เรากำลังดำเนินการเพื่อคืนค่าแอป Unionpedia บน Google Play Store
ขาออกขาเข้า
🌟เราได้ทำให้การออกแบบของเราง่ายขึ้นเพื่อการนำทางที่ดีขึ้น!
Instagram Facebook X LinkedIn

ประโยค 1–2

ดัชนี ประโยค 1–2

ปกหนังสืออันเป็นที่คุ้นตาของนักเรียนบาลี '''"ธมฺมปทฏฐกถา"''' หนึ่งในหลักสูตรวิชาแปลมคธเป็นไทยในชั้นประโยค 1–2 ''จัดพิมพ์โดยคณะกรรมการแผนกตำรา มหามกุฏราชวิทยาลัย'' ประโยค 1–2 เป็นระดับชั้นเริ่มต้นของการศึกษาพระปริยัติธรรมแผนกบาลีของคณะสงฆ์ไทย ที่ภิกษุสามเณรผู้เรียนต้องทำความเข้าใจและศึกษาไวยากรณ์บาลีและฝึกการแปลภาษามคธในระดับให้เข้าใจพอแปลภาษาบาลีเริ่มต้นได้ ในอดีตชั้นเริ่มต้นในการสอบไล่เปรียญนั้นจะเริ่มแต่ชั้นเปรียญธรรม 3 ประโยคขึ้นไป โดยการสอบไล่ประโยค 1–2 นี้ยังไม่ถือว่าผู้สอบได้เป็นเปรียญ และไม่สามารถเก็บประโยคชั้นที่สอบได้ เอาไว้สอบในปีต่อไปได้ แต่เมื่อเปลี่ยนการสอบไล่บาลีมาเป็นแบบข้อเขียน ก็เริ่มมีการจัดสอบเก็บประโยคนี้ขึ้น เพื่อเป็นการแบ่งเนื้อหาในการเรียนการสอนให้ไม่ยากและหนักเกินไป ในชั้นนี้ ผู้สอบได้จะยังไม่ได้เข้ารับพระราชทานสมณศักดิ์พัดยศทรงตั้งเป็นเปรียญ แต่ในอดีตนั้นพระบาทสมเด็จพระพุทธเลิศหล้านภาลัยขณะดำรงพระยศเป็นกรมพระราชวังบวรสถานมงคล ทรงเคยรับพระราชภาระอุปถัมภ์ผู้สอบผ่านในชั้นนี้ โดยมีการถวายพัดไตรจีวรให้แก่ผู้สอบได้เป็นกำลังใจ เรียกกันในสมัยนั้นว่า "เปรียญวังหน้า" ซึ่งปัจจุบันไม่มีแล้ว ปัจจุบันผู้สอบได้ประโยค 1–2 จะได้รับใบ "วุฒิบัตร" รับรองจากสำนักงานแม่กองบาลีสนามหลวง ซึ่งต่างจากผู้สอบได้ในชั้น ป..

สารบัญ

  1. 13 ความสัมพันธ์: พระบาทสมเด็จพระพุทธเลิศหล้านภาลัยพัดยศการศึกษาพระปริยัติธรรมแผนกบาลีของคณะสงฆ์ไทยภาษาไทยภิกษุสมณศักดิ์สมเด็จพระมหาสมณเจ้า กรมพระยาวชิรญาณวโรรสสามเณรสำนักงานแม่กองบาลีสนามหลวงนักธรรมชั้นตรีไวยากรณ์เปรียญเปรียญธรรม 3 ประโยค

พระบาทสมเด็จพระพุทธเลิศหล้านภาลัย

งเรือหลวงในรัชกาลที่ 2 พระบาทสมเด็จพระบรมราชพงษเชษฐมเหศวรสุนทร พระพุทธเลิศหล้านภาลัย (พระราชสมภพ 24 กุมภาพันธ์ พ.ศ.

ดู ประโยค 1–2และพระบาทสมเด็จพระพุทธเลิศหล้านภาลัย

พัดยศ

กหลักฐานทางประวัติศาสตร์ ไทยได้รับประเพณีมีพัดยศสำหรับพระสงฆ์มาจากลังกา โดยกษัตริย์แห่งศรีลังกาในอดีตเป็นผู้เริ่มถวายสมณศักดิ์และพัดยศเพื่อให้พระสงฆ์สำหรับใช้แสดงถึงสมณศักดิ์ที่ได้รับถวาย พัดยศสมณศักดิ์พระราชาคณะเจ้าคณะรอง (พัดแฉกทรงพุ่มข้าวบิณฑ์) พัดยศพระราชาคณะ ชั้นสามัญเปรียญ พัดยศ คือพัดเกียรติยศอันเป็นเครื่องราชสักการะอย่างหนึ่งที่พระมหากษัตริย์โปรดเกล้าฯ ให้สร้างขึ้นเพื่อพระราชทานแก่พระภิกษุผู้มีฐานันดรในคณะสงฆ์ เป็นการประกาศเกียรติคุณเพิ่มขวัญและกำลังใจแก่พระสงฆ์ผู้ปฏิบัติดีปฏิบัติชอบ ตามอย่างโบราณราชประเพณี ซึ่งเป็นพัดคู่กับพัดรอง ซึ่งแบ่งตามศํกดิ์ ได้แก.

ดู ประโยค 1–2และพัดยศ

การศึกษาพระปริยัติธรรมแผนกบาลีของคณะสงฆ์ไทย

ษาบาลี หรือภาษามคธ เป็นภาษาที่จารึกพระไตรปิฎก ด้วยเป็นภาษาที่คนชมพูทวีปในสมัยพุทธกาลนิยมใช้กันทั่วไป จึงเป็นภาษาที่พระพุทธเจ้าใช้เผยแพร่พระพุทธศาสนาในสมัยนั้น หลังจากพุทธปรินิพพานมีการทำปฐมสังคายนา พระเถระได้ตกลงกันใช้ภาษาบาลีสำหรับจดจำพระไตรปิฎก พระสงฆ์สายเถรวาทจึงต้องศึกษาภาษาบาลีให้เข้าใจลึกซึ้งและสามารถเทียบเคียงสอบทานกับพระไตรปิฎกที่เก็บไว้ในสถานที่ต่างกันได้ เพื่อรักษาการแปลความหมายจากพระพุทธพจน์ในพระไตรปิฎกให้ถูกต้องไม่บิดเบือน และหน้าที่นี้ก็เป็นหน้าที่ของพระสงฆ์ในประเทศไทยเช่นเดียวกันเทวประภาส มากคล้าย เปรียญ..

ดู ประโยค 1–2และการศึกษาพระปริยัติธรรมแผนกบาลีของคณะสงฆ์ไทย

ภาษาไทย

ษาไทย เป็นภาษาราชการของประเทศไทย ภาษาไทยเป็นภาษาในกลุ่มภาษาไท ซึ่งเป็นกลุ่มย่อยของตระกูลภาษาไท-กะได สันนิษฐานว่า ภาษาในตระกูลนี้มีถิ่นกำเนิดจากทางตอนใต้ของประเทศจีน และนักภาษาศาสตร์บางส่วนเสนอว่า ภาษาไทยน่าจะมีความเชื่อมโยงกับตระกูลภาษาออสโตร-เอเชียติก ตระกูลภาษาออสโตรนีเซียน และตระกูลภาษาจีน-ทิเบต ภาษาไทยเป็นภาษาที่มีระดับเสียงของคำแน่นอนหรือวรรณยุกต์เช่นเดียวกับภาษาจีน และออกเสียงแยกคำต่อคำ.

ดู ประโยค 1–2และภาษาไทย

ภิกษุ

กษุ หรือ พระภิกษุ (บาลี: ภิกขุ; สันสกฤต: ภิกษุ) เป็นคำใช้เรียก "นักบวชชาย" ในพระพุทธศาสนาโดยเฉพาะ คู่กับภิกษุณี (นักบวชหญิง) คำว่า ภิกษุ เป็นศัพท์เฉพาะในพระพุทธศาสนา เป็นศัพท์บัญญัติที่ใช้เรียกนักบวชชายในพระพุทธศาสนาโดยเฉพาะ ไม่สาธารณะทั่วไปสำหรับทุกศาสนา มีความหมายว่า ผู้ขอ (ขออาหาร เป็นต้น) และสามารถแปลว่า ผู้เห็นภัยในวัฏฏสงสาร ก็ได้ ดังรูปวิเคราะห์ว่า "วฏฺฏสํสาเร ภยํ อิกฺขตีติ ภิกฺขุ" ในประเทศไทยและประเทศลาว มีคำเรียกภิกษุเถรวาทว่า "พระ" แปลว่าผู้ประเสร.

ดู ประโยค 1–2และภิกษุ

สมณศักดิ์

มณศักดิ์ ตามพจนานุกรมฉบับราชบัณฑิตยสถาน พ.ศ. 2542 หมายความว่า ยศพระสงฆ์ที่ได้รับพระราชทานมีหลายชั้น แต่ละชั้นมีพัดยศเป็นเครื่องกำหนด อาจกล่าวได้ว่า สมณศักดิ์ คือบรรดาศักดิ์ หรือยศที่พระมหากษัตริย์พระราชทานแก่ภิกษุผู้ประพฤติดี ประพฤติชอบให้ดำรงมั่นอยู่ในสมณเพศ เพื่อเป็นกำลังสืบต่ออายุพระพุทธศาสนาและเพื่อให้การปกครองคณะสงฆ์เป็นไปโดยเรียบร้อย เพราะการที่พระภิกษุรูปใดได้รับพระราชทานสมณศักดิ์ ย่อมได้รับมอบหมายภาระหน้าที่ในการปกครองหมู่คณะแห่งสงฆ์ไปพร้อมกันด้ว.

ดู ประโยค 1–2และสมณศักดิ์

สมเด็จพระมหาสมณเจ้า กรมพระยาวชิรญาณวโรรส

มเด็จพระมหาสมณเจ้า กรมพระยาวชิรญาณวโรรส เป็นสมเด็จพระสังฆราชพระองค์ที่ 10 แห่งกรุงรัตนโกสินทร์ เสด็จสถิต ณ วัดบวรนิเวศราชวรวิหาร ได้รับมหาสมณุตตมาภิเษกเมื่อปี พ.ศ.

ดู ประโยค 1–2และสมเด็จพระมหาสมณเจ้า กรมพระยาวชิรญาณวโรรส

สามเณร

ผู้ที่จะบรรพชาเป็นสามเณรได้ต้องมีอายุตั้งแต่ 7 ปีขึ้นไป และจะบวชอยู่เป็นสามเณรตลอดชีวิตก็ได้ สามเณร และ สามเณรี แปลว่า เหล่ากอของสมณะ, หน่อเนื้อของสมณะ หมายถึงนักบวชชายในพระพุทธศาสนาที่มีอายุน้อย ยังมิได้รับการอุปสมบทเป็นพระภิกษุ ถ้าเป็นนักบวชหญิงอายุน้อยเรียกว่า สามเณรี คำว่า สามเณร สามเณรี เป็นศัพท์เฉพาะในพระพุทธศาสนา เป็นศัพท์บัญญัติที่ใช้เรียกนักบวชในพระพุทธศาสนาโดยเฉพาะ ไม่สาธารณะทั่วไป ผู้ที่จะบวชเป็นสามเณรสามเณรีได้นั้นทางพระวินัยกำหนดอายุอย่างต่ำไว้ประมาณ 7 ขวบซึ่งพอช่วยเหลือตัวเองได้ พระวินัยระบุว่าพอจะไล่กาไล่ไก่ได้ ส่วนสูงไม่มีกำหนดไว้ ผู้มีอายุไม่เกิน 20 ปีจะบวชเป็นสามเณรตลอดไป ไม่บวชเป็นภิกษุก็ได้.

ดู ประโยค 1–2และสามเณร

สำนักงานแม่กองบาลีสนามหลวง

ำนักงานแม่กองบาลีสนามหลวง เป็นหน่วยงานจัดการศึกษาพระปริยัติธรรมแผนกบาลีของคณะสงฆ์ไทย ภายใต้การดูแลของมหาเถรสมาคม (คู่กับสำนักงานแม่กองธรรมสนามหลวง) ซึ่งอยู่ในความอุปถัมภ์ของรัฐบาลไทย หน้าที่หลักคือกำหนดเปลี่ยนแปลงการใช้คัมภีร์เรียนในหลักสูตรเปรียญธรรม 1-9 ให้เหมาะสมกับชั้นเรียนของแต่ละประโยค รวมทั้งการจัดสอบประเมินผลการศึกษาบาลีระดับชาติ โดยมีสำนักงานพระพุทธศาสนาแห่งชาติเป็นผู้รับสนองงาน ภายใต้การกำกับดูแลของมหาเถรสมาคม.

ดู ประโยค 1–2และสำนักงานแม่กองบาลีสนามหลวง

นักธรรมชั้นตรี

นักธรรมชั้นตรี (ชื่อย่อ น.ธ.ตรี) เป็นระดับการศึกษา พุทธศาสนาในประเทศไทยแผนกธรรม โดยเป็นชั้นแรกของการศึกษาระดับพื้นฐานของพระสงฆ์ สามเณรในประเทศไทย โดยเป็นการศึกษาสำหรับฝ่ายพระภิกษุสามเณรโดยเฉพาะ เมื่อศึกษาจบจะได้วุฒิเทียบเท่าชั้นประถม.

ดู ประโยค 1–2และนักธรรมชั้นตรี

ไวยากรณ์

วยากรณ์ (Grammar) คือ การศึกษากฎเกณฑ์ของภาษา ซึ่งรวมถึง เสียง คำศัพท์ ประโยค และส่วนประกอบอื่นๆ เช่น การประสมคำ และการตีความ คำว่าไวยากรณ์ยังหมายถึงคุณลักษณะเชิงนามธรรมของตำราที่นำเสนอกฎเหล่านี้ด้วย สำหรับคำว่า หลักภาษา แม้จะมีความหมายเดียวกันกับคำวำไวยากรณ์ แต่จะใช้เรียกกับภาษาไทยและภาษาไทยใต้เท่านั้น การศึกษาทฤษฎีทางไวยากรณ์เป็นที่สนใจของนักปรัชญา, นักมานุษยวิทยา นักจิตวิทยา และนักวิเคราะห์ทางวรรณกรรมมาหลายศตวรรษ ทุกวันนี้ ไวยากรณ์เป็นสาขาหนึ่งในวิชาภาษาศาสตร์ แต่ยังคงมีความสัมพันธ์ใกล้ชิดกับสาขาอื่นๆ แต่โดยส่วนใหญ่แล้ว พัฒนาการของทฤษฎีไวยากรณ์นั้นมีผลเพียงเล็กน้อยแต่ตัวเนื้อหาของไวยากรณ์ในสถานศึกษาทั่วไป สำหรับคนส่วนใหญ่ มักจะเข้าใจว่าไวยากรณ์หมายถึงกฎที่เราจะต้องทราบ เพื่อจะพูด หรือ เขียนได้อย่างถูกต้อง.

ดู ประโยค 1–2และไวยากรณ์

เปรียญ

ปรียญ (อ่านว่า ปะเรียน) บาเรียน ก็เรียก เป็นคำใช้เรียกภิกษุสามเณรผู้ศึกษาเล่าเรียนพระปริยัติธรรมแผนกบาลีและสอบไล่ได้ตามหลักสูตรตั้งแต่ 3 ประโยคขึ้นไปจนถึง 9 ประโยค เรียกว่า พระเปรียญ หรือ พระเปรียญธรรม สามเณรเปรียญ หรือ สามเณรเปรียญธรรม มีอักษรย่อว่า ป.

ดู ประโยค 1–2และเปรียญ

เปรียญธรรม 3 ประโยค

ัดยศเปรียญธรรม 3 ประโยค เปรียญธรรม 3 ประโยค (ชื่อย่อ ป.ธ.3) เป็นระดับชั้นการศึกษาแผนกบาลีของคณะสงฆ์ไทย เรียกพระภิกษุผู้สอบไล่ได้ในชั้นนี้ว่า "พระมหา" และสามเณรว่า "สามเณรเปรียญ" กระทรวงศึกษาธิการเทียบวุฒิผู้สอบได้ในชั้นนี้ให้เทียบเท่ามัธยมศึกษาตอนต้น คณะสงฆ์ เคยมีการขอให้ปรับวุฒิผู้สอบไล่ได้ชั้นนี้ ให้เทียบเท่าระดับอุดมศึกษา แต่ไม่ได้รับการตอบรับจากผู้เกี่ยวข้อง แต่เปรียญธรรม 3 ประโยค ก็ยังเป็นที่นับถือกันโดยพฤตินัยในวงการคณะสงฆ์ไทยว่าผู้สอบได้ในชั้นนี้เป็น "ปริญญาตรี" ของฝ่ายคณะสงฆ์ หรือเปรียบได้กับคฤหัสถ์ผู้สอบไล่ได้ปริญญาบัณฑิตของฝ่ายฆราวาส โดยผู้สอบได้ในชั้นนี้จะได้รับพระมหากรุณาธิคุณ จากพระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดชฯ โปรดฯ ทรงตั้งให้เป็นเปรียญ ได้รับพระราชทานประกาศนียบัตร พัดเปรียญธรรม 3 ประโยค การศึกษาพระปริยัติธรรมแผนกบาลีในชั้น "เปรียญธรรม 3 ประโยค" นั้น แบ่ง รายวิชาที่สำนักงานแม่กองบาลีสนามหลวงกำหนดให้พระภิกษุสามเณรสอบไล่เพื่อผ่านในชั้นนี้ได้เป็น 4 วิชา คือ วิชาไวยากรณ์, วิชาแปลมคธเป็นไทย, วิชาสัมพันธ์ไทย และวิชาบุร.

ดู ประโยค 1–2และเปรียญธรรม 3 ประโยค

หรือที่รู้จักกันในชื่อ บาเรียนวังหน้าป.ธ.1-2ประโยค 2ประโยค ๑-๒ประโยค ๒ประโยคสองเปรียญ 2 ประโยคเปรียญวังหน้า