โลโก้
ยูเนี่ยนพีเดีย
การสื่อสาร
ดาวน์โหลดได้จาก Google Play
ใหม่! ดาวน์โหลด ยูเนี่ยนพีเดีย บน Android ™ของคุณ!
ติดตั้ง
เร็วกว่าเบราว์เซอร์!
 

ประวัติศาสตร์เอเชียกลาง

ดัชนี ประวัติศาสตร์เอเชียกลาง

แผนที่เอเชียกลางแสดงเขตแดนตามคำนิยามที่ต่างกัน 3 แบบ ''Equus przewalskii'' หรือม้าป่ามองโกเลีย, หรือทาคี, อาจเป็นบรรพบุรุษของม้าบ้าน. ประวัติศาสตร์เอเชียกลาง คือ ประวัติศาสตร์ของดินแดนเอเชียกลาง ซึ่งเป็นบริเวณที่ทำการเกษตรได้ยากและอยู่ห่างไกลจากทะเล ทำให้ถูกตัดขาดจากเส้นทางการค้า เมืองใหญ่ๆจึงเกิดขึ้นน้อย ชนร่อนเร่ที่เชี่ยวชาญการขี่ม้าเป็นกลุ่มชนหลักในทุ่งหญ้าสเตปป์ และความสัมพันธ์ระหว่างชนร่อนเร่และกลุ่มชนอื่นๆในเอเชียกลางเต็มไปด้วยความขัดแย้ง ทักษะในการขี่ม้าของพวกเขาทำให้กลายเป็นนักรบที่มีประสิทธิภาพกลุ่มหนึ่งของโลก ผู้นำเผ่าจะเป็นผู้จัดการนำเผ่าย่อย ๆ มารวมกันเป็นกองทัพ ตัวอย่างของกลุ่มชนเหล่านี้ เช่น ชาวฮันที่เข้ารุกรานยุโรป กลุ่มชนเตอร์กิกที่อพยพเข้าสู่ทรานโซเซียนา(Transoxiana) พวกหูทั้ง 5 ชนกลุ่ม(Five Barbarians)ที่โจมตีจักรวรรดิฮั่น และชาวมองโกลที่มีอิทธิพลในเอเชียและยุโรป ความโดดเด่นของชนร่อนเร่สิ้นสุดลงในพุทธศตวรรษที่ 21 เมื่ออาวุธสมัยใหม่เข้ามามีบทบาทในสงคราม จักรวรรดิรัสเซีย ราชวงศ์หมิงของจีน และมหาอำนาจอื่นเข้าครอบครองเอเชียกลางทั้งหมดในพุทธศตวรรษที่ 24 หลังการปฏิวัติรัสเซี..

49 ความสัมพันธ์: ชาวฮันชาวเปอร์เซียชนร่อนเร่พันธุศาสตร์กลุ่มชนเตอร์กิกกลุ่มภาษาอินโด-อิหร่านการปฏิวัติรัสเซียภาษาอุยกูร์มองโกล (กลุ่มชาติพันธุ์)มองโกเลียราชวงศ์หมิงราชวงศ์ฮั่นราชวงศ์ถังราชอาณาจักรมาเกโดนีอาศาสนามาณีกีศาสนาอิสลามศาสนาคริสต์ศาสนาโซโรอัสเตอร์สหภาพโซเวียตสาธารณรัฐนอฟโกรอดสเตปป์อะเล็กซานเดรียเอสคาเทอเล็กซานเดอร์มหาราชจักรวรรดิจักรวรรดิกุษาณะจักรวรรดิมองโกลจักรวรรดิรัสเซียจักรวรรดิอะคีเมนิดจักรวรรดิข่านจักกาไทจักรวรรดิแซสซานิดจักรวรรดิเปอร์เชียทวีปยุโรปทะเลข้าวบาร์เลย์ข้าวสาลีตระกูลภาษาอินโด-ยูโรเปียนตีมูร์ซฺยงหนูประเทศอัฟกานิสถานประเทศอุซเบกิสถานประเทศทาจิกิสถานประเทศคาซัคสถานประเทศคีร์กีซสถานประเทศเติร์กเมนิสถานปัญจาบแกรนด์ดัชชีมอสโกเส้นทางสายไหมเอเชียกลางเจงกีส ข่าน

ชาวฮัน

จักรวรรดิฮันทางตะวันตกที่ครอบคลุมตั้งแต่สเต็ปป์ของเอเชียกลางไปจนถึงเยอรมนีปัจจุบันและตั้งแต่ทะเลดำไปจนถึงทะเลบอลติก ชาวฮัน (Huns) หรือ ชาวซฺยง (匈人 ซฺยงเหริน) เป็นกลุ่มชาติพันธ์เร่ร่อนในทุ่งกว้างที่ปรากฏตั้งแต่เลยจากแม่น้ำวอลกาออกไปผู้โยกย้ายเข้ามาตั้งถิ่นฐานในยุโรปตั้งแต่ราว..

ใหม่!!: ประวัติศาสตร์เอเชียกลางและชาวฮัน · ดูเพิ่มเติม »

ชาวเปอร์เซีย

วเปอร์เซีย (Persian people) เป็นกลุ่มชาติพันธ์ในกลุ่มชนอิหร่านที่พูดภาษาเปอร์เซียและส่วนใหญ่อาศัยอยู่ในประเทศอิหร่าน.

ใหม่!!: ประวัติศาสตร์เอเชียกลางและชาวเปอร์เซีย · ดูเพิ่มเติม »

ชนร่อนเร่

นร่อนเร่ในท้องทุ่งตั้งแค้มพ์ใกล้นัมโซ (Namtso) ในปี ค.ศ.2005 ราว 40% ของชาวทิเบตเป็นชนร่อนเร่หรือชนกึ่งเร่ร่อนhttp://news.bbc.co.uk/2/shared/spl/hi/picture_gallery/06/asia_pac_tibetan_nomads/html/1.stm In pictures: Tibetan nomads BBC News ชนร่อนเร่ (νομάδες, Nomad หรือ Nomadic people) คำว่า “Nomad” มาจาก “nomádes” ที่แปลว่า “ผู้นำฝูงสัตว์เลี้ยงในทุ่ง” คือชุมชนที่ย้ายที่อยู่จากที่หนึ่งไปอีกที่หนึ่งแทนที่จะตั้งถิ่นฐานเป็นหลักแหล่งอย่างถาวรในที่ใดที่หนึ่ง ชนร่อนเร่มีด้วยกันราว 30-40 ล้านคนทั่วโลก อารธรรมหลายวัฒนธรรมเดิมมาจากการเป็นชนร่อนเร่ แต่การเป็นชนร่อนเร่เป็นวิถีชีวิตที่เป็นไปได้ยากขึ้นในประเทศอุตสาหกรรม ชนร่อนเร่แบ่งออกเป็นสามกลุ่ม: ผู้ล่าสัตว์และหาอาหาร (hunter-gatherer) ผู้ย้ายถิ่นฐานระหว่างบริเวณที่ล่าสัตว์ต่างๆ, ผู้หากินกับทุ่งเลี้ยงสัตว์ (pastoralism) ผู้ย้ายถิ่นฐานระหว่างบริเวณทุ่งเลี้ยงสัตว์ต่างๆ และ “ผู้ร่อนเร่ตามแหล่งหากิน” (peripatetic nomads) ผู้ย้ายถิ่นฐานระหว่างแหล่งงานหรือแหล่งการค้า ชนร่อนเร่ที่หากินด้วยการล่าสัตว์เป็นกลุ่มชนที่เก่าแก่ที่สุดในประวัติศาสตร์ของมนุษย์ชาติที่ดำรงชีวิตโดยการหากินจากสิ่งที่หาได้จากป่าที่พำนักอาศัยตามฤดูกาล ชนร่อนเร่ที่หากินด้วยการเลี้ยงสัตว์ย้ายถิ่นฐานไปตามทุ่งที่มีอาหารดีสำหรับสัตว์เลี้ยงและทิ้งทุ่งเก่าไว้ให้ฟื้นตัวก่อนที่จะกลับมาใหม่ “ชนร่อนเร่หากิน” เป็นกลุ่มที่พบในประเทศอุตสาหกรรมที่ย้ายถิ่นฐานตามแต่ที่ใดจะมีทางทำมาหากิน.

ใหม่!!: ประวัติศาสตร์เอเชียกลางและชนร่อนเร่ · ดูเพิ่มเติม »

พันธุศาสตร์

ีเอ็นเอเป็นโมเลกุลพื้นฐานของการถ่ายทอดลักษณะทางพันธุกรรม ดีเอ็นเอแต่ละสายประกอบขึ้นจากสายโซ่นิวคลีโอไทด์จับคู่กันรอบกึ่งกลางกลายเป็นโครงสร้างที่ดูเหมือนบันไดซึ่งบิดเป็นเกลียว พันธุศาสตร์ (genetics) เป็นอีกสาขาหนึ่งของชีววิทยา ศึกษาเกี่ยวกับยีน การถ่ายทอดลักษณะทางพันธุกรรม และความหลากหลายทางพันธุกรรมของสิ่งมีชีวิต พันธุศาสตร์ว่าด้วยโครงสร้างเชิงโมเลกุลและหน้าที่ของยีน พฤติกรรมของยีนในบริบทของเซลล์สิ่งมีชีวิต (เช่น ความเด่นและอีพิเจเนติกส์) แบบแผนของการถ่ายทอดลักษณะจากรุ่นสู่รุ่น การกระจายของยีน ความแตกต่างทางพันธุกรรมและการเปลี่ยนแปลงของพันธุกรรมในประชากรของสิ่งมีชีวิต (เช่นการศึกษาหาความสัมพันธ์ของยีนตลอดทั่วทั้งจีโนม) เมื่อถือว่ายีนเป็นพื้นฐานของสิ่งมีชีวิตทั้งหมด พันธุศาสตร์จึงเป็นวิชาที่นำไปใช้ได้กับสิ่งมีชีวิตทุกชนิด ทั้งไวรัส แบคทีเรีย พืช สัตว์ และมนุษย์ (เวชพันธุศาสตร์) ได้มีการสังเกตมาแต่โบราณแล้วว่าสิ่งมีชีวิตมีการถ่ายทอดลักษณะจากรุ่นสู่รุ่น ซึ่งเป็นความรู้ที่มนุษย์ใช้ในการปรับปรุงพันธุ์พืชและสัตว์ด้วยวิธีการคัดเลือกพันธุ์ อย่างไรก็ดี ความรู้พันธุศาสตร์สมัยใหม่ที่ว่าด้วยการพยายามทำความเข้าใจกระบวนการการถ่ายทอดลักษณะเช่นนี้เพิ่งเริ่มต้นในคริสต์ศตวรรษที่ 19 โดยเกรเกอร์ เมนเดล แม้เขาไม่สามารถศึกษาเจาะลึกไปถึงกระบวนการทางกายภาพของการถ่ายทอดลักษณะทางพันธุกรรม แต่ก็ค้นพบว่าลักษณะที่ถ่ายทอดนั้นมีแบบแผนจำเพาะ กำหนดได้ด้วยหน่วยพันธุกรรม ซึ่งต่อมาถูกเรียกว่า ยีน ยีนคือส่วนหนึ่งของสายดีเอ็นเอซึ่งเป็นโมเลกุลที่ประกอบด้วยนิวคลีโอไทด์สี่ชนิดเชื่อมต่อกันเป็นสายยาว ลำดับนิวคลีโอไทด์สี่ชนิดนี้คือข้อมูลทางพันธุกรรมที่ถูกเก็บและมีการถ่ายทอดในสิ่งมีชีวิต ดีเอ็นเอตามธรรมชาติอยู่ในรูปเกลียวคู่ โดยนิวคลีโอไทด์บนแต่ละสายจะเป็นคู่สมซึ่งกันและกันกับนิวคลีโอไทด์บนสายดีเอ็นเออีกสายหนึ่ง แต่ละสายทำหน้าที่เป็นแม่แบบในการสร้างสายคู่ขึ้นมาได้ใหม่ นี่คือกระบวนการทางกายภาพที่ทำให้ยีนสามารถจำลองตัวเอง และถ่ายทอดไปยังรุ่นลูกได้ ลำดับของนิวคลีโอไทด์ในยีนจะถูกแปลออกมาเป็นสายของกรดอะมิโน ประกอบกันเป็นโปรตีน ซึ่งลำดับของกรดอะมิโนที่มาประกอบกันเป็นโปรตีนนั้นถ่ายทอดออกมาจากลำดับของนิวคลีโอไทด์บนดีเอ็นเอ ความสัมพันธ์ระหว่างลำดับของนิวคลีโอไทด์และลำดับของกรดอะมิโนนี้เรียกว่ารหัสพันธุกรรม กรดอะมิโนแต่ละชนิดที่ประกอบขึ้นมาเป็นโปรตีนช่วยกำหนดว่าสายโซ่ของกรดอะมิโนนั้นจะพับม้วนเกิดเป็นโครงสร้างสามมิติอย่างไร โครงสร้างสามมิตินี้กำหนดหน้าที่ของโปรตีนนั้น ๆ ซึ่งโปรตีนมีหน้าที่ในกระบวนการเกือบทั้งหมดของเซลล์สิ่งมีชีวิต การเปลี่ยนแปลงที่เกิดกับดีเอ็นเอในยีนยีนหนึ่ง อาจทำให้เกิดการเปลี่ยนแปลงลำดับกรดอะมิโนในโปรตีน เปลี่ยนโครงสร้างโปรตีน เปลี่ยนการทำหน้าที่ของโปรตีน ซึ่งอาจส่งผลต่อเซลล์และสิ่งมีชีวิตนั้น ๆ ได้อย่างมาก แม้พันธุกรรมของสิ่งมีชีวิตจะมีบทบาทมากในการกำหนดลักษณะและพฤติกรรมของสิ่งมีชีวิต แต่ผลสุดท้ายแล้วตัวตนของสิ่งมีชีวิตหนึ่ง ๆ เป็นผลที่ได้จากการผสมผสานกันระหว่างพันธุกรรมและสิ่งแวดล้อมที่สิ่งมีชีวิตนั้น ๆ ประสบ ตัวอย่างเช่น ขนาดของสิ่งมีชีวิตไม่ได้ถูกกำหนดโดยยีนเพียงอย่างเดียว แต่ได้รับผลจากอาหารและสุขภาพของสิ่งมีชีวิตนั้น ๆ ด้วย เป็นต้น.

ใหม่!!: ประวัติศาสตร์เอเชียกลางและพันธุศาสตร์ · ดูเพิ่มเติม »

กลุ่มชนเตอร์กิก

กลุ่มชนเตอร์กิก (Turkic peoples) เป็นกลุ่มชนยูเรเชียที่ตั้งถิ่นฐานอยู่ทางตอนเหนือ กลาง และตะวันตกของยูเรเชียผู้พูดภาษาที่อยู่ในตระกูลภาษากลุ่มเตอร์กิก, Encyclopædia Britannica, Online Academic Edition, 2008 ชนในกลุ่มชนเตอร์กิกมีลักษณะวัฒนธรรมและประวัติศาสตร์บางอย่างร่วมกัน คำว่า “เตอร์กิก” เป็นคำที่ใช้แทนกลุ่มชาติพันธุ์/ภาษา (ethno-linguistic group) ของชาติพันธุ์ของสังคมที่ยังคงมีอยู่ในปัจจุบันเช่นชาวอาเซอร์ไบจาน, ชาวคาซัคสถาน, ชาวตาตาร์, ชาวคีร์กีซ, ชาวตุรกี, ชาวเติร์กเมน, ชาวอุยกูร์, ชาวอุซเบกิสถาน, ชาวฮาซารา, ชาวการากัลปัก ชาวโนกาย ชาวการาเชย์-บัลการ์ ชาวตาตาร์ไซบีเรีย ชาวตาตาร์ไครเมีย ชาวชูวาช ชาวตูวัน ชาวบัชกีร์ ชาวอัลไต ชาวยาคุตส์ ชาวกากาอุซ และรวมทั้งประชาชนในรัฐและจักรวรรดิเตอร์กิกในอดีตเช่นฮั่น, บัลการ์, คูมัน, ชนอาวาร์, เซลจุค, คาซาร์, ออตโตมัน, มามลุค, ติมูริด และอาจจะรวมทั้งซฺยงหนู (Xiongnu).

ใหม่!!: ประวัติศาสตร์เอเชียกลางและกลุ่มชนเตอร์กิก · ดูเพิ่มเติม »

กลุ่มภาษาอินโด-อิหร่าน

กลุ่มภาษาอินโด-อิหร่าน หรืออินโด-อิราเนียนเป็นสาขาทางตะวันออกสุดของตระกูลภาษาอินโด-ยูโรเปียนประกอยด้วย 3 กลุ่มย่อย คือ กลุ่มภาษาอินโด-อารยัน กลุ่มภาษาอิราเนียน และกลุ่มภาษาดาร์ดิก มีการใช้คำว่า "อารยัน" ในการอ้างถีงกลุ่มภาษาอินโด-อิหร่านจากทฤษฎีส่วนใหญ่เกี่ยวกับการอพยพของชาวอารยัน คนที่พูดภาษาโปรโต-อินโด-อิราเนียนที่เรียกตัวเองว่าอารยัน ตั้งหลักแหล่งอยู่ทางใต้และตะวันออกของทะเลสาบแคสเปียนในอินเดียเหนือ ปากีสถาน อิหร่าน และอัฟกานิสถาน คาดว่าการแพร่กระจายเกี่ยวข้องกับการประดิษฐ์รถม้.

ใหม่!!: ประวัติศาสตร์เอเชียกลางและกลุ่มภาษาอินโด-อิหร่าน · ดูเพิ่มเติม »

การปฏิวัติรัสเซีย

การปฏิวัติรัสเซีย (Russian Revolution) คือภาพรวมของระลอกการปฏิวัติในรัสเซียช่วงปี..

ใหม่!!: ประวัติศาสตร์เอเชียกลางและการปฏิวัติรัสเซีย · ดูเพิ่มเติม »

ภาษาอุยกูร์

ษาอุยกูร์ เป็นภาษากลุ่มเตอร์กิก พูดโดยชาวอุยกูร์ในเขตปกครองตนเองซินเจียงอุยกูร์ ประเทศจีน.

ใหม่!!: ประวัติศาสตร์เอเชียกลางและภาษาอุยกูร์ · ดูเพิ่มเติม »

มองโกล (กลุ่มชาติพันธุ์)

วมองโกล หรือ ชาวมองโกเลีย เป็นกลุ่มชนหนึ่งที่อาศัยอยู่ในประเทศมองโกเลีย และ เขตปกครองตนเองมองโกเลียใน ของประเทศจีน.

ใหม่!!: ประวัติศาสตร์เอเชียกลางและมองโกล (กลุ่มชาติพันธุ์) · ดูเพิ่มเติม »

มองโกเลีย

มองโกเลีย อาจหมายถึง.

ใหม่!!: ประวัติศาสตร์เอเชียกลางและมองโกเลีย · ดูเพิ่มเติม »

ราชวงศ์หมิง

ราชวงศ์หมิง หรือ ราชวงศ์เบ๋ง (ฮกเกี้ยน) หรือ ราชวงศ์เม้ง (แต้จิ๋ว) หรือเป็นที่รู้จักกันในชื่อ จักรวรรดิต้าหมิง เป็นราชวงศ์ที่ปกครองจักรวรรดิจีน ระหว่าง พ.ศ. 1911 (ค.ศ. 1368) ถึง พ.ศ. 2187 (ค.ศ. 1644) ดำรงอยู่เป็นเวลารวม 276 ปี โดยปกครองต่อจากราชวงศ์หยวนของชาวมองโกล และพ่ายแพ้ให้กับราชวงศ์ชิงของชาวแมนจูในภายหลัง ราชวงศ์หมิงเป็นราชวงศ์ที่รุ่งเรืองในด้านวัฒนธรรมเป็นอย่างมาก ในยุคนี้มีการสำรวจทางทะเลอย่างกว้างขวาง ราชวงศ์หมิงในตอนต้น (1368 - 1464) ถือเป็นอาณาจักรที่ก้าวหน้าที่สุดในโลก ณ ช่วงเวลานั้น ราชวงศ์หมิงถือเป็นหนึ่งในยุคที่ถูกจัดโดยนักวิชาการชาวตะวันตกว่ามีการปกครองที่เป็นระบบและสังคมที่มีเสถียรภาพในประวัติศาสตร์มนุษย์ชาติก่อนที่จะล่มสลาย ราชวงศ์หมิงถือเป็นราชวงศ์ที่ปกครองประเทศจีนราชวงศ์สุดท้ายที่ปกครองโดยชาวฮั่น ปฐมจักรพรรดิต้าหมิง จูหยวนจาง หรือ จักรพรรดิหงหวู่ หลังจากที่ได้ทรงประกาศปลดแอกชาวฮั่นจากภายใต้การปกครองของราชวงศ์หยวนของชาวมองโกล ได้สถาปนาราชวงศ์หมิงขึ้น พระองค์ได้ทรงพยายามปฏิรูปการปกครองอาณาจักรเสียใหม่ ทรงพยายามสร้างระบบสังคมชุมชนชนบทแบบพึ่งพาตนเอง ปฏิรูประบบราชการ, กฎหมาย จักรพรรดิหงหวู่ได้สร้างระบบที่เป็นระเบียบที่ยืดหยุ่นเปลี่ยนแปลงได้ที่จะสามารถรองรับและสนับสนุนการทหารของราชวงศ์หมิงอย่างยั่งยืน ทำให้ด้านการทหารในช่วงนั้นราชวงศ์หมิงประสบความสำเร็จมีกองทัพภาคพื้นดินเกินกว่า 1 ล้านคนและกองทัพเรือมีอู่ต่อเรือที่หนานจิงเป็นอู่ต่อเรือที่ใหญ่ที่สุดในโลกในขณะนั้น พระองค์ยังได้ทรงตระหนักถึงการลดทอนอำนาจของเหล่าขันทีในราชสำนักCrawford, Robert.

ใหม่!!: ประวัติศาสตร์เอเชียกลางและราชวงศ์หมิง · ดูเพิ่มเติม »

ราชวงศ์ฮั่น

มเด็จพระจักรพรรดิฮั่นเกาจู ปฐมจักรพรรดิแห่งราชวงศ์ฮั่น เขตแดนของราชวงศ์ฮั่นสมัยสมเด็จพระจักรพรรดิฮั่นอู่ตี้ ราชวงศ์ฮั่น (ภาษาจีน: 漢朝 พ.ศ. 337 - พ.ศ. 763) เป็นราชวงศ์จีนที่ปกครองต่อจากราชวงศ์ฉิน.

ใหม่!!: ประวัติศาสตร์เอเชียกลางและราชวงศ์ฮั่น · ดูเพิ่มเติม »

ราชวงศ์ถัง

ราชวงศ์ถัง (พ.ศ. 1161-1450) ราชวงศ์นี้สร้างความเจริญรุ่งเรืองให้จีนอย่างมาก ทั้งด้านศิลปกรรม วัฒนธรรม และอีกหลาย ๆ ด้าน หลี่ยวนได้ตั้งตัวเองเป็น จักรพรรดิถังเกาจู่ หลังจากรวมแผ่นดินให้เป็นปึกแผ่นแล้ว ก็เกิดการแย่งชิงตำแหน่งรัชทายาทขึ้น ระหว่างโอรสหลี่เจี้ยนเฉิง หลี่ซื่อหมิน และหลี่หยวนจี๋ หลี่ซื่อหมินนั้น มีความดีความชอบมาก เนื่องจากรบชนะมาหลายครั้ง ต่อมา ถังเกาจู่ก็สละราชสมบัติ ตั้งตนเองเป็นไท่ช่างหวง ราชวงศ์ถังปกครองประเทศนานถึง 289 ปีตั้งแต..

ใหม่!!: ประวัติศาสตร์เอเชียกลางและราชวงศ์ถัง · ดูเพิ่มเติม »

ราชอาณาจักรมาเกโดนีอา

มาเกโดนีอา (Μακεδονία) หรือ มาซิโดเนีย (Macedonia) เป็นราชอาณาจักรในกรีซโบราณที่มีศูนย์กลางอยู่ทางตะวันออกเฉียงเหนือของคาบสมุทรกรีซ มาเกโดนีอาดินแดนของชนมาเกโดนีอาโบราณมีเขตแดนติดกับราชอาณาจักรอิไพรัส (Epirus) ทางตะวันตก, ราชอาณาจักรไพโอเนีย (Paionia) ทางตอนเหนือ, เทรซทางตะวันออก และเทสซาลี (Thessaly) ทางด้านใต้ ในช่วงระยะเวลาอันสั้นหลังจากการพิชิตดินแดนต่างๆ ของอเล็กซานเดอร์มหาราชราชอาณาจักรมาเกโดนีอาก็เป็นราชอาณาจักรที่มีอิทธิพลมากที่สุดในโลกที่มีดินแดนที่ครอบคลุมกรีซทั้งหมดไปจนถึงอินเดีย ซึ่งเป็นการเริ่มต้นยุคประวัติศาสตร์ที่เรียกว่าสมัยเฮเลนนิสต.

ใหม่!!: ประวัติศาสตร์เอเชียกลางและราชอาณาจักรมาเกโดนีอา · ดูเพิ่มเติม »

ศาสนามาณีกี

นามาณีกี หรือ ศาสนามานี หรือ มานีธรรม (मानी धर्म - Manichaeism) หรือ หมอหนีเจี้ยว หรือ ม๊อนี้ก่า (摩尼教) เป็นศาสนาแบบ เอกเทวนิยม และไญยนิยม (Gnosticism) ที่มีต้นกำเนิดในจักรวรรดิแซสซานิด มีพระมานีหัยยา (मानी हय्या) เป็นศาสดา แม้ว่างานเขียนของท่านจะหายสาบสูญไปทั้งหมดแล้ว แต่ยังคงมีฉบับแปลในภาษาต่าง ๆ ตกทอดมาถึงปัจจุบัน ศาสนามานี เป็นสาขาหนึ่งของ ศาสนาโซโรอัสเตอร์ เป็นต้นกำเนิดของ ลัทธิบัวขาว ลัทธิเซียนเทียนเต้า และ ลัทธิอนุตตรธรรม สอนเชิงจักรวาลวิทยาว่าจักรวาลแบ่งออกเป็นของด้าน คือด้านความดีงาม จิตวิญญาณ และความสว่าง กับความชั่วร้าย วัตถุ และความมืด สันนิษฐานว่าศาสนามานีได้รับแนวคิดนี้มาจากแนวคิดของพวกไญยนิยมในเมโสโปเตเมีย ศาสนามานีกีแพร่หลายมากในภูมิภาคที่ใช้ภาษาแอราเมอิกและภาษาซีรีแอก ราว คริสต์ศตวรรษที่ 3 - 7 จนกลายเป็นศาสนาที่แพร่หลายมากที่สุดในโลกศาสนาหนึ่งในยุคนั้น ศาสนจักรมานีแพร่ไปทางตะวันออกไกลถึงประเทศจีน และทางตะวันตกไกลถึงจักรวรรดิโรมัน โดยมีศาสนิกชนส่วนมากเป็นทหาร จนได้ชื่อว่าเป็นศาสนาของกองทัพ และกลายเป็นคู่แข่งของศาสนาคริสต์ แทนลัทธิเพกันที่เสื่อมไปก่อนหน้านั้นแล้ว ศาสนามานีในภูมิภาคตะวันออกดำรงอยู่นานกว่าทางตะวันตก โดยเสื่อมสลายไปราวคริสต์ศตวรรษที่ 14 ทางใต้ของจีน ศาสนิกชนของศาสนานี้เรียกว่า ชาวมานี หรือ มานีเชียน ซึ่งในปัจจุบันใช้หมายรวมถึง ผู้มีแนวคิดทางจริยศาสตร์รูปแบบหนึ่งที่มองศีลธรรมแบบทวินิยม คือมีความดีความชั่วอยู่จริง และอยู่แยกกันต่างหากอย่างชัดเจน.

ใหม่!!: ประวัติศาสตร์เอเชียกลางและศาสนามาณีกี · ดูเพิ่มเติม »

ศาสนาอิสลาม

นาอิสลาม (Islam) เป็นศาสนาเอกเทวนิยมและศาสนาอับราฮัม บัญญัติไว้ในคัมภีร์อัลกุรอาน คัมภีร์ศักดิ์สิทธิ์ของอิสลามซึ่งสาวกถือว่าเป็นพระวจนะคำต่อคำของพระเป็นเจ้า (อัลลอฮฺ) และสำหรับสาวกส่วนใหญ่ เป็นคำสอนและตัวอย่างเชิงบรรทัดฐาน (เรียกว่า สุนัต และประกอบด้วยหะดีษ) ของมุฮัมมัด (ประมาณ 570–8 มิถุนายน 632)เป็นศาสดา (นบี) องค์สุดท้ายของพระเป็นเจ้า สาวกของศาสนาอิสลาม เรียกว่า มุสลิม มุสลิมเชื่อว่า พระเจ้าเป็นหนึ่งและหาที่เปรียบไม่ได้ และจุดประสงค์ของการดำรงอยู่ คือ เพื่อรักและรับใช้พระเป็นเจ้า มุสลิมยังเชื่อว่า ศาสนาอิสลามเป็นบรรพศรัทธาฉบับสมบูรณ์และเป็นสากลที่สุดซึ่งได้ประจักษ์มาหลายครั้งก่อนหน้านั้น ผ่านศาสดาซึ่งรวมอาดัม โนอาห์ อับราฮัม โมเสส และพระเยซู พวกเขายึดมั่นว่า สารและวิวรณ์ถูกแปลผิดหรือเปลี่ยนแปลงบางส่วนตามกาลดู.

ใหม่!!: ประวัติศาสตร์เอเชียกลางและศาสนาอิสลาม · ดูเพิ่มเติม »

ศาสนาคริสต์

นาคริสต์ (Christianity) ราชบัณฑิตยสถานเรียกว่า คริสต์ศาสนาราชบัณฑิตยสถาน, พจนานุกรมศัพท์ศาสนาสากล อังกฤษ-ไทย ฉบับราชบัณฑิตยสถาน, พิมพ์ครั้งที่ 3, ราชบัณฑิตยสถาน, 2548, หน้า 156 เป็นศาสนาประเภทเอกเทวนิยม ที่มีพื้นฐานมาจากชีวิตและการสอนของพระเยซูตามที่ปรากฏในพระวรสารในสารบบ (canonical gospel) และงานเขียนพันธสัญญาใหม่อื่น ๆ ผู้นับถือศาสนาคริสต์เรียกว่าคริสต์ศาสนิกชนหรือคริสตชน คริสตชนเชื่อว่าพระเยซูเป็นพระบุตรพระเป็นเจ้า และเป็นพระเจ้าผู้มาบังเกิดเป็นมนุษย์และเป็นพระผู้ช่วยให้รอด ด้วยเหตุนี้ คริสตชนจึงมักเรียกพระเยซูว่า "พระคริสต์" หรือ "พระเมสสิยาห์" Briggs, Charles A. The fundamental Christian faith: the origin, history and interpretation of the Apostles' and Nicene creeds. C. Scribner's sons, 1913.

ใหม่!!: ประวัติศาสตร์เอเชียกลางและศาสนาคริสต์ · ดูเพิ่มเติม »

ศาสนาโซโรอัสเตอร์

ฟาร์วาฮาร์ สัญลักษณ์ของศาสนาโซโรอัสเตอร์ ศาสนาโซโรอัสเตอร์ (Zoroastrianism) เป็นศาสนาและปรัชญาศาสนาอิหร่านเอกเทวนิยมโบราณอย่างหนึ่ง เคยเป็นศาสนาแห่งรัฐจักรวรรดิอะคีเมนิด พาร์เธียและแซสซานิด ประมาณจำนวนศาสนิกโซโรอัสเตอร์ทั่วโลกปัจจุบันอยู่ระหว่างประมาณ 145,000 คนเมื่อประมาณ..

ใหม่!!: ประวัติศาสตร์เอเชียกลางและศาสนาโซโรอัสเตอร์ · ดูเพิ่มเติม »

สหภาพโซเวียต

หภาพสาธารณรัฐสังคมนิยมโซเวียต (Сою́з Сове́тских Социалисти́ческих Респу́блик - CCCP; Union of Soviet Socialist Republics - USSR) หรือย่อเป็น สหภาพโซเวียต (Soviet Union) เป็นประเทศอภิมหาอำนาจในอดีตบนทวีปยูเรเชีย ระหว่างปี..

ใหม่!!: ประวัติศาสตร์เอเชียกลางและสหภาพโซเวียต · ดูเพิ่มเติม »

สาธารณรัฐนอฟโกรอด

รณรัฐนอฟโกรอด (Новгородская республика, Novgorod Republic) เป็นสาธารณรัฐใหญ่ในยุคกลางของรัสเซียที่มีอาณาบริเวณตั้งแต่ทะเลบอลติกไปจนถึงเทือกเขายูรัล สาธารณรัฐนอฟโกรอดมีความรุ่งเรืองระหว่างคริสต์ศักราชที่ 12 ถึง 15 โดยมีศูนย์กลางอยู่ในบริเวณนอฟโกรอด คำว่า “สาธารณรัฐศักดินา” (feudal republic) เป็นคำที่มักจะใช้เรียกโดยนักวิชาการในสมัยโซเวียต และโดยนักวิชาการมาร์กซิสต์เพื่อให้ตรงกับปรัชญาทางประวัติศาสตร์ของลัทธิที่ประกอบด้วยยุคทาส ยุคศักดินา ยุคทุนนิยม ยุคสังคมนิยม และยุคคอมมิวนิสต์ แต่นักวิชาการในปัจจุบันตั้งความสงสัยว่ารัสเซียจะเคยใช้ระบบศักดินาในความหมายเดียวกับที่ใช้ในตะวันตกในยุคกลางจริงหรือไม่ และคำว่า “สาธารณรัฐศักดินา” ก็ไม่เคยได้รับการใช้โดยชาวนอฟโกรอดเองแต่จะเรียกนครรัฐของตนเองว่า “อาณาจักรลอร์ดแห่งนอฟโกรอดเดอะเกรต” (His Majesty (หรือ Sovereign) Lord Novgorod the Great) (Государь Господин Великий Новгород) หรือ “ลอร์ดแห่งนอฟโกรอดเดอะเกรต” (Господин Великий Новгород) อาณาบริเวณทั้งหมด - ทั้งตัวเมืองและดินแดนที่ไกลออกไป - รู้จักกันว่าเป็น “ดินแดนนอฟโกรอด” (Novgorodian Land) นอฟโกรอดเป็นส่วนหนึ่งของจักรวรรดิเคียฟรุสมาจนกระทั่งถึงราวปี..

ใหม่!!: ประวัติศาสตร์เอเชียกลางและสาธารณรัฐนอฟโกรอด · ดูเพิ่มเติม »

สเตปป์

ทุ่งหญ้าสเตปป์ในมองโกเลีย สเตปป์ในอุซเบกิสถาน ทุ่งหญ้าสเตปป์ (Steppe) คือลักษณะทางภูมิศาสตร์ “ทุ่งหญ้าสเตปป์” เป็นบริเวณที่มีลักษณะทางสภาวะอากาศและภูมิภาคที่เป็นเอกลักษณ์ที่ประกอบด้วยที่ราบที่เป็นทุ่งหญ้ากว้างที่ไม่มีต้นไม้ นอกจากบริเวณริมแม่น้ำหรือทะเลสาบ ทุ่งหญ้าแพรรี (prairie) (โดยเฉพาะทุ่งหญ้าเตี้ยแพรรี) อาจจะถือว่าเป็นทุ่งหญ้าสเตปป์ ภูมิภาคของทุ่งหญ้าสเตปป์อาจจะเป็นพื้นที่กึ่งทะเลทราย หรือปกคลุมด้วย หญ้า หรือพุ่มไม้ หรือทั้งสองอย่างขึ้นอยู่กับฤดูและละติจูด “สเตปป์” อาจจะใช้หมายถึงสภาพภูมิอากาศที่พบในบริเวณที่แห้งจนไม่สามารถมีป่าได้ แต่ก็ไม่แห้งจนกระทั่งเป็นทะเลทราย “สเตปป์” เป็นลักษณะอากาศแบบภูมิอากาศภาคพื้นทวีป (continental climate) และภูมิอากาศกึ่งแห้งแล้ง (semi-arid climate) อุณภูมิสูงสุดในฤูดูร้อนอาจจะสูงถึง 40 °C (104 °F) และต่ำสุดในฤดูหนาวอาจจะลดลงถึง -40 °C (-40 °F) นอกจากความแตกต่างกันมากของอุณหภูมิระหว่างฤดูร้อนกับฤดูหนาวแล้ว ก็ยังมีความแตกต่างกันมากระหว่างอุณหภูมิระหว่างกลางวันและกลางคืน ทางบริเวณที่สูงของมองโกเลียอุณหภูมิตอนกลางวันอาจจะสูงถึง 30 °C (86 °F) แต่กลางคืนอาจจะลดต่ำลงต่ำกว่าศูนย์ °C (sub 32 °F) ทุ่งหญ้าสเตปป์ในช่วงละติจูดตอนกลางมีลักษณะที่หน้าร้อนจะร้อนจัดและหน้าหนาวจะหนาวจัด โดยมีปริมาณฝนหรือหิมะตกเฉลี่ยราว 250-500 มิลลิเมตร (10-20 นิ้ว) ต่อปี คำว่า “steppe” มาจากภาษารัสเซียว่า “степь” ที่แปลว่า “ดินแดนที่ราบและแห้ง”.

ใหม่!!: ประวัติศาสตร์เอเชียกลางและสเตปป์ · ดูเพิ่มเติม »

อะเล็กซานเดรียเอสคาเท

อะเล็กซานเดรียเอสคาเท (Alexandria Eschate, Alexandria Eskhata; กรีก: Ἀλεξάνδρεια Ἐσχάτη; Alexandria Ultima; แปลว่า "อะเล็กซานเดรียที่อยู่ไกลที่สุด) เป็นเมืองโบราณ สถาปนาโดยอเล็กซานเดอร์มหาราช ในปีที่ 329 ก่อนคริสตกาล เพื่อใช้เป็นฐานทัพทางเหนือสุดของเอเชียกลาง อะเล็กซานเดรียเอสคาเทตั้งอยู่ทางตะวันตกเฉียงใต้ของหุบเขาเฟอร์กานา ริมฝั่งแม่น้ำจาซาร์เทส (ซีร์ดาร์ยา) ในเขตประเทศทาจิกิสถานปัจจุบัน พระเจ้าอเล็กซานเดอร์มหาราชทรงบัญชาให้ก่อกำแพงป้องกันสูง 6 กิโลเมตร โดยใช้เวลายี่สิบวัน และทรงให้เหล่าทหารผ่านศึกที่บาดเจ็บอยู่ที่นี.

ใหม่!!: ประวัติศาสตร์เอเชียกลางและอะเล็กซานเดรียเอสคาเท · ดูเพิ่มเติม »

อเล็กซานเดอร์มหาราช

อเล็กซานเดอร์ที่ 3 แห่งมาเกโดนีอา (356-323 ปีก่อนคริสตกาล) หรือที่รู้จักกันโดยทั่วไปว่า อเล็กซานเดอร์มหาราช (Alexander the Great, Μέγας Ἀλέξανδρος) เป็นกษัตริย์กรีกจากราชอาณาจักรมาเกโดนีอา ผู้สร้างชื่อเสียงมากที่สุดของราชวงศ์อาร์กีด เป็นผู้สร้างจักรวรรดิที่ยิ่งใหญ่ที่สุดในประวัติศาสตร์ยุคโบราณ เกิดที่เมืองเพลลา ตอนเหนือของมาเกโดนีอา เมื่อปีที่ 356 ก่อนคริสตกาล ได้รับการศึกษาตามแบบกรีกดั้งเดิมภายใต้การกำกับดูแลของอริสโตเติล นักปรัชญากรีกผู้มีชื่อเสียง สืบทอดราชบัลลังก์ต่อจาก พีลิปโปสที่ 2 แห่งมาเกโดนีอา เมื่อปีที่ 336 ก่อนคริสตกาลหลังจากที่พระบิดาถูกลอบสังหาร สวรรคตในอีก 13 ปีต่อมาเมื่อพระชนมายุเพียง 32 พรรษา แม้ว่าราชบัลลังก์และจักรวรรดิของอเล็กซานเดอร์จะอยู่เพียงชั่วครู่ยาม แต่ผลกระทบจากการพิชิตดินแดนของพระองค์ส่งผลสืบเนื่องต่อมาเป็นเวลาหลายศตวรรษ อเล็กซานเดอร์ถือเป็นหนึ่งในบุรุษผู้มีชื่อเสียงมากที่สุดในโลกยุคโบราณ มีชื่อเสียงเลื่องลือในความสามารถทางการรบ ยุทธวิธี และการเผยแพร่อารยธรรมกรีกไปในดินแดนตะวันออก พระเจ้าพีลิปโปสทรงนำแว่นแคว้นกรีกโดยมากบนแผ่นดินใหญ่กรีซให้มาอยู่ภายใต้การปกครองของมาเกโดนีอา โดยใช้ทั้งกลวิธีทางการทูตและทางทหาร เมื่อพีลิปโปสสวรรคต อเล็กซานเดอร์จึงได้สืบทอดราชอาณาจักรที่เข้มแข็งและกองทัพที่เปี่ยมประสบการณ์ พระองค์เป็นที่ยอมรับในด้านการรบจากแว่นแคว้นกรีซ และได้เริ่มแผนการขยายอำนาจแผ่อาณาจักรตามที่บิดาเคยริเริ่มไว้ พระองค์ยกทัพรุกรานดินแดนเอเชียไมเนอร์ภายใต้การปกครองของอาณาจักรเปอร์เซีย และกระทำการรณยุทธ์อย่างต่อเนื่องติดต่อกันเป็นเวลาร่วมสิบปี อเล็กซานเดอร์เอาชนะชาวเปอร์เซียครั้งแล้วครั้งเล่า นำทัพข้ามซีเรีย อียิปต์ เมโสโปเตเมีย เปอร์เซีย และแบคเทรีย ทรงโค่นล้มกษัตริย์พระเจ้าดาไรอัสที่ 3 แห่งเปอร์เซีย และพิชิตจักรวรรดิเปอร์เซียได้ทั้งหมด พระองค์ไล่ตามความปรารถนาที่ต้องการเห็น "จุดสิ้นสุดของโลกและมหาสมุทรใหญ่ที่เบื้องปลาย" จึงยกทัพบุกอินเดีย แต่ต่อมาถูกบีบให้ต้องถอยทัพกลับโดยบรรดาทหารที่กำเริบขึ้นเนื่องจากเบื่อหน่ายการสงคราม การสูญเสียเฮฟีสเทียนทำให้อเล็กซานเดอร์ตรอมใจจนสวรรคตที่เมืองบาบิโลน ในปี 323 ก่อนคริสตกาล ก่อนจะเริ่มแผนการรบต่อเนื่องในการรุกรานคาบสมุทรอาระเบีย ในปีถัดจากการสวรรคตของอเล็กซานเดอร์ เกิดสงครามกลางเมืองทั่วไปจนอาณาจักรของพระองค์แตกเป็นเสี่ยงๆ ทำให้เกิดเป็นรัฐใหญ่น้อยมากมายปกครองโดยบรรดาขุนนางชาวมาเกโดนีอา แม้ความเป็นผู้พิชิตของพระองค์จะโดดเด่นอย่างยิ่ง แต่มรดกของอเล็กซานเดอร์ที่ยืนยงต่อมากลับมิใช่ราชบัลลังก์ กลายเป็นการเผยแพร่วัฒนธรรมที่ติดตามมาจากการพิชิตดินแดนเหล่านั้น การก่อร่างสร้างเมืองอาณานิคมกรีกและวัฒนธรรมกรีกที่เผยแพร่ไปในแดนตะวันออกทำให้เกิดเป็นวัฒนธรรมเฮเลนนิสติก ซึ่งยังคงสืบทอดต่อมาในจักรวรรดิไบแซนไทน์กระทั่งกลางคริสต์ศตวรรษที่ 15 อเล็กซานเดอร์เป็นบุคคลในตำนานในฐานะวีรบุรุษผู้ตามอย่างอคิลลีส มีบทบาทสำคัญในประวัติศาสตร์และวัฒนธรรมปรัมปราทั้งของฝ่ายกรีกและที่ไม่ใช่กรีก เป็นหลักเกณฑ์มาตรฐานซึ่งบรรดานายพลทั้งหลายใช้เปรียบเทียบกับตนเองแม้จนถึงปัจจุบัน โรงเรียนการทหารทั่วโลกยังคงใช้ยุทธวิธีการรบของพระองค์เป็นแบบอย่างในการเรียนการสอน.

ใหม่!!: ประวัติศาสตร์เอเชียกลางและอเล็กซานเดอร์มหาราช · ดูเพิ่มเติม »

จักรวรรดิ

ักรวรรดิ (อ่านว่า จัก-กฺระ-หฺวัด, อังกฤษ: empire) ถูกนิยามว่าหมายถึง "กลุ่มชาติรัฐหรือชาติพันธุ์ที่อยู่ภายใต้การปกครองของจักรพรรดิหรืออธิปไตยของรัฐอื่นๆที่ทรงอิทธิพล โดยทั่วไปมีอาณาเขตกว้างใหญ่กว่าราชอาณาจักร" นักวิชาการได้ถกเถียงกันมานานเกี่ยวกับคำว่า “Empire” ในภาษาอังกฤษหรือ “จักรวรรดิ” ในภาษาไทย (จากคำภาษาละติน “imperium” ที่หมายถึงสายการบังคับบัญชาทางการทหารของรัฐบาลโรมันโบราณ) โดยทั่วไปมักนิยามให้เป็นรัฐที่มีอาณาจักรอื่นที่มีประชากรและวัฒนธรรมที่แตกต่างชัดเจนอยู่ภายใต้อิทธิพลอำนาจการปกครองหรืออยู่ในเครือจักรภพ เช่นประเทศในเครือจักรภพอังกฤษในปัจจุบัน นิยามอีกรูปแบบหนึ่งอาจเน้นปัจจัยทางเศรษฐกิจหรือการเมือง แต่โดยทั่วไปมักหมายถึงการครอบงำทางอำนาจการทหาร เช่นเดียวกับรัฐทั่วไป จักรวรรดิจะมีโครงสร้างทางการเมืองของตนเอง หรืออย่างน้อยก็โดยวิธีกดขี่บังคับให้อยู่ใต้อำนาจ จักรวรรดิบนแผ่นดินใหญ่ (เช่นจักรวรรดิมองโกล หรือจักรวรรดิอาคีเมนิดเปอร์เชีย – Achaemenid Persia) มักจะขยายไปตามอาณาเขตที่ประชิดต่อเนื่องกัน ส่วนจักรวรรดิทางทะเล (เช่น จักรวรรดิเอเธนีเนียน จักรวรรดิโปรตุเกสและจักรวรรดิอังกฤษ) อาจมีอาณาเขตกระจัดกระจายหลวมๆ แต่อยู่ในอำนาจการควบคุมทางกองทัพเรือเป็นต้น จักรวรรดิที่มีมาก่อนจักรวรรดิโรมันหลายร้อยปี ได้แก่จักรวรรดิอียิปต์ซึ่งได้ก่อตั้งจักรวรรดิเมื่อประมาณ 1000 ปีก่อน..

ใหม่!!: ประวัติศาสตร์เอเชียกลางและจักรวรรดิ · ดูเพิ่มเติม »

จักรวรรดิกุษาณะ

ที่ตั้งอาณาจักรโบราณของอินเดีย อาณาจักรกุษาณะ (กุชาน หรือ กุษาณ) ทางตะวันตกเฉียงเหนือของอินเดีย (เมืองหลวงของอาณาจักรนี้ปัจจุบันคือเมืองเปศวาร์ในปากีสถาน).

ใหม่!!: ประวัติศาสตร์เอเชียกลางและจักรวรรดิกุษาณะ · ดูเพิ่มเติม »

จักรวรรดิมองโกล

อาณาเขตของจักรวรรดิมองโกล จักรวรรดิมองโกล (มองโกล: Mongolyn Ezent Güren; Mongol Empire) ซึ่งมีอยู่ระหว่างคริสต์ศตวรรษที่ 13 และ 14 เป็นจักรวรรดิทางบกที่มีอาณาเขตต่อเนื่องใหญ่ที่สุดในประวัติศาสตร์ กำเนิดในสเต็ปป์เอเชียกลาง สุดท้ายจักวรรดิมองโกลมีอาณาเขตครอบคลุมยุโรปตะวันออกจนถึงทะเลญี่ปุ่น ขยายไปทางเหนือเข้าไปในไซบีเรีย ทางตะวันออกและใต้เข้าไปในอนุทวีปอินเดีย อินโดจีนและที่ราบสูงอิหร่าน และทางตะวันตกไปไกลถึงเลแวนต์และคาบสมุทรอาหรับ จักรวรรดิรวมเผ่าชนเร่ร่อนมองโกเลียในประวัติศาสตร์ภายใต้การนำของเจงกิสข่าน ผู้ได้รับประกาศเป็นผู้ปกครองชาวมองโกลทั้งปวงใน..

ใหม่!!: ประวัติศาสตร์เอเชียกลางและจักรวรรดิมองโกล · ดูเพิ่มเติม »

จักรวรรดิรัสเซีย

ักรวรรดิรัสเซีย (Российская империя; Russian Empire) คืออดีตประเทศรัสเซียก่อนที่จะมีการปฏิวัติการปกครองของซาร์นิโคลัสที่ 2 เป็นสหภาพสาธารณรัฐสังคมนิยมโซเวียตในปี 1917 จักรวรรดิรัสเซียสถาปนาขึ้นในปี 1721 โดยจักรพรรดิซาร์ปีเตอร์มหาราชสถาปนาขึ้นแทนที่อาณาจักรซาร์แห่งรัสเซีย จักรวรรดิรัสเซียมีพื้นที่กว้างใหญ่ครอบคลุมยุโรปตะวันออก, เอเชีย จนไปถึงทวีปอเมริกา นับได้ว่าเป็นหนึ่งในจักรวรรดิที่ใหญ่ที่สุดในโลกและเป็นจักรวรรดิหนึ่งที่เจริญรุ่งเรืองที่สุดในประวัติศาสตร์รัสเซี.

ใหม่!!: ประวัติศาสตร์เอเชียกลางและจักรวรรดิรัสเซีย · ดูเพิ่มเติม »

จักรวรรดิอะคีเมนิด

ักรวรรดิอะคีเมนียะห์ หรือ จักรวรรดิเปอร์เชียอะคีเมนียะห์ (Achaemenid Empire หรือ Achaemenid Persian Empire, هخامنشیان) (550–330 ก.ค.ศ.) เป็นหนึ่งในจักรวรรดิแรกของจักรวรรดิเปอร์เชียที่ปกครองอาณาบริเวณส่วนใหญ่ของเกรตเตอร์อิหร่านที่ตามมาจากจักรวรรดิมีเดีย ในยุคที่รุ่งเรืองที่สุดจักรวรรดิอะคีเมนียะห์มีเนื้อที่ทั้งหมดประมาณ 7.5 ล้านตารางกิโลเมตร ที่ทำให้เป็นจักรวรรดิที่มีขนาดใหญ่ที่สุดในยุคโบราณ และเป็นจักรวรรดิที่วางรากฐานของระบบการปกครองจากศูนย์กลางSchmitt Achaemenid dynasty (i. The clan and dynasty) จักรวรรดิอะคีเมนียะห์ที่ก่อตั้งขึ้นโดยจักรพรรดิไซรัสมหาราชครอบคลุมอาณาบริเวณสามทวีปที่รวมทั้งดินแดนในอัฟกานิสถาน และ ปากีสถาน, บางส่วนของเอเชียกลาง, อานาโตเลีย, เธรซ, บริเวณริมฝั่งทะเลดำส่วนใหญ่, อิรัก, ตอนเหนือของซาอุดีอาระเบีย, จอร์แดน, ปาเลสไตน์, เลบานอน, ซีเรีย และอียิปต์ไปจนถึงลิเบีย จักรวรรดิอะคีเมนียะห์เป็นศัตรูของนครรัฐกรีกในสงครามกรีซ-เปอร์เชีย เพราะไปปล่อยชาวยิวจากบาบิโลเนีย และในการก่อตั้งให้ภาษาอราเมอิกเป็นภาษาราชการ และพ่ายแพ้ต่ออเล็กซานเดอร์มหาราชในปี 330 ก่อนคริสต์ศักราช ความสำคัญทางประวัติศาสตร์โลกของจักรวรรดิอะคีเมนียะห์ที่ก่อตั้งโดยจักรพรรดิไซรัสมหาราชก็คือกาวางรากฐานที่ได้รับความสำเร็จของระบบการบริหารการปกครองจากศูนย์กลาง และของรัฐบาลที่มีปรัชญาในการสร้างประโยชน์ให้แก่มวลชนSchmitt Achaemenid dynasty (i. The clan and dynasty).

ใหม่!!: ประวัติศาสตร์เอเชียกลางและจักรวรรดิอะคีเมนิด · ดูเพิ่มเติม »

จักรวรรดิข่านจักกาไท

ักรวรรดิข่านจักกาไท (Chagatai Khanate หรือ Chagata, Chugta, Chagta, Djagatai, Jagatai, Chaghtai) เป็นจักรวรรดิมองโกลแต่ต่อมาเปลี่ยนไปเป็นเตอร์กิก จักรวรรดิข่านปกครองโดยข่านจักกาไทพระราชโอรสองค์ที่สองของเจงกีส ข่าน และผู้สืบเชื้อสายต่อจากพระองค์ เดิมจักรวรรดิข่านจักกาไทเป็นส่วนหนึ่งของจักรวรรดิมองโกลแต่ต่อมาแยกตัวมาเป็นอาณาจักรอิสระ ในจุดที่เจริญรุ่งเรืองที่สุดในปลายคริสต์ศตวรรษที่ 13 จักรวรรดิข่านมีอาณาบริเวณตั้งแต่แม่น้ำอามูดาร์ยา (Amu Darya) ทางใต้ของทะเลอารัลไปจนถึงเทือกเขาอัลไตในบริเวณเขตแดนที่ปัจจุบันคือมองโกเลียและจีน จักรวรรดิข่านรุ่งเรืองในรูปใดรูปหนึ่งมาตั้งแต่คริสต์ทศวรรษ 1220 จนกระทั่งถึงปลายคริสต์ศตวรรษที่ 17 แม้ว่าทางครึ่งตะวันตกของจักรวรรดิจะเสียไปกับตีมูร์ ในคริสต์ทศวรรษ 1360 แต่ครึ่งตะวันออกยังคงอยู่ในมือของข่านจักกาไทที่บางครั้งก็เป็นปฏิปักษ์ต่อหรือบางครั้งก็เป็นพันธมิตรกับผู้ครองจักรวรรดิตีมูร์ต่อมา ในที่สุดในคริสต์ศตวรรษที่ 17 จักรวรรดิข่านจักกาไทที่ยังคงเหลือก็ตกไปอยู่ภายใต้การปกครองของระบบเทวาธิปไตยของ Apaq Khoja และผู้สืบเชื้อสาย, โคจิจัน (Khojijan) ผู้ครองเติร์กสถานตะวันออก (East Turkestan) ภายใต้ดซุงการ์ (Dzungar) และในที่สุดประมุขของแมนจู.

ใหม่!!: ประวัติศาสตร์เอเชียกลางและจักรวรรดิข่านจักกาไท · ดูเพิ่มเติม »

จักรวรรดิแซสซานิด

ักรวรรดิซาสซานิยะห์ (ساسانیان, Sassanid Empire) ที่เป็นหนึ่งในจักรวรรดิเปอร์เชียและที่เป็นจักวรรดิสุดท้ายก่อนที่ศาสนาอิสลามจะเริ่มขึ้นเป็นหนึ่งในสองมหาอำนาจของเอเชียตะวันตกเป็นเวลากว่าสี่ร้อยปี ราชวงศ์ซาสซานิยะห์ก่อตั้งโดยอาร์ดาเชอร์ที่ 1 (Ardashir I) หลังจากที่ทรงได้รับชัยชนะต่อจักรพรรดิแห่งจักรวรรดิพาร์เธียนองค์สุดท้ายอาร์ตาบานัสที่ 4 (Artabanus IV) และมาสิ้นสุดลงเมื่อยาซเดเกิร์ดที่ 3 (Yazdegerd III) มาพ่ายแพ้หลังจากที่ทรงใช้เวลาถึงสิบสี่ปีในการต่อต้านจักรวรรดิกาหลิปรอชิดีนซึ่งเป็นหนึ่งในจักรวรรดิกาหลิปอิสลามที่ตามกันมา จักรวรรดิซาสซานิยะห์หรือที่เรียกว่า “Eranshahr” (“จักรวรรดิอิหร่าน”) ตั้งอยู่ในบริเวณที่เป็นปัจจุบันคืออิหร่าน, อิรัก, อาร์มีเนีย, ทางตอนใต้ของคอเคซัส (รวมทั้งทางตอนใต้ของดาเกสถาน), ตะวันตกเฉียงใต้ของเอเชียกลาง, ตะวันตกของอัฟกานิสถาน, บางส่วนของตุรกี, บางส่วนของซีเรีย, บริเวณริมฝั่งทะเลของคาบสมุทรอาหรับ, บริเวณอ่าวเปอร์เซีย และบางส่วนของทางตะวันตกเฉียงใต้ของปากีสถาน สมัยการปกครองของซาสซานิยะห์เป็นสมัยอันยาวนานของปลายสมัยโบราณและถือกันว่าเป็นสมัยที่สำคัญที่สุดและมีอิทธิพลที่สุดทางประวัติศาสตร์สมัยหนึ่งของ เป็นสมัยที่รุ่งเรืองที่สุดของวัฒนธรรมของเปอร์เซียแ ละเป็นจักรวรรดิอันยิ่งใหญ่จักรวรรดิสุดท้ายก่อนที่จะเริ่มยุคการพิชิตของมุสลิมและการยอมรับนับถือศาสนาอิสลาม วัฒนธรรมของเปอร์เซียมีอิทธิพลต่อวัฒนธรรมของโรมันเป็นอันมากในยุคซาสซานิยะห์J.

ใหม่!!: ประวัติศาสตร์เอเชียกลางและจักรวรรดิแซสซานิด · ดูเพิ่มเติม »

จักรวรรดิเปอร์เชีย

ักรวรรดิเปอร์เชีย (Persian Empire) คือจักรวรรดิและอาณาจักรต่างๆในประวัติศาสตร์ของเปอร์เชียที่ปกครองต่อเนื่องกันมาในบริเวณที่ราบสูงอิหร่าน, ถิ่นกำเนิดของเปอร์เชีย และไกลไปทางเอเชียตะวันตก, เอเชียใต้, เอเชียกลาง และ บริเวณคอเคซัส จักรวรรดิเปอร์เชียจักรวรรดิแรกก่อตั้งภายใต้จักรวรรดิมีเดีย (728–559 ปีก่อนคริสต์ศักราช) หลังจากการโค่นจักรวรรดิอัสซีเรียด้วยความช่วยเหลือของบาบิโลเนีย จักรวรรดิเปอร์เชียอคีเมนียะห์ (550–330 ปีก่อนคริสต์ศักราช) เป็นจักรวรรดิที่ใหญ่ที่สุดในยุคโบราณ และมารุ่งเรืองที่สุดในรัชสมัยของพระเจ้าดาไรอัสมหาราช และ พระเจ้าเซอร์ซีสมหาราช — ผู้มีชื่อเสียงว่าเป็นศัตรูคนสำคัญของรัฐกรีกโบราณ (ดู สงครามกรีก-เปอร์เชีย) บริเวณที่ตั้งเดิมอยู่ในบริเวณที่ในปัจจุบันรู้จักกันว่าจังหวัดพาร์ส (จังหวัดฟาร์ส) ในประเทศอิหร่านปัจจุบัน จักรวรรดิเปอร์เชียก่อตั้งภายใต้พระเจ้าไซรัสมหาราชผู้ทรงยึดจักรวรรดิจากชนมีดีส (Medes) และทรงขยายดินแดนออกไปทางตะวันออกกลางที่รวมทั้งดินแดนของบาบิโบเนีย, อัสซีเรีย, ฟินิเซีย และ ลิเดีย หลังจากนั้นพระเจ้าแคมไบซีสที่ 2 แห่งเปอร์เชีย (Cambyses II of Persia) พระราชโอรสในพระเจ้าไซรัสก็ทรงดำเนินนโยบายการขยายดินแดนต่อไปยังอียิปต์ จักรวรรดิอคีเมนียะห์มาสิ้นสุดลงระหว่างสงครามอเล็กซานเดอร์มหาราช แต่ก็มาฟื้นตัวอีกครั้งในรูปของจักรวรรดิพาร์เธียน และ จักรวรรดิซาสซานิยะห์ แห่ง อิหร่าน ที่ตามมาด้วยยุคประวัติศาสตร์หลังศาสนาอิสลามของจักรวรรดิต่างๆ เช่น จักรวรรดิทาฮิริยะห์, จักรวรรดิซาฟาริยะห์, จักรวรรดิไบอิยะห์, จักรวรรดิซามานิยะห์, จักรวรรดิกาสนาวิยะห์, จักรวรรดิเซลจุค และ จักรวรรดิควาเรซเมีย มาจนถึงอิหร่านปัจจุบัน จักรวรรดิต่างๆ ที่รุ่งเรืองต่อเนื่องกันมาในเกรตเตอร์อิหร่าน ก่อนเดือนมีนาคม..

ใหม่!!: ประวัติศาสตร์เอเชียกลางและจักรวรรดิเปอร์เชีย · ดูเพิ่มเติม »

ทวีปยุโรป

ทวีปยุโรป (อ่านว่า "ยุ-โหฺรบ") มีฐานะเป็นทวีปทั้งในแง่ประวัติศาสตร์และวัฒนธรรม ในทางภูมิศาสตร์ ยุโรปเป็นอนุทวีปที่อยู่ทางด้านตะวันตกของมหาทวีปยูเรเชีย ยุโรปมีพรมแดนทางเหนือติดกับมหาสมุทรอาร์กติก ทางตะวันตกติดกับมหาสมุทรแอตแลนติก ทางใต้ติดกับทะเลเมดิเตอร์เรเนียนและทะเลดำ ด้านตะวันออกติดกับเทือกเขายูรัลและทะเลแคสเปียน "Europe" (pp. 68-9); "Asia" (pp. 90-1): "A commonly accepted division between Asia and Europe...

ใหม่!!: ประวัติศาสตร์เอเชียกลางและทวีปยุโรป · ดูเพิ่มเติม »

ทะเล

ทะเลโบฟอร์ต ทะเล เป็นแหล่งน้ำเค็มขนาดใหญ่ที่ล้อมรอบด้วยพื้นดินทั้งหมดหรือบางส่วน.

ใหม่!!: ประวัติศาสตร์เอเชียกลางและทะเล · ดูเพิ่มเติม »

ข้าวบาร์เลย์

้าวบาร์เลย์ เป็นธัญพืชชนิดหนึ่ง ที่อยู่ในตระกูลหญ้า มีประโยชน์มากทั้งแก่มนุษย์และสัตว์ ทั้งยังสามารถแปรรูปทำเป็นแป้งและเบียร์ได้ด้วย เป็นพืชที่สามารถสะสมอะลูมิเนียมได้ 1,000 mg/kgGrauer & Horst 1990,McCutcheon & Schnoor 2003, Phytoremediation. New Jersey, John Wiley & Sons pg 891.

ใหม่!!: ประวัติศาสตร์เอเชียกลางและข้าวบาร์เลย์ · ดูเพิ่มเติม »

ข้าวสาลี

้าวสาลี (Triticum spp.) Belderok, Bob & Hans Mesdag & Dingena A. Donner.

ใหม่!!: ประวัติศาสตร์เอเชียกลางและข้าวสาลี · ดูเพิ่มเติม »

ตระกูลภาษาอินโด-ยูโรเปียน

ตระกูลภาษาอินโด-ยูโรเปียน หรือ ตระกูลภาษาอินเดีย-ยุโรป ประกอบด้วยภาษาและภาษาย่อยรวม 443 ภาษา (ตามการประมาณของ SIL) ที่พูดโดยคนประมาณ 3 พันล้านคน ซึ่งรวมถึงตระกูลภาษาหลัก ๆ ของยุโรป และเอเชียตะวันตก ซึ่งจัดอยู่ในตระกูลใหญ่ ภาษาปัจจุบันที่อยู่ในตระกูลใหญ่นี้ มีเช่น ภาษาเบงกาลี ภาษาอังกฤษ ภาษาฝรั่งเศส ภาษาเยอรมัน ภาษาฮินดี ภาษาโปรตุเกส ภาษารัสเซีย และ ภาษาสเปน (แต่ละภาษามีคนพูดมากกว่า 100 ล้านคน).

ใหม่!!: ประวัติศาสตร์เอเชียกลางและตระกูลภาษาอินโด-ยูโรเปียน · ดูเพิ่มเติม »

ตีมูร์

ติมูร์ (Timur bin Taraghay Barlas หรือ Tamerlane) มีชีวิตอยู่ในปี ค.ศ. 1336 ถึงเดือนกุมภาพันธ์ ค.ศ. 1405 เป็นที่รู้จักในหมู่ชาวตะวันตกว่า Tamerlane ติมูร์เป็นขุนศึกที่มีเชื้อสายผสมระหว่างมองโกลและเติร์ก และเป็นผู้พิชิตดินแดนส่วนใหญ่ของเอเชียตะวันตกและเอเชียกลาง และยังเป็นผู้ก่อตั้งจักรวรรดิตีมูร์ และ ราชวงศ์ตีมูร์ ซึ่งจะคงอยู่ต่อไปจนถึงปี..

ใหม่!!: ประวัติศาสตร์เอเชียกลางและตีมูร์ · ดูเพิ่มเติม »

ซฺยงหนู

thumb ซฺยงหนู ตามสำเนียงกลาง หรือ เฮงโน้ว ตามสำเนียงฮกเกี้ยน เป็นชื่อเรียกกลุ่มชนโบราณซึ่งมีพวกร่อนเร่เป็นพื้น และตั้งตัวกันเป็นรัฐหรือสหพันธรัฐ อยู่ในภาคเหนือของประเทศจีน ข้อมูลข่าวสารส่วนใหญ่เกี่ยวกับพวกซฺยงหนูจึงมาจากจีน กับทั้งชื่อเสียงเรียงนามของคนเหล่านั้นก็เป็นที่ทราบกันไม่มาก จึงใช้ตามที่จีนทับศัพท์มาจากภาษาซฺยงหนูอีกทอดหนึ่ง อัตลักษณ์ของแกนกลางทางชาติพันธุ์ซฺยงหนูนั้นเป็นแต่สมมุมติฐานกันไปในหลายทาง เพราะภาษาซฺยงหนู โดยเฉพาะชื่อแซ่บุคคลนั้น ปรากฏในแหล่งข้อมูลจีนน้อยมาก นักวิชาการเสนอว่า คนซฺยงหนูอาจใช้ภาษาเติร์ก (Turkic), มองโกล (Mongolic), เยนีเซย์ (Yeniseian), Beckwith 2009: 404-405, nn.

ใหม่!!: ประวัติศาสตร์เอเชียกลางและซฺยงหนู · ดูเพิ่มเติม »

ประเทศอัฟกานิสถาน

อัฟกานิสถาน (Afghanistan; افغانستان) เป็นประเทศในภูมิภาคเอเชียใต้ มีอาณาเขตทางทิศตะวันตกจรดประเทศอิหร่าน ทางทิศใต้และตะวันออกติดปากีสถาน ทางทิศเหนือติดเติร์กเมนิสถาน อุซเบกิสถาน และทาจิกิสถาน ส่วนทางทิศตะวันออกสุดติดประเทศจีน อัฟกานิสถานเป็นประเทศที่ไม่มีทางออกสู่ทะเล ระหว่างการล้มตอลิบานโดยการรุกรานอัฟกานิสถานของสหรัฐอเมริกา และความสำเร็จของโลยา จีร์กา ในปี พ.ศ. 2546 ชาวตะวันตกเรียกอัฟกานิสถานว่า Transitional Islamic State of Afghanistan อย่างไรก็ดี ภายใต้รัฐธรรมนูญของอัฟกานิสถานฉบับปัจจุบัน ประเทศนี้เรียกว่า สาธารณรัฐอิสลามอัฟกานิสถาน ในปัจจุบันเป็นหนึ่งในประเทศที่ยากจนที่สุดในโลก.

ใหม่!!: ประวัติศาสตร์เอเชียกลางและประเทศอัฟกานิสถาน · ดูเพิ่มเติม »

ประเทศอุซเบกิสถาน

อุซเบกิสถาน (Uzbekistan; O'zbekiston) หรือชื่ออย่างเป็นทางการก็คือ สาธารณรัฐอุซเบกิสถาน (Republic of Uzbekistan; O‘zbekiston Respublikasi) เป็นประเทศในทวีปเอเชียกลางที่ถูกล้อมรอบด้วยประเทศที่ไม่มีทางออกสู่ทะเล มีอาณาเขตติดกับประเทศอัฟกานิสถานในทวีปเอเชียใต้ ประเทศคาซัคสถาน คีร์กีซสถาน ทาจิกิสถาน และเติร์กเมนิสถาน และมีชายฝั่งบนทะเลอารัล อุซเบกิสถานเคยเป็นส่วนหนึ่งของสหภาพโซเวียต.

ใหม่!!: ประวัติศาสตร์เอเชียกลางและประเทศอุซเบกิสถาน · ดูเพิ่มเติม »

ประเทศทาจิกิสถาน

ทาจิกิสถาน (Tajikistan; Тоҷикистон) หรือชื่อทางการว่า สาธารณรัฐทาจิกิสถาน (Republic of Tajikistan; Ҷумҳурии Тоҷикистон) เป็นประเทศที่ไม่มีทางออกสู่ทะเลในภูมิภาคเอเชียกลาง มีอาณาเขตติดต่อกับอัฟกานิสถาน จีน คีร์กีซสถาน และอุซเบกิสถาน ทาจิกิสถานเคยเป็นส่วนหนึ่งของสหภาพโซเวียต.

ใหม่!!: ประวัติศาสตร์เอเชียกลางและประเทศทาจิกิสถาน · ดูเพิ่มเติม »

ประเทศคาซัคสถาน

อัลมาตี คาซัคสถาน (Қазақстан,; Казахстан) มีชื่อทางการว่า สาธารณรัฐคาซัคสถาน (Қазақстан Республикасы; Республика Казахстан) เป็นประเทศที่ไม่มีทางออกสู่ทะเลใหญ่ที่สุดในโลก มีพื้นที่ครอบคลุมกว้างขวางในทวีปเอเชีย และเป็นสาธารณรัฐในอดีตสหภาพโซเวียต มีพรมแดนติดกับประเทศรัสเซีย สาธารณรัฐประชาชนจีน และประเทศในเอเชียกลาง ได้แก่ คีร์กีซถาน อุซเบกิสถาน และเติร์กเมนิสถาน และมีชายฝั่งบนทะเลแคสเปียน คาซัคสถานเคยเป็นส่วนหนึ่งของสหภาพโซเวียต คาซัคสถานเป็นประเทศที่มีพื้นที่ใหญ่เป็นอันดับ 9 ของโลก อย่างไรก็ดี มีพื้นที่กึ่งทะเลทราย (steppe) อยู่มาก จึงมีประชากรเป็นอันดับที่ 57 มีประมาณ 6 คน/ตร.กม.

ใหม่!!: ประวัติศาสตร์เอเชียกลางและประเทศคาซัคสถาน · ดูเพิ่มเติม »

ประเทศคีร์กีซสถาน

ก พิพิธภัณฑ์เลนิน ชายสวมหมวกแบบดั้งเดิม คีร์กีซสถาน (คีร์กีซและКыргызстан) หรือมีชื่ออย่างเป็นทางการว่า สาธารณรัฐคีร์กีซ (Кыргыз Республикасы; Кыргызская Республика) เป็นประเทศในเอเชียกลาง มีพรมแดนติดกับสาธารณรัฐประชาชนจีน คาซัคสถาน ทาจิกิสถาน และอุซเบกิสถาน เป็นประเทศที่ไม่มีทางออกสู่ทะเล เมืองหลวงและเมืองใหญ่ที่สุดมีชื่อว่าบิชเคก (เดิมเรียกว่า ฟรุนเซ) คีร์กีซสถานเดิมเป็นส่วนหนึ่งของสหภาพโซเวียต.

ใหม่!!: ประวัติศาสตร์เอเชียกลางและประเทศคีร์กีซสถาน · ดูเพิ่มเติม »

ประเทศเติร์กเมนิสถาน

ติร์กเมนิสถาน (Türkmenistan) เป็นประเทศที่ไม่มีทางออกสู่ทะเล ตั้งอยู่ในภูมิภาคเอเชียกลาง มีพรมแดนติดกับคาซัคสถาน อุซเบกิสถาน ประเทศอัฟกานิสถาน อิหร่าน และมีชายฝั่งบนทะเลแคสเปียน เติร์กเมนิสถานเคยเป็นส่วนหนึ่งของสหภาพโซเวียต.

ใหม่!!: ประวัติศาสตร์เอเชียกลางและประเทศเติร์กเมนิสถาน · ดูเพิ่มเติม »

ปัญจาบ

ปัญจาบ อาจหมายถึง.

ใหม่!!: ประวัติศาสตร์เอเชียกลางและปัญจาบ · ดูเพิ่มเติม »

แกรนด์ดัชชีมอสโก

แกรนด์ดัชชีแห่งมอสโก (Великое Княжество Московское หรือ Velikoye Knyazhestvo Moskovskoye, Grand Duchy of Moscow) เป็นแกรนด์ดัชชีของรัสเซียในยุคกลางที่รุ่งเรืองระหว่างปี..

ใหม่!!: ประวัติศาสตร์เอเชียกลางและแกรนด์ดัชชีมอสโก · ดูเพิ่มเติม »

เส้นทางสายไหม

้นทางสายไหม (Silk Road หรือ Silk Route) เป็นชุดเส้นทางการส่งการค้าและวัฒนธรรมซึ่งเป็นศูนย์กลางของอันตรกิริยาทางวัฒนธรรมผ่านภูมิภาคของทวีปเอเชียที่เชื่อมตะวันตกและตะวันออกโดยการโยงพ่อค้าวาณิช ผู้แสวงบุญ นักบวช ทหาร ชนเร่ร่อนและผู้อาศัยในเมืองจากจีนและอินเดียไปยังทะเลเมดิเตอร์เรเนียนระหว่างเวลาหลายสมัย เส้นทางสายไหมมีความยาว 6,437 กิโลเมตร (4,000 ไมล์) ได้ชื่อมาจากการค้าผ้าไหมจีนที่มีกำไรมากตลอดเส้นทาง เริ่มตั้งแต่ราชวงศ์ฮั่น (206 ปีก่อน ค.ศ. – ค.ศ. 220) ราชวงศ์ฮั่นขยายเส้นทางการค้าส่วนเอเชียกลางราว 114 ปีก่อน..

ใหม่!!: ประวัติศาสตร์เอเชียกลางและเส้นทางสายไหม · ดูเพิ่มเติม »

เอเชียกลาง

แผนที่เอเชียกลางแสดงเขตแดนตามคำนิยามที่ต่างกัน 3 แบบ เอเชียกลาง(อังกฤษ: Central Asia หรือ Middle Asia รัสเซีย: Центральная Азия) เป็นพื้นที่กว้างใหญ่ในทวีปเอเชียที่ไม่มีทางออกทะเล มีคำนิยามที่ต่างกันออกไปสำหรับขอบเขตของดินแดนที่จัดอยู่ในภูมิภาคเป็นเอเชียกลาง และยังไม่มีคำนิยามใดที่เป็นที่ยอมรับโดยส่วนใหญ่ อย่างไรก็ตามลักษณะโดยทั่วไปของดินแดนในภูมิภาคนี้คือ มีความเกี่ยวข้องทางประวัติศาสตร์กับกลุ่มชนร่อนเร่ (nomad) และ เส้นทางสายไหม ซึ่งทำให้ในอดีตนั้นดินแดนในภูมิภาคนี้เป็นเสมือนเส้นทางของ สินค้า คน รวมถึง แนวความคิด ระหว่างยุโรป ตะวันออกกลาง เอเชียใต้ และเอเชียตะวันออก.

ใหม่!!: ประวัติศาสตร์เอเชียกลางและเอเชียกลาง · ดูเพิ่มเติม »

เจงกีส ข่าน

งกีส ข่าน (Чингис Хаан, Chinggis Khaan, Činggis Qaɣan; หรือ,; Genghis Khan; พ.ศ. 1705 หรือ 1708 — 18 สิงหาคม พ.ศ. 1770) เจงกีส แปลว่า “เวิ้งสมุทร, มหาสมุทร” (ซึ่งเปรียบได้ว่า เจงกีส ข่าน มีความยิ่งใหญ่ ดั่งเวิ้งมหาสมุทรนั่นเอง) จักรพรรดินักรบชาวมองโกลผู้พิชิต ผู้ก่อตั้งจักรวรรดิมองโกล เดิมมีนามว่า เตมูจิน (Temüjin) ตามสถานที่เกิดริมฝั่งแม่น้ำโอนอน เป็นผู้นำครอบครัวแทนบิดาเมื่ออายุเพียง 13 ปี และต้องดิ้นรนต่อสู้ขับเคี่ยวกับชนเผ่าต่าง ๆ ที่เป็นอริอยู่หลายปี ปราบเผ่า “ไนแมน” ทางด้านตะวันตก พิชิตชนชาติ “ตันกุต” (เซี่ยตะวันตก) และยอมรับการจำนนของชาว “อุยกูร์” ในปี..

ใหม่!!: ประวัติศาสตร์เอเชียกลางและเจงกีส ข่าน · ดูเพิ่มเติม »

ขาออกขาเข้า
Hey! เราอยู่ใน Facebook ตอนนี้! »