โลโก้
ยูเนี่ยนพีเดีย
การสื่อสาร
ดาวน์โหลดได้จาก Google Play
ใหม่! ดาวน์โหลด ยูเนี่ยนพีเดีย บน Android ™ของคุณ!
ติดตั้ง
เร็วกว่าเบราว์เซอร์!
 

ปราสาทบันทายกเดย

ดัชนี ปราสาทบันทายกเดย

ปราสาทบันทายกเดย ปราสาทบันทายกเดย (ប្រាសាទបន្ទាយក្តី; อ่านว่า บัน-ทาย-กะ-เดย) สร้างในรัชสมัยพระเจ้าชัยวรมันที่ 7 กลางพุทธศตวรรษที่ 18 ในศาสนาพุทธนิกายมหายาน หลังจากเดินผ่านโคปุระเข้ามาจะผ่านสะพานนาคราชก่อนเข้าสู่ปราสาท มีร่องรอยของยุคสมัยที่แตกต่างกัน 2 ยุค คือนครวัดและบายน มีลักษณะรูปแบบคล้ายปราสาทตาพรหม และปราสาทพระขรรค์ แต่มีขนาดเล็กกว่า โคปุระทั้ง 4 แห่งมีพระพักตร์ของพระอวโลกิเตศวร หันพระพักตร์ไปทั้ง 4 ทิศ เช่นเดียวกับปราสาทบายน โดยมีกำแพงล้อมรอบทั้ง 4 ด้าน ทางเข้าประกอบด้วยกับโคปุระทั้ง 4 มีพื้นที่โดยรวมขนาด 800 x 400 เมตร ความมุ่งหมายในการสร้างปราสาทยังไม่แน่ชัด บันทายกเดย หมวดหมู่:ปราสาทขอม.

8 ความสัมพันธ์: พระอวโลกิเตศวรโพธิสัตว์พระเจ้าชัยวรมันที่ 7มหายานศาสนาพุทธปราสาทบายนปราสาทพระขรรค์ปราสาทตาพรหมนครวัด

พระอวโลกิเตศวรโพธิสัตว์

ระอวโลกิเตศวร เป็นพระโพธิสัตว์องค์สำคัญของพระพุทธศาสนามหายาน ที่มีผู้เคารพศรัทธามากที่สุด และเป็นบุคลาธิษฐานแห่งมหากรุณาคุณของพระพุทธเจ้าทั้งปวง เรื่องราวของพระอวโลกิเตศวรปรากฏอยู่ทั่วไปในคัมภีร์สันสกฤตของมหายาน อาทิ ปรัชญาปารมิตาสูตร สัทธรรมปุณฑรีกสูตร และการัณฑวยูหสูตฺร.

ใหม่!!: ปราสาทบันทายกเดยและพระอวโลกิเตศวรโพธิสัตว์ · ดูเพิ่มเติม »

พระเจ้าชัยวรมันที่ 7

ระเจ้าชัยวรมันที่ 7เป็นกษัตริย์ของอาณาจักรเขมรที่ยิ่งใหญ่ (พ.ศ. 1724 - พ.ศ. 1762) ในบริเวณที่เป็นประเทศกัมพูชาในปัจจุบัน เป็นพระโอรสของพระเจ้าธรนินทรวรมันที่ 2 (ครองราชย์ พ.ศ. 1693 - พ.ศ. 1703) และพระนางศรี ชยราชจุฑามณี พระเจ้าชัยวรมันที่ 7 ทรงเป็นที่รู้จักในฐานะผู้สถาปนานครธม นครหลวงแห่งสุดท้ายของอาณาจักรเขมร ในประเทศกัมพูชายังมีสระน้ำแห่งหนึ่งที่พระเจ้าชัยวรมันที่7 ทรงใช้เป็นประจำอีกด้ว.

ใหม่!!: ปราสาทบันทายกเดยและพระเจ้าชัยวรมันที่ 7 · ดูเพิ่มเติม »

มหายาน

มหายาน เป็นนิกายในศาสนาพุทธฝ่ายอาจริยวาท ที่นับถือกันอยู่ประเทศแถบตอนเหนือของอินเดีย, เนปาล, จีน, ญี่ปุ่น, เกาหลี, เวียดนาม, มองโกเลีย ไปจนถึงบางส่วนของรัสเซีย จุดเด่นของนิกายนี้อยู่ที่แนวคิดเรื่องการบำเพ็ญตนเป็นพระโพธิสัตว์สร้างบารมีเพื่อช่วยเหลือสรรพชีวิตในโลกไปสู่ความพ้นทุกข์ ด้วยเหตุที่มีผู้นับถืออยู่มากในประเทศแถบเหนือจึงเรียกได้อีกชื่อหนึ่งว่า อุตตรนิกาย ปัจจุบันพุทธศาสนิกชนส่วนใหญ่ของโลกเป็นผู้นับถือนิกายมหายาน.

ใหม่!!: ปราสาทบันทายกเดยและมหายาน · ดูเพิ่มเติม »

ศาสนาพุทธ

ระพุทธศาสนา หรือ ศาสนาพุทธ (buddhasāsana พุทฺธสาสนา, buddhaśāsana พุทธศาสนา) เป็นศาสนาที่มีพระพุทธเจ้าเป็นศาสดา มีพระธรรมที่พระองค์ตรัสรู้ชอบด้วยพระองค์เอง และตรัสสอนไว้เป็นหลักคำสอนสำคัญ มีพระสงฆ์ (ภิกษุ ภิกษุณี) สาวกผู้ตัดสินใจออกบวชเพื่อศึกษาปฏิบัติตนตามคำสั่งสอน ธรรม-วินัย ของพระบรมศาสดา เพื่อบรรลุสู่จุดหมายคือพระนิพพาน และสร้างสังฆะ เป็นชุมชนเพื่อสืบทอดคำสอนของพระบรมศาสดา รวมเรียกว่า พระรัตนตรัย นอกจากนี้ในพระพุทธศาสนา ยังประกอบคำสอนสำหรับการดำรงชีวิตที่ดีงาม สำหรับผู้ที่ยังไม่ออกบวช (คฤหัสถ์ - อุบาสก และอุบาสิกา) ซึ่งหากรวมประเภทบุคคลที่ที่นับถือและศึกษาปฏิบัติตนตามคำสั่งสอนของพระบรมศาสดา แล้วจะจำแนกได้เป็น 4 ประเภท คือ ภิกษุ ภิกษุณี อุบาสก อุบาสิกา หรือที่เรียกว่า พุทธบริษัท 4 ศาสนาพุทธเป็นศาสนาอเทวนิยม ปฏิเสธการมีอยู่ของพระเป็นเจ้าหรือพระผู้สร้าง และเชื่อในศักยภาพของมนุษย์ ว่าทุกคนสามารถพัฒนาจิตใจ ไปสู่ความเป็นมนุษย์ที่สมบูรณ์ได้ ด้วยความเพียรของตน กล่าวคือ ศาสนาพุทธ สอนให้มนุษย์บันดาลชีวิตของตนเอง ด้วยผลแห่งการกระทำของตน ตาม กฎแห่งกรรม มิได้มาจากการอ้อนวอนขอจากพระเป็นเจ้าและสิ่งศักดิ์สิทธิ์นอกกายพระไตรปิฎก เล่มที่ ๒๕ พระสุตตันตปิฎก เล่มที่ ๑๗ ขุททกนิกาย ขุททกปาฐะ-ธรรมบท-อุทาน-อิติวุตตกะ-สุตตนิบาต คาถาธรรมบท อัตตวรรคที่ ๑. พระไตรปิฎกฉบับสยามรั.

ใหม่!!: ปราสาทบันทายกเดยและศาสนาพุทธ · ดูเพิ่มเติม »

ปราสาทบายน

หอสูง รูปหน้าบริเวณศูนย์กลางของปราสาทหินบายน หอใจกลางปราสาทบายนที่มีจำนวนหน้ามากกว่าบริเวณอื่น รูปสลักนูนต่ำหินทราย นางอัปสรร่ายรำ ปราสาทบายน (ប្រាសាទបាយ័ន) เป็นปราสาทหินของอาณาจักรเขมร อยู่ในบริเวณของใจกลางนครธม สร้างขึ้นเป็นวัดประจำสมัยของพระเจ้าชัยวรมันที่ 7 ก่อสร้างในราวปี พ.ศ. 1724-พ.ศ. 1763 หลังจากที่พระเจ้าชัยวรมันที่ 7ทรงได้ชัยชนะจากการขับไล่กองทัพอาณาจักรจามปา นับเป็นศาสนสถานที่ยิ่งใหญ่ที่สุดแห่งหนึ่งของโลก มีความซับซ้อนทั้งในแง่โครงสร้างและความหมาย เนื่องจากผ่านความเปลี่ยนแปลงด้านศาสนาและความเชื่อมาตั้งแต่คราวนับถือเทพเจ้าฮินดู และพุทธศาสนา อาคารมีลักษณะพิเศษ เนื่องจากส่วนของหอเป็นรูปหน้าหันสี่ทิศ จำนวน 49 หอ ปัจจุบันคงเหลือเพียง 37 หอ ลักษณะโดยทั่วไปจะมี 4 หน้า 4 ทิศ แต่บางหออาจมี 3 หรือ 2 แต่บริเวณศูนย์กลางของกลุ่มอาคาร จะมีหลายหน้า ซึ่งนักท่องเที่ยวมักจะพยายามนับว่ามีกี่หน้า ลักษณทางสถาปัตยกรรมของบายนก็เช่นเดียวกับเรื่องความเชื่อ เนื่องจากมีการเปลี่ยนแปลงมาในหลาย ๆ สมัย กษัตริย์ในยุคหลัง ๆ พบว่าเป็นการง่ายกว่าที่จะปรับปรุงวัดแห่งนี้ แทนที่จะรื้อสร้างใหม่เช่นที่ทำกัน และใช้เป็นวัดประจำสมัยต่อเนื่องกันม.

ใหม่!!: ปราสาทบันทายกเดยและปราสาทบายน · ดูเพิ่มเติม »

ปราสาทพระขรรค์

ต้นไม้ใหญ่ที่ขึ้นคลุมอาคารปราสาทพระขรรค์ แบบจากทีมงานอนุรักษ์อาคารปราสาทพระขรรค์ แสดงการทรุดตัวของปราสาท รูปสลักนูนต่ำที่ถูกแก้ไขจากรูปพระพุทธเป็นรูปฤๅษี ปราสาทพระขรรค์ (ប្រាសាទព្រះខ័ន ปราสาทเปรี๊ยะคัน) สร้างขึ้นในปี พ.ศ. 1734 เป็นปราสาทหินในยุคท้าย ๆ ของอาณาจักรเขมร เป็นพุทธสถานสมัยบายน พระเจ้าชัยวรมันที่ 7 ทรงสร้างอุทิศถวายแด่พระเจ้าธรณินทรวรมันที่ 2 ซึ่งเป็นพระราชบิดา ปรากฏเจดีย์ทรงระฆังคว่ำขนาดเล็กจำหลักด้วยศิลาทรายตั้งอยู่ภายในปราสาทองค์หนึ่ง ซึ่งเชื่อว่าเป็นที่เก็บอัฐิของพระราชบิดาของพระเจ้าชัยวรมันที่ 7 ปราสาทพระขรรค์เป็นศาสนสถานที่ล้อมรอบด้วยกำแพงศิลาแลง ตัวอาคารมีลักษณะเด่นที่การก่อสร้างด้วยศิลา 2 ชั้น โดยใช้เสาหินทรายกลมขนาดใหญ่รับน้ำหนักโครงสร้างและคาน ที่บานประตูแต่ละปราสาท มีรูปสลักอสูรเป็นคู่ๆ ยืนถือกระบองเสมือนคอยพิทักษ์ดูแลศาสนสถานแห่งนี้ เป็นที่น่าสังเกตว่า ภาพพระพุทธรูปมักถูกทำลายหรือแก้ไข คงเหลือแต่ภาพจำหลักนูนต่ำของฤๅษี ซึ่งส่วนใหญ่เป็นภาพฤๅษีกำลังนั่งบำเพ็ญพรตในท่า "โยคาสนะ" (นั่งชันเข่าและไขว้เท้า) สลักอยู่ตามผนังหรือเสาภายใต้ซุ้มเรือนแก้ว นอกจากนี้ จารึกที่ปราสาทพระขรรค์ยังกล่าวถึงการสร้าง "ธรรมศาลา" (ที่พักคนเดินทาง) และ "อโรคยศาล" (โรงพยาบาล) ตามเส้นทางจากนครธมไปยังเมืองต่าง ๆ รอบราชอาณาจักร และจารึกยังกล่าวถึงการสร้างรูปเคารพ เพื่อประดิษฐานยังหัวเมืองต่างๆ ซึ่งแสดงถึงความใส่ใจในทุกข์สุขของราษฎรและความศรัทธาในศาสนาของพระเจ้าชัยวรมันที่ 7.

ใหม่!!: ปราสาทบันทายกเดยและปราสาทพระขรรค์ · ดูเพิ่มเติม »

ปราสาทตาพรหม

้านหน้าปราสาทตาพรหม ต้นสมพงขนาดใหญ่ ที่ขึ้นคลุมปราสาทตาพรหม ปราสาทตาพรหม (ប្រាសាទតាព្រហ្ម) สร้างขึ้นในปี พ.ศ. 1729 เป็นปราสาทหินในยุคท้ายๆ ของอาณาจักรเขมร ปราสาทเหล่านี้ถือว่าเป็นสถานที่ของพระพุทธศาสนาที่สมัยนั้นมีความเจริญรุ่งเรืองอย่างมาก เพราะสมัยนั้นกษัตริย์ที่สนับสนุนให้มีการสร้างปราสาทนี้เป็นวัดในศาสนาพุทธ การดูแลปราสาทต่างๆนั้นรัฐบาลได้ทำการตัดต้นไม้ออกจากปราสาทอื่นๆ เพราะกลัวว่าประสาทจะล้มลงหากต้นไม้ใหญ่โตมากๆ แต่สำหรับปราสาทตาพรมนั้น รัฐบาลมีแนวคิดที่จะคงต้นไม้ไว้เหมือนโบราณที่มีต้นไม้ขึ้นบนปราสาทแทบทุกปราสาทจึงกลายเป็น ลักษณะเด่นของปราสาทตาพรหมคือมีต้นไม้ใหญ่ขึ้นคลุมตัวปราสาทเป็นจำนวนมาก ไปในตอนหลัง ปราสาทตาพรมนั้น ในรัชกาลที่กษัตย์นิยมฮินดูได้อำนาจคือจากกษัตริย์นับถือพุทธ จึงให้มีการทำลาย และมีร่องรอยการทำลายมากที่สุด เพราะความต่างของการนับถือศาสนา ปราสาทตาพรมจึงไม่หลงเหลือศิลปะให้พวกเราได้เห็นมากนัก และเนื่องจากใช้ถ่ายทำหนังหลายเรื่อง เช่น ทูมไรเดอร์ เจมส์บอนด์ ฯลฯ นักท่องเที่ยวจึงเข้าคิวเพื่อถ่ายรูปกับรากไม้มากกว่าซาบซึ้งในศิลปกรรม.

ใหม่!!: ปราสาทบันทายกเดยและปราสาทตาพรหม · ดูเพิ่มเติม »

นครวัด

นครวัด (អង្គរវត្ត) เป็นหมู่ปราสาทในประเทศกัมพูชาและเป็นศาสนสถานที่ใหญ่ที่สุดในโลก ด้วยพื้นที่รวมกว่า 162.6 เฮกเตอร์ (1.6 ล้านตารางเมตร ซึ่งเท่ากับ 402 เอเคอร์) แรกเริ่มนั้นสร้างขึ้นเป็นเทวลัยในศาสนาฮินดูเพื่ออุทิศแด่พระวิษณุ ก่อนจะค่อยๆเปลี่ยนแปลงกลายเป็นวัดในศาสนาพุทธในช่วงปลายคริสต์ศตวรรษที่ 12 นครวัดสร้างขึ้นในช่วงต้นของคริสศตวรรษที่ 12 โดยพระเจ้าสูรยวรรมันที่ 2 แห่งเมืองยโสธรปุระ (ในปัจจุบันคือเมืองพระนคร) ซึ่งเป็นเมืองหลวงของจักรวรรดิเขมร สร้างขึ้นเพื่อให้เป็นเทวลัยประจำรัฐและเป็นสุสานฝังพระศพ ถือเป็นการเปลี่ยนแปลงการนับถือในลัทธิไศวนิกายของกษัตริย์องค์ก่อนๆ เหตุเพราะนครวัดนั้นสร้างขึ้นเพื่ออุทิศแด่พระวิษณุแทนที่จะเป็นพระศิวะ และเนื่องจากเป็นปราสาทที่ได้รับการอนุรักษ์ดีที่สุดในบริเวณที่ตั้งโดยรอบ นครวัดจึงเป็นปราสาทเพียงแห่งเดียวที่ยังคงความเป็นศูนย์กลางทางศาสนาที่มีความสำคัญมาตั้งแต่เริ่มก่อสร้าง โดยนครวัดถือจุดสูงสุดของรูปแบบการสร้างสถาปัตยกรรมเขมรแบบดั้งเดิม และได้กลายเป็นสัญลักษณ์ของประเทศกัมพูชา มีการปรากฏอยู่บนธงชาติ และได้เป็นสถานที่ท่องเที่ยวของประเทศกัมพูชาที่มีความสำคัญที่สุดในหมู่นักท่องเที่ยว นครวัดได้รวมเอาการวางผังพื้นฐานในสถาปัตยกรรมเขมรสองแบบมาใช้ประกอบเข้าด้วยกัน ซึ่งก็ได้แก่ ผังการสร้างปราสาทให้เสมือนภูเขา (ปราสาทบนฐานชั้น) และการสร้างปราสาทแบบมีระเบียงคดที่มีภาพสลัก การสร้างปราสาทรูปแบบนี้ได้สื่อถึงเขาพระสุเมรุ ซึ่งเป็นสถานที่ที่สถิตของเทพเทวัญในปกรณัมของศาสนาฮินดู ด้านนอกมีคูน้ำและกำแพงล้อม ความยาวรวมกว่า 3.6 กิโลเมตร โดยตัวปราสาทประกอบด้วยระเบียงคดสี่เหลี่ยมที่มีภาพสลักทั้งหมดสามชั้น แต่ละชั้นตั้งอยู่สูงกว่าชั้นล่าง ตรงกลางของปราสาทคือพระปรางค์ที่มีทั้งหมด 5 ยอด นครวัดมีความแตกต่างจากปราสาทในพระนครปราสาทอื่นๆ เนื่องจากมีการหันหน้าไปทางทิศตะวันตก ซึ่งนักวิชาการต่างก็มีความเห็นที่แตกต่างออกไปในเรื่องนัยยะของการสร้างในลักษณะนี้ นครวัดยังได้รับการยกย่องในด้านความงามและความกลมกลืนของตัวสถาปัตยกรรม อาทิ ภาพสลักนูนต่ำที่ใหญ่โต รวมถึงภาพเทวดาที่มีการตกแต่งตามผนังเป็นจำนวนมาก.

ใหม่!!: ปราสาทบันทายกเดยและนครวัด · ดูเพิ่มเติม »

ขาออกขาเข้า
Hey! เราอยู่ใน Facebook ตอนนี้! »