โลโก้
ยูเนี่ยนพีเดีย
การสื่อสาร
ดาวน์โหลดได้จาก Google Play
ใหม่! ดาวน์โหลด ยูเนี่ยนพีเดีย บน Android ™ของคุณ!
ติดตั้ง
เร็วกว่าเบราว์เซอร์!
 

ปราสาทโลเลย

ดัชนี ปราสาทโลเลย

ศิลาจารึกอักษรขอมโบราณ ที่เสาในปราสาทโลเลย ทับหลังหินทรายแกะสลัก ที่ปราสาทโลเลย ปราสาทโลเลย (ប្រាសាទលលៃ บฺราสาทลอเลย) เป็นปราสาทหินอยู่ทางเหนือสุดในปราสาทกลุ่มโลเลย ในอาณาจักรขอมของกัมพูชา สร้างขึ้นในราว พ.ศ. 1435 ในสมัยพระเจ้าอินทรวรมันที่ 1 เสร็จในสมัยพระเจ้ายโศวรมันที่ 1 โอรสของพระเจ้าอินทวรมัน นับเป็นปราสาทที่มีลักษณะเหมือนเกาะ อยู่ทางเหนือของใจกลางของบาราย ขนาดกว้าง 800 ม. ยาว 3,800 ม. ปัจจุบันบารายแห้งไม่มีน้ำแล้ว ตัวปราสาทตั้งอยู่กึ่งกลางแกนด้านยาว (ตะวันออก-ตะวันตก) ของบาราย เดิมสันนิษฐานว่าพระเจ้าอินทรวรมันตั้งใจจะสร้างบารายให้กว้างกว่านี้ แต่พระเจ้ายโสวรมันต้องการจะย้ายเมืองหลวงไปนครวัด จึงได้ยุติการขุดสระบารายลงเท่าที่เป็นอยู่ ลักษณะสถาปัตยกรรม เป็นหอ 4 หอ ที่ไม่สมมาตร คือจะให้สำคัญหอ 2 หอด้านตะวันออกกว่า หอด้านตะวันออกเฉียงเหนือค่อนข้างทรุดโทรม ในขณะที่หอด้านตะวันออกเฉียงใต้ได้พังลงเมื่อปี พ.ศ. 2511 โครงสร้างหลักเป็นหินทราย ตกแต่งด้วยอิฐที่ยาด้วยปูน ซึ่งภายหลังแม้จะหลุดล่อนไปตามกาลเวลาแต่ก็ยังพอมีหลงเหลืออยู่บ้าง ส่วนทับหลังแกะสลักหินทรายนั้นยังมีหลายชิ้นที่คงสภาพดีจนถึงทุกวันนี้ ลเลย หมวดหมู่:สิ่งก่อสร้างในพุทธศตวรรษที่ 15 หมวดหมู่:ปราสาทขอม หมวดหมู่:สิ่งก่อสร้างในคริสต์ศตวรรษที่ 9.

8 ความสัมพันธ์: บารายพ.ศ. 1435พ.ศ. 2511สถาปัตยกรรมหินทรายอักษรขอมจักรวรรดิขแมร์ทับหลัง

บาราย

บาราย (បារាយ; Baray) เป็นแหล่งเก็บน้ำที่ถูกสร้างขึ้นในรูปแบบของอาณาจักรขอมในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ บารายที่ใหญ่ที่สุด มีอยู่สองแห่งคือ บารายตะวันออก และ บารายตะวันตก ในเมืองพระนคร ประเทศกัมพูชา บารายมีลักษณะเป็นรูปสี่เหลี่ยมผืนผ้า นักประวัติศาสตร์ต่างสันนิษฐานต่าง ๆ เกี่ยวกับความหมายและการทำงานของบาราย บางท่านเชื่อว่า บารายเหล่านี้ถูกสร้างขึ้นมาโดยมีจุดประสงค์ทางมโนมัย ซึ่งแสดงความหมายถึงทะเลที่อยู่ล้อมรอบเขาพระสุเมรุ ท่านอื่น ๆ มีทฤษฎีเกี่ยวกับการใช้บารายเป็นแหล่งเก็บน้ำ สำหรับการชลประทานของไร่นาต่าง ๆ ทฤษฎีต่าง ๆ เหล่านี้อาจจะเป็นไปได้ว่า บารายได้ถูกสร้างขึ้นมาด้วยทั้งสองเหตุผล หรือเหตุผลอื่น ๆ อีก หมวดหมู่:สิ่งก่อสร้าง หมวดหมู่:เมืองพระนคร หมวดหมู่:ปราสาทขอม.

ใหม่!!: ปราสาทโลเลยและบาราย · ดูเพิ่มเติม »

พ.ศ. 1435

ทธศักราช 1435 ใกล้เคียงกั.

ใหม่!!: ปราสาทโลเลยและพ.ศ. 1435 · ดูเพิ่มเติม »

พ.ศ. 2511

ทธศักราช 2511 ตรงกับปีคริสต์ศักราช 1968 เป็นปีอธิกสุรทินที่วันแรกเป็นวันจันทร์ตามปฏิทินเกรกอเรียน.

ใหม่!!: ปราสาทโลเลยและพ.ศ. 2511 · ดูเพิ่มเติม »

สถาปัตยกรรม

ปัตยกรรม (architecture) หมายถึง ผลงานศิลปะที่แสดงออกสิ่งก่อสร้าง รวมถึงสิ่งแวดล้อมที่เกี่ยวข้องทั้งภายในและภายนอกสิ่งปลูกสร้างนั้น ที่มาจากการออกแบบของมนุษย์ ด้วยศาสตร์ทางด้านศิลปะ การจัดวางที่ว่าง ทัศนศิลป์ และวิศวกรรมการก่อสร้าง เพื่อประโยชน์ใช้สอย สถาปัตยกรรมยังเป็นสื่อความคิด และสัญลักษณ์ทางวัฒนธรรมของสังคมในยุคนั้นๆด้ว.

ใหม่!!: ปราสาทโลเลยและสถาปัตยกรรม · ดูเพิ่มเติม »

หินทราย

250px หินทราย (Sandstone) เป็นหินมีลักษณะ เนื้อหยาบ จับดูระคายมือ เพราะประกอบด้วยเม็ดทรายขนาดแตกต่างกัน (1/16 – 2 มม.) เม็ดแร่ส่วนใหญ่เป็นแร่ควอร์ตซ์ แต่อาจมีแร่อื่นและเศษหินดินปะปนอยู่ด้วย เพราะมีวัตถุประสารมีความแข็งมากสามารถขูดเหล็กเป็นรอยได้ มีสีต่าง ๆ เช่น แดง น้ำตาล เทา เขียว เหลืองอ่อน อาจแสดงรอยชั้นให้เห็น มีซากดึกดำบรรพ์ เกิดจากการรวมตัวกันของเม็ดทราย ประกอบด้วยควอร์ตซ์เป็นส่วนใหญ่ อาจมีแร่แมกเนไทต์และไมกาปะปนอยู่ วัตถุประสาร (ซีเมนต์) ส่วนมากเป็นพวกซิลิกา (ควอร์ตซ์ หรือ เชิร์ต) แคลไซด์ โดโลไมต์ เหล็กออกไซด์ ซึ่งมักทำให้หินมีสีเหลือง น้ำตาล แดง ในประเทศไทย พบมากทางภาคอีสาน จังหวัดราชบุรี เพชรบุรี กาญจนบุรี และทางภาคใต้บางแห่ง.

ใหม่!!: ปราสาทโลเลยและหินทราย · ดูเพิ่มเติม »

อักษรขอม

ลาจารึกอักษรขอมโบราณ ที่เสาในปราสาทโลเลย ลัญจกรพระบรมราชโองการสำหรับพิมพ์หัวกระดาษประกาศกฎหมายต่างๆ แบบที่ใช้ในช่วงก่อน พ.ศ. 2483 ข้อความในแพรแถบตอนล่างสุดเป็นอักษรขอมข้อความ "พฺระบรมฺมราชโองฺการ" อักษรขอมพัฒนามาจากอักษรหลังปัลลวะ ซึ่งพัฒนามาจากอักษรปัลลวะอีกทีหนึ่ง เป็นตัวอักษรของราชวงศ์ปัลลวะในอินเดียใต้ ภายหลังได้มาติดต่อกับภูมิภาคอุษาคเนย์จึงได้ถ่ายทอดวัฒนธรรมซึ่งรวมถึงตัวอักษรไว้ให้กับกลุ่มคนที่อาศัยอยู่บริเวณนี้อีกด้วย ต่อมาอักษรชนิดนี้เป็นที่นิยมอย่างแพร่หลายในภูมิภาคนี้ มีวิวัฒนาการต่อไป จากอักษรปัลลวะ เป็นอักษรหลังปัลลวะ หลังจากนั้นก็แตกแขนงเป็นสองสาขาใหญ่ ๆ คืออักษรมอญโบราณ และอักษรขอมโบราณ อักษรขอมโบราณใช้ในอาณาจักรต่างๆ สองฝั่งแม่น้ำโขงตั้งแต่สมัยก่อนเมืองพระนคร ต่อมาจึงกลายเป็นอักษรท้องถิ่นในสมัยพระนคร และเป็นต้นแบบของอักษรไทยและอักษรเขมรในปัจจุบัน เอกลักษณ์ของอักษรขอม คือ เปลี่ยนบ่าอักษรของอักษรปัลลวะเป็นศกหรือหนามเตย อักษรนี้พัฒนาไป 2 ทิศทาง คือ เป็นอักษรขอมในประเทศไทย (ใช้เขียนภาษาไทย ภาษาบาลี ภาษาเขมร) และอักษรขอมในประเทศกัมพูชา (ใช้เขียนภาษาเขมร ภาษาบาลี).

ใหม่!!: ปราสาทโลเลยและอักษรขอม · ดูเพิ่มเติม »

จักรวรรดิขแมร์

ักรวรรดิขแมร์ หรือ อาณาจักรเขมร หรือบางแหล่งเรียกว่า อาณาจักรขอม เป็นหนึ่งในอาณาจักรโบราณ เริ่มต้นขึ้น ราวพุทธศตวรรษที่ 6 โดยเริ่มจากอาณาจักรฟูนัน มีที่ตั้งอยู่ในบริเวณประเทศกัมพูชา โดยมีอาณาเขตครอบคลุมพื้นที่บางส่วนของ ประเทศไทย ลาว และบางส่วนของเวียดนามในปัจจุบัน นับเป็นอาณาจักรที่มีแสนยานุภาพมากที่สุดในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ ต่อมาได้อ่อนกำลังลงจนเสียดินแดนบางส่วนให้กับอาณาจักรสุโขทัย และแตกสลายในที่สุดเมื่อตกเป็นเมืองขึ้นของอาณาจักรอยุธยา อาณาจักรเขมรสืบทอดอำนาจจากอาณาจักรเจนฬา มีสงครามผลัดกันแพ้ผลัดกันชนะกับอาณาจักรข้างเคียง เช่น อาณาจักรล้านช้าง อาณาจักรอยุธยา และอาณาจักรจามปา มรดกที่สำคัญที่สุดของอาณาจักรเขมรคือ นครวัด และ นครธม ซึ่งเคยเป็นนครหลวงเมื่อครั้งอาณาจักรแห่งนี้มีความเจริญรุ่งเรืองที่สุด และยังมีลัทธิความเชื่อต่างๆ อย่างหลากหลาย ศาสนาหลักของอาณาจักรนี้ได้แก่ ศาสนาฮินดู พุทธศาสนามหายาน และพุทธศาสนาเถรวาทซึ่งได้รับจากศรีลังกา เมื่อคริสต์ศตวรรษที่ 13.

ใหม่!!: ปราสาทโลเลยและจักรวรรดิขแมร์ · ดูเพิ่มเติม »

ทับหลัง

ทับหลัง คือ ลวดลายที่ทำประดับไว้บนหลังตู้ หรือ ท่อนหินรูปสี่เหลี่ยมผืนผ้าที่สลักเป็นลวดลายต่าง ๆ ประดับอยู่เหนือประตูเข้าปราสาทหิน นอกจากนี้ยังใช้เรียกตัวไม้ที่อยู่ตอนบนหน้าต่างหรือประตูหลังกรอบเช็ดหน้า ใช้บังคับปลายเดือยบานแผละหน้าต่างหรือประตูว่า ทับหลังหน้าต่าง หรือ ทับหลังประตู ทับหลัง คือ เนื้อเพลง ทับหลัง - คาราบาว เพลง: ทับหลัง ศิลปิน: คาราบาว หมวดหมู่:ศิลปะไทย.

ใหม่!!: ปราสาทโลเลยและทับหลัง · ดูเพิ่มเติม »

เปลี่ยนเส้นทางที่นี่:

ปราสาทลลไลปราสาทลอเลยโลเลย

ขาออกขาเข้า
Hey! เราอยู่ใน Facebook ตอนนี้! »