โลโก้
ยูเนี่ยนพีเดีย
การสื่อสาร
ดาวน์โหลดได้จาก Google Play
ใหม่! ดาวน์โหลด ยูเนี่ยนพีเดีย บน Android ™ของคุณ!
ติดตั้ง
เร็วกว่าเบราว์เซอร์!
 

บัญญัติตะวันตก

ดัชนี บัญญัติตะวันตก

มหาตำราของโลกตะวันตก''” (Great Books of the Western World) เป็นความพยายามในการรวบรวมบัญญัติตะวันตกเข้าเป็นชุดเดียวกันที่มีด้วยกันทั้งหมด 60 เล่ม บัญญัติตะวันตก (Western canon) เป็นคำที่หมายถึงตำราที่ถือว่าเป็น “บัญญัติ” หรือ “แม่แบบ” ของวรรณกรรมตะวันตก และที่กว้างกว่านั้นก็จะรวมทั้งศิลปะที่มีอิทธิพลในการเป็นพื้นฐานในการวิวัฒนาการของรูปแบบของวัฒนธรรมตะวันตก งานเหล่านี้เป็นประมวลงานที่ถือว่ามี “คุณค่าอันประมาณมิได้ทางด้านศิลปะ” บัญญัติดังกล่าวมีความสำคัญต่อทฤษฎี “การศึกษาชั่วอมตะ” (Educational perennialism) และ การวิวัฒนาการของ “วัฒนธรรมระดับสูง” แม้ว่าบัญญัติตะวันตกเดิมจะถือกันว่าเป็นสิ่งสำคัญ แต่กลายมาเป็นหัวข้อที่สร้างความขัดแย้งเพิ่มขึ้นตั้งแต่ครึ่งหลังของคริสต์ศตวรรษที่ 20 ในทางปฏิบัติการโต้แย้งและความพยายามที่จะให้คำนิยามของบัญญัติมักจะลงเอยด้วยรายชื่อหนังสือประเภทต่างๆ ที่รวมทั้ง: วรรณคดีที่รวมทั้ง กวีนิพนธ์, นวนิยาย และ บทละคร, งานเขียนอัตชีวประวัติและจดหมาย, ปรัชญา และประวัติศาสตร์ และหนังสือสาขาวิทยาศาสตร์อีกสองสามเล่มที่ถือว่ามีความสำคัญ.

30 ความสัมพันธ์: กวีนิพนธ์การเมืองภาษาอังกฤษภาษาโปรตุเกสมหากาพย์มหาวิทยาลัยชิคาโกมหาวิทยาลัยพรินซ์ตันมหาวิทยาลัยสแตนฟอร์ดมหาวิทยาลัยฮาร์วาร์ดมหาวิทยาลัยนอเตอร์เดมมหาวิทยาลัยเยลยุคเรืองปัญญาวรรณคดีวัฒนธรรมระดับสูงวิทยาศาสตร์ศาสนาศิลปะตะวันตกสมัยฟื้นฟูศิลปวิทยาสหรัฐอัตชีวประวัติจูเดโอ-คริสเตียนทอมัส คาร์ลีลย์ดนตรีประวัติศาสตร์ปรัชญาปรัชญาตะวันตกปรัมปราวิทยานวนิยายนาฏกรรมเศรษฐกิจ

กวีนิพนธ์

กวีนิพนธ์ (Poetry, Poem, Poesy) คือรูปแบบทางศิลปะที่มนุษย์ใช้ภาษา เพื่อคุณประโยชน์ด้านสุนทรียะ ซึ่งเพิ่มเติมจากเนื้อหาทางความหมาย นับเป็นส่วนหนึ่งของวรรณกรรม โดยเป็นคำประพันธ์ที่กวีแต่ง เป็นงานเขียนที่มีวรรณศิลป์ เร้าให้สะเทือนอารมณ์ได้ คำที่มีความหมายทำนองเดียวกันได้แก่ ร้อยกรอง ซึ่งหมายถึง ถ้อยคำที่เรียบเรียงให้เป็นระเบียบตามบัญญัติแห่งฉันทลักษณ์ นอกจากนี้ยังมีคำอื่น ๆ อีกหลายคำที่มีความหมายทำนองเดียวกับ กวีนิพนธ์ และร้อยกรอง ได้แก่ บทกวี บทประพันธ์ คำประพันธ์ กวีวัจนะ ลำนำ บทกลอน กาพย์กลอน กลอนกานท์ กานท์ รวมทั้งคำว่า ฉันท์ กาพย์ และกลอน ซึ่งในปัจจุบันหมายถึงคำประพันธ์ที่มีรูปแบบต่างกัน ก็เคยใช้ในความหมายเดียวกันกับ กวีนิพนธ์ และ ร้อยกรอง มาในยุคสมัยหนึ่ง ผลงานที่จัดเป็นกวีนิพนธ์เรียกว่า บทกวี ส่วนผู้ที่สร้างสรรค์ผลงานดังกล่าว เรียกว่า กวี หรือ นักกวี บทกวี คือ ภาษาของอารมณ์ความรู้สึกนึกคิด คือเครื่องมือที่จะนำสิ่งที่เรารู้สึกว่าเป็นข่าวสารออกมาแสดงให้ประจักษ์ ตระหนัก ตระหนก สะทก สะท้อน กวีอาจไม่มีหน้าที่สรุปหรือฟันธงความจริง แต่กวีอาจหมุนแปรคำและความให้เห็นความจริงใหม่ ๆ ของชีวิตหลายด้าน ทั้งเรื่องที่บางทีคนทั่วไปคิดไม่ถึง และแม้แต่ตัวกวีเองก็เพิ่งจะคิดถึง.

ใหม่!!: บัญญัติตะวันตกและกวีนิพนธ์ · ดูเพิ่มเติม »

การเมือง

การเมือง (politics) คือ กระบวนการและวิธีการ ที่จะนำไปสู่การตัดสินใจของกลุ่มคน คำนี้มักจะถูกนำไปประยุกต์ใช้กับรัฐบาล แต่กิจกรรมทางการเมืองสามารถเกิดขึ้นได้ทั่วไปในทุกกลุ่มคนที่มีปฏิสัมพันธ์กัน ซึ่งรวมไปถึงใน บรรษัท, แวดวงวิชาการ และในวงการศาสนา '''ฮาโรลด์ ลาสเวลล์''' นักโทษคนหนึ่ง ได้นิยามการเมืองว่า เป็นการตัดสินว่า "ใครจะได้อะไร เมื่อใด และอย่างไร" วิชาแนะแนวคือ วิชาที่ศึกษาพฤติกรรมทางการเมือง และวิเคราะห์การได้มาซึ่งอำนาจและการนำอำนาจไปใช้ ซึ่งหมายถึง ความสามารถที่จะบังคับให้ผู้อื่นกระทำตามสิ่งที่ตนตั้งใ.

ใหม่!!: บัญญัติตะวันตกและการเมือง · ดูเพิ่มเติม »

ภาษาอังกฤษ

ษาอังกฤษ หรือ ภาษาอังกฤษใหม่ เป็นภาษาในกลุ่มภาษาเจอร์แมนิกตะวันตกที่ใช้ครั้งแรกในอังกฤษสมัยต้นยุคกลาง และปัจจุบันเป็นภาษาที่ใช้กันแพร่หลายที่สุดในโลก ประชากรส่วนใหญ่ในหลายประเทศ รวมทั้ง สหราชอาณาจักร สหรัฐอเมริกา แคนาดา ออสเตรเลีย ไอร์แลนด์ นิวซีแลนด์ และประเทศในแคริบเบียน พูดภาษาอังกฤษเป็นภาษาที่หนึ่ง ภาษาอังกฤษเป็นภาษาแม่ที่มีผู้พูดมากที่สุดเป็นอันดับสามของโลก รองจากภาษาจีนกลางและภาษาสเปน มักมีผู้เรียนภาษาอังกฤษเป็นภาษาที่สองอย่างกว้างขวาง และภาษาอังกฤษเป็นภาษาราชการของสหภาพยุโรป หลายประเทศเครือจักรภพแห่งชาติ และสหประชาชาติ ตลอดจนองค์การระดับโลกหลายองค์การ ภาษาอังกฤษเจริญขึ้นในราชอาณาจักรแองโกล-แซ็กซอนอังกฤษ และบริเวณสกอตแลนด์ตะวันออกเฉียงใต้ในปัจจุบัน หลังอิทธิพลอย่างกว้างขวางของบริเตนใหญ่และสหราชอาณาจักรตั้งแต่คริสต์ศตวรรษที่ 17 จนถึงกลางคริสต์ศตวรรษที่ 20 ผ่านจักรวรรดิอังกฤษ และรวมสหรัฐอเมริกาด้วยตั้งแต่กลางคริสต์ศตวรรษที่ 20 ภาษาอังกฤษได้แพร่หลายทั่วโลก กลายเป็นภาษาชั้นนำของวจนิพนธ์ระหว่างประเทศและเป็นภาษากลางในหลายภูมิภาค ในประวัติศาสตร์ ภาษาอังกฤษกำเนิดจากการรวมภาษาถิ่นหลายภาษาที่สัมพันธ์อย่างใกล้ชิด ซึ่งปัจจุบันเรียกรวมว่า ภาษาอังกฤษเก่า ซึ่งผู้ตั้งนิคมนำมายังฝั่งตะวันออกของบริเตนใหญ่เมื่อคริสต์ศตวรรษที่ 5 คำในภาษาอังกฤษจำนวนมากสร้างขึ้นบนพื้นฐานรากศัพท์ภาษาละติน เพราะภาษาละตินบางรูปแบบเป็นภาษากลางของคริสตจักรและชีวิตปัญญาชนยุโรปDaniel Weissbort (2006).

ใหม่!!: บัญญัติตะวันตกและภาษาอังกฤษ · ดูเพิ่มเติม »

ภาษาโปรตุเกส

ษาโปรตุเกส (português ปุรตุเกฌ) เป็นภาษากลุ่มโรมานซ์ที่พูดในประเทศต่าง ๆ เช่น ประเทศโปรตุเกส ประเทศบราซิล ประเทศแองโกลา ประเทศโมซัมบิก และประเทศติมอร์-เลสเต ภาษาโปรตุเกสมีคนพูดเป็นภาษาแม่มากกว่า 200 ล้านคน ทำให้เป็นหนึ่งในไม่กี่ภาษาที่พูดทั่วโลก และเป็นภาษาที่มีคนพูดเป็นภาษาแม่มากเป็นอันดับ 5 หรือ 6 ของโลกปัจจุบัน ภาษาโปรตุเกสถูกขนานนามว่า A língua de Camões อาลิงกวาดึกามอยช์ ("ภาษาของกามอยช์" ตามชื่อลูอิช ดึ กามอยช์ ผู้ประพันธ์ The Lusiad: ลูเซียด) และ A última flor do Lácio อาอุลตีมาโฟลร์ดูลาซีอู ("ดอกไม้ดอกสุดท้ายของละติอุม") คนที่พูดภาษาโปรตุเกสเรียกว่า ลูซิตานิก: Lusitanic หรือ ลูโซโฟน: Lusophones.

ใหม่!!: บัญญัติตะวันตกและภาษาโปรตุเกส · ดูเพิ่มเติม »

มหากาพย์

มหากาพย์ (Epic poetry) คือ วรรณคดีที่เล่าเรื่องราวของวีรบุรุษหรือวัฒนธรรม มักเป็นเรื่องที่เก่าแก่ มีโครงเรื่องซับซ้อนและยาว ตัวละครมากมาย และได้รับการยกย่อง มหากาพย์โดยมากในเอเชีย จะเป็นการแสดงให้เห็นถึงความเชื่อหรือศาสนาของชาตินั้น.

ใหม่!!: บัญญัติตะวันตกและมหากาพย์ · ดูเพิ่มเติม »

มหาวิทยาลัยชิคาโก

ตราสัญลักษณ์รูปนกฟินิกซ์ ของมหาวิทยาลัยชิคาโก. มหาวิทยาลัยชิคาโก (University of Chicago หรือที่เรียกโดยย่อว่า UC หรือ UofC) ตั้งอยู่ในชุมชนไฮด์พาร์ก (Hyde Park) ซึ่งอยู่ทางใต้ของใจกลางเมืองชิคาโก รัฐอิลลินอยส์ ประมาณ 6 ไมล์ เป็นมหาวิทยาลัยเน้นการวิจัย (Research University) ที่มีชื่อเสียงแห่งหนึ่งของสหรัฐอเมริกาและของโลก โดยเฉพาะในด้านวิชาการ และผลงานวิจัยต่าง ๆ ทั้งทางวิทยาศาสตร์และสังคมศาสตร์ ปัจจุบันเป็นมหาวิทยาลัยของสหรัฐอเมริกาที่มีผู้เกี่ยวข้องได้รับ รางวัลโนเบลเป็นจำนวนมากที.

ใหม่!!: บัญญัติตะวันตกและมหาวิทยาลัยชิคาโก · ดูเพิ่มเติม »

มหาวิทยาลัยพรินซ์ตัน

ฟัลด์ฮอลล์ มหาวิทยาลัยพรินซ์ตัน มหาวิทยาลัยพรินซ์ตัน (Princeton University) เป็นมหาวิทยาลัยเอกชนของสหรัฐอเมริกา ตั้งอยู่ที่เมืองพรินซ์ตัน ในรัฐนิวเจอร์ซีย์ ก่อตั้งเมื่อ พ.ศ. 2289 (ค.ศ. 1746) เป็นมหาวิทยาลัยเก่าแก่อันดับ 4 ของประเทศ โดยเมื่อก่อตั้งใช้ชื่อว่า วิทยาลัยนิวเจอร์ซีย์ แล้วเปลี่ยนชื่อเป็น "มหาวิทยาลัยพรินซ์ตัน" ในปี..

ใหม่!!: บัญญัติตะวันตกและมหาวิทยาลัยพรินซ์ตัน · ดูเพิ่มเติม »

มหาวิทยาลัยสแตนฟอร์ด

ในมหาวิทยาลัยสแตนฟอร์ด มหาวิทยาลัยสแตนฟอร์ด (Stanford University อ่านว่า สแตนเฟิร์ด) มีชื่ออย่างเป็นทางการว่า มหาวิทยาลัยลีแลนด์สแตนฟอร์ดจูเนียร์ (Leland Stanford Junior University) เป็นมหาวิทยาลัยเอกชน ตั้งอยู่ที่เมือง สแตนฟอร์ด รัฐแคลิฟอร์เนีย สหรัฐอเมริกา อยู่ห่างจากซานฟรานซิสโกประมาณ 60 กม.

ใหม่!!: บัญญัติตะวันตกและมหาวิทยาลัยสแตนฟอร์ด · ดูเพิ่มเติม »

มหาวิทยาลัยฮาร์วาร์ด

มหาวิทยาลัยฮาร์วาร์ด (Harvard University อ่านว่า ฮารฺเวิรฺด) มหาวิทยาลัยเอกชนในเมืองเคมบริดจ์ รัฐแมสซาชูเซตส์ สหรัฐอเมริกาได้ขึ้นชื่อว่าเป็นหนึ่งในมหาวิทยาลัยที่มีชื่อเสียงของโลก แห่งหนึ่งและเป็นหนึ่งมหาวิทยาลัยเก่าแก่ที่สุดของสหรัฐอเมริกา โดยก่อตั้งเมื่อปี 8 กันยายน พ.ศ. 2179 (ค.ศ. 1636) มีอายุครบ 370 ปีใน พ.ศ. 2549 ฮาร์วาร์ดเป็นหนึ่งในมหาวิทยาลัยในกลุ่มไอวีลีก โดยในปี..

ใหม่!!: บัญญัติตะวันตกและมหาวิทยาลัยฮาร์วาร์ด · ดูเพิ่มเติม »

มหาวิทยาลัยนอเตอร์เดม

ทางอากาศของแคมปัส มหาวิทยาลัยนอเตอร์เดม มหาวิทยาลัยนอเตอร์เดม (University of Notre Dame) เป็นมหาวิทยาลัยเอกชนโรมันคาทอลิกของสหรัฐอเมริกา ตั้งอยู่ที่เมืองนอเตอร์เดม (ที่เป็นเมืองเฉพาะของมหาวิทยาลัย อยู่บริเวณเมืองเซาท์เบนด์) ในรัฐอินดีแอนา ก่อตั้งในปี พ.ศ. 2385 ใน..

ใหม่!!: บัญญัติตะวันตกและมหาวิทยาลัยนอเตอร์เดม · ดูเพิ่มเติม »

มหาวิทยาลัยเยล

ห้องสมุดรัฐศาสมหาวิทยาลัยเยล มหาวิทยาลัยเยล (Yale University) เป็นมหาวิทยาลัยเอกชน ในนิวเฮเวน รัฐคอนเนตทิคัต สหรัฐอเมริกา ก่อตั้งใน ค.ศ. 1701 มหาวิทยาลัยเยลเป็นมหาวิทยาลัยเก่าแก่อันดับ 3 ของสหรัฐอเมริกา มหาวิทยาลัยเยลอยู่ในกลุ่มไอวี่ลีก ในปี พ.ศ. 2549 มีนักเรียน 16,700 คน อาจารย์ 2,300 คน.

ใหม่!!: บัญญัติตะวันตกและมหาวิทยาลัยเยล · ดูเพิ่มเติม »

ยุคเรืองปัญญา

ฌ็อง-ฌัก รูโซ บุคคลสำคัญจากยุคเรืองปัญญา ยุคเรืองปัญญา (Age of Enlightenment; Siècle des Lumières) คือการเคลื่อนไหวทางวัฒนธรรมของเหล่าปัญญาชนในยุโรปและอาณานิคมบนทวีปอเมริกาช่วงคริสต์ศตวรรษที่ 18 เป้าหมายเพื่อปฏิรูปสังคมและส่งเสริมการใช้หลักเหตุผลมากกว่าการใช้หลักจารีต, ความเชื่อ และการเปิดเผยจากพระเจ้า รวมไปถึงส่งเสริมความรู้ทางวิทยาศาสตร์ขั้นสูง การเคลื่อนไหวยังสนับสนุนการแลกเปลี่ยนความรู้หรือการใช้ปัญญา ต่อต้านความเชื่อทางไสยศาสตร์, โมหาคติ และการชักนำให้ผิดเพี้ยนจากคริสตจักรและรัฐบาล ยุคเรืองปัญญาเริ่มตั้นขึ้นในช่วงประมาณปี..

ใหม่!!: บัญญัติตะวันตกและยุคเรืองปัญญา · ดูเพิ่มเติม »

วรรณคดี

วรรณคดี หมายถึง วรรณกรรมหรืองานเขียนที่ยกย่องกันว่าดี มีสาระ และมีคุณค่าทางวรรณศิลป์ การใช้คำว่าวรรณคดีเพื่อประเมินค่าของวรรณกรรมเกิดขึ้นในพระราชกฤษฎีกาตั้งวรรณคดีสโมสรในสมัยรัชกาลที่ 6 (พระบาทสมเด็จพระมงกุฏเกล้าเจ้าอยู่หัว) วรรณคดีเป็นวรรณกรรมที่ถูกยกย่องว่าเขียนดี มีคุณค่า สามารถทำให้ผู้อ่านเกิดอารมณ์สะเทือนใจ มีความคิดเป็นแบบแผน ใช้ภาษาที่ไพเราะ เหมาะแก่การให้ประชาชนได้รับรู้ เพราะสามารถยกระดับจิตใจให้สูงขึ้น รู้ว่าอะไรควรหรือไม่ควร.

ใหม่!!: บัญญัติตะวันตกและวรรณคดี · ดูเพิ่มเติม »

วัฒนธรรมระดับสูง

"Ezekiel" วัฒนธรรมระดับสูงมากจากเพดานโบสถ์ซิสทีน โดยไมเคิล แองเจลโล ภาพเขียนโดยเชน ฮองชู ศิลปินราชวงศ์หมิง แสดงให้เห็นความสุภาพอ่อนโยนในการเล่นเครื่องดนตรี Guqin ที่ได้รับการยกย่องเป็นเครื่องดนตรีชั้นสูงของจีน วัฒนธรรมระดับสูง (High culture) เป็นคำที่ใช้มากทางวิชาการหลายด้าน แต่ความหมายทั่วไปที่แพร่หลาย หมายถึงชุดของผลิตภัณฑ์ทางวัฒนธรรมซึ่งส่วนใหญ่เป็นศิลปะที่ถือว่าอยู่ในระดับสูงสุดของวัฒนธรรมหนึ่ง หรือหมายรวมถึงวัฒนธรรมของสังคมชนชั้นปกครอง.

ใหม่!!: บัญญัติตะวันตกและวัฒนธรรมระดับสูง · ดูเพิ่มเติม »

วิทยาศาสตร์

วิทยาศาสตร์ คำว่า "วิทยาศาสตร์" มักถูกใช้เพื่อแทนคำว่า "Science" ในภาษาอังกฤษ แต่ถ้าจะกล่าวให้ตรงความหมายแล้ว เราใช้คำว่า "วิทยาศาสตร์" เพื่อหมายถึง "Exact science" ซึ่งไม่รวมสาขาวิชาทางสังคมศาสตร์เอาไว้ แม้ว่าสาขาวิชาทางสังคมศาสตร์จะใช้กระบวนการทางวิทยาศาสตร์เช่นเดียวกัน การแบ่งแยกดังกล่าวมีขึ้นเนื่องจากความแตกต่างในด้านเนื้อหาและธรรมชาติของการศึกษา มิใช่เรื่องของความจริงหรือความถูกต้องแต่อย่างใด คำว่า "Science" ในภาษาอังกฤษจะมีความหมายเทียบเท่ากับคำว่า "ศาสตร์" หมายถึง ความรู้เกี่ยวกับสิ่งต่าง ๆ ในธรรมชาติทั้งที่มีชีวิตและไม่มีชีวิต รวมทั้งกระบวนการประมวลความรู้เชิงประจักษ์ ที่เรียกว่ากระบวนการทางวิทยาศาสตร์ และกลุ่มขององค์ความรู้ที่ได้จากกระบวนการดังกล่าว การศึกษาในด้านวิทยาศาสตร์ยังถูกแบ่งย่อยออกเป็น วิทยาศาสตร์ธรรมชาติ และ วิทยาศาสตร์ประยุกต์ คำว่า science ในภาษาอังกฤษ ซึ่งแปลว่า วิทยาศาสตร์นั้น มาจากภาษาลาติน คำว่า scientia ซึ่งหมายความว่า ความรู้ ในคริสต์ศตวรรษที่ 17 ฟรานซิส เบคอนได้พยายามคิดค้นวิธีมาตรฐานในการอุปนัย เพื่อนำมาใช้สร้างทฤษฎีหรือกฎต่าง ๆ ทางวิทยาศาสตร์จากข้อมูลที่ทดลองหรือสังเกตได้จากธรรมชาติ เป็นผู้ถอนรื้อและปรับปรุงแนวความคิดเกี่ยวกับวิทยาศาสตร์สมัยเก่า ที่ยึดกับแนวความคิดของอริสโตเติลทิ้งไป.

ใหม่!!: บัญญัติตะวันตกและวิทยาศาสตร์ · ดูเพิ่มเติม »

ศาสนา

ัญลักษณ์ของศาสนาต่าง ๆ ภาพศาสนพิธีในศาสนาต่าง ๆ ทั่วโลก ศาสนา (Religion) หมายถึง ลัทธิความเชื่อของมนุษย์ เกี่ยวกับการกำเนิดและสิ้นสุดของโลก หลักศีลธรรม ตลอดจนลัทธิพิธีที่กระทำตามความเชื่อนั้น ๆ หลายศาสนามีการบรรยาย สัญลักษณ์และประวัติศาสตร์ศักดิ์สิทธิ์ซึ่งเจตนาอธิบายความหมายของชีวิต และ/หรืออธิบายกำเนิดชีวิตหรือเอกภพ จากความเชื่อของศาสนาเกี่ยวกับจักรวาลและธรรมชาติมนุษย์ คนได้รับศีลธรรม จริยศาสตร์ กฎหมายศาสนาหรือวิถีชีวิตลำดับก่อน บางการประมาณว่า มีศาสนาราว 4,200 ศาสนาในโลก นอกจากนี้ ยังมีผู้ไม่นับถือศาสนาใด ๆ ซึ่งเรียกว่า ผู้ที่ไม่มีศาสน.

ใหม่!!: บัญญัติตะวันตกและศาสนา · ดูเพิ่มเติม »

ศิลปะตะวันตก

ไม่มีคำอธิบาย.

ใหม่!!: บัญญัติตะวันตกและศิลปะตะวันตก · ดูเพิ่มเติม »

สมัยฟื้นฟูศิลปวิทยา

รูปสลักเดวิด เมืองฟลอเรนซ์ ประเทศอิตาลี หนึ่งในประติมากรรมชิ้นเอกของยุคนี้ สมัยฟื้นฟูศิลปวิทยา (Renaissance; Rinascimento; แปลว่า เกิดใหม่ หรือคืนชีพ) หรือ เรอแนซ็องส์ เป็นช่วงเวลาที่เกิดการเปลี่ยนแปลงทางวัฒนธรรมในทวีปยุโรป ซึ่งเป็นจุดเริ่มต้นของวัฒนธรรมยุคใหม่ สมัยฟื้นฟูศิลปวิทยาเป็นการเคลื่อนไหวทางวัฒนธรรมที่กินเวลาตั้งแต่ราวคริสต์ศตวรรษที่ 14 ถึง 17 ประกอบด้วยการเปลี่ยนแปลงทางวรรณกรรม วิทยาศาสตร์ ศิลปะ ศาสนาและการเมือง การฟื้นฟูการศึกษาโดยอาศัยผลงานคลาสสิก การพัฒนาจิตรกรรม และการปฏิรูปการศึกษาอย่างค่อยเป็นค่อยไป ซึ่งการเปลี่ยนแปลงดังกล่าวได้อาศัยพลังของนักมนุษยนิยมและปัจเจกชนนิยมเป็นเครื่องจูงใจ เป็นที่ยอมรับกันโดยทั่วไปว่า สมัยฟื้นฟูศิลปวิทยาเกิดขึ้นในฟลอเรนซ์ แคว้นทัสกานี ในช่วงคริสต์ศตวรรษที่ 14.

ใหม่!!: บัญญัติตะวันตกและสมัยฟื้นฟูศิลปวิทยา · ดูเพิ่มเติม »

สหรัฐ

หรัฐอเมริกา (United States of America) โดยทั่วไปเรียก สหรัฐ (United States) หรือ อเมริกา (America) เป็นสหพันธ์สาธารณรัฐ ประกอบด้วยรัฐ 50 รัฐ และหนึ่งเขตปกครองกลาง ห้าดินแดนปกครองตนเองสำคัญ และเกาะเล็กต่าง ๆ โดย 48 รัฐและเขตปกครองกลางตั้งอยู่ ณ ทวีปอเมริกาเหนือระหว่างประเทศแคนาดาและเม็กซิโก รัฐอะแลสกาอยู่มุมตะวันตกเฉียงเหนือของทวีปอเมริกาเหนือ มีเขตแดนติดต่อกับประเทศแคนาดาทางทิศตะวันออกและข้ามช่องแคบเบริงจากประเทศรัสเซียทางทิศตะวันตก และรัฐฮาวายเป็นกลุ่มเกาะในมหาสมุทรแปซิฟิกกลาง ดินแดนของสหรัฐกระจายอยู่ตามมหาสมุทรแปซิฟิกและทะเลแคริบเบียน ครอบคลุมเขตเวลาเก้าเขต ภูมิศาสตร์ ภูมิอากาศและสัตว์ป่าของประเทศหลากหลายอย่างยิ่ง สหรัฐมีพื้นที่ขนาด 9.8 ล้านตารางกิโลเมตร มีประชากรราว 326 ล้านคน ทำให้มีพื้นที่ขนาดใหญ่เป็นอันดับที่ 4 ของโลก และมีประชากรมากเป็นอันดับที่ 3 ของโลก เป็นประเทศซึ่งมีความหลากหลายทางเชื้อชาติและวัฒนธรรม และเป็นที่พำนักของประชากรเข้าเมืองใหญ่สุดในโลกAdams, J.Q., and Pearlie Strother-Adams (2001).

ใหม่!!: บัญญัติตะวันตกและสหรัฐ · ดูเพิ่มเติม »

อัตชีวประวัติ

หน้าปกอัตชีวประวัติของเบนจามิน แฟรงคลิน ฉบับแรกปี ค.ศ. 1793 อัตชีวประวัติ (autobiography) มีรากศัพท์มาจากภาษากรีกสามคำ: “autos” แปลว่า “ตนเอง” และคำว่า “βίος” หรือ “bios” แปลว่า “ชีวิต” และคำว่า “γράφειν” หรือ “graphein” แปลว่า “เขียน” เป็นเรื่องราวของบุคคลโดยเขียนขึ้นโดยบุคคลคนนั้นเอง โดยเนื้อหา อาจเล่าถึงชีวิตส่วนตัวที่ไม่มีใครเคยรู้มาก่อน หรือ ไม่เคยถูกเผยแพร่ที่ไหนมาก่อน ชีวประวัติที่เขียนโดยเจ้าของชีวิต หรือในความหมายปัจจุบันหมายถึงประวัติที่ที่เขียนโดยเจ้าของชีวิตร่วมกับนักประพันธ์อาชีพในลักษณะบอกให้เขียน คำว่า “อัตชีวประวัติ” ใช้เป็นครั้งแรกโดย โรเบิร์ต ซัทธีย์ (Robert Southey) ในปี ค.ศ. 1809 ในวารสารแต่ลักษณะการเขียนแบบนี้มีมาตั้งแต่สมัยโบราณ นักเขียนชีวประวัติมักจะเขียนประวัติจากเอกสารอ้างอิงต่าง ๆ และจากความคิดเห็นของตนเอง แต่นักเขียนอัตชีวประวัติเขียนจากความทรงจำของตนเอง ซึ่งใกล้เคียงกับบันทึกความทรงจำ (Memoir) ซึ่งบางครั้งแยกออกจากกันยาก.

ใหม่!!: บัญญัติตะวันตกและอัตชีวประวัติ · ดูเพิ่มเติม »

จูเดโอ-คริสเตียน

“อาดัมและเอวาถูกขับจาก สวนเอเดน” โดย กุสตาฟว์ ดอเร (Gustave Doré) (ค.ศ. 1832-1883), เรื่อง“จูเดโอ-คริสเตียน” ของมนุษย์ชาย-หญิงคนแรกและความเชื่อเรื่องปฐมบาป (Original sin) จูเดโอ-คริสเตียน (Judeo-Christian หรือ Judaeo-Christian หรือ Judæo-Christian) เป็นคำที่ใช้บรรยายมโนทัศน์ หรือ แนวความคิดหรือค่านิยมที่เป็นของศาสนายูดาห์และต่อมามาปรับใช้ในศาสนาคริสต์ ที่บางความคิดเห็นมีส่วนเกี่ยวข้องกับวัฒนธรรมคลาสสิกกรีก-โรมันซึ่งเป็นรากฐานของกฎบัตร/กฎหมายต่างๆ และค่านิยมทางจริยธรรมของตะวันตก โดยเฉพาะคำนี้จะมาจากความเชื่อที่มีรากฐานมาจากพันธสัญญาเดิม หรือคัมภีร์ทานัค (Tanak) (อันเป็นพื้นฐานของจริยธรรม และโดยเฉพาะที่มาจากบัญญัติ 10 ประการ) ซึ่งเป็นแสดงถึงความเชื่อร่วมกันที่วิวัฒนาการมาเป็นวัฒนธรรมตะวันตกในปัจจุบัน คำนี้ได้รับการวิจารณ์ว่าเป็นการแสดงความสัมพันธ์ระหว่างค่านิยมของวัฒนธรรมทั้งสองที่มากไปกว่าที่มีจริงๆ (เปรียบเทียบระหว่าง เอบิออนไนท์ (Ebionite) และ จูไดเซอร์ (Judaizer).

ใหม่!!: บัญญัติตะวันตกและจูเดโอ-คริสเตียน · ดูเพิ่มเติม »

ทอมัส คาร์ลีลย์

ทอมัส คาร์ลีลย์ ทอมัส คาร์ลีลย์ (Thomas Carlyle, พ.ศ. 2338-2424) เป็นนักอักษรศาสตร์ เกิดที่เมืองเอเคล็กเฟแชน กอลโลเวย์ สกอตแลนด์ตะวันตกเฉียงใต้ สหราชอาณาจักร ได้รับการศึกษาที่มหาวิทยาลัยเอดินบะระ และสอนอยู่ที่นั่นเป็นเวลาหลายปีก่อนที่จะเริ่มเขียนบทความให้กับ สารานุกรมเอดินบะระ จนซาบซึ้งในวรรณกรรมเยอรมัน โดยเฉพาะของเกอเธ่ ในปี..

ใหม่!!: บัญญัติตะวันตกและทอมัส คาร์ลีลย์ · ดูเพิ่มเติม »

ดนตรี

น้ตเพลง ดนตรี (music) คือ เสียงและโครงสร้างที่จัดเรียงอย่างเป็นระเบียบแบบแผน ซึ่งมนุษย์ใช้ประกอบกิจกรรมศิลปะที่เกี่ยวข้องกับเสียง โดยดนตรีนั้นแสดงออกมาในด้านระดับเสียง (ซึ่งรวมถึงท่วงทำนองและเสียงประสาน) จังหวะ และคุณภาพเสียง (ความต่อเนื่องของเสียง พื้นผิวของเสียง ความดังค่อย) นอกจากดนตรีจะใช้ในด้านศิลปะได้แล้ว ยังสามารถใช้ในด้านสุนทรียศาสตร์ การสื่อสาร ความบันเทิง รวมถึงใช้ในงานพิธีการต่าง ๆ ได้.

ใหม่!!: บัญญัติตะวันตกและดนตรี · ดูเพิ่มเติม »

ประวัติศาสตร์

ประวัติศาสตร์ (history; รากศัพท์ภาษากรีก ἱστορία หมายถึง "การสอบถามหาความรู้ที่ได้มาโดยการสอบสวน") เป็นการค้นพบ ค้นหา รวบรวม จัดระเบียบและนำเสนอข้อมูลเกี่ยวกับเหตุการณ์ในอดีตประวัติศาสตร์ยังอาจหมายถึงช่วงเวลาหลังมีการประดิษฐ์ตัวอักษรขึ้น นักวิชาการผู้เขียนเกี่ยวกับประวัติศาสตร์เรียกนักประวัติศาสตร์ ประวัติศาสตร์เป็นสาขาการวิจัยซึ่งใช้การบรรยายเพื่อพิจารณาและวิเคราะห์ลำดับของเหตุการณ์ และบางครั้งพยายามสอบสวนรูปแบบของเหตุและผลซึ่งมีอิทธิพลต่อเหตุการณ์อย่างยุติธรรม นักประวัติศาสตร์ถกเถียงกันเรื่องธรรมชาติของประวัติศาสตร์และประโยชน์ของมัน ซึ่งรวมทั้งถกเถียงการศึกษาสาขาวิชาเป็นจุดจบในตัวมันเองและเป็นเสมือนวิถีการให้ "มุมมอง" ต่อปัญหาในปัจจุบันp 52 เรื่องเล่าซึ่งเป็นสิ่งธรรมดาในวัฒนธรรมใดวัฒนธรรมหนึ่ง แต่ไม่มีการสนับสนุนจากแหล่งข้อมูลภายนอก (เช่น ตำนานเกี่ยวกับกษัตริย์อาเธอร์) มักจัดเป็นมรดกทางวัฒนธรรมมากกว่า "การสอบสวนอย่างไม่นำพา" ที่จำเป็นตามสาขาประวัติศาสตร์ เหตุการณ์ในอดีตก่อนมีบันทึกลายลักษณ์อักษรเรียกว่า ยุคก่อนประวัติศาสตร์ ในบรรดานักวิชาการ นักประวัติศาสตร์ชาวกรีกในศตวรรษที่ 5 ก่อนคริสตกาล เฮโรโดตัส ถูกพิจารณาว่าเป็น "บิดาแห่งประวัติศาสตร์" เขาร่วมกับธูซิดดิดีส0 นักประวัติศาสตร์ร่วมสมัย ก่อตั้งรากฐานของการศึกษาประวัติศาสตร์สมัยใหม่ อิทธิพลของพวกเขา ร่วมกับแบบแผนทางประวัติศาสตร์อื่นในส่วนอื่นของโลก ได้ก่อให้เกิดการตีความธรรมชาติของประวัติศาสตร์ไปต่าง ๆ นานา ซึ่งได้วิวัฒนามาเป็นเวลาหลายศตวรรษและยังมีการเปลี่ยนแปลงอยู่ในปัจจุบัน การศึกษาประวัติศาสตร์สมัยใหม่มีหลายสาขา รวมทั้งสาขาที่มุ่งศึกษาภูมิภาคหนึ่งโดยเฉพาะ และสาขาที่มุ่งศึกษาองค์ประกอบเฉพาะหัวข้อหรือใจความของการสอบสวนประวัติศาสตร์ ประวัติศาสตร์มักสอนเป็นส่วนหนึ่งในการศึกษาขั้นประถมและมัธยม และการศึกษาวิชาการประวัติศาสตร์เป็นสาขาหลักในระดับอุดมศึกษ.

ใหม่!!: บัญญัติตะวันตกและประวัติศาสตร์ · ดูเพิ่มเติม »

ปรัชญา

มัยคลาสสิกไว้ในภาพเดียวกัน คำว่า ปรัชญา มีที่มามาจากภาษาสันสกฤต หมายถึงความรู้อันประเสริฐ โดยมีรากศัพท์มาจากคำว่า ปฺร ที่แปลว่าประเสริฐ กับ คำว่า ชฺญา ที่แปลว่ารู้ ซึ่งเป็นศัพท์บัญญัติโดยพระเจ้าวรวงศ์เธอ พระองค์เจ้าวรรณไวทยากร กรมหมื่นนราธิปพงศ์ประพันธ์ แทนคำว่า philosophy ในภาษาอังกฤษ ซึ่งมีรากศัพท์มาจากคำΦιλοσοφία ซึ่งไพธากอรัสเป็นผู้บัญญัติไว้ เมื่อราวศตวรรษที่ 6 ก่อน..

ใหม่!!: บัญญัติตะวันตกและปรัชญา · ดูเพิ่มเติม »

ปรัชญาตะวันตก

ปรัชญาตะวันตก ถือกำเนิดโดยเธลีสแห่งมิเลทัส เมื่อ 585 ปีก่อนคริสต์ศักราช วิธีการของเธลีสแตกต่างกับปรัชญาตะวันออกอย่างมาก คือ ปรับคำถามที่สลับซับซ้อนให้เป็นคำถามง่าย ๆ เป็นคำถามที่มีรากฐาน เธลีสเป็นบุคคลที่รักการขบคิดอย่างมาก ปัจจุบันมีข้อมูลที่เกี่ยวข้องกับเธลีสหลงเหลืออยู่ไม่มากนัก.

ใหม่!!: บัญญัติตะวันตกและปรัชญาตะวันตก · ดูเพิ่มเติม »

ปรัมปราวิทยา

ประมวลเรื่องปรัมปราราชบัณฑิตยสถาน, พจนานุกรมศัพท์ปรัชญา อังกฤษ-ไทย ฉบับราชบัณฑิตยสถาน, พิมพ์ครั้งที่ 4, กรุงเทพฯ: ราชบัณฑิตยสถาน, 2548, หน้า 68 (mythology) หมายถึง การรวบรวมเรื่องปรัมปรา (myth) เกี่ยวกับธรรมชาติ ประวัติศาสตร์ และจารีตประเพณี ของกลุ่มชนหนึ่ง และเรียกวิชาที่ศึกษาเกี่ยวกับเรื่องปรัมปราเหล่านี้ว่า ปรัมปราวิทยา หรือ ปุราณวิทยา (mythology).

ใหม่!!: บัญญัติตะวันตกและปรัมปราวิทยา · ดูเพิ่มเติม »

นวนิยาย

นวนิยาย เป็นรูปแบบหนึ่งของวรรณกรรมลายลักษณ์ แต่งในรูปของร้อยแก้ว มีลักษณะแตกต่างจากเรื่องแต่งงงแบบเดิม ที่เรียกว่า นิยาย หรือนิทาน ที่เรียกว่า "นวนิยาย" ก็เพราะถือเป็นนิยายแบบใหม่ (novel) ตามแบบตะวันตก นั่นเอง อย่างไรก็ตาม ในภาษาพูดโดยทั่วไปนิยมเรียกว่า "นิยาย" ซึ่งกะทัดรัดกว่า โดยคำว่า "นิยาย" เป็นคำมาจากภาษาเขมรที่ออกเสียงว่า "นิเยย" (និយាយ) หมายถึง "พูด" นวนิยายนั้น เป็นเรื่องราวที่มีลักษณะสมจริงมากกว่านิทานหรือนิยายแบบเดิม บางครั้งอาศัยฉากหรือเหตุการณ์จริง หรืออิงความเป็นจริง มีบทสนทนา และบรรยายเหตุการณ์อย่างปุถุชนทั่วไป.

ใหม่!!: บัญญัติตะวันตกและนวนิยาย · ดูเพิ่มเติม »

นาฏกรรม

นาฏกรรม (drama) เป็นงานวรรณศิลป์ประเภทหนึ่งที่เน้นในด้านการแสดง คำว่า "drama" มาจากคำในภาษากรีกว่า "δράμα" แปลว่า "การกระทำ".

ใหม่!!: บัญญัติตะวันตกและนาฏกรรม · ดูเพิ่มเติม »

เศรษฐกิจ

รษฐกิจ (economy) นั้น พจนานุกรม ฉบับราชบัณฑิตยสถาน พ.ศ. 2542 นิยามว่า "งานอันเกี่ยวกับการผลิต การจำหน่ายจ่ายแจก และการบริโภคใช้สอยสิ่งต่าง ๆ ของชุมชน." รวมถึงด้านการใช้บริการและการท่องเที่ยวที่มีปัจจัยกระตุ้นต่อการเติบโตของเศรษฐกิจ เศรษฐกิจยังอาจอธิบายได้ว่าเป็นเครือข่ายจำกัดโดยพื้นที่และเครือข่ายสังคมที่ซึ่งมีการแลกเปลี่ยนสินค้าและบริการตามอุปสงค์และอุปทานระหว่างผู้มีส่วนโดยการแลกเปลี่ยนหรือสื่อกลางการแลกเปลี่ยนด้วยมูลค่าเครดิตหรือเดบิตที่ยอมรับกันภายในเครือข่าย เศรษฐกิจหนึ่ง ๆ เป็นผลมาจากกระบวนการซึ่งเกี่ยวข้องทั้งวิวัฒนาการทางเทคโนโลยี ประวัติศาสตร์และสถาบันสังคม เช่นเดียวกับภูมิศาสตร์ การมีทรัพยากรธรรมชาติ และนิเวศวิทยา เป็นปัจจัยหลัก ปัจจัยเหล่านี้ให้บริบท สาร ตลอดจนจัดสภาพและตัวแปรซึ่งเศรษฐกิจทำงานอยู่ หมวดหมู่:ระบบเศรษฐกิจ หมวดหมู่:เศรษฐศาสตร์.

ใหม่!!: บัญญัติตะวันตกและเศรษฐกิจ · ดูเพิ่มเติม »

เปลี่ยนเส้นทางที่นี่:

Literary canonWestern canon

ขาออกขาเข้า
Hey! เราอยู่ใน Facebook ตอนนี้! »