โลโก้
ยูเนี่ยนพีเดีย
การสื่อสาร
ดาวน์โหลดได้จาก Google Play
ใหม่! ดาวน์โหลด ยูเนี่ยนพีเดีย บน Android ™ของคุณ!
ฟรี
เร็วกว่าเบราว์เซอร์!
 

ประชาธิปไตยแบบมีผู้แทน

ดัชนี ประชาธิปไตยแบบมีผู้แทน

ประชาธิปไตยแบบมีผู้แทน (representative democracy) เป็นประชาธิปไตยแบบหนึ่งซึ่งตั้งอยู่บนหลักว่า ข้าราชการจากการเลือกตั้งเป็นผู้แทนกลุ่มประชาชน ซึ่งขัดต่อประชาธิปไตยทางตรง ประชาธิปไตยแบบตะวันตกสมัยใหม่ทั้งหมดเป็นประชาธิปไตยแบบมีผู้แทนประเภทใดประเภทหนึ่งทั้งสิ้น เช่น สหราชอาณาจักรเป็นราชาธิปไตยภายใต้รัฐธรรมนูญ และเยอรมนีเป็นสาธารณรัฐระบบรัฐสภา ประชาธิปไตยแบบมีผู้แทนเป็นองค์ประกอบของทั้งระบบรัฐสภาหรือระบบประธานาธิบดี และตรงแบบใช้ในสภาล่าง เช่น สภาสามัญชน (สหราชอาณาจักร) หรือบุนเดชตัก (เยอรมนี) และอาจกำกับอีกทีหนึ่งโดยข้อบังคับตามรัฐธรรมนูญ เช่น สภาสูง ในสภานั้น อำนาจอยู่ในมือของผู้แทนราษฎรที่มาจากการเลือกตั้งโดยประชาชน หมวดหมู่:ประชาธิปไตย.

7 ความสัมพันธ์: ระบบรัฐสภาระบบประธานาธิบดีราชาธิปไตยภายใต้รัฐธรรมนูญสภาสามัญชนแห่งสหราชอาณาจักรสภาสูงสาธารณรัฐประชาธิปไตยโดยตรง

ระบบรัฐสภา

ราชาธิปไตยภายใต้รัฐธรรมนูญ พระมหากษัตริย์ที่ไม่มีอำนาจในการปกครอง ระบบรัฐสภา เป็นกลไกการปกครอง ที่ฝ่ายบริหารหรือรัฐบาลมีที่มาจากรัฐสภาซึ่งทำหน้าที่นิติบัญญัติ และมีความรับผิดชอบต่อสภา ในระบบรัฐสภา ตำแหน่งประมุขแห่งรัฐ และตำแหน่งหัวหน้ารัฐบาลมักจะแยกออกจากกัน โดยหัวหน้ารัฐบาลเป็นนายกรัฐมนตรี ในขณะที่ประมุขแห่งรัฐเป็นพระมหากษัตริย์ตามการสืบสันตติวงศ์ หรือประธานาธิบดีจากการเลือกตั้ง ระบบรัฐสภาสมัยใหม่มีต้นกำเนิดในอังกฤษใน ศตวรรษที่17 โดยมีประเทศที่ใช้ระบบสาธารณรัฐระบบรัฐสภาได้แก่ เยอรมนี อิตาลี อินเดีย ออสเตรีย ฮังการี ตุรกี อิรัก อิสราเอล ปากีสถาน สิงคโปร์ ไอร์แลนด์ ไอซ์แลนด์ ฟินแลนด์ กรีซ เซอร์เบีย เช็กเกีย บัลแกเรีย เนปาล บังกลาเทศ เอธิโอเปีย ซูรินาม เป็นต้น ส่วนประเทศที่ใช้ระบบราชาธิปไตยภายใต้รัฐธรรมนูญได้แก่ สหราชอาณาจักร ญี่ปุ่น ไทย กัมพูชา มาเลเซีย สเปน สวีเดน นอร์เวย์ เนเธอร์แลนด์ เบลเยียม เดนมาร์ก แคนาดา ออสเตรเลีย นิวซีแลนด์ ลักเซมเบิร์ก ลิกเตนสไตน์ โมนาโก อันดอร์รา เป็นต้น.

ใหม่!!: ประชาธิปไตยแบบมีผู้แทนและระบบรัฐสภา · ดูเพิ่มเติม »

ระบบประธานาธิบดี

ระบบประธานาธิบดี คือ ระบอบที่ตั้งให้ประมุขแห่งรัฐมีอำนาจสูงสุดอย่างเต็มที่ คณะรัฐบาลอยู่ใต้อำนาจของประมุขแห่งรัฐ (เช่น อำนาจในการแต่งตั้งหรือถอดถอนคณะรัฐบาล) ในรัฐธรรมนูญของบางประเทศ อาจให้มีตำแหน่งนายกรัฐมนตรีควบคู่ไปกับประธานาธิบดีได้ แต่ส่วนมากนายกรัฐมนตรีในระบบประธานาธิบดีจะไม่มีอำนาจเท่ากับในระบอบรัฐสภา ระบบประธานาธิบดีมีต้นกำเนิดในสหรัฐอเมริกา ประเทศที่ใช้ระบบประธานาธิบดีได้แก่ สหรัฐอเมริกา บราซิล เม็กซิโก เป็นต้น.

ใหม่!!: ประชาธิปไตยแบบมีผู้แทนและระบบประธานาธิบดี · ดูเพิ่มเติม »

ราชาธิปไตยภายใต้รัฐธรรมนูญ

ราชาธิปไตยภายใต้รัฐธรรมนูญ"ราชาธิปไตยภายใต้รัฐธรรมนูญ" เป็นศัพท์บัญญัติของ (constitutional monarchy) เป็นรูปแบบการปกครองในระบอบประชาธิปไตยซึ่งพระมหากษัตริย์ทรงเป็นประมุขแห่งรัฐโดยไม่ทรงมีบทบาททางการเมืองและทรงอยู่ในขอบเขตของรัฐธรรมนูญไม่ว่าเป็นหรือไม่เป็นลายลักษณ์อักษร ถึงแม้ว่าพระมหากษัตริย์อาจมีพระราชอำนาจโดยพระบารมีและรัฐบาลอาจดำเนินการในพระนาม แต่พระมหากษัตริย์จะไม่ทรงกำหนดนโยบายสาธารณะหรือเลือกผู้นำทางการเมือง เวอร์นอน บอกดานอร์ (Vernon Bogdanor) นักรัฐศาสตร์ชาวอังกฤษ นิยามว่า ราชาภายใต้รัฐธรรมนูญ คือ "องค์อธิปัตย์ที่ปกเกล้าแต่ไม่ปกครอง" (a sovereign who reigns but does not rule), excerpted from การปกครองรูปแบบนี้ต่างจากสมบูรณาญาสิทธิราชย์ที่พระมหากษัตริย์ทรงควบคุมการตัดสินใจทางการเมืองโดยไม่ทรงถูกรัฐธรรมนูญควบคุมเอาไว้ ราชาธิปไตยภายใต้รัฐธรรมนูญ บางทีเรียกว่า ปรมิตตาญาสิทธิราชย์ (limited monarchy) สาธารณรัฐอันมีพระมหากษัตริย์ทรงเป็นประมุข (crowned republic) หรือราชาธิปไตยแบบมีรัฐสภา (parliamentary monarchy) นอกจากเป็นศูนย์รวมใจของชนในชาติแล้ว ราชาภายใต้รัฐธรรมนูญอาจมีพระราชอำนาจอย่างเป็นทางการ เช่น ยุบสภานิติบัญญัติ หรืออนุมัติกฎหมาย แต่ส่วนใหญ่แล้วเป็นพระราชอำนาจทางพิธีการ มิใช่เป็นช่องให้พระมหากษัตริย์จัดการการเมืองได้โดยพลการ วอลเทอร์ แบกฮอต (Walter Bagehot) นักทฤษฎีการเมืองชาวอังกฤษ เขียนไว้ในหนังสือ ดิอิงลิชคอนสติติวชัน (The English Constitution) ว่า มีพระราชสิทธิ์สามประการเท่านั้นที่ราชาภายใต้รัฐธรรมนูญทรงใช้ได้ตามพระทัย คือ แสวงหาคำปรึกษา ประทานคำปรึกษา และประทานคำตักเตือน ประเทศราชาธิปไตยภายใต้รัฐธรรมนูญที่โดดเด่น เช่น สหราชอาณาจักรและอดีตเมืองขึ้นทั้งสิบห้าซึ่งล้วนใช้การปกครองที่เรียกว่า "ระบบเวสมินสเตอร์" (Westminster system) ส่วนรัฐสามแห่ง คือ กัมพูชา มาเลเซีย และสันตะสำนัก ใช้ราชาธิปไตยแบบเลือกตั้ง โดยให้อภิชนกลุ่มเล็ก ๆ เป็นคณะผู้เลือกตั้งองค์อธิปัตย์ขึ้นมาเป็นระยะ ๆ นับแต่เดือนกรกฎาคม..

ใหม่!!: ประชาธิปไตยแบบมีผู้แทนและราชาธิปไตยภายใต้รัฐธรรมนูญ · ดูเพิ่มเติม »

สภาสามัญชนแห่งสหราชอาณาจักร

มัญชน (House of Commons) เป็นสภาล่างในรัฐสภาแห่งอังกฤษ ประกอบไปด้วยสมาชิกสภาสามัญชน หรืออีกชื่อหนึ่งว่า สมาชิกสภาผู้แทนราษฎร อันมาจากการเลือกตั้งทุกห้าปี ในปัจจุบันมีสมาชิกสภาจำนวน 650 ที่นั่ง จากการเลือกตั้งทั่วไปในสหราชอาณาจักร พ.ศ. 2558 โดยมีวาระการดำรงตำแหน่งคราวละ 5 ปี การประชุมสภาร่วมฯ จัดขึ้นที่พระราชวังเวสต์มินสเตอร์ ปัจจุบันสภาสามัญชนมีบทบาทมากขึ้นเรื่อย ๆ เมื่อเทียบกับสภาขุนนาง (House of Lords) อันเป็นสภาสูง ซึ่งมีบทบาทน้อยลงเมื่อเทียบกับอดีต โดยบทบาทของสภาสามัญชนนั้นเพิ่มขึ้นอย่างเป็นรูปเป็นร่างครั้งแรกเมื่อปี 1911 จากการตรา "พระราชบัญญัติรั..

ใหม่!!: ประชาธิปไตยแบบมีผู้แทนและสภาสามัญชนแห่งสหราชอาณาจักร · ดูเพิ่มเติม »

สภาสูง

"สภาสูง" (อังกฤษ: upper house) เป็นชื่อเรียกสภานิติบัญญัติสภาหนึ่ง บางประเทศอาจมีสภานิติบัญญัติสองสภาประกอบกันเป็นรัฐสภา อีกสภาหนึ่งเรียก "สภาล่าง" ซึ่งบางประเทศอาจมีแต่สภาล่างทำหน้าที่สภานิติบัญญัติ ทั้งนี้ ขึ้นอยู่กับการกำหนดขององค์อธิปัตย์ในประเทศนั้น ๆ สำหรับประเทศไทยมีสองสภา สภาสูงเรียก วุฒิสภา สภาล่างเรียก สภาผู้แทนราษฎร ทั้งสองสภารวมกันเรียกว่า รั.

ใหม่!!: ประชาธิปไตยแบบมีผู้แทนและสภาสูง · ดูเพิ่มเติม »

สาธารณรัฐ

รณรัฐ (Republic) เป็นระบอบการปกครองที่ประเทศถูกพิจารณาว่าเป็น "กิจสาธารณะ" (res publica) มิใช่ธุระหรือทรัพย์สินส่วนตัวของผู้ปกครอง และที่ตำแหน่งหน้าที่ของรัฐได้รับเลือกตั้งโดยตรงหรือโดยอ้อม หรือได้รับแต่งตั้ง มิใช่ได้รับทอด ในสมัยใหม่ นิยามทั่วไปที่เข้าใจง่ายของสาธารณรัฐ คือ ระบอบการปกครองที่ประมุขแห่งรัฐมิใช่พระมหากษัตริย์ ปัจจุบัน รัฐเอกราช 135 จาก 206 รัฐใช้คำว่า "สาธารณรัฐ" เป็นส่วนหนึ่งชื่ออย่างเป็นทางการ ทั้งสาธารณรัฐสมัยใหม่และสมัยโบราณแตกต่างกันอย่างมากทั้งในอุดมการณ์และองค์ประกอบ ในสมัยคลาสสิกและสมัยกลาง ต้นแบบของทุกสาธารณรัฐ คือ สาธารณรัฐโรมัน ซึ่งหมายถึงกรุงโรมในระหว่างสมัยที่มีพระมหากษัตริย์กับสมัยที่มีจักรพรรดิ ประเพณีการเมืองสมัยกลางและสมัยฟื้นฟูศิลปวิทยาอิตาลีปัจจุบันที่เรียกว่า "มนุษยนิยมพลเมือง" (civic humanism) นั้น บางครั้งถูกมองว่าได้รับมาจากนักสาธารณรัฐนิยมโรมันโดยตรง อย่างไรก็ดี นักประพันธ์โรมันที่ได้รับอิทธิพลจากกรีก อย่างพอลิเบียสและคิเคโร บางครั้งใช้คำดังกล่าวเป็นคำแปลของคำภาษากรีกว่า politeia ซึ่งอาจหมายถึงระบอบโดยทั่วไป แต่ยังสามารถใช้กับระบอบบางประเภทโดยเจาะจงซึ่งมิได้สอดคล้องพอดีกับสาธารณรัฐโรมัน สาธารณรัฐมิได้เทียบเท่ากับประชาธิปไตยคลาสสิก เช่น เอเธนส์ แต่มีลักษณะความเป็นประชาธิปไตย ในสาธารณรัฐสมัยใหม่ เช่น สหรัฐอเมริกา ฝรั่งเศส รัสเซีย และอินเดีย ฝ่ายบริหารมีความชอบธรรมจากทั้งโดยรัฐธรรมนูญและการออกเสียงเลือกตั้งของประชาชน มงแต็สกีเยอรวมประชาธิปไตยทั้งสองแบบ ซึ่งประชาชนทุกคนมีส่วนร่วมในการปกครอง และอภิชนาธิปไตยหรือคณาธิปไตย ซึ่งมีคนเพียงส่วนน้อยเท่านั้นที่ปกครอง เป็นระบอบการปกครองแบบสาธารณรัฐ ส่วนใหญ่สาธารณรัฐมักเป็นรัฐเอกราช แต่ยังมีหน่วยต่ำกว่ารัฐที่เรียกว่า สาธารณรัฐ หรือมีการปกครองที่ถูกอธิบายว่า "เป็นสาธารณรัฐ" โดยธรรมชาติเช่นกัน ตัวอย่างเช่น มาตรา 4 ของรัฐธรรมนูญแห่งสหรัฐอเมริกา "ประกันว่าทุกรัฐในสหภาพนี้มีระบอบการปกครองแบบสาธารณรัฐ" เขตการปกครองของสหภาพโซเวียตถูกอธิบายว่าเป็นสาธารณรัฐ และสองในนั้น คือ สาธารณรัฐสังคมนิยมโซเวียตยูเครนและเบลารุส มีที่นั่งของตนในสหประชาชาติ ขณะที่รัฐธรรมนูญแห่งสหภาพโซเวียตอธิบายสหภาพว่าเป็น "รัฐเดี่ยว สหพันธ์และพหุชาติ" ที่จริงแล้วเป็นรัฐเดี่ยวเพราะพรรคคอมมิวนิสต์แห่งสหภาพโซเวียตใช้อำนาจในรูปรวมศูนย์เหนือสาธารณรัฐสังคมนิยมโซเวียตซึ่งปกครองตนเองแต่ในนาม.

ใหม่!!: ประชาธิปไตยแบบมีผู้แทนและสาธารณรัฐ · ดูเพิ่มเติม »

ประชาธิปไตยโดยตรง

การชุมนุมตามกระบวนการประชาธิปไตยโดยตรงที่เรียกว่า Landsgemeinde ในแคนทอนกลารุสปี พ.ศ. 2549 ในประเทศสวิตเซอร์แลนด์ ประชาธิปไตยโดยตรง (direct democracy) หรือ ประชาธิปไตยบริสุทธิ์ (pure democracy.) เป็นการปกครองแบบประชาธิปไตย ที่ประชาชนตัดสินการริเริ่มออกกฎหมาย/นโยบายต่าง ๆ โดยตรง ไม่ว่าจะโดยออกเสียงลงคะแนนหรือลงประชามติเป็นต้น ซึ่งต่างจากรัฐประชาธิปไตยปัจจุบันโดยมากอันเป็นประชาธิปไตยแบบมีผู้แทน ที่ประชาชนออกเสียงเลือกผู้แทนเพื่อทำหน้าที่ริเริ่มแล้วออกเสียงตัดสินนโยบายอีกทอดหนึ่ง ในระบอบนี้ ประชาชนอาจมีอำนาจการตัดสินใจทางฝ่ายบริหาร ริเริ่มแล้วตัดสินการออกกฎหมายทางฝ่ายนิติบัญญัติ เลือกตั้งและถอดถอนเจ้าหน้าที่ และดำเนินการทางฝ่ายตุลาการ ประชาธิปไตยโดยตรงมีรูปแบบหลัก ๆ สองอย่างคือประชาธิปไตยแบบมีส่วนร่วมและประชาธิปไตยแบบปรึกษาหารือ.

ใหม่!!: ประชาธิปไตยแบบมีผู้แทนและประชาธิปไตยโดยตรง · ดูเพิ่มเติม »

เปลี่ยนเส้นทางที่นี่:

Electoral democracyRepresentative democracyประชาธิปไตยทางอ้อมประชาธิปไตยแบบมีรัฐสภาประชาธิปไตยแบบตัวแทน

ขาออกขาเข้า
Hey! เราอยู่ใน Facebook ตอนนี้! »