โลโก้
ยูเนี่ยนพีเดีย
การสื่อสาร
ดาวน์โหลดได้จาก Google Play
ใหม่! ดาวน์โหลด ยูเนี่ยนพีเดีย บน Android ™ของคุณ!
ติดตั้ง
เร็วกว่าเบราว์เซอร์!
 

บาร์บิเชอริต

ดัชนี บาร์บิเชอริต

ันธะทางเคมีของกรดบาร์บิชัวริก ซึ่งเป็นโครงสร้างพื้นฐานของยากลุ่มบาร์บิเชอริต บาร์บิเชอริต (barbiturate) เป็นยาที่ส่งผลต่อระบบประสาทส่วนกลาง มักใช้เป็นยาระงับประสาทหรือเป็นยาสลบ นอกจากนี้ยังสามารถใช้เป็นยาคลายกังวล, ยานอนหลับ หรือยาคลายกล้ามเนื้อ การใช้บาร์บิเชอริตอาจทำให้เกิดการติดยาทั้งทางกายและทางจิตใจ ดังนั้นแพทย์จึงมักใช้ยากลุ่มเบ็นโซไดอาเซพีนแทนการใช้บาร์บิเชอริต ซึ่งยากลุ่มเบ็นโซไดอาเซพีนมีความเสี่ยงด้านการใช้ยาเกินขนาดและการติดยาต่ำกว่าบาร์บิเชอริต อย่างไรก็ตาม บาร์บิเชอริตยังคงถูกใช้งานอย่างแพร่หลายเพื่อหลายวัตถุประสงค์ โดยเฉพาะการใช้เป็นยาสลบหลัก, รักษาโรคลมชัก, รักษาไมเกรนเฉียบพลัน ตลอดจนใช้เพื่อทำการุณยฆาตหรือโทษประหารชีวิต.

5 ความสัมพันธ์: การุณยฆาตการใช้ยาเกินขนาดระบบประสาทกลางโทษประหารชีวิตเบ็นโซไดอาเซพีน

การุณยฆาต

การุณยฆาตราชบัณฑิตยสถาน.

ใหม่!!: บาร์บิเชอริตและการุณยฆาต · ดูเพิ่มเติม »

การใช้ยาเกินขนาด

การใช้ยาเกินขนาด (drug overdose) คือการให้ยาหรือสารอื่นเข้าสู่ร่างกายในปริมาณที่มากกว่าที่กำหนดไว้หรือมากกว่าปริมาณที่ใช้โดยทั่วไป การใช้ยาเกินขนาดอาจทำให้เกิดการเป็นพิษจากยาได้ ผลเหล่านี้อาจมีตั้งแต่ไม่มีอาการ มีอาการเล็กน้อย ไปจนถึงมีอาการมากหรือเสียชีวิตได้ หมวดหมู่:การวินิจฉัยจิตเวช.

ใหม่!!: บาร์บิเชอริตและการใช้ยาเกินขนาด · ดูเพิ่มเติม »

ระบบประสาทกลาง

แผนภาพแสดงซีเอ็นเอส:'''1.''' สมอง'''2.''' ระบบประสาทกลาง (สมองและไขสันหลัง) '''3.''' ไขสันหลัง ระบบประสาทกลาง หรือ ระบบประสาทส่วนกลาง หรือ ซีเอ็นเอส (central nervous system; ตัวย่อ: CNS) เป็นโครงสร้างที่ใหญ่ที่สุดของระบบประสาท ประกอบด้วยสมองและไขสันหลัง ทำหน้าที่ร่วมกับระบบประสาทนอกส่วนกลาง (peripheral nervous system) ในการควบคุมพฤติกรรม โครงสร้างของระบบประสาทกลางจะอยู่ภายในช่องลำตัวด้านหลัง (dorsal cavity) สมองอยู่ในช่องลำตัวด้านศีรษะ (cranial cavity) และไขสันหลังอยู่ในช่องไขสันหลัง (spinal cavity) โครงสร้างเหล่านี้ถูกปกคลุมด้วยเยื่อหุ้มสมองและไขสันหลัง (meninges) สมองยังถูกปกคลุมด้วยกะโหลกศีรษะและไขสันหลังยังมีกระดูกสันหลังช่วยป้องกันการกระทบกระเทือน.

ใหม่!!: บาร์บิเชอริตและระบบประสาทกลาง · ดูเพิ่มเติม »

โทษประหารชีวิต

ประเทศที่เลิกใช้โทษประหารชีวิต: 103 ประเทศ โทษประหารชีวิต หรือ อุกฤษฏ์โทษ (capital punishment, death penalty) เป็นกระบวนการทางกฎหมายซึ่งรัฐลงโทษอาชญากรรมของบุคคลด้วยการทำให้ตาย คำสั่งของศาลที่ให้ลงโทษบุคคลในลักษณะนี้ เรียก การลงโทษประหารชีวิต ขณะที่การบังคับใช้โทษนี้ เรียก การประหารชีวิต อาชญากรรมที่มีโทษประหารชีวิต เรียก "ความผิดอาญาขั้นอุกฤษฏ์โทษ" คำว่า capital มาจากคำภาษาละตินว่า capitalis ความหมายตามตัวอักษร คือ "เกี่ยวกับหัว" (หมายถึงการประหารชีวิตโดยการตัดหัว) สังคมอดีตส่วนมากนั้นมีโทษประหารชีวิตโดยเป็นการลงโทษอาชญากร และผู้ไม่เห็นด้วยทางการเมืองหรือศาสนา ในประวัติศาสตร์ การลงโทษประหารชีวิตมักสัมพันธ์กับการทรมาน และมักประหารชีวิตในที่สาธารณะ ปัจจุบันมีประเทศที่ยังคงโทษประหารชีวิต 58 ประเทศ ประเทศที่ยกเลิกโทษประหารชีวิตสำหรับอาชญากรรมทุกรูปแบบโดยนิตินัย 98 ประเทศ ประเทศที่ยกเลิกโทษประหารชีวิตเฉพาะอาชญากรรมปรกติ 7 ประเทศ (โดยคงไว้สำหรับพฤติการณ์พิเศษ เช่น อาชญากรรมสงคราม) และประเทศที่ยกเลิกโทษประหารชีวิตโดยพฤตินัย (คือ ไม่ได้ใช้โทษประหารชีวิตอย่างน้อยสิบปี และอยู่ระหว่างงดใช้โทษ หรืออย่างใดอย่างหนึ่ง) องค์การนิรโทษกรรมสากลมองว่าประเทศส่วนใหญ่เป็นผู้ยกเลิก (abolitionist) โดยองค์การฯ พิจารณาว่า 140 ประเทศเป็นผู้ยกเลิกในทางกฎหมายหรือทางปฏิบัติ การประหารชีวิตเกือบ 90% ทั่วโลกเกิดในทวีปเอเชีย แทบทุกประเทศในโลกห้ามการประหารชีวิตบุคคลอายุต่ำกว่า 18 ปีขณะก่อเหตุ นับแต่ปี 2552 มีเพียงประเทศอิหร่าน ซาอุดิอาระเบียและซูดานที่ยังประหารชีวิตลักษณะนี้ กฎหมายระหว่างประเทศห้ามการประหารชีวิตประเภทนี้ โทษประหารชีวิตกำลังเป็นประเด็นการถกเถียงอยู่ในหลายประเทศ และจุดยืนอาจมีได้หลากหลายในอุดมการณ์ทางการเมืองหรือภูมิภาคทางวัฒนธรรมหนึ่ง ๆ ในรัฐสมาชิกสหภาพยุโรป ข้อ 2 แห่งกฎบัตรสิทธิมูลฐานแห่งสหภาพยุโรปห้ามการใช้โทษประหารชีวิต สภายุโรปซึ่งมีรัฐสมาชิก 47 ประเทศ ยังห้ามสมาชิกใช้โทษประหารชีวิต สมัชชาใหญ่แห่งสหประชาชาติลงมติรับข้อมติไม่ผูกพันในปี 2550, 2551 และ 2553 เรียกร้องให้มีการผ่อนเวลาการประหารชีวิตทั่วโลก ซึ่งมุ่งให้ยกเลิกในที่สุด แม้หลายชาติยกเลิกโทษประหารชีวิตแล้ว แต่ประชากรโลกกว่า 60% อาศัยอยู่ในประเทศซึ่งเกิดการประหารชีวิต เช่น สี่ประเทศที่มีประชากรมากที่สุดในโลก คือ จีน อินเดีย สหรัฐอเมริกาและอินโดนีเซีย ซึ่งยังใช้บังคับโทษประหารชีวิต ทั้งสี่ประเทศออกเสียงคัดค้านข้อมติสมัชชาใหญ่ดังกล่าว.

ใหม่!!: บาร์บิเชอริตและโทษประหารชีวิต · ดูเพิ่มเติม »

เบ็นโซไดอาเซพีน

รงสร้างทางเคมีของเบ็นโซไดอาเซพีน เบ็นโซไดอาเซพีน (Benzodiazepine) หรือเรียกสั้นๆว่า "เบ็นโซส" เป็นกลุ่มยาในหมวดสารออกฤทธิ์ต่อจิตประสาท เกิดขึ้นจากการทำพันธะโครงสร้างทางเคมีระหว่างเบนซีนกับไดอาเซพีน ทั้งนี้ในปี..

ใหม่!!: บาร์บิเชอริตและเบ็นโซไดอาเซพีน · ดูเพิ่มเติม »

เปลี่ยนเส้นทางที่นี่:

Barbiturateบาบิทเชอริท

ขาออกขาเข้า
Hey! เราอยู่ใน Facebook ตอนนี้! »