โลโก้
ยูเนี่ยนพีเดีย
การสื่อสาร
ดาวน์โหลดได้จาก Google Play
ใหม่! ดาวน์โหลด ยูเนี่ยนพีเดีย บน Android ™ของคุณ!
ติดตั้ง
เร็วกว่าเบราว์เซอร์!
 

ประเทศองค์ประกอบ

ดัชนี ประเทศองค์ประกอบ

ประเทศองค์ประกอบ (constituent country) เป็นคำที่บางครั้งใช้เรียกประเทศที่มีฐานะเป็นส่วนหนึ่งของหน่วยทางการเมืองที่ใหญ่กว่า เช่น รัฐเอกราช คำว่าประเทศองค์ประกอบนี้ไม่มีความหมายในทางกฎหมาย และใช้เรียก ประเทศ ที่เป็นส่วนประกอบหนึ่งของหน่วยอื่นเท่านั้น.

112 ความสัมพันธ์: บันยาลูกาบากูชาร์จาห์บิชเคกฟีลิปส์บืร์คพริสตีนาพอดกอรีตซากรีนแลนด์กือราเซากุสตาวียา (แซ็ง-บาร์เตเลมี)มอสโกมาตา-อูตูมินสค์รัฐฟูไจราห์รัฐราสอัลไคมาห์รัฐอัจมานรัฐอุมม์อัลไกไวน์รัฐเอกราชราชอาณาจักรนิวซีแลนด์ราชอาณาจักรเดนมาร์กราชอาณาจักรเนเธอร์แลนด์รีกาลอนดอนลูบลิยานาวอยวอดีนาวาลิสและฟูตูนาวิลนีอุสวิลเลมสตัดสหพันธรัฐสหพันธรัฐบอสเนียและเฮอร์เซโกวีนาสหพันธ์สาธารณรัฐสังคมนิยมโซเวียตรัสเซียสหรัฐอาหรับเอมิเรตส์สหราชอาณาจักรสาธารณรัฐสังคมนิยมบอสเนียและเฮอร์เซโกวีนาสาธารณรัฐสังคมนิยมมาซิโดเนียสาธารณรัฐสังคมนิยมโซเวียตมอลเดเวียสาธารณรัฐสังคมนิยมโซเวียตยูเครนสาธารณรัฐสังคมนิยมโซเวียตลัตเวียสาธารณรัฐสังคมนิยมโซเวียตลิทัวเนียสาธารณรัฐสังคมนิยมโซเวียตอาร์มีเนียสาธารณรัฐสังคมนิยมโซเวียตอาเซอร์ไบจานสาธารณรัฐสังคมนิยมโซเวียตอุซเบกสาธารณรัฐสังคมนิยมโซเวียตจอร์เจียสาธารณรัฐสังคมนิยมโซเวียตทาจิกสาธารณรัฐสังคมนิยมโซเวียตคาซัคสาธารณรัฐสังคมนิยมโซเวียตคีร์กีซสาธารณรัฐสังคมนิยมโซเวียตเบียโลรัสเซียสาธารณรัฐสังคมนิยมโซเวียตเอสโตเนียสาธารณรัฐสังคมนิยมโซเวียตเติร์กเมนสาธารณรัฐสังคมนิยมเชโกสโลวัก...สาธารณรัฐเซิร์ปสกาสโกเปียหมู่เกาะคุกหมู่เกาะแฟโรอัมสเตอร์ดัมอัสตานาอาชกาบัตอาบูดาบีอารูบาอาวารัวอาณานิคมโพ้นทะเลของประเทศฝรั่งเศสอาโลฟีทบิลีซีทอร์สเฮาน์ทาชเคนต์ทาลลินน์ดูชานเบดูไบคาร์ดิฟฟ์คาร์คิฟคีชีเนาซามาร์คันด์ซาราเยโวซาเกร็บซินต์มาร์เตินประเทศบอสเนียและเฮอร์เซโกวีนาประเทศฝรั่งเศสประเทศมอนเตเนโกรประเทศมาซิโดเนียประเทศสกอตแลนด์ประเทศสโลวีเนียประเทศอังกฤษประเทศคอซอวอประเทศนิวซีแลนด์ประเทศโครเอเชียประเทศเวลส์ประเทศเดนมาร์กประเทศเซอร์เบียประเทศเซนต์คิตส์และเนวิสประเทศเนเธอร์แลนด์ปารีสปาเปเอเตนอวีซาดนิวแคลิโดเนียนุกนูเมอานีวเวแซ็ง-บาร์เตเลมีแซ็ง-ปีแยร์แซ็งปีแยร์และมีเกอลงโอรันเยสตัดโคเปนเฮเกนไอร์แลนด์เหนือเบลฟาสต์เบลเกรดเฟรนช์พอลินีเชียเกาะเซนต์มาร์ตินเยเรวานเวลลิงตันเอดินบะระเคียฟเนวิส ขยายดัชนี (62 มากกว่า) »

บันยาลูกา

ันยาลูกา (Banja Luka) เป็นเมืองใหญ่เป็นอันดับ 2 ของประเทศบอสเนียและเฮอร์เซโกวีนา ตั้งอยู่ทางตอนเหนือ-ตะวันตกของประเทศ เป็นที่ตั้งของมหาวิทยาลัยบันยาลูกา และสถาบันการศึกษาอีกหลายแห่ง ตั้งอยู่บนฝั่งแม่น้ำเวอร์บัส มีน้ำพุร้อนจำนวนมาก เมืองมีพื้นที่ 96.2 ตร.กม.

ใหม่!!: ประเทศองค์ประกอบและบันยาลูกา · ดูเพิ่มเติม »

บากู

กู บากู หรือ บากี (Bakı หรือ Baky; ซีริลลิก: Бакы) เป็นเมืองหลวงและเมืองใหญ่ที่สุดของประเทศอาเซอร์ไบจาน ตั้งอยู่ชายฝั่งทางใต้ของคาบสมุทรเล็ก ๆ ที่ยื่นออกไปในทะเลแคสเปียนชื่ออับชิรอน (Abşeron) กรุงบากูประกอบด้วยพื้นที่สามส่วน ได้แก่ ย่านเมืองเก่า (อิตแชรีแชแฮร์) ตัวเมืองปัจจุบัน และตัวเมืองที่สร้างขึ้นในสมัยโซเวียต รวมแล้วมีประชากร 2,074,300 คน (ค.ศ. 2003) แต่มีประมาณ 3 ล้านคนที่อาศัยอยู่ในเขตมหานคร (เนื่องจากมีผู้อพยพและผู้พลัดถิ่นภายในประเทศเป็นจำนวนมาก) ปัจจุบันมีนายฮาชีบาลา อาบูตาลีบอฟ (Hajibala Abutalybov) เป็นนายกเทศมนตรี ประวัติศาสตร์บากูย้อนไปถึงช่วง 1,000 ปีก่อนคริสต์ศักราช ส่วนเอกสารที่อ้างถึงเมืองนี้เป็นครั้งแรกอยู่ในปี ค.ศ. 885 บากูเคยเป็นเมืองหลวงของดินแดนต่าง ๆ ที่เป็นประเทศอาเซอร์ไบจานปัจจุบันในหลายยุคสมัย ได้แก่ แคว้นชีร์วาน (ในสมัยของพระเจ้าอัคซีตันที่ 1 และพระเจ้าคาลีลุลลาห์ที่ 1) รัฐข่านบากู จังหวัดบากูของรัสเซีย สาธารณรัฐประชาธิปไตยอาเซอร์ไบจาน และสาธารณรัฐสังคมนิยมโซเวียตอาเซอร์ไบจาน (Azerbaijan SSR) ตั้งแต่อดีต เมืองแห่งนี้ต้องประสบกับการรุกรานของชนชาติต่าง ๆ เสมอ ไม่ว่าจะเป็นมองโกล ซาฟาวิด ออตโตมัน และรัสเซีย ในช่วงครึ่งหลังของคริสต์ศตวรรษที่ 19 การค้นพบน้ำมันและแก๊สธรรมชาติได้นำความรุ่งเรืองมั่งคั่งมาสู่เมืองนี้ ผังของเมืองที่ร่ำรวยน้ำมันแห่งนี้เป็นรูปสี่เหลี่ยมผืนผ้า มีเพียงส่วนที่เก่าแก่ที่สุดของเมืองภายในกำแพงป้อมเท่านั้น ที่มีถนนที่มีลักษณะโค้งและแคบ เขตตัวเมืองที่มีความเจริญมั่งคั่ง (ซึ่งอยู่ทางใต้ของเมืองเก่า) ถูกสร้างขึ้นหลังจากมีการนำปิโตรเลียมจำนวนมหาศาลขึ้นมาใช้ประโยชน์เมื่อเกือบศตวรรษที่ผ่านมา และมีสถาปัตยกรรมที่สวยงาม รวมพิพิธภัณฑ์วิจิตรศิลป์ ประวัติศาสตร์ และวรรณคดีตั้งอยู่นั่นด้วย ปัจจุบันบากูสมัยใหม่ขยายเขตออกไปนอกกำแพงเมือง อาคารและถนนสายต่าง ๆ จึงเริ่มปรากฏขึ้นบนเนินเขาริมอ่าว.

ใหม่!!: ประเทศองค์ประกอบและบากู · ดูเพิ่มเติม »

ชาร์จาห์

ชาร์จาห์ (Sharjah) หรือ อัชชาริเกาะฮ์ (الشارقة) เป็นเมืองที่ใหญ่เป็นอันดับ 3 ของสหรัฐอาหรับเอมิเรตส์ ตั้งอยู่ริมคาบสมุทรอาหรับบนอ่าวเปอร์เซีย มีประชากรประมาณ 800,000 คน เป็นเมืองศูนย์กลางทางวัฒนธรรมและอุตสาหกรรม หมวดหมู่:เมืองในสหรัฐอาหรับเอมิเรตส์.

ใหม่!!: ประเทศองค์ประกอบและชาร์จาห์ · ดูเพิ่มเติม »

บิชเคก

ก (Bishkek) เป็นเมืองหลวงและเมืองที่ใหญ่ที่สุดของประเทศคีร์กีซสถาน และยังเป็นศูนย์กลางการปกครองของจังหวัดชึยที่อยู่รอบเมือง แม้ว่าเมืองจะไม่ได้อยู่ในฐานะจังหวัดแต่มีฐานะเท่าจังหวัด บิชเคกตั้งอยู่ที่ มีแม่น้ำชึยไหลผ่าน บิชเคกยังอยู่ในเส้นทางรถไฟสายเตอร์กีสถาน-ไซบีเรี.

ใหม่!!: ประเทศองค์ประกอบและบิชเคก · ดูเพิ่มเติม »

ฟีลิปส์บืร์ค

ฟีลิปส์บืร์ค (Philipsburg) เป็นเมืองหลวงของซินต์มาร์เติน ซึ่งเป็นดินแดนในทะเลแคริบเบียนของราชอาณาจักรเนเธอร์แลนด์ มีประชากร 1,338 คน.

ใหม่!!: ประเทศองค์ประกอบและฟีลิปส์บืร์ค · ดูเพิ่มเติม »

พริสตีนา

พริสตีนา (Pristina) หรือ พริชตีนา (Prishtinë,; Приштина, Priština) เป็นเมืองหลวงและเมืองใหญ่ที่สุดของคอซอวอ นอกจากนี้ยังเป็นศูนย์กลางการบริหารของเทศบาลและเขตที่มีชื่อเดียวกัน หมวดหมู่:เมืองหลวง.

ใหม่!!: ประเทศองค์ประกอบและพริสตีนา · ดูเพิ่มเติม »

พอดกอรีตซา

ที่ตั้งของกรุงพอดกอรีตซาในประเทศมอนเตเนโกร พอดกอรีตซา (อักษรโรมัน: Podgorica; อักษรซีริลลิก: Подгорица) เป็นเมืองหลวงของประเทศมอนเตเนโกร มีพิกัดภูมิศาสตร์ตั้งอยู่ที่ละติจูด 42.47 องศาเหนือ และลองจิจูด 19.28 องศาตะวันออก มีความสูงจากระดับน้ำทะเล 44 เมตร จากการสำรวจพบว่าในปี พ.ศ. 2546 เมืองนี้มีประชากร 136,473 คน พอดกอรีตซามีที่ตั้งทางภูมิศาสตร์ที่ดี คือ ตั้งอยู่บริเวณจุดบรรจบของแม่น้ำริบนีตซา (Ribnica) และแม่น้ำมอราตชา (Morača) ทางทิศเหนืออยู่ห่างจากศูนย์สกีฤดูหนาวเพียงไม่กี่กิโลเมตร ทางทิศใต้ก็เกือบจะติดกับทะเลเอเดรียติก ทำให้เมืองนี้มีสภาพที่เอื้ออำนวยต่อการตั้งถิ่นฐาน ชื่อพอดกอรีตซาในภาษาเซอร์เบีย เมื่อแปลตามตัวอักษรจะมีความหมายว่า "ใต้กอรีตซา" กอรีตซา (หมายถึง ภูเขาลูกเล็ก ๆ) เป็นชื่อของเขาลูกหนึ่งซึ่งสามารถมองลงไปเห็นเมืองนี้ได้ บริเวณเมืองเก่าของเมืองนี้มีชื่อว่า โดเกลอา (Doclea) ในสมัยก่อนโรมันและสมัยโรมัน ต่อมาในสมัยกลางเป็นที่รู้จักกันในชื่อ ริบนีตซา (Ribnica) และในระหว่างปี พ.ศ. 2488 - พ.ศ. 2535 (1945 - 1992) ถูกเรียกว่า ตีโตกราด (Titograd) พอดกอรีตซาเป็นที่ตั้งของโรงละครและห้องสมุดหลายแห่ง รวมทั้งมหาวิทยาลัย 1 แห่ง หมวดหมู่:เมืองหลวง หมวดหมู่:ประเทศมอนเตเนโกร หมวดหมู่:เมืองในประเทศมอนเตเนโกร.

ใหม่!!: ประเทศองค์ประกอบและพอดกอรีตซา · ดูเพิ่มเติม »

กรีนแลนด์

กรีนแลนด์ (Kalaallit Nunaat; Grønland เกฺรินลันฺด) เป็นดินแดนทางเหนือสุดของโลก ตั้งอยู่ในมหาสมุทรอาร์กติกและเป็นเกาะที่ใหญ่ที่สุดในโลก มีพื้นที่ประมาณ 2,175,900 ตารางกิโลเมตร มีฐานะเป็นดินแดนปกครองตนเองของประเทศเดนมาร์ก ตั้งแต่ปี พ.ศ. 2499.

ใหม่!!: ประเทศองค์ประกอบและกรีนแลนด์ · ดูเพิ่มเติม »

กือราเซา

กือราเซา (Curaçao) หรือ กอร์ซอว์ (ปาเปียเมนตู: Kòrsou) มีชื่อเรียกอย่างเป็นทางการว่า ประเทศกือราเซา (ดัตช์: Land Curaçao; ปาเปียเมนตู: Pais Kòrsou)เป็น 1 ใน 4 ประเทศองค์ประกอบของราชอาณาจักรเนเธอร์แลนด์ อันประกอบไปด้วยกือราเซา, อารูบา, เนเธอร์แลนด์ และ ซินต์มาร์เติน โดยกือราเซาเป็นประเทศที่เป็นเกาะตั้งอยู่ในหมู่เกาะเลสเซอร์แอนทิลลีสทางตอนใต้ของทะเลแคริบเบียน ห่างจากชายฝั่งตอนเหนือของประเทศเวเนซุเอลาออกไปประมาณ 65 กิโลเมตร ประเทศกือราเซาเคยเป็นส่วนหนึ่งในดินแดนกือราเซาและรัฐภายใต้ความคุ้มครองของเนเธอร์แลนด์ (Curaçao and Dependencies colony) ในช่วงระหว่างปี..1815–1954 ต่อมาได้ถูกผนวกรวมกับดินแดนอื่นๆเช่น อารูบา, ซินต์มาร์เติน, ซาบา,โบแนเรอ จัดตั้งเป็นแคว้นเนเธอร์แลนด์แอนทิลลีส ก่อนที่ในเดือนตุลาคม..2010 เนเธอร์แลนด์แอนทิลลิสจะถูกยุบ หลังจากยุบเนเธอร์แลนด์แอนทิลลิส ปัจจุบันกือราเซา มีสถานะเป็นประเทศปกครองตนเองที่ขึ้นตรงต่อราชอาณาจักรเนเธอร์แลนด์ เช่นเดียวกับประเทศเนเธอร์แลนด์,อารูบา และซินต์มาร์เติน มีพื้นที่ 444 ตารางกิโลเมตร (171 ตารางไมล์) และมีวิลเลมสตัดเป็นเมืองหลวง จากข้อมูลวันที่ 1 มกราคม..

ใหม่!!: ประเทศองค์ประกอบและกือราเซา · ดูเพิ่มเติม »

กุสตาวียา (แซ็ง-บาร์เตเลมี)

กุสตาวียา (Gustavia) เป็นเมืองหลวงของแซ็ง-บาร์เตเลมี ซึ่งเป็นดินแดนของประเทศฝรั่งเศส มีประชากร 2,300 คน ชื่อของเมืองตั้งขึ้นตามพระนามของกษัตริย์กุสตาฟแห่งสวีเดน.

ใหม่!!: ประเทศองค์ประกอบและกุสตาวียา (แซ็ง-บาร์เตเลมี) · ดูเพิ่มเติม »

มอสโก

มอสโก (Moscow; Москва́, มะสฺกฺวา) เป็นเมืองหลวงของประเทศรัสเซีย เป็นศูนย์กลางทางเศรษฐกิจ การเงิน การศึกษา และ การเดินทางของประเทศ โดยตั้งอยู่ใกล้แม่น้ำมัสกวา ซึ่งในตัวเมืองมีประชากรอยู่อาศัยกว่า 1 ใน 10 ของประเทศ ทำให้เป็นเมืองที่มีประชากรหนาแน่นที่สุดในยุโรป และเมื่อสมัยครั้งที่สหภาพโซเวียตยังไม่ล่มสลาย กรุงมอสโกก็ยังเป็นเมืองหลวงของสหภาพโซเวียตอีกด้วย ในปี..

ใหม่!!: ประเทศองค์ประกอบและมอสโก · ดูเพิ่มเติม »

มาตา-อูตู

มาตา-อูตู (Mata-Utu) เป็นเมืองหลวงของวาลลิสและฟุตูนาซึ่งเป็นอาณานิคมโพ้นทะเลของฝรั่งเศส เมืองนี้ตั้งอยู่ในเขตฮาเฮกบนเกาะวาสลิส มีประชากร 1,191 คน (จากการสำมะโนประชากรปี ค.ศ. 2003).

ใหม่!!: ประเทศองค์ประกอบและมาตา-อูตู · ดูเพิ่มเติม »

มินสค์

ริเวณจัตุรัสแห่งชัยชนะในกรุงมินสค์ มินสค์ (Minsk; Мінск; Минск) เป็นเมืองหลวงและเมืองใหญ่ที่สุดในประเทศเบลารุส ตั้งอยู่ริมแม่น้ำสวิสลาช (Svislach) และแม่น้ำเนียมีฮา (Niamiha) ที่ความสูงจากระดับน้ำทะเล 280.4 เมตร กรุงมินสค์เป็นที่ตั้งสำนักงานใหญ่ของเครือรัฐเอกราช (CIS) ในที่เป็นฐานะเมืองหลวงของประเทศ ยังมีสถานะการบริหารพิเศษและยังเป็นศูนย์กลางการบริหารของจังหวัดมินสค์และเขตมินสค์อีกด้วย ในปี ค.ศ. 2006 กรุงมินสค์มีประชากรประมาณ 1,780,000 คน และมีนายมีคาอิล ปัฟลอฟ (Mikhail Pavlov) เป็นนายกเทศมนตรี หลักฐานยุคแรกเริ่มสุดที่กล่าวถึงมินสค์นั้นย้อนไปถึงคริสต์ศตวรรษที่ 11 (ค.ศ. 1067) ในปี ค.ศ. 1242 มินสค์ได้กลายเป็นส่วนหนึ่งของราชรัฐลิทัวเนีย (Grand Duchy of Lithuania) และได้รับอภิสิทธิ์เมืองในปี ค.ศ. 1499 ตั้งแต่ปี ค.ศ. 1569 เมืองนี้ได้เป็นเมืองหลวงของมินสค์วอยวอดชิป (Minsk Voivodship) ในเครือจักรภพโปแลนด์-ลิทัวเนีย ต่อมาถูกผนวกเข้ากับรัสเซียในปี ค.ศ. 1793 ซึ่งเป็นผลจากการแบ่งแยกโปแลนด์ครั้งที่ 2 ระหว่างปี ค.ศ. 1919-1991 มินสค์เคยมีฐานะเป็นเมืองหลวงของสาธารณรัฐสังคมนิยมโซเวียตเบียโลรัสเซีย (Byelorussian SSR) ก่อนสหภาพโซเวียตล่มสล.

ใหม่!!: ประเทศองค์ประกอบและมินสค์ · ดูเพิ่มเติม »

รัฐฟูไจราห์

ฟูไจราห์ (Fujairah) หรือ อัลฟุญัยเราะฮ์ (الفجيرة) เป็นหนึ่งในรัฐ (emirate) ทั้งเจ็ดของสหรัฐอาหรับเอมิเรตส์ เป็นรัฐเดียวของประเทศที่มีชายฝั่งติดกับอ่าวโอมานและไม่ติดกับอ่าวเปอร์เซีย ฟูไจราห์ปกครองด้วยระบอบราชาธิปไตย โดยมีเจ้าผู้ครองรัฐองค์ปัจจุบันคือเชคฮะมัด บิน มุฮัมมัด อัชชัรกี ไฟล์:Al_Bidya-mosque.jpg ไฟล์:2011-0209-Al_Badiyah_Mosque.jpg ไฟล์:Al_Bidyah_Mosque_in_October_2007_Pict_3.jpg ไฟล์:Al_Bidyah_Mosque_in_October_2007_Pict_1.jpg ฟ.

ใหม่!!: ประเทศองค์ประกอบและรัฐฟูไจราห์ · ดูเพิ่มเติม »

รัฐราสอัลไคมาห์

รัฐราสอัลไคมาห์ (alternatively Ra'sal-Khaymah; رأس الخيمة) เป็นหนึ่งในรัฐ (emirate) ทั้งเจ็ดของสหรัฐอาหรับเอมิเรตส์ มีพื้นที่ 1,683 ตารางกิโลเมตร มีประชากร 263,217 คน ตั้งอยู่ทางตะวันออกเฉียงเหนือของประเทศ ปกครองด้วยระบอบราชาธิปไตย โดยมีเจ้าผู้ครองรัฐ (Emir) องค์ปัจจุบันคือซาอุด บิน ซัคร์ อัลกอสิมีย์ หมวดหมู่:สหรัฐอาหรับเอมิเรตส์.

ใหม่!!: ประเทศองค์ประกอบและรัฐราสอัลไคมาห์ · ดูเพิ่มเติม »

รัฐอัจมาน

อัจมาน (Ajman; عجمان) เป็นหนึ่งในรัฐ (emirate) ทั้งเจ็ดของสหรัฐอาหรับเอมิเรตส์ มีพื้นที่ 259 ตารางกิโลเมตร มีประชากรประมาณ 361,160 คน เป็นรัฐที่เล็กที่สุดในบรรดารัฐทั้งเจ็ด ปกครองโดยระบอบราชาธิปไตย โดยมีเจ้าผู้ครองนครองค์ปัจจุบันคือ เชคฮุมัยด์ บิน รอชิด อันนุอัยมี อ.

ใหม่!!: ประเทศองค์ประกอบและรัฐอัจมาน · ดูเพิ่มเติม »

รัฐอุมม์อัลไกไวน์

รัฐอุมม์อัลไกไวน์ (أمّ القيوين, "Mother of the Two Powers") เป็นหนึ่งในรัฐ (emirate) ทั้งเจ็ดของสหรัฐอาหรับเอมิเรตส์ มีพื้นที่ 755 ตารางกิโลเมตร มีประชากร 72,000 คน ตั้งอยู่ทางตะวันออกเฉียงเหนือของประเทศ เป็นรัฐที่มีขนาดเล็กเป็นอันดับสอง ปกครองด้วยระบอบราชาธิปไตย โดยมีเจ้าผู้ครองรัฐ (Emir) องค์ปัจจุบันคือรอชิด บิน อะฮ์หมัด อัลมูอัลลาที่ 3 หมวดหมู่:สหรัฐอาหรับเอมิเรตส์.

ใหม่!!: ประเทศองค์ประกอบและรัฐอุมม์อัลไกไวน์ · ดูเพิ่มเติม »

รัฐเอกราช

รัฐเอกราชบนโลก ในภูมิศาสตร์การเมือง รัฐเอกราช (sovereign state) เป็นองค์กรทางการเมืองที่มีการปกครองแบบรวมศูนย์ (centralized government, รัฐบาลส่วนกลาง) ที่มีอำนาจสูงสุดที่ชอบธรรมและเป็นอิสระเหนือพื้นที่ทางภูมิศาสตร์ มีประชากรถาวร, รัฐบาล, และวิสัยที่จะเข้าไปสร้างความสัมพันธ์กับรัฐเอกราชอื่น นอกจากนี้ยังเป็นที่เข้าใจกันว่าเป็นรัฐที่ไม่ขึ้นอยู่กับอำนาจหรือรัฐอื่น การดำรงอยู่หรือการหายตัวไปของรัฐเป็นปัญหาข้อเท็จจริง ขณะที่ตามทฤษฎีปกครองของการรับรองรัฐ รัฐเอกราชสามารถดำรงอยู่ได้โดยไม่ได้รับการยอมรับจากรัฐเอกราชอื่น รัฐที่ไม่ได้การยอมรับมักพบว่าเป็นการยากที่จะใช้อำนาจทำสนธิสัญญาเต็มรูปแบบและมีส่วนร่วมในความสัมพันธ์ทางการทูตกับรัฐอธิปไตยอื่น ๆ คำว่า "ประเทศ" เป็นภาษาพูดที่บ่อยครั้งมักหมายถึงรัฐเอกราช แม้ว่าต้นกำเนิดจะหมายถึงเพียงแค่ดินแดน และต่อมาความหมายได้ยื่นขยายกลายเป็นระบบการปกครองที่มีอำนาจซึ่งควบคุมพื้นที่ทางภูมิศาสตร.

ใหม่!!: ประเทศองค์ประกอบและรัฐเอกราช · ดูเพิ่มเติม »

ราชอาณาจักรนิวซีแลนด์

แผนที่ของราชอาณาจักรนิวซีแลนด์ ราชอาณาจักรนิวซีแลนด์ คือระบอบราชาธิปไตยภายใต้รัฐธรรมนูญที่มีพระราชินีของนิวซีแลนด์เป็นหัวหน้า โดยราชอาณาจักรประกอบด้วย นิวซีแลนด์, หมู่เกาะคุก, นีอูเอ, โตเกเลา และ รอสส์ดีเพนเดนซีในทวีปแอนตาร์กติก.

ใหม่!!: ประเทศองค์ประกอบและราชอาณาจักรนิวซีแลนด์ · ดูเพิ่มเติม »

ราชอาณาจักรเดนมาร์ก

ราชอาณาจักรเดนมาร์ก คือระบอบราชาธิปไตยภายใต้รัฐธรรมนูญและประชาคมที่ประกอบด้วยส่วนที่เป็นอิสระต่อกันสามส่วน:เดนมาร์กทางตอนเหนือของยุโรป, หมู่เกาะแฟโรในมหาสมุทรแอตแลนติก และ กรีนแลนด์ ใน อเมริกาเหนือ โดยมีเดนมาร์กเป็นดินแดนศูนย์กลางที่เป็นที่ตั้งของสถาบันทางด้านการยุติธรรม, การปกครอง และ การบริหาร ความสัมพันธ์ระหว่างรัฐในเครือราชอาณาจักรเดนมาร์กเรียกว่า "Rigsfællesskabet" พระประมุขพระองค์ปัจจุบันของราชอาณาจักรเดนมาร์กคือ สมเด็จพระราชินีนาถมาร์เกรเธอที่ 2 ในบรรดาสมาชิกทั้งสามก็มีแต่เดนมาร์กเท่านั้นที่เป็นสมาชิกของสหภาพยุโรป.

ใหม่!!: ประเทศองค์ประกอบและราชอาณาจักรเดนมาร์ก · ดูเพิ่มเติม »

ราชอาณาจักรเนเธอร์แลนด์

ราชอาณาจักรเนเธอร์แลนด์ (Koninkrijk der Nederlanden; The Kingdom of the Netherlands) เป็นรัฐเอกราชซึ่งมีดินแดนในยุโรปตะวันตกและแคริบเบียน ราชอาณาจักรสี่ส่วน อารูบา กือราเซา เนเธอร์แลนด์ และซินต์มาร์เติน ถูกเรียกว่า "ประเทศ" และมีส่วนร่วมบนรากฐานความเสมอภาคเป็นประเทศร่วม (partner) ในราชอาณาจักร ทว่าในทางปฏิบัติ เนเธอร์แลนด์ (ซึ่งมีพื้นที่และประชากรเป็นราว 98% ของราชอาณาจักร) บริหารจัดการกิจการแห่งราชอาณาจักรส่วนใหญ่ ในนามของทั้งราชอาณาจักร โดยอารูบา กือราเซาและซินต์มาร์เตินพึ่งพิงเนเธอร์แลนด์ ประเทศองค์ประกอบ (constituent country) ส่วนใหญ่ของเนเธอร์แลนด์ (และราชอาณาจักร) ตั้งอยู่ในทวีปยุโรป ยกเว้นเทศบาลพิเศษสามแห่ง (โบแนเรอ ซินต์เอิสตาซียึสและซาบา) ที่ตั้งอยู่ในแคริบเบียน ประเทศองค์ประกอบอารูบา กือราเซาและซินต์มาเตินตั้งอยู่ในแคริบเบียนเช่นกัน ซูรินามถือเป็นประเทศหนึ่งในราชอาณาจักรตั้งแต..

ใหม่!!: ประเทศองค์ประกอบและราชอาณาจักรเนเธอร์แลนด์ · ดูเพิ่มเติม »

รีกา

ทัศนียภาพกรุงรีกาจากโปสต์การ์ดในปี พ.ศ. 2443 รีกา (Rīga) เป็นเมืองหลวงของประเทศลัตเวีย ตั้งอยู่ริมฝั่งทะเลบอลติก บนปากแม่น้ำเดากาวา (Daugava) มีพิกัดภูมิศาสตร์อยู่ที่ละติจูด 56°58′เหนือ กับลองจิจูด 24°8′ตะวันออก กรุงรีกาเป็นเมืองใหญ่ที่สุดในกลุ่มรัฐบอลติก และเป็นศูนย์กลางวัฒนธรรม การศึกษา การเมืองการปกครอง ธุรกรรม พาณิชยกรรม และอุตสาหกรรมในแถบนี้ นอกจากนี้ ศูนย์ประวัติศาสตร์รีกา (Historic Centre of Riga) ยังได้รับการประกาศจากองค์การยูเนสโกให้เป็นแหล่งมรดกโลกด้ว.

ใหม่!!: ประเทศองค์ประกอบและรีกา · ดูเพิ่มเติม »

ลอนดอน

ลอนดอน (London, ลันเดิน) เป็นเมืองหลวงของประเทศอังกฤษ และสหราชอาณาจักร และเป็นเมืองที่ใหญ่ที่สุดของสหภาพยุโรป เป็นเมืองที่มีศูนย์กลางทางธุรกิจที่ใหญ่ที่สุดในโลก ลอนดอนเป็นหนึ่งในศูนย์กลางสำคัญทางธุรกิจ การเมือง วัฒนธรรม และประวัติศาสตร์ของโลก เป็นผู้นำด้านการเงิน การเมือง การสื่อสาร การบันเทิง แฟชั่น และศิลปะ ในอดีตเป็นเมืองหลวงของโลก เป็นเมืองที่เจริญที่สุดในโลก ตั้งแต่อดีตจนถึงปัจจุบัน เป็นเมืองที่มีอิทธิพลไปทั่วโลก ถือกันว่าเป็นเมืองสากลหลักของโลก จีดีพีของลอนดอน คิดเป็นร้อยละ 19.5 ของสหราชอาณาจักร ลอนดอนมีประชากรประมาณ 7.5 ล้านคน (ข้อมูลเมื่อปี พ.ศ. 2549) และประมาณ 12 - 14 ล้านคนถ้ารวมนครหลวงลอนดอนและปริมณฑล ลอนดอนเป็นเมืองที่ประกอบด้วยหลายชนชาติอย่างมาก ประชากรมีความหลากหลายทั้งด้านเชื้อชาติ วัฒนธรรม ศาสนา และภาษา ซึ่งประมาณว่ามีมากกว่า 300 ภาษา เราเรียกชาวลอนดอนว่า ลอนดอนเนอร์ (Londoner) ลอนดอนเป็นศูนย์กลางการคมนาคมในระดับนานาชาติ และเป็นเมืองท่องเที่ยวสำคัญของทวีปยุโรป โดยสนามบินที่ใหญ่ที่สุดในลอนดอน คือ ท่าอากาศยานนานาชาติฮีทโธรว.

ใหม่!!: ประเทศองค์ประกอบและลอนดอน · ดูเพิ่มเติม »

ลูบลิยานา

(สโลวีเนีย: Ljubljana) คือเมืองหลวง และเป็นเมืองที่ใหญ่ที่สุดในประเทศสโลวีเนีย ด้วยตำแหน่งที่ตั้งที่จัดได้ว่าเป็นศูนย์กลางของยุโรป ระหว่างเทือกเขาแอลป์, ทะเลเมดิเตอร์เรเนียน และที่ราบแพนโนเนียน ลูบลิยานาตั้งอยู่ใจกลางของประเทศสโลวีเนีย มีประชากร 267,386 คน (สำรวจเมื่อปี พ.ศ. 2549) ปัจจุบันเป็นตัวแทนวัฒนธรรมประเพณี, เศรษฐกิจ, การเมือง และศูนย์กลางบริหารของประเทศสโลวีเนี.

ใหม่!!: ประเทศองค์ประกอบและลูบลิยานา · ดูเพิ่มเติม »

วอยวอดีนา

วอยวอดีนา (สีแดง) ทางตอนเหนือของสาธารณรัฐเซอร์เบีย วอยวอดีนา หรือ จังหวัดปกครองตนเองวอยวอดีนา (Аутономна Покрајина Војводина, Autonomna Pokrajina Vojvodina, Vajdaság Autonóm Tartomány; Autonómna Pokrajina Vojvodina; Provincia Autonomă Voievodina; Autonomna Pokrajina Vojvodina; รูซิน: Автономна Покраїна Войводина; Autonomous Province of Vojvodina) เป็นหนึ่งในสองจังหวัดปกครองตนเองของสาธารณรัฐเซอร์เบีย ที่มีประชากรร้อยละ 27 ของจำนวนประชากรทั้งหมด (ค.ศ. 2002) วอยวอดีนาตั้งอยู่ทางตอนเหนือของเซอร์เบียในที่ราบแพนโนเนียของยุโรปกลาง โดยมีเมืองหลวงอยู่ที่นอวีซาด (Novi Sad) ที่มีประชากร 300,000 คน เมืองที่ใหญ่เป็นที่สองคือซูบอตีตซา (Subotica) วอยวอดีนามีภาษาราชการ 6 ภาษาและประกอบด้วยกลุ่มชาติพันธุ์กว่า 26 กลุ่ม กลุ่มที่มีประชากรมากที่สุดได้แก่ชาวเซิร์บและชาวฮังการี.

ใหม่!!: ประเทศองค์ประกอบและวอยวอดีนา · ดูเพิ่มเติม »

วาลิสและฟูตูนา

วาลิสและฟูตูนา (Wallis and Futuna; Wallis et Futuna; ภาษาฟากาอูเวอาและภาษาฟูตูนา: Uvea mo Futuna) หรือชื่อทางการว่า ดินแดนหมู่เกาะวาลิสและฟูตูนา (Territory of the Wallis and Futuna Islands; Territoire des îles Wallis-et-Futuna) เป็นอาณานิคมของประเทศฝรั่งเศส มีพื้นที่ทั้งหมด 264 ตารางกิโลเมตร ประกอบด้วย 2 หมู่เกาะคือ.

ใหม่!!: ประเทศองค์ประกอบและวาลิสและฟูตูนา · ดูเพิ่มเติม »

วิลนีอุส

อนุสาวรีย์ไม้กางเขน 3 อันในกรุงวิลนีอุส วิลนีอุส (Vilnius) (ภาษาเบลารุส Вільня, ภาษาโปแลนด์ ไฟล์:Ltspkr.png Wilno, ภาษารัสเซีย Вильнюс, อดีต Вильно, ภาษาเยอรมัน Wilna) เป็นเมืองหลวงและเมืองใหญ่ที่สุดของประเทศลิทัวเนีย มีจำนวนประชากรมากกว่า 540,000 คน ในปี พ.ศ. 2546 นอกจากนี้ยังมีฐานะเป็นเมืองศูนย์กลางการบริหารของเทศบาลนครวิลนีอัส (Vilnius city municipality) และเทศบาลเขตวิลนีอัส (Vilnius district municipality) รวมทั้งเป็นที่ตั้งเทศมณฑลวิลนีอัสด้ว.

ใหม่!!: ประเทศองค์ประกอบและวิลนีอุส · ดูเพิ่มเติม »

วิลเลมสตัด

วิลเลมสตัด (Willemstad) เป็นเมืองหลวงของกือราเซา เกาะทางตอนใต้ในทะเลแคริบเบียนของราชอาณาจักรเนเธอร์แลนด์ มีประชากรอยู่ราว 140,000 คน ก่อตั้งเป็นเมืองเมื่อ..

ใหม่!!: ประเทศองค์ประกอบและวิลเลมสตัด · ดูเพิ่มเติม »

สหพันธรัฐ

แผนที่ประเทศสหพันธรัฐอย่างเป็นทางการ รัฐเดี่ยว สหพันธรัฐ (federation) หรืออีกชื่อหนึ่งว่า รัฐสหพันธ์ เป็นรัฐอธิปไตยประเภทหนึ่งซึ่งมีลักษณะของสหภาพรัฐหรือภูมิภาคที่ปกครองตนเองบางส่วน ที่รวมเข้าด้วยกันโดยรัฐบาลกลาง หรือรัฐบาลสหพันธ์ ในสหพันธรัฐ สถานะการปกครองตนเองของรัฐองค์ประกอบนั้นตามแบบได้รับการคุ้มครองตามรัฐธรรมนูญและไม่อาจเปลี่ยนแปลงได้โดยการตัดสินใจฝ่ายเดียวของรัฐบาลกลาง ระบอบการปกครองหรือโครงสร้างตามรัฐธรรมนูญที่พบในสหพันธรัฐนั้นทราบกันในชื่อ ระบอบสหพันธรัฐ เป็นระบอบการปกครองที่ตรงข้ามกับรูปแบบรัฐอีกประเภทหนึ่ง คือ รัฐเดี่ยว ตัวอย่างสหพันธรัฐ เช่น ประเทศเยอรมนี ซึ่งประกอบด้วยสิบหกรัฐ (Länder) ที่รวมเข้ากันเป็นสหพันธ์ สหพันธรัฐนั้นอาจประกอบไปด้วยประชาชนที่หลากหลายทางเชื้อชาติ และมีพื้นที่กว้างใหญ่ (ดังเช่น ความหลากหลายอย่างที่สุดในอินเดีย) แม้สหพันธรัฐจะไม่จำเป็นต้องประกอบด้วยทั้งสองประการที่กล่าวมาก็ตาม สหพันธรัฐนั้นส่วนมากก่อตั้งขึ้นจากความตกลงแต่เดิมระหว่างรัฐอธิปไตยจำนวนหนึ่งโดยตั้งอยู่บนความกังวลหรือผลประโยชน์ร่วมกัน ความตกลงแรกเริ่มได้สร้างเสถียรภาพซึ่งเกื้อหนุนผลประโยชน์ร่วมกันข้ออื่น นำดินแดนที่แตกต่างกันสิ้นเชิงมาใกล้ชิดกัน และให้ดินแดนทั้งหมดมีหลักความเห็น (common ground) กว่าแต่ก่อน ในขณะเดียวกัน ความตกลงนี้ได้รับการรับรองและมีการจัดขบวนการเพื่อผสานรวมกันให้ใกล้ชิดยิ่งขึ้น แต่ก็มีบางช่วง โดยเฉพาะอย่างยิ่งเมื่อปัจจัยวัฒนธรรมร่วมเข้ามาเกี่ยวข้อง เช่น เชื้อชาติหรือภาษา บางขั้นตอนในแบบนี้ถูกเร่งให้เร็วขึ้นหรือบีบอัด องค์การระหว่างประเทศของกลุ่มประเทศสหพันธรัฐ คือ องค์ประชุมกลุ่มประเทศสหพันธรัฐ (Forum of Federations) มีสำนักงานใหญ่อยู่ที่กรุงออตตาวา รัฐออนตาริโอ ประเทศแคนาดา ซึ่งมีจุดประสงค์ในการแบ่งปันแนวคิดและแนวปฏิบัติในการจัดการระบบการปกครองแบบสหพันธ์ ปัจจุบันมีประเทศสมาชิกทั้งหมด 9 ประเท.

ใหม่!!: ประเทศองค์ประกอบและสหพันธรัฐ · ดูเพิ่มเติม »

สหพันธรัฐบอสเนียและเฮอร์เซโกวีนา

หพันธรัฐบอสเนียและเฮอร์เซโกวีนา (Federation of Bosnia and Herzegovina; บอสเนีย, โครเอเชีย, เซอร์เบีย: Federacija Bosne i Hercegovine, Федерација Босне и Херцеговине) เป็นหนึ่งในหน่วยการเมืองสองส่วนที่ประกอบกันเป็นประเทศบอสเนียและเฮอร์เซโกวีนา (อีกหน่วยหนึ่งคือสาธารณรัฐเซิร์ปสกา) ประชากรส่วนใหญ่เป็นชาวบอสนีแอก รองลงไปเป็นชาวโครแอตและชาวเซิร.

ใหม่!!: ประเทศองค์ประกอบและสหพันธรัฐบอสเนียและเฮอร์เซโกวีนา · ดูเพิ่มเติม »

สหพันธ์สาธารณรัฐสังคมนิยมโซเวียตรัสเซีย

หพันธ์สาธารณรัฐสังคมนิยมโซเวียตรัสเซีย (date|r.

ใหม่!!: ประเทศองค์ประกอบและสหพันธ์สาธารณรัฐสังคมนิยมโซเวียตรัสเซีย · ดูเพิ่มเติม »

สหรัฐอาหรับเอมิเรตส์

หรัฐอาหรับเอมิเรตส์ (United Arab Emirates; الإمارات العربيّة المتّحدة) เป็นประเทศหนึ่งในตะวันออกกลาง ตั้งอยู่ทางทิศตะวันออกเฉียงใต้ของคาบสมุทรอาหรับ ในภูมิภาคเอเชียตะวันตกเฉียงใต้ริมอ่าวเปอร์เซีย ประกอบด้วยรัฐเจ้าผู้ครองนคร (emirates) 7 รัฐ ได้แก่ อาบูดาบี อัจมาน ดูไบ ฟูไจราห์ ราสอัลไคมาห์ ชาร์จาห์ และอุมม์อัลไกไวน์ ในช่วงก่อนปี พ.ศ. 2514 (ค.ศ. 1971) กลุ่มรัฐดังกล่าวเป็นที่รู้จักกันในชื่อ รัฐสงบศึก (Trucial States) หรือ ทรูเชียลโอมาน (Trucial Oman) โดยอ้างอิงตามสัญญาสงบศึกในคริสต์ศตวรรษที่ 19 ระหว่างอังกฤษกับเชคอาหรับบางพระองค์ สหรัฐอาหรับเอมิเรตส์มีพรมแดนติดกับโอมาน ซาอุดีอาระเบีย และกาตาร์ เป็นประเทศหนึ่งที่อุดมสมบูรณ์ไปด้วยทรัพยากรน้ำมัน.

ใหม่!!: ประเทศองค์ประกอบและสหรัฐอาหรับเอมิเรตส์ · ดูเพิ่มเติม »

สหราชอาณาจักร

หราชอาณาจักรบริเตนใหญ่และไอร์แลนด์เหนือ หรือโดยทั่วไปรู้จักกันว่า สหราชอาณาจักร และ บริเตน (Britain) เป็นรัฐเอกราชตั้งอยู่นอกชายฝั่งตะวันตกเฉียงเหนือของยุโรปภาคพื้นทวีป ประเทศนี้ประกอบด้วยเกาะบริเตนใหญ่ ส่วนตะวันออกเฉียงเหนือของเกาะไอร์แลนด์ และเกาะที่เล็กกว่าจำนวนมาก ไอร์แลนด์เหนือเป็นเพียงส่วนเดียวของสหราชอาณาจักรที่มีพรมแดนทางบกติดต่อกับรัฐอื่น คือ ประเทศไอร์แลนด์ นอกเหนือจากนี้แล้ว สหราชอาณาจักรล้อมรอบด้วยมหาสมุทรแอตแลนติกทางทิศตะวันตกและเหนือ ทะเลเหนือทางทิศตะวันออก ช่องแคบอังกฤษทางทิศใต้ และทะเลไอร์แลนด์ทางทิศตะวันตก รูปแบบการปกครองเป็นแบบราชาธิปไตยภายใต้รัฐธรรมนูญโดยมีระบบรัฐสภา เมืองหลวง คือ กรุงลอนดอน ประกอบด้วยสี่ประเทศ คือ ประเทศอังกฤษ สกอตแลนด์ เวลส์ และไอร์แลนด์เหนือ สามประเทศหลังนี้ได้รับการถ่ายโอนการบริหาร โดยมีอำนาจแตกต่างกัน ตั้งอยู่ในเมืองหลวงของประเทศนั้น ๆ คือ เอดินบะระ คาร์ดิฟฟ์ และเบลฟัสต์ตามลำดับ ส่วนเกิร์นซีย์ เจอร์ซีย์ และเกาะแมนเป็นบริติชคราวน์ดีเพนเดนซี และมิใช่ส่วนหนึ่งของสหราชอาณาจักร สหราชอาณาจักรมีดินแดนโพ้นทะเล 14 แห่ง ซึ่งเป็นสิ่งที่เหลืออยู่ของจักรวรรดิอังกฤษ ซึ่งขณะที่รุ่งเรืองที่สุดในช่วงปลายคริสต์ศตวรรษที่ 19 และต้นคริสต์ศตวรรษที่ 20 นั้น ครอบคลุมพื้นดินของโลกเกือบหนึ่งในสี่ และเป็นจักรวรรดิใหญ่ที่สุดในประวัติศาสตร์ อิทธิพลของอังกฤษยังสามารถพบเห็นได้จากความแพร่หลายของภาษา วัฒนธรรมและระบบกฎหมายในอดีตอาณานิคมหลายแห่ง สหราชอาณาจักรเป็นประเทศพัฒนาแล้ว และมีเศรษฐกิจใหญ่เป็นอันดับที่ 7 ของโลก ตามค่าผลิตภัณฑ์มวลรวมภายในประเทศ ณ ราคาตลาด และเศรษฐกิจใหญ่เป็นอันดับที่ 8 ของโลก ตามความเท่าเทียมของอำนาจซื้อ สหราชอาณาจักรเป็นประเทศอุตสาหกรรมประเทศแรกในโลก และเป็นมหาอำนาจอันดับหนึ่งของโลกระหว่างคริสต์ศตวรรษที่ 19 และต้นคริสต์ศตวรรษที่ 20 สหราชอาณาจักรยังถูกกล่าวขานว่าเป็นมหาอำนาจและยังมีอิทธิพลทางเศรษฐกิจ วัฒนธรรม ทหาร วิทยาศาสตร์และการเมืองระหว่างประเทศค่อนข้างมากอยู่ สหราชอาณาจักรได้รับรองว่าเป็นรัฐอาวุธนิวเคลียร์และมีรายจ่ายทางทหารมากเป็นอันดับที่ 4 ของโลก สหราชอาณาจักรเป็นสมาชิกถาวรของคณะมนตรีความมั่นคงแห่งสหประชาชาตินับแต่สมัยประชุมแรกใน..

ใหม่!!: ประเทศองค์ประกอบและสหราชอาณาจักร · ดูเพิ่มเติม »

สาธารณรัฐสังคมนิยมบอสเนียและเฮอร์เซโกวีนา

รณรัฐสังคมนิยมบอสเนียและเฮอร์เซโกวีนา (Socijalistička Republika Bosna i Hercegovina (SR BiH) / Социјалистичка Pепублика Босна и Херцеговина (СP БиХ)) เป็น1ใน6สาธารณรัฐของอดีต สหพันธ์สาธารณรัฐสังคมนิยมยูโกสลาเวีย ก่อตั้งในปี 1943 หลังพรรคคอมมิวนิสต์ยูโกสลาฟ สามารถยึดกรุงซาราเยโวจากการปกครองภายใต้ของนาซีเยอรมัน สาธารณรัฐสังคมนิยมบอสเนียและเฮอร์เซโกวีนา เดิมมีชื่อว่าสหพันธรัฐบอสเนียและเฮอร์เซโกวีนา และในเดือนเมษายน..1945 เปลี่ยนชื่อเป็นสาธารณรัฐประชาชนบอสเนียและเฮอร์เซโกวีนา จนในวันที่ 7 เมษายน ปี..1967 เปลี่ยนชื่อเป็นสาธารณรัฐสังคมนิยมบอสเนียและเฮอร์เซโกวีนา สาธารณรัฐแห่งนี้ ล่มสลายในวันที่ 3 มีนาคม 1992 เมื่อสมัชชาบอสเนียนำโดย Alija Izetbegović ประกาศยุติระบบคอมมิวนิสต์และการเป็นสหพันธของอดีตยูโกสลาเวีย ่ก่อตั้ง สาธารณรัฐบอสเนียและเฮอร์เซโกวีนา ขึ้นแทนที่ และ ตามมาด้วย การเกิดสงครามกลางเมืองบอสเนีย ระหว่างรัฐบาลบอสเนีย และ กลุ่มแบ่งแยกดินแดนชาวเซิร.

ใหม่!!: ประเทศองค์ประกอบและสาธารณรัฐสังคมนิยมบอสเนียและเฮอร์เซโกวีนา · ดูเพิ่มเติม »

สาธารณรัฐสังคมนิยมมาซิโดเนีย

รณรัฐสังคมนิยมมาซิโดเนีย (มาซิโดเนีย: Социјалистичка Република Македонија, Socijalistička Republika Makedonija) เป็นสาธารณรัฐหนึ่งในหกของรัฐที่ถูกปกครองโดยสหพันธ์สาธารณรัฐสังคมนิยมยูโกสลาเวีย และเป็นรัฐชาติสังคมนิยมของชาวมาซิโดเนีย หลังจากการเปลี่ยนแปลงระบบการปกครองมาเป็นระบบประชาธิปไตยในปี..

ใหม่!!: ประเทศองค์ประกอบและสาธารณรัฐสังคมนิยมมาซิโดเนีย · ดูเพิ่มเติม »

สาธารณรัฐสังคมนิยมโซเวียตมอลเดเวีย

สาธารณรัฐสังคมนิยมโซเวียตมอลเดเวีย (Moldavian Soviet Socialist Republic; มอลโดวา/Република Советикэ Сочиалистэ Молдовеняскэ; Молда́вская Сове́тская Социалисти́ческая Респу́блика) เป็นหนึ่งในสาธารณรัฐสิบห้าแห่งของสหภาพโซเวียต นับตั้งแต่การประกาศอำนาจอธิปไตยเมื่อวันที่ 23 มิถุนายน ค.ศ. 1990 จนถึงการประกาศเอกราชเมื่อวันที่ 27 สิงหาคม ค.ศ. 1991 สาธารณรัฐแห่งนี้มีชื่อเรียกอย่างเป็นทางการว่า สาธารณรัฐสังคมนิยมโซเวียตมอลโดวา (Soviet Socialist Republic of Moldova) และเมื่อได้รับเอกราชอย่างเป็นทางการจึงเปลี่ยนชื่อเป็น สาธารณรัฐมอลโดวา สาธารณรัฐสังคมนิยมโซเวียตมอลเดเวียได้รับการจัดตั้งขึ้นเมื่อวันที่ 2 สิงหาคม ค.ศ. 1940 โดยรวมพื้นที่บางส่วนของเบสซาเรเบีย (ภูมิภาคของโรมาเนียที่ถูกผนวกเข้ากับสหภาพโซเวียตเมื่อวันที่ 28 มิถุนายน ปีเดียวกัน) เข้ากับสาธารณรัฐปกครองตนเองสังคมนิยมโซเวียตมอลเดเวีย (Moldavian Autonomous Soviet Socialist Republic) ซึ่งในขณะนั้นเป็นสาธารณรัฐปกครองตนเองแห่งหนึ่งในเขตสาธารณรัฐสังคมนิยมโซเวียตยูเครน หมวดหมู่:สาธารณรัฐโซเวียต หมวดหมู่:รัฐสิ้นสภาพในทวีปยุโรป.

ใหม่!!: ประเทศองค์ประกอบและสาธารณรัฐสังคมนิยมโซเวียตมอลเดเวีย · ดูเพิ่มเติม »

สาธารณรัฐสังคมนิยมโซเวียตยูเครน

รณรัฐสังคมนิยมโซเวียตยูเครน (ชื่อย่อ: Ukrainian SSR) หรือ ยูเครน (Українська Радянська Соціалістична Республіка, Українська РСР; Украинская Советская Социалистическая Республика, Украинская ССР) หรือ โซเวียตยูเครน เป็นรัฐสังคมนิยมโซเวียตที่มีประชาธิปไตย (ข้อ 68 รัฐธรรมนูญแห่งยูเครนปี 1978) และเป็นหนึ่งใน 15 สาธารณรัฐองค์ประกอบ (constituent republic) ของสหภาพโซเวียต ก่อตั้งขึ้นในปี 1922 (สาธารณรัฐสังคมนิยมโซเวียตยูเครนก่อตั้งขึ้นอย่างเป็นทางการในปี 1919) และล่มสลายในปี 1991 แม้สาธารณรัฐสังคมนิยมโซเวียตจะเป็นสมาชิกก่อตั้งองค์การสหประชาชาติที่เกิดขึ้นหลังสงครามโลกครั้งที่สอง ในทางปฏิบัติแล้ว ไม่มีสิทธิ์มีเสียงอะไรในกิจการต่างประเทศ ซึ่งถูกควบคุมอย่างเข้มงวดโดยทางการมอสโก ในการล่มสลายของสหภาพโซเวียตและเปเรสตรอยกา สาธารณรัฐสังคมนิยมโซเวียตยูเครนถูกแปลงเป็นรัฐชาติสมัยใหม่ยูเครน แม้ว่ารัฐธรรมนูญฉบับใหม่ของยูเครนได้รับการอนุมัติเมื่อวันที่ 28 มิถุนายน 1996.

ใหม่!!: ประเทศองค์ประกอบและสาธารณรัฐสังคมนิยมโซเวียตยูเครน · ดูเพิ่มเติม »

สาธารณรัฐสังคมนิยมโซเวียตลัตเวีย

รณรัฐสังคมนิยมโซเวียตลัตเวีย (Latvian Soviet Socialist Republic; Latvijas Padomju Sociālistiskā Republika; Латви́йская Сове́тская Социалисти́ческая Респу́блика) เป็นหนึ่งในสาธารณรัฐสิบห้าแห่งที่ประกอบกันเป็นสหภาพโซเวียต สาธารณรัฐสังคมนิยมโซเวียตลัตเวียถูกจัดตั้งเป็นรัฐหุ่นเชิดของสหภาพโซเวียตเมื่อวันที่ 21 กรกฎาคม..

ใหม่!!: ประเทศองค์ประกอบและสาธารณรัฐสังคมนิยมโซเวียตลัตเวีย · ดูเพิ่มเติม »

สาธารณรัฐสังคมนิยมโซเวียตลิทัวเนีย

รณรัฐสังคมนิยมโซเวียตลิทัวเนีย (Lithuanian Soviet Socialist Republic; Lietuvos Tarybų Socialistinė Respublika; Лито́вская Сове́тская Социалисти́ческая Респу́блика) เป็นหนึ่งในสาธารณรัฐสิบห้าแห่งที่ประกอบกันเป็นสหภาพโซเวียต สาธารณรัฐแห่งนี้ดำรงอยู่ระหว่าง..

ใหม่!!: ประเทศองค์ประกอบและสาธารณรัฐสังคมนิยมโซเวียตลิทัวเนีย · ดูเพิ่มเติม »

สาธารณรัฐสังคมนิยมโซเวียตอาร์มีเนีย

รณรัฐสังคมนิยมโซเวียตอาร์มีเนีย (Հայկական Սովետական Սոցիալիստական Հանրապետություն, Армя́нская Сове́тская Социалисти́ческая Респу́блика) เป็นสาธารณรัฐหนึ่งในจำนวนสิบห้าสาธารณรัฐของสหภาพโซเวียต สาธารณรัฐสังคมนิยมโซเวียตอาร์มีเนียก่อตั้งขึ้นในเดือนพฤศจิกายน..

ใหม่!!: ประเทศองค์ประกอบและสาธารณรัฐสังคมนิยมโซเวียตอาร์มีเนีย · ดูเพิ่มเติม »

สาธารณรัฐสังคมนิยมโซเวียตอาเซอร์ไบจาน

รณรัฐสังคมนิยมโซเวียตอาเซอร์ไบจาน (Азәрбајҹан Совет Сосиалист Республикасы, Azərbaycan Sovet Sosialist Respublikası; Азербайджанская Советская Социалистическая Республика, Azerbaydzhanskaya Sovetskaya Sotsialisticheskaya Respublika)เป็นหนึ่งใน 15 สาธารณรัฐองค์ประกอบ (constituent republic) ของสหภาพโซเวียต และล่มสลายในปี 1991.

ใหม่!!: ประเทศองค์ประกอบและสาธารณรัฐสังคมนิยมโซเวียตอาเซอร์ไบจาน · ดูเพิ่มเติม »

สาธารณรัฐสังคมนิยมโซเวียตอุซเบก

สาธารณรัฐสังคมนิยมโซเวียตอุซเบก (Uzbek Soviet Socialist Republic; Ўзбекистон Совет Социалистик Республикаси, O'zbekiston Sovet Sotsialistik Respublikasi; Узбе́кская Сове́тская Социалисти́ческая Респу́блика) เป็นหนึ่งในสาธารณรัฐสิบห้าแห่งที่ประกอบกันเป็นสหภาพโซเวียต ได้รับการจัดตั้งขึ้นในปี ค.ศ. 1924 และในเดือนธันวาคม ค.ศ. 1991 ได้กลายเป็นรัฐเอกราชโดยเปลี่ยนชื่อประเทศเป็น "สาธารณรัฐอุซเบกิสถาน" หมวดหมู่:สาธารณรัฐโซเวียต หมวดหมู่:รัฐสิ้นสภาพในทวีปเอเชีย หมวดหมู่:ประวัติศาสตร์อุซเบกิสถาน.

ใหม่!!: ประเทศองค์ประกอบและสาธารณรัฐสังคมนิยมโซเวียตอุซเบก · ดูเพิ่มเติม »

สาธารณรัฐสังคมนิยมโซเวียตจอร์เจีย

รณรัฐสังคมนิยมโซเวียตจอร์เจีย คือหนึ่งในสาธารณรัฐที่ประกอบเป็นประเทศสหภาพโซเวียต ปัจจุบันคือประเทศจอร์เจีย ได้รับการสถาปนาเมื่อวันที่ 25 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2464 (ค.ศ. 1921) ซึ่งต่อมาตั้งแต่วันที่ 12 มีนาคม..

ใหม่!!: ประเทศองค์ประกอบและสาธารณรัฐสังคมนิยมโซเวียตจอร์เจีย · ดูเพิ่มเติม »

สาธารณรัฐสังคมนิยมโซเวียตทาจิก

สาธารณรัฐสังคมนิยมโซเวียตทาจิก (Tajik SSR; Республикаи Советии Социалистии Тоҷикистон; Таджикская Советская Социалистическая Республика) เป็นรัฐสังคมนิยมโซเวียตที่มีประชาธิปไตย และเป็นหนึ่งใน 15 สาธารณรัฐองค์ประกอบ (constituent republic) ของสหภาพโซเวียต ก่อตั้งขึ้นอย่างเป็นทางการในปี 1929 และล่มสลายในปี 1991โดยเปลี่ยนชื่อประเทศเป็น "สาธารณรัฐทาจิกีสถาน" หมวดหมู่:สาธารณรัฐโซเวียต หมวดหมู่:รัฐสิ้นสภาพในทวีปเอเชีย หมวดหมู่:ประวัติศาสตร์ทาจิกิสถาน.

ใหม่!!: ประเทศองค์ประกอบและสาธารณรัฐสังคมนิยมโซเวียตทาจิก · ดูเพิ่มเติม »

สาธารณรัฐสังคมนิยมโซเวียตคาซัค

รณรัฐสังคมนิยมโซเวียตคาซัค (คาซัคҚазақ Кеңестік Социалистік Республикасы, Qazaq Keñestik Socïalïstik Respwblïkası;รัสเซีย (Казахская Советская Социалистическая Республика - КССР, Kazakhskaya Sovetskaya Sotsialisticheskaya Respublika - KSSR) เป็นหนึ่งใน 15 สาธารณรัฐองค์ประกอบ (constituent republic) ของ สหภาพโซเวียต ก่อตั้งเมื่อวันที่ 26 สิงหาคม ปี ค.ศ. 1920 เริ่มแรกถูกเรียกว่า สาธารณรัฐสังคมนิยมปกครองตนเองคีร์กีซ (Kirghiz ASSR) และเป็นส่วนหนึ่งของ สหภาพโซเวียต ต่อมาวันที่ 15-19 เมษายน ปีค.ศ. 1925 ถูกเปลี่ยนชื่อใหม่ว่า สาธารณรัฐสังคมนิยมปกครองตนเองโซเวียตคาซัค และในวันที่ 5 ธันวาคม ปี ค.ศ. 1936 ถูกยกระดับให้กลายเป็น สาธารณรัฐสังคมนิยมโซเวียตคาซัค (Kazakh SSR) ในช่วงระหว่าง ปี ค.ศ. 1950 – 1960 พลเมืองโซเวียตถูกกระตุ้นให้ตั้งถิ่นฐานยังโครงการดินแดนบริสุทธิ์ฮรุชชอฟของสาธารณรัฐสังคมนิยมโซเวียตคาซัค การไหลหลั่งเข้ามาของผู้อพยพย้ายถิ่นเช่น รัสเซีย (อพยพเข้ามาเป็นส่วนใหญ่) ยูเครน เยอรมัน ยิว เบลารุส เกาหลี ทำให้เกิดการผสมผสานในหลายเชื้อชาติจนมีจำนวนของชาวต่างชาติมากกว่าชาวพื้นเมือง ซึ่งเป็นผลทำให้มีการใช้ภาษาคาซัคน้อยลงแต่ก็ถูกนำกลับมาใช้อีกตั้งแต่ถูกแยกตัวออกมาเป็นอิสระ วันที่ 10 ธันวาคม ปี ค.ศ. 1991 Kazakh SSR ถูกเรียกใหม่ว่า สาธารณรัฐคาซัคสถาน (Republic of Kazakhstan) และแยกตัวเป็นอิสระจาก สหภาพโซเวียต ในวันที่ 16 ธันวาคม ปีเดียวกัน ซึ่งคาซัคสถานเป็นสาธารณรัฐสุดท้ายที่แยกตัวออกมาก่อนที่จะเกิดการล่มสลายของ สหภาพโซเวียต.

ใหม่!!: ประเทศองค์ประกอบและสาธารณรัฐสังคมนิยมโซเวียตคาซัค · ดูเพิ่มเติม »

สาธารณรัฐสังคมนิยมโซเวียตคีร์กีซ

สาธารณรัฐสังคมนิยมโซเวียตคีร์กีซ (Kirghiz SSR; Кыргыз Советтик Социалисттик Республикасы; Киргизская Советская Социалистическая Республика),ป็นรัฐสังคมนิยมโซเวียตที่มีประชาธิปไตย และเป็นหนึ่งใน 15 สาธารณรัฐองค์ประกอบ (constituent republic) ของสหภาพโซเวียต ก่อตั้งขึ้นอย่างเป็นทางการในปี 1936 และล่มสลายในปี 1991โดยเปลี่ยนชื่อประเทศเป็น "สาธารณรัฐคีร์กีซสถาน" หมวดหมู่:สาธารณรัฐโซเวียต หมวดหมู่:รัฐสิ้นสภาพในทวีปเอเชีย หมวดหมู่:ประวัติศาสตร์คีร์กิซสถาน.

ใหม่!!: ประเทศองค์ประกอบและสาธารณรัฐสังคมนิยมโซเวียตคีร์กีซ · ดูเพิ่มเติม »

สาธารณรัฐสังคมนิยมโซเวียตเบียโลรัสเซีย

สาธารณรัฐสังคมนิยมโซเวียตเบียโลรัสเซีย (Byelorussian Soviet Socialist Republic; Белару́ская Саве́цкая Сацыялісты́чная Рэспу́бліка; Белору́сская Сове́тская Социалисти́ческая Респу́блика) เป็นหนึ่งในสาธารณรัฐสิบห้าแห่งที่ประกอบกันเป็นสหภาพโซเวียต หลังการประกาศเอกราชของสาธารณรัฐประชาชนเบลารุสเมื่อเดือนมีนาคม ค.ศ. 1918 กลุ่มบอลเชวิคจากสหภาพโซเวียตได้เข้ายึดครองดินแดนเบลารุสและประกาศจัดตั้งสาธารณรัฐโซเวียตสังคมนิยมเบียโลรัสเซีย (Socialist Soviet Republic of Byelorussia) ในวันที่ 1 มกราคม ค.ศ. 1919 ต่อมาสาธารณรัฐแห่งนี้ถูกยุบและแยกพื้นที่ไปรวมกับสหพันธ์สาธารณรัฐสังคมนิยมโซเวียตรัสเซียและสาธารณรัฐสังคมนิยมโซเวียตลิทัวเนีย-เบลารุส แต่ก็ได้รับการจัดตั้งขึ้นใหม่อีกครั้งในวันที่ 31 กรกฎาคม ค.ศ. 1920 โดยใช้ชื่อว่า "สาธารณรัฐสังคมนิยมโซเวียตเบียโลรัสเซีย" สาธารณรัฐสังคมนิยมเบียโลรัสเซียเป็นหนึ่งในสมาชิกผู้ก่อตั้งสหภาพโซเวียตเมื่อปี ค.ศ. 1922 ร่วมกับสาธารณรัฐสังคมนิยมโซเวียตยูเครน, สหพันธ์สาธารณรัฐสังคมนิยมโซเวียตทรานส์คอเคเชีย และสหพันธ์สาธารณรัฐสังคมนิยมโซเวียตรัสเซีย เบียโลรัสเซียเป็นหนึ่งในสาธารณรัฐหลายแห่งในสหภาพโซเวียตที่ถูกเยอรมนีนาซียึดครองระหว่างสงครามโลกครั้งที่ 2 นอกจากนี้ยังเป็นสมาชิกก่อตั้งองค์การสหประชาชาติในปี ค.ศ. 1945 ร่วมกับชาติอื่น ๆ รวมทั้งสาธารณรัฐสังคมนิยมโซเวียตยูเครนและสหภาพโซเวียตอีกด้วย จุดสิ้นสุดของสาธารณรัฐสังคมนิยมโซเวียตเบียโลรัสเซียมาถึงในปี ค.ศ. 1991 เมื่อสาธารณรัฐแห่งนี้กลายเป็นรัฐเอกราชและเปลี่ยนชื่อประเทศเป็น สาธารณรัฐเบลารุส เบียโลรัสเซีย หมวดหมู่:รัฐสิ้นสภาพในทวีปยุโรป หมวดหมู่:อดีตรัฐสมาชิกสหประชาชาติ หมวดหมู่:รัฐและดินแดนที่ก่อตั้งในปี พ.ศ. 2462 หมวดหมู่:รัฐและดินแดนที่ก่อตั้งในปี พ.ศ. 2463.

ใหม่!!: ประเทศองค์ประกอบและสาธารณรัฐสังคมนิยมโซเวียตเบียโลรัสเซีย · ดูเพิ่มเติม »

สาธารณรัฐสังคมนิยมโซเวียตเอสโตเนีย

รณรัฐสังคมนิยมโซเวียตเอสโตเนีย (Estonian Soviet Socialist Republic; Eesti Nõukogude Sotsialistlik Vabariik; Эсто́нская Сове́тская Социалисти́ческая Респу́блика) เป็นหนึ่งในสาธารณรัฐสิบห้าแห่งที่ประกอบกันเป็นสหภาพโซเวียตโดยได้รับการบริหารจากรัฐบาลกลางของสหภาพ ในขั้นแรก สาธารณรัฐสังคมนิยมโซเวียตเอสโตเนียถูกจัดตั้งขึ้นในดินแดนของสาธารณรัฐเอสโตเนียเมื่อวันที่ 21 กรกฎาคม..

ใหม่!!: ประเทศองค์ประกอบและสาธารณรัฐสังคมนิยมโซเวียตเอสโตเนีย · ดูเพิ่มเติม »

สาธารณรัฐสังคมนิยมโซเวียตเติร์กเมน

รณรัฐสังคมนิยมโซเวียตเติร์กเมน (เติร์กเมนТүркменистан Совет Социалистик Республикасы, Türkmenistan Sowet Sotsialistik Respublikasy;รัสเซียТуркменская Советская Социалистическая Республика, Turkmenskaya Sovetskaya Sotsialisticheskaya Respublika) หรือ โซเวียตเติร์กเมน เป็นรัฐสังคมนิยมโซเวียตที่มีประชาธิปไตย และเป็นหนึ่งใน 15 สาธารณรัฐองค์ประกอบ (constituent republic) ของสหภาพโซเวียต ก่อตั้งขึ้นในปี 1922 (สาธารณรัฐสังคมนิยมโซเวียตเติร์กเมนก่อตั้งขึ้นอย่างเป็นทางการในปี 1921 และล่มสลายในปี 1991.

ใหม่!!: ประเทศองค์ประกอบและสาธารณรัฐสังคมนิยมโซเวียตเติร์กเมน · ดูเพิ่มเติม »

สาธารณรัฐสังคมนิยมเชโกสโลวัก

รณรัฐสังคมนิยมเชโกสโลวัก (เช็กและสโลวัก: Československá socialistická republika) เป็นรัฐคอมมิวนิสต์ตั้งแต..

ใหม่!!: ประเทศองค์ประกอบและสาธารณรัฐสังคมนิยมเชโกสโลวัก · ดูเพิ่มเติม »

สาธารณรัฐเซิร์ปสกา

* สาธารณรัฐเซิร์ปสกา (ซีริลลิก: Република Српскa Republic of Srpska; Republika Srpska; เซอร์เบีย, บอสเนีย, โครเอเชีย: Republika Srpska, Република Српскa) เป็นหนึ่งในหน่วยการเมืองสองส่วนอิสระที่ประกอบกันเป็นประเทศบอสเนียและเฮอร์เซโกวีนา (อีกหน่วยหนึ่งคือสหพันธรัฐบอสเนียและเฮอร์เซโกวีนา) ประชากรส่วนใหญ่เป็นชาวเซิร์บ รองลงไปเป็นชาวบอสนีแอกและชาวโครแอต.

ใหม่!!: ประเทศองค์ประกอบและสาธารณรัฐเซิร์ปสกา · ดูเพิ่มเติม »

สโกเปีย

กเปีย (Скопје; Skopje) เป็นเมืองหลวงและเมืองใหญ่ที่สุดของประเทศมาซิโดเนีย เป็นศูนย์กลางทางการเมือง ทางวัฒนธรรม และทางเศรษฐกิจของประเทศ เคยเป็นเมืองหลวงของเซอร์เบีย และบัลแกเรียในอดีต สันนิษฐานว่ามการตั้งถิ่นฐานที่สโกเปียตั้งแต่ 4000 ปีก่อนคริสตกาล.

ใหม่!!: ประเทศองค์ประกอบและสโกเปีย · ดูเพิ่มเติม »

หมู่เกาะคุก

หมู่เกาะคุก เป็นเขตปกครองตนเองของนิวซีแลนด์ ประกอบไปด้วยเกาะเล็ก ๆ 15 เกาะ ในมหาสมุทรแปซิฟิกตอนใต้ มีพื้นที่ทั้งหมด 240 ตาราง กิโลเมตร รายได้สำคัญของหมู่เกาะคุกมาจากการท่องเที่ยว ซึ่งเป็นอุตสาหกรรมอันดับหนึ่งของประเทศ เนื่องด้วยความอุดมสมบูรณ์ของทรัพยากรธรรมชาติ อีกทั้งยังมีการส่งผลไม้ขายออกนอกประเทศอีกด้วย หมวดหมู่:ประเทศนิวซีแลนด์ หมวดหมู่:ประเทศในเขตโอเชียเนีย หมวดหมู่:ประเทศที่เป็นเกาะ หมวดหมู่:ประเทศที่ใช้ภาษาอังกฤษเป็นภาษาทางการ หมวดหมู่:อดีตอาณานิคมของอังกฤษ หมวดหมู่:รัฐและดินแดนที่ก่อตั้งในปี พ.ศ. 2508 หมวดหมู่:พอลินีเซีย.

ใหม่!!: ประเทศองค์ประกอบและหมู่เกาะคุก · ดูเพิ่มเติม »

หมู่เกาะแฟโร

หมู่เกาะแฟโร (Føroyar เฟอรยาร แปลว่า "เกาะแห่งแกะ") เป็นหมู่เกาะในทวีปยุโรป ตั้งอยู่ทางตอนเหนือของมหาสมุทรแอตแลนติก ระหว่างสกอตแลนด์ นอร์เวย์ และไอซ์แลนด์ หมู่เกาะแฟโรเป็นเขตการปกครองตนเองของเดนมาร์ก ตั้งแต่ปี พ.ศ. 2491 โดยมีสถานภาพเหมือนกับกรีนแลนด์ มีอำนาจในการปกครองตนเองทุกด้าน ยกเว้นด้านการต่างประเทศและการทหาร (ไม่มีกองทัพ มีเพียงตำรวจและหน่วยลาดตระเวนชายฝั่งเท่านั้น) แต่อย่างไรก็ตาม หมู่เกาะแฟโรก็มีตัวแทนเป็นของตนเองในคณะมนตรีนอร์ดิก.

ใหม่!!: ประเทศองค์ประกอบและหมู่เกาะแฟโร · ดูเพิ่มเติม »

อัมสเตอร์ดัม

อัมสเตอร์ดัม (Amsterdam) เป็นเมืองหลวงของประเทศเนเธอร์แลนด์ ตั้งอยู่ริมฝั่งแม่น้ำอัมสเติล (Amstel) เริ่มก่อตั้งประมาณคริสต์ศตวรรษที่ 12 ปัจจุบันเป็นเมืองที่ใหญ่ที่สุดของเนเธอร์แลนด์ มีประชากรในเขตตัวเมืองประมาณ 742,000 คน แต่ถ้านับรวมประชากรในเขตเมืองโดยรอบทั้งหมด จะมีประมาณ 1.5 ล้านคน (ข้อมูลปี ค.ศ. 2005) อัมสเตอร์ดัมเป็นเมืองศูนย์กลางทางประวัติศาสตร์ที่สำคัญแห่งหนึ่งของทวีปยุโรป โดยเฉพาะช่วงคริสต์ศตวรรษที่ 17 ซึ่งเป็นช่วงยุคทองของเนเธอร์แลนด์ ถึงแม้อัมสเตอร์ดัมจะเป็นเมืองหลวงของประเทศ แต่ศูนย์กลางของหน่วยงานรัฐบาลนั้นอยู่ที่เฮก.

ใหม่!!: ประเทศองค์ประกอบและอัมสเตอร์ดัม · ดูเพิ่มเติม »

อัสตานา

อัสตานา (Астана) เดิมชื่อ อัคโมลา (Ақмола) เป็นเมืองหลวงและเมืองใหญ่อันดับสองของประเทศคาซัคสถาน มีประชากร 577,300 คน ตั้งอยู่ทางตอนเหนือของประเทศ จัดเป็นเมืองเขตการปกครองพิเศษ มีพื้นที่อยู่ในจังหวัดอัคโมลา ตั้งอยู่ริมแม่น้ำอีชิม มีสูงเหนือน้ำทะเล 347 เมตร (1,138 ฟุต) มีสถานที่ที่เป็นจุดสังเกต (แลนด์มาร์ก) คือ หอคอยไบเตเรค (Bayterek).

ใหม่!!: ประเทศองค์ประกอบและอัสตานา · ดูเพิ่มเติม »

อาชกาบัต

อาชกาบัต เป็นเมืองหลวงและเมืองที่ใหญ่ที่สุดของประเทศเติร์กเมนิสถาน เมื่อปี พ.ศ. 2544 มีประชากร 695,300 คน และตั้งอยู่ระหว่างทะเลทรายคาราคัมกับเทือกเขาโกเปต แด๊ก กรุงอัชกาบัตมีชนพื้นเมืองเป็นชาวเติร์ก และมีเชื้อสายรัสเซีย อาร์เมเนียนและอเซริสอยู่ด้วย ทั้งนี้ทางตอนใต้ติดกับเมืองมาชฮัด ประเทศอิหร่าน.

ใหม่!!: ประเทศองค์ประกอบและอาชกาบัต · ดูเพิ่มเติม »

อาบูดาบี

กรุงอาบูดาบี อาบูดาบี (Abu Dhabi; أبو ظبي) เป็นเมืองหลวงและเมืองที่ใหญ่ที่สุดเป็นอันดับ 2 ของสหรัฐอาหรับเอมิเรตส์ อาบูดาบีตั้งอยู่บนเกาะรูปตัวทีที่ยื่นเข้าไปในอ่าวเปอร์เซีย เมืองครอบคลุมพื้นที่ 67,340 ตารางกิโลเมตร (26,000 ตารางไมล์) และมีประชากรราว 860,000 คนในปี..

ใหม่!!: ประเทศองค์ประกอบและอาบูดาบี · ดูเพิ่มเติม »

อารูบา

อารูบา (Aruba) เป็นเกาะหนึ่งมีความยาว 32 กิโลเมตร ตั้งอยู่ในหมู่เกาะเลสเซอร์แอนทิลลีสในทะเลแคริบเบียน อยู่ห่างจากคาบสมุทรปารากวานา (รัฐฟัลกอน ประเทศเวเนซุเอลา) ไปทางเหนือ 27 กิโลเมตร อารูบาเป็นหนึ่งในสี่ประเทศองค์ประกอบ (constituent country) ของราชอาณาจักรเนเธอร์แลนด์ เกาะแห่งนี้มีความแตกต่างจากดินแดนส่วนใหญ่ในแถบแคริบเบียน กล่าวคือ มีอากาศแห้ง ภูมิอากาศเช่นนี้สนับสนุนการท่องเที่ยวเนื่องจากผู้มาเยือนสามารถคาดหวังว่าจะได้พบอากาศอบอุ่นและแสงแดดจัดได้แน่นอน เกาะนี้มีเนื้อที่ 193 ตารางกิโลเมตร เป็นส่วนหนึ่งของหมู่เกาะเอบีซี (ABC islands).

ใหม่!!: ประเทศองค์ประกอบและอารูบา · ดูเพิ่มเติม »

อาวารัว

อาวารัว (Avarua) เป็นเมืองหลวงของหมู่เกาะคุกซึ่งเป็นดินแดนปกครองตนเองของประเทศนิวซีแลนด์ ตั้งอยู่บนฝั่งด้านเหนือของเกาะราโรตองกาในมหาสมุทรแปซิฟิกตอนใต้ เมืองมีสนามบินนานาชาติราโรตองกา เขตอาวารัวมีประชากร 5,445 คน (ค.ศ. 2006).

ใหม่!!: ประเทศองค์ประกอบและอาวารัว · ดูเพิ่มเติม »

อาณานิคมโพ้นทะเลของประเทศฝรั่งเศส

อาณานิคมโพ้นทะเลของประเทศฝรั่งเศส (Collectivité d'outre-mer: COM) มีฐานะเสมือนแคว้นในประเทศฝรั่งเศส โดยรวมดินแดนโพ้นทะเลเดิมและดินแดนอื่นๆ ซึ่งมีสถานะคล้ายคลึงกัน โดยตั้งเป็น "อาณานิคมโพ้นทะเลของประเทศฝรั่งเศส (Collectivité d'outre-mer: COM)" จากการแก้ไขรัฐธรรมนูญในวันที่ 28 มีนาคม พ.ศ. 2546 ในวันที่ 22 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2550 มีอาณานิคมโพ้นทะเลของประเทศฝรั่งเศสจำนวนทั้งสิ้น 6 แห่ง ได้แก.

ใหม่!!: ประเทศองค์ประกอบและอาณานิคมโพ้นทะเลของประเทศฝรั่งเศส · ดูเพิ่มเติม »

อาโลฟี

อาโลฟี (Alofi) เป็นเมืองหลวงของนีอูเอ ซึ่งตั้งอยู่ในมหาสมุทรแปซิฟิก มีประชากร 581 คน (จากการสำรวจสำมะโนประชากร ปี 2006) อาโลฟีมีความโดดเด่นตรงที่เป็นเมืองหลวงที่เล็กที่สุดในแง่ของประชากร อาโลฟีประกอบด้วยสองหมู่บ้าน คือ หมู่บ้านอาโลฟีนอร์ท (ประชากร 147 คน) และหมู่บ้านอาโลฟีเซาท์ที่ที่ทำการรัฐบาลตั้งอยู่ (ประชากร 434 คน).

ใหม่!!: ประเทศองค์ประกอบและอาโลฟี · ดูเพิ่มเติม »

ทบิลีซี

ทบิลีซี (თბილისი) เป็นเมืองหลวงและเมืองใหญ่ที่สุดของประเทศจอร์เจีย และก็ยังเป็นศูนย์กลางการปกครองและย่านเศรษฐกิจของประเทศจอร์เจีย ทบิลีซีมีประชากรประมาณ 1,473,551 คน ประกอบกับมีธรรมชาติที่อุดมสมบูรณ์เพราะมีแหล่งน้ำมากมายพร้อมกับมีทำเลที่ดีในการปกครองทำให้เมืองแห่งนี้กลายเป็นเมืองหลวงในที.

ใหม่!!: ประเทศองค์ประกอบและทบิลีซี · ดูเพิ่มเติม »

ทอร์สเฮาน์

ทอร์สเฮาน์ (Tórshavn,; เสียงอ่านภาษาแฟโร) เป็นเมืองหลวงและเมืองที่ใหญ่ที่สุดของหมู่เกาะแฟโร ดินแดนของประเทศเดนมาร์ก ตั้งอยู่ทางตอนใต้และเป็นส่วนหนึ่งของชายฝั่งทิศตะวันตกของเมืองสเตรอเมอ เมืองมีประชากรราว 13,000 คน (ค.ศ. 2008) หมวดหมู่:เมืองในหมู่เกาะแฟโร.

ใหม่!!: ประเทศองค์ประกอบและทอร์สเฮาน์ · ดูเพิ่มเติม »

ทาชเคนต์

ทางอากาศกรุงทาชเคนต์ ทาชเคนต์ (Tashkent หรือ Toshkent; อุซเบก: Тошкент; Ташкент; ชื่อมีความหมายในภาษาอุซเบกว่า "นครศิลา") เป็นเมืองหลวงของประเทศอุซเบกิสถาน มีประชากรประมาณ 2 ล้านคน.

ใหม่!!: ประเทศองค์ประกอบและทาชเคนต์ · ดูเพิ่มเติม »

ทาลลินน์

ทาลลินน์ (Tallinn; เยอรมัน; สวีเดน: Reval เรวัล เป็นชื่อประวัติศาสตร์ในภาษาเยอรมัน และ ภาษาสวีเดน) เป็นเมืองหลวงและเมืองท่าหลักของประเทศเอสโตเนีย ตั้งอยู่บนชายฝั่งทะเลบอลติกทางด้านเหนือของประเทศ อยู่ห่างจากกรุงเฮลซิงกิ (เมืองหลวงของประเทศฟินแลนด์) 80 กิโลเมตร.

ใหม่!!: ประเทศองค์ประกอบและทาลลินน์ · ดูเพิ่มเติม »

ดูชานเบ

ูชานเบ (Душанбе) เป็นเมืองหลวงและเมืองที่ใหญ่ที่สุดในประเทศทาจิกิสถาน คำว่า ดูชานเบ ในภาษาทาจิก มีความหมายว่า "วันจันทร์" ซึ่งเป็นชื่อที่มาจากข้อเท็จจริงที่เมืองเป็นสถานที่ตั้งของหมู่บ้านที่มีชื่อเสียงเรื่องตลาดวันจันทร.

ใหม่!!: ประเทศองค์ประกอบและดูชานเบ · ดูเพิ่มเติม »

ดูไบ

ูไบ (دبيّ, Dubayy; Dubai) เป็นนครใหญ่สุดของสหรัฐอาหรับเอมิเรตส์ มีพื้นที่ประมาณ 4,000 ตารางกิโลเมตร และมีประชากรประมาณ 2 ล้านคน เมืองดูไบถือได้ว่าเป็นเมืองท่าที่สำคัญแห่งหนึ่งบนโลก และมีอัตราการเจริญเติบโตของเมืองสูงมาก.

ใหม่!!: ประเทศองค์ประกอบและดูไบ · ดูเพิ่มเติม »

คาร์ดิฟฟ์

ร์ดิฟฟ์ (Cardiff) เป็นเมืองหลวง เมืองที่ใหญ่ที่สุดและมีประชากรมากที่สุดของเวลส์ เป็นเมืองศูนย์กลางการค้า ที่ตั้งของสถาบันวัฒนธรรมและกีฬาแห่งชาติแทบทุกสถาบัน เป็นที่ตั้งของสื่อแห่งชาติเวลส์ ที่ตั้งของสภาแห่งชาติเวลส์ จากข้อมูลโดยประมาณของรัฐบาลท้องถิ่นระดับเดียวมีประชากรราว 336,200 คน ขณะที่เขตเมืองมีประชากรมากกว่า 1.4 ล้านคน คิดเป็นครึ่งหนึ่งของประชากรทั้งหมดของแคว้นhttp://www.google.com/url?sa.

ใหม่!!: ประเทศองค์ประกอบและคาร์ดิฟฟ์ · ดูเพิ่มเติม »

คาร์คิฟ

ร์คิฟ (Харків; Kharkiv) หรือ คาร์คอฟ (Харьков; Kharkov) เป็นเมืองใหญ่อันดับ 2 ของประเทศยูเครน ตั้งอยู่ทางตะวันออกเฉียงเหนือของประเทศ เป็นเมืองหลวงของจังหวัดในชื่อเดียวกัน ก่อตั้งในปี..

ใหม่!!: ประเทศองค์ประกอบและคาร์คิฟ · ดูเพิ่มเติม »

คีชีเนา

อาคารที่ทำการรัฐบาลมอลโดวาในกรุงคีชีเนา คีชีเนา (Chișinău) เป็นเมืองหลวง ศูนย์กลางอุตสาหกรรม และศูนย์กลางการค้าของประเทศมอลโดวา และเป็นเมืองใหญ่ที่สุดซึ่งตั้งทางตอนกลางของประเทศ ริมแม่น้ำบิก (Bîc) ซึ่งเป็นแควฝั่งขวาของแม่น้ำนีสเตอร์ (Dniester) ในแง่เศรษฐกิจ กรุงคีชีเนาเป็นเมืองที่มั่งคั่งที่สุดในมอลโดวาและเป็นหนึ่งในเมืองศูนย์กลางการขนส่งและอุตสาหกรรมของภูมิภาค ในฐานะที่เป็นเมืองสำคัญของประเทศ กรุงคีชีเนาจึงมีสิ่งอำนวยความสะดวกต่อการศึกษาที่ดี นอกจากนี้ยังเป็นเมืองที่มีสัดส่วนพื้นที่สีเขียวสูงที่สุดแห่งหนึ่งในบรรดาเมืองใหญ่ต่าง ๆ ของทวีปยุโรป ปัจจุบัน (ปี ค.ศ. 2004) กรุงคีชีเนามีประชากร 647,513 คน มีนายเวอาตเชสลาฟ อีออร์ดัน (Veaceslav Iordan) เป็นนายกเทศมนตรีตั้งแต่ปี ค.ศ. 2007 คีชีเนาได้รับการจัดตั้งขึ้นเมื่อปี ค.ศ. 1436 ในฐานะส่วนหนึ่งของราชรัฐมอลเดเวีย (Moldavia) ต่อมาในคริสต์ศตวรรษที่ 16 เมืองนี้อยู่ภายใต้อำนาจของจักรวรรดิออตโตมัน เมื่อเริ่มต้นคริสต์ศตวรรษที่ 19 คีชีเนาเป็นเพียงเมืองเล็ก ๆ ที่มีประชากรเพียง 7,000 คน ต่อมาในปี ค.ศ. 1812 เมืองนี้ได้ถูกจักรวรรดิรัสเซียเข้ายึดครองและตั้งเป็นศูนย์กลางของแคว้นเบสซาราเบีย (Bessarabia) เมื่อถึงปี ค.ศ. 1862 จำนวนประชากรเพิ่มขึ้นเป็น 92,000 คน และเพิ่มเป็น 125,787 คนเมื่อถึงปี ค.ศ. 1900 ในช่วงระหว่างปี ค.ศ. 1940-1941 และ ค.ศ. 1945-1991 เมืองนี้เป็นเมืองหลวงของสาธารณรัฐสังคมนิยมโซเวียตมอลเดเวีย (Moldavian SSR) ในชื่อ คิชิเนฟ (Kishinev).

ใหม่!!: ประเทศองค์ประกอบและคีชีเนา · ดูเพิ่มเติม »

ซามาร์คันด์

ซามาร์คันด์ (سمرقند; อุซเบก: Самарқанд) เป็นเมืองเก่าแก่ที่สุดเมืองหนึ่งในเอเชียกลาง ตั้งอยู่ในประเทศอุซเบกิสถาน เป็นโอเอซิสซึ่งได้รับน้ำมาจากคลองที่ขุดมาจากแม่น้ำซารัฟชาน ชื่อเดิมของเมืองซามาร์คันด์ คือ เมืองมาระกันดะ เมื่อปี 329 ก่อนคริสต์ศักราช พระเจ้าอเล็กซานเดอร์มหาราชแห่งมาซิโดเนียเสด็จผ่านเมืองนี้เพื่อที่จะเดินทางไปอินเดีย จึงได้ยึดเอาไว้ ต่อจากนั้น พวกเติร์ก พวกอาหรับ และพวกเปอร์เซียก็เข้าปกครองเมืองนี้ต่อ ๆ กันมา เมืองซามาร์คันด์แห่งนี้เจริญรุ่งเรืองสูงสุดในยุคกลาง และในปี พ.ศ. 1758 (ค.ศ. 1215) เจงกิสข่านแผ่อาณาจักรเข้าควบคุมเส้นทางสายไหม แล้วได้ยึดซามาร์คันด์ในปี พ.ศ. 1764 (ค.ศ. 1221) อีก 100 ปีต่อมา เมืองนี้ก็เหลือแต่ซาก ข่านติมูร์ เลงค์ เป็นผู้ทรงทำให้เมืองนี้เจริญขึ้น ติมุร์สถาปนาพระองค์เป็นกษัตริย์สืบสายวงศ์จากซากะไตข่าน ราวปี พ.ศ. 1910 (ค.ศ. 1367) จักรวรรดิมองโกลเสื่อมลง ติมุร์มุ่งมั่นจะเป็นผู้นำความรุ่งโรจน์คืนสู่จักรวรรดิดังเดิม จึงนำทัพเข้ายัดดินแดนตั้งแต่ทะเลดำไปจรดลุ่มน้ำสินธุ บุกทำลายบ้านเมืองจนสิ้นซาก ฆ่าฟันผู้คนจนสิ้นเมือง แล้วนำกะโหลกมากองสร้างเป็นพีระมิด ติมุร์ไว้ชีวิตแต่พวกช่างฝีมือ ทั้ง จากอาเซอร์ไบจาน อิสฟาฮาน ชิราซ เดลี และดามัสกัส ช่างเหล่านี้ได้ถูกส่งมาเนรมิตซามาร์คันด์ให้กลายเป็นนครที่สวยงามอีกครั้ง มีสิ่งก่อสร้างรูปโดม ประดับประดาไปด้วยลวดลายโมเสกที่สวยงาม และได้สร้างสุเหร่าที่ใหญ่ที่สุดในโลกอิสลาม สุเหร่าแห่งนี้ชื่อว่า บิบิ คะนุม เริ่มสร้างเมื่อวันที่ 11 พฤษภาคม พ.ศ. 1942 (ค.ศ. 1399) ใช้เวลาก่อสร้างนาน 5 ปี ใช้ช่างฝีมือ 200 คน แรงงาน 500 คน ช้างอีก 95 เชือก ปัจจุบันยังคงโดดเด่นตระหง่านเหนือเมือง และที่หน้าสุเหร่ายังมีแท่นซึ่งเดิมวางคัมภีร์อัลกุรอานที่ใหญ่ถึง 2 เมตร พระเจ้าติมุร์สิ้นพระชนม์ในจีนเมื่อปี พ.ศ. 1948 (ค.ศ. 1405) พระศพฝังอยู่ที่สุสานในเมืองซามาร์คันด์ ต่อมาในรัชสมัยของพระเจ้าอุลุค เบก ซามาร์คันด์ได้กลายเป็นศูนย์กลางทางวัฒนธรรมและวิทยาการ พระองค์ทรงสร้างอาคารสองชั้นเพื่อใช้เป็นวิทยาลัยเทววิทยา ด้านหน้าอาคารประดับไปด้วยลวดลายที่งดงาม และยังทรงสร้างหอดูดาวที่มีเครื่องมือสังเกตการณ์ทันสมัยที่สุดในเวลานั้น และ ในปี พ.ศ. 1992 (ค.ศ. 1449) พระเจ้าอุลุค เบก ถูกลอบปลงพระชนม์ หลังจากนั้นนครนี้ก็ได้เสือมถอยลงอย่างรวดเร็วพร้อมกับเส้นทางสายไหมได้ถูกปิดลง และในปี พ.ศ. 2043 (ค.ศ. 1500) นครนี้ก็ได้ถูกพวกโกลเดน ฮอร์ด มองโกลผู้ครอบดินแดนเหนือทะเลสาบแคสเปี่ยนจนไปถึงรัสเซีย มีศูนย์กลางอยู่ที่เมืองเคียฟ เข้ายึดครอบครอง และ ราวศตวรรติที่ 18 นครแห่งนี้จนเสื่อมและร้างผู้คนเป็นเวลา 50 ปี ในคริสต์ศตวรรษที่ 19 ก็ตกเป็นดินแดนของรัสเซีย ซามาร์คันด์มีฐานะเป็นเมืองหลวงของเขตปกครองนี้ มีการตัดเส้นทางรถไฟในปี พ.ศ. 2439 (ค.ศ. 1896) และกลายเป็นศูนย์กลางการส่งออกสินค้าเกษตร ภายหลังดินแดนนี้ได้ถูกแยกกลายเป็นส่วนหนึ่งประเทศอุซเบกิสถานปัจจุบันและก็ได้กลายเป็นเมืองมรดกโลก หมวดหมู่:เมืองในประเทศอุซเบกิสถาน หมวดหมู่:มรดกโลกในประเทศอุซเบกิสถาน หมวดหมู่:มรดกโลกทางวัฒนธรรม หมวดหมู่:ประเทศอุซเบกิสถาน.

ใหม่!!: ประเทศองค์ประกอบและซามาร์คันด์ · ดูเพิ่มเติม »

ซาราเยโว

ซาราเยโว (Sarajevo) เป็นเมืองหลวงและเมืองที่ใหญ่ที่สุดของประเทศบอสเนียและเฮอร์เซโกวีนา มีจำนวนประชากรราว 6 แสนคนเศษ ซาราเยโวเป็นเมืองสำคัญเมืองหนึ่งในแถบคาบสมุทรบอลข่าน มีประวัติศาสตร์อันยาวนานในสมัยจักรวรรดิออตโตมัน ราวปี..

ใหม่!!: ประเทศองค์ประกอบและซาราเยโว · ดูเพิ่มเติม »

ซาเกร็บ

ตำแหน่งของเมืองซาเกร็บ โรงละครแห่งชาติในซาเกร็บ ซาเกร็บ (Zagreb) เป็นเมืองหลวงของประเทศโครเอเชีย ในปี พ.ศ. 2548 เมืองนี้มีจำนวนประชากร 973,667 คน มีที่ตั้งอยู่ที่ละติจูด 45°48′ เหนือ และลองจิจูด 15°58′ ตะวันออก ในบริเวณระหว่างเนินทางใต้ของภูเขาเมดเวดนีตซา (Medvednica) กับฝั่งเหนือของแม่น้ำซาวา (Sava) มีความสูงของพื้นที่ 120 เมตรจากระดับน้ำทะเล ที่ตั้งทางภูมิศาสตร์ที่เหมาะสมของเมืองนี้คือ ตั้งอยู่ทางตะวันตกเฉียงใต้ของที่ราบแพนโนเนีย ซึ่งเชื่อมโยงไปยังบริเวณเทือกเขาแอลป์ เทือกเขาไดนาริกแอลป์ ทะเลเอเดรียติก และภูมิภาคแพนโนเนีย ทำให้สามารถติดต่อและคมนาคมขนส่งกับภูมิภาคยุโรปกลางกับทะเลเอเดรียติกได้อย่างดีมาก การเป็นศูนย์กลางการขนส่ง อุตสาหกรรม และสถาบันวิจัยทางวิทยาศาสตร์ของเมืองนี้ เป็นพื้นฐานที่ทำให้เมืองนี้เป็นศูนย์กลางทางเศรษฐกิจ นอกจากนี้ ซาเกร็บยังเป็นศูนย์กลางการปกครอง การบริหาร และเป็นที่ตั้งของกระทรวง หน่วยงานราชการต่าง ๆ ของประเทศอีกด้วย หมวดหมู่:เมืองในประเทศโครเอเชีย หมวดหมู่:เมืองหลวง.

ใหม่!!: ประเทศองค์ประกอบและซาเกร็บ · ดูเพิ่มเติม »

ซินต์มาร์เติน

ซินต์มาร์เติน (Sint Maarten) เป็นประเทศองค์ประกอบ (constituent country) แห่งหนึ่งภายในราชอาณาจักรเนเธอร์แลนด์ มีพื้นที่ครอบคลุมเฉพาะตอนใต้ของเกาะเซนต์มาร์ตินในทะเลแคริบเบียน ขณะที่พื้นที่อีกครึ่งทางตอนเหนือมีสถานะเป็นดินแดนโพ้นทะเลของประเทศฝรั่งเศส (มีชื่อว่า แซ็ง-มาร์แต็ง) ซินต์มาร์เตินมีประชากรประมาณ 37,000 คน บนเนื้อที่ 34 ตารางกิโลเมตร เมืองหลวงของดินแดนมีชื่อว่า ฟีลิปส์บืร์ค เดิมซินต์มาร์เตินมีสถานะเป็น "ดินแดนเกาะซินต์มาร์เติน" (Eilandgebied Sint Maarten) และเป็นหนึ่งในดินแดนเกาะ (eilandgebieden) ห้าแห่งที่ประกอบกันเป็นเนเธอร์แลนด์แอนทิลลีส ต่อมาในวันที่ 10 ตุลาคม..

ใหม่!!: ประเทศองค์ประกอบและซินต์มาร์เติน · ดูเพิ่มเติม »

ประเทศบอสเนียและเฮอร์เซโกวีนา

right บอสเนียและเฮอร์เซโกวีนา (Bosnia and Herzegovina; บอสเนีย: Bosna i Hercegovina) บางครั้งย่อเป็น Bosnia, BiH, БиХ เป็นประเทศบอลข่านตะวันตกที่มีภูเขามาก เมืองหลวงชื่อซาราเยโว เดิมเป็นหนึ่งในหกสาธารณรัฐของอดีตยูโกสลาเวีย ได้รับเอกราชในสงครามยูโกสลาเวียในช่วงทศวรรษ 1990 และเนื่องจากข้อตกลงเดย์ตัน จึงเป็นรัฐในอารักขาของชุมชนนานาชาติ ปกครองโดยตัวแทนระดับสูงที่เลือกโดยคณะมนตรีความมั่นคงแห่งสหประชาชาต.

ใหม่!!: ประเทศองค์ประกอบและประเทศบอสเนียและเฮอร์เซโกวีนา · ดูเพิ่มเติม »

ประเทศฝรั่งเศส

ฝรั่งเศส (France ฟร็องส์) หรือชื่อทางการว่า สาธารณรัฐฝรั่งเศส (République française) เป็นประเทศที่มีศูนย์กลางตั้งอยู่ในภูมิภาคยุโรปตะวันตก ทั้งยังประกอบไปด้วยเกาะและดินแดนอื่น ๆ ในต่างทวีป ประเทศฝรั่งเศสแผ่นดินใหญ่ทอดตัวตั้งแต่ทะเลเมดิเตอร์เรเนียนจนถึงช่องแคบอังกฤษและทะเลเหนือ และจากแม่น้ำไรน์จนถึงมหาสมุทรแอตแลนติก ชาวฝรั่งเศสมักเรียกแผ่นดินใหญ่ว่า หกเหลี่ยม (L'Hexagone) เนื่องจากรูปทรงทางกายภาพของประเทศ ประเทศฝรั่งเศสปกครองด้วยระบอบกึ่งประธานาธิบดี โดยยึดอุดมการณ์จากปฏิญญาว่าด้วยสิทธิของมนุษย์และของพลเมือง ประเทศฝรั่งเศสมีพรมแดนติดกับประเทศเบลเยียม ลักเซมเบิร์ก เยอรมนี สวิตเซอร์แลนด์ อิตาลี โมนาโก อันดอร์ราและสเปน และเนื่องจากประเทศฝรั่งเศสมีดินแดนโพ้นทะเลไว้ในครอบครอง ทำให้มีอาณาเขตติดกับประเทศบราซิล ซูรินาม (ติดกับเฟรนช์เกียนา) และซินต์มาร์เตินของเนเธอร์แลนด์ (ติดกับแซ็ง-มาร์แต็ง) อีกด้วย นอกจากนั้นประเทศฝรั่งเศสยังเชื่อมกับสหราชอาณาจักรทางอุโมงค์ช่องแคบอังกฤษอีกด้วย ประเทศฝรั่งเศสเคยเป็นหนึ่งในประเทศมหาอำนาจของโลกตั้งแต่คริสต์ศตวรรษที่ 17 เป็นต้นมา ในคริสต์ศตวรรษที่ 18 และ 19 จักรวรรดิฝรั่งเศสเป็นหนึ่งในประเทศจักรวรรดินิยมที่มีอาณานิคมในครอบครองมากที่สุดในโลก แผ่อาณาเขตตั้งแต่แอฟริกาตะวันตกจนถึงเอเชียอาคเนย์ ซึ่งเห็นได้ชัดจากอิทธิพลทางวัฒนธรรม ภาษาและการเมืองการปกครองของดินแดนนั้น ๆ ประเทศฝรั่งเศสถูกจัดให้เป็นประเทศที่พัฒนาแล้วและมีเศรษฐกิจใหญ่เป็นอันดับที่ 6 ของโลก ประเทศฝรั่งเศสยังเป็นประเทศที่มีนักท่องเที่ยวมากที่สุดในโลกอีกด้วย โดยมีนักท่องเที่ยวชาวต่างชาติกว่า 82 ล้านคนต่อปี ประเทศฝรั่งเศสเป็นประเทศผู้ก่อตั้งสหภาพยุโรปและมีพื้นที่ใหญ่ที่สุดในกลุ่มประเทศอีกด้วย ประเทศฝรั่งเศสยังเป็นประเทศผู้ก่อตั้งสหประชาชาติ เป็นสมาชิกประชาคมผู้ใช้ภาษาฝรั่งเศสโลก จีแปด นาโต้และสหภาพละติน ประเทศฝรั่งเศสยังเป็นสมาชิกถาวรของคณะมนตรีความมั่นคงแห่งสหประชาชาติและเป็นมหาอำนาจนิวเคลียร์ที่มีหัวรบนิวเคลียร์กว่า 360 หัวรบและเตาปฏิกรณ์นิวเคลียร์ 59 แห่ง.

ใหม่!!: ประเทศองค์ประกอบและประเทศฝรั่งเศส · ดูเพิ่มเติม »

ประเทศมอนเตเนโกร

มอนเตเนโกร (Montenegro ออกเสียง:; มอนเตเนโกร: มีความหมายว่า "ภูเขาสีดำ") เป็นประเทศเอกราชซึ่งตั้งอยู่ในยุโรปตะวันออกเฉียงใต้ มีอาณาเขตจรดทะเลเอเดรียติกและโครเอเชียทางทิศตะวันตก จรดบอสเนียและเฮอร์เซโกวีนาทางทิศเหนือ จรดเซอร์เบียทางทิศตะวันออก และจรดแอลเบเนียทางทิศใต้ มีพอดกอรีตซาเป็นเมืองหลวงและเมืองที่ใหญ่ที่สุดของประเทศ ในอดีต มอนเตเนโกรมีสถานะเป็นสาธารณรัฐในสหพันธ์สาธารณรัฐสังคมนิยมยูโกสลาเวีย และต่อมาได้เป็นส่วนหนึ่งในสหภาพการเมืองของเซอร์เบีย-มอนเตเนโกร หลังจากมีการลงประชามติเมื่อวันที่ 21 พฤษภาคม พ.ศ. 2549 มอนเตเนโกรก็ได้ประกาศเอกราชในวันที่ 3 มิถุนายน พ.ศ. 2549 ตามรัฐธรรมนูญฉบับปัจจุบัน มอนเตเนโกรได้รับการกำหนดให้เป็น "รัฐประชาธิปไตย สวัสดิการ และสิ่งแวดล้อม".

ใหม่!!: ประเทศองค์ประกอบและประเทศมอนเตเนโกร · ดูเพิ่มเติม »

ประเทศมาซิโดเนีย

รณรัฐมาซิโดเนีย (Republic of Macedonia; Република Македонија) ซึ่งรัฐและองค์กรนานาชาติส่วนใหญ่เรียกว่า อดีตสาธารณรัฐยูโกสลาฟมาซิโดเนีย (Former Yugoslav Republic of Macedonia: FYROM) เป็นรัฐอิสระบนคาบสมุทรบอลข่านในยุโรปตะวันออกเฉียงใต้ ประเทศนี้มักจะเรียกเฉย ๆ ว่า "มาซิโดเนีย" ซึ่งอาจจะทำให้เกิดความสับสนกับภูมิภาคทางภูมิศาสตร์ที่กว้างขวาง และแคว้นมาซิโดเนียของกรีซ ประเทศมาซิโดเนียเป็นเพียงส่วนหนึ่งของภูมิภาคทางภูมิศาสตร์ที่ชื่อมาซิโดเนีย มีพื้นที่ประมาณร้อยละ 38 และประชากรเกือบร้อยละ 44 ของพื้นที่ที่ใหญ่กว่าพื้นที่ที่ปกครองโดยสาธารณรัฐมาซิโดเนีย ก่อนหน้านี้เป็นส่วนทางใต้สุดของยูโกสลาเวีย พรมแดนปัจจุบันได้รับการกำหนดหลังสงครามโลกครั้งที่ 2 เมื่อสหพันธ์สาธารณรัฐสังคมนิยมยูโกสลาเวียก่อตั้ง "สาธารณรัฐสังคมนิยมมาซิโดเนีย" (Socialist Republic of Macedonia) ซึ่งเป็นที่โต้แย้งว่า เป็นการยอมรับสลาฟมาซิโดเนีย เป็นชนชาติแยกต่างหากภายในยูโกสลาเวีย ต่อมาในปี พ.ศ. 2534 ได้แยกจากยูโกสลาเวียอย่างสันติโดยเปลี่ยนชื่อเป็น "สาธารณรัฐมาซิโดเนีย" และไม่มีการเปลี่ยนแปลงพื้นที่เพิ่มเติม อย่างไรก็ดี หลังจากนั้นเป็นต้นมา ประเทศได้เกิดกรณีพิพาทกับประเทศกรีซอย่างยาวนานเกี่ยวกับการใช้ชื่อ "มาซิโดเนีย" จนกระทั่งในวันที่ 12 มิถุนายน..

ใหม่!!: ประเทศองค์ประกอบและประเทศมาซิโดเนีย · ดูเพิ่มเติม »

ประเทศสกอตแลนด์

กอตแลนด์ (Scotland; Alba อาละเปอะ) เป็นชาติของชนชาวสก็อตและเป็นส่วนหนึ่งของประเทศสหราชอาณาจักร โดยครอบคลุมพื้นที่หนึ่งในสามทางตอนเหนือของเกาะบริเตนใหญ่ มีพรมแดนร่วมกับประเทศอังกฤษทางทิศใต้ ส่วนที่เหลือล้อมรอบด้วยมหาสมุทรแอตแลนติก ทางตะวันออกเป็นทะเลเหนือ และทิศตะวันตกเฉียงใต้จดช่องแคบเหนือและทะเลไอร์แลนด์ นอกเหนือจากแผ่นดินใหญ่แล้ว ประเทศสกอตแลนด์ยังมีเกาะอีกกว่า 790 เกาะ เอดินบะระ เมืองหลวงและนครใหญ่ที่สุดอันดับสองของประเทศ เป็นศูนย์กลางยุคเรืองปัญญาของชาวสกอตในคริสต์ศตวรรษที่ 18 ซึ่งเปลี่ยนสกอตแลนด์มาเป็นมหาอำนาจทางพาณิชย์ ทางการศึกษา และทางอุตสาหกรรมเมืองหนึ่งของทวีปยุโรป ฯ กลาสโกว์ นครใหญ่สุดของสกอตแลนด์ เคยเป็นนครอุตสาหกรรมชั้นนำของโลกและปัจจุบันเป็นศูนย์กลางของเขตเมืองขยายเกรตเตอร์กลาสโกว์ น่านน้ำสกอตแลนด์ประกอบด้วยทะเลแอตแลนติกเหนือและทะเลเหนือ ซึ่งมีปริมาณน้ำมันสำรองใหญ่สุดในสหภาพยุโรป ทำให้เมืองแอเบอร์ดีน นครใหญ่สุดอันดับสามในสกอตแลนด์ ได้ชื่อว่าเป็นเมืองหลวงน้ำมันของทวีปยุโรป เดิมราชอาณาจักรสกอตแลนด์เป็นประเทศอิสระที่ไม่ขึ้นกับประเทศอังกฤษจนถึง..

ใหม่!!: ประเทศองค์ประกอบและประเทศสกอตแลนด์ · ดูเพิ่มเติม »

ประเทศสโลวีเนีย

ประเทศสโลวีเนีย (Slovenia; Slovenija) หรือชื่อทางการคือ สาธารณรัฐสโลวีเนีย (Slovene:, abbr.: RS) เป็นประเทศที่ตั้งอยู่ในยุโรปกลาง ซึ่งเป็นเส้นทางการค้าและแหล่งวัฒนธรรมหลักของทวีปยุโรป มีอาณาเขตทางตะวันตกจรดอิตาลี ทางตะวันตกเฉียงใต้จรดทะเลเอเดรียติก ทางใต้และตะวันออกจรดโครเอเชีย ทางตะวันออกเฉียงเหนือจรดฮังการีและทางเหนือจรดออสเตรีย มีพื้นที่ประมาณ 20,273 ตารางกิโลเมตรและมีประชากร 2.06 ล้านคน สโลวีเนียเป็นสาธารณรัฐระบบรัฐสภาและเป็นสมาชิกของสหประชาชาติ สหภาพยุโรปและเนโท เมืองหลวงและเมืองใหญ่สุดคือลูบลิยานา พื้นที่ส่วนใหญ่ของสโลวีเนียเป็นภูเขาและมีลักษณะอากาศแบบภูมิอากาศภาคพื้นทวีปหลัก ยกเว้นภูมิภาคชายฝั่งจะมีภูมิอากาศแบบเมดิเตอร์เรเนียนและภูมิภาคตะวันตกเฉียงเหนือซึ่งมีภูมิอากาศแบบเทือกเขาแอลป์ นอกจากนี้ไดนาริกแอลป์และที่ราบพันโนเนียก็พอได้ในสโลวีเนียเช่นกัน สโลวีเนียเป็นหนึ่งประเทศที่มีความหลากหลายทางชีวภาพเป็นหนึ่งในพื้นที่ ๆ มีแหล่งน้ำอุดมสมบูรณ์มากในยุโรป ทั้งแม่น้ำจำนวนมาก ชั้นหินอุ้มน้ำและแหล่งธารน้ำใต้ดิน สโลวีเรียมีป่าปกคลุมมากกว่าครึ่งหนึ่งของประเทศ ส่วนการตั้งถิ่นฐานของประชากรก็จะกระจักกระจายกันไป ประวัติศาสตร์สโลวีเนียได้รับทั้งวัฒนธรรมและภาษาจากสลาวิกตะวันตก สลาวิกใต้ เจอร์แมนิก โรมานซ์และฮังกาเรียน ถึงแม้ประชากรในประเทศจะไม่ได้เป็นเอกพันธุ์เดียวกันแต่ส่วนใหญ่เป็นชาวสโลวีน ภาษาสโลวีเนียซึ่งเป็นภาษาหนึ่งในกลุ่มภาษาสลาวิกใต้เป็นภาษาราชการของประเทศ ประชากรส่วนใหญ่ในประเทศไม่นับถือศาสนาอย่างแท้จริง แต่วัฒนธรรมและเอกลักษณ์ของประเทศได้รับอิทธิพลจากโรมันคาทอลิกและลูเทอแรน เศรษฐกิจของประเทศสโลเวเนียเป็นแบบเปิดขนาดเล็กและเป็นอุตสาหกรรมมุ่งการส่งออก ที่ได้รับอิทธิพลจากต่างประเทศ และได้รับผลกระทบอย่างรุนแรงจากวิกฤติหนี้สาธารณะยุโรปที่เริ่มช่วงปลายยุค 2000 เศรษฐกิจหลักคืออุตสาหกรรมบริการตามด้วยอุตสาหกรรมและอุตสาหกรรมการก่อสร้าง ในอดีตพื้นที่ของสโลเวเนียเป็นส่วนหนึ่งของรัฐที่แตกต่างกันหลายแห่งทั้งจักรวรรดิโรมัน จักรวรรดิไบแซนไทน์ จักรวรรดิการอแล็งเฌียง จักรวรรดิโรมันอันศักดิ์สิทธิ์และจักรวรรดิโรมันอันศักดิ์สิทธิ์ที่ปกครองโดยราชวงศ์ฮาพส์บวร์ค สาธารณรัฐเวนิส จังหวัดอิลลิเรียของนโปเลียนที่ 1ที่ปกครองโดยฝรั่งเศส จักรวรรดิออสเตรียและจักรวรรดิออสเตรีย-ฮังการี ในเดือนตุลาคม..

ใหม่!!: ประเทศองค์ประกอบและประเทศสโลวีเนีย · ดูเพิ่มเติม »

ประเทศอังกฤษ

อังกฤษ (England อิง(ก)ลันด์) หรือในอดีตเรียกว่า แคว้นอังกฤษ เป็นประเทศอันเป็นส่วนหนึ่งของสหราชอาณาจักร มีพรมแดนทางบกติดต่อกับสกอตแลนด์ทางเหนือ และเวลส์ทางตะวันตก ทะเลไอร์แลนด์ทางตะวันตกเฉียงเหนือ ทะเลเคลติกทางตะวันตกเฉียงใต้ ทะเลเหนือทางตะวันออก และช่องแคบอังกฤษซึ่งคั่นระหว่างอังกฤษกับยุโรปแผ่นดินใหญ่ พื้นที่ประเทศอังกฤษส่วนใหญ่ตั้งอยู่ทางตอนกลางและตอนใต้ของเกาะบริเตนใหญ่ในมหาสมุทรแอตแลนติกเหนือ ประเทศอังกฤษยังรวมถึงเกาะที่เล็กกว่าอีกกว่า 100 เกาะ เช่น หมู่เกาะซิลลีและเกาะไวต์ ภูมิประเทศของอังกฤษส่วนมากประกอบด้วยเขาเตี้ยๆ และที่ราบ โดยเฉพาะทางตอนกลางและตอนใต้ของอังกฤษ อย่างไรก็ตาม ทางเหนือและทางตะวันตกเฉียงใต้เป็นที่สูง วินเชสเตอร์เป็นเมืองหลวงเก่าของอังกฤษกระทั่งเปลี่ยนมาเป็นลอนดอนใน..

ใหม่!!: ประเทศองค์ประกอบและประเทศอังกฤษ · ดูเพิ่มเติม »

ประเทศคอซอวอ

อซอวอ (Косово, Kosovo; Kosovë, Kosova) เป็นภูมิภาคหนึ่งในคาบสมุทรบอลข่าน ติดกับประเทศเซอร์เบียทางทิศเหนือ มอนเตเนโกรทางตะวันตก แอลเบเนียและสาธารณรัฐมาซิโดเนียทางใต้ ไม่มีทางออกสู่ทะเล คอซอวอได้ประกาศเป็นรัฐเอกราชแบบเอกภาคีในวันที่ 17 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2551 ใช้ชื่อว่า สาธารณรัฐคอซอวอ (Republic of Kosovo) มีการรับรองจากบางประเทศ ในขณะที่เซอร์เบียยังคงถือว่าคอซอวอเป็นจังหวัดปกครองพิเศษของตน เมืองหลวงของคอซอวอคือพริสตีนา (Priština) จำนวนประชากรทั้งจังหวัดประมาณ 2 ล้าน 1 แสนคน ส่วนใหญ่เป็นชาติพันธุ์แอลเบเนีย (ร้อยละ 92) ชาวเซิร์บ (ร้อยละ 5.3) และมีชาวตุรกี ชาวบอสนีแอก กลุ่มชาติพันธุ์อื่น ๆ อีกเล็กน้อย (รวมกันร้อยละ 2.7) คอซอวออยู่ภายใต้การบริหารของสหประชาชาติมาตั้งแต่ปี พ.ศ. 2542 ในขณะที่เอกราชของเซอร์เบียนั้นเป็นที่ยอมรับในประชาคมโลก โดยแท้จริงแล้ว การปกครองของเซอร์เบียมิได้ปรากฏในจังหวัดนี้เลย องค์กรที่ปกครองคอซอวออยู่คือคณะทำงานสหประชาชาติในคอซอวอ (United Nations Mission in Kosovo: UNMIK) และสถาบันการปกครองตนเองชั่วคราวของท้องถิ่น (Provisional Institutions of Self-Government) โดยมีกองกำลังคอซอวอ (Kosovo Force: KFOR) ภายใต้การนำขององค์การสนธิสัญญาแอตแลนติกเหนือ (NATO) เป็นผู้รักษาความมั่นคง จังหวัดคอซอวอเป็นประเด็นความขัดแย้งทางการเมืองและดินแดนมานานระหว่างชาวเซอร์เบีย (ก่อนหน้านี้คือชาวยูโกสลาฟ) กับชาวแอลเบเนียซึ่งเป็นประชากรส่วนใหญ่ของจังหวัด การเจรจาในระดับนานาชาติเริ่มขึ้นในปี พ.ศ. 2549 เพื่อตัดสินสถานะสุดท้าย จากรายงานของสื่อแขนงต่าง ๆ คาดกันว่า การเจรจาจะนำมาซึ่งเอกราชของดินแดนแห่งนี้ในรูปแบบใดรูปแบบหนึ่ง ในวันที่ 17 กุมภาพัน..

ใหม่!!: ประเทศองค์ประกอบและประเทศคอซอวอ · ดูเพิ่มเติม »

ประเทศนิวซีแลนด์

นิวซีแลนด์ (New Zealand; มาวรี: Aotearoa หมายถึง "ดินแดนแห่งเมฆยาวสีขาว" หรือ Niu Tirenio ซึ่งเป็นการทับศัพท์จากภาษาอังกฤษ) เป็นประเทศที่ประกอบด้วยเกาะใหญ่ 2 เกาะ รวมถึงเกาะเล็ก ๆ จำนวนหนึ่ง ในมหาสมุทรแปซิฟิกตอนตะวันตกเฉียงใต้ - นิวซีแลนด์มีเมืองหลวงชื่อเวลลิงตัน นิวซีแลนด์เป็นประเทศที่ห่างไกลจากประเทศอื่น ๆ มากที่สุด ประเทศที่อยู่ใกล้ที่สุดคือประเทศออสเตรเลีย ซึ่งตั้งอยู่ทางตะวันตกเฉียงเหนือของเกาะใหญ่ 2,000 กิโลเมตร โดยที่มี ทะเลแทสมันกั้นกลาง ดินแดนเดียวที่อยู่ทางใต้คือทวีปแอนตาร์กติกา และทางเหนือคือนิวแคลิโดเนีย ฟิจิ และตองกา นิวซีแลนด์ได้กลายเป็นอาณานิคมของอังกฤษด้วยสนธิสัญญาไวตางี (Treaty of Waitangi) เมื่อปี พ.ศ. 2383 ซึ่งได้สัญญาไว้ว่าจะให้สิทธิในการเป็นผู้นำชนเผ่าอย่างเต็มรูปแบบ "complete chieftainship" (tino rangatiratanga) แก่ชาวมาวรีพื้นเมืองของนิวซีแลนด์ ในปัจจุบันความหมายที่แน่นอนของสนธิสัญญานี้ยังคงเป็นข้อพิพาท และยังคงเป็นเรื่องที่ก่อให้เกิดการแบ่งแยกและความไม่พอใจกันอยู่เนื่องจากมีการแปลสนธิสัญญาทั้งสองฉบับไม่ตรงกัน โดยในฉบับภาษาอังกฤษมีใจความว่าสหราชอาณาจักรจะปกครองประเทศและประชาชนของประเทศ ในขณะที่ในฉบับภาษามาวรีมีใจความว่าสหราชอาณาจักรจะเป็นฝ่ายสนับสนุนการปกครองของผู้นำที่ชาวมาวรีพึงใจให้ปกครอง ตั้งแต่ปี..

ใหม่!!: ประเทศองค์ประกอบและประเทศนิวซีแลนด์ · ดูเพิ่มเติม »

ประเทศโครเอเชีย

รเอเชีย (Croatia; Hrvatska) หรือชื่อทางการว่า สาธารณรัฐโครเอเชีย (Republic of Croatia; Republika Hrvatska) เป็นประเทศรูปเสี้ยววงเดือนในยุโรปที่มีอาณาเขตจรดทะเลเมดิเตอร์เรเนียน ยุโรปกลาง และบอลข่าน เมืองหลวงชื่อซาเกร็บ ในประวัติศาสตร์ปัจจุบัน โครเอเชียเคยเป็นสาธารณรัฐในยูโกสลาเวียเดิม แต่ได้รับเอกราชในพ.ศ. 2534 และได้สมัครเพื่อเป็นสมาชิกสหภาพยุโรปในอนาคต ชาวโครเอเชียลงประชามติรับรองการเข้าเป็นสมาชิกสหภาพยุโรป ซึ่งมีผลในกลางปี 2013 และเป็นสมาชิกลำดับที่ 28.

ใหม่!!: ประเทศองค์ประกอบและประเทศโครเอเชีย · ดูเพิ่มเติม »

ประเทศเวลส์

วลส์ (Wales; Cymru, ออกเสียง คัมรึ) เป็น 1 ใน 4 ประเทศที่ประกอบเป็นสหราชอาณาจักร (ได้แก่ อังกฤษ สกอตแลนด์ เวลส์ และไอร์แลนด์เหนือ) เวลส์อยู่ทางทิศตะวันตกเฉียงใต้ของเกาะบริเตนใหญ่ โดยทิศตะวันออกติดกับประเทศอังกฤษ ทิศใต้ติดกับช่องแคบบริสตอล (Bristol Channel) ทิศตะวันตกติดกับช่องแคบจอร์เจส (George's Channel) และทางเหนือติดกับทะเลไอริช คำว่า ราชรัฐเวลส์ ยังคงเป็นที่นิยมใช้ ถึงแม้ว่าเจ้าชายแห่งเวลส์จะไม่มีบทบาททางการเมืองตั้งแต่ปี พ.ศ. 1825 (ค.ศ. 1282) โดยพระเจ้าเอ็ดเวิร์ดที่ 2 แห่งอังกฤษทรงเข้ายึดครอง ต่อมาเมืองหลวงของเวลส์ถูกย้ายจากคายร์นาร์วอน (ซึ่งเป็นเมืองของเจ้าชายเวลส์) มาที่คาร์ดิฟฟ์ในปี พ.ศ. 2498 (ค.ศ. 1955).

ใหม่!!: ประเทศองค์ประกอบและประเทศเวลส์ · ดูเพิ่มเติม »

ประเทศเดนมาร์ก

นมาร์ก (Denmark; แดนมาก) (Danmark) หรือชื่อทางการคือ ราชอาณาจักรเดนมาร์ก เป็นประเทศกลุ่มนอร์ดิก มีแผ่นดินหลักตั้งอยู่บนคาบสมุทรจัตแลนด์ ทางทิศเหนือของประเทศเยอรมนี ซึ่งเป็นเพื่อนบ้านทางบกเพียงประเทศเดียว ทางทิศใต้ของประเทศนอร์เวย์ และตะวันตกเฉียงใต้ของประเทศสวีเดน มีพรมแดนจรดทะเลเหนือและทะเลบอลติก เดนมาร์กมีดินแดนนอกชายฝั่งห่างไกลออกไปสองแห่ง คือหมู่เกาะแฟโรและกรีนแลนด์ ซึ่งแต่ละแห่งมีอำนาจปกครองตนเอง เดนมาร์กเป็นประเทศองค์ประกอบที่มีการปกครองระบอบราชาธิปไตยภายใต้รัฐธรรมนูญและเป็นส่วนหนึ่งของสหภาพยุโรป แต่ยังไม่เข้าร่วมใช้สกุลเงินยูโร เดนมาร์กเป็นสมาชิกรุ่นก่อตั้งขององค์การสนธิสัญญาป้องกันแอตแลนติกเหนือ.

ใหม่!!: ประเทศองค์ประกอบและประเทศเดนมาร์ก · ดูเพิ่มเติม »

ประเทศเซอร์เบีย

ซอร์เบีย (Serbia; Србија, Srbija) หรือชื่อทางการว่า สาธารณรัฐเซอร์เบีย (Republic of Serbia; Република Србија, Republika Srbija) เป็นประเทศสาธารณรัฐตั้งอยู่ทางตอนกลางค่อนไปทางตะวันออกเฉียงใต้ของทวีปยุโรป เมืองหลวงคือกรุงเบลเกรด เซอร์เบียมีอาณาเขตติดต่อกับฮังการีทางทิศเหนือ ติดต่อกับโรมาเนียและบัลแกเรียทางทิศตะวันออก ติดต่อกับมาซิโดเนียและแอลเบเนียทางทิศใต้ (พื้นที่ชายแดนทางด้านนี้กำลังมีปัญหาเรื่องการเรียกร้องเอกราชของคอซอวอ) และติดต่อกับมอนเตเนโกร โครเอเชีย และบอสเนีย-เฮอร์เซโกวีนาทางทิศตะวันตก.

ใหม่!!: ประเทศองค์ประกอบและประเทศเซอร์เบีย · ดูเพิ่มเติม »

ประเทศเซนต์คิตส์และเนวิส

ซนต์คิตส์และเนวิส (Saint Kitts and Nevis) หรือชื่อทางการคือ สหพันธรัฐเซนต์คิตส์และเนวิส (Federation of Saint Kitts and Nevis) ตั้งอยู่ในหมู่เกาะลีเวิร์ด (Leeward Islands) เป็นประเทศเกาะในทะเลแคริบเบียนและเป็นประเทศที่เล็กที่สุดในซีกโลกตะวันตก เมืองหลวงและหน่วยงานรัฐบาลของสหพันธรัฐส่วนใหญ่ตั้งอยู่บนเกาะเซนต์คิตส์ (หรือเซนต์คริสโตเฟอร์) ที่มีขนาดใหญ่กว่า ส่วนรัฐที่เล็กกว่าคือ เนวิส (Nevis) ตั้งอยู่ห่างจากเกาะเซนต์คิตส์ไปทางตะวันออกเฉียงใต้ 3 กิโลเมตร ตามประวัติศาสตร์แล้ว แองกวิลลาซึ่งเป็นอาณานิคมของอังกฤษ เป็นส่วนหนึ่งของสหพันธรัฐด้วย เรียกว่า เซนต์คริสโตเฟอร์-เนวิส-แองกวิลลา แม้ว่าทั้งเกาะเซนต์คิตส์และเกาะเนวิสตั้งอยู่ภายในหมู่เกาะลีเวิร์ด แต่ทั้ง 2 เกาะก็ตั้งอยู่ใกล้กับเกาะอื่น ๆ อีกมากมายด้วย ทางทิศตะวันตกเฉียงเหนือมีเกาะซินต์เอิสตาซียึส เกาะซาบา เกาะแซ็ง-บาร์เตเลมี และเกาะเซนต์มาร์ติน ทางตะวันออกเฉียงเหนือมีเกาะแอนติกาและบาร์บูดา และทางตะวันออกเฉียงใต้มีเกาะมอนต์เซอร์รัต ทั้งชื่อ Saint Christopher และ Saint Kitts ปรากฏอยู่ใน.

ใหม่!!: ประเทศองค์ประกอบและประเทศเซนต์คิตส์และเนวิส · ดูเพิ่มเติม »

ประเทศเนเธอร์แลนด์

นเธอร์แลนด์ (Nederland เนเดอร์ลอนต์; Netherlands) หรือที่มักเรียกกันว่า ฮอลแลนด์ (Holland) หรือ ฮอลันดา หรือ วิลันดา เป็นประเทศองค์ประกอบ (constituent country) ของราชอาณาจักรเนเธอร์แลนด์ ประกอบด้วยสิบสองจังหวัดในยุโรปตะวันตก และสามเกาะในแคริบเบียน เนเธอร์แลนด์ส่วนที่อยู่ในทวีปยุโรปมีอาณาเขตทิศเหนือและตะวันตกจดทะเลเหนือ ทิศใต้จดประเทศเบลเยียม และทิศตะวันออกจดประเทศเยอรมนี และมีพรมแดนทางทะเลร่วมกับเบลเยียม เยอรมนีและสหราชอาณาจักร ประเทศเนเธอร์แลนด์เป็นประเทศแรก ๆ ของโลกที่มีรัฐสภาจากการเลือกตั้ง และปกครองด้วยประชาธิปไตยระบบรัฐสภา จัดระเบียบเป็นรัฐเดี่ยว เมืองหลวงของประเทศเนเธอร์แลนด์ตามที่ระบุไว้ในรัฐธรรมนูญ คือ อัมสเตอร์ดัม ทว่า ที่ทำการรัฐบาลตั้งอยู่ที่กรุงเฮก ประเทศเนเธอร์แลนด์ทั้งหมดมักเรียกว่า "ฮอลแลนด์" ซึ่งในการใช้อย่างเข้มงวดจะหมายความถึงจังหวัดนอร์ทฮอลแลนด์และเซาท์ฮอลแลนด์เท่านั้น ถือกันว่าการใช้แบบแรกนั้นไม่ถูกต้อง หรือไม่เป็นทางการ ขึ้นอยู่กับบริบท ทว่า เป็นที่ยอมรับกันทั่วไปเมื่อหมายถึงฟุตบอลทีมชาติ ประเทศเนเธอร์แลนด์เป็นประเทศที่มีพื้นที่ต่ำ โดย 20% ของพื้นที่อยู่ และ 21% ของประชากรอาศัยอยู่ต่ำกว่าระดับน้ำทะเล และ 50% ของพื้นที่อยู่สูงกว่าระดับน้ำทะเลไม่เกินหนึ่งเมตร ซึ่งลักษณะเด่นนี้เป็นที่มาของชื่อประเทศ ในภาษาดัตช์ อังกฤษและภาษาอื่นของยุโรปอีกหลายภาษา ชื่อประเทศหมายถึง "แผ่นดินต่ำ" หรือ "กลุ่มประเทศแผ่นดินต่ำ" พื้นที่ส่วนใหญ่ที่อยู่ต่ำกว่าระดับน้ำทะเลเกิดจากฝีมือมนุษย์ ซึ่งเกิดจากการสกัดพีต (peat) อย่างกว้างขวางและมีการควบคุมไม่ดีหลายศตวรรษทำให้พื้นผิวต่ำลงหลายเมตร แม้ในพื้นที่น้ำท่วมถึง การสกัดพีตยังดำเนินต่อไปโดยการขุดลอกพื้นที่ ตั้งแต่ปลายคริสต์ศตวรรษที่ 16 เริ่มมีการฟื้นสภาพที่ดินและปัจจุบันมีการสงวนพื้นที่โพลเดอร์ (polder) ขนาดใหญ่ด้วยระบบการระบายน้ำที่ซับซ้อนซึ่งมีทั้งพนัง คลองและสถานีสูบ พื้นที่เกือบ 17% ของประเทศเป็นพื้นที่ที่เกิดจากการถมทะเล พื้นที่บริเวณกว้างของเนเธอร์แลนด์เกิดจากชะวากทะเลของแม่น้ำสำคัญของทวีปยุโรปสามสายและลำน้ำแตกสาขาเกิดเป็นสามเหลี่ยมปากแม่น้ำไรน์–เมิซ–ซเกลดะ (Rhine–Meuse–Scheldt delta) พื้นที่ส่วนใหญ่ของประเทศเป็นที่ราบ ยกเว้นเนินเขาทางตะวันออกเฉียงใต้และเทือกเขาเตี้ย ๆ หลายเทือกทางตอนกลาง ประเทศเนเธอร์แลนด์เป็นสมาชิกก่อตั้งของสหภาพยุโรป จี-10 นาโต้ องค์การเพื่อความร่วมมือทางเศรษฐกิจและการพัฒนา (OECD) องค์การการค้าโลก และเป็นส่วนหนึ่งของสหภาพเศรษฐกิจไตรภาคีเบเนลักซ์ ประเทศเนเธอร์แลนด์เป็นที่ตั้งขององค์การห้ามอาวุธเคมี และศาลระหว่างประเทศห้าศาล ได้แก่ ศาลอนุญาโตตุลาการถาวร ศาลยุติธรรมระหว่างประเทศ ศาลอาญาระหว่างประเทศ คณะตุลาการอาญาระหว่างประเทศสำหรับอดีตยูโกสลาเวียและคณะตุลาการพิเศษสำหรับเลบานอน สี่ศาลแรกตั้งอยู่ในกรุงเฮก เช่นเดียวกับยูโรโปล สำนักข่าวกรองอาชญากรรมของสหภาพยุโรป และยูโรจัสต์ สำนักความร่วมมือทางตุลาการ ทำให้กรุงเฮกได้รับสมญาว่า "เมืองหลวงกฎหมายโลก" ประเทศเนเธอร์แลนด์ใช้ระบบเศรษฐกิจแบบผสมอิงตลาด โดยอยู่ในอันดับที่ 17 จาก 177 ประเทศในดัชนีเสรีภาพทางเศรษฐกิจ ในปี 2554 เป็นประเทศที่มีรายได้ต่อหัวสูงสุดเป็นอันดับที่ 10 ของโลก ในเดือนพฤษภาคม ปีเดียวกัน OECD จัดให้เนเธอร์แลนด์เป็นประเทศ "ที่มีความสุขที่สุด" ในโลก ซึ่งสะท้อนถึงมาตรฐานการครองชีพที่สูง.

ใหม่!!: ประเทศองค์ประกอบและประเทศเนเธอร์แลนด์ · ดูเพิ่มเติม »

ปารีส

ไม่มีคำอธิบาย.

ใหม่!!: ประเทศองค์ประกอบและปารีส · ดูเพิ่มเติม »

ปาเปเอเต

ปาเปเอเต หรือ ปาปีติ (ตาฮีตี: Pape’ete, Papeete, เสียงอ่าน) คือเมืองหลวงของเฟรนช์พอลินีเชียซึ่งเป็นดินแดนโพ้นทะเลของประเทศฝรั่งเศสในมหาสมุทรแปซิฟิกใต้ ปาเปเอเตตั้งอยู่บนเกาะตาฮีตีในหมู่เกาะวินด์เวิร์ด ชื่อ ปาเปเอเต มีความหมายว่า "น้ำจากตะกร้า".

ใหม่!!: ประเทศองค์ประกอบและปาเปเอเต · ดูเพิ่มเติม »

นอวีซาด

ทัศนียภาพเมืองนอวีซาด นอวีซาด (Novi Sad) เป็นเมืองในประเทศเซอร์เบีย และเป็นเมืองหลวงของจังหวัดปกครองตนเองวอยวอดีนา ตั้งอยู่ริมฝั่งแม่น้ำดานูบ ทางตอนเหนือของประเทศ มีพื้นที่ 1,105 ตารางกิโลเมตร และมีประชากร 341,625 คน หมวดหมู่:เมืองในประเทศเซอร์เบีย.

ใหม่!!: ประเทศองค์ประกอบและนอวีซาด · ดูเพิ่มเติม »

นิวแคลิโดเนีย

นิวแคลิโดเนีย (New Caledonia) หรือ นูแวล-กาเลดอนี (Nouvelle-Calédonie) ชื่ออื่น ๆ ที่นิยมเรียกได้แก่ "คานากี" (Kanaky) และ "เลอกายู" (Le Caillou) เป็น "อาณานิคมพิเศษ (sui generis collectivity)" (ในทางปฏิบัติ ดินแดนโพ้นทะเล) ของประเทศฝรั่งเศส ประกอบด้วยเกาะหลัก (เกาะกร็องด์แตร์, Grande Terre) และเกาะเล็ก ๆ อื่น ๆ ตั้งอยู่ในภูมิภาคเมลานีเซียในมหาสมุทรแปซิฟิกทางตะวันตกเฉียงใต้ นิวแคลิโดเนียมีเนื้อที่ 18,575.5 ตารางกิโลเมตร มีขนาดเป็นครึ่งหนึ่งของเกาะไต้หวัน ประชากรที่สำรวจได้เมื่อพ.ศ. 2547 มีอยู่ 230,789 คน มีรหัสประเทศโดเมนระดับบนสุดในอินเทอร์เน็ต ว่า.nc เมืองหลวงและเมืองที่ใหญ่ที่สุดของนิวแคลิโดเนียคือ นูเมอา (Nouméa) หน่วยเงินคือ ฟรังก์ซีเอฟพี ตั้งแต..

ใหม่!!: ประเทศองค์ประกอบและนิวแคลิโดเนีย · ดูเพิ่มเติม »

นุก

นุก (Nuuk นูก) หรือ กอตฮอบ (Godthåb) เป็นเมืองหลวงและเมืองที่ใหญ่ที่สุดของกรีนแลนด์ ตั้งอยู่ทางตอนใต้ของฝั่งตะวันตกของเกาะกรีนแลนด์ หมวดหมู่:เมืองหลวง หมวดหมู่:ประเทศเดนมาร์ก.

ใหม่!!: ประเทศองค์ประกอบและนุก · ดูเพิ่มเติม »

นูเมอา

นูเมอา (Nouméa) เป็นเมืองหลวงของนิวแคลิโดเนีย ซึ่งเป็นดินแดนในเขตโอเชียเนียของประเทศฝรั่งเศส มีพื้นที่ 45.7 ตารางกิโลเมตร มีประชากร 97,579 คนจากข้อมูลสำมะโนประชากรปี..

ใหม่!!: ประเทศองค์ประกอบและนูเมอา · ดูเพิ่มเติม »

นีวเว

นีวเว (Niue; นีวเว: Niuē) เป็นเกาะที่ตั้งอยู่ในมหาสมุทรแปซิฟิกตอนใต้ มักเรียกว่า "Rock of Polynesia" นีวเวปกครองตนเอง แต่นอกจากนี้ นีวเวยังอยู่ในความสัมพันธ์เสรี (free association) กับประเทศนิวซีแลนด์ด้วย นั่นหมายความว่าประมุขโดยชอบธรรมของนิวซีแลนด์เป็นประมุขรัฐของนีวเวด้วย และความสัมพันธ์ทางการทูตส่วนใหญ่จะจัดโดยนิวซีแลนด์ นีวเวตั้งอยู่ห่างจากทางตะวันออกเฉียงเหนือของนิวซีแลนด์ 2,400 กิโลเมตร และตั้งอยู่ในบริเวณสามเหลี่ยมระหว่างประเทศตองงา ประเทศซามัว และหมู่เกาะคุก.

ใหม่!!: ประเทศองค์ประกอบและนีวเว · ดูเพิ่มเติม »

แซ็ง-บาร์เตเลมี

แซ็ง-บาร์เตเลมี (Saint-Barthélemy) เป็นเขตชุมชนโพ้นทะเลของประเทศฝรั่งเศส ตั้งอยู่ในหมู่เกาะลีเวิร์ดในทะเลแคริบเบียน มีเมืองหลวงคือกุสตาวียา มีพื้นที่ 22.1 ตารางกิโลเมตร มีประชากร 8,902 คน.

ใหม่!!: ประเทศองค์ประกอบและแซ็ง-บาร์เตเลมี · ดูเพิ่มเติม »

แซ็ง-ปีแยร์

แซ็ง-ปีแยร์ (Saint-Pierre) เป็นเมืองหลวงของแซ็งปีแยร์และมีเกอลง ซึ่งเป็นดินแดนโพ้นทะเลของประเทศฝรั่งเศส มีพื้นที่ 25 ตารางกิโลเมตร มีประชากร 5,888 คนเมื่อเดือนกรกฎาคม..

ใหม่!!: ประเทศองค์ประกอบและแซ็ง-ปีแยร์ · ดูเพิ่มเติม »

แซ็งปีแยร์และมีเกอลง

อาณานิคมโพ้นทะเลแซงปีแยร์และมีเกอลง (Collectivité territoriale de Saint-Pierre-et-Miquelon; Territorial Collectivity of Saint-Pierre and Miquelon) เป็นดินแดนของประเทศฝรั่งเศส ประกอบด้วยเกาะเล็ก ๆ ในมหาสมุทรแอตแลนติกตอนเหนือ มีเกาะสำคัญคือ เกาะแซง-ปีแยร์ และเกาะมีเกอลง ตั้งอยู่ทางตอนใต้ของรัฐนิวฟันด์แลนด์และแลบราดอร์ ประเทศแคนาดา อยู่ห่างจากเกาะนิวฟันด์แลนด์ราว 10 กิโลเมตร มีเมืองหลวงชื่อ แซง-ปีแยร์ ส่งปลาคอดตากแห้งและแช่แข็งเป็นสินค้าออก มีอุตสาหกรรมการท่องเที่ยว.

ใหม่!!: ประเทศองค์ประกอบและแซ็งปีแยร์และมีเกอลง · ดูเพิ่มเติม »

โอรันเยสตัด

โอรันเยสตัด โอรันเยสตัด (Oranjestad) เป็นเมืองหลวงของอารูบา ซึ่งเป็นดินแดนปกครองตนเองของเนเธอร์แลนด์ มีประชากร 28,294 คน หมวดหมู่:อารูบา หมวดหมู่:เมืองในประเทศเนเธอร์แลนด์ หมวดหมู่:เมืองหลวง.

ใหม่!!: ประเทศองค์ประกอบและโอรันเยสตัด · ดูเพิ่มเติม »

โคเปนเฮเกน

ปนเฮเกน (Copenhagen; København เคอเปินเฮาน์) เป็นเมืองหลวงและเมืองที่ใหญ่ที่สุดของประเทศเดนมาร์ก จำนวนประชากรในมีเมืองมีทั้งหมดประมาณ 500,000 คนและ เขตนครหลวงหรือเมโทรทั้งหมดประมาณ 1,200,000 คนเศษ กรุงโคเปนเฮเกนเป็นที่ตั้งของศูนย์กลางการบริหารประเทศ รัฐสภา รัฐบาลและเป็นที่ตั้งพระราชวังหลวงในพระราชวงศ์เดนมาร์ก โคเปนเฮเกนถือว่าเป็นเมืองเก่าแก่เมืองหนึ่งของยุโรป ก่อตั้งมาราว ๆ คริสต์ศตวรรษที่ 10 และเป็นเมืองที่ใหญ่ที่สุดของประเทศในแถบสแกนดิเนเวี.

ใหม่!!: ประเทศองค์ประกอบและโคเปนเฮเกน · ดูเพิ่มเติม »

ไอร์แลนด์เหนือ

อร์แลนด์เหนือ (Northern Ireland; Tuaisceart Éireann ทวฌเชอรท์ เอรัน) คือ 1 ใน 4 ประเทศองค์ประกอบของสหราชอาณาจักรซึ่งประกอบด้วยอังกฤษ สกอตแลนด์ เวลส์ และไอร์แลนด์เหนือ ไอร์แลนด์เหนือตั้งอยู่บนเกาะไอร์แลนด์ทางทิศตะวันออกเฉียงเหนือ มีพรมแดนด้านตะวันตกและใต้ติดประเทศไอร์แลนด์ ทิศเหนือติดกับมหาสมุทรแอตแลนติก ทิศตะวันออกเฉียงเหนือติดกับช่องแคบเหนือ และทิศตะวันออกติดกับทะเลไอริช เมืองหลวงมีชื่อว่า เบลฟาสต์ ซึ่งมีประชากรประมาณ 333,000 คน.

ใหม่!!: ประเทศองค์ประกอบและไอร์แลนด์เหนือ · ดูเพิ่มเติม »

เบลฟาสต์

มืองเบลฟาสต์ เบลฟาสต์ (Belfast; Béal Feirste) เป็นเมืองหลวงและเมืองที่ใหญ่ที่สุดในนอร์เทิร์นไอร์แลนด์ มีประชากร 276,459 คนในเขตเมือง และ 579,554 ในเขตปริมณฑล (พ.ศ. 2544).

ใหม่!!: ประเทศองค์ประกอบและเบลฟาสต์ · ดูเพิ่มเติม »

เบลเกรด

ลเกรด (Belgrade) หรือ เบออกรัด (Београд) เป็นเมืองหลวงและเมืองที่ใหญ่ที่สุดของประเทศเซอร์เบีย มีการตั้งถิ่นฐานครั้งแรกในบริเวณนี้ตั้งแต่สมัยก่อนยุคประวัติศาสตร์ เมื่อ 5,700-4,800 ปีก่อนคริสต์ศักราช จุดเริ่มต้นของเมืองถูกก่อตั้งโดยชาวเคลต์กลุ่ม Scordisci ในศตวรรษที่สามก่อนศริสตศักราช ก่อนจะกลายมาเป็นที่ตั้งของเมืองโรมันในนาม Singidunum นับแต่อดีตมาเบลเกรดเป็นป้อมปราการที่สำคัญให้แก่ชนกลุ่มต่างๆตลอดระยะเวลากว่าสองพันปี ถูกทำลายแล้วสร้างกลับขึ้นมาใหม่หลายสิบครั้ง ด้วยประชาการกว่า 1,600,000 คน ปัจจุบันนี้ เบลกราดก็ถือเป็นเมืองใหญ่ที่สุดในกลุ่มประเทศที่อดีตเคยรวมตัวกันเป็นยูโกสลาเวีย เป็นที่ตั้งของสนามบินที่เพียงแห่งเดียวในการเดินทางเข้าสู่เซอร์เบีย นับได้ว่าเป็นศูนย์กลางทางการเมือง เศรษฐกิจ การศึกษา การคมนาคมและการท่องเที่ยวของประเท.

ใหม่!!: ประเทศองค์ประกอบและเบลเกรด · ดูเพิ่มเติม »

เฟรนช์พอลินีเชีย

ฟรนช์พอลินีเชีย (French Polynesia; Polynésie française; ตาฮีตี: Pōrīnetia Farāni) เป็นดินแดนของฝรั่งเศสในมหาสมุทรแปซิฟิกใต้ มีฐานะเป็น "overseas collectivity" พร้อมกับ "overseas country" ซึ่งเป็นตำแหน่งเฉพาะตัว ประกอบด้วยกลุ่มเกาะหลายเกาะในภูมิภาคโพลินีเซีย เกาะที่มีชื่อเสียงที่สุดได้แก่ตาฮีตีในหมู่เกาะโซไซตี ซึ่งยังเป็นเกาะที่มีผู้อยู่อาศัยมากที่สุดและเป็นที่ตั้งเมืองหลวงของดินแดน (ปาเปเอเต) อีกด้วย และแม้จะไม่ได้อยู่ในบริเวณเดียวกัน แต่เกาะกลีแปร์ตอนก็ถูกบริหารโดยเฟรนช์พอลินีเชี.

ใหม่!!: ประเทศองค์ประกอบและเฟรนช์พอลินีเชีย · ดูเพิ่มเติม »

เกาะเซนต์มาร์ติน

ซนต์มาร์ติน (Saint Martin), แซ็ง-มาร์แต็ง (Saint-Martin) หรือ ซินต์มาร์เติน (Sint Maarten) เป็นเกาะทางตะวันออกเฉียงเหนือของทะเลแคริบเบียน ห่างจากเปอร์โตริโกทางทิศตะวันออกราว 300 กม.

ใหม่!!: ประเทศองค์ประกอบและเกาะเซนต์มาร์ติน · ดูเพิ่มเติม »

เยเรวาน

รวาน (Yerevan; Երևան) บางครั้งเรียกว่า เอเรวาน (Erevan) ชื่อเดิมคือ เอเรบูนี (Erebuni) และ เอรีวาน (Erivan) เป็นเมืองหลวงและเมืองที่ใหญ่ที่สุดของประเทศอาร์มีเนีย ตั้งอยู่ริมแม่น้ำฮรัซดัน (Hrazdan River) กรุงเยเรวานเป็นศูนย์กลางการบริหาร วัฒนธรรม และอุตสาหกรรมของประเทศ ปัจจุบันมีประชากร 1,088,000 คน (ค.ศ. 2004) มีนายตารอน มาร์กาเรียน (Taron Margaryan) เป็นนายกเทศมนตรี ประวัติศาสตร์ยุคแรกเริ่มของเมืองนี้ย้อนไปถึงในช่วงศตวรรษที่ 8 ก่อนคริสต์ศักราช โดยมีการตั้งป้อมอูราร์เตียนแห่งเมืองเอเรบูนีเมื่อ 782 ปีก่อนคริสต์ศักราช กรุงเยเรวานเป็นที่ตั้งของมหาวิทยาลัยเยเรวานสเตต (1919) บัณฑิตยสถานอาร์มีเนีย รวมทั้งพิพิธภัณฑ์ประวัติศาสตร์ โรงอุปรากร ห้องแสดงดนตรี สถาบันเทคโนโลยี ห้องสมุดสาธารณะขนาดใหญ่ สวนพฤกษศาสตร์ และสวนสัตว์อีกหลายแห่ง สถาบันมาเตนาดารัน (Matenadaran) ได้สะสมเอกสารต้นฉบับของอาร์มีเนียโบราณ กรีก ซีเรีย ฮีบรู โรมัน และเปอร์เซียที่มีค่าเอาไว้มากมาย เยเรวานยังเป็นหัวใจของเครือข่ายทางรถไฟและเป็นศูนย์กลางการค้าหลักของสินค้าเกษตรกรรมของประเทศ นอกจากนี้ โรงงานอุตสาหกรรมในเมืองนี้ยังผลิตโลหะ เครื่องมือจักรกล อุปกรณ์อิเล็กทรอนิกส์ เคมีภัณฑ์ สิ่งทอ และผลิตภัณฑ์อาหารอีกด้ว.

ใหม่!!: ประเทศองค์ประกอบและเยเรวาน · ดูเพิ่มเติม »

เวลลิงตัน

มืองและท่าเรือเวลลิงตันมองจากภูเขาวิคตอเรีย เวลลิงตัน (Wellington) เป็นเมืองหลวงของประเทศนิวซีแลนด์ เป็นที่รู้จักกันในชื่อของ "เวลลิงตัน เมืองแห่งสายลม" เนื่องจากเป็นภูมิภาคที่มีสายลมพัดผ่านมากที่สุดของนิวซีแลนด์ ตั้งอยู่ปลายสุดของเกาะเหนือ ระหว่างช่องแคบคุกกับ Rimutaka Range ชื่อของเมืองหลวงแห่งนี้มาจากชื่อที่ตั้งเป็นเกียรติแด่ อาร์เธอร์ เวลเลสลีย์ (Arthur Wellesley) มีประชากรทั้งสิ้น 430,000 คน นับเป็นเมืองที่มีประชากรมากเป็นอันดับ 2 รองจากโอ๊คแลนด์ เวลลิงตันเป็นที่ตั้งของรัฐสภา สถานทูต และกงสุลต่างๆ เป็นศูนย์กลางของศิลปวัฒนธรรมและความมีชีวิตชีวา ในเมืองจะเต็มไปด้วยร้านอาหารรสเลิศ ร้านกาแฟ และกิจกรรมยามค่ำคืน นอกจากการเป็นเมืองหลวงแล้ว เวลลิงตันยังมีความสำคัญ คือเป็นเมืองท่าขนาดใหญ่ที่ใช้สัญจรผ่านไปสู่เกาะใต้ ตามแนวเขาลาดชันชายฝั่ง จะเห็นสิ่งปลูกสร้างไม้สไตล์วิคตอเรียขึ้นอยู่เป็นทิวแถว อุณหภูมิอบอุ่นกำลังดีระหว่าง 9-13 องศาเซลเซียสในหน้าหนาว ส่วนหน้าร้อนประมาณ 17-22 องศาเซลเซี.

ใหม่!!: ประเทศองค์ประกอบและเวลลิงตัน · ดูเพิ่มเติม »

เอดินบะระ

อดินบะระ (Edinburgh เอดินเบอระ; Dùn Èideann; บางคนอ่าน/เขียนผิดเป็น: เอดินเบิร์ก) เป็นเมืองหลวงของประเทศสกอตแลนด์ สหราชอาณาจักร ตั้งอยู่ทางฝั่งตะวันออกของสกอตแลนด์ เป็นเมืองเก่าแก่ที่มีประวัติความเป็นมาตั้งแต่สมัยกลาง ลักษณะภูมิประเทศเป็นภูเขาสูงอยู่กลางเมือง เป็นที่ตั้งของปราสาทเอดินบะระอันเป็นทำเลที่ได้เปรียบเชิงยุทธศาสตร์ในสมัยก่อน โดยรอบภูเขาถูกปรับพื้นที่เป็นคูเมืองเพื่อประโยชน์ในเชิงการทหาร รอบนอกเป็นที่ราบลดหลั่นเป็นขั้น ๆ กระจายออกโดยรอบ เอดินบะระเป็นที่ตั้งของรัฐสภาแห่งใหม่ของสกอตแลนด์ (เพิ่งแยกออกมาจากรัฐสภาของสหราชอาณาจักร) ตั้งอยู่บนถนนสายหลักของเอดินบะระคือ รอยัลไมล์ (The Royal Mile) ซึ่งสร้างตามแนวสันเขาเชื่อมโยงพื้นที่ประวัติศาสตร์ระหว่างปราสาทเอดินบะระและพระราชวัง สถานที่ท่องเที่ยวที่สำคัญ ได้แก่ บริเวณรอยัลไมล์ ปราสาทเอดินบะระ และสวนพฤกษศาสตร์ โดยเฉพาะปราสาทเอดินบะระเป็นปราสาทที่เป็นสถานที่เปิดตัวของหนังสือเรื่องแฮรี่ พอตเตอร์ เนื่องจากมีลักษณะใกล้เคียงฉากเมืองแม่มดในท้องเรื่อง เอดินบะระเป็นเมืองที่เจริญมากที่สุดเมืองหนึ่งในสหราชอาณาจักร มีศูนย์กลางเมืองตั้งอยู่รอบ ๆ ปราสาทเอดินบะระ เมืองเอดินบะระนั้นขึ้นชื่อว่าเป็นเมืองแห่งเทศกาลต่าง ๆ ตัวอย่างงานสำคัญที่ถูกจัดขึ้นในเมืองเอดินบะระ ได้แก่ เทศกาลศิลปะนานาชาติ Fringe ภาพยนตร์ วิทยาศาสตร์ งานหนังสือเด็ก เพลงแจ๊ส และเพลงพื้นบ้าน ในช่วงเทศกาลเหล่านี้ โดยเฉพาะช่วงเดือนสิงหาคมหรือช่วงหน้าร้อนของสหราชอาณาจักร ที่เมืองเอดินบะระจะมีจัดงานเทศกาลประจำปีที่สามารถดึงดูดนักท่องเที่ยวมาที่เมืองนี้เป็นจำนวนมาก จนทำให้เมืองเอดินบะระติดอันดับเมืองที่มีนักท่องเที่ยวมากที่สุดเป็นอันดับสองของสหราชอาณาจักรรองจากลอนดอน นอกจากนั้น เมืองเอดินบะระยังเป็นเมืองที่ได้ชื่อว่าเป็น "เมืองที่เป็นมิตรกับเด็ก" (The Child Friendly City) เนื่องจากภายในเมืองมีสถานที่ท่องเที่ยวที่เหมาะสำหรับเด็กมากมาย เช่น พิพิธภัณฑ์วัยเด็กและเรื่องเล่าของผู้คน (Museum of Childhood and People’s Story) สวนสัตว์ที่มีศูนย์การศึกษาที่เคลื่อนไหวได้จริง (Dynamic Education Centre) โลกแห่งผีเสื้อและแมลง (Butterfly & Insect World) และโลกทะเลลึก (Deep Sea World) เป็นต้น ในแง่ของเศรษฐศาสตร์ เมืองเอดินบะระเป็นเมืองศูนย์กลางทางการเงินที่ใหญ่เป็นอันดับสองของสหราชอาณาจักรรองจากลอนดอนและใหญ่เป็นอันดับห้าของยุโรป โดยมีมหาวิทยาลัยตั้งอยู่ถึงสามแห่งด้วยกันคือ มหาวิทยาลัยเอดินบะระ มหาวิทยาลัยแฮเรียต-วัตต์ และมหาวิทยาลัยเนเปียร์ ภาพ:Edinburgh1.JPG|ปราสาทเอดินบะระ ตั้งอยู่บนยอดเขากลางเมือง ภาพ:Edinburgh2.JPG|อาคารรัฐสภาของสกอตแลนด์ ตั้งอยู่ในเมืองเอดินบะร.

ใหม่!!: ประเทศองค์ประกอบและเอดินบะระ · ดูเพิ่มเติม »

เคียฟ

ียฟ (Київ, Kyyiv, คืยิว; Киев, Kiyev, คียิฟ; Kiev, Kyiv) เป็นเมืองหลวงและเมืองที่ใหญ่ที่สุดของประเทศยูเครน และยังเป็น 1 ใน 4 เมืองเจ้าภาพฟุตบอลชิงแชมป์แห่งชาติยุโรป 2012 ด้วย โดยมีสนามกีฬาโอลิมปิกแห่งชาติเคียฟเป็นสถานที่แข่งขัน ตั้งอยู่ภาคกลางตอนเหนือของประเทศ ริมฝั่งแม่น้ำนีเปอร์ (Dnieper) ในปี พ.ศ. 2544 เคียฟมีประชากร 2,660,401 คน ในปัจจุบันคาดว่าเพิ่มเป็นมากกว่า 3.5 ล้านคน.

ใหม่!!: ประเทศองค์ประกอบและเคียฟ · ดูเพิ่มเติม »

เนวิส

ฝั่งตะวันออกของเนวิส, ป้องกันบางส่วนโดย แนวปะการัง. เบย์ระยะยาวจะเห็นอยู่เบื้องหน้า Main Street, ชาร์ลส, เนวิส ส่วนหนึ่งของชายฝั่งตะวันตกของ Nevis รวมทั้งสถานที่ตั้งของ ฤดูใบไม้ผลิของเนลสัน เนวิส (Nevis) เป็นเกาะใน ทะเลแคริบเบียน ที่เป็นส่วนหนึ่งของเส้นโค้งด้านในของ เกาะลีเวิร์ด ห่วงโซ่ของ หมู่เกาะอินเดียตะวันตก ตั้งอยู่ใกล้ปลายด้านเหนือของเลสเซอร์แอนทิลลีส เกาะนี้ห่างออกไปประมาณ 350 กิโลเมตรจากตะวันออกเฉียงใต้ของเปอร์โตริโก และห่าง 80 กิโลเมตรทางทิศตะวันตกของแอนติกา มีพื้นที่ 93 ตารางกิโลเมตร และมีเมืองหลวงคือ ชาร์ลสทาวน์ เนวิสตั้งอยู่ทางตะวันออกเฉียงใต้ของเกาะเซนต์คิตส์ของสหพันธ์เซนต์คิตส์และเนวิส สองเกาะจะถูกแยกออกด้วยช่องแคบ ยาว 3.22 กิโลเมตร ที่เรียกว่า "The Narrows" เนวิสเป็นรูปกรวยในรูปร่างที่มียอดภูเขาไฟที่รู้จักกันเป็น Nevis Peak ที่ศูนย์กลาง เกาะเป็นฝอยบนชายฝั่งตะวันตกและทางเหนือของหาดทรายตามที่ประกอบด้วยส่วนผสมของทรายปะการังสีขาวด้วยทรายสีน้ำตาลและสีดำซึ่งได้รับการกัดเซาะและชะล้างลงจากหินภูเขาไฟที่กำเนิดขึ้นบนเกาะ ที่ราบชายฝั่งกว้าง 1 กิโลเมตร (0.6 ไมล์) มีน้ำพุน้ำจืดธรรมชาติเช่นเดียวกับที่ไม่ใช้ดื่ม ภูเขาไฟ น้ำพุร้อน โดยเฉพาะอย่างยิ่งตามแนวชายฝั่งตะวันตก.

ใหม่!!: ประเทศองค์ประกอบและเนวิส · ดูเพิ่มเติม »

ขาออกขาเข้า
Hey! เราอยู่ใน Facebook ตอนนี้! »