โลโก้
ยูเนี่ยนพีเดีย
การสื่อสาร
ดาวน์โหลดได้จาก Google Play
ใหม่! ดาวน์โหลด ยูเนี่ยนพีเดีย บน Android ™ของคุณ!
ฟรี
เร็วกว่าเบราว์เซอร์!
 

โรคประสาท

ดัชนี โรคประสาท

รคประสาท (neurosis) เป็นความผิดปกติทางจิตชนิดหนึ่งที่ไม่รุนแรง แสดงอาการทั้งทางร่างกายและจิตใจ ทำให้จิตใจแปรปรวน อ่อนไหวง่าย มักมีความรู้สึกไม่สบายใจ วิตกกังวลอยู่เสมอ ไม่สามารถควบคุมความรู้สึกอารมณ์หรือพฤติกรรมให้เหมือนเดิมได้ อาการทางกายภาพแสดงออกได้ หลายรูปแ.

11 ความสัมพันธ์: บุคลิกวิปลาสกล้ามเนื้อการนอนไม่หลับระบบประสาทความตายคาร์ล ยุงคู่มือการวินิจฉัยและสถิติสำหรับความผิดปกติทางจิตซิกมุนด์ ฟรอยด์ใจสั่นโรคย้ำคิดย้ำทำโรคคอนเวอร์ชัน

บุคลิกวิปลาส

ลิกวิปลาส (depersonalisation (บริติช) หรือ depersonalization (อเมริกัน)) เป็นอาการทางประสาทประเภทหนึ่ง เป็นภาวะที่เกิดตัวตนและบุคลิกภาพขึ้นในจิตใจของบุคคล ทั้ง ๆ ที่บุคคลนั้นมีตัวตนและบุคลิกภาพของตัวเองอยู่แล้ว โดยสิ่งที่เกิดขึ้นใหม่นั้นเป็นกระบวนการรู้จำซึ่งทำหน้าที่เป็นอิสระและแปลกแยกจากสิ่งที่มีอยู่แล้ว บุคคลผู้นั้นจึงประหนึ่งนั่งมองการกระทำของตน แต่ไม่สามารถควบคุมการกระทำนั้นได้ รู้สึกว่าไม่ใช่การกระทำของตนแน่นอน แต่เป็นของใครก็ไม่รู้ พูดไม่ออกบอกไม่ถูก เป็นต้นAmerican Psychiatric Association (2004).

ใหม่!!: โรคประสาทและบุคลิกวิปลาส · ดูเพิ่มเติม »

กล้ามเนื้อ

การจัดลำดับของกล้ามเนื้อโครงสร้าง กล้ามเนื้อ (muscle; มาจากภาษาละติน musculus "หนูตัวเล็ก") เป็นเนื้อเยื่อที่หดตัวได้ในร่างกาย เปลี่ยนแปลงมาจากเมโซเดิร์ม (mesoderm) ของชั้นเนื้อเยื่อในตัวอ่อน และเป็นระบบหนึ่งของร่างกายที่สำคัญต่อการเคลื่อนไหวทั้งหมดของร่างกาย แบ่งออกเป็นกล้ามเนื้อโครงร่าง (skeletal muscle), กล้ามเนื้อเรียบ (smooth muscle), และกล้ามเนื้อหัวใจ (cardiac muscle) ทำหน้าที่หดตัวเพื่อให้เกิดแรงและทำให้เกิดการเคลื่อนที่ (motion) รวมถึงการเคลื่อนที่และการหดตัวของอวัยวะภายใน กล้ามเนื้อจำนวนมากหดตัวได้นอกอำนาจจิตใจ และจำเป็นต่อการดำรงชีวิต เช่น การบีบตัวของหัวใจ หรือการบีบรูด (peristalsis) ทำให้เกิดการผลักดันอาหารเข้าไปภายในทางเดินอาหาร การหดตัวของกล้ามเนื้อที่อยู่ใต้อำนาจจิตใจมีประโยชน์ในการเคลื่อนที่ของร่างกาย และสามารถควบคุมการหดตัวได้ เช่นการกลอกตา หรือการหดตัวของกล้ามเนื้อควอดริเซ็บ (quadriceps muscle) ที่ต้นขา ใยกล้ามเนื้อ (muscle fiber) ที่อยู่ใต้อำนาจจิตใจแบ่งกว้างๆ ได้เป็น 2 ประเภทคือ กล้ามเนื้อ fast twitch และกล้ามเนื้อ slow twitch กล้ามเนื้อ slow twitch สามารถหดตัวได้เป็นระยะเวลานานแต่ให้แรงน้อย ในขณะที่กล้ามเนื้อ fast twitch สามารถหดตัวได้รวดเร็วและให้แรงมาก แต่ล้าได้ง.

ใหม่!!: โรคประสาทและกล้ามเนื้อ · ดูเพิ่มเติม »

การนอนไม่หลับ

การนอนไม่หลับ (insomnia) เป็นความผิดปกติของการนอนหลับซึ่งไม่สามารถนอนหลับหรือนอนหลับได้ไม่นานเท่าที่ต้องการPunnoose Ann, Golub Robert, E Alison.(2012)"Insomnia", "JAMA".

ใหม่!!: โรคประสาทและการนอนไม่หลับ · ดูเพิ่มเติม »

ระบบประสาท

ระบบประสาทของมนุษย์ ระบบประสาทของสัตว์ มีหน้าที่ในการออกคำสั่งการทำงานของกล้ามเนื้อ ควบคุมการทำงานของอวัยวะต่างๆ ในร่างกาย และประมวลข้อมูลที่รับมาจากประสาทสัมผัสต่างๆ และสร้างคำสั่งต่าง ๆ (action) ให้อวัยวะต่าง ๆ ทำงาน (ดูเพิ่มเติมที่ ระบบประสาทกลาง) ระบบประสาทของสัตว์ที่มีสมองจะมีความคิดและอารมณ์ ระบบประสาทจึงเป็นส่วนของร่างกายที่ทำให้สัตว์มีการเคลื่อนไหว (ยกเว้นสัตว์ชั้นต่ำที่ไม่สามารถเคลื่อนไหวได้เช่น ฟองน้ำ) สารเคมีที่มีฤทธิ์ต่อระบบประสาทหรือเส้นประสาท (nerve) เรียกว่า สารที่มีพิษต่อระบบประสาท (neurotoxin) ซึ่งมักจะมีผลทำให้เป็นอัมพาต หรือตายได้.

ใหม่!!: โรคประสาทและระบบประสาท · ดูเพิ่มเติม »

ความตาย

กะโหลกศีรษะมนุษย์ ซึ่งเป็นสัญลักษณ์แห่งความตาย ความตาย หรือ การเสียชีวิต เป็นการสิ้นสุดการทำหน้าที่ทางชีวภาพอันคงไว้ซึ่งสิ่งมีชีวิต ปรากฏการณ์สามัญที่นำมาซึ่งความตาย ได้แก่ โรคชรา การถูกล่า ทุพโภชนาการ โรคภัย อัตวินิบาตกรรม (การฆ่าตัวตาย) ฆาตกรรม ความอดอยาก การขาดน้ำ และอุบัติเหตุ หรือการบาดเจ็บภายในร่างกาย ร่างกายหรือศพของสิ่งมีชีวิตจะเริ่มเน่าสลายไม่นานหลังเสียชีวิต ความตายถือว่าเป็นโอกาสที่เศร้าหรือไม่น่ายินดีโอกาสหนึ่ง สาเหตุมาจากความผูกพันหรือความรักที่มีต่อบุคคลผู้เสียชีวิตนั้น หรือการกลัวความตาย โรคกลัวศพ ความกังวลใจ ความเศร้าโศก ความเจ็บปวดทางจิต ภาวะซึมเศร้า ความเห็นอกเห็นใจ ความสงสาร หรือความโดดเดี่ยว สาเหตุการตายที่พบบ่อยที่สุดคือโรคหัวใจ ตามมาด้วยโรคหลอดเลือดสมอง และโรคเกี่ยวกับเส้นเลือดในสมอง และลำดับที่สามคือภาวะติดเชื้อในระบบทางเดินหายใจตอนล่าง.

ใหม่!!: โรคประสาทและความตาย · ดูเพิ่มเติม »

คาร์ล ยุง

ร์ล กุสทัฟ ยุง (Carl Gustav Jung; 26 กรกฎาคม 1875 – 6 มิถุนายน 1961) เป็นนักจิตบำบัดและจิตแพทย์ชาวสวิส ผู้ก่อตั้งสำนักจิตวิทยาวิเคราะห์ ยุงเสนอและพัฒนามโนทัศน์บุคลิกภาพแบบแสดงตัวและเก็บตัว แม่แบบ (Archetype) และจิตไร้สำนึกร่วม (Collective Unconscious) ผลงานของเขามีอิทธิพลต่อจิตเวชศาสตร์และศาสนา วรรณกรรม และสาขาที่เกี่ยวข้อง ยุงสร้างมโนทัศน์ทางจิตวิทยาอันเป็นที่รู้จักกันกว้างขวางที่สุด รวมทั้งต้นแบบ จิตไร้สำนึกร่วม ปม (complex) และประสบการณ์เหตุการณ์ซ้อน (Synchronicity) ตัวชี้วัดของไมเออร์ส-บริกส์ (MBTI) เครื่องมือจิตวิทยาที่ได้รับความนิยมมากในการทำความเข้าใจบุคลิกภาพแบบต่างๆก็พัฒนามาจากทฤษฎีของยุง อันที่จริงยุงกล่าวว่าทุกคนมีแนวโน้มจะเป็นทั้งคนเก็บตัว (Introvert) และแสดงตัว (Extrovert) ส่วนหน้าที่การทำงานของจิตต่างๆคือ การคิด, ความรู้สึก, ผัสสาการ และ ญาณหยั่งรู้ และมนุษย์เราควรพัฒนาตนโดยการใช้หน้าที่ทางจิตเหล่านั้นให้ครบและสมดุล เพื่อจะได้มีชีวิตที่สมบูรณ์ทั่วถ้วน ยุงเล่าว่าการพัฒนาบุคลิกภาพเพียงด้านเดียว เช่น ตีกรอบบุคลิกภาพตัวเองให้เข้ากับแม่แบบบุคลิกภาพแบบใดแบบหนึ่งมากเกินไป อาจจะเป็นหัวโขนทางหน้าที่การงานที่เราใส่ อาจเป็นกรอบผู้มีคุณธรรมตามหลักจารีตจนทำให้มีทัศนคติขาวดำสุดโต่งไปด้านเดียว หรือแม้แต่การใช้หน้าที่การทำงานบางอย่างของจิตมากจนเกินไป ทำให้บุคลิกภาพขาดความสมดุล คนที่ใช้ชีวิตด้วยทัศนคติสุดโต่งด้านเดียวมามาก ถึงเวลาหนึ่งจะรู้สึกว่าชีวิตตัวเองกลวงเปล่า อึดอัดคับข้อง มีอะไรขาดหายไม่สมบูรณ์ ทว่ายุงสามารถใช้การวิเคราะห์ทางจิต เพื่อให้บุคคลนั้นตระหนักรู้ได้ว่าเขาละเลยบุคลิกภาพด้านไหนของตนไป ซึ่งการวิเคราะห์นี้สามารถทำได้ผ่านทั้ง Active Imagination หรือผ่านการทำความเข้าใจความฝัน ความฝันนั้นก็เป็นสัญลักษณ์อย่างหนึ่งที่จะทำให้มนุษย์สามารถเข้าถึงข้อมูลในจิตไร้สำนึกของตนได้ ใน Approaching the Unconscious ยุงกล่าวว่า "มนุษย์ไม่อาจเข้าใจอะไรหลายอย่างได้อย่างสมบูรณ์ จึงต้องใช้สัญลักษณ์ ทว่าการใช้สัญลักษณ์แบบรู้เนื้อรู้ตัวเป็นแค่ด้านหนึ่งของจิต จริงๆแล้วจิตมนุษย์สามารถสร้างสัญลักษณ์โดยไร้สำนึกและฉับพลัน ในรูปแบบของความฝัน" เมื่อเราทราบว่าอะไรเป็นสิ่งที่ละเลยไปจากบุคลิกภาพก็สามารถที่จะพัฒนาได้ เช่น อาจะใช้ "ความรู้สึก" มากกว่า "ความคิด" หรือใช้ "ความหยั่งรู้จากพลังงานทางจิตสู่โลกด้านใน (Introverted Intuition)" มากกว่าความรู้จาก "ประสาทสัมผัสจากโลกภายนอก (Extroverted Sensing)" เราก็สามารถจะพัฒนาด้านที่ละเลยให้เกิดความสมดุลและบริบูรณ์ขึ้น หรือถ้าเราใส่หัวโขนคุณธรรมมากไปจนมองเห็นแต่ด้านชั่วร้ายของคนอื่น เรียกอีกอย่างว่าฉายเงาของตน (project one's Shadow) ไปที่ผู้อื่น เราก็สามารถกลับมามองดูจิต เฉกเช่นการภาวนาให้เห็นอีกสภาวะที่เราไม่เคยรับรู้ในจิตตนมาก่อน ซึ่งจะทำให้เข้าใจตนเองได้อย่างสมบูรณ์ขึ้น เมื่อสิ่งที่ไม่เคยถูกรู้ ถูกรู้ ก็เรียกได้ว่า มันออกมาจากจิตไร้สำนึกสู่จิตสำนึกรู้แล้ว กระบวนการแบบนี้สามารถจะเกิดต่อเนื่องไปเรื่อยๆ บุคลิกภาพของเราจะได้จัดตำแหน่งศูนย์กลางใหม่เรื่อยๆ โดยมีการหลอมรวมเอาข้อมูลในจิตไร้สำนึกเข้ามาไว้ตรงกลาง เสมือนภาพวงมณฑลที่ผสานรวมขั้วตรงข้ามไว้ได้อย่างกลมกลืนและบริบูรณ์ เราอาจเรียกกระบวนการดังกล่าวว่า "การกลายเป็นปัจเจก" (Individuation) ซึ่งแน่นอนว่าเราย่อมพบกับความโดดเดี่ยวในกระบวนการ ยกตัวอย่างการวิวัฒน์บุคลิกภาพตัวเองในบริบทของสังคม จากเดิมเราอาจต้องทำตามแบบบุคลิกภาพตามคนอื่นในสังคมไปเรื่อย อะไรที่คนอื่นบอกว่าดีก็ต้องทำอย่างนั้นเพื่อให้เป็นที่ยอมรับ แน่นอนว่าจะมีหลายๆด้านที่เราต้องเก็บงำจนถึงขั้นลืมไปว่าเราก็มีสภาวะแบบนั้นเหมือนกัน เมื่อใดก็ตามเราเริ่มตระหนักในคุณลักษณะที่เราละเลยไป คนในสังคมอาจจะเริ่มมองว่าเราเป็นแกะดำ เพราะฉะนั้นมันเป็นกระบวนการที่อาจแยกเราจากฝูงชน และอาจพบความรู้สึกเดียวดายในเบื้องแรก ถ้าเปรียบกับการเดินทางของวีรบุคคลตามแนวคิดของ Joseph Campbell ซึ่งปรากฏใน A Hero with a Thousand Faces แล้วความโดดเดี่ยวนั้นปรากฏในช่วงแยกจากที่มั่นอันปลอดภัยของตนหรือ "Departure" นั่นเอง ยุงมองว่าจิตใจของมนุษย์ "เลื่อมใสในศาสนาโดยธรรมชาติ" และทำให้ความเลื่อมใสในศาสนานี้เป็นความสนใจของการค้นพบของเขา ยุงเป็นหนึ่งในผู้มีส่วนในการวิเคราะห์และตีความสัญลักษณ์ความฝันร่วมสมัยที่รู้จักกันดีที่สุด ผลงานส่วนใหญ่ในชีวิตของเขาอยู่ในสาขาการเล่นแร่แปรธาตุหรือรสายนเวท ปรัชญาตะวันออกและตะวันตก ดาราศาสตร์และสังคมวิทยา เช่นเดียวกับวรรณกรรมและศิลปะ ในส่วนของการเล่นแร่แปรธาตุนั้น โดยผิวเผินแล้วเราจะเห็นว่ามีความพยายามจะแปลงเหล็กให้กลายเป็นทอง (ภาษาลาตินเรียกทองว่า Aurum) และเป็นทองที่ไม่ธรรมดาด้วย ดั่งคำที่พวกเขากล่าวว่า "Aurum nostrum non est aurum vulgi" ด้วยว่าความมุ่งหมายที่ลึกลงไปของนักเล่นแร่แปรธาตุคือ พวกเขาพยายามทำสิ่งต่างๆนอกเหนือไปจากธาตุที่เอามาทดลอง ให้สมบูรณ์เท่าที่สารัตถะของสิ่งเหล่านั้นจะเป็นได้ นั่นหมายรวมถึงโลกภายในของมนุษย์ที่เชื่อมโยงอยู่กับสสาร เมื่อมีการกระทำบางอย่างต่อสสารในโลกภายนอก โลกภายในของนักเล่นแร่แปรธาตุก็ได้รับผลกระทบด้วย เสมือนว่าโลกภายในของพวกเขาถูกโปรเจกไปที่สสารภายนอก เพราะฉะนั้น เมื่อเกิดกระบวนการเปลี่ยนแปลงสสารไปสู่ธาตุบริสุทธิ์ จิตใจของนักเล่นแร่แปรธาตุก็เปลี่ยนด้วย พวกเขาใช้กระบวนการดังกล่าวเพื่อภาวนาจนเกิดการพัฒนาบุคลิกภาพภายในและเข้าถึงความบริบูรณ์ดั่งธาตุทองคำ ดังนั้นกระบวนการนี้จึงเหมือนกับกระบวนการกลายเป็นปัจเจกของยุง (Individuation).

ใหม่!!: โรคประสาทและคาร์ล ยุง · ดูเพิ่มเติม »

คู่มือการวินิจฉัยและสถิติสำหรับความผิดปกติทางจิต

ู่มือการวินิจฉัยและสถิติสำหรับความผิดปกติทางจิต (Diagnostic and Statistical Manual of Mental Disorders, ย่อ: DSM) เป็นหลักเกณฑ์การวินิจฉัยความผิดปกติทางจิตซึ่งจัดทำโดยสมาคมจิตเวชศาสตร์สหรัฐอเมริกา (American Psychiatric Association) ซึ่งถูกอ้างอิงอย่างกว้างขวางโดยแพทย์ นักวิจัย ผู้ผลิตและผู้ตรวจสอบคุณภาพยาในทางจิตเวช และบริษัทประกันภัยทั้งในสหรัฐอเมริกาและที่อื่นๆ ทั่วโลก รวมทั้งประเทศไทย ในปัจจุบันฉบับปรับปรุงล่าสุดคือเป็นฉบับที่ 4 เรียกว่า DSM-IV ในปี พ.ศ. 2537 และมีฉบับปรับปรุงครั้งย่อยในปี พ.ศ. 2543 นอกเหนือจากเกณฑ์การวินิจฉัยดังกล่าว ยังมีเกณฑ์วินิจฉัยอีกอย่างหนึ่งที่เป็นที่นิยมใช้มากเช่นกันในประเทศไทยและหลายประเทศ คือส่วนของความผิดปกติทางจิตในบัญชีจำแนกทางสถิติระหว่างประเทศของโรคและปัญหาสุขภาพที่เกี่ยวข้อง (International Classification of Diseases and Related Health Problems, ย่อ: ICD) ซึ่งมีการจัดระบบใกล้เคียงกันและแตกต่างกันในบางรายละเอี.

ใหม่!!: โรคประสาทและคู่มือการวินิจฉัยและสถิติสำหรับความผิดปกติทางจิต · ดูเพิ่มเติม »

ซิกมุนด์ ฟรอยด์

ซิกมุนด์ ฟรอยด์ (Sigmund Freud, IPA:; 6 พฤษภาคม ค.ศ. 1856 — 23 กันยายน ค.ศ. 1939) เป็นประสาทแพทย์ชาวออสเตรีย ผู้เป็นที่รู้จักในฐานะบิดาแห่งจิตวิเคราะห์ บิดามารดาของฟรอยด์ยากจน แต่ได้ส่งเสียให้ฟรอยด์ได้รับการศึกษา เขาสนใจกฎหมายเมื่อครั้งเป็นนักเรียน แต่เปลี่ยนไปศึกษาแพทยศาสตร์แทน โดยรับผิดชอบการวิจัยโรคสมองพิการ ภาวะเสียการสื่อความ และจุลประสาทกายวิภาคศาสตร์ เขาเดินหน้าเพื่อพัฒนาทฤษฎีเกี่ยวกับจิตไร้สำนึกและกลไกของการกดเก็บ และตั้งสาขาจิตบำบัดด้วยวาจา โดยตั้งจิตวิเคราะห์ ซึ่งเป็นวิธีการทางคลินิกเพื่อรักษาจิตพยาธิวิทยาผ่านบทสนทนาและระหว่างผู้รับการรักษากับนักจิตวิเคราะห์Ford & Urban 1965, p. 109 แม้จิตวิเคราะห์จะใช้เป็นการปฏิบัติเพื่อการรักษาลดลง แต่ก็ได้บันดาลใจแก่การพัฒนาจิตบำบัดอื่นอีกหลายรูปแบบ ซึ่งบางรูปแบบแตกออกจากแนวคิดและวิธีการดั้งเดิมของฟรอยด์ ฟรอยด์ตั้งสมมุติฐานการมีอยู่ของ libido (พลังงานซึ่งให้กับกระบวนการและโครงสร้างทางจิต) พัฒนาเทคนิคเพื่อการรักษา เช่น การใช้ความสัมพันธ์เสรี (ซึ่งผู้เข้ารับการรักษารายงานความคิดของตนโดยไม่มีการสงวน และต้องไม่พยายามเพ่งความสนใจขณะทำเช่นนั้น) ค้นพบการถ่ายโยงความรู้สึก (กระบวนการที่ผู้รับการรักษาย้ายที่ความรู้สึกของตนจากประสบการณ์ภาพในอดีตของชีวิตไปยังนักจิตวิเคราะห์) และตั้งบทบาทศูนย์กลางของมันในกระบวนการวิเคราะห์ และเสนอว่า ฝันช่วยรักษาการหลับ โดยเป็นเครื่องหมายของความปรารถนาที่สมหวัง ที่หาไม่แล้วจะปลุกผู้ฝัน เขายังเป็นนักเขียนบทความที่มีผลงานมากมาย โดยใช้จิตวิเคราะห์ตีความและวิจารณ์วัฒนธรรม จิตวิเคราะห์ยังทรงอิทธิพลอยู่ในทางจิตเวชศาสตร์ และต่อมนุษยศาสตร์โดยรวม แม้ผู้วิจารณ์บางคนจะมองว่าเป็นวิทยาศาสตร์ลวงโลกและกีดกันทางเพศ การศึกษาเมื่อ..

ใหม่!!: โรคประสาทและซิกมุนด์ ฟรอยด์ · ดูเพิ่มเติม »

ใจสั่น

ใจสั่น (palpitation) เป็นอาการอย่างหนึ่ง หมายถึงการที่ผู้ป่วยรู้สึกถึงการเต้นของหัวใจ อาจมีสาเหตุจากหัวใจเต้นผิดจังหวะ เช่น เต้นเร็วผิดปกติ หรือไม่เต้นเป็นช่วงๆ หรืออาจเป็นจากความวิตกกังวลโดยไม่มีสาเหตุจากโรคทางกาย เมื่อมีอาการใจสั่นอาจมีอาการอื่นร่วม เช่น เวียนศีรษะ หายใจลำบาก เป็นต้น โรคที่ทำให้มีอาการใจสั่นมีหลายอย่าง นับรวมถึงโรคหลอดเลือดหัวใจ หอบหืด ถุงลมโป่งพอง มะเร็งปอด และอื่นๆ อีกมาก หมวดหมู่:หัวใจเต้นผิดจังหวะ หมวดหมู่:อาการและอาการแสดงที่เกี่ยวกับระบบไหลเวียนโลหิต.

ใหม่!!: โรคประสาทและใจสั่น · ดูเพิ่มเติม »

โรคย้ำคิดย้ำทำ

รคย้ำคิดย้ำทำ (Obsessive–compulsive disorder หรือ OCD) คือความผิดปกติทางจิตซึ่งทำให้ผู้ป่วยต้องตรวจสอบสิ่งรอบตัวซ้ำ ๆ, มีความคิดผุดขึ้นมา, หรือมีความรู้สึกอยากทำในสิ่งที่ทำไปแล้วซ้ำไปซ้ำมา --> ผู้ป่วยไม่สามารถควบคุมพฤติกรรมและความคิดของตนเองได้ --> พฤติกรรมซึ่งพบเห็นได้บ่อย อาทิ การล้างมือ, การนับสิ่งของ, การตรวจสอบว่าประตูล็อกแล้วหรือยัง --> บางรายรู้สึกยากลำบากในการทิ้งสิ่งของ --> โดยพฤติกรรมเหล่านี้ส่งผลเสียต่อชีวิตประจำวันของผู้ป่วย หลายครั้งพฤติกรรมเหล่านี้กินเวลาในแต่ละวันไม่น้อยกว่าหนึ่งชั่วโมง ผู้ใหญ่หลายคนรู้ตัวว่าพฤติกรรมของพวกเขาไม่มีเหตุผล ความเจ็บป่วยนั้นเกี่ยวเนื่องกับอาการกระตุกบนใบหน้า, โรควิตกกังวล และการฆ่าตัวต.

ใหม่!!: โรคประสาทและโรคย้ำคิดย้ำทำ · ดูเพิ่มเติม »

โรคคอนเวอร์ชัน

รคคอนเวอร์ชัน เป็นภาวะที่ทำให้ผู้ป่วยมาพบแพทย์ด้วยอาการทางระบบประสาท เช่น อาการชา อ่อนแรง หรืออาการคล้ายชัก แต่ไม่มีคำอธิบายทางประสาทวิทยาที่อธิบายอาการของผู้ป่วยได้ และถูกถือว่าปัญหาของผู้ป่วยเกิดจากการตอบสนองทางจิตวิทยาต่อความเครียด โรคดิสโซสิเอทีฟเป็นการวินิจฉัยทางจิตเวชที่ปรากฏอยู่ในบัญชีจำแนกทางสถิติระหว่างประเทศของโรคและปัญหาสุขภาพที่เกี่ยวข้อง (International Statistical Classification of Diseases and Related Health Problems - ICD-10) และ Diagnostic and Statistical Manual of Mental Disorders 4th edition (DSM-IV) เดิมเคยรู้จักในชื่อโรคว่า "ฮิสทีเรีย" (hysteria) เชื่อกันว่าโรคนี้เป็นที่รู้จักกันมาแล้วนับพันปี แม้เพิ่งจะเป็นที่รู้จักกว้างขวางในช่วงปลายคริสต์ศตวรรษที่ 19 เมื่อนักประสาทวิทยา Jean-Martin Charcot และจิตแพทย์ Pierre Janet และ Sigmund Freud ได้วิจัยเรื่องนี้ คำว่า "คอนเวอร์ชัน" (conversion - การเปลี่ยนแปลง) มีที่มาจากแนวคิดของฟรอยด์ที่ว่าความกังวลถูก "เปลี่ยน" (converted) ให้กลายเป็นอาการทางกาย หลังจากที่ถูกเชื่อว่าหายไปจากประเทศตะวันตกแล้วในศตวรรษที่ 20 งานวิจัยบางชิ้นชี้นำว่าโรคนี้ยังพบได้บ่อยไม่ต่างจากเดิม.

ใหม่!!: โรคประสาทและโรคคอนเวอร์ชัน · ดูเพิ่มเติม »

เปลี่ยนเส้นทางที่นี่:

Neurosisประสาท

ขาออกขาเข้า
Hey! เราอยู่ใน Facebook ตอนนี้! »