โลโก้
ยูเนี่ยนพีเดีย
การสื่อสาร
ดาวน์โหลดได้จาก Google Play
ใหม่! ดาวน์โหลด ยูเนี่ยนพีเดีย บน Android ™ของคุณ!
ฟรี
เร็วกว่าเบราว์เซอร์!
 

บินหลา สันกาลาคีรี

ดัชนี บินหลา สันกาลาคีรี

นหลา สันกาลาคีรี เป็นนามปากกาของ วุฒิชาติ ชุ่มสนิท เป็นนักประพันธ์ไทยได้รับรางวัลซีไรต.

7 ความสัมพันธ์: พ.ศ. 2508มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์รางวัลซีไรต์จังหวัดชุมพรคณะนิเทศศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยโรงเรียนมหาวชิราวุธ จังหวัดสงขลาเจ้าหงิญ

พ.ศ. 2508

ทธศักราช 2508 ตรงกับปีคริสต์ศักราช 1965 เป็นปีปกติสุรทินที่วันแรกเป็นวันศุกร์ตามปฏิทินเกรกอเรียน.

ใหม่!!: บินหลา สันกาลาคีรีและพ.ศ. 2508 · ดูเพิ่มเติม »

มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์

มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ (อังกฤษ: Prince of Songkla University; อักษรย่อ: ม.อ.) เป็นมหาวิทยาลัยแห่งแรกในภาคใต้ของประเทศไทย ตาม ก่อตั้งในปี พ.ศ. 2510 ต่อมา พระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดชได้พระราชทานชื่อเมื่อวันที่ 22 กันยายน พ.ศ. 2510 จึงถือว่าวันที่ 22 กันยายนของทุกปี เป็นวันสงขลานครินทร์ ได้รับเลือกให้เป็น 1 ใน 9 มหาวิทยาลัยวิจัยแห่งชาติ จาก กระทรวงศึกษาธิการ ในปี..

ใหม่!!: บินหลา สันกาลาคีรีและมหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ · ดูเพิ่มเติม »

รางวัลซีไรต์

ัญลักษณ์ของรางวัลซีไรต์ รางวัลซีไรต์ (S.E.A. Write) มีชื่อเต็มว่า รางวัลวรรณกรรมสร้างสรรค์ยอดเยี่ยมแห่งอาเซียน (Southeast Asian Writers Award) เริ่มก่อตั้งเมื่อปี..

ใหม่!!: บินหลา สันกาลาคีรีและรางวัลซีไรต์ · ดูเพิ่มเติม »

จังหวัดชุมพร

มพร มีชื่อปรากฏมาตั้งแต่ปี พ.ศ. 1098 โดยมีฐานะเป็นเมืองสิบสองนักษัตรของราชอาณาจักรนครศรีธรรมราช ใช้รูปแพะเป็นตราเมือง และเป็นเมืองหน้าด่านฝ่ายเหนือ เพราะอยู่ตอนบนของภาคใต้ ใน พ.ศ. 1997 รัชสมัยแผ่นดินสมเด็จพระบรมไตรโลกนาถ ปรากฏในกฎหมายตราสามดวงว่า เมืองชุมพรเป็นเมืองตรี อาณาจักรฝ่ายใต้ของราชอาณาจักรกรุงศรีอยุธยา ในช่วงนี้ชนชาติจาม แห่งราชอาณาจักรจามปา ถูกชาวเวียดนามรุกราน ชาวจามกลุ่มนี้อพยพเข้าสู่กรุงศรีอยุธยาครั้งแรก ปรากฏว่ามี "อาสาจาม" ในแผ่นดินนี้ เพื่อการขยายอาณานิคมของกรุงศรีอยุธยา ส่วนหนึ่งต้องมารักษาด่านเมืองชุมพร ซึ่งเป็นเมืองตรี และตั้งชาวจาม เป็นเจ้าเมืองชุมพร และดินแดนแถบนี้ขึ้นตรงต่อกรุงศรีอยุธยา เนื่องด้วย ชาวจาม มีความสามารถในการรบ ที่มีชื่อเสียง เช่น กองอาสาจาม เป็นทหารชั้นดี มีวินัย เชี่ยวชาญการเดินเรือ รับใช้ราชสำนักมานาน และเก่งการค้ามาหลายพันปี และต่อมาระหว่าง ปี พ.ศ. 2173 - 2199 ในแผ่นดิน พระเจ้าปราสาททองแห่งราชอาณาจักกรุงศรีอยุธยา ได้กวาดต้อนชาวเมืองแถง หรือ (เดียนเบียนฟู) อยู่ในประเทศเวียดนาม และชาวเมืองพงสาลี อยู่ในประเทศลาว มาเป็นพลเมือง เมืองชุมพร เมืองปะทิว(อำเภอปะทิว) เพื่อทำการเกษตรกรรม และเมืองท่าการค้าสำคัญ ตั้งแต่นั้นมา เดิมชาวจามนับถือศาสนาพราหมณ์-ฮินดู พ.ศ. 1400 นับถือศาสนาพุทธมหายาน และเมื่อค้าขายกับอาหรับก็นับถือ ศาสนาอิสลาม แต่ชาวจามที่มาอยู่เมืองชุมพร ต่อมานับถือ ศาสนาพุทธ มีวัฒนธรรม ประเพณี เหมือนกัน แต่เมื่อเวลาผ่านไปกว่า 500 -600 ปี ที่ชาวจาม เข้าปกครองเมืองชุมพร และดินแดนแถบนี้จนแทบจะไม่เหลือวัฒนธรรมเดิมเลย เช่น ข้าวต้มใบพ้อ ที่ใช้ในงานมงคล เช่นเดียวกับชาวมุสลิม บ้านกาลอ ตำบลกาลอ อำเภอรามัญ จังหวัดยะลา ก็สูญหายไม่ได้ใช้ในงานมงคลแล้ว.

ใหม่!!: บินหลา สันกาลาคีรีและจังหวัดชุมพร · ดูเพิ่มเติม »

คณะนิเทศศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย

right คณะนิเทศศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย เป็นคณะนิเทศศาสตร์แห่งแรกของประเทศไทย และเป็นคณะที่ 14 ของจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลั.

ใหม่!!: บินหลา สันกาลาคีรีและคณะนิเทศศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย · ดูเพิ่มเติม »

โรงเรียนมหาวชิราวุธ จังหวัดสงขลา

รงเรียนมหาวชิราวุธ จังหวัดสงขลา ในพระอุปถัมภ์สมเด็จพระเจ้าภคินีเธอ เจ้าฟ้าเพชรรัตนราชสุดา สิริโสภาพัณณวดี (ชื่อภาษาอังกฤษ: Mahavajiravudh Songkhla School) (อักษรย่อ: ม.ว., M.V.) (สุภาษิตประจำโรงเรียน: รฺกขาม อตฺตโน สาธุง (รัก - ขา - มะ - อัด - ตะ - โน - สา - ทุง) แปลว่า " พึงรักษาความดีของตนไว้ (ประดุจเกลือรักษาความเค็ม) ") เป็นโรงเรียนมัธยมศึกษาขนาดใหญ่พิเศษ สังกัดสำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน กระทรวงศึกษาธิการ รหัสสถานศึกษา 03900101(เดิม), 1003900101 (ใหม่) มีเนื้อที่ 45 ไร่ 2 งาน 99.9 ตารางวา เปิดสอนในระดับมัธยมศึกษา มีประวัติความเป็นมาและชื่อเสียงเกียรติยศที่สั่งสมมายาวนานจนถึงปัจจุบันกว่า 121 ปี เป็นโรงเรียนหลวงแห่งแรกในภาคใต้ เป็นโรงเรียนประจำจังหวัดสงขลา โดยมีกุลบุตร - กุลธิดา ในพื้นที่จังหวัดสงขลาและพื้นที่ใกล้เคียง มาศึกษาเล่าเรียนกันเป็นจำนวนมาก ผู้ริเริ่มก่อตั้งโรงเรียนคือ มหาอำมาตย์นายก เจ้าพระยายมราช (ปั้น สุขุม) ขณะท่านมีบรรดาศักดิ์เป็น " พระยาสุขุมนัยวินิต " ข้าหลวงเทศาภิบาลสำเร็จการมณฑลนครศรีธรรมราช และเป็นพระอาจารย์ของพระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ 6 โดยในเดือนมกราคม พุทธศักราช 2439 ในวาระโอกาสวันพระราชสมภพพระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัว ขณะยังทรงดำรงพระอิสริยยศเป็นสมเด็จพระบรมโอรสาธิราช เจ้าฟ้ามหาวชิราวุธ สยามมกุฎราชกุมาร เจ้าพระยายมราชได้ขอพระราชทานพระนามของพระองค์ในขณะนั้นมาเป็นนามของโรงเรียน ว่าโรงเรียน "มหาวชิราวุธ" ปัจจุบันเป็นสถานศึกษาที่มีชื่อเสียงของภาคใต้ และลูกมหาวชิราวุธทุกคนที่สำเร็จการศึกษาจากสถาบันแห่งนี้ ต่างมีความรักภาคภูมิใจในสถาบัน และภูมิใจใน ตราวชิราวุธ อันเป็นลัญจกรประจำพระองค์ของพระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัว ซึ่งเป็นตราสัญลักษณ์อันเป็นมิ่งมงคลยิ่งของสถาบัน.

ใหม่!!: บินหลา สันกาลาคีรีและโรงเรียนมหาวชิราวุธ จังหวัดสงขลา · ดูเพิ่มเติม »

เจ้าหงิญ

หน้าปกของ ''เจ้าหงิญ'' right เจ้าหงิญ เป็นหนังสือรวมเรื่องสั้นทั้ง 8 เรื่อง ของบินหลา สันกาลาคีรี ได้รับรางวัลวรรณกรรมสร้างสรรค์ยอดเยี่ยมแห่งอาเซียน (ซีไรต์) ของประเทศไทย ประจำปี พ.ศ. 2548 เรื่องสั้นในเล่มจะนำโลกของจินตนาการมาผสานกับโลกของความจริงโดยใช้รูปแบบนิทาน เสนอเนื้อหาเกี่ยวกับการเรียนรู้ประสบการณ์ทางอารมณ์ การเผชิญกับปัญหาและอุปสรรค การแสวงหาความหมายและความสุขของชีวิต แต่ด้วยความเขลา มนุษย์จึงดิ้นรนและหลงอยู่ในมายา ในที่สุด ผู้อ่านจะรับรู้ได้ว่าในโลกของความเป็นจริงนั้น โลกมีหลากหลายทางเลือกที่จะไปสู่วิถีชีวิตที่เรียบง่ายและพอดี อาจอ่านแยกกันเป็นเรื่อง ๆ แต่ด้วยการเรียงร้อยเข้าด้วยกัน ทำให้เรื่องสั้นแต่ละเรื่องกลายเป็นเรื่องสั้นในเรื่องยาว เป็นนิทานซ้อนนิทาน ที่เรื่องต้นกับเรื่องท้ายมาบรรจบกันอย่างแนบเนียน ผู้ประพันธ์สร้างตัวละครหลากหลาย ทั้งคน สัตว์ สิ่งของแบบนิทานเปรียบเทียบที่อุดมด้วยสีสัน รวมทั้งการเล่นคำ โดยเฉพาะชื่อ เจ้าหงิญ ที่สื่อความหลายนัยและอารมณ์ขัน มีลีลาภาษาที่รุ่มรวยด้วยโวหารเร้าจินตนาการและความคิด เจ้าหงิญเล่าเรื่องด้วยน้ำเสียงอ่อนหวานและอ่อนโยน ให้เรารู้ว่าในโลกความเป็นจริง ชีวิตไม่ได้เป็นไปดังหวัง หากดำรงอยู่ได้อย่างสันติ ก็ด้วยพลังของความดีงาม ซึ่งกระตุ้นจิตใต้สำนึกของผู้อ่านให้มองโลกในแง่ดี เข้าใจและรักเพื่อนมนุษย์ หมวดหมู่:เรื่องสั้นไทย หมวดหมู่:วรรณกรรมรางวัลซีไรต์ หมวดหมู่:วรรณกรรมในปี พ.ศ. 2548.

ใหม่!!: บินหลา สันกาลาคีรีและเจ้าหงิญ · ดูเพิ่มเติม »

เปลี่ยนเส้นทางที่นี่:

วุฒิชาติ ชุ่มสนิทบินหลา สันกาลาคีรี (วุฒิชาติ ชุ่มสนิท)

ขาออกขาเข้า
Hey! เราอยู่ใน Facebook ตอนนี้! »