โลโก้
ยูเนี่ยนพีเดีย
การสื่อสาร
ดาวน์โหลดได้จาก Google Play
ใหม่! ดาวน์โหลด ยูเนี่ยนพีเดีย บน Android ™ของคุณ!
ติดตั้ง
เร็วกว่าเบราว์เซอร์!
 

บิฮีมอท

ดัชนี บิฮีมอท

ีมอท (Behemoth) เป็นวงแบล็คเคนเดทเมทัล จากกดัญสก์, โปแลนด์ วงก่อตั้งในปี 1991 ปัจจุบันวงประกอบด้วยอาดัม ดาร์สกี (Adam Darski) หรือ "เนอร์กัล" (Nergal) ร้องนำและมือกีตาร์หลัก ซบิกีเนียบ โพมินสกี (Zbigniew Promiński) มือกลอง และโทมัส โวรบลิวสกี (Tomasz Wróblewski) มือเบสและร้องประสานเสียง บิฮีมอทถือเป็นวงที่ริเริ่มแนวดนตรีเอกซ์ตรีมที่สำคัญที่สุดวงหนึ่งของดนตรีใต้ดินของโปแลนด์ ในช่วงปลายปี 1990 วงเล่นเพลงในแนวแบล็กเมทัลด้วยเนื้อหาเกี่ยวข้องกับผู้ที่ไม่มีศาสนา แต่ต่อมาก็เปลี่ยนมาเล่นแบล็กผสมกับเดทเมทัล ที่เรียกว่า "แบล็คเคนเดทเมทัล" เนื้อเพลงของวงมักแต่งเนื้อหาเกี่ยวข้องกับการไขความลับและลัทธิเทอลีมา (Thelema) ซึ่งส่วนมากแต่งโดยอาดัม ดาร์สกีและอาซาเรวิชซ์ (Krzysztof Azarewicz) ในปี 1999 ได้ออกอัลบั้ม "ซาตานิกา" ซึ่งถือเป็นการเปลี่ยนแนวไปเป็นเดทเมทัล แต่ก็ยังคงมีกลิ่นอายของแบล็กอยู่ด้วย ด้วยสไตล์ของเสียงร้องต่ำที่คำรามออกอย่างเข้มข้นของเนอร์กัล ที่นอกจากเขาจะเป็นสมาชิกวงแล้ว เขายังเคยเป็นอดีตโค้ชของเดอะวอยซ์โปแลนด์อีกด้วย บิฮีมอธ ได้เซนต์สัญญาค่ายเมทัลหลายค่าย แต่เนอร์กัลก็เคยกล่าวว่า เขาไม่ชอบการมีค่ายเพลงGuitar World; retrieved 17 September 2008.

8 ความสัมพันธ์: การไม่มีศาสนากดัญสก์รหัสยศาสตร์ประเทศโปแลนด์แบล็กเมทัลเอกซ์ตรีมเมทัลเดอะวอยซ์เดทเมทัล

การไม่มีศาสนา

การแบ่งประเทศตามร้อยละของการให้ความสำคัญแก่ศาสนา ตามผลสำรวจของสำนักวิจัยพิว ใน พ.ศ. 2545 การไม่มีศาสนา (Irreligion หรือ No religion) หมายความว่า ภาวะที่ไม่นับถือศาสนา ไม่แบ่งแยกศาสนา หรือเป็นปรปักษ์ต่อศาสนา ผู้ที่มีภาวะดังกล่าวเรียกว่า ผู้ที่ไม่มีศาสนา ว่ากันตามแต่ละนิยามหรือความเข้าใจของบุคคล การไม่มีศาสนาอาจเข้าใจได้ว่าหมายถึง อเทวนิยม (atheism), อไญยนิยม (agnosticism), ศาสนวิมตินิยม (religious skepticism) หรือ มนุษยนิยมแบบฆราวาส (secular humanism) เป็นต้น สำหรับในบางสังคมอาจไม่ยอมรับการไม่มีศาสนา หรืออาจมีอคติต่อผู้ที่ไม่มีศาสนา เช่นการเหมารวมว่าคนที่ไม่มีศาสนาทั้งหมดคือคนที่ชั่วร้าย เป็นต้น บ่อยครั้งที่มีผู้วิพากษ์วิจารณ์ว่าผู้ก่อเหตุอาชญากรรมหรือผู้ก่อการร้ายเป็นผู้ที่ไม่มีศาสนา แม้ว่าผู้ก่อเหตุจะแสดงตัวว่ามีศาสนาก็ตาม ผู้ที่ไม่มีศาสนาอาจเข้าใจการไม่มีศาสนาเท่า ๆ กับศาสนิกชน เช่น ผู้นับถือลัทธิมนุษยนิยมมีความเชื่ออย่างลึกซึ้งยิ่งในวัตรปฏิบัติของตนเองพอ ๆ กับความลึกซึ้งของความเชื่อที่ศาสนิกชนมีต่อศาสนาของตน เป็นต้น ถึงแม้ว่าคนที่ระบุว่าตนเองเป็นผู้ที่ไม่มีศาสนาจะมิได้รับนับถือศาสนาใด ๆ แต่ผู้ที่ไม่มีศาสนาบางกลุ่มยังคงเชื่อถือในเทวะหรือผีสางนางไม้เป็นต้น เช่น คนที่นับถือผีหรือเชื่อโชคลาง แต่ไม่ได้ประกอบพิธีกรรมใด ๆ หรือไม่ได้เป็นศาสนิก เป็นต้น พึงทราบว่า ในบางประเทศ เช่น ซาอุดีอาระเบีย บังคับให้พลเมืองต้องเป็นศาสนิกชน หรือประเทศไทย ผู้ที่ไม่มีศาสนาอาจถูกระบุโดยบุคคลอื่นว่าเป็นพุทธศาสนิกชน หรือในบางสังคมที่ไม่ยอมรับการไม่มีศาสนาอาจมีผู้ที่ไม่เปิดเผยว่าตนเป็นผู้ที่ไม่มีศาสนาในการสำรวจข้อมูลหรือการทำสำมะโนประชากร ดังนั้น จำนวนของผู้ที่ไม่มีศาสนาในโลกนี้จึงยังไม่อาจระบุให้เป็นที่แน่นอนได้ แต่คาดว่าอาจมีมากกว่า 900 ล้านคนทั่วโลก.

ใหม่!!: บิฮีมอทและการไม่มีศาสนา · ดูเพิ่มเติม »

กดัญสก์

กดัญสก์ (Gdańsk) หรือชื่อเดิม ดันซิก (Danzig) เป็นเมืองบนชายฝั่งบอลติก ในตอนเหนือของประเทศโปแลนด์ เป็นเขตมหานครที่ใหญ่เป็นอันดับที่ 4 เป็นเมืองท่าที่สำคัญของโปแลนด์ และยังเป็นเมืองหลักของจังหวัดปอมอแช (พอเมอเรเนีย) ตั้งอยู่บนอ่าวกดัญสก์ (ทะเลบอลติก) และปากแม่น้ำมอตลาว.

ใหม่!!: บิฮีมอทและกดัญสก์ · ดูเพิ่มเติม »

รหัสยศาสตร์

รหัสยศาสตร์ (occult) หมายความว่า ความรู้เกี่ยวกับสิ่งเร้นลับ (knowledge of the hidden) โดยทั่วไปในภาษาอังกฤษใช้คำนี้หมายถึง ความรู้เกี่ยวกับเรื่องเหนือธรรมศาสตร์ (paranormal) ซึ่งตรงกันข้ามกับเรื่องที่ชี้วัดได้ (measurable) แม้ว่าบางทีคำนี้ใช้หมายถึง ความรู้ที่มีไว้สำหรับคนบางคน และฉะนั้นจึงเป็นความรู้ที่ต้องรักษาไว้ให้มิดชิด แต่สำหรับเหล่ารหัสยบุคคล (occultist) ส่วนใหญ่แล้ว คำนี้มีความหมายเพียงว่า การศึกษาสัจธรรมทางจิตวิญญาณที่ลึกซึ้งยิ่งกว่าเรื่องที่ใช้เหตุผลอธิบายได้เต็มร้อยหรือยิ่งกว่าสิ่งที่จับต้องทางกายภาพได้ อนึ่ง คำนี้ยังใช้เรียกคณะบุคคลหรือองค์การทางไสยศาสตร์ วิชาความรู้ที่บุคคลเหล่านั้นสั่งสอน ตลอดจนปรัชญาและวรรณกรรมที่เกี่ยวเนื่องกับเรื่องดังกล่าว.

ใหม่!!: บิฮีมอทและรหัสยศาสตร์ · ดูเพิ่มเติม »

ประเทศโปแลนด์

ไม่มีคำอธิบาย.

ใหม่!!: บิฮีมอทและประเทศโปแลนด์ · ดูเพิ่มเติม »

แบล็กเมทัล

การเพนท์หน้าสีดำและริมฝีปาก สัญลักษณ์สำคัญของดนตรีแนวแบล็คเมทัล แบล็กเมทัล (Black metal) เป็นหนึ่งในแนวเพลงย่อยของแนวเพลงเฮฟวีเมทัล ในช่วงทศวรรษที่ 80 - 90 มีลักษณะเด่นคือการเล่นจังหวะเร็ว โดยเฉพาะการริฟฟ์กีตาร์ที่ผิดเพี้ยนไม่เป็นจังหวะแน่นอน การทำเสียงแหบเบาเหมือนเสียงภูตผีปีศาจ การเพนท์หน้าสีดำบริเวณขอบตาและริมฝีปาก เนื้อเพลงส่วนใหญ่จะอิงไปถึงการต่อต้านศาสนาคริสต์ การรังเกลียดมนุษย์ ลัทธินิยมภูตผีปีศาจ โดยเฉพาะลัทธิซาตาน จนถูกขนานนามว่าเป็น "ซาตานิกเมทัล" (Satanic metal) แบล็กเมทัล ถือกำเนิดในช่วงทศวรรษที่ 80 ในประเทศแถบยุโรป แนวเพลงนี้ได้รับองค์ประกอบหลักมาจากแนวแทรชเมทัล และ เดธเมทัล วงที่ถือเป็นผู้บุกเบิกแนวนี้ในยุคแรกเช่น เวนอม, บาโธรี, เมอร์ซีฟูลเฟต, เฮลแฮมเมอร์ และเชลติกฟรอสต์ และในยุคที่สอง (ศตวรรษ 1990) ซึ่งส่วนใหญ่ถือกำเนิดในประเทศแถบสแกนดิเนเวีย โดยเฉพาะในประเทศนอร์เวย์ วงซึ่งนับว่าเป็นแนวแบล็กเมทัลอย่างเต็มรูปแบบ เช่น เมย์เฮม, ดาร์กโทรน, อิมมอร์ทัล และเอมเพอเรอร์ คำว่า "แบล็กเมทัล" มาจากชื่ออัลบั้มของ เวนอม ปี 1982 จนถือว่าเป็นการนำคำว่าแบล็กเมทัลมาใช้เป็นครั้งแรกอีกด้ว.

ใหม่!!: บิฮีมอทและแบล็กเมทัล · ดูเพิ่มเติม »

เอกซ์ตรีมเมทัล

อกซ์ตรีมเมทัล (extreme metal) เป็นลักษณะของดนตรีกลุ่มหนึ่งที่มี"ความสุดขั้ว" แบ่งย่อยออกเป็น เมทัล ฮาร์ดคอร์ และประเภทอื่น.

ใหม่!!: บิฮีมอทและเอกซ์ตรีมเมทัล · ดูเพิ่มเติม »

เดอะวอยซ์

อะวอยซ์ (The Voice) เป็นรายการที่มีต้นแบบจาก The Voice of Holland ประเทศเนเธอร์แลนด์ โดยจะมีโค้ช 4 คนในแต่ละฤดูกาลที่มีความถนัดประเภทร้องเพลงแตกต่างกัน การคัดเลือกจะไม่เหมือนการประกวดร้องเพลงทั่วๆ ไปเนื่องจากมีหลายรอบการแสดงและรูปแบบที่แตกต่างกันเพื่อให้เกิดความหลากหลาย และเค้นศักยภาพในด้านต่างๆ ออกมาให้มากที่สุด โดยจะมี 5 รอบการแข่งขันที่แตกต่างกันดังต่อไปนี้.

ใหม่!!: บิฮีมอทและเดอะวอยซ์ · ดูเพิ่มเติม »

เดทเมทัล

right เดทเมทัล เป็นแนวเพลงย่อยของเอกซ์ตรีมเฮฟวีเมทัล เป็นแนวเพลงที่มีเอกลักษณ์ในการใช้เสียงบิดกีตาร์หนักๆ การใช้เสียงร้องอันแข็งกร้าว ที่มีเสียงต่ำ คำราม และใช้จังหวะและเมโลดี้ที่รวดเร็ว จังหวะอัดกลอง และมีโครงสร้างเพลงที่สลับซับซ้อน ที่มีการเปลี่ยนจังหวะดนตรีไปมาMoynihan, Michael, and Dirik Søderlind (1998).

ใหม่!!: บิฮีมอทและเดทเมทัล · ดูเพิ่มเติม »

เปลี่ยนเส้นทางที่นี่:

บิฮีมอธ

ขาออกขาเข้า
Hey! เราอยู่ใน Facebook ตอนนี้! »