โลโก้
ยูเนี่ยนพีเดีย
การสื่อสาร
ดาวน์โหลดได้จาก Google Play
ใหม่! ดาวน์โหลด ยูเนี่ยนพีเดีย บน Android ™ของคุณ!
ฟรี
เร็วกว่าเบราว์เซอร์!
 

บูรัน

ดัชนี บูรัน

นอวกาศบูรัน (Бура́н, "พายุหิมะ"; Buran) เป็นพาหนะโคจรของโซเวียตรัสเซียที่มีการทำงานและการออกแบบคล้ายคลึงกับกระสวยอวกาศของสหรัฐอเมริกา และพัฒนาโดยหัวหน้านักออกแบบ เกลบ โลซีโน-โลซินสกี แห่งบริษัทจรวดอีเนอร์เจีย ตราบถึงปัจจุบัน บูรันเป็นพาหนะกระสวยอวกาศจากโครงการบูรันของโซเวียตที่ถูกส่งขึ้นสู่อวกาศก่อนโครงการปิดตัวลง บูรันสำเร็จเที่ยวบินไร้คนบังคับครั้งหนึ่งใน..

3 ความสัมพันธ์: กระสวยอวกาศไบโคนูร์คอสโมโดรมเวลาสากลเชิงพิกัด

กระสวยอวกาศ

ลัมเบีย STS-1 พ.ศ. 2524 กระสวยอวกาศ (space shuttle) คือ เครื่องบินอวกาศของสหรัฐอเมริกา สร้างขึ้นโดยองค์การนาซ่า (NASA) มีชื่อเรียกอย่างเป็นทางการว่า Space Transportation System (STS) ผลิตโดยบริษัท North American Aviation ซึ่งปัจจุบันเป็นส่วนหนึ่งของบริษัท Rockwell International สเปซชัทเทิลทะยานขึ้นเหมือนจรวดและไปโคจรรอบโลก มีปีกและตอนกลับสู่โลกจะร่อนลงตามรันเวย์ กระสวยอวกาศสามารถนำมาใช้ได้หลาย ๆ ครั้ง กระสวยอวกาศถูกออกแบบมาให้ใช้งานซ้ำได้ 100 ครั้ง หรือปฏิบัติการได้ 10 ปี โครงการถูกเริ่มขึ้นในท้ายยุค 60 หลังจากนั้นก็มีบทบาทสำคัญในปฏิบัติการที่ต้องใช้คนเข้าร่วมของนาซามาโดยตลอด ส่วนสำคัญของกระสวยอวกาศ เรียกว่า ออร์บิเตอร์ (orbiter หมายถึง ยานโคจร) จะพาลูกเรือและสัมภาระไปยังอวกาศในขณะที่จะส่งกระสวยอวกาศขึ้นไป กระสวยจะอยู่ที่ฐานส่งโดยจะตั้งชี้ขึ้นไปคล้ายจรวด ข้าง ๆ ออร์บิเตอร์จะมีแทงค์น้ำมันขนาดใหญ่ ซึ่งเรียกว่า แทงค์ด้านนอก (External Tank) ซึ่งมันจะเก็บออกซิเจนและไฮโดรเจนในขณะที่มันขึ้นเชื้อเพลิงเหล่านี้จะถูกสูบเข้าไปยังเครื่องยนต์หลัก 3 เครื่อง ของออร์บิเตอร์ นอกจากนี้ยังมีแทงค์ขนาดเล็กที่อยู่ข้าง ๆ ออร์บิเตอร์บนฐานส่งเพื่อให้แรงผลักดันพิเศษในขณะส่งกระสวยขึ้น ซึ่งเรียกว่า Solid Fuel Rocket Booster หรือ SRB ทำงานคล้ายกับจรวดดอกไม้ไฟขนาดใหญ่ เมื่อกระสวยอวกาศทะยานขึ้น หลังจากนั้นประมาณ 2 นาที เชื้อเพลิงในแทงค์เชื้อเพลิง SRB จะหมดลง และตกลงในทะเลกับร่มชูชีพ อัตราความเร็วของกระสวยค่อย ๆ เพิ่มขึ้นจนถึงความเร็วประมาณ 72 ไมล์ จากนั้นเครื่องยนต์หลักจึงหยุดทำงาน และถังเชื้อเพลิงภายนอกซึ่งว่างเปล่าจะถูกปล่อยตกลงสู่ทะเล เครื่องยนต์ของจรวดสองลำจะรับภาระต่อไป ซึ่งเรียกว่า ระบบการยักย้ายการโคจร ในระหว่างการโคจร เมื่อถึงเวลากลับสู่โลก เครื่องยนต์ระบบการยักย้ายการโคจรจะถูกยิงคล้ายกับตอนล่างของจรวด และยานจะหลุดออกจากการโคจร แล้วกลับลงมาสู่บรรยากาศโลกในอัตราความเร็ว 15,900 ไมล์ต่อชั่วโมง (หรือประมาณ 25,700 กิโลเมตรต่อชั่วโมง) แผ่นกำบังความร้อนข้างใต้กระสวยอวกาศจะเปล่งแสงสีแดงจัดพร้อมกับความร้อนในการกลับเข้ามาสู่โลก แผ่นกระเบื้องพิเศษบนกระสวยอวกาศจะป้องกันลูกเรือและยานอวกาศออร์บิเตอร์จะช้าลงเมื่อเข้ามาถึงบริเวณส่วนล่างของบรรยากาศ จะร่อนลงบนพื้นดินบนรันเวย์ด้วยความเร็วประมาณ 210 ไมล์แล้วภารกิจก็จะจบลง.

ใหม่!!: บูรันและกระสวยอวกาศ · ดูเพิ่มเติม »

ไบโคนูร์คอสโมโดรม

"กาการินส์สตาร์ท" หนึ่งในฐานปล่อยของไบโคนูร์คอสโมโดรม แผนที่แสดงตำแหน่งที่ตั้งของไบโคนูร์คอสโมโดรมในประเทศคาซัคสถาน ไบโคนูร์คอสโมโดรม (Космодром Байконур; Байқоңыр ғарыш айлағы; Baikonur Cosmodrome) หรือเรียกว่า ไทยูเรตัม (Tyuratam) เป็นศูนย์ปล่อยอวกาศยานแห่งแรกและใหญ่ที่สุดของโลก ตั้งอยู่ในเขตทะเลทรายทุ่งหญ้าสเตปป์ของประเทศคาซัคสถาน ห่างจากทะเลอารัลไปทางทิศตะวันออกราว 200 กิโลเมตร ทางเหนือของแม่น้ำเซียร์ดาเรีย ใกล้กับสถานีรถไฟไทยูเรตัม ที่ความสูง 90 เมตรเหนือระดับน้ำทะเล รัฐบาลรัสเซียเช่าศูนย์ดังกล่าวจากรัฐบาลคาซัคสถาน (จนถึง ค.ศ. 2050) และอยู่ภายใต้การบริหารร่วมกันขององค์การอวกาศสหพันธรัฐรัสเซียและกำลังป้องกันห้วงอากาศ-อวกาศรัสเซีย สหภาพโซเวียตสร้างศูนย์ดังกล่าวเมื่อปลายคริสต์ทศวรษ 1950 เป็นฐานปฏิบัติการโครงการอวกาศภายใต้โครงการอวกาศรัสเซียในปัจจุบัน ไบโคนูร์ยังเป็นศูนย์ที่คับคั่ง โดยมีภารกิจทางพาณิชย์ ทางทหารและทางวิทยาศาสตร์ถูกปล่อยจำนวนมากทุกปี วอสตอก 1 ยานอวกาศที่มีมนุษย์โดยสารขึ้นไปด้วยลำแรกในประวัติศาสตร์ ถูกปล่อยขึ้นสู่อวกาศจากหนึ่งในฐานปล่อยของไบโคนูร์ ซึ่งปัจจุบันเป็นที่รู้จักกันว่า "กาการินส์สตาร์ท" ตามชื่อของนักบินคือ ยูริ กาการิน เช่นเดียวกับดาวเทียมดวงแรกของโลก ดาวเทียมสปุตนิก 1.

ใหม่!!: บูรันและไบโคนูร์คอสโมโดรม · ดูเพิ่มเติม »

เวลาสากลเชิงพิกัด

แผนที่โลกแสดงเขตเวลาในปัจจุบัน เวลาสากลเชิงพิกัด (Coordinated Universal Time; ตัวย่อ: UTC) คือ หน่วยเวลาที่ใช้ในการอ้างอิงการหมุนของโลก โดยใช้เครื่องหมายบวก (+) หรือลบ (-) เทียบจากหน่วยเวลาสากลซึ่งเป็นระบบอ้างอิงจากเวลามาตรฐานกรีนิช (GMT) จุดอ้างอิงของเวลาสากลเชิงพิกัดคือที่ลองจิจูด ที่ 0° ที่ตัดผ่านหอดูดาวหลวงกรีนิชในกรีนิช ลอนดอน สหราชอาณาจักร (และเป็นสาเหตุหลักที่เวลามาตรฐานกรีนิชยังคงมีใช้อยู่ในปัจจุบัน).

ใหม่!!: บูรันและเวลาสากลเชิงพิกัด · ดูเพิ่มเติม »

ขาออกขาเข้า
Hey! เราอยู่ใน Facebook ตอนนี้! »