โลโก้
ยูเนี่ยนพีเดีย
การสื่อสาร
ดาวน์โหลดได้จาก Google Play
ใหม่! ดาวน์โหลด ยูเนี่ยนพีเดีย บน Android ™ของคุณ!
ติดตั้ง
เร็วกว่าเบราว์เซอร์!
 

ความประมาทเลินเล่อ

ดัชนี ความประมาทเลินเล่อ

วามประมาทเลินเล่อ (negligence) หมายถึง ความที่กระทำการใด ๆ โดยปราศจากความระมัดระวัง หรือโดยละเลยในสิ่งที่ควรกระทำ ผู้กระทำการโดยประมาทเลินเล่ออย่างร้ายแรง (gross negligence) กฎหมายไม่อภัยให้เลย และจะเรียกร้องใด ๆ ก็มิได้ด้วย เช่น ผู้ได้รับความเสียหายจากการทำสัญญาซื้อขาย โดยที่ตอนทำสัญญานั้นไม่อ่านข้อความในหนังสือสัญญาให้ถี่ถ้วนก่อน เป็นต้น ขุนสมาหารหิตะคดี (โป๊ โปรคุปต์) ผู้เขียนพจนานุกรมกฎหมายเล่มแรกของประเทศไทย ว่า "ประมาท ตามธรรมดาหมายถึง กิริยาที่กระทำลงโดยมิได้ตั้งใจจะให้เกิดผลเช่นนั้น แต่ได้กระทำการอย่างใดซึ่งคนธรรมดาจะไม่กระทำ หรือละเว้นกระทำการอย่างใดซึ่งคนธรรมดาจะกระทำ จนเกิดผลอันเนื่องจากการกระทำนั้น ผู้ใดกระทำลงโดยความประมาท อาจจะต้องรับผิดชอบในทางกฎหมายก็ได้ ไม่อาจต้องรับผิดชอบในทางกฎหมายก็ได้ เช่น ผู้ที่ขับรถโดยไม่ใช้ความระมัดระวังอย่างธรรมดา ขับรถไปทับคนเข้า ผู้ขับจะต้องรับผิดชอบ แต่ถ้าผู้ใดเดินหลับตาจะไปยังที่แห่งหนึ่ง แต่กลับเดินลงไปในคลอง ผู้นั้นไม่ต้องรับผิดชอบ เพราะฉะนั้น การประมาทที่จะใช้ได้ตามกฎหมายนั้น หมายถึง ผู้ใดมีหน้าที่ใช้ความระวังตามกฎหมาย ผู้นั้นไม่ใช้ความระวัง กลับกระทำผิดหน้าที่ กระทำให้ผู้อื่นต้องเสียหายอันเป็นผลโดยตรงหรือใกล้ชิดกับเหตุ โดยที่ผู้กระทำมิได้ตั้งใจจะให้เกิดผลเช่นนั้น..." คำว่า "ประมาทเลินเล่อ" เป็นคำที่ใช้ในทางกฎหมายแพ่ง ส่วนทางอาญาจะใช้ว่า "ประมาท" เฉ.

4 ความสัมพันธ์: พจนานุกรมกฎหมายกฎหมายแพ่งสำนักงานราชบัณฑิตยสภาประเทศไทย

พจนานุกรมกฎหมาย

แถวพจนานุกรมกฎหมายฉบับภาษาอังกฤษและภาษารัสเซีย พจนานุกรมกฎหมาย (law dictionary) เป็นพจนานุกรมประเภทหนึ่งซึ่งจัดทำขึ้นเพื่อให้นิยามสำหรับบรรดาคำที่ใช้ในทางกฎหมาย พจนานุกรมมีหลายรูปแบบแล้วแต่เกณฑ์การจัด เช่น เกณฑ์ภาษา ได้แก่ พจนานุกรมแบบเอกภาษา (monolingual) และแบบทวิภาษา (bilingual) เป็นต้น, เกณฑ์ความครอบคลุม ได้แก่ พจนานุกรมแบบครอบจักรวาล (single-field dictionary) ซึ่งครอบคลุมสาขาทั้งหมดในทางกฎหมาย ขณะอันซึ่งครอบคลุมบางสาขาจะเรียก พจนานุกรมแบบสาขาย่อย (sub-field dictionary), และเกณฑ์การกำหนดศัพท์ ได้แก่ แบบขั้นสูง (maximizing dictionary) คือที่กำหนดศัพท์ครอบคลุมทุกสาขาของกฎหมาย และแบบขั้นต่ำ (minimizing dictionary) เป็นต้น แซนโดร นีลเซน (Sandro Nielsen) ว่าใน ค.ศ. 1994 (พ.ศ. 2537) ว่า พจนานุกรมกฎหมายสามารถปฏิบัติหน้าที่ได้หลายแขนง ทั้งช่วยให้ผู้อ่านเข้าใจในบทบัญญัติที่ตนต้องการทำความเข้าใจด้วย เรียกว่าเป็นประโยชน์ในทางสื่อสาร (communicative benefit) และช่วยให้ผู้อ่านได้รับสารประโยชน์และความรู้ทางกฎหมายตามแต่ความสนใจ เรียกว่าเป็นประโยชน์ในทางเรียนรู้ (cognitive benefit) ซึ่งประโยชน์เหล่านี้มักปรากฏในพจนานุกรมกฎหมายแบบเอกภาษามากกว่า ขณะที่แบบทวิภาษานั้นมักประกอบด้วยคำศัพท์หรือคำอธิบายศัพท์ในสองภาษา อันจะช่วยยังความรู้เกี่ยวกับกฎหมายในภาษาต่างประเทศได้เป็นอย่างดี โดยเฉพาะเกี่ยวกับกฎหมายของต่างประเทศ ตลอดจนช่วยในการแปลกฎหมายจากภาษาหนึ่งเป็นภาษาหนึ่งด้วย อนึ่ง ตำราศัพทวิทยาทางกฎหมาย (legal terminology textbook) จะต่างจากพจนานุกรมกฎหมายซึ่งมีการเรียงคำศัพท์และให้คำอธิบายศัพท์ตามลำดับอักษร ตรงที่ตำราศัพทวิทยาจะลำดับศัพท์ตามหมวดหมู่หรือหัวเรื่องเป็นต้น ซึ่งผู้สนใจในคำศัพท์กฎหมายในหมวดหมู่หนึ่ง ๆ มักเปิดตำราศัพทวิทยาทางกฎหมายมากกว่าพจนานุกรมกฎหมาย สำหรับพจนานุกรมกฎหมายฉบับแรกของประเทศไทย คือ พจนานุกรมกฎหมายของ ขุนสมาหารหิตะคดี (โป๊ โปรคุปต์) ซึ่งมีคำโฆษณาบนปกว่า "พจนานุกรมกฎหมายเล่มแรกของประเทศไทย บรรจุคำตั้งแต่โบราณกาลถึงปัจจุบันกาล สำหรับความสะดวกในผู้ใคร่ศึกษาและผู้ต้องการทราบ" อย่างไรก็ดี ที่ว่า "ปัจจุบันกาล" บนปกนั้นหมายถึงกาลที่พจนานุกรมพิมพ์ขึ้น คือ พ.ศ. 2474 เท่านั้น แม้ว่าจะได้รับการพิมพ์ซ้ำเป็นครั้งที่สองใน พ.ศ. 2549 แต่พจนานุกรมฉบับนี้ยังมิได้รับการปรับปรุงนับแต่บัดนั้นจนบัดนี้ อย่างไรก็ดี ยังมีพจนานุกรมกฎหมายอีกหลายเล่มในภาษาไทยที่มีการปรับปรุงเสมอ เช่น พจนานุกรมศัพท์กฎหมายไทย ฉบับราชบัณฑิตยสถาน ฯลฯ.

ใหม่!!: ความประมาทเลินเล่อและพจนานุกรมกฎหมาย · ดูเพิ่มเติม »

กฎหมายแพ่ง

กฎหมายแพ่ง (civil law) เป็นกฎหมายที่วางระเบียบความเกี่ยวพันระหว่างบุคคลเกี่ยวกับสถานภาพ สิทธิ และหน้าที่ของบุคคลตามกฎหมาย เช่น กฎหมายว่าด้วยนิติกรรม เอกเทศสัญญา ทรัพย์สิน ครอบครัว มรดก แต่งงาน.

ใหม่!!: ความประมาทเลินเล่อและกฎหมายแพ่ง · ดูเพิ่มเติม »

สำนักงานราชบัณฑิตยสภา

ำนักงานราชบัณฑิตยสภา (Office of the Royal Society) หรือชื่อเดิมว่า ราชบัณฑิตยสถาน (the Royal Institute), ข่าวประชาสัมพันธ์ เว็บไซต.

ใหม่!!: ความประมาทเลินเล่อและสำนักงานราชบัณฑิตยสภา · ดูเพิ่มเติม »

ประเทศไทย

ประเทศไทย มีชื่ออย่างเป็นทางราชการว่า ราชอาณาจักรไทย เป็นรัฐชาติอันตั้งอยู่ในภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ เดิมมีชื่อว่า "สยาม" รัฐบาลประกาศเปลี่ยนชื่อเป็นประเทศไทยอย่างเป็นทางการตั้งแต่ปี 2482 ประเทศไทยมีขนาดใหญ่เป็นอันดับที่ 50 ของโลก มีเนื้อที่ 513,115 ตารางกิโลเมตร และมีประชากรมากเป็นอันดับที่ 20 ของโลก คือ ประมาณ 66 ล้านคน กรุงเทพมหานครเป็นศูนย์กลางการบริหารราชการแผ่นดินและนครใหญ่สุดของประเทศ และการปกครองส่วนภูมิภาค จัดระเบียบเป็น 76 จังหวัด แม้จะมีการสถาปนาระบอบราชาธิปไตยภายใต้รัฐธรรมนูญและประชาธิปไตยระบบรัฐสภาในปี 2475 แต่กองทัพยังมีบทบาทในการเมืองไทยสูง ล่าสุด เกิดรัฐประหารเมื่อวันที่ 22 พฤษภาคม 2557 และมีการปกครองแบบเผด็จการทหารนับแต่นั้น พบหลักฐานการอยู่อาศัยอย่างต่อเนื่องในอาณาเขตประเทศไทยปัจจุบันตั้งแต่ 20,000 ปีก่อนคริสตกาล ชาวไทเริ่มอพยพเข้าสู่บริเวณนี้ในคริสต์ศตวรรษที่ 11 แล้วเข้ามาตั้งแว่นแคว้นต่าง ๆ ที่สำคัญได้แก่ อาณาจักรสุโขทัย อาณาจักรล้านนาและอาณาจักรอยุธยา นักประวัติศาสตร์มักถือว่าอาณาจักรสุโขทัยเป็นจุดเริ่มต้นของประวัติศาสตร์ไทย ต่อมาอาณาจักรอยุธยาค่อย ๆ เรืองอำนาจมากขึ้นจนเป็นมหาอำนาจในภูมิภาคในปลายคริสต์ศตวรรษที่ 14 การติดต่อกับชาติตะวันตกเริ่มด้วยผู้แทนทางทูตชาวโปรตุเกสในปี 2054 อาณาจักรรุ่งเรืองอย่างมากในรัชกาลสมเด็จพระนารายณ์มหาราช (ครองราชย์ปี 2199–2231) แต่หลังจากนั้นค่อย ๆ เสื่อมอำนาจโดยมีสาเหตุส่วนหนึ่งจากการผลัดแผ่นดินที่มีการนองเลือดหลายรัชกาล จนสุดท้ายกรุงศรีอยุธยาถูกทำลายสิ้นเชิงในปี 2310 สมเด็จพระเจ้ากรุงธนบุรีทรงรวบรวมแผ่นดินที่แตกออกเป็นก๊กต่าง ๆ และสถาปนาอาณาจักรธนบุรีที่มีอายุ 15 ปี ความวุ่นวายในช่วงปลายอาณาจักรนำไปสู่การสำเร็จโทษพระองค์โดยพระบาทสมเด็จพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลกมหาราช ปฐมราชวงศ์จักรีแห่งกรุงรัตนโกสินทร์ ช่วงต้นกรุงรัตนโกสินทร์ ประเทศเผชิญภัยคุกคามจากชาติใกล้เคียง แต่หลังรัชกาลพระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวเป็นต้นมา ชาติตะวันตกเริ่มมีอิทธิพลในภูมิภาคเป็นอย่างมาก นำไปสู่การเข้าเป็นภาคีแห่งสนธิสัญญาไม่เป็นธรรมหลายฉบับ กระนั้น สยามไม่ตกเป็นอาณานิคมของตะวันตกชาติใด มีการปรับให้สยามทันสมัยและรวมอำนาจปกครองในรัชกาลพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว (ครองราชย์ปี 2411–53) สยามเข้าร่วมกับฝ่ายสัมพันธมิตรในสงครามโลกครั้งที่หนึ่งในปี 2460; ในปี 2475 เกิดการปฏิวัติเปลี่ยนแปลงการปกครองสู่ระบอบราชาธิปไตยภายใต้รัฐธรรมนูญโดยไม่เสียเลือดเนื้อ คณะราษฎรมีบทบาทนำทางการเมือง และในพุทธทศวรรษ 2480 นายกรัฐมนตรี จอมพล แปลก พิบูลสงคราม ดำเนินนโยบายชาตินิยมเข้มข้น ระหว่างสงครามโลกครั้งที่สอง ไทยเข้ากับฝ่ายอักษะ แต่ฝ่ายสัมพันธมิตรส่วนใหญ่ไม่ยอมรับการประกาศสงคราม ในช่วงสงครามเย็น ประเทศไทยเป็นพันธมิตรกับสหรัฐซึ่งสนับสนุนรัฐบาลทหารมาก รัฐประหารที่มีจอมพล สฤษดิ์ ธนะรัชต์เป็นหัวหน้าคณะในปี 2500 ทำให้คณะราษฎรหมดอำนาจ รัฐบาลฟื้นฟูพระราชอำนาจและมีมาตรการต่อต้านคอมมิวนิสต์ในภูมิภาค ผลของเหตุการณ์ 14 ตุลา 2516 ทำให้เกิดประชาธิปไตยระบบรัฐสภาช่วงสั้น ๆ ประเทศไทยมีนายกรัฐมนตรีจากการเลือกตั้งครั้งแรกในปี 2531 หลังพุทธทศวรรษ 2540 มีวิกฤตการเมืองระหว่างฝ่ายที่สนับสนุนและต่อต้านอดีตนายกรัฐมนตรีทักษิณ ชินวัตรมาจนปัจจุบัน รวมทั้งเกิดรัฐประหารสองครั้ง โดยครั้งล่าสุดเกิดในปี 2557 รัฐธรรมนูญฉบับปัจจุบันเป็นฉบับที่ 20 ประกาศใช้เมื่อวันที่ 6 เมษายน 2560 หลังมีการลงประชามติรับร่างเมื่อหนึ่งปีก่อน ประเทศไทยเป็นสมาชิกสหประชาชาติ เอเปก อีกทั้งเป็นร่วมผู้ก่อตั้งอาเซียน ประเทศไทยเป็นพันธมิตรของสหรัฐตั้งแต่สนธิสัญญาซีโต้ในปี 2497 ถือเป็นประเทศอำนาจนำภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้และประเทศอำนาจปานกลางในเวทีโลก ประเทศไทยเป็นประเทศที่มีรายได้ปานกลาง-สูงและประเทศอุตสาหกรรมใหม่ มีรายได้หลักจากภาคอุตสาหกรรมและบริการ การเปลี่ยนแปลงทางเศรษฐกิจทำให้มีการอพยพเข้าสู่เมืองในคริสต์ศตวรรษที่ 20 ตามประมาณการในปี 2560 จีดีพีของประเทศไทยมีมูลค่าราว 432,898 ล้านดอลลาร์สหรัฐ นับว่าเศรษฐกิจไทยเป็นเศรษฐกิจใหญ่สุดเป็นอันดับ 2 ในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้และใหญ่เป็นอันดับที่ 26 ของโลก.

ใหม่!!: ความประมาทเลินเล่อและประเทศไทย · ดูเพิ่มเติม »

เปลี่ยนเส้นทางที่นี่:

ประมาทเลินเล่อ

ขาออกขาเข้า
Hey! เราอยู่ใน Facebook ตอนนี้! »