โลโก้
ยูเนี่ยนพีเดีย
การสื่อสาร
ดาวน์โหลดได้จาก Google Play
ใหม่! ดาวน์โหลด ยูเนี่ยนพีเดีย บน Android ™ของคุณ!
ติดตั้ง
เร็วกว่าเบราว์เซอร์!
 

แพริตีบิต

ดัชนี แพริตีบิต

แพริตีบิต หรือ บิตภาวะคู่หรือคี่ (parity bit) หรืออาจเรียกเพียงแค่ แพริตี หมายถึงบิตที่เพิ่มเข้าไปในข้อมูล โดยไม่จำเป็นว่าจะต้องนำไปต่อท้ายหรือขึ้นต้น เพื่อทำให้แน่ใจว่าบิตที่เป็นค่า 1 ในข้อมูลมีจำนวนเป็นเลขคู่หรือเลขคี่ การใช้แพริตีบิตเป็นวิธีที่ง่ายอย่างหนึ่งในการตรวจจับและแก้ไขความผิดพลาด แพริตีบิตมีสองชนิดคือ แพริตีบิตคู่ (even parity bit) กับ แพริตีบิตคี่ (odd parity bit) ตามข้อมูลในเลขฐานสอง.

18 ความสัมพันธ์: บัสคอมพิวเตอร์บิตพหุนามการตรวจสอบด้วยส่วนซ้ำซ้อนตามขวางการตรวจหาและแก้ความผิดพลาดภาวะคู่หรือคี่ (คณิตศาสตร์)ระบบปฏิบัติการหน่วยประมวลผลกลางฮาร์ดแวร์แอสกีแคชไบต์ไมโครโพรเซสเซอร์เรจิสเตอร์เรดเลขฐานสองเอสซีเอสไอ1

บัสคอมพิวเตอร์

บัส (BUS) ในเครื่องคอมพิวเตอร์ คือ เส้นทางการติดต่อสื่อสารเพื่อรับส่งข้อมูลร่วมกัน (shared transmission medium) ระหว่างอุปกรณ์คอมพิวเตอร์ที่เสียบเข้ากับสล็อตต่าง ๆ บนเมนบอร์ดของเครื่องคอมพิวเตอร์ เช่น ฮาร์ดดิสก์ไดรฟ์, ซีดีรอมไดรฟ์, การ์ดเสียง และการ์ดแสดงผล เป็นต้น เนื่องจากการทำงานของระบบคอมพิวเตอร์ หน่วยประมวลผลกลางจะต้องอ่านเอาคำสั่งหรือโปรแกรมจากหน่วยความจำ มาตีความและทำตามคำสั่งนั้น ๆ ซึ่งในบางครั้งจะต้องอ่านข้อมูลจากอุปกรณ์อื่น ๆ เพื่อใช้ประกอบในการทำงาน หรือใช้ในการประมวลผลด้วยผลลัพธ์ของการประมวลผล ก็ต้องส่งไปแสดงผลที่จอภาพ หรือเครื่องพิมพ์หรืออุปกรณ์อื่น ๆ ดังนั้นบัสจึงมีความสำคัญในการส่งถ่ายข้อมูลเป็นอย่างมาก ทั้งนี้บัสจะมีความกว้างหลายขนาด ขึ้นอยู่กับรุ่นของเครื่องพีซี เช่น บัสขนาด 8 บิต 16 บิต และ 32 บิต ซึ่งบัสยิ่งกว้างก็จะทำให้การส่งถ่ายข้อมูลจะทำได้ครั้งละมาก ๆ จะมีผลทำให้คอมพิวเตอร์เครื่องนั้นทำงานได้เร็วตามไปด้วย หมวดหมู่:อิเล็กทรอนิกส์ดิจิทัล หมวดหมู่:แผงวงจรหลัก หมวดหมู่:บัสคอมพิวเตอร์.

ใหม่!!: แพริตีบิตและบัสคอมพิวเตอร์ · ดูเพิ่มเติม »

บิต

ต (bit) เป็นหน่วยข้อมูลที่เล็กที่สุด ใช้ระบบคอมพิวเตอร์แบบดิจิทัลและทฤษฎีข้อมูล ข้อมูลหนึ่งบิต มีสถานะที่เป็นไปได้ 2 สถานะ คือ.

ใหม่!!: แพริตีบิตและบิต · ดูเพิ่มเติม »

พหุนาม

upright พหุนาม ในคณิตศาสตร์ หมายถึง นิพจน์ที่สร้างจากตัวแปรอย่างน้อยหนึ่งตัวและสัมประสิทธิ์ โดยใช้การดำเนินการแค่ การบวก การลบ การคูณ และการยกกำลังโดยที่เลขชี้กำลังเป็นจำนวนเต็มที่ไม่เป็นลบเท่านั้น ตัวอย่างของพหุนามตัวแปรเดียวที่มี เป็นตัวแปร เช่น ซึ่งเป็นฟังก์ชันกำลังสอง พหุนามสามารถนำไปใช้ในสาขาต่าง ๆ ของคณิตศาสตร์และวิทยาศาสตร์ได้อย่างกว้างขวาง ตัวอย่างเช่น สมการพหุนาม ซึ่งสามารถนำไปใช้ในการแก้ปัญหาได้อย่างกว้างขวาง จากโจทย์ปัญหาพื้นฐาน ไปจนถึงปัญหาที่ซับซ้อนทางวิทยาศาสตร์ และยังใช้ในการนิยาม ฟังก์ชันพหุนาม ซึ่งนำไปใช้ตั้งแต่พื้นฐานของเคมีและฟิสิกส์ ไปจนถึงเศรษฐศาสตร์และสังคมศาสตร์ รวมถึงการนำไปใช้ในแคลคูลัส และการวิเคราะห์เชิงตัวเลข ซึ่งคล้ายคลึงกับฟังก์ชันต่าง ๆ ในคณิตศาสตร์ขั้นสูงนั้น พหุนามยังใช้ในการสร้างวงล้อพหุนาม และความหลากหลายทางพีชคณิต และเป็นแนวคิดสำคัญในพีชคณิต และเรขาคณิตเชิงพีชคณิตอีกด้ว.

ใหม่!!: แพริตีบิตและพหุนาม · ดูเพิ่มเติม »

การตรวจสอบด้วยส่วนซ้ำซ้อนตามขวาง

ในทางโทรคมนาคม การตรวจสอบด้วยส่วนซ้ำซ้อนตามขวาง (transverse redundancy check: TRC) หรือ การตรวจสอบด้วยส่วนซ้ำซ้อนแนวตั้ง (vertical redundancy check: VRC) คือการตรวจสอบด้วยส่วนซ้ำซ้อนสำหรับกระแสข้อมูลบิตคู่ขนานที่มาพร้อมกัน โดยสร้างบิตตรวจสอบขึ้นมาหนึ่งครั้งต่อบิตคู่ขนานหนึ่งชุด จึงจำเป็นที่จะต้องมีช่องสัญญาณคู่ขนานเพิ่มสำหรับการส่งบิตตรวจสอบนี้ไปกับกระแสข้อมูล คำนี้อาจหมายถึงการใช้แพริตีบิตหลักเดียว หรืออาจหมายถึงรหัสอื่นที่ใหญ่กว่าเช่นรหัสแฮมมิง (Hamming code) หมวดหมู่:การตรวจหาและแก้ความผิดพลาด.

ใหม่!!: แพริตีบิตและการตรวจสอบด้วยส่วนซ้ำซ้อนตามขวาง · ดูเพิ่มเติม »

การตรวจหาและแก้ความผิดพลาด

การตรวจจับและแก้ไขความผิดพลาด มีส่วนสำคัญในการเก็บรักษาข้อมูลสารสนเทศที่ผ่านช่องสัญญาณที่ถูกรบกวน หรือสื่อเก็บข้อมูลที่ความน่าเชื่อถือต่ำ ในวงการ คณิตศาสตร์ วิทยาศาสตร์คอมพิวเตอร์ การสื่อสารระยะไกลผ่านสัญญาณวิทยุ และทฤษฎีสารสนเท.

ใหม่!!: แพริตีบิตและการตรวจหาและแก้ความผิดพลาด · ดูเพิ่มเติม »

ภาวะคู่หรือคี่ (คณิตศาสตร์)

ในทางคณิตศาสตร์ จำนวนเต็มใด ๆ จะเป็นจำนวนคู่หรือจำนวนคี่อย่างใดอย่างหนึ่ง ถ้าจำนวนนั้นเป็นพหุคูณของ 2 มันจะเป็นจำนวนคู่ มิฉะนั้น มันจะเป็นจำนวนคี่ ตัวอย่างของจำนวนคู่ เช่น -4, 8, 0 และ 70 ตัวอย่างของจำนวนคี่ เช่น -5, 1 และ 71 เลข 0 เป็นจำนวนคู่ เพราะ 0.

ใหม่!!: แพริตีบิตและภาวะคู่หรือคี่ (คณิตศาสตร์) · ดูเพิ่มเติม »

ระบบปฏิบัติการ

ระบบปฏิบัติการ (operating system) หรือ โอเอส (OS) เป็นระบบซอฟต์แวร์ที่ทำหน้าที่จัดการอุปกรณ์คอมพิวเตอร์และแหล่งซอฟต์แวร์และบริการโปรแกรมคอมพิวเตอร์ ระบบปฏิบัติการมีหน้าที่หลัก ๆ คือ การจัดสรรทรัพยากรในเครื่องคอมพิวเตอร์ เพื่อให้บริการซอฟต์แวร์ประยุกต์ ในเรื่องการรับส่งและจัดเก็บข้อมูลกับฮาร์ดแวร์ เช่น การส่งข้อมูลภาพไปแสดงผลที่จอภาพ การส่งข้อมูลไปเก็บหรืออ่านจากฮาร์ดดิสก์ การรับส่งข้อมูลในระบบเครือข่าย การส่งสัญญานเสียงไปออกลำโพง หรือจัดสรรพื้นที่ในหน่วยความจำ ตามที่ซอฟต์แวร์ประยุกต์ร้องขอ รวมทั้งทำหน้าที่จัดสรรเวลาการใช้หน่วยประมวลผลกลาง ในกรณีที่อนุญาตให้ซอฟต์แวร์ประยุกต์หลายๆ ตัวทำงานพร้อมๆ กัน ระบบปฏิบัติการ ช่วยให้ตัวซอฟต์แวร์ประยุกต์ ไม่ต้องจัดการเรื่องเหล่านั้นด้วยตนเอง เพียงแค่เรียกใช้บริการจากระบบปฏิบัติการก็พอ ทำให้พัฒนาซอฟต์แวร์ประยุกต์ได้ง่ายขึ้น ระบบปฏิบัติการที่เป็นที่นิยมในคอมพิวเตอร์ส่วนบุคคลทุกวันนี้ ได้แก่ ไมโครซอฟท์ วินโดวส์ แมคโอเอส และลินุกซ์ นอกจากนี้ ยังมีระบบปฏิบัติการตระกูลยูนิกซ์ ซึ่งได้รับความนิยมในเครื่องเซิร์ฟเวอร์ที่ใช้กันในหน่วยงาน ระบบปฏิบัติการตระกูลยูนิกซ์ที่เป็นที่รู้จักกันดี ได้แก่ ยูนิกซ์ตระกูลบีเอสดี เอไอเอกซ์ และโซลาริส และรวมถึงลินุกซ์ซึ่งพัฒนาโดยอาศัยหลักการเดียวกันกับยูนิกซ์ ระบบปฏิบัติการบางตัว ถูกออกแบบมาสำหรับการเรียนการสอนวิชาระบบปฏิบัติการโดยเฉพาะ เช่น มินิกซ์ ซินู หรือ พินโทส ในอุปกรณ์อื่นๆ ที่ควบคุมด้วยระบบคอมพิวเตอร์ ก็อาจมีระบบปฏิบัติการเช่นกัน เช่น ไอโอเอส แอนดรอยด์ หรือ ซิมเบียน ในโทรศัพท์มือถือ หรือระบบปฏิบัติการ TRON ในเครื่องใช้ไฟฟ้าตามบ้าน.

ใหม่!!: แพริตีบิตและระบบปฏิบัติการ · ดูเพิ่มเติม »

หน่วยประมวลผลกลาง

หน่วยประมวลผลกลาง (central processing unit) หรือย่อว่า ซีพียู (CPU) เป็นวงจรอิเลคทรอนิกส์ที่ทำงาน หรือประมวลผล ตามชุดของคำสั่งเครื่องจากซอฟต์แวร์ คำนี้เริ่มใช้ในอุตสาหกรรมคอมพิวเตอร์ตั้งแต่ต้นศตวรรษ 1960s หน่วยประมวลผลเปรียบเสมือนเป็นสมองของคอมพิวเตอร์ ในการทำหน้าที่ตัดสินใจหรือคำนวณ จากคำสั่งที่ได้รับมา เช่น การเปรียบเทียบ การกระทำการทางคณิตศาสตร์ ฯลฯ โดยมีกระบวนการพื้นฐานคือ.

ใหม่!!: แพริตีบิตและหน่วยประมวลผลกลาง · ดูเพิ่มเติม »

ฮาร์ดแวร์

ร์ดแวร์ (hardware) อาจหมายถึง; สิ่งประดิษฐ์ทางกายภาพ: และอุปกรณ์เครื่องหนัก หลากหลายประเภท ที่ใช้เทคโนโลยี.

ใหม่!!: แพริตีบิตและฮาร์ดแวร์ · ดูเพิ่มเติม »

แอสกี

ตัวอย่างอักขระแอสกี จากรหัส 32 ถึง 126 แอสกี้(ASCII) หรือ รหัสมาตรฐานของสหรัฐอเมริกาเพื่อการแลกเปลี่ยนสารสนเทศ (ASCII: American Standard Code for Information Interchange) เป็นรหัสอักขระที่ประกอบด้วยอักษรละติน เลขอารบิก เครื่องหมายวรรคตอน และสัญลักษณ์ต่างๆ โดยแต่ละรหัสจะแทนด้วยตัวอักขระหนึ่งตัว เช่น รหัส 65 (เลขฐานสิบ) ใช้แทนอักษรเอ (A) พิมพ์ใหญ่ เป็นต้น.

ใหม่!!: แพริตีบิตและแอสกี · ดูเพิ่มเติม »

แคช

แคช (cache) คือส่วนของข้อมูลที่ถูกเก็บซ้ำไว้ในคอมพิวเตอร์ เพื่อใช้ในการใช้งานครั้งต่อไปโดยไม่ต้องเรียกข้อมูลจากต้นแหล่งอีกครั้ง นิยมใช้เมื่อเรียกข้อมูลจากต้นแหล่งได้ยาก เมื่อแคชถูกสร้างขึ้น การเรียกใช้ข้อมูลในครั้งต่อไปจะถูกอ่านข้อมูลจากแคช แทนที่จะอ่านข้อมูลจากต้นฉบับหรือต้นแหล่งเพื่อประหยัดเวลาและค่าใช้จ่าย รวมถึงการเพิ่มความเร็วในการเรียกใช้งาน แคชนิยมใช้เมื่อรูปแบบการใช้ข้อมูลมีลักษณะที่ใกล้เคียงกันและมีการใช้ซ้ำบ่อย เนื่องจากแคชมีจุดประสงค์เพียงแค่ต้องการจะเพิ่มความเร็วในการเข้าถึงข้อมูล ไม่ใช่ใช้เก็บข้อมูลจริงๆ ข้อมูลในแคชจึงมีโอกาสหายไปได้ตลอดเวลา ในกรณีที่มีคำสั่งเรียกข้อมูลและข้อมูลยังไม่หายไปจากแคช จะเรียกว่า cache hit นั่นคือสามารถอ่านข้อมูลจากแคชได้ อย่างไรก็ตามหากข้อมูลไม่อยู่ในแคชแล้ว จะเรียกว่า cache miss ซึ่งทำให้ต้องไปอ่านข้อมูลจากต้นแหล่งซึ่งเสียเวลามากกว่า แคชมีหลายประเภท เช่น แคชหน่วยความจำ แคชจานข้อมูล แคชเว็บ เป็นต้น.

ใหม่!!: แพริตีบิตและแคช · ดูเพิ่มเติม »

ไบต์

ต์ (byte) เป็นคำที่ใช้เรียกจำนวนบิตที่มากขึ้น แต่ก็ไม่มีขนาดเป็นมาตรฐานตายตัว บนเครื่องคอมพิวเตอร์สถาปัตยกรรม IA-32 จำนวน 16 บิตจะเรียกว่าเวิร์ด ในขณะที่ 32 บิตเรียกว่า ดับเบิลเวิร์ด (double word) หรือ dword ในขณะที่สถาปัตยกรรมอื่น ๆ หนึ่งเวิร์ดมีค่าเท่ากับ 32 บิต, 64 บิต หรือค่าอื่น ๆ ซึ่งหน่วยประมวลผลกลาง จะทำการประมวลผลกับเวิร์ดได้สะดวกที่สุด ในวิทยาการคอมพิวเตอร์ หน่วยวัดที่ใช้กันนั้น นิยมวัดเป็นกิโลไบต์ (Kilobyte) เมกะไบต์ (Megabyte) จิกะไบต์ (Gigabyte) และเทระไบต์ (Terabyte) ซึ่งแต่ละหน่วยวัดมีค่าตัวคูณต่างกัน 1,024 หรือ 210 หน่วย แต่มนุษย์จะประมาณค่าตัวคูณไว้ที่ 1,000 หน่วยเพื่อความสะดวกในการคำนวณ หน่วยวัดแต่ละหน่วยสามารถสรุปได้ดังนี้ นอกจากนี้ยังมี เพตะไบต์ (Petabyte) เอกซะไบต์ (Exabyte) เซตตะไบต์ (Zettabyte) และยอตตะไบต์ (Yottabyte) ซึ่งมีค่าตัวคูณ 1,024 หน่วยถัดจากเทระไบต์เป็นต้นไป แต่ยังไม่มีสื่อบันทึกข้อมูลใดสามารถเก็บข้อมูลได้มากขนาดนั้นในปัจจุบัน ปัจจุบันนี้ เพื่อลดความสับสนระหว่างค่าตัวคูณ 1,024 (210) หน่วยและ 1,000 (103) หน่วย ทาง SI จึงได้มีหน่วยสำหรับฐาน 2 แยกออกมา เช่นจากกิโลไบต์ เป็น กิบิไบต์แทน.

ใหม่!!: แพริตีบิตและไบต์ · ดูเพิ่มเติม »

ไมโครโพรเซสเซอร์

อินเทล 4004 ไมโครโพรเซสเซอร์ทั่วไปตัวแรกที่มีการจำหน่าย ไมโครโพรเซสเซอร์ (microprocessor) หมายถึงชิปที่ใช้เป็นหน่วยประมวลผลกลางของเครื่องไมโครคอมพิวเตอร.

ใหม่!!: แพริตีบิตและไมโครโพรเซสเซอร์ · ดูเพิ่มเติม »

เรจิสเตอร์

รจิสเตอร์ หรือ รีจิสเตอร์ (register) ในอิเล็กทรอนิกส์ดิจิทัล โดยเฉพาะอย่างยิ่งในการคำนวณ เรจิสเตอร์จะเก็บข้อมูลเป็นบิทจำนวนมากเพื่อให้ระบบต่างๆสามารถเขียนเข้าไปใหม่หรืออ่านบิททั้งหมดนั้นได้พร้อมกัน เรจิสเตอร์เป็นหน่วยความจำขนาดเล็ก ที่ทำงานได้เร็วมาก ในระบบคอมพิวเตอร์ หน่วยความจำเหล่านี้ ใช้เก็บข้อมูลที่จำเป็นในการคำนวณ หรือสถานะการทำงานของหน่วยประมวลผลกลาง และมักถูกอ้างถึงบ่อย ในระหว่างการคำนวณของหน่วยประมวลผล เพื่อให้โปรแกรมที่ทำงานอยู่ สามารถเข้าถึงข้อมูลที่จำเป็นเหล่านี้ ได้อย่างรวดเร็ว.

ใหม่!!: แพริตีบิตและเรจิสเตอร์ · ดูเพิ่มเติม »

เรด

รด (ออกเสียงอย่าง เหรด; Redundant Array of Inexpensive DisksDavid A. Patterson, Garth Gibson, and Randy H. Katz:. University of California Berkley. 1988. หรือ Redundant Array of Independent Disks: RAID) คือเทคโนโลยีการนำฮาร์ดดิสก์ หลายๆ อันมาต่อเข้าด้วยกันเพื่อให้มองเห็นเป็นอันเดียว เพื่อวัตถุประสงค์ต่างๆ เช่น เพิ่มความน่าเชื่อถือของข้อมูล หรือเพิ่มประสิทธิภาพการอ่าน/เขียนข้อมูล หลักการโดยรวมของ RAID คือ การสำเนาข้อมูล (mirroring) การแบ่งส่วนข้อมูล (striping) และการแก้ไขความผิดพลาด (error correction) การตั้งค่า RAID จะแบ่งเป็นระดับ (level) โดยที่แต่ละระดับจะมีจุดเด่นที่แตกต่างกัน เช่น ที่ระดับ 0 จะใช้วิธีการแบ่งส่วนข้อมูลเพื่อช่วยเพิ่มประสิทธิภาพการอ่าน/เขียนข้อมูล แต่ไม่ช่วยในเรื่องของการแก้ไขความผิดพลาด ในขณะที่ระดับ 1 จะช่วยในการแก้ไขความผิดพลาดของข้อมูล แต่ต้องแลกกับการเนื้อที่เพิ่มขึ้นอีกเท่าตัว เป็นต้น นอกจากนี้ในการตั้งค่าบางรูปแบบยังสามารถผสมระดับต่างๆ เข้าด้วยกันเป็นระดับแบบซ้อน เช่น RAID 10 หรือ RAID 0+1 จะเป็นการสร้าง RAID 0 อยู่บน RAID 1 ซึ่งจะช่วยเพิ่มทั้งประสิทธิภาพและการแก้ไขความผิดพลาด เป็นต้น Raid 0 (striping) ช่วยให้การบันทึกข้อมูลได้เร็วขึ้น แต่ถ้ามีฮาร์ดดิสก์เครื่องใดเครื่องหนึ่งเสีย จะทำให้ข้อมูลทั้งหมดไม่สามารถใช้งานได้ สมมติมีฮาร์ดดิสก์ 2 เครื่อง เครื่องละ 100 GB จะมีเนื้อที่ในการเก็บข้อมูลทั้งหมด 200 GB Raid 1 (mirroring) ช่วยให้ข้อมูลมีความปลอดภัย ถ้าฮาร์ดดิสก์เครื่องใดเสีย อีกเครื่องหนึ่งก็จะทำงานแทนได้ สมมติมีฮาร์ดดิสก์ 2 เครื่อง เครื่องละ 100 GB จะมีเนื้อที่ในการเก็บข้อมูลทั้งหมด 100 GB Raid 0+1 เป็นการผสมผสานระหว่าง RAID 0 และ RAID 1 เข้าด้วยกัน ทำให้การเข้าถึงข้อมูลเป็นไปได้อย่างรวดเร็ว และมีการทำ mirror ข้อมูล (backup ข้อมูล) ไปด้วย นอกจาก เรด 0, เรด 1 และ เรด 0+1 แล้ว ยังมีเรดอีกหลายระดับ รายละเอียดตามด้านล่างนี้ แบบ RAID 0 ยกตัวอย่าง มีฮาร์ดดิสก์ 2 ลูกแต่ละลูกมีความจุ 500 GB ดังนั้นเราสามารถเก็บข้อมูลได้ 1000 Gb แต่เมื่อฮาร์ดดิสก์ลูกใดลูกหนึ่งเสีย ก็จะทำให้ ฮาร์ดดิสก์ ใช้งานไม่ได้ทั้งสองลูกเลย เพราะ เมื่อเราสั่งเก็บข้อมูล ข้อมูลจะแยกเป็นสองส่วนและแบ่งเก้บในฮาร์ดดิสก์คนละลูก ทำให้ความเร็วในการเข้าถึงข้อมูลสูง แต่ข้อเสียก็คือหาก harddisk ตัวใดตัวหนึ่งเสียหาย จะส่งผลกับข้อมูลทั้งระบบทันที แบบ RAID 1 ยกตัวอย่าง มีฮาร์ดดิสก์ 2 ลูกแต่ละคนมีความจุ 500 GB แต่เราจะสามารถเก็บข้อมูลได้แค่ 500 GB เพราะฮาร์ดดิสก์อีกลูกจะมีไว้สำหรับเก็บข้อมูล ทำให้เมื่อฮาร์ดดิสก์ลูกหลักเสียอีกตัวก็จะทำงานแทนทันที จุดเด่นของ RAID 1 คือความปลอดภัยของข้อมูล ไม่เน้นเรื่องประสิทธิภาพและความเร็วเหมือนอย่าง RAID 0 แม้ว่าประสิทธิภาพในการอ่านข้อมูลของ RAID 1 จะสูงขึ้นก็ตาม แบบ RAID 3 (N +1) ในกรณีนี้ต้องมีฮาร์ดดิสก์อย่างน้อย 3 ลูก ตัวอย่างเช่นฮาร์ดดิสก์ 3 ลูก แต่ละลูกมีความจุ 200 GB ดังนั้น server เราจะสามารถจุข้อมูลได้ 400 Gb อีก 200 Gb เก็บไว้สำรองข้อมูลในกรณีที่ลูกแรกหรือ ลูกที่สองเสีย ฮาร์ดดิสก์ลูกที่ 3 จะทำงานให้แทนลูกที่เสียทันที ดังนั้น RAID 3 เหมาะสำหรับใช้ในงานที่มีการส่งข้อมูลจำนวนมากๆ เช่นงานตัดต่อ Video เป็นต้น แบบ RAID 5 (N +1) มีความสามารถเช่นเดียวกับ RAID 3 แต่จุดเด่นของ RAID 5 คือ เทคโนโลยี Hot Swap ทำให้สามารถเปลี่ยน harddisk ในกรณีที่เกิดปัญหาได้ในขณะที่ระบบยังทำงานอยู่ เหมาะสำหรับงาน Server ต่างๆ ที่ต้องทำงานต่อเนื่อง RAID 6 (N +2) อาศัยพื้นฐานการทำงานของ RAID 5 แต่จะดีกว่า RAID 5 ตรงที่ว่ามี backup hard disk ถึง สองลูก และยอมให้เราทำการ Hot Swap ได้พร้อมกัน 2 ตัว ทำให้เหมาะกับงานที่ต้องการความปลอดภัยและเสถียรภาพของข้อมูลที่สูงมากๆ แบบ RAID 10 หรือ RAID 1 +0 คือการใช้ประโยชน์ของ RAID 0 และ RAID 1 เช่นเรามี ฮาร์ดดิสก์ 6 ลูก เราให้สามลูกแรกเป็น ลูกที่ใช้งานจริง ส่วนสามลูกหลังเป็นฮาร์ดดิสก์สำรอง ในกรณี ฮาร์ดดิสก์สามลูกแรกมีลูกใดลูกหนึ่งเสีย ฮาร์ดดิสก์สามลูกหลังจะทำงานแทนทันที แต่มีข้อเสียคือ เราต้องซื้อ Harddisk เป็นสองเท่าในการเพิ่มพื้นที่การใช้งาน เพื่อเพิ่มในส่วนที่ใช้งานและส่วนที่สำรอง เหมาะสำหรับ Server ที่ต้องการความเร็วในการเข้าถึงข้อมูลค่อนข้างมาก แต่ไม่ต้องการความจุมากนัก แบบ RAID 53 จะเป็นการรวมกันของ RAID ระดับ 0 และ 3 เพื่อความเร็วในการเขียนและอ่านข้อมูลที่มากขึ้น แต่ยังมีตัวสำรองในการป้องกันระบบล่มทั้งระบบ ในเวลาที่มี Harddisk เสี.

ใหม่!!: แพริตีบิตและเรด · ดูเพิ่มเติม »

เลขฐานสอง

ลขฐานสอง (อังกฤษ: binary numeral system) หมายถึง ระบบเลขที่มีสัญลักษณ์เพียงสองตัวคือ 0 กับ 1 บางครั้งอาจหมายถึงการที่มีโอกาสเลือกได้เพียง 2 ทาง เช่น ปิดกับเปิด, ไม่ใช่กับใช่, เท็จกับจริง, ซ้ายกับขวา เป็นต้น ถ้าแปลงค่าเลขฐานสิบ มาเป็นเลขฐานสอง จะได้ดังนี้.

ใหม่!!: แพริตีบิตและเลขฐานสอง · ดูเพิ่มเติม »

เอสซีเอสไอ

วนต่อประสานระบบคอมพิวเตอร์ขนาดเล็ก หรือ เอสซีเอสไอ (Small Computer System Interface: SCSI) หรือเรียกแบบติดปากว่า สกัสซี เป็นอินเทอร์เฟซมาตรฐานในการแลกเปลี่ยนข้อมูลระหว่างอุปกรณ์ฮาร์ดแวร์ และบัส SCSI สามารถต่อกับอุปกรณ์ได้ 7-15 ชิ้น โดยใช้ expansion board เพียงตัวเดียวต่อเข้ากับเครื่องคอมพิวเตอร์ เรียก expansion board นั้นว่า "SCSI host adapter" หรือ "SCSI controller" อุปกรณ์ที่ต่อด้วย SCSI สามารถเชื่อมต่อกันได้ เนื่องจากมันจะมี second port เพื่อจะต่อกับอุปกรณ์ตัวต่อไปได้ นอกจากนั้น SCSI board หนึ่งยังมี 2 controller นั่นคือมันสามารถต่อกับอุปกรณ์อื่นได้ถึง 30 ชิ้น SCSI สามารถใช้ได้ตั้งแต่พีซีทั่วไปไปจนถึงเมนเฟรม ถึงแม้ว่าพีซีมักจะมาพร้อมกับอินเทอร์เฟซ ไอดีอี ก็ตาม แต่ข้อดีของ SCSI ใน Desktop PC นั่นคือ สามารถต่อสแกนเนอร์และอุปกรณ์อื่นๆ (เช่น CD-Rs, DVD-RAM, Zip drives เป็นต้น) รวมทั้ง hard drives ได้ด้วย SCSI cable chain เพียงตัวเดียว แต่ข้อดีนี้ได้ลดความสำคัญลงไปเนื่องจากปัจจุบันมี interface ชนิดอื่นคือ USB และ FireWire เริ่มเป็นที่นิยมมากขึ้นลักษณะเฉพาะตัวของ SCSI คือ ในกรณีที่ใช้กับ network servers ที่มี hard drives หลายตัวที่สามารถ configured as fault-tolerant RAID clusters ในขณะที่ไดร์ฟใดไดร์ฟหนึ่งเสีย มันสามารถถอดออกและใส่ตัวใหม่เข้าไปได้โดยไม่สูญเสียข้อมูลเก่าไปแม้ในขณะระบบยังทำงานอยู่ SCSI-based RAID เป็นที่แพร่หลายใน file servers, database servers และ network servers อื่นๆ ภายใน Windows 95/98/NT/2000/XP และแมคอินทอช สามารถใช้กับ SCSI ได้เลย ส่วน Windows 3.1 และ ดอส ต้องทำการติดตั้งไดรเวอร์ของ SCSI SCSI chain เป็นข้อดีหนึ่งของ SCSI ที่สามารถเชื่อมต่ออุปกรณ์อื่นกับ host adapter ตัวหนึ่งโดยใช้ เพียงสล็อทเดียว ASPI & CAM เนื่องจาก SCSI ไม่สามารถใช้กับ Windows 3.1 และ DOS ได้ ดังนั้นหากจะเชื่อมต่ออุปกรณ์ SCSI 2 ตัวก็ต้องใช้ host adapter ถึง 2 ตัวซึ่งขัดกับข้อดีของ SCSI ฉะนั้นจึงมีการนำ ASPI และ CAM มาใช้เพื่อแก้ปัญหานี้โดยมันจะช่วยขจัดความแตกต่างและทำให้เกิด interface ระหว่าง host drivers กับ host adapters อุปกรณ์ SCSI ส่วนใหญ่สามารถใช้ ASPI และ CAM ได้ สำหรับ Windows 95/98 ที่ support SCSI จึงสามารถใช้กับ ASPI และ CAM ได้ด้วย ดังนั้น โปรแกรมเก่าๆบางโปรแกรมอาจะะไม่สามารถทำงานได้ SCSI & LAN SCSI ทำหน้าที่เหมือนกับ mini-LAN ซึ่งสามารถต่อกับอุปกรณ์ได้ 8 หรือ 16 ชิ้น เมื่อนับ host adapter เป็นอุปกรณ์หนึ่งก็เท่ากับว่ามันสามารถต่อกับอุปกรณ์ชนิดอื่นได้ 7 หรือ 15 ชิ้น นอกจากนั้น SCSI ยังยอมให้อุปกรณ์ 2 ชนิดเชื่อมกันได้ในเวลาเดียวกัน ไม่ว่าจะเป็น host กับอุปกรณ์อื่น หรือระหว่างอุปกรณ์อื่น 2 ชิ้น หมวดหมู่:อุปกรณ์บันทึกข้อมูล.

ใหม่!!: แพริตีบิตและเอสซีเอสไอ · ดูเพิ่มเติม »

1

1 (หนึ่ง) เป็นจำนวน ตัวเลข และเป็นชื่อของสัญลักษณ์ภาพที่แทนจำนวนนั้น หนึ่งแทนสิ่งสิ่งเดียว หน่วยในการนับหรือการวัด ตัวอย่างเช่น ส่วนของเส้นตรงของ "ความยาวหนึ่งหน่วย" คือส่วนของเส้นตรงของความยาวเท่ากับ 1.

ใหม่!!: แพริตีบิตและ1 · ดูเพิ่มเติม »

เปลี่ยนเส้นทางที่นี่:

ParityParity bitบิตภาวะคู่หรือคี่พาริตีบิต

ขาออกขาเข้า
Hey! เราอยู่ใน Facebook ตอนนี้! »