที่ศาสนาพราหมณ์ได้เข้ามาเผยแพร่ก่อน ก่อนที่จะกลายมาเป็นศาสนาพุทธเป็นศาสนาหลักอย่างเช่นในปัจจุบัน พระศิวะในความเชื่อของที่นี่จะมีพาหนะเป็นนกยูง และกลายมาเป็นเทพเจ้าที่ทำหน้าที่ปกปักษ์รักษาพุทธศาสน.

ใหม่!!: อุทยานประวัติศาสตร์พนมรุ้งและพระศิวะ · ดูเพิ่มเติม »

พระเจ้าชัยวรมันที่ 7

ระเจ้าชัยวรมันที่ 7เป็นกษัตริย์ของอาณาจักรเขมรที่ยิ่งใหญ่ (พ.ศ. 1724 - พ.ศ. 1762) ในบริเวณที่เป็นประเทศกัมพูชาในปัจจุบัน เป็นพระโอรสของพระเจ้าธรนินทรวรมันที่ 2 (ครองราชย์ พ.ศ. 1693 - พ.ศ. 1703) และพระนางศรี ชยราชจุฑามณี พระเจ้าชัยวรมันที่ 7 ทรงเป็นที่รู้จักในฐานะผู้สถาปนานครธม นครหลวงแห่งสุดท้ายของอาณาจักรเขมร ในประเทศกัมพูชายังมีสระน้ำแห่งหนึ่งที่พระเจ้าชัยวรมันที่7 ทรงใช้เป็นประจำอีกด้ว.

ใหม่!!: อุทยานประวัติศาสตร์พนมรุ้งและพระเจ้าชัยวรมันที่ 7 · ดูเพิ่มเติม »

พระเจ้าสูรยวรรมันที่ 2

ูรยวรรมันที่ 2 เอกสารไทยบางทีว่า สุริยวรมันที่ 2 (សូរ្យវរ្ម័នទី២ สูรฺยวรฺมันที ๒; Suryavarman II) สิ้นพระชนม์แล้วได้พระนามว่า บรมวิษณุโลก (បរមវិឝ្ណុលោក บรมวิศฺณุโลก) เป็นพระมหากษัตริย์แห่งจักรวรรดิเขมร เสวยราชย์ตั้งแต..

ใหม่!!: อุทยานประวัติศาสตร์พนมรุ้งและพระเจ้าสูรยวรรมันที่ 2 · ดูเพิ่มเติม »

กรมศิลปากร

กรมศิลปากร เป็นหน่วยงานของรัฐซึ่งมีภารกิจคุ้มครอง ป้องกัน อนุรักษ์ บำรุงรักษา ฟื้นฟู ส่งเสริม สร้างสรรค์ เผยแพร่ จัดการศึกษา ค้นคว้า วิจัย พัฒนา สืบทอดศิลปะและทรัพย์สินมรดกทางศิลปวัฒนธรรมของชาติ เพื่อธำรงคุณค่าและเอกลักษณ์ของความเป็นชาติ อันจะนำไปสู่การพัฒนาที่ยั่งยืนของสังคมไทยและความมั่นคงของชาต.

ใหม่!!: อุทยานประวัติศาสตร์พนมรุ้งและกรมศิลปากร · ดูเพิ่มเติม »

ภาษาเขมร

ษาเขมร (ភាសាខ្មែរ ภาสาแขฺมร เพียซา ขฺมะเอ) ซึ่งเป็นภาษาประจำชาติของราชอาณาจักรกัมพูชา เป็นหนึ่งในภาษาหลักของภาษากลุ่มออสโตรเอเซียติก และได้รับอิทธิพลหลายๆ ประการมาจากภาษาสันสกฤต และภาษาบาลี พอสมควร ซึ่งอิทธิพลเหล่านี้เข้ามาผ่านศาสนาพุทธ และศาสนาฮินดู ในขณะที่อิทธิพลจากภาษาอื่นๆ โดยมากเป็นคำยืม เช่น จากภาษาไทย ภาษาลาว และภาษาเวียดนาม เป็นผลมาจากการติดต่อกันทางด้านภาษา และความใกล้ชิดกันในทางภูมิศาสตร์ และภาษาจีนจากการอพยพ ภาษาฝรั่งเศสจากการตกเป็นอาณานิคมช่วงเวลาหนึ่ง และภาษามลายูจากความสัมพันธ์ในอดีตและการที่เคยมีอาณาจักรจามปาในตอนกลางของประเทศเวียดนาม ภาษาเขมรแปลกไปจากภาษาในประเทศเพื่อนบ้าน (ภาษาไทย ภาษาลาว และภาษาเวียดนาม) เนื่องจากไม่มีเสียงวรรณยุกต.

ใหม่!!: อุทยานประวัติศาสตร์พนมรุ้งและภาษาเขมร · ดูเพิ่มเติม »

ภูเขาไฟ

ูเขาไฟโบรโมและภูเขาไฟสิเมรุบนเกาะชวา ประเทศอินโดนีเซีย ภูเขาไฟ เป็นธรณีสัณฐานที่หินหนืดปะทุผ่านขึ้นมายังพื้นผิวของดาวเคราะห์ ภูเขาไฟมักเกิดขึ้นใกล้กับแนวรอยต่อระหว่างแผ่นเปลือกโลก อย่างไรก็ตาม ยังมีภูเขาไฟที่เป็นข้อยกเว้น เรียกว่า จุดร้อนภูเขาไฟ (Volcanic Hotspot) วิชาที่ศึกษาเกี่ยวกับภูเขาไฟ เรียกว่า วิทยาภูเขาไฟ (vulcanology หรือ volcanology).

ใหม่!!: อุทยานประวัติศาสตร์พนมรุ้งและภูเขาไฟ · ดูเพิ่มเติม »

มหายาน

มหายาน เป็นนิกายในศาสนาพุทธฝ่ายอาจริยวาท ที่นับถือกันอยู่ประเทศแถบตอนเหนือของอินเดีย, เนปาล, จีน, ญี่ปุ่น, เกาหลี, เวียดนาม, มองโกเลีย ไปจนถึงบางส่วนของรัสเซีย จุดเด่นของนิกายนี้อยู่ที่แนวคิดเรื่องการบำเพ็ญตนเป็นพระโพธิสัตว์สร้างบารมีเพื่อช่วยเหลือสรรพชีวิตในโลกไปสู่ความพ้นทุกข์ ด้วยเหตุที่มีผู้นับถืออยู่มากในประเทศแถบเหนือจึงเรียกได้อีกชื่อหนึ่งว่า อุตตรนิกาย ปัจจุบันพุทธศาสนิกชนส่วนใหญ่ของโลกเป็นผู้นับถือนิกายมหายาน.

ใหม่!!: อุทยานประวัติศาสตร์พนมรุ้งและมหายาน · ดูเพิ่มเติม »

มณฑป

พระมณฑปภายในวัดพระศรีรัตนศาสดาราม มณฑป คือ เรือนยอดหรือเครื่องยอดหลังคาขนาดใหญ่มีรูปสี่เหลี่ยมจัตุรัส หรือเป็นรูปตัด มุม หรือย่อไม้แปด ย่อไม้สิบสอง ยอดหลังคาเป็นทรงจอมแห หมวดหมู่:สถาปัตยกรรมไทย.

ใหม่!!: อุทยานประวัติศาสตร์พนมรุ้งและมณฑป · ดูเพิ่มเติม »

ยางพารา

งพารา เป็นไม้ยืนต้น มีถิ่นกำเนิดบริเวณลุ่มน้ำแอมะซอน ประเทศบราซิลและประเทศเปรู ทวีปอเมริกาใต้ โดยชาวพื้นเมืองเรียกว่า "เกาชู" (cao tchu) แปลว่า ต้นไม้ร้องไห้ จนถึงปี..

ใหม่!!: อุทยานประวัติศาสตร์พนมรุ้งและยางพารา · ดูเพิ่มเติม »

ระดับน้ำทะเล

กราฟระดับน้ำทะเลที่วัดได้จากบริเวณที่มีความเสถียรทางธรณีวิทยา แสดงถึงระดับน้ำทะเลซึ่งสูงขึ้นถึง 24 เซนติเมตรในรอบ 120 ปี (2 มิลลิเมตร/ปี) ระดับทะเลปานกลาง* (Mean Sea-Level) หรือ ร.ท.ก. เป็นค่าการวัด ระดับน้ำทะเลขึ้นสูงสุด (High Tide: HT) และลงต่ำสุด (Low Tide: LT) ของแต่ละวันในช่วงระยะเวลาที่กำหนด แล้วนำค่ามาเฉลี่ยเป็นระดับน้ำทะเลปานกลาง สำหรับระยะเวลาที่ทำการรังวัดโดยทั่วไปจะต้องวัดเป็นเวลา 18.6 ปี ตามวัฏจักรของน้ำ ระดับน้ำทะเลปานกลางของแต่ละบริเวณทั่วโลกอาจจะมีความสูงไม่เท่ากัน ในประเทศไทยใช้เวลาในการวัด 5 ปี โดยเลือกที่ ถนนเกาะหลัก ตำบลเกาะหลัก จังหวัดประจวบคีรีขันธ์ เป็นที่วัด แล้วนำมาหาค่าเฉลี่ย เพื่อใช้เป็นค่าระดับน้ำทะเลปานกลาง ให้มีค่า 0.000 เมตร ที่ 11°47'42.92"N/ 99°47'31.40"E ทำการถ่ายโยงมายังหมุด BM-A (ซึ่งถือว่าเป็นหมุดหลักฐานหมุดแรกของประเทศไทย) ที่ 13°46'23.74"N/100°31'45.39"E ซึ่งมีค่าระดับน้ำทะเลปานกลาง 1.4477 เมตร ประโยชน์ของการวัดระดับน้ำทะเลปานกลาง เพื่อใช้เป็นมาตรฐานในการเปรียบเทียบระดับความสูงต่ำของดิน หรือสิ่งก่อสร้างในงานสำรวจฯ งานก่อสร้างฯ และงานทั่วไป *มักถูกเขียนว่า ระดับน้ำทะเลปานกลาง หากอ้างอิงจากพจนานุกรมศัพท์ภูมิศาสตร์ ฉบับราชบัณฑิตยสถาน เล่มพิมพ์ครั้งที่ 4 ใช้คำว่า "ระดับทะเลปานกลาง" หมุด BM-A ระดับน้ำทะเลปานกลาง.

ใหม่!!: อุทยานประวัติศาสตร์พนมรุ้งและระดับน้ำทะเล · ดูเพิ่มเติม »

ราชกิจจานุเบกษา

ราชกิจจานุเบกษา (Royal Thai Government Gazette, เรียกสั้น ๆ ว่า Government Gazette) เป็นหนังสือรวบรวมคำประกาศของทางราชการ โดยเริ่มจัดพิมพ์ขึ้นในสมัยพระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ 4 เมื่อวันจันทร์ ขึ้น 1 ค่ำ เดือน 5 ปีมะเมีย นพศก จุลศักราช 1219 ตรงกับวันที่ 15 มีนาคม พ.ศ. 2401 นับเป็นเอกสารหลักในการแจ้งประกาศ กฎหมาย และคำสั่งทางราชการให้ประชาชนทราบอย่างเป็นทางการจวบจนปัจจุบันนี้ นับเป็นสิ่งพิมพ์ของไทยที่มีอายุยาวนานที่สุด โดยมีสำนักพิมพ์คณะรัฐมนตรีและราชกิจจานุเบกษา สำนักเลขาธิการคณะรัฐมนตรี เป็นผู้รับผิดชอบจัดพิมพ์และเผยแพร.

ใหม่!!: อุทยานประวัติศาสตร์พนมรุ้งและราชกิจจานุเบกษา · ดูเพิ่มเติม »

ราชมรรคา

ปราสาทตาเมือน (ปราสาทบายกรีม) ปราสาทพระขรรค์ ราชมรรคา (Royal Roads) คือเส้นทางเชื่อมโยงบ้านเมืองชั้นในของ ราชอาณาจักรกัมพุเทศ หรือขอมโบราณ อันเป็นบรรพบุรุษร่วมสายหนึ่งของชาวไทยในปัจจุบัน มีหลักฐานเป็น ถนน สะพาน ปราสาท จารึก ปมปริศน.

ใหม่!!: อุทยานประวัติศาสตร์พนมรุ้งและราชมรรคา · ดูเพิ่มเติม »

รามเกียรติ์

ตัวละครหลักที่ปรากฏในเรื่อง มีดังนี้ ฝ่ายพระราม.

ใหม่!!: อุทยานประวัติศาสตร์พนมรุ้งและรามเกียรติ์ · ดูเพิ่มเติม »

ลัทธิไศวะ

การบูชาพระศิวะ ในศาสนาฮินดู ลัทธิไศวะ (Shaivism) เป็นลัทธินิกายที่นับถือพระศิวะเป็นพระเป็นเจ้าหรือพรหมัน ศาสนิกชนในลัทธินี้เรียกว่าชาวไศวะ ซึ่งมีรูปแบบความเชื่อและการปฏิบัติแตกต่างกันไปเป็นหลายกลุ่ม เช่น ศิวสิทธานตะที่มีแนวคิดว่าบุคคลจะหลุดพ้นได้โดยการภักดีต่อพระศิวะ แต่ลัทธิโยคะถือว่าทุกสิ่งเป็นส่วนหนึ่งของพรหมันอยู่แล้วGanesh Tagare (2002), The Pratyabhijñā Philosophy, Motilal Banarsidass, ISBN 978-81-208-1892-7, pages 16–19 ลัทธินี้ถือพระเวทและอาคมเป็นคัมภีร์สำคัญDavid Smith (1996), The Dance of Siva: Religion, Art and Poetry in South India, Cambridge University Press, ISBN 978-0-521-48234-9, page 116Mariasusai Dhavamony (1999), Hindu Spirituality, Gregorian University and Biblical Press, ISBN 978-88-7652-818-7, pages 31–34 with footnotesMark Dyczkowski (1989), The Canon of the Śaivāgama, Motilal Banarsidass, ISBN 978-81-208-0595-8, pages 43–44 ลัทธิไศวะมีที่มาจากการนับถือพระรุทรในสมัยพระเวท (ราวสองพันปีก่อนคริสต์ศักราช)Peter Bisschop (2011),, Oxford University Press คัมภีร์เศวตาศวตโรปนิษัทซึ่งแต่งขึ้นราวหนึ่งพันปีก่อนคริสต์ศักราชปรากฏคำว่า รุทร ศิวะ มเหศวร แต่การตีความคำเหล่านี้ยังเป็นที่ถกเถียงอยู่D Srinivasan (1997), Many Heads, Arms, and Eyes, Brill, ISBN 978-9004107588, pages 96-97 and Chapter 9 จนถึงคริสต์สหัสวรรษที่ 1 ลัทธิไศวะทั้งสายภักตินิยมและสายโยคะก็เริ่มแพร่หลายในหลายอาณาจักร รวมทั้งในภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ที่พบโบสถ์พราหมณ์ลัทธิไศวะหลายพันแห่งในประเทศอินโดนีเซีย กัมพูชา และเวียดนาม ความเชื่อของลัทธิไศวะมีหลายรูปแบบ บางกลุ่มถือว่าพระศิวะคือมหาเทพพระผู้สร้าง รักษา และทำลายล้างโลก บางกลุ่มมองว่าพระศิวะหมายถึงอาตมันอันเป็นภาวะแก่นสารของสรรพสิ่ง ในด้านการปฏิบัติ มีการบูชาพระศิวะรวมถึงพระปารวตีผู้เป็นศักติ (ซึ่งแบบขนบของลัทธิศักติ) ตามโบสถ์พราหมณ์ต่าง ๆ บางกลุ่มเน้นการถือพรตฝึกโยคะเพื่อให้เข้าถึงพระศิวะที่เป็นอาตมันภายในตนเอง.

ใหม่!!: อุทยานประวัติศาสตร์พนมรุ้งและลัทธิไศวะ · ดูเพิ่มเติม »

วัด

วัด, อาวาส หรือ อาราม คือคำเรียก ศาสนสถานของศาสนาพุทธในประเทศไทย กัมพูชา และลาว เป็นที่อยู่ของภิกษุ และประกอบศาสนกิจของพุทธศาสนิกชน ภายในวัดมีวิหาร อุโบสถ ศาลาการเปรียญ กุฎิ เมรุ ซึ่งใช้สำหรับประกอบศาสนพิธีต่าง ๆ เช่น การเวียนเทียน การสวดมนต์ การทำสมาธิ วัดโดยส่วนใหญ่นิยมแบ่งเขตภายในวัดออกเป็นสามส่วนคือ พุทธาวาส สังฆาวาส และสัตวาส โดยส่วนพุทธาวาสจะเป็นที่ตั้งของสถูปเจดีย์ อุโบสถ สถานที่ประกอบกิจกรรมทางพระพุทธศาสนา ส่วนสังฆาวาส จะเป็นส่วนกุฎิสงฆ์สำหรับภิกษุสามเณรจำพรรษา ส่วนสัตวาสเป็นส่วนที่อนุญาตให้พุทธศาสนิกชนนำสัตว์เลี้ยงมาปล่อยเพื่อให้วัด และพระภิกษุสงฆ์สามเณรได้เลี้ยงดู และในปัจจุบันแทบทุกวัดจะเพิ่มส่วนฌาปนสถานเข้าไปด้วย เพื่อประโยชน์ในด้านการประกอบพิธีทางศาสนาของชุมชน เช่น การฌาปนกิจศพ โดยในอดีตส่วนนี้จะเป็นป่าช้า ซึ่งอยู่ติดหรือใกล้วัด ตามธรรมเนียมของแต่ละท้องถิ่น ซึ่งส่วนใหญ่กลุ่มฌาปนสถานในวัดพุทธศาสนาในประเทศไทยจะตั้งอยู่บนพื้นที่ ๆ เป็นป่าช้าเดิม.

ใหม่!!: อุทยานประวัติศาสตร์พนมรุ้งและวัด · ดูเพิ่มเติม »

วันอนุรักษ์มรดกไทย

วันอนุรักษ์มรดกไทย ตรงกับวันที่ 2 เมษายนของทุกปี ซึ่งตรงกับวันคล้ายวันพระราชสมภพของสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี ในฐานะมีพระมหากรุณาธิคุณอย่างใหญ่หลวงในงานด้านศิลปวัฒนธรรมของชาต.

ใหม่!!: อุทยานประวัติศาสตร์พนมรุ้งและวันอนุรักษ์มรดกไทย · ดูเพิ่มเติม »

วิหารคด

วิหารคดที่วัดสุทัศนเทพวรารามราชวรมหาวิหาร วิหารคด คือส่วนหนึ่งของสถาปัตยกรรมพุทธศาสนสถาน มีลักษณะเป็นวิหารล้อมรอบลานด้านในของวิหารหลักและคดเป็นข้อศอกตรงมุม มีลักษณะเทียบได้กับ ระเบียงฉันนบถ ในสถาปัตยกรรมตะวันตก.

ใหม่!!: อุทยานประวัติศาสตร์พนมรุ้งและวิหารคด · ดูเพิ่มเติม »

ศาสนาฮินดู

ัญลักษณ์ “โอม” สัญลักษณ์ของศาสนาฮินดู หมายถึงพระตรีมูรติ เทพเจ้าผู้เป็นใหญ่ทั้ง 3 ศาสนาฮินดู (Hinduism) หรือ สนาตนธรรม เป็นศาสนาแบบพหุเทวนิยมที่พัฒนาการต่อมาจากศาสนาพราหมณ์ จึงมักเรียกรวมกันว่าศาสนาพราหมณ์-ฮินดู ไม่ปรากฏแน่ชัดว่าใครเป็นศาสดา มีพระเวทเป็นคัมภีร์หลัก มีศาสนิกชนมากเป็นอันดับที่ 3 ของโลก มีจำนวนประมาณ 900 ล้านคน ศาสนานี้นับถือเทพเจ้าหลายองค์ เรียกว่า "พหุเทวนิยม" เทพเจ้าแต่ละองค์ในแต่ละยุคสมัย มีบทบาท และตำนานต่างกันไป ในแต่ละท้องถิ่นยังมีความเชื่อเกี่ยวกับเทพเจ้าองค์หนึ่งๆ แตกต่างกันไปด้วย โดยทั่วไปถือว่าชาวฮินดูเชื่อว่ามีเทพเจ้าสูงสุด ที่ได้อวตารแยกร่างออกมาเป็น 3 องค์ เรียกว่า "ตรีมูรติ" คือ.

ใหม่!!: อุทยานประวัติศาสตร์พนมรุ้งและศาสนาฮินดู · ดูเพิ่มเติม »

ศิวลึงค์

วลึงค์ ลึงค์ หรือ ลิงค์ (लिङ्गं หมายถึง เครื่องหมาย สัญลักษณ์ เพศ องคชาต การอนุมาน คัพภะที่ก่อเกิดลูกหลานชั่วนิรันดร์) เป็นสัญลักษณะของพระศิวะเทพเจ้าในศาสนาฮินดู ใช้ในการบูชาสักการะในโบสถ์วิหารฮินดูHinduism: Beliefs and Practices, by Jeanne Fowler, pgs.

ใหม่!!: อุทยานประวัติศาสตร์พนมรุ้งและศิวลึงค์ · ดูเพิ่มเติม »

ศิวนาฏราช

ทวรูปศิวนาฏราช ศิวนาฏราช เป็นปางหนึ่งของพระศิวะ เป็นบรมครูของศิลปะการร่ายรำหรือนาฏยศาสตร์ของอินเดีย ความเชื่อว่าการเต้นรำของพระศิวะก่อให้เกิดปฏิกิริยาของการสร้างโลกและมนุษย์ ศิวนาฏราชจะปรากฏในท่าย่างสามขุม (ตรีวิกรม) ซึ่งเป็น 1 ใน 108 ท่าที่ออกแบบโดยพระศิวะ โดยมีสัญลักษณ์ที่พระกรขวาถือกลองคือการสร้างโลก พระกรซ้ายมีเปลวเพลิงล้อมเป็นกรอบคือการสิ้นสุดที่ไฟจะเผาผลาญโลก พระศิวะได้ทรงพนันกับพระอุมาว่าโลกที่สร้างใหม่แข็งแรงหรือไม่ โดยพระศิวะทรงยืนขาเดียวบนก้อนหินโดยที่ขาต้องไม่ตก ในขณะที่พญานาคแกว่งลำตัววิดน้ำในมหาสมุทรให้สะเทือน พระศิวะทรงชนะ พระองค์ทรงสร้างโลกใหม่ด้วยการเต้นรำบนก้อนหินนั้น ในระหว่างที่ทรงเต้นรำเกิดเปลวไฟและน้ำหลั่งไหลจากพระวรกายกลายเป็นสิ่งหล่อเลี้ยงชีวิต.

ใหม่!!: อุทยานประวัติศาสตร์พนมรุ้งและศิวนาฏราช · ดูเพิ่มเติม »

สมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี

ตราจารย์ พลเอกหญิง พลเรือเอกหญิง พลอากาศเอกหญิง นายกองใหญ่ สมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี (2 เมษายน พ.ศ. 2498) เป็นพระราชธิดาในพระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดช และสมเด็จพระนางเจ้าสิริกิติ์ พระบรมราชินีนาถ และเป็นพระโสทรกนิษฐภคินีในสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวมหาวชิราลงกรณ บดินทรเทพยวรางกูร เสด็จพระราชสมภพเมื่อวันเสาร์ที่ 2 เมษายน..

ใหม่!!: อุทยานประวัติศาสตร์พนมรุ้งและสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี · ดูเพิ่มเติม »

สโมสรฟุตบอลบุรีรัมย์ ยูไนเต็ด

มสรฟุตบอลบุรีรัมย์ ยูไนเต็ด (Buriram United F.C.) เป็นสโมสรฟุตบอลในประเทศไทย ก่อตั้งสโมสรในปี พ.ศ. 2513 โดยปัจจุบันลงเล่นในไทยลีก.

ใหม่!!: อุทยานประวัติศาสตร์พนมรุ้งและสโมสรฟุตบอลบุรีรัมย์ ยูไนเต็ด · ดูเพิ่มเติม »

อำเภอเมืองบุรีรัมย์

มืองบุรีรัมย์ เป็นอำเภอหนึ่งของจังหวัดบุรีรัม.

ใหม่!!: อุทยานประวัติศาสตร์พนมรุ้งและอำเภอเมืองบุรีรัมย์ · ดูเพิ่มเติม »

อำเภอเฉลิมพระเกียรติ (จังหวัดบุรีรัมย์)

อำเภอเฉลิมพระเกียรติ เป็นอำเภอหนึ่งของจังหวัดบุรีรัม.

ใหม่!!: อุทยานประวัติศาสตร์พนมรุ้งและอำเภอเฉลิมพระเกียรติ (จังหวัดบุรีรัมย์) · ดูเพิ่มเติม »

อุสุภราช

ทวรูปโคนนทิที่ปราสาทหินพนมรุ้ง จังหวัดบุรีรัมย์ อุสุภราช หรือ นนทิ (Nandi; สันสกฤต: नंदी) เป็นชื่อโคเผือกที่เป็นพาหนะของพระศิวะ กำเนิดมาจากเมื่อครั้งกวนเกษียณสมุทร พระกัศยปะต้องการให้นางโคสุรภีเป็นพาหนะประจำพระองค์ แต่ติดว่านางโคสุรภีเป็นโคเพศเมีย หากจะเป็นโคพาหนะจึงควรเป็นโคเพศผู้มากกว่า พระกัศยปะจึงได้เนรมิตรโคเพศผู้ขึ้นมาให้สมสู่กับนางโคสุรภี ลูกโคที่เกิดมาเป็นโคสีขาวปลอดเพศผู้ลักษณะดีคือ โคอุสุภราช พระกัศยปะจึงได้ประทานชื่อให้ว่า นนทิ หรือ นันทิ และได้ถวายให้เป็นพระพาหนะแด่พระศิวะ อีกตำนานหนึ่งของการกำเนิดโคอุสุภราช กล่าวว่า เดิมทีเป็นเทพบุตรองค์หนึ่งชื่อ นนทิ เป็นเทพที่ดูแลบรรดาสัตว์ 4 ขาต่าง ๆ ที่เชิงเขาไกรลาส และมักเนรมิตรตนให้เป็นโคเผือกสีขาวเพื่อเป็นพาหนะของพระศิวะเมื่อเสด็จไปยังที่ต่าง ๆ โคอุสุภราชในความเชื่อของชาวฮินดูไม่เพียงแต่เป็นสัตว์พาหนะตัวหนึ่งเท่านั้น แต่ยังได้รับการบูชาดุจดั่งเทพเจ้าองค์หนึ่ง ดังนั้น โคหรือวัวสำหรับชาวฮินดูจึงถือเป็นสัตว์ศักดิ์สิทธิ์ ชาวฮินดูจึงไม่ฆ่าโคและกินเนื้อวัว ในพิธีการมงคลแบบฮินดู พราหมณ์จะนำมูลโคมาเจิมหน้าผาก ถือว่าเป็นมงคลประการที่ 7 และในวิหารบูชาพระศิวะมักมีรูปปั้นโคอุสุภราชนี้ประดิษฐานที่กลางวิหารด้วย ด้วยถือว่าเป็นสัญลักษณ์หนึ่งขององค์พระศิว.

ใหม่!!: อุทยานประวัติศาสตร์พนมรุ้งและอุสุภราช · ดูเพิ่มเติม »

จังหวัดบุรีรัมย์

ังหวัดบุรีรัมย์ เป็นจังหวัดหนึ่งในภาคตะวันออกเฉียงเหนือตอนล่าง มีจำนวนประชากรมากเป็นอันดับที่ 5 รองจากกรุงเทพมหานคร จังหวัดนครราชสีมา จังหวัดอุบลราชธานี และจังหวัดขอนแก่น และมีพื้นที่กว้างเป็นอันดับที่ 17 ของประเทศไท.

ใหม่!!: อุทยานประวัติศาสตร์พนมรุ้งและจังหวัดบุรีรัมย์ · ดูเพิ่มเติม »

ทับหลังนารายณ์บรรทมสินธุ์

ทับหลังนารายณ์บรรทมสินธุ์ ทับหลังนารายณ์บรรทมสินธุ์ เป็นทับหลังที่ปราสาทหินพนมรุ้ง เป็นโบราณวัตถุที่มีชื่อเสียงมากที่สุดของไทย ที่เชื่อว่าถูกโจรกรรมไปเมื่อราวปี พ.ศ. 2503 ในช่วงสงครามเวียดนาม และถูกนำไปจัดแสดงอยู่ที่สถาบันศิลปะชิคาโก ประเทศสหรัฐอเมริกา แต่ในที่สุดชาวไทยนำโดยรัฐบาล และ หม่อมเจ้าสุภัทรดิศ ดิศกุล ก็ได้ทับหลังชิ้นนี้คืนมาทันวันพิธีเปิดอุทยานประวัติศาสตร์พนมรุ้งพอดี ในปี พ.ศ. 2531.

ใหม่!!: อุทยานประวัติศาสตร์พนมรุ้งและทับหลังนารายณ์บรรทมสินธุ์ · ดูเพิ่มเติม »

ทางหลวงแผ่นดินหมายเลข 24

ทางหลวงแผ่นดินหมายเลข 24 สายทางต่างระดับสีคิ้ว–อุบลราชธานี หรือ ถนนเดชอุดม เดิมเรียก "ถนนโชคชัย-เดชอุดม" ก่อนมีก่อนขยายเส้นทางเริ่มมาจากทางแยกต่างระดับสีคิ้ว (จากทางหลวงแผ่นดินหมายเลข 2 และทางหลวงแผ่นดินหมายเลข 201) รวมระยะทางทั้งสิ้น 420.145 กิโลเมตร โดยถนนเส้นนี้อยู่ในส่วนหนึ่งของแผนงานการก่อสร้างทางสายหลักเป็น 4 ช่องจราจร ระยะที่ 2 (โครงข่ายที่ 7 สาย อำเภอสัตหีบ-อำเภอพนมสารคาม-อำเภอกบินทร์บุรี-อำเภอปักธงชัย-อำเภอโชคชัย-อำเภอนางรอง-อำเภอปราสาท-อุบลราชธานี-มุกดาหาร (รวม อำเภอสีคิ้ว-อำเภอโชคชัย)) รวมระยะทาง 834 กม.

ใหม่!!: อุทยานประวัติศาสตร์พนมรุ้งและทางหลวงแผ่นดินหมายเลข 24 · ดูเพิ่มเติม »

ขุยมะพร้าว

ขุยมะพร้าว คือ เปลือกมะพร้าวที่ปั่นเอาใยออก หรือ ปั่นให้ใยละเอียด เป็นขุยๆละเอียดประมาณเม็ดทราย แห้งสนิท (ไม่ไช่เปลือกสับ) เป็นเศษเหลือของโรงงานทำเส้นใยมะพร้าวซึ่งได้ทุบกาบมะพร้าวเพื่อนำเส้นใยไปทำเบาะนั่ง เศษเหลือเหล่านี้เป็นผง ๆ มีคุณสมบัติเบา อุ้มน้ำได้ดี และเก็บความชื้นไว้ได้นาน เมื่อจะใช้ต้องพรมน้ำให้ขุยมะพร้าวมีความชื้นพอเหมาะ ไม่แฉะ และไม่แห้งเกินไป เหมาะสำหรับการควั่นตอนกิ่งไม้ เพื่อเพาะชำต้นไม้.

ใหม่!!: อุทยานประวัติศาสตร์พนมรุ้งและขุยมะพร้าว · ดูเพิ่มเติม »

ปราสาทขอม

ปราสาทเขมร หรือ ปราสาทขอม เป็นศาสนสถานในศาสนาพราหมณ์ ที่สร้างขึ้นโดยอาณาจักรเขมร ตั้งแต่พุทธศตวรรษที่ 12 ในสมัยพระเจ้าชัยวรมันที่ 2 เป็นต้นมา พบมากในประเทศกัมพูชา และในเขตอีสานใต้ของประเทศไทย ปราสาทขอมก่อสร้างด้วยวัสดุอิฐ หินทราย และศิลาแลง ด้วยศิลปะเขมร ในประเทศไทยมีปราสาทขอมในที่ราบสูงอีสานทั้งสิ้น ๑๕๕ แห่งได้แก่ จังหวัดนครราชสีมาจำนวน ๓๗ แห่งแล้ว จังหวัดบุรีรัมย์อีก ๕๐ แห่ง จังหวัดสุรินทร์มีอยู่จำนวน ๓๑ แห่ง จังหวัดชัยภูมิ ๖ แห่ง จังหวัดร้อยเอ็ด ๑๔ แห่ง จังหวัดศรีสะเกษ ๑๑ แห่ง และจังหวัดอุบลราชธานีอีก ๖ แห่ง ส่วนมากมักถูกทำลายเหลือเพียงบางส่วน.

ใหม่!!: อุทยานประวัติศาสตร์พนมรุ้งและปราสาทขอม · ดูเพิ่มเติม »

ปูนปลาสเตอร์

ปูนปลาสเตอร์ (Plaster หรือ Plaster of Paris) คือปูนที่ใช้ทำประโยชน์หลายอย่างเช่น วัสดุก่อสร้าง และได้มีการค้นพบมากว่า 9,000 ปีแล้ว โดยได้มีการค้นพบที่คาบสมุทรอนาโตเลียและซีเรีย แต่ที่เรารู้จักกันดีก็คือการนำมาเป็นวัสดุก่อสร้างในการทำพีระมิดของชาวอียิปต์ เมื่อประมาณ 5,000 ปี โดยมีการบันทึกถึงขั้นตอนการผลิต (นำ gypsum มาเผาแล้วบดให้เป็นผง และนำไปผสมกับน้ำเมื่อต้องการใช้งาน) ใช้เป็นวัสดุเชื่อมต่อระหว่างก้อนหินแต่ละก้อนในการสร้างพีระมิด และได้ถูกใช้งานมาเรื่อยๆ ตามหน้าประวัติศาสตร์อันยาวนานของวงการก่อสร้าง จนกระทั่งในช่วงศตวรรษที่ 20 ปูนปลาสเตอร์เริ่มที่จะนำมาใช้อย่างกว้างขวางนอกอุตสาหกรรมก่อสร้าง อาทิเช่น การนำมาใช้ในอุตสาหกรรมเซรามิก (สุขภัณฑ์, เครื่องใช้บนโต๊ะอาหาร, เครื่องประดับ), ในวงการทันตกรรม, การหล่อโลหะ, เครื่องประดับ, เครื่องมือการแพทย์, เครื่องสำอางและอีกหลายๆ คุณสมบัติหลักที่ทำให้นิยมใช้งานก็คือความสามารถที่จะแข็งตัวได้รูปตามแม่พิมพ์ที่ใช้ โดยที่มีการเปลี่ยนแปลงขนาดเพียงเล็กน้อยเท่านั้น ปูนปลาสเตอร์ หรือที่เรียกทางเคมีว่า Calcium sulfate hemihydrates ได้มาจากการนำแร่ยิบซั่ม (Gypsum) ซึ่งมีอยู่ทั่วไปในธรรมชาติมาให้ความร้อน (ประมาณ 150 °C) เพื่อให้เกิดการเปลี่ยนแปลงโครงสร้างทางเคมีดังสมการ และเมื่อนำไปผสมน้ำเพื่อใช้งานก็จะเกิดปฏิกิริยาย้อนกลับดังนี้ โดยจะปลดปล่อยพลังงานออกมาในรูปของพลังงานความร้อน ในกระบวนการผลิตปูนปลาสเตอร์ จะได้ปูนปลาสเตอร์ออกมา 2 ชนิดคือ Beta (&beta) plaster และ Alpha (&alpha) plaster ซึ่งจะให้คุณสมบัติที่แตกต่างกันไปทั้งในเรื่องของความแข็งแรง และการดูดซึม/คายน้ำของตัวปูนปลาสเตอร์เอง ในการผลิตเพื่อออกมาจำหน่าย ทางผู้ผลิตเองจะมีการผสมระหว่างปูนทั้งสองชนิดนี้ในอัตราส่วนต่างๆ กัน รวมถึงอาจมีสารเคมีบางอย่างผสมรวมไปด้วยเพื่อให้ได้ปูนปลาสเตอร์ที่มีคุณสมบัติตรงตามความต้องการใช้งานแต่ละชนิด อาทิเช่น ปูนปลาสเตอร์สำหรับการทำ Case mould จะต้องมีการแข็งแรง ทนต่อการขยายตัวได้ดี และไม่ต้องการคุณสมบัติในการดูด/คายน้ำ ปูนปลาสเตอร์สำหรับทำแม่พิมพ์งานหล่อน้ำดิน ต้องการคุณสมบัติที่ดีของการดูด/คายน้ำ แต่ไม่ต้องการเรื่องความแข็งแรงมากนัก และ ปูนปลาสเตอร์สำหรับทำแม่พิมพ์งาน Ram press ต้องการความทนทางต่อแรงอัดสูง เป็นต้น หมวดหมู่:สารประกอบแคลเซียม หมวดหมู่:วัสดุก่อสร้าง.

ใหม่!!: อุทยานประวัติศาสตร์พนมรุ้งและปูนปลาสเตอร์ · ดูเพิ่มเติม »

นครวัด

นครวัด (អង្គរវត្ត) เป็นหมู่ปราสาทในประเทศกัมพูชาและเป็นศาสนสถานที่ใหญ่ที่สุดในโลก ด้วยพื้นที่รวมกว่า 162.6 เฮกเตอร์ (1.6 ล้านตารางเมตร ซึ่งเท่ากับ 402 เอเคอร์) แรกเริ่มนั้นสร้างขึ้นเป็นเทวลัยในศาสนาฮินดูเพื่ออุทิศแด่พระวิษณุ ก่อนจะค่อยๆเปลี่ยนแปลงกลายเป็นวัดในศาสนาพุทธในช่วงปลายคริสต์ศตวรรษที่ 12 นครวัดสร้างขึ้นในช่วงต้นของคริสศตวรรษที่ 12 โดยพระเจ้าสูรยวรรมันที่ 2 แห่งเมืองยโสธรปุระ (ในปัจจุบันคือเมืองพระนคร) ซึ่งเป็นเมืองหลวงของจักรวรรดิเขมร สร้างขึ้นเพื่อให้เป็นเทวลัยประจำรัฐและเป็นสุสานฝังพระศพ ถือเป็นการเปลี่ยนแปลงการนับถือในลัทธิไศวนิกายของกษัตริย์องค์ก่อนๆ เหตุเพราะนครวัดนั้นสร้างขึ้นเพื่ออุทิศแด่พระวิษณุแทนที่จะเป็นพระศิวะ และเนื่องจากเป็นปราสาทที่ได้รับการอนุรักษ์ดีที่สุดในบริเวณที่ตั้งโดยรอบ นครวัดจึงเป็นปราสาทเพียงแห่งเดียวที่ยังคงความเป็นศูนย์กลางทางศาสนาที่มีความสำคัญมาตั้งแต่เริ่มก่อสร้าง โดยนครวัดถือจุดสูงสุดของรูปแบบการสร้างสถาปัตยกรรมเขมรแบบดั้งเดิม และได้กลายเป็นสัญลักษณ์ของประเทศกัมพูชา มีการปรากฏอยู่บนธงชาติ และได้เป็นสถานที่ท่องเที่ยวของประเทศกัมพูชาที่มีความสำคัญที่สุดในหมู่นักท่องเที่ยว นครวัดได้รวมเอาการวางผังพื้นฐานในสถาปัตยกรรมเขมรสองแบบมาใช้ประกอบเข้าด้วยกัน ซึ่งก็ได้แก่ ผังการสร้างปราสาทให้เสมือนภูเขา (ปราสาทบนฐานชั้น) และการสร้างปราสาทแบบมีระเบียงคดที่มีภาพสลัก การสร้างปราสาทรูปแบบนี้ได้สื่อถึงเขาพระสุเมรุ ซึ่งเป็นสถานที่ที่สถิตของเทพเทวัญในปกรณัมของศาสนาฮินดู ด้านนอกมีคูน้ำและกำแพงล้อม ความยาวรวมกว่า 3.6 กิโลเมตร โดยตัวปราสาทประกอบด้วยระเบียงคดสี่เหลี่ยมที่มีภาพสลักทั้งหมดสามชั้น แต่ละชั้นตั้งอยู่สูงกว่าชั้นล่าง ตรงกลางของปราสาทคือพระปรางค์ที่มีทั้งหมด 5 ยอด นครวัดมีความแตกต่างจากปราสาทในพระนครปราสาทอื่นๆ เนื่องจากมีการหันหน้าไปทางทิศตะวันตก ซึ่งนักวิชาการต่างก็มีความเห็นที่แตกต่างออกไปในเรื่องนัยยะของการสร้างในลักษณะนี้ นครวัดยังได้รับการยกย่องในด้านความงามและความกลมกลืนของตัวสถาปัตยกรรม อาทิ ภาพสลักนูนต่ำที่ใหญ่โต รวมถึงภาพเทวดาที่มีการตกแต่งตามผนังเป็นจำนวนมาก.

ใหม่!!: อุทยานประวัติศาสตร์พนมรุ้งและนครวัด · ดูเพิ่มเติม »

โบสถ์พราหมณ์

ราหมณ์ หมายถึง เทวสถานที่ใช้ประกอบพิธีกรรมของศาสนาฮินดู มีพราหมณ์เป็นผู้ดูแลและประกอบพิธี.

ใหม่!!: อุทยานประวัติศาสตร์พนมรุ้งและโบสถ์พราหมณ์ · ดูเพิ่มเติม »

เทวสถาน

ทวสถาน หรือ เทวาลัย คือศาสนสถานซึ่งก่อสร้างเพื่อเป็นที่สมมุติว่าเป็นที่ประทับของเทพเจ้าหรือเทวดา เทวสถาน ในประเทศไทยหรือประเทศในแถบเอเชียอาคเนย์ มักเป็นโบสถ์พราหมณ์ สิ่งก่อสร้างที่ปรากฏมักเป็นปราสาทหิน ปรางค์ หรือวัดในศาสนาพราหมณ์-ฮินดู เทวสถาน ในต่างประเทศอื่น ๆ จะเป็นศาสนสถานซึ่งก่อสร้างเพื่อบูชาเทพเจ้าตามลัทธิความเชื่อของประเทศเหล่านั้น เช่น วิหารพาร์เธนอน ในประเทศกรีซ สร้างขึ้นเพื่อบูชาและสักการะเทพเจ้ากรีก, วิหารลักซอร์ ในประเทศอียิปต์ สร้างขึ้นเพื่อบูชาเทพเจ้าอียิปต์โบราณ.

ใหม่!!: อุทยานประวัติศาสตร์พนมรุ้งและเทวสถาน · ดูเพิ่มเติม »

เขาไกรลาส

กรลาส แผนที่แสดงที่ตั้ง เขาไกรลาส (कैलास ไกลาส; ทิเบต: གངས་རིན་པོ་ཆེ; 冈仁波齐峰; พินอิน: Gāngrénbōqí fēng) เป็นยอดเขาแห่งหนึ่งของเทือกเขาหิมาลัย ตั้งอยู่ในทิศตะวันตกของเขตปกครองตนเองทิเบต ทางตอนเหนือของยอดเขานันทาเทวีราว 100 ไมล์ มีความสูง 22,020 ฟุต จัดว่าเป็นยอดเขาสูงเป็นอันดับที่ 32 ของโลก และสูงเป็นที่ 19 ในบรรดายอดเขาของเทือกเขาหิมาลัย เป็นยอดเขาที่มีอายุกำเนิดมาจนถึงปัจจุบัน 50 ล้านปี ในศาสนาฮินดูเชื่อว่าเขาไกรลาสเป็นที่ประทับของพระศิวะ ในศาสนาพุทธมีคัมภีร์สารัตถปกาสินีระบุว่าเขาไกรลาสเป็นเขาที่ประเสริฐสุดในบรรดาภูเขาในป่าหิมพานต์ และยังปรากฏในศาสนาเชนและศาสนาบอนด้วย ตามความเชื่อของศาสนาต่าง ๆ เหล่านี้ เขาไกรลาสเป็นศูนย์กลางของจักรวาล และเชื่อว่า คือแห่งเดียวกันกับเขาพระสุเมรุ เชิงเขาไกรลาส เป็นต้นกำเนิดของแม่น้ำสำคัญหลายสายของภูมิภาคแห่งนี้ ได้แก่ แม่น้ำคงคา แม่น้ำสินธุ และยังมีทะเลสาบอีก 7 แห่งอยู่รายรอบ ซึ่งแห่งที่สำคัญ คือ "ทะเลสาบมานสโรวระ" หรือ "ทะเลสาบมานัสสะ" อยู่ทางเหนือของเขาไกรลาส ที่เชื่อกันว่า คือ "สระอโนดาต" ในป่าหิมพานต์ เชื่อกันว่าเป็นสถาน ๆ ที่เป็นต้นกำเนิดของหงส์ และหงส์จะบินกลับมาที่นี่ทุกปี ทะเลสาบมานัส ได้ถูกอ้างอิงถึงในรามายณะและมหาภารตะ ที่ระบุว่า "ทะเลสาบมานัสอันศักดิ์สิทธิ์นี้ แม้แต่ใครได้ถูกต้องสัมผัสหรือนำเอามาล้างร่างกายหรือได้อาบน้ำในทะเลสาบนี้ ผู้นั้นจะได้ไปสู่สรวงสวรรค์ และถ้าใครได้ดื่มน้ำในทะเลสาบศักดิ์สิทธิ์นี้ ก็จะได้ขึ้นไปอยู่ในสวรรค์ใกล้ที่สถิตของพระศิวะ" เขาไกรลาส ปกติจะปกคลุมด้วยหิมะและน้ำแข็งสีขาวโพลน จนได้อีกชื่อหนึ่งว่า "ภูเขาสีเงิน" ("ไกรลาส" หรือ "ไกลาส" เป็นคำวิเศษณ์ในภาษาสันสกฤต แปลว่า "สีเงินยวง") ทุกปีจะมีผู้จารึกแสวงบุญตามศาสนาต่าง ๆ เดินทางมาที่นี่ โดยเชื่อว่าเป็นการบูชาและได้อยู่ใกล้พระศิวะ โดยทำการประทักษิณให้ครบ 39 รอบ เป็นการเคารพบูชาอันสูง.

ใหม่!!: อุทยานประวัติศาสตร์พนมรุ้งและเขาไกรลาส · ดูเพิ่มเติม »

21 พฤษภาคม

วันที่ 21 พฤษภาคม เป็นวันที่ 141 ของปี (วันที่ 142 ในปีอธิกสุรทิน) ตามปฏิทินสุริยคติแบบเกรกอเรียน เมื่อถึงวันนี้จะยังเหลือวันอีก 224 วันในปีนั้น.

ใหม่!!: อุทยานประวัติศาสตร์พนมรุ้งและ21 พฤษภาคม · ดูเพิ่มเติม »

เปลี่ยนเส้นทางที่นี่:

ปราสาทหินพนมรุ้งปราสาทหินเขาพนมรุ้งปราสาทพนมรุ้งปราสาทเขาพนมรุ้ง

ขาออกขาเข้า
Hey! เราอยู่ใน Facebook ตอนนี้! »